ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
อนุรักษ์มรดกอิสลาม :: ดูกระทู้ - การเจาะจงเยี่ยมกุบูรในวันอีด
อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก อนุรักษ์มรดกอิสลาม  
  เพื่อการอนุรักษ์มรดกอิสลาม      คำถามถามบ่อยของกระดานข่าว      ค้นหา      รายนามสมาชิก  
  · เข้าระบบ ข้อมูลส่วนตัว · เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ · กลุ่มผู้ใช้งาน  
การเจาะจงเยี่ยมกุบูรในวันอีด
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักความเชื่อ
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
abdooh
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 08/06/2012
ตอบ: 188


ตอบตอบ: Mon Jun 11, 2012 6:29 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ผมดีใจที่คุณไม่ลบคำตอบของผมอีกแล้ว ขอให้ทำเช่นนี้ทุกครั้ง เพื่อให้ผู้อ่านเป็นผู้ตัดสิน ผมขออย่างเดียวว่าอย่าตัดของผมทิ้งหรือตบแต่ง ซึ่งผมเชื่อคุณว่า คุณจะไม่ทำ
ผมบอกแล้วว่า ตรงนี้ผมพร้อมเสมอ สิ่งที่ผมนำเสนอมิใช่ความคิดของผมแต่อย่างใด แท้ที่จริงมันคือส่ิงที่นักวิชาการยอมรับ ขอฝากผู้อ่านทุกท่านวิจารณ์ได้ตามหลักวิชาการ
และผมขอโทษคุณอะสัน หากส่ิงนี้สร้างความอึดอัดให้คุณหลายวัน และหากมีคำพูดใดๆที่ผิดพลาดไป ผมขอมะอัฟจากคุณด้วย เพี่ยงแต่ส่ิงเหล่านั้นอย่างที่ผมบอกคือวิธีที่ผมได้รับรู้มาจากวิถีของพวกคุณอะสัน ผมจึงอยากให้เกิดภาพสะท้อนกลับไป ขอโทษอีกครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Mon Jun 11, 2012 9:44 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

abdooh บันทึก:
ผมดีใจที่คุณไม่ลบคำตอบของผมอีกแล้ว ขอให้ทำเช่นนี้ทุกครั้ง เพื่อให้ผู้อ่านเป็นผู้ตัดสิน ผมขออย่างเดียวว่าอย่าตัดของผมทิ้งหรือตบแต่ง ซึ่งผมเชื่อคุณว่า คุณจะไม่ทำ
ผมบอกแล้วว่า ตรงนี้ผมพร้อมเสมอ สิ่งที่ผมนำเสนอมิใช่ความคิดของผมแต่อย่างใด แท้ที่จริงมันคือส่ิงที่นักวิชาการยอมรับ ขอฝากผู้อ่านทุกท่านวิจารณ์ได้ตามหลักวิชาการ
และผมขอโทษคุณอะสัน หากส่ิงนี้สร้างความอึดอัดให้คุณหลายวัน และหากมีคำพูดใดๆที่ผิดพลาดไป ผมขอมะอัฟจากคุณด้วย เพี่ยงแต่ส่ิงเหล่านั้นอย่างที่ผมบอกคือวิธีที่ผมได้รับรู้มาจากวิถีของพวกคุณอะสัน ผมจึงอยากให้เกิดภาพสะท้อนกลับไป ขอโทษอีกครั้ง


ผมดีใจที่คุณอ่อนลง และยินดี มาก และ ขอเรียนให้คุณอับดุฮทราบว่า ทัศนะของนักวิชาการที่ ผมนำเสนอนั้น เขามีหลักวิชาการในการพิจารณา เขาคงไม่เดาสุ่มหรือนั่งเทียนหุกุม ผมขอนำเสนอเพิ่มเติม เกี่ยวกับ กฏว่าด้วย อัลมุฏลัก ต่อไปนี้


หลักอุศูลุลฟิกฮ ดังนี้

المطلق يجري على إطلاقه ما لم يقم دليل التقييد نصاً أو دلالة.

สิ่งที่ถูกกล่าวเอาไว้กว้างๆจะถูกให้ดำเนินไปตามการอิฏลัก(การกำหนดเอาไว้กว้างๆ)ของมัน
ตราบใดที่ไม่มีหลักฐาน จำกัดเฉพาะเป็นตัวบทหรือหลักฐานมายืนยัน
-
ในข้อเขียน ของอาจารย์ ฟาฎีล อับดุลอับบาส มุหสิน อันนะอีมีย์ อาจารย์ภาควิชาอัลกุรอ่าน มหาวิทยาลัย บาบิโลน ประเทศอิรัก ระบุว่า

من المعلوم أن اللفظ إذا ورد في نص من نصوص القرآن الكريم مطلقاً غير مقيد بقيد ، فالأصل أن يعمل به على إطلاقه ، ولا يجوز للمجتهد أو القاضي أن يقيده ما لم يثبت لديه دليل شرعي على تقييده وفقاً للقاعدة العامة ; المطلق يجري علـى إطلاقه إذا لم يقم دليـل التقييد نصاً أو دلالةً

