ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
อันนีซัน มือใหม่
เข้าร่วมเมื่อ: 10/08/2009 ตอบ: 8
|
ตอบ: Fri Sep 04, 2009 7:07 pm ชื่อกระทู้: นบีใช้ให้ทำบิดอะฮ์หาสานะฮ์...จริงหรือ??? |
|
|
เห็นอ.อารีฟีน แสงวิมาร (อัลอัซฮะรีย์) ชอบนำมาอ้างนักอ้างหนาเพื่อที่จะหาความชอบธรรมในการทำอุตริกรรมในศาสนาของเขา หะดีษบทนี้ค่ะ
ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) กล่าวว่า
من سن في الإسلام سنة حسنة فله أجرها وأجر من عمل بها بعده من غير أن ينقص من أجورهم شيء ومن سن في الإسلام سنة سيئة كان عليه وزرها ووزر من عمل بها من بعده من غير أن ينقص من أوزارهم شيء
" ผู้ใด ที่ได้ทำขึ้นมา ในอิสลาม กับหนทางที่ดี แน่นอน เขาจะได้รับผลบุญและได้รับผลบุญของผู้ที่ได้ปฏิบัติตามหลังจากเขาได้(เสีย ชีวิตไปแล้ว) โดยไม่มีสิ่งบกพร่องลงเลย จากผลบุญของพวกเขา และผู้ใด ทีได้ทำขึ้นมา ในอิสลาม กับหนทางที่เลว แน่นอน บาปของมันก็ตกบนเขา และบาปของผู้ที่ปฏิบัติมัน หลังจากเขา(เสียชีวิตไปแล้วก็ตกบนเขา) โดยไม่มีสิ่งใดบกพร่องลงไปเลย จากบรรดาบาปของพวกเขา" (รายงานโดย ท่านอิมาม มุสลิม ไว้ในซอเฮี๊ยะหฺของท่าน หะดิษที่1017)
ข้อเท็จจริงเป็นเช่นไรค่ะ โดยเฉพาะที่มาที่ไปของหะดีษบทนี้ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Fri Sep 04, 2009 10:15 pm ชื่อกระทู้: Re: นบีใช้ให้ทำบิดอะฮ์หาสานะฮ์...จริงหรือ??? |
|
|
อันนีซัน บันทึก: |
เห็นอ.อารีฟีน แสงวิมาร (อัลอัซฮะรีย์) ชอบนำมาอ้างนักอ้างหนาเพื่อที่จะหาความชอบธรรมในการทำอุตริกรรมในศาสนาของเขา หะดีษบทนี้ค่ะ
ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) กล่าวว่า
من سن في الإسلام سنة حسنة فله أجرها وأجر من عمل بها بعده من غير أن ينقص من أجورهم شيء ومن سن في الإسلام سنة سيئة كان عليه وزرها ووزر من عمل بها من بعده من غير أن ينقص من أوزارهم شيء
" ผู้ใด ที่ได้ทำขึ้นมา ในอิสลาม กับหนทางที่ดี แน่นอน เขาจะได้รับผลบุญและได้รับผลบุญของผู้ที่ได้ปฏิบัติตามหลังจากเขาได้(เสีย ชีวิตไปแล้ว) โดยไม่มีสิ่งบกพร่องลงเลย จากผลบุญของพวกเขา และผู้ใด ทีได้ทำขึ้นมา ในอิสลาม กับหนทางที่เลว แน่นอน บาปของมันก็ตกบนเขา และบาปของผู้ที่ปฏิบัติมัน หลังจากเขา(เสียชีวิตไปแล้วก็ตกบนเขา) โดยไม่มีสิ่งใดบกพร่องลงไปเลย จากบรรดาบาปของพวกเขา" (รายงานโดย ท่านอิมาม มุสลิม ไว้ในซอเฮี๊ยะหฺของท่าน หะดิษที่1017)
ข้อเท็จจริงเป็นเช่นไรค่ะ โดยเฉพาะที่มาที่ไปของหะดีษบทนี้ |
...............
