ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
อนุรักษ์มรดกอิสลาม :: ดูกระทู้ - นบีใช้ให้ทำบิดอะฮ์หาสานะฮ์...จริงหรือ???
อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก อนุรักษ์มรดกอิสลาม  
  เพื่อการอนุรักษ์มรดกอิสลาม      คำถามถามบ่อยของกระดานข่าว      ค้นหา      รายนามสมาชิก  
  · เข้าระบบ ข้อมูลส่วนตัว · เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ · กลุ่มผู้ใช้งาน  
นบีใช้ให้ทำบิดอะฮ์หาสานะฮ์...จริงหรือ???
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, 4  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> ปัญหาศาสนา
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
abdooh
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 08/06/2012
ตอบ: 188


ตอบตอบ: Wed Jun 13, 2012 9:08 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ผมต้องขอโทษที่ต้องบอกคุณอะสันว่า คุณไม่มีแนวทางของสะลัฟเลยในการแปลหะดีษบทนี้ ผมแปลตามหลักวิชาการสะลัฟที่กล่าวไว้ข้างต้นอย่างชัดเจน แต่นักวิชาการที่คุณอ้าง เป็นเพียงนักวิชาการยุคหลังๆ ยุคเดียวกับพวกเราเสียด้วย ผมยังคงคอยคุณหยิบยกคำอธิบายแบบคุณจากนักวิชาการชาวสะลัฟ (ไม่ใช่อ้างเป็นสะลัฟ ขอที่เป็นยุคสะลัฟนะครับ)
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Wed Jun 13, 2012 10:50 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

abdooh บันทึก:
ผมต้องขอโทษที่ต้องบอกคุณอะสันว่า คุณไม่มีแนวทางของสะลัฟเลยในการแปลหะดีษบทนี้ ผมแปลตามหลักวิชาการสะลัฟที่กล่าวไว้ข้างต้นอย่างชัดเจน แต่นักวิชาการที่คุณอ้าง เป็นเพียงนักวิชาการยุคหลังๆ ยุคเดียวกับพวกเราเสียด้วย ผมยังคงคอยคุณหยิบยกคำอธิบายแบบคุณจากนักวิชาการชาวสะลัฟ (ไม่ใช่อ้างเป็นสะลัฟ ขอที่เป็นยุคสะลัฟนะครับ)


ไม่ต้องขอโทษหรอกครับ คุณ abdooh ผมไม่ถือสาคุณแล้ว เพราะผมชินกับคำว่า "สะลัฟ"ของคุณมาหลายต่อหลายครั้งแล้ว
ผมแปลหะดิษ โดยพิจารณาของต้นเรื่อง และ เหตุการณ์ที่เกิดหะดิษบทนี้ขึ้นมา

ท่านนบี Solallah กล่าวว่า


من سن في الإسلام سنة حسنة فله أجرها وأجر من عمل بها بعده من غير أن ينقص من أجورهم شيء ومن سن في الإسلام سنة سيئة كان عليه وزرها ووزر من عمل بها من بعده من غير أن ينقص من أوزارهم شيء

" ผู้ใด ที่ได้ทำแบบอย่างที่ดี ในอิสลาม แน่นอน เขาจะได้รับ ผลตอบแทนของมัน และผลตอบแทนของผู้ที่ได้ปฏิบัติด้วยกับมัน จากหลังเขา(เสียชีวิตไปแล้วก็ได้กับเขา) โดยไม่มีสิ่งใดลดลงไปเลย จากผลการตอบของพวกเขา และผู้ใด ทีได้ทำแบบอย่างที่เลว ในอิสลาม แน่นอน บาปของมันก็ตกบนเขา และบาปของผู้ที่ปฏิบัติมัน หลังจากเขา(เสียชีวิตไปแล้วก็ตกบนเขา) โดยไม่มีสิ่งใดบกพร่องลงไปเลย จากบรรดาบาปของพวกเขา" (รายงานโดย ท่านอิมาม มุสลิม ไว้ในซอเฮี๊ยะหฺของท่าน หะดิษที่ 1017)
..............................
เพราะ หะดิษนี้ ไม่ได้หมายถึง การอุตริบิดอะฮที่ดีในอิสลาม แต่หมายถึง การฟื้นฟูสุนนะฮ และ การเป็นแบบอย่าง ในการทำดี ทีศาสนามีบัญญัติไว้ เพราะที่มาของคำพูดของท่านรซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ข้างต้นเนื่องจากมีเศาะหาบะฮท่านหนึ่ง ซึ่งเป็นชาวอันศอร ได้ทำการเศาะดะฮเกาะฮ ในยามวิกฤต แล้วคนอื่นๆก็เอาเยี่ยงอย่าง

ดังสำนวนหะดิษข้างล่างนี้

ما جاء في صحيح عن جرير بن عبد الله رضي الله عنه قال : كنا عند رسول الله صلى الله عليه وسلم في صدر النهار ، قال : فجاءه قوم حُفاة عراة ، مجتابي النمار أو العباء ، متقلدي السيوف ، عامتهم من مُضَر ، بل كلهم من مُضَر ، فتمعّر وجه رسول الله صلى الله عليه وسلم لما رأى بهم من الفاقة ، فدخل ثم خرج ، فأمر بلالا فأذن وأقام فصلى ثم خطب ، فقال : (يَا أَيُّهَا النَّاسُ اتَّقُوا رَبَّكُمُ الَّذِي خَلَقَكُمْ مِنْ نَفْسٍ وَاحِدَةٍ) إلى آخر الآية . (إِنَّ اللَّهَ كَانَ عَلَيْكُمْ رَقِيبًا) ، والآية التي في الحشر : (اتَّقُوا اللَّهَ وَلْتَنْظُرْ نَفْسٌ مَا قَدَّمَتْ لِغَدٍ وَاتَّقُوا اللَّهَ) . تَصَدَّق رجل من ديناره ، من درهمه ، من ثوبه ، من صاع بُرّه ، من صاع تمره ، حتى قال : ولو بِشِقّ تمرة . قال : فجاء رجل من الأنصار بِصُرّة كادَتْ كَفّـه تعجز عنها بل قد عجزت . قال : ثم تتابَع الناس حتى رأيت كومين من طعام وثياب ، حتى رأيت وجه رسول الله صلى الله عليه وسلم يتهلل كأنه مذهبة ، فقال رسول الله صلى الله عليه وسلم : من سن في الإسلام سنة حسنة فله أجرها وأجر من عمل بها بعده من غير أن ينقص من أجورهم شيء


มาดูตอนหนึ่งของขอความในหะดิษ

قَالَ فَجَاءَ رَجُلٌ مِنْ الْأَنْصَارِ بِصُرَّةٍ كَادَتْ كَفُّهُ تَعْجِزُ عَنْهَا بَلْ قَدْ عَجَزَتْ قَالَ ثُمَّ تَتَابَعَ النَّاسُ حَتَّى رَأَيْتُ كَوْمَيْنِ مِنْ طَعَامٍ وَثِيَابٍ حَتَّى رَأَيْتُ وَجْهَ رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَتَهَلَّلُ كَأَنَّهُ مُذْهَبَةٌ فَقَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ مَنْ سَنَّ فِي الْإِسْلَامِ سُنَّةً حَسَنَةً

เขา(ญาบีร) กล่าวว่า "แล้วมีชายคนหนึ่งจากชาวอันศอร นำถุงเงิน จน จนฝ่ามือของเขาเกือบกำไม่ได้ แต่ทว่า มันไม่สามารถกำได้

เขา(ญาบีร)กล่าวว่า "หลังจากนั้น บรรดาผู้คนได้ติดตามกันมา จนกระทั่งข้าพเจ้า เห็น อาหารและเสื้อผ้ากองพะเนิน ดังเช่นภูเขาสองลูก จนกระทั้งข้าพเจ้ามองเห็นใบหน้ารซูลลุลลอฮ Solallah เปล่งประกายเสมือนหนึ่งทองคำ แล้วรซูลุลลอฮ Solallah กล่าวว่า "ผู้ใดทำแบบอย่างที่ดีในอิสลาม.....จนจบหะดิษ
........
จะเห็นได้ว่า ข้างต้น เป็นเรื่องของคนที่ปฏิบัติตามสิ่งที่มีบัญญัติไว้ตือ การให้ทาน และมีคนเอาเยี่ยงอย่าง ไม่ใช่ คิดแบบอย่างที่อารมณ์ตัวเองเห็นว่าดี แล้วให้คนอื่นเอาเยี่ยงอย่างหรือปฏิบัติตาม เพราะฉะนั้นที่ผมแปลถูกต้องร้อยเปอร์เซ็น ส่วนที่ คุณ abdooh ว่าแปลไม่เหมือนสะลัฟ ผมรอคำตอบจากคุณอยูว่าสะลัฟเขาแปลอย่างไร.....อย่าแกล้งผ่านไปโดยไม่ตอบอีก