เป็นที่รู้กันว่า แท้จริง ถ้อยคำ เมื่อ ได้ปรากฏในตัวบท จากบรรดาตัวบทของอัลกุรนุลกะรีม ถูกกล่าวไว้กว้างๆ โดยไมถูกจำกัดด้วยการจำกัดใดๆ ดังนั้นรากฐาน คือ การปฏิบัติมันตาม การกล่าวกว้างๆของมัน และไม่อนุญาตให้มุจญตะฮิด และ กอฏีย์ จำกัดมัน สิ่งซึ่ง ไม่มีหลักฐานทางศาสนบัญญัติ รับรอง การจำกัดมัน ณ ที่มัน โดยถือตามกฎทั่วไปที่ว่า (สิ่งที่ถูกกล่าวเอาไว้กว้างๆจะถูกให้ดำเนินไปตามการอิฏลัก(การกำหนดเอาไว้กว้างๆ)ของมัน ตราบใดที่ไม่มีหลักฐาน จำกัดเฉพาะเป็นตัวบทหรือหลักฐานมายืนยัน- ดูเอกสารเผยแพร่ ของ มหาวิทยาลัย บาบิโลน ประเทศอิรัก

http://www.uobabylon.edu.iq/uobcoleges/action_lect.aspx?fid=19&depid=2&lcid=10761

ผมคงอาจจะไม่สามารถทำให้คุณ abdooh ยอมรับได้ เพราะนั้นไม่ใช่หน้าที่ของผม แต่เป็นเรื่องของอัลลอฮ แต่ที่นำเสนอนั้นเพื่อจะบอกว่า นักวิชาการเขาใช้หลักวิชาการในการพิจารณาหะดิษ เพื่อนำมาตัดสินหุกุม และ ผู้ที่เข้ามาอ่านเขาสามารถที่จะใช้สติปัญญาของเขาพิจารณาได้ ขอขอบคุณอีกครั้ง ทีคุณได้กล่าวคำว่า "ขอมาอัฟ" เช่นเดียวกัน หากผมล่วงเกินใดๆ ก็ต้องขอมาอัฟ ณ ที่นี้ด้วย

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
abdooh
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 08/06/2012
ตอบ: 188


ตอบตอบ: Mon Jun 11, 2012 10:47 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สิ่งที่คุณอะสันนำมา
ในข้อเขียน ของอาจารย์ ฟาฎีล อับดุลอับบาส มุหสิน อันนะอีมีย์ อาจารย์ภาควิชาอัลกุรอ่าน มหาวิทยาลัย บาบิโลน ประเทศอิรัก ระบุว่า

من المعلوم أن اللفظ إذا ورد في نص من نصوص القرآن الكريم مطلقاً غير مقيد بقيد ، فالأصل أن يعمل به على إطلاقه ، ولا يجوز للمجتهد أو القاضي أن يقيده ما لم يثبت لديه دليل شرعي على تقييده وفقاً للقاعدة العامة ; المطلق يجري علـى إطلاقه إذا لم يقم دليـل التقييد نصاً أو دلالةً

เป็นที่รู้กันว่า แท้จริง ถ้อยคำ เมื่อ ได้ปรากฏในตัวบท จากบรรดาตัวบทของอัลกุรนุลกะรีม ถูกกล่าวไว้กว้างๆ โดยไมถูกจำกัดด้วยการจำกัดใดๆ ดังนั้นรากฐาน คือ การปฏิบัติมันตาม การกล่าวกว้างๆของมัน และไม่อนุญาตให้มุจญตะฮิด และ กอฏีย์ จำกัดมัน สิ่งซึ่ง ไม่มีหลักฐานทางศาสนบัญญัติ รับรอง การจำกัดมัน ณ ที่มัน โดยถือตามกฎทั่วไปที่ว่า (สิ่งที่ถูกกล่าวเอาไว้กว้างๆจะถูกให้ดำเนินไปตามการอิฏลัก(การกำหนดเอาไว้กว้างๆ)ของมัน ตราบใดที่ไม่มีหลักฐาน จำกัดเฉพาะเป็นตัวบทหรือหลักฐานมายืนยัน- ดูเอกสารเผยแพร่ ของ มหาวิทยาลัย บาบิโลน ประเทศอิรัก
นี่หลักวิชาการแรกที่ผมพบ ข้อความภาษาอาหรับข้างต้นเป็นหลักวิชาการที่เป็นที่ยอมรับของนักวิชาการ ผมขอแปลอีกครั้ง "เป็นที่ทราบดีว่า รูปคำหนึ่งๆ เมื่อได้รับการถ่ายทอดอยู่ในตัวบทอัลกุรอานแบบกว้างๆโดยมิได้ถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขใดๆ ตามหลักการกว้างๆในเรื่องนี้คือ ให้นำมันไปปฏิบัติได้โดยปราศจากเงื่อนไข และไม่อนุญาตให้ผู้วินิจฉัยและผู้พิพากษาคนใดวางเงื่อนไขใดๆแก่มัน ตราบใดที่ไม่มีหลักฐานทางศาสนาระบุเงื่อนไขแก่มัน ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการกว้างๆที่ว่า รูปคำที่ไร้เงื่อนไขนั้นให้ดำเนินตามการไร้เงื่อนไขของมัน ตราบใดที่ไม่มีหลักฐานระบุชัดหรือบ่งชี้ว่ามีเงื่อนไข" العام يبقى على عمومه ما لم يكن دليل يخصصه
อีกกฏหนึ่งที่เป็นที่ยอมรับในหมู่นักวิชาการคือ "รูปคำที่มีความหมายครอบคลุม จะคงความหมายครอบคลุมเช่นนั้น ตราบใดที่ไม่มีหลักฐานหนึ่งๆมาจำกัดความหมายมันให้แคบลง"
หลักวิชาการทั้งสองข้อนี้ชี้ชัดว่า การอ่านอัลกุรอาน การซิกรุ้ลลอฮ์ การซอละหวาต และการเยี่ยมกุโบร์เป็นซุนนะฮ์เสมอ ไม่ว่าจะทำอย่างไร แบบไหน นอกจากลักษณะที่มีหลักฐานทางศาสนาระบุไว้ หากมิใช่หลักฐานทางศาสนา นักวิชาการทุกคนไม่มีอำนาจใดๆในการยกเว้นคำสั่งใช้นั้นเป็นอันขาด ตรงนี้ชี้ชัดว่า การตัดสินว่า การอ่านอัลกุรอานรวมกัน หรือบางซูเราะฮ์ การเยี่ยมกุโบร์วันอีด การซอละหวาตนบีหลังดุอา เป็นบิดอะฮ์นั้น เป็นการตัดสินที่ผิดพลาดอย่างร้ายแรง นอกจากมีหลักฐานทางศาสนาระบุชัดๆไว้ว่า ทำไม่ได้ จึงทำไม่ได้ ผมจึงบอกคุณอะสันเสมอว่า ให้เอาหลักฐานมา อย่าเอาทัศนะนักวิชาการมา มันไม่เกิดประโยชน์ใด
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Tue Jun 12, 2012 12:13 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