หะดิษนี้ไม่ได้หมายถึง การอุตริบิดอะฮฺที่ดีในอิสลาม แต่หมายถึง การฟื้นฟูสุนนะฮฺและการเป็นแบบอย่าง ในการทำดี ที่ศาสนามีบัญญัติไว้ เพราะ
ที่มาของคำพูดของท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ข้างต้นเนื่องจากมีเศาะหาบะฮท่านหนึ่ง ซึ่งเป็นชาวอันศอร ได้ทำการเศาะดะฮเกาะฮฺ
ในยามวิกฤต แล้วคนอื่นๆก็เอาเยี่ยงอย่าง
และที่จริงความหมายของคำว่า من سن ในหะดิษคือ من أحيا ซึ่งแปลว่า ฟื้นฟูขึ้นใหม่ คือ เรื่องเดิมมีอยู่แล้วแต่ไม่มีใครทำ ไม่มีใครปฏิบัติ
เมื่อมีผู้มาฟื้นฟูขึ้น แล้วมีผู้ปฏิบัติตาม ซึ่งเป็นสิ่งที่ศาสนาได้บัญญัติไว้แล้ว โปรดดูต้นเหตุ(สะบับ)ของหะดิษนี้ ซึ่งปรากฏในหนังสืออธิบายหะดิษมุสลิม
ของอันนะวาวีย์ ดังนี้
มีคนยากจนจำนวนหนึ่งมาหาท่านร่อซูลุ้ลลอฮ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ด้วยเครื่งแต่งกายขาดกะรุ่งกะริ่ง เมื่อท่านร่อซูลุ้ลลอฮ
ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เห็นดังนั้น ใบหน้าของท่านซีดเผือด ท่านจึงเข้าไปในบ้านและออกมาสั่งให้ท่านบิลาลอะซาน แล้วท่านจึงทำการละหมาด
เสร็จแล้วท่านจึงขึ้นอ่านคุฏบะฮ โดยอ่านอายะฮดังต่อไปนี้
{ يَا أَيُّهَا النَّاسُ اتَّقُوا رَبَّكُمُ الَّذِي خَلَقَكُمْ مِنْ نَفْسٍ وَاحِدَةٍ} إلى آخر الآية {إِنَّ اللَّهَ كَانَ عَلَيْكُمْ رَقِيباً
"สูเจ้าทั้งหลายจงสำรวมตนต่ออัลลอฮ พระผู้อภิบาลของพวกเจ้า ผู้ทรงสร้างพวกเจ้าจากชีวิตหนึ่ง....จนถึงท้ายของอายะฮที่ว่า แท้จริงอัลลอฮฺ
ทรงเฝ้าดูแลพวกเจ้า และท่านรซูลได้อ่านโองการต่อไปนี้
يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا اتَّقُوا اللَّهَ وَلْتَنظُرْ نَفْسٌ مَّا قَدَّمَتْ لِغَدٍ وَاتَّقُوا اللَّهَ إِنَّ اللَّهَ خَبِيرٌ بِمَا تَعْمَلُونَ
[59.18] "โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย พวกเจ้าจงยำเกรงอัลลอฮ์เถิด และทุกชีวิตจงพิจารณาดูว่า อะไรบ้างที่ตนได้เตรียมไว้สำหรับวันพรุ่งนี้ (วันกิยามะฮ์)
และจงยำเกรงอัลลอฮ์เถิด แท้จริงอัลลอฮ์นั้นทรงรู้ดียิ่งในสิ่งที่พวกเจ้ากระทำ"
ทันใดนั้นก็มี เศาะหาบะฮบางคนก็บริจาคเหรียญทอง - เหรียญเงิน บางคนบริจาคเสื้อผ้า ข้าสาลี-อินทผาลัม ต่อมามีชาวอันศอรฺคนหนึ่ง นำห่อ
สิ่งของมาให้ มือของเขาเกือบถือไม่หมด คนอื่นๆต่างก็หลั่งไหลกันมาบริจาค (ผู้รายงานหะดิษบอกว่า) จนกระทั้งฉันเห็นอาหารและเสื้อผ้า กองใหญ่
สองกอง และฉันเห็นสีหน้าของท่านร่อซูลุ้ลลอฮ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ยิ้มแย้ม แจ่มใสด้วยความดีใจ ท่านจึงกล่าวว่า
من سن في الإسلام سنة حسنة فله أجرها وأجر من عمل بها بعده من غير أن ينقص من أجورهم شيء ، ومن سن في الإسلام سنة سيئة كان عليه وزرها ووزر من عمل بها من بعده من غير أن ينقص من أوزارهم شيء .
