ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
อนุรักษ์มรดกอิสลาม :: ดูกระทู้ - รวบรวมสาระความรู้ที่โพสต์ในเฟสบุคของอะสัน หมัดอะดั้ม
อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก อนุรักษ์มรดกอิสลาม  
  เพื่อการอนุรักษ์มรดกอิสลาม      คำถามถามบ่อยของกระดานข่าว      ค้นหา      รายนามสมาชิก  
  · เข้าระบบ ข้อมูลส่วนตัว · เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ · กลุ่มผู้ใช้งาน  
รวบรวมสาระความรู้ที่โพสต์ในเฟสบุคของอะสัน หมัดอะดั้ม
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 17, 18, 19  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักความเชื่อ
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sat Jun 16, 2012 1:15 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หลักฐานเกี่ยวกับละหมาดญะนาซะฮที่กุบูร


عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ أنَّ رَجُلاً أسْوَدَ أوِ امْرَأَةً سَوْدَاءَ كَانَ يَقُمُّ المَسْجِدَ فَمَاتَ فَسَأَلَ النَبِيُّ صَلى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ عَنْهُ فَقَالُوا مَاتَ قَالَ : أَفَلاَ كُنْتُمْ آذَنْتُمُوْنِي بِهِ دُلُّوْنِي عَلى قَبْرِهِ أَوْ قَالَ قَبْرِهَا فَأتَى قَبْرَهَا فَصَلَّى عَليْهَا

อบีฮุรอยเราะห์ รายงานว่า “มีชายผิวดำคนหนึ่ง หรือหญิงผิวดำคนหนึ่งที่คอยกวาดมัสยิดได้เสียชีวิตลง ต่อมาท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้ถามถึงเขา เหล่าศอฮาบะห์ตอบว่า เขาเสียชีวิตแล้ว ท่านกล่าวว่า ทำไมพวกเจ้าไม่บอกข่าวการเสียชีวิตของเขาให้ฉันทราบ พวกเจ้าจงชี้ให้ฉันได้ทราบว่า หลุมศพของเขา หรือของนางอยู่ที่ไหน หลังจากนั้นท่านก็ไปที่หลุมศพของนาง และละหมาด (ฆอเอ็บ) ให้แก่นางที่กุโบร์” ศอเฮียะห์บุคอรีย์ ฮะดีษเลขที่ 438

มาดูสายรายงานชัดเจน ข้างล่าง
(1) عبد الرحمن بن صخر
| (2) نفيع بن رافع
| | (3) ثابت بن أسلم
| | | (4) حماد بن زيد
| | | | (5) أحمد بن عبد الملك
| | | | | (6) محمد بن إسماعيل
| | | | | | (7) الكتاب: صحيح البخاري [الحكم: إسناده متصل، رجاله ثقات، على شرط الإمام البخاري]
| | | | (5) محمد بن الفضل
| | | | | (6) محمد بن إسماعيل
| | | | | | (7) الكتاب: صحيح البخاري [الحكم: إسناده متصل، رجاله ثقات، على شرط الإمام البخاري]
| | | | (5) سليمان بن حرب
| | | | | (6) محمد بن إسماعيل
| | | | | | (7) الكتاب: صحيح البخاري [الحكم: إسناده متصل، رجاله ثقات، على شرط الإمام البخاري


.ที่ห้ามคือ ละหมาดอื่นจากละหมาดญะนาซะฮดังหะดิษที่ว่า

الأَرْضُ كُلُّهاَ مَسْجِدٌ إلاّ الْمَقْبَرَة وَالْحَماَّم "

ความว่า: แผ่นดินทั้งหมดนั้นเป็นมัสยิด ยกเว้นสถานที่ ฝังศพ (กุโบร) และห้องน้ำ (รายงานโดยอะบูดาวูด หมายเลข 492
เช็คอัลเฟาซานกล่าวว่า

فلو أنَّ أحدًا من الناس صلَّى صلاة فريضة أو صلاة تطوُّع في مقبرة أو إلى قبر؛ فصلاته غير صحيحة

หากมนุษย์คนหนึ่งคนใด ละหมาดฟัรดู หรือละหมาดสุนัต ที่กุบูร หรือหันไปทางกุบูร การละหมาดของเขาใช้ไม่ได้ – อัลมุนตะกอ ฟัตวา เชคอัลเฟาซาน เล่ม 1 หมายเลขที่ 117

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sun Jun 17, 2012 9:44 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ประเด็นเกี่ยวกับการถือศีลอด

เรื่องคันหู

บางคน"คันหู" เขาทรมานมาก ไม่กล้าแคะหู กลัวเสียศีลอด คนที่เคยคันหู น่าจะรู้ว่าทรมานแค่ใหน เลยกลับกลายเป็นว่า การถือศีลอด เป็นการทมารตัวเอง ทั้งๆที่เจตนารมณ์ ของการถือศีลอด คือ การสำรวมตนจากความชั่ว แต่นี้กลับมาทรมาน ทำเรื่องง่าย ให้เป็นเรื่องยาก เพราะเงื่อนไขศาสนาที่มนุษย์กำหนดขึ้น
ท่านนบี ศอ็ลฯกล่าวว่า
ما بال أقوام يشترطون شروطا ليس في كتاب الله من اشترط شرطا ليس في كتاب الله فليس له وإن اشترط مائة مرة

สภาพของกลุ่มชนต่างๆจะเป็นอย่างไร พวกเขากำหนดเงื่อนไข ต่างๆ โดยที่ไม่มีในคัมภีร์ของอัลลอฮ ดังนั้น ผู้ใดก็ตามกำหนดเงื่อนไขหนึ่งเงื่อนไขใด โดยที่ไม่มีในคัมภีร์ของอัลลอฮ โดยที่เขาไม่มีสิทธิ์ แม้เขาจะกำหนดเงื่อนไข สักร้อยครั้งก็ตาม – รายงานโดย บุคอรี



การกรอกเลือดอยู่ในประเภทที่ทำให้เสียศีลอด

ต่อมาได้ถูกยกเลิก มีรายงานจากท่านนะบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ว่าท่านได้กรอกเลือดขณะถือศีลอด ทั้งนี้ตามรายงานของอิบนฺ อับบาส แจ้งว่า
احتجم النبي صلى الله عليه وسلم وهو صائم
“แท้จริงท่านนะบีได้กรอกเลือดขณะที่ท่านถือศีลอด” บันทึกโดย : อัลบุคอรียฺ

ในกรณีกรอกเลือด หากมีผลต่อสุขภาพหรือทำให้ผู้ถือศีลอดอ่อนเพลียเสียกำลัง จึงถือว่ามักรูฮ
ษาบิต อัลบุนานีย์กล่าวว่า

سُئِلَ أَنَسُ بْنُ مَالِكٍ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ أَكُنْتُمْ تَكْرَهُونَ الْحِجَامَةَ لِلصَّائِمِ قَالَ لَا إِلَّا مِنْ أَجْلِ الضَّعْفِ

มีผู้ถามอะนัส บิน มาลิก (ร.ฎ) ว่า พวกท่านถือว่า การกรอกเลือดสำหรับผู้ถือศีลอดเป็นมักรูฮใช่ไหม? เขา(อะนัส)กล่าวว่า “ไม่หรอก” นอกจาก ทำให้อ่อนแรง –

وَزَادَ شَبَابَةُ حَدَّثَنَا شُعْبَةُ عَلَى عَهْدِ النَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ

และชะบาบะฮ ได้รายงานเพิ่มเติมว่า “ชุอบะฮ ไดเล่าเราว่า หมายถึงในสมัยของนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม – รายงานโดย บุคอรี หะดิษหมายเลข 1838 กิตาบุศเศามฺ


การให้เลือด การฉีดสารอาหาร
………….


อิบนุอุษัยมีน กล่าวว่า

يلحق بالأكل والشرب ما كان بمعناها كالإبر المغذية التي تغني عن الأكل والشرب .
ผนวกเข้ากับการกินและการดื่ม สิ่งซึ่งอยู่ในความหมายของมัน เช่น การฉัดสารอาหาร เข้าไป ซึ่งมันทดแทนจากการกินและดื่มได้

وقال شيخ الإسلام ابن تيمية رحمه الله: لا فطر بالحقنة لأنه لا يطلق عليه اسم الأكل والشرب لا لغة ولا عرفاً وليس هناك دليل في الكتاب والسنة أن مناط الحكم وصول الشيء إلى الجوف ولو كان لقلنا : كل ما وصل إلى الجوف من أي منفذ كان فإنه مفطر, لكن الكتاب والسنة دلا على شيء معين وهو الأكل والشرب .