[quote="abdooh"] นี่หลักวิชาการแรกที่ผมพบ ข้อความภาษาอาหรับข้างต้นเป็นหลักวิชาการที่เป็นที่ยอมรับของนักวิชาการ ผมขอแปลอีกครั้ง "เป็นที่ทราบดีว่า รูปคำหนึ่งๆ เมื่อได้รับการถ่ายทอดอยู่ในตัวบทอัลกุรอานแบบกว้างๆโดยมิได้ถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขใดๆ ตามหลักการกว้างๆในเรื่องนี้คือ ให้นำมันไปปฏิบัติได้โดยปราศจากเงื่อนไข และไม่อนุญาตให้ผู้วินิจฉัยและผู้พิพากษาคนใดวางเงื่อนไขใดๆแก่มัน ตราบใดที่ไม่มีหลักฐานทางศาสนาระบุเงื่อนไขแก่มัน ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการกว้างๆที่ว่า รูปคำที่ไร้เงื่อนไขนั้นให้ดำเนินตามการไร้เงื่อนไขของมัน ตราบใดที่ไม่มีหลักฐานระบุชัดหรือบ่งชี้ว่ามีเงื่อนไข" العام يبقى على عمومه ما لم يكن دليل يخصصه
อีกกฏหนึ่งที่เป็นที่ยอมรับในหมู่นักวิชาการคือ "รูปคำที่มีความหมายครอบคลุม จะคงความหมายครอบคลุมเช่นนั้น ตราบใดที่ไม่มีหลักฐานหนึ่งๆมาจำกัดความหมายมันให้แคบลง" หลักวิชาการทั้งสองข้อนี้ชี้ชัด/quote]


ขอชี้แจงว่า
การแปลข้างต้นน่าจะไม่ตรงประเด็น เพราะประเด็นนี้ เป็นเรื่อง ของ หลักการ المطلق والمقيد ตามหัวข้อเรื่องที่เขาเขียนไว้

เพราะฉะนั้น ประโยคข้างล่าง ยังคงอยู่ในประเด็น المطلق والمقيد

อัลมุฏลักคือ ถ้อยคำที่ถูกระบุกว้างๆ
อัลมุกอ็ยยัด คือ ถ้อยคำที่ถูกจำกัด

เพราะฉะนั้นคำแปลก็ต้องคงไว้ตามความหมาย คำว่า المطلق والمقيد


من المعلوم أن اللفظ إذا ورد في نص من نصوص القرآن الكريم مطلقاً غير مقيد بقيد ، فالأصل أن يعمل به على إطلاقه

เป็นที่รู้กันว่า แท้จริง ถ้อยคำ เมื่อ ได้ปรากฏในตัวบท จากบรรดาตัวบทของอัลกุรนุลกะรีม ถูกกล่าวไว้กว้างๆ โดยไมถูกจำกัดด้วยการจำกัดใดๆ ดังนั้นรากฐาน คือ การปฏิบัติมัน บน การกล่าวกว้างๆของมัน

คือ เมื่อตัวบทระบุไว้กว้าง ก็ให้ถือปฏิบัติตามนั้น ซึ่งนักวิชาการเขาเข้าใจอย่างนี้ จึงหุกุมว่า การเยี่ยมกุบูร เป็นคำสั่งที่กล่าวไว้กว้างๆ ก็คือให้เยี่ยมกุบูร ส่งเสริมให้เยี่ยมกุบูร เพราะฉะนั้น หากไปจำกัดว่าวันนั้น วันนี้ เวลานั้นเวลานี้ โดยถือเป็นหุกุม หรือปฏิบัติขึ้นมาเป็นธรรมเนียม ก็จะเป็นสิ่งที่ไม่สอดคล้องกับคำสั่งในรูปของการระบุกว้างๆดังกล่าว คำว่าจำกัดในที่เรื่องนี้หมายถึงการเจาะจงโดยยึดเป็นธรรมเนียมปฏิบัติ

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
abdooh
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 08/06/2012
ตอบ: 188


ตอบตอบ: Tue Jun 12, 2012 6:18 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การที่ผมนำประโยคที่ว่า العام يبقى على عمومه ما لم يكن دليل يخصصه ซึ่งมีความหมายว่า "รูปคำที่มีความหมายครอบคลุม จะคงความหมายครอบคลุมเช่นนั้น ตราบใดที่ไม่มีหลักฐานหนึ่งๆมาจำกัดความหมายมันให้แคบลง" ผมว่าผมกล่าวชัดเจนแล้วว่า นั่นคืออีกกฎหนึ่งที่เป็นที่ยอมรับ
และตัวผมเองมิได้สันทัดเรื่องภาษาอาหรับนัก การแปลอาจมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ แต่ผมเชื่อว่า ไม่ผิดเป้าหมายตามที่ผมตอบไว้ในคำตอบก่อนหน้านี้ อินชาอัลลอฮ์
ผมเป็นมือใหม่ในเรื่องการพิมพ์โดยเฉพาะทางกระทู้ จึงบกพร่องเรื่องเว้นวรรค จัดหน้า หรือพิมพ์ตกหล่น ไปบ้าง หากได้ใช้งานตรงนี้สักพักคงจะดีขึ้น
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
abdooh
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 08/06/2012
ตอบ: 188