"ผู้ใดทำแบบอย่างที่ดีในอิสลาม เขาจะได้รับการตอบแทนของเขา และการตอบแทนของผู้ที่ปฏิบัติตามนั้น หลังจากเขา โดยไม่ถูกลดหย่อน
ไปจากการตอบแทนของพวกเขาแม้แต่น้อย และผู้ผู้ใดทำแบบอย่างที่ชั่วในอิสลาม เขาจะแบกภาระความผิดของเขา และความผิดของผู้ที่ปฏิบัติตามนั้น
หลังจากเขา โดยไม่ถูกลดย่อนไปจากความผิดของพวกเขาแม้แต่น้อย
- รายงานโดยมุสลิม จากญะรีร บุตร อับดุลลอฮ
..........................................................
นี้คือ เป้าหมายของหะดิษนี้ และอีกประการหนึ่งคือ คำว่า في الاسلام (ในอิสลาม) นี้ก็ชัดเจนอยู่แล้วว่า สิ่งนั้นมีอยู่ในคำสอนอิสลามไม่ใช่นอก
อิสลามไม่ใช่บิดอะฮ เพราะบิดอะฮ คือ สิ่งที่คิดขึ้นใหม่ ผมใช้คำว่า บิดอะฮ โดยไม่แยกว่า บิดอะฮฺหะสะนะ และบิดอะเฎาะลาละฮ ก็เนื่องจาก
ทุกบิดอะฮในเรื่องของศาสนา นั้น เฎาะลาละฮ(หลงผิด) _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Fri Sep 04, 2009 10:34 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
เพิ่มเติม
ดร.มุหัมหมัด ศอลิหฺ อัลเฟาซาน บิน อัลเฟาซาน ได้โต้ตอบพวกที่เอาหะดิษนี้มาอ้างทำบิดอะฮ ว่า
فهذا لا يدل على ما يقوله هؤلاء؛ لأن الرسول لم يقل من ابتدع بدعة حسنة، وإنما قال: "من سن سنة حسنة"، والسنة غير البدعة، السنة هي ما كان موافقًا للكتاب والسنة، موافقًا للدليل، هذا هو السنة؛ فمن عمل بالسنة التي دل عليها الكتاب والسنة؛ يكون له أجرها وأجر من عمل بها إلى يوم القيامة؛ يعني: من أحيا هذه السنة وعلمها للناس وبينها للناس وعملوا بها اقتداءً به؛ فإنه يكون له من الأجر مثل أجورهم،
หะดิษนี้ไม่ได้แสดงบอก ตามสิ่งที่พวกเขาเหล่านั้นพูดกัน เพราะท่านร่อซูล ไม่ได้กล่าวว่า من ابتدع بدعة حسن(ผู้ใดอุตริบิดอะฮที่ดี) แต่ตรงกันข้าม ท่านกล่าวว่า "من سن سنة حسنة" (ผู้ใดทำแบบอย่างที่ดี) และอัสสุนนะฮนั้น ไม่ใช่ บิดอะฮ อัสสุนนะฮคือสิ่งที่สอดคล้องกับ อัลกิตาบ(อัลกุรอ่าน) และอัสสุนนะฮ สอดคล้องกับหลักฐาน นี่คือ อัสสุนนะฮ
ดังนั้นผู้ใด ปฏิบัติตามสุนนะฮ ที่อัลกุรอ่านและอัสสุนนะฮ แสดงบอกเอาไว้ เขาก็จะได้รับผลตอบแทน ของตนและของผู้ที่ปฏิบัติตามนั้น จนถึง
วันกิยามะฮ หมายถึง ผู้ใดฟื้นฟูสุนนะฮ และเขาปฏิบัติมัน เพื่อเป็นแบบอย่างแก่มนุษย์ และ อธิบายมันแก่มนุษย์ แล้วพวกเขาปฏิบัติตามนั้น ดังนั้น
เขาจะได้ผลการตอบแทน เท่ากับผลการตอบแทนที่พวกเขา(ผู้ปฏิบัติตามเขา)ได้รับ (1)
............