ชัยคุลอิสลามอิบนุตัยมียะฮ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) กล่าวว่า ไม่ทำให้เสียศีลอด ด้วยการฉีดยา เพราะ ชื่อการกินและการดื่ม ไม่ได้ถูกกล่าว อยู่บนความหมายของมัน ไม่ว่าในด้านภาษา หรือในด้านขนบธรรมเนียมประเพณี ก็ไม่มี และ ณ ที่นั้น ไม่ปรากฏในคัมภีร์อัลกุรอ่านและอัสสุนนะฮ ว่าหุกุมที่ถูกเพิ่มเติมเข้ามา คือ การนำสิ่งใด เข้าไปในรู และถ้ามันมี เราก็จะได้กล่าวว่า ทุกสิ่งที่เข้าไปถึงท้องไม่ว่าจะเป็นช่องใหนก็ตาม มันก็ทำให้เสียศีลอด แต่ว่า คัมภีรอัลกุรอ่านและอัสสุนนะฮ ทั้งสองได้แสดงบอก สิ่งที่ถูกเฉพาะเจาะจงไว้คือ การกินและการดื่มเท่านั้น - อัรชัรหุอัลมุมตะฮ เล่ม 6 หน้า 370
..............
สรุปว่า
1.การฉัดสารอาหารเข้าไปเข้าไป อยู่ในความหมายคำว่า กินและและดื่ม เพราะมันทดแทนกันได้
2. ส่วนการสอดใส่สิ่งต่างๆเข้าไปในรู้เปิด อื่นจากปาก เช่น รูจมูก รูหู รูทวาร ไม่ได้อยู่ในความหมายของคำว่า กินและดื่ม ไม่ว่าในทางภาษาหรือ ธรรมเนียม ก็ไม่มี และขอเพิ่มเติมว่า ไม่ได้อยู่ในความหมายของคำว่า “มีเพศสัมพันธ์” ด้วยเช่นกัน มันต่างกันราวฟ้ากับดิน

والله أعلم بالصواب

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
abdooh
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 08/06/2012
ตอบ: 188


ตอบตอบ: Mon Jun 18, 2012 6:28 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สิ่งที่ทำให้เสียศีลอด ตามที่คุณถ่ายทอดมาจากนักวิชาการตรงนี้ ผมคนหนึ่่งที่เห็นด้วย และสอนนักเรียนทุกที่ตามนี้ เพราะมุมนี้นักวิชาการในยุคปัจจุบันแทบทั้งหมดวิเคราะห์ตามที่คุณถ่ายทอดมา และเพราะหลายๆอย่างเป็นสิ่งที่เพิ่งจะเกิดขึ้นไม่เกินสามร้อยปีที่ผ่านมา จึงต้องพึ่งพามุมมองของนักวิชการยุคปัจจุบัน
......................... มีศัพท์คำหนึ่งที่ผมเข้าใจต่างกับคุณอะสัน นั่นคือคำว่า الحقنة ที่ปรากฎอยู่ในคำกล่าวของ อิบน์ตัยมียะฮ์ ซึ่งเท่าที่ผมเรียนมา หากผู้กล่าวเป็นผู้ที่เสียชีวิตนานแล้ว โดยเฉพาะเมื่อคำๆนี้เกี่ยวข้องกับการถือศีลอด ผมเข้าใจว่า คำๆนี้ น่าจะหมายถึง "การสอดยาเข้าทางทวารหนัก" ซึ่งมันน่าจะย่อมาจาก الحقنةالشرجية หากมีข้อผิดพลาดใดๆจากตัวผมก็ขอมะอัฟด้วย
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Mon Jun 18, 2012 5:10 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

abdooh บันทึก:
สิ่งที่ทำให้เสียศีลอด ตามที่คุณถ่ายทอดมาจากนักวิชาการตรงนี้ ผมคนหนึ่่งที่เห็นด้วย และสอนนักเรียนทุกที่ตามนี้ เพราะมุมนี้นักวิชาการในยุคปัจจุบันแทบทั้งหมดวิเคราะห์ตามที่คุณถ่ายทอดมา และเพราะหลายๆอย่างเป็นสิ่งที่เพิ่งจะเกิดขึ้นไม่เกินสามร้อยปีที่ผ่านมา จึงต้องพึ่งพามุมมองของนักวิชการยุคปัจจุบัน
......................... มีศัพท์คำหนึ่งที่ผมเข้าใจต่างกับคุณอะสัน นั่นคือคำว่า الحقنة ที่ปรากฎอยู่ในคำกล่าวของ อิบน์ตัยมียะฮ์ ซึ่งเท่าที่ผมเรียนมา หากผู้กล่าวเป็นผู้ที่เสียชีวิตนานแล้ว โดยเฉพาะเมื่อคำๆนี้เกี่ยวข้องกับการถือศีลอด ผมเข้าใจว่า คำๆนี้ น่าจะหมายถึง "การสอดยาเข้าทางทวารหนัก" ซึ่งมันน่าจะย่อมาจาก الحقنةالشرجية หากมีข้อผิดพลาดใดๆจากตัวผมก็ขอมะอัฟด้วย



حقنة : หุกนะฮ

والجمع حقن وهو دواء يحقن به المريض ، ويطلق أيضا على أداة الحقن وهي المحقن .
เป็นพหูพจฯ ของคำว่า หุเกาะนุน คือ ยา ใช้ฉีดยาผู้ปว่ย ด้วยมัน และ มันถูกอ้างถึงอุปกรณ์ฉีดยาอีกเช่นกันคือ อัลมิหเกาะนุ

ผมว่า ที่แปลไม่ผิดหรอกครับ เพราะการฉีดสารอาหาร เขาฉีดเข้าเส้นเลือด คงไม่มีใครฉีดเข้าทางทวารแล้วละครับ

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Mon Jun 18, 2012 5:16 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หลักการมัซฮับชาฟิอี

อิมามชาฟิอีย์เคยพูดไว้ว่า

إِذَا وَجَدْتُمْ فِي كِتَابِي خِلافَ سُنَّةِ رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فَقُولُوا بِسُنَّةِ رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَدَعُوا مَا قُلْتُ

ความว่า "เมื่อพวกท่านพบในตำราของฉันแตกต่างกับสุนนะฮฺของท่านรสูลุลลอฮฺ ดังนั้นพวกท่านจงปฏิบัติตาม สุนนะฮฺของรสูลุลลอฮฺเถิด และจงทิ้งสิ่งที่ฉันพูด
- มะริฟะฮ สุนันวัลอะษาร ของ อัลบัยหะกีย หะดิษ หมายเลข ๑๐๙

มีผู้กล่าวว่า

อาจารย์อะสันครับ เท่าที่ผมเคยฟังมา คำกล่าวของอิมามชาฟิอีย์ที่อาจารย์ยกมาน้ันเป็นการพูดถึงลูกศิษย์ของท่านระดับมุจตะฮิดไม่ใช่หรอครับ ไม่ใช่พูดแก่คนเอาวามทั่วไป ซึ่งคนเอาวามเขาไม่รู้หรอกว่าอันไหนมีน้่ำหนักและขัดแย้งกับซุนนะฮ์
………

ขอตอบว่า

คงได้ฟังมาตามความเห็นของคนฟังมาอีกที่ เพราะอิหม่ามชาฟิอีไม่ได้วงเล็บว่า “เฉพาะศิษย์ที่เป็นมุจญตะฮิดเท่านั้น”
เพราะท่านระบุไว้ใน ตำราของท่าน เช่น อัลอุม ท่านไม่ได้เขียนตำราเล่มนี้ให้ศิษย์ที่เป็นมุจญตะฮิดโดยเฉพาะหรอกนะ
ท่านอิหม่ามนะวาวีย์ระบุในอัลมัจญมัวะว่า

وَكَانَ جَمَاعَةٌ مِنْ مُتَقَدِّمِي أَصْحَابِنَا إذَا رَأَوْا مَسْأَلَةً فِيهَا حَدِيثٌ ، وَمَذْهَبُ الشَّافِعِيِّ خِلَافُهُ عَمِلُوا بِالْحَدِيثِ

และ มีคณะหนึ่งจากสหายของเรายุคก่อน เมื่อพวกเขาเห็นในประเด็นใดมีหะดิษ และมัซฮับชาฟิอีย์ ขัดแย้งกับหะดิษ พวกเขาก็ปฏิบัติตามหะดิษ – ดูอัลมัจญมัวะ เล่ม 1 หน้า 105
ท่านอิหม่ามนะวาวีย์ระบุในอัลมัจญมัวะว่า

قَالَ الشَّيْخُ أَبُو عَمْرٍو : فَمَنْ وَجَدَ مِنْ الشَّافِعِيَّةِ حَدِيثًا يُخَالِفُ مَذْهَبَهُ نَظَرَ إنْ كَمُلَتْ آلَاتُ الِاجْتِهَادِ فِيهِ مُطْلَقًا ، أَوْ فِي ذَلِكَ الْبَابِ أَوْ الْمَسْأَلَةِ كَانَ لَهُ الِاسْتِقْلَالُ بِالْعَمَلِ بِهِ . وَإِنْ لَمْ يَكْمُلْ وَشَقَّ عَلَيْهِ مُخَالَفَةُ الْحَدِيثِ بَعْدَ أَنْ بَحَثَ . فَلَمْ يَجِدْ لِمُخَالَفَتِهِ عَنْهُ جَوَابًا شَافِيًا ، فَلَهُ الْعَمَلُ بِهِ إنْ كَانَ عَمِلَ بِهِ إمَامٌ مُسْتَقِلٌّ غَيْرَ الشَّافِعِيِّ ، وَيَكُونُ هَذَا عُذْرًا لَهُ فِي تَرْكِ مَذْهَبِ إمَامِهِ هُنَا