ตอบตอบ: Wed Jun 13, 2012 8:54 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ผมสงสัยอยู่ว่า ที่คุณบอกว่า ผมแปลไม่ตรงประเด็นนั้น ตรงไหนที่ไม่ตรงประเด็น ส่ิงที่ผมแปลคือข้อความเดียวกันกับที่คุณแปล หากผิดตรงไหนช่วยนำเสนอผมด้วย ผมแปลจากส่ิงที่คุณนำมาโดยมิได้ตัดทอนหรือเพิ่มเติม ลองเทียบดูระหว่างส่ิงที่คุณแปล
.................
من المعلوم أن اللفظ إذا ورد في نص من نصوص القرآن الكريم مطلقاً غير مقيد بقيد ، فالأصل أن يعمل به على إطلاقه ، ولا يجوز للمجتهد أو القاضي أن يقيده ما لم يثبت لديه دليل شرعي على تقييده وفقاً للقاعدة العامة ; المطلق يجري علـى إطلاقه إذا لم يقم دليـل التقييد نصاً أو دلالةً

เป็นที่รู้กันว่า แท้จริง ถ้อยคำ เมื่อ ได้ปรากฏในตัวบท จากบรรดาตัวบทของอัลกุรนุลกะรีม ถูกกล่าวไว้กว้างๆ โดยไมถูกจำกัดด้วยการจำกัดใดๆ ดังนั้นรากฐาน คือ การปฏิบัติมันตาม การกล่าวกว้างๆของมัน และไม่อนุญาตให้มุจญตะฮิด และ กอฏีย์ จำกัดมัน สิ่งซึ่ง ไม่มีหลักฐานทางศาสนบัญญัติ รับรอง การจำกัดมัน ณ ที่มัน โดยถือตามกฎทั่วไปที่ว่า (สิ่งที่ถูกกล่าวเอาไว้กว้างๆจะถูกให้ดำเนินไปตามการอิฏลัก(การกำหนดเอาไว้กว้างๆ)ของมัน ตราบใดที่ไม่มีหลักฐาน จำกัดเฉพาะเป็นตัวบทหรือหลักฐานมายืนยัน- ดูเอกสารเผยแพร่ ของ มหาวิทยาลัย บาบิโลน ประเทศอิรัก
...............กับสิ่งที่ผมแปล
"เป็นที่ทราบดีว่า รูปคำหนึ่งๆ เมื่อได้รับการถ่ายทอดอยู่ในตัวบทอัลกุรอานแบบกว้างๆโดยมิได้ถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขใดๆ ตามหลักการกว้างๆในเรื่องนี้คือ ให้นำมันไปปฏิบัติได้โดยปราศจากเงื่อนไข และไม่อนุญาตให้ผู้วินิจฉัยและผู้พิพากษาคนใดวางเงื่อนไขใดๆแก่มัน ตราบใดที่ไม่มีหลักฐานทางศาสนาระบุเงื่อนไขแก่มัน ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการกว้างๆที่ว่า รูปคำที่ไร้เงื่อนไขนั้นให้ดำเนินตามการไร้เงื่อนไขของมัน ตราบใดที่ไม่มีหลักฐานระบุชัดหรือบ่งชี้ว่ามีเงื่อนไข"
............. คุณลองพิจารณาดูเถิดว่า การแปลอันไหนที่ไม่ตัดทอน ไม่เพิ่มเติมจากต้นฉบับเดิม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Wed Jun 13, 2012 11:30 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

abdooh บันทึก:
ผมสงสัยอยู่ว่า ที่คุณบอกว่า ผมแปลไม่ตรงประเด็นนั้น ตรงไหนที่ไม่ตรงประเด็น ส่ิงที่ผมแปลคือข้อความเดียวกันกับที่คุณแปล หากผิดตรงไหนช่วยนำเสนอผมด้วย ผมแปลจากส่ิงที่คุณนำมาโดยมิได้ตัดทอนหรือเพิ่มเติม ลองเทียบดูระหว่างส่ิงที่คุณแปล
.................
من المعلوم أن اللفظ إذا ورد في نص من نصوص القرآن الكريم مطلقاً غير مقيد بقيد ، فالأصل أن يعمل به على إطلاقه ، ولا يجوز للمجتهد أو القاضي أن يقيده ما لم يثبت لديه دليل شرعي على تقييده وفقاً للقاعدة العامة ; المطلق يجري علـى إطلاقه إذا لم يقم دليـل التقييد نصاً أو دلالةً