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
abdooh
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 08/06/2012
ตอบ: 188


ตอบตอบ: Wed Jun 13, 2012 11:08 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ผมน่าจะพูดชัดเจนแล้วนะครับว่า ผมแปลคำว่า سن سنة حسنة سنة سيئة ตามหลักของวิชาการสะลัฟซอและห์ ถ้าคุณเบื่อสะลัฟ คุณก็ต้องรับไปปฏิบัติ เพราะมันคือสิ่งถูกต้อง ผมขอชี้แจงว่า การแปลอัลกุรอาน อัลหะดีษ จำเป็นต้องแปลตามหลักภาษาศาสตร์ รูปคำใดกินความกว้าง ต้องปล่อยให้เป็นเช่นนั้น ห้ามทำให้มันมีความแคบลง แม้ว่าจะมีสาเหตุที่มาของคำกล่าวนั้นๆก็ตาม นี่คือหลักวิชาการที่เป็นที่ยอมรับของชาวสะลัฟ ที่ว่า العبرة بعموم اللفظ لا بخصوص السبب "ส่ิงที่ใช้พิจารณาคือ การกินความกว้างๆของรูปคำ โดยไม่พิจารณาที่การเจาะจงของสาเหตุที่มา" ดังนั้นการแปลข้างต้น เป็นการตามนักวิชาการยุคหลังๆ ไม่ใช่แปลแบบชาวสะลัฟ และนักวิชาการยุคหลังๆที่แปลต่างจากคุณอะสันก็มีมากมาย จึงไม่เกิดประโยชน์ที่จะนำเอาทัศนะของนักวิชาการยุคหลังๆมานำเสนอ เอาหลักวิชาการที่ถูกยอมรับโดยชาวสะลัฟมาเป็นบรรทัดฐานในการแปลจะถูกต้องกว่า เพราะพวกเขาใกล้ชิดท่านนบีซ.ล.มากกว่า เข้าใจมากกว่า และได้รับการรับรองจากท่านนบีซ.ล. การแปลหะดีษนี้จึงจำเป็นต้องปล่อยไปตามความหมายเดิมของคำ นั่นคือคำว่า سن และคำว่า سنة حسنة และคำว่า سنة سيئة คำแรก แปลว่า วางรูปแบบ คำที่สอง แปลว่า รูปแบบที่ดี คำที่สาม แปลว่า รูปแบบที่ชั่ว
.............. หากแปลว่า ฟื้นฟู ก็จะเท่ากับว่า ในอิสลามมีรูปแบบที่ชั่ว ที่ถูกฟื้นฟูขึ้นมา แต่ที่สำคัญคือ หลักการเข้าใจอัลกุรอาน อัลหะดีษ ข้างต้น ที่ว่า العبرة بعموم اللفظ لا بخصوص السبب "ส่ิงที่ใช้พิจารณาคือ การกินความกว้างๆของรูปคำ โดยไม่พิจารณาที่การเจาะจงของสาเหตุที่มา" เป็นหลักที่ชาวสะลัฟใช้และยอมรับ คุณจะไม่ใช้หรือ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Thu Jun 14, 2012 12:49 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

abdooh บันทึก:

.............. หากแปลว่า ฟื้นฟู ก็จะเท่ากับว่า ในอิสลามมีรูปแบบที่ชั่ว ที่ถูกฟื้นฟูขึ้นมา แต่ที่สำคัญคือ หลักการเข้าใจอัลกุรอาน อัลหะดีษ ข้างต้น ที่ว่า العبرة بعموم اللفظ لا بخصوص السبب "ส่ิงที่ใช้พิจารณาคือ การกินความกว้างๆของรูปคำ โดยไม่พิจารณาที่การเจาะจงของสาเหตุที่มา" เป็นหลักที่ชาวสะลัฟใช้และยอมรับ คุณจะไม่ใช้หรือ


ผมว่า คุณ เริ่มจะสับสน ผมไม่ได้แปลว่า "ฟื้นฟู ผมแปลว่า ทำแบบอย่าง เพราะเรื่องนี้ สอนเกี่ยวกับการทำแบบอย่างที่ดี และคนอื่นเอาไปเป็นเยี่ยงอย่าง ท่านบินบาซ ได้อธิบายคำว่า "سن ในหะดิษว่า أحيا อีกความหมายหนึ่ง หมายถึงฟื้นฟูสุนนะฮที่ดี เพราะเรื่องราวมันเกี่ยวกับคนที่ทำแบบอย่างในคำสอนที่มีอยู่แล้ว แต่คุณบอกว่า ให้แปลให้กว้าง ๆ เพราะคุณต้องการที่จะเอา "คำว่าบิดอะฮหะสะนะฮ" ใส่เข้าไปในข้อความนี้ด้วย ...ซึ่งมันไม่ใช่ และไม่ใช่เป้าหมายของสะลัฟด้วย

เพราะมีหะดิษหนึ่งระบุว่า

من دعا إلى هدى كان له من الأجر مثل أجور من تبعه لا ينقص ذلك من أجورهم شيئا

ผู้ใดเชิญชวนไปสู่ทางนำ เขาจะได้รับผลตอบแทน เหมือนกับผู้ที่ปฏิบัติตามเขา และดังกล่าวนั้นไม่ได้ลดน้อยจากผลตอบแทนของพวกเขา(พวกที่ปฏิบัติตาม)แม้แต่น้อย

ท่านบินบาซ ได้กล่าวถึง คำว่า من سن سنة حسنة ว่า

وليس معناها الابتداع في الدين

ความหมายของมัน ไม่ใช่อุตริบิดอะฮในศาสนา

ท่านอิบนุอุษัยมีให้ความหมายไว้สองแนวทางคือ

1. أي: من ابتدأ العمل بالسنة، หมายถึง ผู้ริเริมปฏิบัติตามสุนนะฮ
2. أي: سن الوصول إلى شيء مشروع หมายถึง ทำแบบอย่างที่นำไปสู่สิ่งที่ถูกบัญญัติไว้แล้ว- ดู ชัรหุหะดิษอัรบะอีน ของ อิบนุอุษัยมีน หน้า 311-312
.......
ผมว่า คุณ อับดุฮอ น่าจะนำความหมายที่คุณบอกว่า เป็นของสะลัฟมาเสนอนะครับ ว่า ต่างกับที่ผมอธิบายอย่างไร

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
abdooh
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 08/06/2012
ตอบ: 188


ตอบตอบ: Thu Jun 14, 2012 8:43 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คุณ ลองอ่านตรงนี้ ซึ่งอยู่ในกระทู้นี้ดูซิว่า ใครโกหกหมกเม็ด

asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา



เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 2248


ตอบ: Sat Sep 05, 2009 1:15 am ชื่อกระทู้: Re: นบีใช้ให้ทำบิดอะฮ์หาสานะฮ์...จริงหรือ???
อันนีซัน บันทึก:

เห็นอ.อารีฟีน แสงวิมาร (อัลอัซฮะรีย์) ชอบนำมาอ้างนักอ้างหนาเพื่อที่จะหาความชอบธรรมในการทำอุตริกรรมในศาสนาของเขา หะดีษบทนี้ค่ะ

ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) กล่าวว่า

من سن في الإسلام سنة حسنة فله أجرها وأجر من عمل بها بعده من غير أن ينقص من أجورهم شيء ومن سن في الإسلام سنة سيئة كان عليه وزرها ووزر من عمل بها من بعده من غير أن ينقص من أوزارهم شيء

" ผู้ใด ที่ได้ทำขึ้นมา ในอิสลาม กับหนทางที่ดี แน่นอน เขาจะได้รับผลบุญและได้รับผลบุญของผู้ที่ได้ปฏิบัติตามหลังจากเขาได้(เสีย ชีวิตไปแล้ว) โดยไม่มีสิ่งบกพร่องลงเลย จากผลบุญของพวกเขา และผู้ใด ทีได้ทำขึ้นมา ในอิสลาม กับหนทางที่เลว แน่นอน บาปของมันก็ตกบนเขา และบาปของผู้ที่ปฏิบัติมัน หลังจากเขา(เสียชีวิตไปแล้วก็ตกบนเขา) โดยไม่มีสิ่งใดบกพร่องลงไปเลย จากบรรดาบาปของพวกเขา" (รายงานโดย ท่านอิมาม มุสลิม ไว้ในซอเฮี๊ยะหฺของท่าน หะดิษที่1017)

ข้อเท็จจริงเป็นเช่นไรค่ะ โดยเฉพาะที่มาที่ไปของหะดีษบทนี้


...............