เช็คอบูอัมริน กล่าวว่า “ ผู้ใดจากผู้ที่สังกัดมัซฮับชาฟิอีย์ เมื่อเขาได้พบ หะดิษบทหนึ่ง ขัดแย้งกับมัซฮับของเขา(ที่เขาสังกัดอยู่) ก็ให้เขาพิจารณา หาก เครืองมืออิจญติฮาฮ ในตัวเขา ครบถ้วน(หมายถึงเป็นมุจญตะฮิดมุฏลัก) หรือ ในเรื่องนั้น หรือในประเด็นนั้น ก็อนุญาตให้เขามีอิสระในปฏิบัติด้วยหะดิษนั้นได้ และถ้าเขา(มีคุณสมบัติการอิจญติฮาด)ไม่สมบูรณ์ และ การปฏิบัติขัดแย้งกับหะดิษ สร้างความลำบากใจแก่เขา หลังจากที่เขาได้พิจารณาถกปัญหาแล้ว ก็ไม่ได้คำตอบที่ชัดเจน สำหรับการที่จะปฏิบัติต่างกับหะดิษนั้น จากมัน(จากการที่ได้พิจารณาแล้ว) ก็อนุญาตให้เขาปฏัติตามหะดิษได้ แม้ว่า อิหม่ามต่างมัซฮับ อื่นจากอิหม่ามชาฟิอีได้ปฏิบัติด้วยมันก็ตาม และ กรณีนี้ เป็นข้ออนุโลมให้แก่เขาในการละทิ้งมัซฮับ(ทัศนะ)ของอิหม่ามของเขา ในกรณีนี้ -ดูอัลมัจญมัวะ เล่ม 1 หน้า 105
..........
ข้างต้นคือ หลักการของอุลามาอฺ มัซฮับชาฟิอีของแท้ เขาย่อมเห็นหะดิษเป็นเรื่องใหญ่เสมอ

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย asan เมื่อ Wed Apr 24, 2013 3:45 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
addullslam
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 19/05/2004
ตอบ: 672


ตอบตอบ: Mon Jun 18, 2012 6:18 pm    ชื่อกระทู้: เชิญอาจารย์อาซานตอบ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

http://www.azsunnah.myreadyweb.com/webboard/topic-188663.html
_________________
ท่านคือผู้ที่อัลลอฮฺทรงคัดเลือก
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Mon Jun 18, 2012 9:34 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

กฏการใช้หะดีษฎออีฟ

อบูบักร บิน อัลอะเราะบีย์ กล่าวว่า

بعدم جواز العمل بالحديث الضعيف مطلقاً لا في فضائل الأعمال ولا في غيرها

ไม่อนุญาตให้ปฏิบัติตามหะดิษเฏาะอีฟ โดยสิ้นเชิง ไม่อนุญาตในเรื่อง ฟะฎออิลุ้ลอะอฺม้าล และไม่อนุญาตในเรื่องอื่นจากนั้น – ตัดรีบุดรอวีย์ เล่ม 1 หน้า 252

ท่านอัลบานีย์ ก็ได้ถือตามทัศนะนี้ – ดู เศาะเฮียะ อัตตัรฆีบ วัต-ตัรฮีบ ในคำนำ เล่ม 1 หน้า 47-68

ตัวอย่างหะดิษเฎาะอีฟ

من صلى بين المغرب والعشاء عشرين ركعة، بنى الله له بيتاً في الجنة “

ผู้ใดละหมาดระหว่าง (ละหมาด)มัฆริบ และ อีชา 20 เราะกาอัต อัลลอฮทรงสร้างบ้านให้แก่เขาในสวรรค์ – บันทึกโดย อัลบัยฮะกีย์ด้วยสายสืบที่เฎาะอีฟ

هذا الحديث في فضائل الأعمال، والفضل هنا قوله (بنى الله له بيتاً في الجنة) هذا الفضل لا يجوز إيراده لأن أصل العمل وهو صلاة عشرين ركعة بين المغرب والعشاء لم يثبت بدليل صحيح أو حسن، فلا يجوز حينئذ أن يورد حديث ضعيف في فضله

หะดิษนี้ เกี่ยวกับเรื่อง ?ฟะฎออิลุ้ลอะอฺม้าล?(= ความประเสริฐของอะมั้ลอิบาดะฮ) فضائل الأعمال، ) คำว่า ?ความประเสริฐ ในที่นี้คือ ถ้อยคำที่ว่า ?อัลลอฮทรงสร้างบ้านให้แก่เขาในสวรรค์ ?(بنى الله له بيتاً في الجنة ความประเสริฐในที่นี้ คือ?(بنى الله له بيتاً في الجنة ไม่อนุญาตให้รายงาน เพราะต้นเรื่องของ อะมั้ล (สิ่งที่ปฏิบัติ)คือ من صلى بين المغرب والعشاء عشرين ركعة ? (ผู้ใดละหมาดระหว่าง (ละหมาด)มัฆริบ และ อีชา 20 เราะ) ไม่ปรากฏหลักฐานที่เศาะเฮียะ หรือ หะซัน รับรองไว้ ดังนั้น จึงไม่อนุญาตให้รายงาน หะดิษเฎาะอีฟ ที่ระบุเกี่ยวกับความประเสริฐของมัน

เช่น การอ่านตัลกีน เป็นรูปแบบอิบาดะฮ ที่ มีคนบอกว่า เป็นสุนัต การกระทำที่มีหุกุมว่า เป็นสุนัต ต้องมีหะดิษรับรองไว้

ส่วนคำว่า فضائل الأعمال หมายถึงหะดิษที่กล่าวถึงความประเสริฐ ภาคผลของการกระทำนั้น

ท่านฮาฟิซอิบนุหะญัร ได้อธิบายถึงเงื่อนไขของการอนุญาตการนำหะดิษเฏาะอีฟมาใช้ว่า


1- أن يكون الضعف غير شديد ، فلا يعمل بحديث انفرد به أحدٌ من الكذابين أو المتهمين بالكذب أو من فحش غلطه .


2- أن يندرج تحت أصل معمول به .


3- ألا يعتقد عند العمل به ثبوته ، بل يعتقد الاحتياط .


1. ไม่เฎาะอีฟจนเกินไป ดังนั้น ไม่ปฎิบัติตามหะดิษ ที่คนคนเดียวรายงาน จากบรรดาผู้ที่โกหก หรือถูกกล่าวหาว่าโกหก หรือ มีความผิดพลาดอย่างน่าเกลียดของเขา

2. (หะดิษเฎาะอีฟนั้น)อยู่ภายใต้หะดิษหลักที่ถูกนำมาปฏิบัติอยู่แล้ว

3. ในขณะปฏิบัติ เขาจะไม่เชื่อ ถึงความแน่นอนของหะดิษ แต่ให้เชื่อในลักษณะเผื่อไว้เท่านั้น(หรือป้องกันไว้ก่อน )

หะดิษเฏาะอีฟ เป็นหะดิษที่คาดเดาเอาไว้เท่านั้น ขาดความแน่นอน อัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตาอาลากล่าวว่า

وَإِنَّ الظَّنَّ لَا يُغْنِي مِنَ الْحَقِّ شَيْئاً

และแท้จริงการคาดคะเนนั้นจะไม่อำนวยประโยชน์อันใดแก่ความจริงได้

ท่านนบี ศฮลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า


“إياكم والظن فإن الظن أكذب الحديث

พวกท่านพึงระวัง การคาดคะเน แท้จริงการคาดคะเนนั้น เป็นคำพูดที่โกหก – มุตตะฟักอะลัญฮิ

ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

من حدث عني بحديث يرى أنه كذب فهو أحد الكاذبين

ผู้ใดรายงานจากข้าพเจ้า ด้วยหะดิษ ที่เขาเห็นว่า โกหก ดังนั้น เขาคือ คนหนึ่งในบรรดาผู้ที่โกหก ?รายงานโดย มุสลิม

อิหม่ามอิบนุหิบบาน กล่าวว่า


في هذا الخبر دليل على أن المحدث إذا روى ما لم يصح عن النبي مما تقول عليه وهو يعلم ذلك يكون كأحد الكاذبين ، على أن ظاهر الخبر ما هو أشد ، قال صلى الله عليه وآله : ((من روى عني حديثا وهو يرى أنه كذب …)) ولم يقل : إنه تيقن أنه كذب ، فكل شاك فيما يروي أنه صحيح أو غير صحيح داخل في ظاهر خطاب هذا الخبر