เป็นที่รู้กันว่า แท้จริง ถ้อยคำ เมื่อ ได้ปรากฏในตัวบท จากบรรดาตัวบทของอัลกุรนุลกะรีม ถูกกล่าวไว้กว้างๆ โดยไมถูกจำกัดด้วยการจำกัดใดๆ ดังนั้นรากฐาน คือ การปฏิบัติมันตาม การกล่าวกว้างๆของมัน และไม่อนุญาตให้มุจญตะฮิด และ กอฏีย์ จำกัดมัน สิ่งซึ่ง ไม่มีหลักฐานทางศาสนบัญญัติ รับรอง การจำกัดมัน ณ ที่มัน โดยถือตามกฎทั่วไปที่ว่า (สิ่งที่ถูกกล่าวเอาไว้กว้างๆจะถูกให้ดำเนินไปตามการอิฏลัก(การกำหนดเอาไว้กว้างๆ)ของมัน ตราบใดที่ไม่มีหลักฐาน จำกัดเฉพาะเป็นตัวบทหรือหลักฐานมายืนยัน- ดูเอกสารเผยแพร่ ของ มหาวิทยาลัย บาบิโลน ประเทศอิรัก
...............กับสิ่งที่ผมแปล
"เป็นที่ทราบดีว่า รูปคำหนึ่งๆ เมื่อได้รับการถ่ายทอดอยู่ในตัวบทอัลกุรอานแบบกว้างๆโดยมิได้ถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขใดๆ ตามหลักการกว้างๆในเรื่องนี้คือ ให้นำมันไปปฏิบัติได้โดยปราศจากเงื่อนไข และไม่อนุญาตให้ผู้วินิจฉัยและผู้พิพากษาคนใดวางเงื่อนไขใดๆแก่มัน ตราบใดที่ไม่มีหลักฐานทางศาสนาระบุเงื่อนไขแก่มัน ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการกว้างๆที่ว่า รูปคำที่ไร้เงื่อนไขนั้นให้ดำเนินตามการไร้เงื่อนไขของมัน ตราบใดที่ไม่มีหลักฐานระบุชัดหรือบ่งชี้ว่ามีเงื่อนไข"
............. คุณลองพิจารณาดูเถิดว่า การแปลอันไหนที่ไม่ตัดทอน ไม่เพิ่มเติมจากต้นฉบับเดิม


มาเทียบผมแปล

المطلق يجري علـى إطلاقه إذا لم يقم دليـل التقييد نصاً أو دلالةً

(สิ่งที่ถูกกล่าวเอาไว้กว้างๆจะถูกให้ดำเนินไปตามการอิฏลัก(การกำหนดเอาไว้กว้างๆ)ของมัน ตราบใดที่ไม่มีหลักฐาน จำกัดเฉพาะเป็นตัวบทหรือหลักฐานมายืนยัน-

มาดูของคุณ abdooh แปล

المطلق يجري علـى إطلاقه إذا لم يقم دليـل التقييد نصاً أو دلالةً

รูปคำที่ไร้เงื่อนไขนั้นให้ดำเนินตามการไร้เงื่อนไขของมัน ตราบใดที่ไม่มีหลักฐานระบุชัดหรือบ่งชี้ว่ามีเงื่อนไข"

.............
จะเห็นได้ผมพยามแปลให้ครงกับคำว่า "มุฏลัก" คือ รูปคำที่ถูกกล่าวไว้กว้างๆ


ส่วนของคุณ แปล คำว่า มุฏลักว่า " รูปคำที่ไร้เงื่อนไข

คุณแปลโดยแปลความตามความเห็นคุณ ส่วนผมแปลเพื่อรักษาถ้อยคำเดิมและชาวบ้านอ่านก็รู้ทันที่ ผมเป็นคนจนลูกชาวบ้านไม่ได้เรียนเมืองนอก อาศัยปอเนาะชนบทใกลปืนเที่ยง แต่ก็พอรู้ทันคนแปลภาษาอาหรับที่จบเมืองนอกอยู่บ้างเหมือนกัน

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
abdooh
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 08/06/2012
ตอบ: 188


ตอบตอบ: Thu Jun 14, 2012 7:49 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ผมก็เด็กปอเนาะ เป็นคนเดินดินเช่นเดียวกับคุณครับ แต่ภาษาอาหรับที่ถูกต้อง เราต้องดูความหมายจากพจนานุกรมภาษาอาหรับ ใช่ไหมครับ
จากหนังสือ معجم لغة الفقه กล่าวว่า المطلق: بضم الميم وفتح اللام اسم مفعول، الذي لم يقيد แปลว่า "มุตลัก อานสระดอมมะฮ์ที่อักษรมีม เป็นคำนามรูปกรรม(อิสม์มัฟอู้ล) หมายถึง สิ่่งที่ไม่ถูกวางเงื่อนไข"
จากหนังสือ القاموس الفقهي กล่าวว่า المطلق: مالا يقيد بقيد، أو شرط แปลว่า "มุตลัก หมายถึง ส่ิงที่ไม่ถูกวางเงื่อนไข"
ยังมีพจนานุกรมอาหรับอีกมากครับ ผมต้องไปสอนหนังสือแล้ว หากต้องการเพิ่มเติม เดี๋ยวจะนำมาอีก
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
abdooh
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 08/06/2012
ตอบ: 188


ตอบตอบ: Thu Jun 14, 2012 9:25 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