หะดิษนี้ไม่ได้หมายถึง การอุตริบิดอะฮฺที่ดีในอิสลาม แต่หมายถึง การฟื้นฟูสุนนะฮฺและการเป็นแบบอย่าง ในการทำดี ที่ศาสนามีบัญญัติไว้ เพราะ
ที่มาของคำพูดของท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ข้างต้นเนื่องจากมีเศาะหาบะฮท่านหนึ่ง ซึ่งเป็นชาวอันศอร ได้ทำการเศาะดะฮเกาะฮฺ
ในยามวิกฤต แล้วคนอื่นๆก็เอาเยี่ยงอย่าง

และที่จริงความหมายของคำว่า “من سن “ ในหะดิษคือ من أحيا ซึ่งแปลว่า “ ฟื้นฟูขึ้นใหม่” คือ เรื่องเดิมมีอยู่แล้วแต่ไม่มีใครทำ ไม่มีใครปฏิบัติ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
abdooh
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 08/06/2012
ตอบ: 188


ตอบตอบ: Thu Jun 14, 2012 9:52 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ประหนึ่งว่าตัวผมถูกคุณอะสันตัดสินว่า ไม่ใช้หลักวิชาการ ใช้อารมณ์ ใช้ทัศนะส่วนตัว ใช้อคติ
............ สิ่งผมหยิบยกมา คือแนวทางของชาวสะลัฟซอและห์ ผมจึงกล้าท้าสาบาน แต่คุณอะสันไม่กล้า
............ คุณอะสันถามผมเสมอว่า ให้เอาคำพูดของชาวสะลัฟซอและห์มารับรองสิ่งที่ผมชี้แจง ทั้งที่มันคือสิ่งที่ชาวสะลัฟเองเป็นผู้วางรูปเอาไว้ และคุณอะสันเองไม่เคยกล่าวคำพูดของชาวสะลัฟเลย และยังโต้แย้งหลักการของสะลัฟ โดยหยิบเอาคำพูดของนักวิชาการยุคหลังๆยุคเดียวกับพวกเรานี้มาโต้แย้ง ซึ่งอะสันก็รู้ดีว่า นักวิชาการที่ไม่เห็นด้วยกับคุณมีมากเพียงใด ผมจึงถามว่า แบบอย่างใดที่น่าเชื่อถือมากกว่ากัน ระหว่างชาวสะลัฟ กับนักวิชาการยุคหลัง
............ คุณอะสัน เหมือนไม่ยอมรับหลักการนั้น โดยพยายามบอกว่า ตนเองอธิบายหะดีษตามที่มา ทั้งที่การอธิบายหะดีษตามที่มานั้น จะต้องไม่ทำให้ความหมายเดิมของมันเปลี่ยนไป ตามกฎที่ชาวสะลัฟกล่าวไว้อย่างชัดเจน ที่ว่า العبرة بعموم اللفظ لا بخصوص السبب "ส่ิงที่ใช้พิจารณาคือ การกินความกว้างๆของรูปคำ โดยไม่พิจารณาที่การเจาะจงของสาเหตุที่มา"
............ คุณอะสันนำเอาหลักการที่ชาวสะลัฟถือว่า อ่อนแอมานำเสนอ นั่นคือ ................ إذا ترك الرسول شيئا وجب علينا متابعته فيه คำกล่าวที่คุณหยิบยกมานี้ มีความหมายว่า "เมื่อท่านร่อซู้ลละเว้นสิ่งหนึ่งส่ิงใด เราจำเป็นต้องปฏิบัติตามพระองค์" คำกล่าวนี้ไม่ใช่หลักวิชาการที่ชาวสะลัฟให้การเชื่อถือ เพราะท่านนบีไม่กิน ไม่ดื่มหลายสิ่งขณะละศีลอด ไม่สวมใส่อาภรณ์หลายชนิด ไม่ละหมาดในบางเวลาที่พระองค์ไม่เคยละหมาดในช่วงนั้น ไม่เคยอ่านอัลกุรอานในบางเวลา ไม่เคยพูดหลายๆคำพูด ไม่เคยถือศีลอดในบางวันของบางเดือน ทั้งที่ส่ิงเหล่านั้นบางข้อเป็นซุนนะฮ์ตามคำสั่งกว้างๆ และไม่มีชาวสะลัฟคนใดกล้าตัดสินสิ่งเหล่านั้นว่า บิดอะฮ์ ตามหลักที่คุณกล่าวอ้างเลย ผมบอกคุณแล้วว่า ผมมีระเบียบ มันจะได้ไม่เลอะเทอะ ให้ตามท่านนบีซ.ล. ไม่ให้ตามนักวิชาการ ให้ดำเนินตามชาวสะลัฟ เพราะพวกเขาเป็นกลุ่มชนที่ดีที่สุด ผมรักษาระเบียบนี้ และมีคำอธิบายตามจุดนี้ทุกครั้ง
............ คุณอะสันพยายามจะบอกคนอื่นว่า สิ่งที่ตนตอบเป็นซุนนะฮ์ แต่ไม่เคยหยิบยกซุนนะฮ์ที่ชัดเจนมาโต้แย้ง จะมีก็เพียงทัศนะนาย ก. นาย ข. แล้วมาบอกผมว่า ไม่เอานักวิชาการหรือ มีอคติกับพวกเขาหรือ ผมเอานักวิชาการแน่นอนไม่ว่าท่านนั้นเป็นใคร หากสิ่งที่เขาตอบมีหลักฐานที่ชัดเจนตรงประเด็น มีหลักการที่ถูกยอมรับโดยชาวสะลัฟ แล้วตัวคุณหล่ะ เอานักวิชาการหรือปล่าว
............. ผมคงต้องก๊อปปี้กระทู้ที่เราเสวนากันนี้ไว้ เพื่อมันจะเป็นหลักฐานได้ต่อไปในอนาคต ว่าเราทั้งสองเขียนอะไรไว้บ้าง
............. คำชี้แจงเหล่านี้ รอคำตอบอยู่เสมอ และผมว่าผู้อ่านหลายท่านก็คงคอยอยู่ด้วยเช่นกัน
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Thu Jun 14, 2012 11:52 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

abdooh บันทึก:
คุณ ลองอ่านตรงนี้ ซึ่งอยู่ในกระทู้นี้ดูซิว่า ใครโกหกหมกเม็ด

asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 2248

ตอบ: Sat Sep 05, 2009 1:15 am ชื่อกระทู้: Re: นบีใช้ให้ทำบิดอะฮ์หาสานะฮ์...จริงหรือ???
อันนีซัน บันทึก:

เห็นอ.อารีฟีน แสงวิมาร (อัลอัซฮะรีย์) ชอบนำมาอ้างนักอ้างหนาเพื่อที่จะหาความชอบธรรมในการทำอุตริกรรมในศาสนาของเขา หะดีษบทนี้ค่ะ

ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) กล่าวว่า

من سن في الإسلام سنة حسنة فله أجرها وأجر من عمل بها بعده من غير أن ينقص من أجورهم شيء ومن سن في الإسلام سنة سيئة كان عليه وزرها ووزر من عمل بها من بعده من غير أن ينقص من أوزارهم شيء

" ผู้ใด ที่ได้ทำขึ้นมา ในอิสลาม กับหนทางที่ดี แน่นอน เขาจะได้รับผลบุญและได้รับผลบุญของผู้ที่ได้ปฏิบัติตามหลังจากเขาได้(เสีย ชีวิตไปแล้ว) โดยไม่มีสิ่งบกพร่องลงเลย จากผลบุญของพวกเขา และผู้ใด ทีได้ทำขึ้นมา ในอิสลาม กับหนทางที่เลว แน่นอน บาปของมันก็ตกบนเขา และบาปของผู้ที่ปฏิบัติมัน หลังจากเขา(เสียชีวิตไปแล้วก็ตกบนเขา) โดยไม่มีสิ่งใดบกพร่องลงไปเลย จากบรรดาบาปของพวกเขา" (รายงานโดย ท่านอิมาม มุสลิม ไว้ในซอเฮี๊ยะหฺของท่าน หะดิษที่1017)

ข้อเท็จจริงเป็นเช่นไรค่ะ โดยเฉพาะที่มาที่ไปของหะดีษบทนี้


...............