ในหะดิษนี้ แสดงบอกให้รู้ว่า แท้จริง ผู้ที่ รายงานหะดิษนั้น เมื่อเขารายงานสิ่ง ที่ไม่เศาะเฮียะ จากท่านนบี จากสิ่งที่เขาอุปโลกน์ขึ้นมาบนมัน โดยที่เขารู้ ดังกล่าวนั้น เขาก็เป็นคนหนึ่งในบรรดาผู้ที่โกหก (แสดงให้รู้ว่า) แท้จริง ความหมายที่ปรากฏของหะดิษนั้น คือ สิ่งที่รุนแรงกว่า, ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม (ผู้ใดรายงานจากข้าพเจ้า ด้วยหะดิษ ที่เขาเห็นว่า โกหก ดังนั้น เขาคือ คนหนึ่งในบรรดาผู้ที่โกหก ) ,ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ไม่ได้กล่าวว่า ?แท้จริง เขาเชื่อมั่นว่ามันโกหก ดังนั้น ทุกๆการสงสัย ในสิ่งที่เขารายงานว่ามัน เศาะเฮียะ หรือ ไม่เศาะเฮียะ ก็เขาอยู่ในความหมายที่ปรากฏของการกล่าวของหะดิษนี้ – อัฎ-ฎุอาฟาอฺ เล่ม 1 หน้า 7-8

ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

كفى بالمرء كذبا أن يحدث بكل ما سمع

พอเพียงแล้วที่จะได้ชื่อว่า เป็นคนโกหก คือ การที่เขา รายงานด้วยทุกสิ่งที่ได้ยินมา ? รายงานโดยมุสลิม

และอิบนุหิบบาน ได้กล่าวในหนังสือของท่านเล่มเดียวกัน หน้าที่ 9 ว่า

في هذا الخبر زجر للمرء أن يحدث بكل ما سمع حتى يعلم علم اليقين صحته

ในหะดิษนี้ คือ การสัมทับ(เตื่อนให้ระวัง) แก่บุคคล ว่า อย่ารายงานทุกสิ่งที่เขาได้ยินมา จนกว่าจะรู้อย่างแน่ใจว่า มันถูกต้อง(เศาะเฮียะ)

……………


จึงสรุปว่า หะดิษเศาะเฮียะ ปลอดไปที่สุด โดยประการทั้งปวง

ท่านอัลลามะฮ อะหมัด ชากิร กล่าวว่า


لا فرقَ بين الأحكام وبين فضائل الأعمال ونحوها في عدم الأخذ بالرواية الضعيفة ، بل لا حجةَ لأحدٍ إلا بما صحَّ عن رسول الله صلى الله عليه وسلم من حديث صحيحٍ أو حسنٍ

ไม่มีการแบ่งแยก ระหว่างเรื่องหุกุม (ว่าด้วยกฎข้อบังคับของศาสนา) และ ระหว่าง เรื่อง ความประเสริฐ ของบรรดาการงาน(ฟะฏออิลุ้ลอะอฺม้าล) และในทำนองนั้น ในการที่ไม่อนุญาตให้ยึดเอารายงานที่เฏาะอีฟ แต่ตรงกันข้าม ไม่อนุญาตให้บุคคลใด อ้างอิงหลักฐาน นอกจากด้วย สิ่งที่เศาะเฮียะ จากท่านรซูลุ้ลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จากหะดิษเศาะเฮียะ หรือ หะดิษหะซัน

- อัลบาอิษุลหะษีษ เล่ม 1 หน้า 278

การนำหะดิษเฎาะอีฟมาอ้างนั้น หนีไม่พ้น การคาดเดา หรือ เดาสุ่มเอา การปฎิบัติในสิ่งที่ไม่แน่นอน หรือ คาดคะเนเอาเองนั้น ศาสนาห้าม ดังหลักฐานที่ได้ระบุแล้วคือ


وَإِنَّ الظَّنَّ لَا يُغْنِي مِنَ الْحَقِّ شَيْئاً


และแท้จริงการคาดคะเนนั้นจะไม่อำนวยประโยชน์อันใดแก่ความจริงได้

ท่านนบี ศฮลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า


“إياكم والظن فإن الظن أكذب الحديث


พวกท่านพึงระวัง การคาดคะเน แท้จริงการคาดคะเนนั้น เป็นคำพูดที่โกหก ? มุตตะฟักอะลัญฮิ

การห้ามปฏิบัติตาม การคาดเดา ไม่ว่า ในเรื่องของอะกีดะฮ(หลักศรัทธา) หรือ หลักการอิบาดาต นั้น ย่อมไม่แตกต่าง

ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า


من كذب علي متعمداً فليتبوأ مقعده من النار”


ผู้ใด อุปโลกห์เรื่องเท็จให้แก่ข้าพเจ้า โดยเจตนา ดังนั้น เขาจงเตรียมที่อยู่ของเขา จากนรก

(رواه أحمد وأصحاب السنن الستة وغيرهم)


عن سلمة بن الأكوع قال : سمعت رسول الله صلى الله عليه وسلم يقول ( من تقول عليّ مالم أقل ، فليتبوأ مقعده في النار

รายงานจากสะละมะฮ บุตร อัลอักวะฮฺ กล่าวว่า ข้าพเจ้าได้ได้ยินท่านรซูลุ้ลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

“ผู้ใดอุปโลกน์คำพูดให้แก่ฉัน สิ่งซึ่งฉันไม่ได้พูดไว้ ดังนั้น เขาจงเตรียมที่อยู่ในนรก * รายงานโดย บุคอรี


ท่านรซูลุ้ลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

( من كذب عليّ متعمدا فليتبوأ مقعده من النار

ผู้ใดกล่าวคำเท็จให้แก่ฉัน โดยเจตนา ดังนั้น เขาจงเตรียมที่อยู่ จากนรก – รายงานโดยบุคอรี และอบูดาวูด

………..

ดังนั้น การเอาหะดิษเฎาะอีฟ มาเป็นหลักฐาน โดยกล่าวว่า ท่านนบีกล่าวว่า…..อย่างนั้น อย่างนี้ .ซึ่งเป็นคาดเดาว่าท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวไว้ แล้วถ้าท่านนบี ไม่ได้กล่าวไว้ เขาก็อาจจะอยู่ในข่ายความผิดอุปโลกน์สิ่งเท็จแก่ท่านนบีได้

อิหม่ามนะวาวีย์ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า


قال العلماء ينبغى لمن أراد رواية حديث أو ذكره أن ينظر فان كان صحيحا أو حسنا قال رسول الله صلى الله عليه وسلم كذا أو فعله أو نحو ذلك من صيغ الجزم وان كان ضعيفا فلا يقل قال أو فعل أو أمر أو نهى وشبه ذلك من صيغ الجزم بل يقول روى عنه كذا أو جاء عنه كذا أو يروى أو يذكر أو يحكى أو يقال أوبلغنا وما أشبهه والله سبحانه أعلم

บรรดานักวิชาการ ได้กล่าวว่า สมควรให้ผู้ที่ต้องการรายงานหะดิษ หรือ ระบุหะดิษ ให้เขาพิจารณา แล้วถ้าหากมันเป็นหะดิษเศาะเฮียะ หรือเป็น หะดิษฮะซัน (ก็ให้กล่าว) ว่า ท่านรซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวอย่างนั้น อย่างนี้ หรือ ทำอย่างนั้นอย่างนี้ หรือในทำนองนั้น ด้วยถ้อยคำที่หนักแน่น และถ้าหากว่ามันเป็นหะดิษเฎาะอีฟ ก็อย่ากล่าวว่า ?ท่านรอซูลกล่าวว่า หรือได้ทำ หรือ ได้สั่งว่า หรือได้ห้ามว่า เป็นต้น ด้วยถ้อยคำที่หนักแน่น แต่ให้กล่าวว่า ?ได้มีรายงานจากท่านรอซูล อย่างนั้น อย่างนี้ หรือ มาจากท่านรอซูล อย่างนั้น อย่างนี้ หรือ ได้มีรายงาน หรือ ได้มีการระบุว่า หรือได้มีการเล่าว่า หรือ มีผู้กล่าวว่า หรือ ได้มีรายงานถึงมายังเรา เป็นต้น ? วัลลอฮุซุบฮานะฮู อะอฺลัม

- เศาะเฮียะมุสลิม เล่ม 1 หน้า 71

……………………………….