มาดูตัวอย่างฟิกฮ์ ในเรื่อง การละหมาดสุนัตที่มีคำสั่่งกว้างให้ปฏิบัติ จึงเป็นที่ยอมรับว่า สามารถปฏิบัติได้เสมอตามรูปแบบการละหมาดที่ถูกต้อง ไม่มีนักวิชาการคนใดห้ามละหมาดสุนัตในเวลานั้นเวลานี้ และไม่มีท่านใดกำชับให้ละหมาดสุนัตนี้ช่วงประมาณสามทุ่ม ดังนั้นละหมาดสุนัตจึงเป็นสิ่งที่ทำได้เสมอ ไม่ว่าจะทำในช่วงเวลาใดๆก็ตาม และไม่ว่าเวลาเหล่านั้นจะมีตัวบทส่งเสริมหรือไม่ก็ตาม และแม้ว่าจะไม่มีคำสั่งหรือรูปแบบใดๆจากชาวสะลัฟก็ตาม แต่ชาวสะลัฟทุกท่านเห็นตรงกันว่า คำสั่งลักษณะนี้สามารถทำได้เสมอ จากนั้นก็มีคำสั่งห้ามจากท่านนบีซ.ล.ไม่ให้ละหมาดสุนัตตอนดวงอาทิตย์กำลังจะขึ้น ตอนมันอยู่กลางฟ้า และตอนที่มันใกล้จะลับขอบฟ้า(บางหะดีษระบุถึงหลังละหมาดซุบห์และหลังละหมาดอัศร์) คำสั่งห้ามนี้จึงเข้ามามีบทบาททำให้การละหมาดสุนัตในช่วงเวลานั้นเป็นสิ่งต้องห้าม เวลาอื่นจากนี้ยังคงเหมือนเดิม
................. แต่แล้วมีผู้ประกาศ(และไม่กล้าประกาศ) บอกว่า การเยี่ยมกุโบร์วันอีดเป็นสิ่งต้องห้าม ด้วยเหตุผลต่างๆนาๆ แล้วกลับมาย้อนถามผู้ที่มีทัศนะต่างกับตัวเองว่า มีคำสั่งจากชาวสะลัฟไหมที่ใช้ให้ทำ มีเพียงเท่านี้จริงๆ
................ หลักข้างต้นเป็นคำตอบที่ชัดเจนอยู่ในตัวมันอยู่แล้ว และหากยังถามแบบนี้อีก ผมจะตอบว่า หะดีษที่ท่านนบีซ.ล.ใช้ให้เยี่ยมกุโบร์แบบกว้างๆนั้นต้องคอยให้ชาวสะลัฟมาระบุด้วยหรือว่า "มันรวมความถึงวันอีดด้วย" จึงจะเป็นซุนนะฮ์ ถ้าต้องการเช่นนั้น เราคงต้องหาคำพูดของชาวสะลัฟมาระบุในเรื่องอื่นๆอีกหลายเรื่อง แม้แต่เรื่องละหมาดสุนัตข้างต้น ก็ไม่มีคำกล่าวหรือการกระทำของชาวสะลัฟที่ระบุเจาะจง พวกเขาเข้าใจคำสั่งลักษณะเช่นนี้ จึงถือว่ามันปฏิบัติได้เสมอ นอกจากมีคำสั่งห้ามจากท่านนบีซ.ล.มาระบุห้ามไว้ จึงไม่สามารถปฏิบัติตรงตามลักษณะที่ท่านนบีัซ.ล.ระบุห้าม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
abdooh
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 08/06/2012
ตอบ: 188


ตอบตอบ: Thu Jun 14, 2012 9:52 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ประหนึ่งว่าตัวผมถูกคุณอะสันตัดสินว่า ไม่ใช้หลักวิชาการ ใช้อารมณ์ ใช้ทัศนะส่วนตัว ใช้อคติ
............ สิ่งผมหยิบยกมา คือแนวทางของชาวสะลัฟซอและห์ ผมจึงกล้าท้าสาบาน แต่คุณอะสันไม่กล้า
............ คุณอะสันถามผมเสมอว่า ให้เอาคำพูดของชาวสะลัฟซอและห์มารับรองสิ่งที่ผมชี้แจง ทั้งที่มันคือสิ่งที่ชาวสะลัฟเองเป็นผู้วางรูปเอาไว้ และคุณอะสันเองไม่เคยกล่าวคำพูดของชาวสะลัฟเลย และยังโต้แย้งหลักการของสะลัฟ โดยหยิบเอาคำพูดของนักวิชาการยุคหลังๆยุคเดียวกับพวกเรานี้มาโต้แย้ง ซึ่งอะสันก็รู้ดีว่า นักวิชาการที่ไม่เห็นด้วยกับคุณมีมากเพียงใด ผมจึงถามว่า แบบอย่างใดที่น่าเชื่อถือมากกว่ากัน ระหว่างชาวสะลัฟ กับนักวิชาการยุคหลัง
............ คุณอะสัน เหมือนไม่ยอมรับหลักการนั้น โดยพยายามบอกว่า ตนเองอธิบายหะดีษตามที่มา ทั้งที่การอธิบายหะดีษตามที่มานั้น จะต้องไม่ทำให้ความหมายเดิมของมันเปลี่ยนไป ตามกฎที่ชาวสะลัฟกล่าวไว้อย่างชัดเจน ที่ว่า العبرة بعموم اللفظ لا بخصوص السبب "ส่ิงที่ใช้พิจารณาคือ การกินความกว้างๆของรูปคำ โดยไม่พิจารณาที่การเจาะจงของสาเหตุที่มา"
............ คุณอะสันนำเอาหลักการที่ชาวสะลัฟถือว่า อ่อนแอมานำเสนอ นั่นคือ ................ إذا ترك الرسول شيئا وجب علينا متابعته فيه คำกล่าวที่คุณหยิบยกมานี้ มีความหมายว่า "เมื่อท่านร่อซู้ลละเว้นสิ่งหนึ่งส่ิงใด เราจำเป็นต้องปฏิบัติตามพระองค์" คำกล่าวนี้ไม่ใช่หลักวิชาการที่ชาวสะลัฟให้การเชื่อถือ เพราะท่านนบีไม่กิน ไม่ดื่มหลายสิ่งขณะละศีลอด ไม่สวมใส่อาภรณ์หลายชนิด ไม่ละหมาดในบางเวลาที่พระองค์ไม่เคยละหมาดในช่วงนั้น ไม่เคยอ่านอัลกุรอานในบางเวลา ไม่เคยพูดหลายๆคำพูด ไม่เคยถือศีลอดในบางวันของบางเดือน ทั้งที่ส่ิงเหล่านั้นบางข้อเป็นซุนนะฮ์ตามคำสั่งกว้างๆ และไม่มีชาวสะลัฟคนใดกล้าตัดสินสิ่งเหล่านั้นว่า บิดอะฮ์ ตามหลักที่คุณกล่าวอ้างเลย ผมบอกคุณแล้วว่า ผมมีระเบียบ มันจะได้ไม่เลอะเทอะ ให้ตามท่านนบีซ.ล. ไม่ให้ตามนักวิชาการ ให้ดำเนินตามชาวสะลัฟ เพราะพวกเขาเป็นกลุ่มชนที่ดีที่สุด ผมรักษาระเบียบนี้ และมีคำอธิบายตามจุดนี้ทุกครั้ง
............ คุณอะสันพยายามจะบอกคนอื่นว่า สิ่งที่ตนตอบเป็นซุนนะฮ์ แต่ไม่เคยหยิบยกซุนนะฮ์ที่ชัดเจนมาโต้แย้ง จะมีก็เพียงทัศนะนาย ก. นาย ข. แล้วมาบอกผมว่า ไม่เอานักวิชาการหรือ มีอคติกับพวกเขาหรือ ผมเอานักวิชาการแน่นอนไม่ว่าท่านนั้นเป็นใคร หากสิ่งที่เขาตอบมีหลักฐานที่ชัดเจนตรงประเด็น มีหลักการที่ถูกยอมรับโดยชาวสะลัฟ แล้วตัวคุณหล่ะ เอานักวิชาการหรือปล่าว
............. ผมคงต้องก๊อปปี้กระทู้ที่เราเสวนากันนี้ไว้ เพื่อมันจะเป็นหลักฐานได้ต่อไปในอนาคต ว่าเราทั้งสองเขียนอะไรไว้บ้าง
............. คำชี้แจงเหล่านี้ รอคำตอบอยู่เสมอ และผมว่าผู้อ่านหลายท่านก็คงคอยอยู่ด้วยเช่นกัน
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Thu Jun 14, 2012 12:18 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