หะดิษนี้ไม่ได้หมายถึง การอุตริบิดอะฮฺที่ดีในอิสลาม แต่หมายถึง การฟื้นฟูสุนนะฮฺและการเป็นแบบอย่าง ในการทำดี ที่ศาสนามีบัญญัติไว้ เพราะ
ที่มาของคำพูดของท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ข้างต้นเนื่องจากมีเศาะหาบะฮท่านหนึ่ง ซึ่งเป็นชาวอันศอร ได้ทำการเศาะดะฮเกาะฮฺ
ในยามวิกฤต แล้วคนอื่นๆก็เอาเยี่ยงอย่าง

และที่จริงความหมายของคำว่า “من سن “ ในหะดิษคือ من أحيا ซึ่งแปลว่า “ ฟื้นฟูขึ้นใหม่” คือ เรื่องเดิมมีอยู่แล้วแต่ไม่มีใครทำ ไม่มีใครปฏิบัติ


............
คุณ อับดุฮ กล่าวหาว่าผมหมกเม็ด ข้างต้นมีคนนำหะดิษที่เขาแปลไว้มาถาม ผมจึงตอบว่า คำว่า "من سن คำนี้ผมก็แปลว่า "ผู้ใดทำแบบอย่างที่ดี คุณไปตรวจสอบได้ ส่วน ความมุ่งหมาย นั้น คือ “ ฟื้นฟูขึ้นใหม่” คือ เรื่องเดิมมีอยู่แล้วแต่ไม่มีใครทำ ไม่มีใครปฏิบัติ ซึ่ง เช็คอิบนุบาซได้ให้คำอธิบายไว้
ทุกเรื่องที่ผมตอบ นักวิชาที่เชี่ยวชาญเรื่องศาสนาเขาตอบไว้แล้ว เพียงแต่คุณ อับดุฮมีความเชื่อมันในตัวเองสูง โดยเข้าใจว่าความเห็นตนเองตรงกับสะลัฟ แต่หาคำพูดสะลัฟมายืนยันไม่ได้ ตกลงคุณต้องการอะไรกันแน่ คุณเป็นฝ่ายจะมาหักล้างสิ่งที่ผมโพสต์ แต่คุณยังพายเรือในอ่างไม่มีอะไรใหม่ที่มีน้ำหนักเลย ผมว่า พักผ่อนเสียดีกว่ามั้ง

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
abdooh
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 08/06/2012
ตอบ: 188


ตอบตอบ: Thu Jun 14, 2012 12:56 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การโพสต์ของคุณช่วงท้ายๆ มันสื่อบอกผมว่า คุณไม่ได้ตอบโต้สิ่งใดเลยที่ผมเขียนลงไป นอกจากใช้กลยุทธกล่าวหา ผมจึงเข้าใจไปว่า คุณตอบไม่ได้ ก็เลยสร้างภาพผมให้กลายเป็นผู้ร้าย ผมถกกับคุณด้วยวิชาการที่ชัดเจน สิ่งที่ผมพลาดผมยอมรับ และยอมแก้ไข และอาจจะมีอีกหลายคำที่ผมพิมพ์ผิด พิมพ์ตกหล่นไป หรือเกิดจากความรู้อันน้อยนิดของผม แล้วผมจะเข้ามาแก้ไขในคราวต่อไป
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Thu Jun 14, 2012 9:44 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

abdooh บันทึก:
การโพสต์ของคุณช่วงท้ายๆ มันสื่อบอกผมว่า คุณไม่ได้ตอบโต้สิ่งใดเลยที่ผมเขียนลงไป นอกจากใช้กลยุทธกล่าวหา ผมจึงเข้าใจไปว่า คุณตอบไม่ได้ ก็เลยสร้างภาพผมให้กลายเป็นผู้ร้าย ผมถกกับคุณด้วยวิชาการที่ชัดเจน สิ่งที่ผมพลาดผมยอมรับ และยอมแก้ไข และอาจจะมีอีกหลายคำที่ผมพิมพ์ผิด พิมพ์ตกหล่นไป หรือเกิดจากความรู้อันน้อยนิดของผม แล้วผมจะเข้ามาแก้ไขในคราวต่อไป


คุณคงปิดตาเขียน ผมได้ตอบเท่าที่ดูเป็นวิชาการ ส่วนถ้อยคำที่ไร้สาระ ผมไม่มีเวลา มานั่งตอบ เพราะไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย เพราะเป็นเพียงคล้ายๆกับคนมีปัญหาทางจิตอะไรสักอย่าง รำพึงรำพัน อ้างนั้น อ้างนี้ ตามความคิดตัวเอง แล้วบอกว่า "สะลัฟจ๋า" ถ้ามานั่งตอบคงไม่ต้องทำมาหากินแล้วละครับ

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Mon Jul 22, 2013 8:34 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

บางคนอ้างว่า การที่นบีไม่ทำ ไม่ได้หมายความว่าห้ามทำ ในที่สุดก็เกิดกิจกรรมนอกบัญญัติมากมาย
ที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาให้เป็นอิบาดะฮ โดยอาศัยข้ออ้างนี้ จนคนอาวามไม่รู้ว่าอะไรคือคือต้นแท้ของศาสนาอะไรคือกาฝากที่มาเกาะต้นศาสนา เพราะมันปกคลุมจนมองไม่ออก

ท่านอัศศอ็นอานีย์(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)ได้กล่าวตอบโต้ผู้ที่ประดิษฐคำว่า “อัศศอลาตุญะมิอะฮ” ที่มุอัซซินกล่าวก่อนที่จะละหมาดอีด
โดยท่านอัศศอ็นอานี่ย์ กล่าวถึงการกระทำดังกล่าวว่า

غير صحيح إذ لا دليل على الاستحباب، ولو كان مستحباً لما تركه صَلّى الله عَلَيْهِ وَسَلّم، والخلفاء الراشدون من بعده. نعم ثبت ذلك في صلاة الكسوف لا غير، ولا يصح فيه القياس؛ لأن ما وجد سببه في عصره ولم يفعله ففعله بعد عصره بدعة، فلا يصح إثباته بقياس ولا غيره

ไม่ถูกต้อง เพราะไม่มีหลักฐานแสดงบอก ว่าส่งเสริมให้กระทำ และถ้ามันเป็นมุสตะหับบะฮ(เป็นสิ่งที่ศาสนาส่งเสริมให้ทำ) แน่นอน ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และบรรดาเคาะลิฟะฮอัรรอชิดีน หลังจากท่าน ไม่ทิ้งมันแน่นอน ครับ ดังกล่าวนั้น มันปรากฏรายงานยืนยันในการละหมาดกุสูฟ ไม่มีในละหมาดอื่น การกิยาสในมัน ไม่ถูกต้อง เพราะสิ่งใดก็ตาม ที่สาเหตุของมันมีอยู่แล้ว ในสมัยของท่านนบี และท่านนบีไม่ได้ปฏิบัติมัน ดังนั้น การที่มีใครปฏิบัติมันหลังจากสมัยของท่านนบี สิ่งนั้นคือ บิดอะฮ การรับรองมัน(รับรองสิ่งที่ทำขึ้นมาไม่มีในสมัยนบี) ด้วยการกิยาส และ ด้วยวิธีอื่นจากมันนั้น ไม่ถูกต้อง –สุบุลุสสลาม เล่ม 1 หน้า 27
ตำรา สุบุลุสสาม เป็นคำอธิบายหนังสือ บุลุฆุลมะรอม ที่ใช้สอนตามปอเนาะ ในอดีตและปัจจุบัน
และสรุปจากคำอธิบายของอัศศอ็นอานีย์ดังนี้
หนึ่ง - การกล่าวคำว่า “อัศเศาะลาตุญามิอะฮ” ก่อนที่จะละหมาดอีด ไม่ใช่สิ่งที่ศาสนาส่งเสริมให้ทำ
สอง – สิ่งที่นบีไม่ทำในสมัยของท่าน ทั้งๆมีสาเหตุที่จะกระทำ แต่นบีไม่ทำ สิ่งนั้นถือว่าเป็นบิดอะฮ