(1)المنتقى من فتاوى فضيلة الشيخ صالح بن فوزان بن عبد الله الفوزان، 1/173، رقم الفتوى في مصدرها: 96 _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Fri Sep 04, 2009 11:24 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
เช็คอุษัยมีน (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)ได้อธิบายหะดิษนี้ว่า
أن معنى قوله صلى الله عليه وسلم (( مَنْ سَنَّ في الإسلامِ سُنَّةً حَسَنَـةً )) أي : من ابتدأ العمل بالسنة ، ويدل لهذا أن النبي - صلى الله عليه وسلم - ذكره بعد أن حث على الصدقة للقوم الذين وفدوا إلى المدينة ورغب فيها ، فجاء الصحابة كلٌّ بما تيسر له ، وجاء رجل من الأنصار بصرّة قد أثقـلت يده فوضعها في حجر النبي - صلى الله عليه وسلم - فقال - صلى الله عليه وسلم - : (( مَنْ سَنَّ في الإسلامِ سُنَّةً حَسَنَـةً فَـلَهُ أجْرُها وأجرُ مَن عَمِلَ بها إلى يوم القيامة )) أي : ابتدأ العمل بسنة ثابتة ، وليس أنه يأتي هو بسنة جديدة ،
ความหมายคำพูดของท่านนบี ที่ว่า(ผู้ใดทำแบบอย่างที่ดีในอิสลาม) หมายถึง ผู้ใดริเริ่มปฏิบัติ ตาม สุนนะฮ และหลักฐานที่แสดงบอกสำหรับเรื่องนี้ คือ การที่ท่านนบี ได้ระบุมัน(ถ้อยคำนี้) หลังจากที่ท่านได้เร่งเร้าให้บริจาคทานแก่คนกลุ่มหนึ่ง ซึ่งพวกเขาได้มายังนครมะดีนะฮ และท่านได้ส่งเสริมมัน แล้วเศาะหาบะฮท่านหนึ่งได้นำทุกสิ่งที่สะดวกสำหรับเขามา และชายคนหนึ่ง ได้นำห่อใบหนึ่งซึ่งมันทำให้หนักแก่มือของเขา แล้ววางมันที่ตักของท่านนบี แล้วท่านนบี กล่าวว่า " ผู้ใดทำแบบอย่างที่ดีในอิสลาม เขาก็จะได้รับผลตอบแทนของมัน และผลตอบแทนของผู้ที่ปฏิบัติดามมัน จนกระทั่งถึงวันกิยามะฮ) หมายถึง ริเริ่มปฏิบัติตามสุนนะฮ ที่ปรากฏแน่นอน
และไม่ใช่นำแบบอย่างใดแบบอย่างหนึ่งที่เป็นสิ่งใหม่มา (2)
........................
เพราะ การที่ท่านครู พยามใส่แว่นสีดำให้แก่ชาวบ้าน เพื่อให้พวกเขาเข้าใจว่าหะดิษข้างต้น เป็นหลักฐานให้ทำบิดอะฮตามความเห็นที่ว่าดี ผลสุดท้ายบิดอะฮเต็มบ้านเต็มเมือง อย่างที่เห็นกันทุกวันนี้
-------------------------
(2) ชัรหุมะตันอัลอัรบะอีนอัลนะวาวียะฮ ของ เช็คอิบนุอุษัยมีน หน้า 311-312 _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Sat Sep 05, 2009 10:29 am ชื่อกระทู้: |
|
|
ท่านอิบนิตัยมียะฮกล่าวว่า
ومعلوم أنّ كل ما لم يسنه ولا استحبه رسول الله صلى الله عليه وسلم ولا أحد من هؤلاء الذين يقتدي بهم المسلمون في دينهم فإنه يكون من البدع المنكرات، ولا يقول أحد في مثل هذا أنّه بدعة حسنة"