abdooh บันทึก:
ผมก็เด็กปอเนาะ เป็นคนเดินดินเช่นเดียวกับคุณครับ แต่ภาษาอาหรับที่ถูกต้อง เราต้องดูความหมายจากพจนานุกรมภาษาอาหรับ ใช่ไหมครับ
จากหนังสือ معجم لغة الفقه กล่าวว่า المطلق: بضم الميم وفتح اللام اسم مفعول، الذي لم يقيد แปลว่า "มุตลัก อานสระดอมมะฮ์ที่อักษรมีม เป็นคำนามรูปกรรม(อิสม์มัฟอู้ล) หมายถึง สิ่่งที่ไม่ถูกวางเงื่อนไข"
จากหนังสือ القاموس الفقهي กล่าวว่า المطلق: مالا يقيد بقيد، أو شرط แปลว่า "มุตลัก หมายถึง ส่ิงที่ไม่ถูกวางเงื่อนไข"
ยังมีพจนานุกรมอาหรับอีกมากครับ ผมต้องไปสอนหนังสือแล้ว หากต้องการเพิ่มเติม เดี๋ยวจะนำมาอีก


.........
สอนเด็กให้สบายใจเถอะครับ อย่ากังวล เดี่ยวเด็กจะถามเอา คุณอับดุฮครับ การแปล กับ การอธิบายคำ มันต้องแยกกัน มาดูนะครับ คุณยังแปลสิ่งที่คุณอ้างไม่ครบ ที่แปลครบถ้วนทุกคำคือ
المطلق: مالا يقيد بقيد، أو شرط
มุฏลักคือ สิ่งที่ไม่ถูกจำกัด ด้วยการจำกัดใดๆและด้วยเงือนไขใดๆ

นี่คือ ความหมาย แต่เวลาคุณแปลคุณแปล หรือคุณอธิบายล่ะครับ คุณต้องแยกการแปลกับการอธิบาย
คุณไม่ต้องอ้างพจนานุกรมหรอก แค่คุณแปลคุณก็แยกไม่ออกว่าจะแปลความหมาย หรืออธิบายความหมาย

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Thu Jun 14, 2012 12:31 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

abdooh บันทึก:
................. แต่แล้วมีผู้ประกาศ(และไม่กล้าประกาศ) บอกว่า การเยี่ยมกุโบร์วันอีดเป็นสิ่งต้องห้าม ด้วยเหตุผลต่างๆนาๆ แล้วกลับมาย้อนถามผู้ที่มีทัศนะต่างกับตัวเองว่า มีคำสั่งจากชาวสะลัฟไหมที่ใช้ให้ทำ มีเพียงเท่านี้จริงๆ
................ หลักข้างต้นเป็นคำตอบที่ชัดเจนอยู่ในตัวมันอยู่แล้ว และหากยังถามแบบนี้อีก ผมจะตอบว่า หะดีษที่ท่านนบีซ.ล.ใช้ให้เยี่ยมกุโบร์แบบกว้างๆนั้นต้องคอยให้ชาวสะลัฟมาระบุด้วยหรือว่า "มันรวมความถึงวันอีดด้วย" จึงจะเป็นซุนนะฮ์