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Tue Jul 23, 2013 7:49 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ทัศนะอิหม่ามชาฟิอีย์ในเรื่องบิดอะฮ

อิหม่ามชาฟิอี (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) กล่าวว่า

المحدثات من الأمور ضربان: ما أحدث يخالف كتاباً أو سنة أو أثراً أو إجماعاً، فهذه بدعة ضلالة.وما أحدث من الخير لا خلاف لواحد من هذا، فهذه محدثة غير مذمومة.قد قال عمر في قيام رمضان: "نعمت البدعة هذه".

บรรดาสิ่งที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นใหม่นั้น มี 2 ประเภทคือ
หนึ่ง – สิ่งที่ถูกประดิษขึ้นใหม่ ที่ขัดแย้งกับ อัลกุรอ่าน,อัสสุนนะฮ,หรือ อัลอะษัร หรือ อัลอิจญมาอฺ และนี้คือ บิดอะฮที่ลุ่มหลง
สอง – สิ่งที่ถูกประดิษขึ้นใหม่ จาก การกระทำที่ดี ที่ไม่ขัดแย้งกับ ประการหนึ่งประการใด จากนี้ มันคือ สิ่งที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นใหม่ ที่ไม่ถูกตำหนิ และแท้จริง อุมัร ได้กล่าวในเรื่องการละหมาดตะรอเวียะว่า “" นี่แหละ คือบิดอะฮฺที่ดี” – บันทึกโดย อัลบัยฮะกีย์ – ดู มะนากิบอัชชาฟิอี เล่ม 1 หน้า 469
และอีกรายงานหนึ่ง

البدعة بدعتان: بدعة محمودة، وبدعة مذمومة، فما وافق السنة، فهو محمود، وما خالف السنة، فهو مذموم
บิดอะฮ นั้นมี 2 ประเภท คือ
หนึ่ง – บิดอะฮที่ถูกสรรเสริญ
สอง – บิดอะฮที่ถูกตำหนิ
ดังนั้นสิ่งใดที่สอดคล้องกับอัสสุนนะฮ มันคือ สิ่งที่ถูกสรรเสริญ และสิ่งใดที่ขัดแย้งกับอัสสุนนะฮ มันคือ สิ่งที่ถูกตำหนิ – ดู รายงานโดยอบูนะอีม ใน หุลลียะฮอัลเอาลิยาอฺ เล่ม 9 หน้า 113

อิหม่ามอิบนุเราะญับ(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) ได้ อธิบาย ความมุ่งหมายของคำพูดอิหม่ามชองอิหม่ามชาฟิอีว่า

ومراد الشافعي رضي الله عنه ما ذكرناه من قبل أن أصل البدعة المذمومة ما ليس لها أصل في الشريعة ترجع إليه وهي البدعة في إطلاق الشرع وأما البدعة المحمودة فما وافق السنة يعني ما كان لها أصل من السنة ترجع إليه وإنما هي بدعة لغة لا شرعا لموافقتها السنة .

และจุดมุ่งหมายของอิหม่ามชาฟิอี (ขออัลอฮเมตตาต่อท่าน) ต่อสิ่งที่เราได้ระบุมันมาก่อนหน้านี้ คือ แท้จริงบิดอะฮ ทีถูกตำหนิ(บิดอะฮมัซมูมะฮ) คือ สิ่งที่ไม่มีรากฐานจากศาสนบัญญัติ ทีจะถูกนำกลับไปหามัน และมันคือ บิดอะฮในความหมายทางศาสนา และสำหรับ บิดอะฮที่ถูกสรรเสริญ นั้น คือ สิ่งที่สอดคล้องกับสุนนะฮ หมายถึง สิ่งที่มีรากฐานมาจากสุนนะฮ ที่จะถูกนำกลับไปหามัน ความจริง มันคือ บิดอะฮในทางภาษา ไม่ใช่บิดอะฮในทางศาสนบัญัติ เพราะมันสอดคล้องกับอัสสุนนะฮ” – ดู ญามิอุลอุลูม วัลหิกัม หน้า 28

อิหม่ามชาฟิอี (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)ได้อ้างกระทำของเคาะลิฟะฮอุมัร เป็นตัวอย่างของคำว่า “บิดอะฮที่ถูกสรรเสริญ “ เพราะการกระทำของอุมัร มีรากฐานมาจากการกระทำของท่านรซูลุลลอฮ
ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ในรูปแบบย่ามาอะฮ หลายคืน แต่ท่านได้หยุดเพราะเกรงว่า จะถูกบัญญัติให้เป็นฟัรดู ก็จะเกิดความลำบากแก่อุมมะฮของท่าน ,พอมาในยุคเคาะลิฟะฮ อบูบักรฺ ท่านสาละวนอยู่กับการทำสงครามปราบปรามขบถศาสนา จึงไม่ได้จัดระเบียบการละหมาดญะมาอะฮตะรอเวียะตามรูปแบบที่ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เคยทำ พอมาในสมัยเคาะลิฟะฮอุมัร (ร.ฎ) ท่านได้ริเริ่มขึ้นใหม่ โดยจัดให้มีการละหมาดญะมาอะฮละหมาดตะรอเวียะ ตามรูปแบบที่ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เคยทำไว้ และ “การริเริ่ม” ก็คือ บิดอะฮในความหมายทางภาษา ไม่ใช่ความหมายทางศาสนา
อิหม่ามอัชชาฏิบีย์ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)ได้อธิบายว่า

إنما سمّاها بدعةً باعتبار ظاهر الحال؛ من حيث تركها رسول الله صلى الله عليه وسلم واتَّفق أنْ لم تقع في زمان أبي بكر رضي الله عنه، لا أنَّها بدعةً في المعنى، فمن سمّاها بدعةً بهذا الاعتبار؛ فلا مشاحة في الأسامي، وعند ذلك لا يجوز أن يُسْتَدَلَّ بها على جواز الابتداع بالمعنى المتكلم فيه؛ لأنَّه نوع من تحريف الكلم عن مواضعه

ความจริง ที่เรียกมันว่า บิดอะฮ โดยการพิจารณาสภาพที่ปรากฏ(ในขณะนั้น) โดยที่ท่านรซูลลุลลอฮ ศ็อลลอ็ลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ทิ้งมัน และ บังเอิญว่า ไม่ปรากฏในสมัยของอบูบักร (ร.ฎ) เพราะความจริง มันไม่ใช่เป็นบิดอะฮในด้าน ความหมาย ดังนั้น ผู้ใด เรียกมันว่า “บิดอะฮ”ด้วยการพิจารณานี้ ก็อย่าให้ความสำคัญกับการเรียกชื่อ และในขณะดังกล่าว ไม่อนุญาตให้อ้างมัน เป็นหลักฐานว่า อนุญาตให้อุตริบิดอะฮ ด้วยความหมายที่ถูกพูดถึงในมัน เพราะแท้จริงมันเป็นส่วนหนึ่งของการบิดเบือนคำพูดออกจากที่ของมัน - อัลเอียะติศอม เล่ม 1 หน้า 195
กล่าวคือ อย่าไปอ้างความหมายบิดอะฮในทางภาษาไปอุตริบิดอะฮในทางศาสนา

อัศศอนอานีย์ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) กล่าวไว้ว่า

وأماقوله عمر نعم البدعة فليس في البدعة مايمدح بل كل بدعة ضلالة

สำหรับ คำที่ท่านอุมัร กล่าวว่า “เนียะมุนบิดอะฮ”(บิดอะฮที่ดี)นั้น(ไม่ใช่บิดอะฮในทางศาสนา) เพราะในบิดอะฮนั้น ไม่มีคำว่า สรรเสริญ แต่ทว่า ทุกบิดอะฮนั้น เป็นการหลงผิด – ดู สุบุลุสสลาม เล่ม 2 หน้า 10