สรุปว่า ถ้าเป็นหะดิษเฎาะอีฟ ก็อย่ายืนยันว่า นบีพูด นบีทำ แต่ให้เลี่ยงไปกล่าว ด้วยถ้อยคำว่า มีรายงานว่า ,มีผูกล่าวว่า เป็นต้น นี้คือ การยึดถือปฏิบัติในสิ่งที่ไม่มั่นใจ อย่างเห็นได้ชัด

อิหม่ามนะวาวีย์ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า


قال العلماء من المحدثين والفقهاء وغيرهم: يجوز ويستحب العمل في الفضائل والترغيب والترهيب بالحديث الضعيف، ما لم يكن موضوعا، وأما الأحكام كالحلال والحرام والبيع والنكاح والطلاق وغير ذلك فلا يعمل فيها إلا بالحديث الصحيح أو الحسن إلا أن يكون في احتياط في شيء من ذلك

บรรดานักวิชาการหะดิษและฟิกฮ และอื่นจากพวกเขากล่าวว่า ?อนุญาตและชอบให้ปฏิบัติ ในเรื่องคุณค่าอะมั้ล ,ตัรฆีบ(ส่งเสริมให้ทำความดี)และตัรฮีบ (เตือนไม่ให้ทำชั่ว) ด้วยหะดิษเฎาะอีฟ ตราบใดที่มันไม่ได้เป็นหะดิษเมาฎัวะ (หะดิษปลอม) และสำหรับเรื่อง กฎข้อบังคับต่างๆ เช่น การอนุมัติ,การห้าม ,การซื้อขาย,การสมรส ,การหย่าร้าง และอื่นจากนั้น จะปฏิบัติด้วยมัน(หะดิษเฏาะอีฟ)ไม่ได้ นอกจากด้วยหะดิษ เศาะเฮียะ หรือหะดิษหะซันเท่านั้น ยกเว้น ในกรณีเผื่อไว้เพื่อป้องกันความผิดพลาด ในสิ่งหนึ่งสิ่งใด จากดังกล่าวนั้น ? อัลอัซกัร หน้า 7-8

ท่านอัสสะคอวีย์(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า


وقد سمعت شيخنا رحمه الله ?يعني الحافظ ابن حجر العسقلاني- يقول، وكتب لي بخطِّه: إنَّ شرائط العمل بالضَّعيف ثلاثة:

الأوَّل: متَّفق عليه أن يكون الضَّعف غير شديد، فيخرج من انفرد من الكذَّابين والمتَّهمين بالكذب ومن فحش غلطه.

الثَّاني: أن يكون مندرجاً تحت أصل عام، فيخرج ما يخترع، بحيث لا يكون له أصل أصلاً.

الثَّالث: أن لا يعتقد عند العمل به ثبوته؛ لئلاَّ يُنسَبَ إلى النَّبيِّ , ما لم يقله


ข้าพเจ้าได้ยินอาจารย์ของข้าพเจ้า (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) ? หมายถึง อัลฮาฟิซอิบนะญัร อัลอัสเกาะลานีย์ ได้กล่าว และบันทึกด้วยลายมือของท่านให้แก่ข้าพเจ้า ว่า ?แท้จริงเงื่อนไขของการปฏิบัติด้วยหะดิษเฏาะอีฟ นั้น มี 3 ประการคือ

1. เป็นหะดิษที่ได้รับการเห็นฟ้องกันว่า ไม่เป็นเฏาะอีฟที่รุนแรง ดังนั้น ผู้ที่รายงานเพียงคนเดียว จากผู้ที่ชอบโกหก และผู้ที่ถูกกล่าวหาว่า โกหก และผู้ที่การผิดพลาดของเขา(ในการรายงานหะดิษ)น่าเกลียดมาก ไม่เข้าอยู่ในเงื่อนไขนี้

2. เป็นหะดิษที่อยู่ภายใต้ รากฐานทั่วไป(ที่มีอยู่แล้ว) ดังนั้น สิ่งที่ถูกอุตริขึ้นมาทีหลัง โดยที่มันไม่มีรากฐาน มาแต่เดิม จึงไม่เข้า อยู่ในเงื่อนไขข้อนี้

3. ในขณะที่นำมันมาปฏิบัติ ก็อย่าได้เชื่อว่า มันมีความแน่นอน เพื่อจะได้ไม่อ้างอิงถึงท่านนบี ในสิ่งที่ท่านไม่ได้พูด

- ดู อัลเกาลุ้ลบะเดียะ หน้า 258

………………………

นี่ก็เห็นได้ชัดว่า เมื่ออ้างอิงหะดิษเฏาะอีฟ ก็อย่าได้มั่นใจ นบีเป็นผู้กล่าว เพราะเกรงว่า จะกลายเป็นคนที่กล่าวเรื่องเท็จให้แก่นบี แล้วเราจะเอาหะดิษมาอ้างทำไม มันเสี่ยงอย่างเห็นได้ชัด แปลกจริงๆ

………………….

สรุปว่า ถ้าเป็นหะดิษเฎาะอีฟ ก็อย่ายืนยันว่า นบีพูด นบีทำ แต่ให้เลี่ยงไปกล่าว ด้วยถ้อยคำว่า มีรายงานว่า ,มีผูกล่าวว่า เป็นต้น นี้คือ การยึดถือปฏิบัติในสิ่งที่ไม่มั่นใจ อย่างเห็นได้ชัด

หลักฐานจากอัลกุรอ่าน เรียกว่า ดาลีลุลกอฏอีย์ คือหลักฐานเด็ดขาด

หลักฐานจากอัลหะดิษ เรียกว่า ดาลีลุลซอ็นนัย์ คือหลักฐานอนุมาน คือ การให้น้ำหนักไปในทางมั่นใจ

เมื่อหะดิษนั้น ผ่านการกลั่นกลอง สายรายงาน แคณสมบัติผู้รายงาน จึงจัดไว้ให้เป็นหมาดหมู่ คือ

1. เศาะเฮียะ หมายถึงอยู่ในระดับที่ถูกต้อง

2. หะซัน หมายถึงอยู่ในระดับที่ดี

3. เฏาะอีฟ หมายถึง อยู่ในระดับที่อ่อนหลักฐาน

หลักฐานซอ็นนีย์ ที่อยู่ในระดับ เศาะเฮียะ และหะซัน ใคร บอกว่ายังฟันธงไม่ได้ ผมอยากจะถามว่า “แล้วหะดิษเฏาะอีฟ” จะเหลืออะไรล่ะครับ

ถ้าคุณศึกษาแบบใช้ปัญญาพิจารณา คุณลองถามตัวเองหน่อยเป็นไรว่า ” ขนาดตอนรายงาน ก็ไม่กล้าที่จะกล่าวว่า “ท่านนบี พูด แล้วคุณนำมันมาปฏิบัติได้อย่างไร เช่นคำพูดของอิหม่ามนะวาวีย์ ดังที่เคยอ้างมาแล้ว

อิหม่ามนะวาวีย์ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า


قال العلماء ينبغى لمن أراد رواية حديث أو ذكره أن ينظر فان كان صحيحا أو حسنا قال رسول الله صلى الله عليه وسلم كذا أو فعله أو نحو ذلك من صيغ الجزم وان كان ضعيفا فلا يقل قال أو فعل أو أمر أو نهى وشبه ذلك من صيغ الجزم بل يقول روى عنه كذا أو جاء عنه كذا أو يروى أو يذكر أو يحكى أو يقال أوبلغنا وما أشبهه والله سبحانه أعلم



บรรดานักวิชาการ ได้กล่าวว่า สมควรให้ผู้ที่ต้องการรายงานหะดิษ หรือ ระบุหะดิษ ให้เขาพิจารณา แล้วถ้าหากมันเป็นหะดิษเศาะเฮียะ หรือเป็น หะดิษฮะซัน (ก็ให้กล่าว) ว่า ท่านรซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวอย่างนั้น อย่างนี้ หรือ ทำอย่างนั้นอย่างนี้ หรือในทำนองนั้น ด้วยถ้อยคำที่หนักแน่น และถ้าหากว่ามันเป็นหะดิษเฎาะอีฟ ก็อย่ากล่าวว่า ?ท่านรอซูลกล่าวว่า หรือได้ทำ หรือ ได้สั่งว่า หรือได้ห้ามว่า เป็นต้น ด้วยถ้อยคำที่หนักแน่น แต่ให้กล่าวว่า ?ได้มีรายงานจากท่านรอซูล อย่างนั้น อย่างนี้ หรือ มาจากท่านรอซูล อย่างนั้น อย่างนี้ หรือ ได้มีรายงาน หรือ ได้มีการระบุว่า หรือได้มีการเล่าว่า หรือ มีผู้กล่าวว่า หรือ ได้มีรายงานถึงมายังเรา เป็นต้น ? วัลลอฮุซุบฮานะฮู อะอฺลัม

- เศาะเฮียะมุสลิม เล่ม 1 หน้า 71

ท่านอัลบานีย์จึงกล่าวว่า



قال رسول الله صلى الله عليه وسلم: “اتقوا الحديث عني إلا ما علمتم” فإذا نهي عن رواية الحديث الضعيف فبالأحرى العمل به،


ท่านรซูลุ้ลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะยฮิวะสัลลัม ดกล่าวว่า “พวกท่านพึงระวังหะดิษที่รายงานจากฉัน เว้นแต่สิ่งที่พวกท่านรู้” แล้ว เมื่อท่านได้ห้ามรายงานหะดิษเฏาะอีฟ การนำมัน(หะดิษเฎาะอีฟ)มาปฏิบัติ ย่อม(ไม่สมควร)ยิ่งไปกว่านั้นอีก