คุณ ครับ ผมกล้าประกาศว่า การจำกัดเฉพาะการเยี่ยมกุบูรในวันอีด เป็นบิดอะฮ อันนี้พูดไม่รู้กี่รอบแล้ว ผมไม่ได้บอกว่า คำพูดกว้างๆในหะดิษ ไม่ได้รวมวัดอีดด้วย เช่น คุณอยู่ต่างจังหวัด ปีหนึ่งกลับบ้านเฉพาะวัดอีด คุณถือโอกาศไปเยี่ยมกุบูร เพราะวันอื่นคุณไม่มีโอกาสเลย แบบนี้ไม่เรียกว่าจำกัดเฉพาะ เพราะคุณไม่มีเวลาในวันอื่น และไม่ได้เชื่อว่ามันประเสริฐกว่าวีนอื่น แบบนี้ ไม่ขัดต่อคำว่า "คำพูดกว้างๆ เพราะถ้าคุณว่างวันอื่นคุณก็อาจจะไปเยี่ยมในวันอื่น มันดูที่เจตนา และบางที่พฤติกรรม ส่อเจตนา เช่น เยี่ยมกุบูรเฉพาะวันอีดตลอดชีวิต โดยไม่มีเหตุอุปสรรค์ที่จะเยี่ยมในวันอื่น แบบนี้ ต้องมีความเชื่อแอบแฝงแน่นอน ......สักอีกกี่รอบคุณอับดุฮถึงเข้าใจครับ

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
abdooh
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 08/06/2012
ตอบ: 188


ตอบตอบ: Thu Jun 14, 2012 12:47 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ผมจะไม่พูดถึงสิ่งเดิมๆ นอกจากจะสิ่งจูงใจ ที่ผมจะเขียนต่อไปนี้ คือสิ่งที่ผมยอมรับว่ามันผิดพลาด เพราะผมพิมพ์ตกหล่น มิได้ตั้งใจให้ตกหล่นเลย
จากที่ผมตอบอันล่าสุด มีพิมพ์ตกหล่นดังนี้
............... المطلق: بضم الميم وفتح اللام اسم مفعول، الذي لم يقيد แปลว่า "มุตลัก อานสระดอมมะฮ์ที่อักษรมีม เป็นคำนามรูปกรรม(อิสม์มัฟอู้ล) หมายถึง สิ่่งที่ไม่ถูกวางเงื่อนไข"
........................................... ที่ครบถ้วนคือ المطلق: بضم الميم وفتح اللام اسم مفعول، الذي لم يقيد แปลว่า "มุตลัก อานสระดอมมะฮ์ที่อักษรมีม และอ่านสระฟัตหะฮ์ที่อักษรลาม เป็นคำนามรูปกรรม(อิสม์มัฟอู้ล) หมายถึง สิ่่งที่ไม่ถูกวางเงื่อนไข
............... المطلق: مالا يقيد بقيد، أو شرط แปลว่า "มุตลัก หมายถึง ส่ิงที่ไม่ถูกวางเงื่อนไข"
........................................... ที่ครบถ้วนคือ المطلق: مالا يقيد بقيد، أو شرط แปลว่า "มุตลัก หมายถึง ส่ิงที่ไม่ถูกวาง[b]ข้อจำกัดหรือ[/b]เงื่อนไข"
.............. อนึ่ง ทางภาษาศาสตร์ระบุไว้ว่า คำว่า قيد แปลว่า شرط (เงื่อนไข)
........................................... จากนี้ ผู้อ่าน คือผู้ที่จะได้รับความกระจ่างว่า สิ่งที่ผมนำมาเป็น อคติ เป็นทัศนะส่วนตัว หรือไม่
........................................... และผู้อ่าน คือผู้จะเปรียบเทียบได้เองว่า การนำเสนอของผู้ใด เป็นอย่างไร
........................................... คุณอะสันจะกล้าหรือไม่ ที่จะเปิดโอกาสให้ผู้อ่านใช้วิจารณญาณสิ่งที่เราทั้งสองเขียนไว้ตรงนี้ โดยไม่ลบสิ่งที่ผมและคุณเขียนไว้
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
abdooh
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 08/06/2012
ตอบ: 188


ตอบตอบ: Thu Jun 14, 2012 12:56 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การโพสต์ของคุณช่วงท้ายๆ มันสื่อบอกผมว่า คุณไม่ได้ตอบโต้สิ่งใดเลยที่ผมเขียนลงไป นอกจากใช้กลยุทธกล่าวหา ผมจึงเข้าใจไปว่า คุณตอบไม่ได้ ก็เลยสร้างภาพผมให้กลายเป็นผู้ร้าย ผมถกกับคุณด้วยวิชาการที่ชัดเจน สิ่งที่ผมพลาดผมยอมรับ และยอมแก้ไข และอาจจะมีอีกหลายคำที่ผมพิมพ์ผิด พิมพ์ตกหล่นไป หรือเกิดจากความรู้อันน้อยนิดของผม แล้วผมจะเข้ามาแก้ไขในคราวต่อไป
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Thu Jun 14, 2012 4:12 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

abdooh บันทึก:
"
.............. อนึ่ง ทางภาษาศาสตร์ระบุไว้ว่า คำว่า قيد แปลว่า شرط (เงื่อนไข)
และคุณเขียนไว้



คุณอับดุฮไปดูตำรามาแค่คำเดียว แล้วบอกว่า คำว่า قيد แปลว่า شرط (เงื่อนไข)


คุณมาดูใน ประโยคข้างล่าง คำว่า قيد แปลว่า เจาะจงใช่หรือไม่ คุณลองไปค้นดูได้

قَيَّدَ الكَاتِبُ أَوِ الْمُتَكَلِّمُ " : حَدَّدَ غَرَضَهُ وَمَعْنَى كَلاَمِهِ وَعَيَّنَهُمَا

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักความเชื่อ ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3  ถัดไป
หน้า 2 จากทั้งหมด 3

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


Powered by phpBB ฉ 2001, 2002 phpBB Group







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.28 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