อิบนุเราะญับ(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า

وأمَّا ما وقع في كلام السلف من استحسان بعض البدع، فإنما ذلك في البدع اللغوية لا الشرعية، فمن ذلك قول عمر - رضي الله عنه - لما جمع الناس في قيام رمضان على إمام واحد في المسجد، وخرج ورآهم يصلون كذلك، فقال: نعمت البدعة هذه

“ สำหรับสิ่งที่ปรากฏในคำพูดของสะลัฟ จากการที่เห็นว่าบางส่วนของบิดอะฮเป็นสิ่งที่ดีนั้น ความจริง ดังกล่าวนั้น เกี่ยวกับบิดอะฮในเชิงภาษา ไม่ใช่ ในด้านศาสนา แล้วส่วนหนึ่งจากดังกล่าวนั้น คือ คำพูดของอุมัร (ร.ฎ)เมื่อได้รวมผู้คนให้มาละหมาดกิยามุเราะมะฏอน(ตะรอเวียะ) ภายใต้การนำของอิหม่ามคนเดียวกัน ในมัสญิด และท่านได้ออกมาเห็นพวกเขา กำลังละหมาดเช่นนั้น จึงกล่าวว่า “ นี่คือ บิดอะฮที่ดี – ญามิอุลอุลูมวัลหิกัม 1/129

ท่านอิบนุตัยมียะฮ(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า

السنة هي ما قام الدليل الشرعي عليه بأنه طاعة لله ورسوله ، سواء فعله رسول الله صلى الله عليه وسلم أو فعل على زمانه ، أو لم يفعله ولم يفعل على زمانه ، لعدم المقتضي حينئذ لفعله أو وجود المانع منه ، ...... فما سنه الخلفاء الراشدون ليس بدعة شرعية ينهى عنها ، وإن كان يسمى في اللغة بدعة فكونه ابتدئ

อัสสุนนะฮ คือ สิ่งที่ปรากฏหลักฐานทางศาสนายืนยัน ว่า แท้จริงมัน(สิ่งนั้น)เป็นการภักดีต่ออัลลอฮและศาสนทูตของพระองค์ ไม่ว่าท่านรซูลลุลลอฮ ศ็อลลอ็ลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กระทำมัน หรือ มีการกระทำในสมัยของท่าน ก็ตาม หรือว่าท่านไม่ได้กระทำมัน และไม่ได้มีการกระทำในสมัยของท่าน เพราะไม่มีความจำเป็นที่จะกระทำในเวลานั้น หรือ เพราะมีอุปสรรค ... ดังนั้น สิ่งที่บรรดาเคาะลิฟะฮอัรรอชิดีน ได้ทำแบบอย่างเอาไว้ นั้น ไม่ใช่บิดอะฮในทางศาสนา (บิดอะฮชัรอียะฮ)ที่มีการห้ามจากมัน แม้ปรากฏว่าในทางภาษา เรียกว่า"บิดอะฮ"ก็ตาม เพราะมีความหมายว่า "ริเริ่ม"
- มัจญมัวะอัลฟะตาวา เล่ม 21 หน้า 317-319

แล้วท่านอิบนิตัยมียะฮกล่าวอีกว่า

ومعلوم أنّ كل ما لم يسنه ولا استحبه رسول الله صلى الله عليه وسلم ولا أحد من هؤلاء الذين يقتدي بهم المسلمون في دينهم فإنه يكون من البدع المنكرات، ولا يقول أحد في مثل هذا أنّه بدعة حسنة"
مجموع الفتاوى (27/152)

และเป็นที่รู้กันว่า ทุกสิ่งที่ท่านรซูลลุลลอฮ ศ็อลลอ็ลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ไม่ได้ทำแบบอย่างเอาไว้และไม่ได้ส่งเสริมมัน และไม่มีคนหนึ่งคนใดจากพวกเขา (หมายถึงเหล่าเคาะลิฟะฮอัรรอชิดีน)ที่บรรดามวลมุสลิมปฏิบัติตามพวกเขา ในเรื่องศาสนาของพวกเขา (ได้ทำแบบอย่างและส่งเสริมให้กระทำ) ดังนั้นแท้จริงมันเป็นส่วนหนึ่งจากบิดอะฮที่ต้องห้าม และไม่มีคนใดกล่าว ในกรณีแบบนี้ว่า เป็น “บิดอะฮหะสะนะฮ”
- มัจญมัวะอัลฟะตาวา เล่ม 27 หน้า 152
...............

เพราะฉะนั้นอย่าได้เข้าใจผิดว่า อิหม่ามชาฟิอี ขออัลลอฮเมตตตาต่อท่าน ปราชญ์สะลัฟ ผู้มีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดคำสอนศาสนาสู่อุมมะฮอิสลาม ส่งเสริมให้อุตริบิดอะฮในทางศาสนบัญญัติ ที่ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ห้ามและเตือนให้ระวัง ซึ่งความจริงท่านหมายถึงการริเริ่มทำสิ่งที่ดี ที่มีรากฐานการกระทำมาจาก ท่านรซูลลุลลอฮ ศ็อลลอ็ลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และต้องระมัดระวังในการอ้างคำพูดสะลัฟ เพื่อสนับสนุนการอุตริบิดอะฮไม่ว่าจะด้วยเหตุผลหรือข้ออ้างใดก็ตาม
والله اعلم بالصواب

อะสัน หมัดอดั้ม
23/7/56

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
sharifbkd
มือใหม่
มือใหม่


เข้าร่วมเมื่อ: 20/12/2013
ตอบ: 12


ตอบตอบ: Thu Dec 26, 2013 11:28 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

นายอับดุฮุ คงแยกปัจจัยพื้นฐานของคำว่า อีบาดะห์ กับ อาดะห์ ไม่ออก....
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sat Jul 05, 2014 2:16 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

طالب جاوي
เเล้วการที่ซอฮาบัตท่านหนึ่งตอบรับคำกล่าว ซามีอัลลอฮูลมันฮามีดะ ว่ารอบบานาลากัลฮัมดา ฮัมดัลกาซีรอล ตอยยีบัล มุบารอกัลฟีฮ โดยที่ก่อนหน้านั้นรอซูลไม่ได้กระทำมาก่อน
..............
คุณ ฏอลิบ ยาวี ต้องมาดูความหมายคำว่าสุนนะฮ นะครับ คำว่า สุนนะฮ คือ สิ่งที่เกี่ยวข้องกับท่านนบี ไม่ว่า จะเป็นคำพูด การกระทำ และการยอมรับ ของท่านนบี ศอ็ล ฯ ซึ่งสิ่งที่คุณนำมาอ้างนั้น คือ สิ่งที่นบี ศอ็ลฯ ยอมรับ(อิกรอร) แล้วจะเป็นบิดอะฮได้อย่างไร
ท่านริฟาอะฮฺ บิน รอฟิอฺ อัซซุเราะกีย์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า

كُنَّا يَوْماً نُصَلِّي وَرَاءَ النَّبِيِّ صلى الله عليه وسلم، فَلَمَّا رَفَعَ رَأْسَهُ مِنَ الركْعَةِ قال ; سَمِعَ اللهُ لِمَنْ حَمِدَهُ، قَالَ رَجُلٌ وَراءَهُ: رَبَّنَا وَلَكَ الحَمْدُ، حَمْدًا كَثِيْرَا طَيِّبًا مُبَارَكًا فيهِ، فَلَمَّا انْصَرَفَ قال:; مَنِ المُتَكّلِّمُ؟ ; قال: أنَا، قال: ; رَأَيْتُ بِضْعَةً وَثَلاثِيْنَ مَلَكًا يَبْتَدِرُونَها، أَيُّهُم يَكْتُبُها أَوَّلُ؟ ; [البخاري برقم 799]

ความว่า "วันหนึ่งขณะที่เรากำลังละหมาดตามหลังท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม อยู่นั้น เมื่อท่านเงยศีรษะขึ้นจากการรุกูอฺท่านก็กล่าวว่า