และเป็นที่รู้กันว่า ทุกสิ่งที่ท่านรซูลลุลลอฮ ศ็อลลอ็ลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ไม่ได้ทำแบบอย่างเอาไว้และไม่ได้ส่งเสริมมัน และไม่มีคนหนึ่งคนใดจากพวกเขา (หมายถึงเหล่าเคาะลิฟะฮอัรรอชิดีน)ที่บรรดามวลมุสลิมปฏิบัติตามพวกเขา ในเรื่องศาสนาของพวกเขา (ได้ทำแบบอย่างและส่งเสริมให้กระทำ) ดังนั้นแท้จริงมันเป็นส่วนหนึ่งจากบิดอะฮที่ต้องห้าม และไม่มีคนใดกล่าว ในกรณีแบบนี้ว่า เป็น บิดอะฮหะสะนะฮ
- มัจญมัวะอัลฟะตาวา เล่ม 27 หน้า 152
อิหม่ามมาลิก บุตร อะนัสกล่าวว่า
من ابتدع في الإسلام بدعة يراها حسنة فقد زعم أن محمدا صلى الله عليه وسلم خان
الرسالة، لأن الله يقول: (اليَومَ أكْمَلْتُ لَكُم دِينَكُمْ) فما لم يكن يومئذ دينا فلا يكون اليوم دينا
ผู้ใดอุตริบิดอะฮขึ้นมาในอิสลาม โดยเห็นว่ามันดี (เห็นว่าเป็นบิดอะฮหะสะนะฮ) แน่นอนเขาเข้าใจ
ว่า แท้จริงมุหัมหมัด ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม นั้น ไม่ซื่อสัตย์ต่อสาส์นแห่งพระเจ้า เพราะว่าอัลลอฮทรงกล่าวว่า (วันนี้เราได้ให้ศาสนาของพวกเจ้าสมบูรณ์สำหรับพวกเจ้าแล้ว) แล้ว สิ่งใดในวันนั้นไม่เป็นศาสนา ดังนั้นในปัจจุบันนี้ก็ไม่เป็นศาสนา - โปรดดูอัลเอียะติศอม เล่ม 1 หน้า 49
ท่านอิบนุกะษีร (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) กล่าวว่า
والبدعة على قسمين تارة تكون بدعة شرعية كقوله فإن كل محدثة بدعة وكل بدعة ضلالة وتارة تكون بدعة لغوية كقول أمير المؤمنين عمر بن الخطاب عن كم إياهم على صلاة التراويح واستمرارهم نعمت البدعة . اهـ
บิดอะฮ แบ่งออกเป็น สองประเภท บางทีก็เป็นบิดอะฮที่เกี่ยวกับศาสนบัญญัติ ดังที่ท่านนบี กล่าวว่า "ทุกสิ่งที่ถูกประดิษฐขึ้นใหม่ เป็นบิดอะฮ และทุกบิดอะฮ เป็นการหลงผิด" และบางที ก็เป็นบิดอะฮที่เกี่ยวกับภาษา ดังเช่น คำพูดของผู้นำแห่งศรัทธาชน อุมัร บุตร อัลคอฏฏอ็บ จากการที่รวบรวมพวกเขา(ผู้คน) ให้ละหมาดตะรอเวียะและให้พวกเขาดำเนินต่อไป ว่า "บิดอะฮที่ดี"
- ดูตัฟสีรอิบนิกะษีร เล่ม 1 หน้า 162 สำนักพิมพ์ดารุ้ลฟิกริ ปี ฮ.1401 _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
อันนีซัน มือใหม่
เข้าร่วมเมื่อ: 10/08/2009 ตอบ: 8
|
ตอบ: Sat Sep 05, 2009 1:34 pm ชื่อกระทู้: . |
|
|
เข้าใจแล้วค่ะ ขอบคุณมากค่ะ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
Faizol/Ruenpitak มือใหม่
เข้าร่วมเมื่อ: 15/09/2009 ตอบ: 2
|
ตอบ: Tue Sep 15, 2009 9:03 am ชื่อกระทู้: |
|
|
แค่ชื่อ ก็ผิดแล้ว แล้วยังเอานบี มาอ้างอีก |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Tue May 08, 2012 11:53 am ชื่อกระทู้: |
|
|
إياكم ومحدثات الأمور
พวกท่านพึงระวัง บรรดากิจการต่างๆที่ถูกประดิษฐขึ้นใหม่
ซึ่งหมายถึง
كل ما أحدثه الناس في دين الإسلام من البدع في العقائد والعبادات ونحوها مما لم يأت به كتاب ولا سنة ثابتة عن رسول الله صلى الله عليه وسلم، واتخذوه دينًا يعتقدونه، ويتعبدون الله به
ทุกสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ ขึ้นมาใหม่ในศาสนาอิสลาม ในเรื่อง อะกีดะฮ ,เรื่องอิบาดะฮ เป็นต้น จากสิ่งที่
อัลกุรอ่านไม่ได้นำมาและไม่ปรากฏ สุนนะฮที่แน่นอนจากรซูลุลลอฮ และพวกเขาเอามันมา
ทำเป็นศาสนา พวกเขาเชื่อมั่นและนำมันมาอิบาดะฮกับอัลลอฮ
- มัจญมัวะฟะตาวา อัลลุจญนะฮ เล่ม ๒๔ เรื่อง อะกีดะฮ _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Tue May 08, 2012 11:55 am ชื่อกระทู้: |
|
|
เหตุผลคนทำบิดอะฮ เขาบอกว่า "เขาเจตนาดี" เมื่อเจตนาดีต้องได้ดี ดังนั้นจงตอบเขาว่า
النية الحسنة لا تجعل البدعة سنة
เจตนาที่ดีก็ไม่ได้ทำให้บิดอะฮกลายเป็นสุนนะฮได้หรอก
عن ابن المسيب أنه رأى رجلا يكرر الركوع بعد طلوع الفجر ، فنهاه فقال : يا أبا محمد أيعذبني الله على الصلاة ؟ قال : لا ، ولكن يعذبك على خلاف السنة
รายงานจากอิบนุอัลมุสัยยิบว่า เขาได้เห็นชายคนหนึ่ง รุกัวะหลายครั้ง(ในละหมาด)หลังจากรุ่งอรุณขึ้น แล้วเขาได้ห้ามผู้นั้น แล้วชายผู้นั้นกล่าวว่า "โอ้อบูมุหัมหมัด อัลลอฮลงโทษฉัน เพราะการละหมาดด้วยหรือ? เขา(อิบนอัลมุสัยยิบ)กล่าวว่า "ไม่หรอก.. แต่พระองค์ลงโทษท่าน เพราะการทำผิดสุนนะฮ (1) - อัลบานีย์ระบุว่า เศาะเฮียะ ดู อัลอีรวาอฺ เล่ม 2 หน้า 236....... _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
abdooh มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 08/06/2012 ตอบ: 188
|
ตอบ: Fri Jun 08, 2012 10:38 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ٌّمَنْ أَحْدَثَ فِيْ أَمْرِنَا هَذَا مَا لَيْسَ مِنْهُ فَهُوَ رَد
"ผู้ใดประดิษฐ์สิ่งหนึ่งซึ่งไม่มีในศาสนาขึ้นในศาสนาของเรา ถือว่าสิ่งนั้นไม่เป็นที่ยอมรับ"
จากคำกล่าวของท่านนบีซ.ล.นี้ ชี้ว่า หากสิ่งนั้นมีซุนนะฮ์รองรับถือว่า ไม่เป็นบิดอะฮ์
ซุนนะฮ์ คือ คำพูด หรือ การกระทำ หรือ การยอมรับ ของท่านนบีซ.ล. มิได้หมายถึงการกระทำเพียงอย่างเดียว ที่มักอ้างกันว่า "นบี หรือ ชาวสลัฟ ไม่เคยทำ ถือว่าเป็นบิดอะฮ์" เป็นคำพูดที่ถูกต้องหากไม่มีซุนนะฮ์ทางคำพูดหรือการยอมรับระบุไว้ แต่หากมีซุนนะฮ์ทางคำพูดระบุไว้ แม้ไม่มีตัวการกระทำถือว่าไม่ใช่บิดอะฮ์
มักมีผู้ชอบอ้างทำให้ผู้คนเข้าใจศาสนาผิดๆ จนทำให้ส่ิงที่เป็นซุนนะฮ์กลายเป็นบิดอะฮ์ ส่ิงนี้คือความเลวร้ายที่แพร่หลายตามสื่อต่างๆ ที่ผู้มีศรัทธาที่แท้จริงต้องระวัง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Sat Jun 09, 2012 10:08 am ชื่อกระทู้: |
|
|
abdooh บันทึก: | ٌّمَنْ أَحْدَثَ فِيْ أَمْرِنَا هَذَا مَا لَيْسَ مِنْهُ فَهُوَ رَد
"ผู้ใดประดิษฐ์สิ่งหนึ่งซึ่งไม่มีในศาสนาขึ้นในศาสนาของเรา ถือว่าสิ่งนั้นไม่เป็นที่ยอมรับ"
จากคำกล่าวของท่านนบีซ.ล.นี้ ชี้ว่า หากสิ่งนั้นมีซุนนะฮ์รองรับถือว่า ไม่เป็นบิดอะฮ์