- สิฟะติเศาะลาตินนบี ฯ หน้า 7

ท่านอิหม่ามชาฟิอีย์เอง กล่าวว่า


إذا صح الحديث فهو مذهبي، وإذا صح الحديث فاضربوا بقولي عرض الحائط


เมื่อหะดิษเศาะเฮียะ มันคือ แนวทางของฉัน และเมื่อหะดิษเศาะเฮียะ ดังนั้นจงขว้างคำพูดของข้าพเจ้า ไปที่ผนังกำแพง – สิยะรุ้ลอะอ์ลามุ้ลนุบะลาอ เล่ม 10 หน้า 47

และอิหม่ามชาฟิอีย์ กล่าวอีกว่า


إذا صح الحديث عن النبي صلى الله عليه وسلم وقلت أنا قولا فأنا راجع عن قولي وقائل بذلك


เมื่อหะดิษเศาะเฮีย จากท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม โดยที่ข้าพเจ้าเองได้กล่าว(ขัดแย้งกับหะดิษ) ดังนั้นข้าพเจ้า ขอคืนคำ และปฏิบัติตามหะดิษนั้น

สิยะรุ้ลอะอ์ลามุ้ลนุบะลาอ เล่ม 9 หน้า 107

แต่คนที่อ้างว่า ตามมัซฮับชาฟิอีย์ กลับปกป้องหะดิษเฎาะอีฟ แบบหัวชนฝา

ท่านมุหัมหมัด บุตร สิรีน กล่าวว่า


إنَّ هذا العلمَ دينٌ، فانظُروا عمن تأخذون دينكم


แท้จริง นี้คือ ความรู้ ศาสนา ดังนั้น พวกท่านจงพิจารณา จากผู้ที่พวกท่าน เอาศาสนาของพวกท่าน – คำนำเศาะเฮียะมุสลิม เล่ม 1 หน้า 13


العلم المقصود هو: حديث النبي صلى الله عليه وسلم ، فلا يؤخذ إلا عن الثقات الأثبات، أهل الصدق و الأمانة

คำว่า “ความรู้ในที่นี้ หมายถึง หะดิษของท่านนบี สอ็ลลัลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ดังนั้น จงอย่าเอา เว้นแต่ จากรายงานที่เชื่อถือได้ แน่นอน คือ ผู้ที่มีสัจจะ และมี่ความซื่อสัตย์


عن أبي قتادة رضي الله عنه قال: قال رسول الله صلى الله عليه وسلم ;إياكم و كثرة الحديث عني، مَنْ قال عليَّ فلايقولَنَّ إلاَّحقاً أو صدقاً،فمن قال عليَّ مالم أقل فليتبوَّأْ مقعدَه من النار


จากอบีเกาะตาดะฮ (ร.ฏ) กล่าวว่า ท่านรซูลุ้ลลอฮ สอ็ลลัลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า” พวกท่านพึงระวัง การรายงานหะดิษจากฉันจำนวนมาก ,ผู้ใดกล่าวพาดพิงถึงฉัน เขาก็จงอย่ากล่าว นอกจาก ความถูกต้องหรือ ความจริง ดังนั้น ผู้ใดกล่าวอ้างให้แก่ฉัน สิ่งซี่งฉันไม่ได้กล่าว เขาจงเตรียมที่อยู่ในนรก

رواه أحمد (5/297) وغيره

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
abdooh
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 08/06/2012
ตอบ: 188


ตอบตอบ: Tue Jun 19, 2012 7:51 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

จากหนังสือ معجم لغة الفقهاء (พจนานุกรมภาษานักนิติศาสตร์อิสลาม) เล่ม 1 หน้า 183 กล่าวไว้ว่า
الحقنة: ر: حاقن
* المداواة بادخال الدواء السائل في الدبر
............................... หุกนะฮ์ ผู้ทำหุกนะฮ์ หมายถึง การรักษาด้วยการสอดตัวยาให้ไหลเข้าไปทางทวารหนัก
وتطلق اليوم على إدخال الدواء إلى داخل الجسم بواسطة الضغط سواء أكان عن طريق الدبر أم عن طريق الجلد
............................... คำนี้ ในปัจจุบัน หมายถึง การนำตัวยาเข้าสู่ภายในร่างกายโดยการดันเข้า ไม่ว่าจะเป๋นทางทวารหนักหรือทางผิวหนังก็ตาม
............ ผมว่าหลักฐานนี้น่าจะชี้ชัดว่า คำคำนี้ในมุมนักวิชาการยุคก่อน มีความหมายตามที่ผมกล่าว เพราะหนังสือเล่มนี้ เป็นหนังสืออธิบายศัพท์เฉพาะด้าน จึงน่าจะตรงประเด็นมากกว่า
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Tue Jun 19, 2012 8:58 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

abdooh บันทึก:
จากหนังสือ معجم لغة الفقهاء (พจนานุกรมภาษานักนิติศาสตร์อิสลาม) เล่ม 1 หน้า 183 กล่าวไว้ว่า
الحقنة: ر: حاقن
* المداواة بادخال الدواء السائل في الدبر
............................... หุกนะฮ์ ผู้ทำหุกนะฮ์ หมายถึง การรักษาด้วยการสอดตัวยาให้ไหลเข้าไปทางทวารหนัก
وتطلق اليوم على إدخال الدواء إلى داخل الجسم بواسطة الضغط سواء أكان عن طريق الدبر أم عن طريق الجلد
............................... คำนี้ ในปัจจุบัน หมายถึง การนำตัวยาเข้าสู่ภายในร่างกายโดยการดันเข้า ไม่ว่าจะเป๋นทางทวารหนักหรือทางผิวหนังก็ตาม
............ ผมว่าหลักฐานนี้น่าจะชี้ชัดว่า คำคำนี้ในมุมนักวิชาการยุคก่อน มีความหมายตามที่ผมกล่าว เพราะหนังสือเล่มนี้ เป็นหนังสืออธิบายศัพท์เฉพาะด้าน จึงน่าจะตรงประเด็นมากกว่า


สรุปว่า ผมไม่ได้แปลผิดไปจากความหมายของคำ และท่านอิบนุอุษัยมีน ท่านพูดถึงประเด็นปัญหาร่วมสมัย คือ การฉีดสารอาหารเข้าสู่ร่างกาย ว่ามีความหมายอยู่ในความหมาย คำว่ากินและดื่ม เพราะคนที่รับสารอาหารเข้าไปเขาก็ไม่จำเป็นต้องทานอาหารอีก แล้วท่านอิบนุอุษัยมีนก็อ้างคำพูดอิบนุตัยมียะฮ ผมว่า การมาถกกันเรื่องคำศัพย์ หยุมหยิม มันไม่จำเป็นเลย ผมไม่ต้องการให้กระทู้นี้เป็นกระทู้ถกปัญหา ไม่เป็นเรื่อง

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Tue Jun 19, 2012 9:07 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ศาสนายิวและคริสต์ในอดีต ก็คือ ศาสนาอิสลาม


มีผู้ถามว่า

ทุกวันนี้ผมเข้าใจมาตลอดว่า ศาสนาอิสลามเกิดขึ้นได้เพียง 1400 กว่าปี ศาสนาก่อนหน้านั้นที่ผมทราบก็มีศาสนา ยิว คริสต์ ที่ระบุไว้ในกาลามุลลอฮฺ และก็มีอายะห์ที่พระองค์ทรงตรัสว่า "แท้จรืงศาสนาของอัลลอฮฺ คือศาสนาอิสลาม"... ก็เป็นคำตรัสที่พระองค์ได้ตรัสไว้ใน อัลกุรอาน.. ข้าพเจ้าอยากให้ อ. Asan Madadam หรือท่นใดก็ได้

………………

อัลหัมดุลิลละฮ เป็นคำถามที่ดีมากครับ

ความจริงศาสนาอิสลาม มีมาตั้งแต่อัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ได้แต่งตั้งนบีอาดัมให้เป็นศาสนาดาแล้ว โดยมีหลักอะกีดะฮเดียวกันคือ การศรัทธาในพรเจ้าองค์เดียวและให้เคารพภักดี ต่ออัลลอฮองค์เดียวเท่านั้นส่วนหลักชะรีอะฮ นั้น มีความแตกต่างกันไปตามยุคตามสมัย
คำว่า”คำว่า “อิสลาม”ตามภาษาอัลกุรอ่าน เป็นความหมายรวมทุกศาสนาที่อัลลอฮได้ประทานแก่บรรดารอซูล ไม่ใช่เฉพาะในยุคนบีมุหัมหมัด
ท่านนบี ศอลฯกล่าวว่า

، وَالْأَنْبِيَاءُ إِخْوَةٌ لِعَلَّاتٍ ، أُمَّهَاتُهُمْ شَتَّى وَدِينُهُمْ وَاحِدٌ