سَمِعَ اللهُ لِمَنْ حَمِدَهُ
(อัลลอฮฺทรงได้ยินผู้ที่สรรเสริญพระองค์)
แล้วก็มีชายคนหนึ่งซึ่งละหมาดอยู่ข้างหลังท่านกล่าวขึ้นมาว่า
رَبَّنَا وَلَكَ الحَمْدُ، حَمْدًا كَثِيْرَا طَيِّبًا مُبَارَكًا فيهِ
(โอ้พระผู้อภิบาลของเรา มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิของพระองค์ เป็นการสรรเสริญที่ดีงามมากมายและเต็มไปด้วยความจำเริญ) เมื่อเสร็จสิ้นการละหมาดท่านก็กล่าวถามว่า ‘เมื่อกี้นี้ใครเป็นคนพูด?’ ชายคนนั้นจึงกล่าวว่า: ฉันเองครับ ท่านนบีจึงกล่าวว่า ‘ฉันเห็นมลาอิกะฮฺสามสิบกว่าท่านยื้อแย่งกัน เพื่อจะเป็นคนแรกที่จดบันทึกคำพูดเหล่านั้น’" (บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ หะดีษเลขที่ 799)
...........
สิ่งเหล่านี้ ไม่ใช่หลักฐานที่จะนำมาอ้างว่า มีบิดอะฮที่ดีในศาสนาอิสลาม นะครับ เพราะมันเป็นสุนนะฮ ในการยอมรับของท่านนบี ศอ็ลฯ

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sat Jul 05, 2014 10:59 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ท่านญะรีร (เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ) ได้กล่าวว่า

كُنّا عِنْدَ رَسُوْلِ اللهِ فِي صَدْرِ النَّهَارِ، قَال: فَجَاء قَومٌ حُفاة عُراة مُجْتابي النمار والعَباء مُتَقَلِّدي السُيوف عَامتهم مِن مُضِر - بَل كُلُّهم مِن مضر - فَتَمعر وجه رسول الله (أي: تغير) لما رأى بِهم مِن الفَاقة، فَدَخَلَ ثُمَّ خَرَجَ فَأَمَرَ بِلالا فَأَذَّنَ وَأَقَامَ فَصَلّى ثم خَطَبَ فَقَال: {يَا أَيُّهَا النَّاسُ اتَّقُوا رَبَّكُمُ الَّذِي خَلَقَكُمْ مِنْ نَفْسٍ وَاحِدَةٍ وَخَلَقَ مِنْهَا زَوْجَهَا وَبَثَّ مِنْهُمَا رِجَالًا كَثِيرًا وَنِسَاءً وَاتَّقُوا اللَّهَ الَّذِي تَسَاءَلُونَ بِهِ وَالْأَرْحَامَ إِنَّ اللَّهَ كَانَ عَلَيْكُمْ رَقِيبًا} والآية التي في الحشر: {يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا اتَّقُوا اللَّهَ وَلْتَنْظُرْ نَفْسٌ مَا قَدَّمَتْ لِغَدٍ وَاتَّقُوا اللَّهَ إِنَّ اللَّهَ خَبِيرٌ بِمَا تَعْمَلُونَ} تَصَدّق رَجُل مِن من دِيْنارِه مِن دِرْهَمِه من ثوبِه مِن صاعِ بُرِّه مِن صَاعِ تَمْرِه حتى قال: وَلو بِشِقِّ تَمْرَةٍ، قال: فجاءَ رجُل مِن الأنصار بصرة كَادَتْ كَفُّهُ تَعْجِز عَنْها - بَل قَد عَجَزَتْ - قَال: ثُمَّ تَتَابَعَ النَّاس حَتى رَأَيْت كومين مِن طَعَام وثِيَاب حَتّى رَأَيْتُ وَجْهَ رسولِ الله يَتَهَلَّل كَأنه مَذهَبُه فقال رسول الله مَنْ سَنَّ فِي الإسلام سُنَّة حَسَنَة فَلَهُ أَجْرُها وَأَجْرُ مَنْ عَمِلَ بَعْدَهُ مِنْ غَيْرِ أَنْ يَنْقُص مِن أُجُوْرِهم شَيْء، وَمَنْ سَنَّ فِي الإِسلام سُنَّة سَيِّئَة كاَنَ عَلَيْه وِزْرها وَوِزْر مَن عَمِلَ بِهَا مِنْ بَعْدِه مِنْ غَيْرِ أَنْ يَنْقُصُ مِنْ أَوْزَارِهِمْ شَيْء& [أخرجه مسلم]

.(ครั้งหนึ่ง) เราได้อยู่กับท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม) ในช่วงแรกของกลางวัน เขากล่าว(ต่อไป)ว่า ได้มีชนกลุ่มหนึ่งเปลือยเท้า นุ่งน้อยห่มน้อย สวมเสื้อหนังเสือ และผ้าโผก สะพายดาบ คนส่วนใหญ่มาจาก(เผ่า)มุฎ็อรฺ -ที่จริงจากมุฎ็อรฺทั้งหมดนั่นแหละ- แล้วสีหน้าท่านก็เปลี่ยน(เป็นเศร้า) เพราะเห็นความยากจนข้นแค้นที่เกิดกับพวกเขา แล้วท่านก็กลับเข้าไป จากนั้นท่านก็ออกมา(อีกครั้ง) แล้วสั่งให้บิลาลอาซาน และอิกอมะฮฺ แล้วก็ละหมาด จากนั้นท่านก็กล่าวโอวาท ว่า

"มนุษย์เอ๋ย จงสำรวมตนต่อพระผู้อภิบาลของสูเจ้า ผู้ได้ทรงบังเกิดสูเจ้าจากชีวิตเดียว

และได้ทรงบังเกิดจากมัน ซึ่งคู่ครองของมัน และได้ทรงแพร่จากทั้งสองซึ่งผู้ชาย และผู้หญิงมากมาย

และจงสำรวมตนต่ออัลลอฮฺพระผู้ซึ่งสูเจ้าต่างพากันถามถึงพระองค์ และ(จงสำรวมตนในเรื่อง)การสัมพันธ์ทางเครือญาติ แท้จริง อัลลอฮฺเป็นผู้ทรงเฝ้าดูสูเจ้าเสมอ"

และอายะห์ที่อยู่ใน(ซูเราะฮฺ)อัล-ฮัชร์

"บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย จงสำรวมตนต่ออัลลอฮฺ และชีวิตหนึ่งจง(พิจารณา)ดู ถึงสิ่งที่พวกเขาได้ทำล่วงไว้สำหรับพรุ่งนี้
และจงสำรวมตนต่ออัลลอฮฺ แท้จริง อัลลอฮฺเป็นผู้ทรงตระหนักถึงที่สูเจ้ากระทำ"
คนหนึ่ง(ขอให้)บริจาคจากทองดีนารฺของเขา จากเงินดิรฺฮัมของเขา จากเสื้อผ้าของเขา จากข้าวสาลี 1 ซออฺ จากอินทผลัม 1 ซออฺ กระทั้งท่านกล่าวว่า และแม้เพียงอินผลัมซีกเดียว
เขากล่าวต่อไปว่า แล้วได้มีชายคนหนึ่งจากชาวอันศอรฺมาพร้อมกับถุงที่มือแทบยกไม่ไหว –ที่จริงก็ไม่ไหวนั่นแหละ-
เขากล่าวต่อไปว่า หลังจากนั้นคนอื่นๆพากันทำตามจนกระทั้งฉันเห็นเป็นกองพะเนินสองกอง กองอาหารและกองเสื้อผ้า จนฉันเห็นใบหน้าของท่านปลาบปลื้มดุจว่ามันเคลือบด้วยทอง แล้วท่านเราะสูลุลลอฮฺได้กล่าวว่า
“ผู้ใดทำแบบอย่างที่ดีในอิสลาม เขาย่อมได้รับผลบุญของเขา และของผู้ที่ทำมันภายหลังเขา โดยที่ผลบุญของพวกเขาเหล่านั้นมิได้พร่องลงแต่ประการใด
และผู้ใดทำแบบอย่างที่เลวในอิสลาม เขาย่อมได้รับบาปของเขา และบาปของคนที่ทำมันภายหลังเขา โดยที่บาปของพวกเขาเหล่านั้นมิได้พร่องลงแต่ประการใด”
(บันทึกโดยมุสลิม)

..................เห็นไหมครับ ว่า เขาพูดถึงเรื่อง ที่มีคนทำทาน แล้วมีคนเอาเป็นแบบอย่าง ไม่ใช่เรื่องอุตริบิดอะฮนะครับ

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย asan เมื่อ Sun Jul 06, 2014 10:27 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sun Jul 06, 2014 10:23 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ท่านริฟาอะฮฺ บิน รอฟิอฺ อัซซุเราะกีย์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า
كُنَّا يَوْماً نُصَلِّي وَرَاءَ النَّبِيِّ صلى الله عليه وسلم، فَلَمَّا رَفَعَ رَأْسَهُ مِنَ الركْعَةِ قال سَمِعَ اللهُ لِمَنْ حَمِدَهُ قَالَ رَجُلٌ وَراءَهُ: رَبَّنَا وَلَكَ الحَمْدُ، حَمْدًا كَثِيْرَا طَيِّبًا مُبَارَكًا فيهِ، فَلَمَّا انْصَرَفَ قال
; مَنِ المُتَكّلِّمُ؟; قال: أنَا، قال: رَأَيْتُ بِضْعَةً وَثَلاثِيْنَ مَلَكًا يَبْتَدِرُونَها، أَيُّهُم يَكْتُبُها أَوَّلُ؟ [البخاري برقم 799]
ความว่า "วันหนึ่งขณะที่เรากำลังละหมาดตามหลังท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม อยู่นั้น เมื่อท่านเงยศีรษะขึ้นจากการรุกูอฺท่านก็กล่าวว่า
سَمِعَ اللهُ لِمَنْ حَمِدَهُ
(อัลลอฮฺทรงได้ยินผู้ที่สรรเสริญพระองค์)
แล้วก็มีชายคนหนึ่งซึ่งละหมาดอยู่ข้างหลังท่านกล่าวขึ้นมาว่า
رَبَّنَا وَلَكَ الحَمْدُ، حَمْدًا كَثِيْرَا طَيِّبًا مُبَارَكًا فيهِ
(โอ้พระผู้อภิบาลของเรา มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิของพระองค์ เป็นการสรรเสริญที่ดีงามมากมายและเต็มไปด้วยความจำเริญ) เมื่อเสร็จสิ้นการละหมาดท่านก็กล่าวถามว่า ‘เมื่อกี้นี้ใครเป็นคนพูด?’ ชายคนนั้นจึงกล่าวว่า: ฉันเองครับ ท่านนบีจึงกล่าวว่า ‘ฉันเห็นมลาอิกะฮฺสามสิบกว่าท่านยื้อแย่งกัน เพื่อจะเป็นคนแรกที่จดบันทึกคำพูดเหล่านั้น’" (บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ หะดีษเลขที่ 79
…………….
คำว่า
رَبَّنَا وَلَكَ الحَمْدُ، حَمْدًا كَثِيْرَا طَيِّبًا مُبَارَكًا فيهِ
ท่านนบี ศอ็ลฯ ได้ให้การรับรองแล้ว ท่านบอกว่า “
رَأَيْتُ بِضْعَةً وَثَلاثِيْنَ مَلَكًا يَبْتَدِرُونَها، أَيُّهُم يَكْتُبُها أَوَّلُ
ฉันเห็นมลาอิกะฮฺสามสิบกว่าท่านยื้อแย่งกัน เพื่อจะเป็นคนแรกที่จดบันทึกคำพูดเหล่านั้น
แสดงว่า การที่มลาอิกะฮ แย่งกันจดบันทึก ก็เพราะพวกเขารู้ว่า เป็นสิ่งที่อัลลอฮพอพระทัย
เพราะฉะนั้น ข้างต้นเป็นสิ่งที่มีบัญญัติไว้ น้องฏอลิบ ยาวี เอามาอ้างเป็นหลักฐานสนับสนุนบิดอะฮ ได้อย่างไร

ส่วนหะดิษที่ว่า

;مَنْ سَنَّ فِي الْإِسْلَامِ سُنَّةً حَسَنَةً، فَلَهُ أَجْرُهَا، وَأَجْرُ مَنْ عَمِلَ بِهَا بَعْدَهُ، مِنْ غَيْرِ أَنْ يَنْقُصَ مِنْ أُجُورِهِمْ شَيْءٌ، وَمَنْ سَنَّ فِي الْإِسْلَامِ سُنَّةً سَيِّئَةً، كَانَ عَلَيْهِ وِزْرُهَا وَوِزْرُ مَنْ عَمِلَ بِهَا مِنْ بَعْدِهِ، مِنْ غَيْرِ أَنْ يَنْقُصَ مِنْ أَوْزَارِهِمْ شَيْءٌ

" ผู้ใดที่ได้ริเริ่มทำขึ้นมาในอิสลาม ซึ่งแนวทาง(แบบฉบับ)ที่ดี แน่นอน เขาจะได้รับผลบุญและได้รับผลบุญของผู้ที่ได้ปฏิบัติตาม หลังจากเขาได้(เสียชีวิตไปแล้ว) โดยไม่มีสิ่งบกพร่องลงเลยจากผลบุญของพวกเขา และผู้ใดที่ได้ริเริ่มทำขึ้นมาในอิสลาม ซึ่งแนวทาง(แบบอย่าง)ที่เลว แน่นอน บาปของมันก็ตกบนเขา และบาปของผู้ที่ปฏิบัติตามมัน หลังจากเขา(เสียชีวิตไปแล้วก็ตกบนเขา) โดยไม่มีสิ่งใดบกพร่องลงไปเลย จากบรรดาบาปของพวกเขา"(รายงานโดย มุสลิม /1017)
............
หะดิษข้างต้นไม่ใช่ หมายถึง ทำบิดอะฮที่ดี แล้วผู้อื่นทำตาม แล้วได้บุญ แต่มันคือ การฟื้นฟูสุนนะฮที่มีอยู่แล้ว
เพราะมีหะดิษอื่นยืนยัน คือ

أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ مَنْ أَحْيَا سُنَّةً مِنْ سُنَّتِي فَعَمِلَ بِهَا النَّاسُ كَانَ لَهُ مِثْلُ أَجْرِ مَنْ عَمِلَ بِهَا لَا يَنْقُصُ مِنْ أُجُورِهِمْ شَيْئًا وَمَنْ ابْتَدَعَ بِدْعَةً فَعُمِلَ بِهَا كَانَ عَلَيْهِ أَوْزَارُ مَنْ عَمِلَ بِهَا لَا يَنْقُصُ مِنْ أَوْزَارِ مَنْ عَمِلَ بِهَا شَيْئًا

แท้จริงรซูลุลลอฮ ศอ็ลฯ กล่าวว่า “ผู้ใดฟื้นฟู สุนนะฮ จากสุนนะฮของฉัน แล้วบรรดาผู้คนปฏิบัติด้วยมัน เขาก็จะได้รับผมตอบแทน เท่ากับผลตอบแทนผู้ที่ปฏิบัติด้วยมัน โดยไม่มีสิ่งใดๆบกพร่องไปจากการตอบแทน(ผลบุญ)ของพวกเขา และผู้ใด อุตริบิดอะฮ แล้วถูกปฏิบัติตามด้วยมัน เขาก็จะได้รับความผิด เท่ากับความผิดผู้ที่ปฏิบัติมัน โดยไม่มีสิ่งใดๆบกพร่องไปจากความผิด(บาป)ของผู้ที่ปฏิบัติด้วยมัน – รายงานโดยอิบนุมาญะฮ

قال الشيخ الألباني في صحيح ابن ماجه صحيح لغيره)
เพราะฉะนั้น การอ้างหะดิษข้างต้นสนับสนุนบิดอะฮ เป็นการบิดเบือนจากข้อเท็จจริง เพราะหะดิษที่สอง ยืนยันว่า “คือ การฟื้นฟูสุนนะฮ ไม่ใช่อุตริบิดอะฮ นะครับ

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> ปัญหาศาสนา ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, 4  ถัดไป
หน้า 3 จากทั้งหมด 4

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


Powered by phpBB ฉ 2001, 2002 phpBB Group







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.15 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