บรรดานบี เป็นพี่น้องที่สืบเชื้อสายจากพ่อเดียวกัน และบรรดาแม่ของพวกเขาแตกต่างกัน และพวกเขามีศาสนาเดียวกัน – รายงานโดยบุคอรี
ท่านอัลหาฟิซอิบนุหะญัร กล่าวว่า

معنى الحديث أن أصل دينهم واحد وهو التوحيد وإن اختلفت فروع الشرائع

ความหมายของหะดิษนี้คือ แท้จริงรากฐานของศาสนาบรรดานบีนั้น อันเดียวกัน คือ เตาฮีด แม้จะมีข้อปลีกย่อยของชะรีอัตแตกต่างกัน – ดูฟัตหุลบารี เล่ม ๖ หน้า ๔๘๙

คำว่า ศาสนายิวในอดีต หมายถึง ศาสนาอิสลาม ตามคำสอนคัมภีร์เตารอต ส่วนศาสนาคริสต์หมายถึง ศาสนาตามคำสอนคัมภีร์อินญีล ในอดีต
ชัยคุลอิสลามอิบนุตัยมียะอ กล่าวว่า

" فمن كان متبعا لشرع التوراة أو الإنجيل الذي لم يبدَّل ولم ينسخ فهو على دين الإسلام ، كالذين كانوا على شريعة التوراة بلا تبديل قبل مبعث المسيح عليه السلام ،
والذين كانوا على شريعة الإنجيل بلا تبديل قبل مبعث محمد صلى الله عليه وسلم "

ดังนั้นผู้ใดปฏิบัติตามชะรีอัต ของคัมภีร์เตารอต หรือคัมภีร์อินญีล ที่มันไม่ได้ถูกเปลี่ยนแปลงและถูกยกเลิก เขาก็อยู่ในศาสนาอิสลาม เช่น บรรดาผู้ที่พวกเขาอยู่บนชะรีอัตคัมภีรเตารอต โดยที่ยังไม่ได้เปลี่ยนแปลงก่อนที่นบีอีซา(อ)ถูกแต่งตั้ง และเช่น บรรดาผู้ที่พวกเขาอยู่บนชะรีอัตคัมภีร์อินญีลโดยที่ยังไม่ได้เปลี่ยนแปลงก่อนที่นบีมุหัมหมัด (ศอ็ลฯ)ถูกแต่งตั้ง- ดูมัจญมัวะอัลฟะตาวา เล่ม ๒๗ หน้า ๒๗๐

เพราะฉะนั้น ศาสนายิว และ ศาสนาคริสต์ในอดีต ก็คือ ศาสนาอิสลามนั้นเอง

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Thu Jun 28, 2012 7:27 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หะดิษอะซานที่หูทารก กับเงื่อนไขการใช้หะดิษเฎาะอีฟ

มีเงื่อนไขข้อหนึ่งในการใช้หะดิษเฎาะอีฟมาเป็นหลักฐาน คือ

الأوَّل: متَّفق عليه أن يكون الضَّعف غير شديد، فيخرج من انفرد من الكذَّابين والمتَّهمين بالكذب ومن فحش غلطه

1. เป็นหะดิษที่ได้รับการเห็นฟ้องกันว่า ไม่เป็นเฏาะอีฟที่รุนแรง ดังนั้น ผู้ที่รายงานเพียงคนเดียว จากผู้ที่ชอบโกหก และผู้ที่ถูกกล่าวหาว่า โกหก และผู้ที่การผิดพลาดของเขา(ในการรายงานหะดิษ)น่าเกลียดมาก ไม่เข้าอยู่ในเงื่อนไขนี้
.....................

มาดูหะดิษดังกล่าว คือ ท่านอบูรอฟิอฺเล่าว่า :

رأيت رسول الله صلى الله عليه وسلم أذن في أذن الحسن بن علي حين ولدته فاطمة بالصلاة

ความ ว่า: ฉันได้เห็นท่านเราะสูลุลลอฺ ?ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม- อะซาน (เหมือนกับอะซานเพื่อทำการละหมาด) ที่หูของอัลหะสันเมื่อครั้นที่ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺได้คลอดเขา

وفي إسناده عاصم بن عبيدالله غمزه مالك وضعفه ابن معين ,وقال البخاري منكر الحديث, وقال أبو حاتم منكر الحديث ليس له حديث يعتمد عليه. انظر

ในสายรายงานของหะดิษ มีผู้รายงานชื่อ อาศิม บิน อับดุลลอฮ อิหม่ามมาลิก ระบุว่าเขามีข้อตำหนิ ,อิบนุมุอีน กล่าวว่า เขาหลักฐานอ่อน(เฎาะอีฟ) และ อิหม่ามบุคอรี กล่าวว่า มุงกะรุลหะดิษ (หมายถึงหะดิษที่ถูกคัดค้าน หรือถูกปฏิเสธ) และอบูหาติม กล่าวว่า “มุงกะรุลหะดิษ เขาไม่มีหะดิษบทใด ที่ได้รับการเชื่อถือ – อัลกาชิฟ ของอิหม่ามอัซซะฮะบีย์ หะดิษหมายเลข 2530
ท่านอิหม่ามอัลบุคอรีย์กล่าวว่า: ใครก็ตามที่ฉันกล่าวว่า มุงกะรุลหะดีษ? แล้ว ดังนั้นไม่อนุญาตให้รายงาน(หะดีษ)จากเขา ดู: มีซานุล อิอฺติดาล(1/6)

وقال ابن خزيمة : لا أحتج به لسوء حفظه كذا في ميزان الاعتدال .

อิบนุคุซัยมะฮกล่าวว่า “ฉันไม่นำมันมาอ้างเป็นหลักฐาน เพราะความจำของเขาไม่ดี ,ในทำนองเดียวกันนั้น ระบุไว้ในหนังสือ มีซาลเอียะติดาล - ตุหฟะตุอัลอะวะซีย์ บทว่าด้วยเรือง الأذان في أذن المولود (การอาซานในหูเด็กแรกเกิด)หะดิษหมายเลข 1541
........
เมื่อพิจารณาแล้วหะดิษข้างต้น ไม่เข้าอยู่ในเงือนไขข้อหนึ่ง อย่างชัดเจน

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Thu Jun 28, 2012 11:12 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เครืองประดับสตรี ต้องออกซะกาตไหม

เครื่องประดับที่ถูกนำมาใช้ประดับ ก็จำเป็นต้องจ่ายซะกาตเช่นกันตามทัศนะของนักวิชาการที่หลักฐานในการอ้างอิงของพวกเขาแข็งแรงกว่าอีกกลุ่มหนึ่ง.
ซึ่งหลักฐานในการอ้างอิงของพวกเขาก็คือ ตัวบทอัลกุรอานที่ระบุถึง ความจำเป็นที่ต้องจ่ายซะกาตของทองคำและเงิน และอ้างอิงถึงฮาดีษหลายบทด้วยกัน เช่น ฮาดีษที่บันทึกโดย อบูดาวุด นะซาอีและติรมีซีย์ ซึ่งรายงานโดย ท่านอัมรฺบินชุอัยบฺ จากบิดาของท่าน และบิดาของท่านก็รายงานมาจากปู่ของท่าน (ร.ฎ.) ว่า

أَنَّ امْرَأَةً مِنْ أَهْلِ الْيَمَنِ أَتَتْ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَبِنْتٌ لَهَا ، فِي يَدِ ابْنَتِهَا مَسَكَتَانِ غَلِيظَتَانِ مِنْ ذَهَبٍ ، فَقَالَ : " أَتُؤَدِّينَ زَكَاةَ هَذَا ؟ " قَالَتْ : لَا , قَالَ : " أَيَسُرُّكِ أَنْ يُسَوِّرَكِ اللَّهُ عَزَّ وَجَلَّ بِهِمَا يَوْمَ الْقِيَامَةِ سِوَارَيْنِ مِنْ نَارٍ ؟ " , قَالَ : فَخَلَعَتْهُمَا فَأَلْقَتْهُمَا إِلَى رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فَقَالَتْ : هُمَا لِلَّهِ وَلِرَسُولِهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ

ความว่า : มีหญิงนางหนึ่ง จากชาวยะมัน มาหาท่านรอซูล(ซ.ล.) พร้อมกับลูกสาวของนาง โดยที่ข้อมือลูกสาวของนาง ได้สวมเครื่องประดับจากทองคำ ท่านรอซูล(ซ.ล.)จึงถามนางว่า : เธอจ่ายซะกาตของสิ่งนี้แล้วหรือ? นางจึงตอบว่า : เปล่าเลย ท่านรอซูล(ซ.ล.)จึงกล่าวแก่นางว่า: เธอยินดีกระนั้นหรือ ที่อัลลอฮฺจะประดับกำไลทั้งสองจากไฟนรก(อันมาจากสาเหตุไม่จ่ายซะกาตเครื่องประดับดังกล่าว) นางจึงถอดเครื่องประดับทั้งสองต่อหน้าท่านรอซูลพลางกล่าวว่า : มันทั้งสองเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮฺ และรอซูลของพระองค์..- รายงานโดย อบูดาวูดและอันนะสาอีย์

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Thu Jun 28, 2012 11:14 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ภรรยาจ่ายซากาตให้สามีได้ ใหม คับ

เป็นประเด็นที่นักวิชาการมีความเห็นต่างกันอยู่
ในหะดิษที่ท่านนบี ศอ็ล กล่าวแก่ซัยหนับภรรยาของอับดุลลอฮ บิน มัสอูดว่า
زَوْجُكِ وَوَلَدُكِ أَحَقُّ مَنْ تَصَدَّقْتِ بِهِ عَلَيْهِمْ
สามีของเธอและบุตรของเธอ คือผู้ที่สมควรที่เธอจะบริจาคแก่พวกเขาด้วยมัน .....
ท่านหาฟิซอิบนุหะญัรกล่าวว่า
واستدل بهذا الحديث على جواز دفع المرأة زكاتها إلى زوجها ، وهو قول الشافعي ، والثوري وصاحبي أبي حنيفة وإحدى الروايتين عن مالك وعن أحمد
และด้วยหะดิษนี้ ได้ถูกอ้างเป็นหลักฐานถึงการอนุญาตให้ภรรยาจ่ายซะกาตของนางแก่สามีของนางได้ และมันคือ ทัศนะของ ชาฟิอี ,อัษเษารี และศิษย์สองคนของอบูหะนีฟะฮ และรายงานหนึ่งจากสองรายงาน จาก มาลิกและอะหมัด – ดู ฟัตหุลบารีย์ กิตาบุตซะกาต อธิบายหะดิษบุคอรี หะดิษหมายเลข ๑๓๙๗
ท่านอิบนุอุษัยมีน กล่าวว่า
الصواب جواز دفع الزكاة إلى الزوج إذا كان من أهل الزكاة
ที่ถูกต้อง อนุญาตให้จ่ายซะกาตให้แก่สามีได้ เมื่อเขาเป็นส่วนหนึ่งจากผู้มีสิทธิ์รับซะกาต – ดู อัชชัรหุมุมตะอฺ เล่ม ๖ หน้า ๑๖๘

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Thu Jun 28, 2012 5:51 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ยังเหลืออยู่กรณีหนึ่ง คือ การมอบซะกาตให้พ่อแม่และลูกได้หรือไม่

อิบนุกุดามะฮ กล่าวว่า

ولا يعطى من الصدقة المفروضة للوالدين, ولا للولد . قال ابن المنذر : أجمع أهل العلم على أن الزكاة لا يجوز دفعها إلى الوالدين , في الحال التي يجبر الدافع إليهم على النفقة عليهم , ولأن دفع زكاته إليهم تغنيهم عن نفقته , وتسقطها عنه , ويعود نفعها إليه , فكأنه دفعها إلى نفسه
และ จะไม่ถูกมอบให้กับพ่อแม่และจะไม่ถูกมอบให้แก่บุตรจากทานบังคับ(ซะกาต) ,อิบนุอันมันซิร กล่าวว่า “นักวิชาการ ได้มีมติว่า แท้จริงซะกาตนั้นจะไม่อนุญาตจ่ายมันให้แก่พ่อแม่ ในสถานการณ์ ที่ผู้จ่ายซะกาตให้แก่พวกเขานั้น มีหน้าที่ที่จะต้องจ่ายค่าเลี้ยงดูแก่พวกเขา เพราะการจ่ายซะกาตให้แก่พวกเขา(หมายให้แก่ถึงพ่อแม่ และบุตร) ก็เท่ากับว่าพวกเขาไม่จำเป็นต่อการจ่ายค่าเลี้ยงดูของเขา และ มันทำให้เขาไม่ต้องจ่ายค่าเลี้ยงดู และ ประโยชน์ของการจ่ายซะกาต ก็กลับไปหาเขา(ผู้จ่ายซะกาต) ดังนั้น ก็เท่ากับว่า เขาได้จ่ายมัน(ซะกาต)ให้แก่ตัวเขาเอง- ดูอัลมุฆนีย์ เล่ม 2 หน้า 269
………..

สรุปไม่อนุญาตมอบซะกาตให้แก่พอแม่และบุตร รวมถึงคนที่อยู่ในภาระที่เขาจะต้องเลี้ยงดู

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Fri Jun 29, 2012 12:03 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เอาทรัพย์สินที่กาเฟรมอบให้ไปทำมัสยิดได้ไหม?

อิหม่ามนะวาวีย์ระบุไว้ว่า

يَجُوزُ لِلْمُسْلِمِ وَالذِّمِّيِّ الْوَصِيَّةُ لِعِمَارَةِ الْمَسْجِدِ الْأَقْصَى وَغَيْرِهِ مِنَ الْمَسَاجِدِ

อนุญาตแก่มุสลิม ,กาเฟรซิมมีย์ ทำพินัยกรรม(หรือสั่งเสีย) เพื่อบูรณะมัสยิดอัลอักศอ และอื่นจากมัน จากบรรดามัสญิดได้- ดู เราเฎาะตุฏฏอลิบีน เล่ม 6 หน้า 99

อิบนุมุฟลิห อัลหัมบะลีย์ กล่าวว่า

وَتَجُوزُ عِمَارَةُ كُلِّ مَسْجِدٍ وَكِسْوَتُهُ وَإِشْعَالُهُ بِمَالِ كُلِّ كَافِرٍ، وَأَنْ يَبْنِيَهُ بِيَدِهِ، ذَكَرَهُ فِي الرِّعَايَةِ وَغَيْرِهَا، وَهُوَ ظَاهِرُ كَلَامِهِمْ فِي وَقْفِهِ عَلَيْهِ وَوَصِيَّتِهِ لَهُ

และอนุญาตให้บูรณะทุกมัสญิด และ กั้นผ้าม่านมัสญิด และตะเกียงมัสญิด ด้วยทรัพย์สินของทุกๆกาเฟร และ (อนุญาต)ให้เขาสร้างมันด้วยมือของเขาได้ ,(นี้คือ)ที่ถูกกล่าวเอาไว้ในหนังสืออัรริอายะฮและอื่นจากมัน และมันคือ คำพูดของพวกเขา ที่ปรากฏในเรื่องการวะกัฟและการทำพินัยกรรมของเขา(ของการเฟร) สำหรับมัน (สำหรับบูรณะมัสญิด) – อัลฟุรูอฺ ของอิบนุมุฟลิฟ เล่ม 6 หน้า 278 บทว่าด้วยอักดุซซิมมะฮ
عَنْ أَنَسٍ
أَنَّ امْرَأَةً يَهُودِيَّةً أَتَتْ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ بِشَاةٍ مَسْمُومَةٍ فَأَكَلَ مِنْهَا فَجِيءَ بِهَا إِلَى رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فَسَأَلَهَا عَنْ ذَلِكَ فَقَالَتْ أَرَدْتُ لِأَقْتُلَكَ قَالَ مَا كَانَ اللَّهُ لِيُسَلِّطَكِ عَلَى ذَاكِ قَالَ أَوْ قَالَ عَلَيَّ قَالَ قَالُوا أَلَا نَقْتُلُهَا قَالَ لَا قَالَ فَمَا زِلْتُ أَعْرِفُهَا فِي لَهَوَاتِ رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ

รายงานจากอะนัส ว่า หญิงชาวยิวคนหนึ่ง มาหาท่านรซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ด้วยแพะ ที่ถูกใส่ยาพิษไว้ แล้วท่านรซูลุลลอฮ ได้รับประทานจากมัน ต่อมานางได้มาหาท่านรซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม อีก แล้วท่านได้ถามนาง เกี่ยวกับดังกล่าว แล้วนางกล่าวว่า “ดิฉันต้องการที่จะฆ่าท่าน ,ท่านรซูลุลลอฮ กล่าวว่า “อัลลอฮจะไม่ให้อำนาจแก่เธอที่จะทำเช่นนั้น ,เขา(อะนัส)กล่าวว่า หรือ ท่านรซูลกล่าวว่า ““อัลลอฮจะไม่ให้อำนาจแก่เธอที่จะทำต่อฉัน” และ(อะนัส)กล่าวว่า “พวกเขา(เหล่าเศาะหาบะฮ) กล่าวว่า “จะให้เราฆ่านางไหม? ท่านรซูลุลลอฮ กล่าวว่า “อย่า” อะนาสกล่าวว่า “ฉันรู้(ฉันเห็นชัดเจน)ว่า ร่องรอยพิษ ยังคงอยู่ที่คอของรซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม – รายงานโดยมุสลิม
.........
หะดิษข้างต้นเป็นหลักฐานว่า มุสลิมอนุญาตให้รับของที่กาเฟร มอบให้ได้

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักความเชื่อ ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 17, 18, 19  ถัดไป
หน้า 5 จากทั้งหมด 19

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


Powered by phpBB ฉ 2001, 2002 phpBB Group







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.16 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