ซุนนะฮ์ คือ คำพูด หรือ การกระทำ หรือ การยอมรับ ของท่านนบีซ.ล. มิได้หมายถึงการกระทำเพียงอย่างเดียว ที่มักอ้างกันว่า "นบี หรือ ชาวสลัฟ ไม่เคยทำ ถือว่าเป็นบิดอะฮ์" เป็นคำพูดที่ถูกต้องหากไม่มีซุนนะฮ์ทางคำพูดหรือการยอมรับระบุไว้ แต่หากมีซุนนะฮ์ทางคำพูดระบุไว้ แม้ไม่มีตัวการกระทำถือว่าไม่ใช่บิดอะฮ์
มักมีผู้ชอบอ้างทำให้ผู้คนเข้าใจศาสนาผิดๆ จนทำให้ส่ิงที่เป็นซุนนะฮ์กลายเป็นบิดอะฮ์ ส่ิงนี้คือความเลวร้ายที่แพร่หลายตามสื่อต่างๆ ที่ผู้มีศรัทธาที่แท้จริงต้องระวัง |
ความเลวร้าย คงไม่ใช่เพราะการนำหะดิษนี้ มาเป็นหลักฐานห้ามไม่ให้ทำบิดอะฮ แต่ที่เลวร้ายคือ การเข้าใจว่า บิดอะฮคือ สุนนะฮต่างหาก
การจะปฏิบัตในเรื่อง ศาสนาต้องทำความเข้าใจหลักฐาน และปฏิบัติตามหลักฐาน ไม่ใช่เอาหลักฐานมาตามใจตัวเอง
จากหะดิษที่ท่านอ้าง ท่นอิบนุเราะญับ อธิบายว่า
، فَكَذَلِكَ كُلُّ عَمَلٍ لَا يَكُونُ عَلَيْهِ أَمْرُ اللَّهِ وَرَسُولِهِ ، فَهُوَ مَرْدُودٌ عَلَى عَامِلِهِ ، وَكُلُّ مَنْ أَحْدَثَ فِي الدِّينِ مَا لَمْ يَأْذَنْ بِهِ اللَّهُ وَرَسُولُهُ ، فَلَيْسَ مِنَ الدِّينِ فِي شَيْءٍ
ในทำนองเดียวกันนั้น ทุกๆการกระทำ ที่ไม่มีคำสั่งอัลลอฮ และรอซูลของพระองค์ มันถูกปฏิเสธ และทุกๆ คน ที่ประดิษฐ์ สิ่งใหม่ในศาสนา ในสิ่งที่อัลลอฮ และรอซูลของพระองค์ไม่อนุมัต ด้วยมัน มันไม่ใช่สวนหนึ่งจากศาสนาแม้แต่สิ่งเดียว - ญามิอุลอุลูม วัลหิกะมิ เล่ม 1 หน้า 176
......
เพราะฉะนั้น ไม่ว่าในเรื่องใด ที่เป็นเรื่องศาสนาต้องดูที่คำสอน ดูที่การปฏิบัติของท่านนบี ดูนบี เป็นแบบอย่าง เช่น นบี พูดไว้ว่า ให้เยี่ยมุบูร เพราะช่วยให้ระลึกความตาย โดยกล่าวเอาไว้กว้างๆ นี้คือสุนนะฮ แต่ถ้าไปจำกัด วัน เวลา ในสิ่งที่ศาสนาไม่เจาะจง มันคือบิดอะฮ เพราะไม่ใช่หน้าที่ของมนุษย์ที่จะมาจำกัดในสิ่งที่ศาสนากล่าวเอาไว้กว้างๆไม่เฉพาะ
والله أعلم بالصواب _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
abdooh มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 08/06/2012 ตอบ: 188
|
ตอบ: Sat Jun 09, 2012 10:11 am ชื่อกระทู้: |
|
|
นี่คือความเข้าใจที่คุณอะสันเข้าใจแบบส่วนตัวโดยแท้จริง ขออัลลอฮ์โปรดชี้ทางนำให้คุณและผู้เป็นเยี่ยงนี้ทุกคน |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Sat Jun 09, 2012 5:39 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
abdooh บันทึก: | นี่คือความเข้าใจที่คุณอะสันเข้าใจแบบส่วนตัวโดยแท้จริง ขออัลลอฮ์โปรดชี้ทางนำให้คุณและผู้เป็นเยี่ยงนี้ทุกคน |
คุณอับดุฮครับ ...มันไม่ใช่เข้าใจส่วนตัว แต่ผมได้อ้างหลักฐาน ความจริง โดยสามัญสำนึกในความเป็นมุสลิม ผมไม่จำเป็นยกหลักฐานก็ได้ เพราะคนมุสลิม เขามีพระเจ้าคืออัลลอฮ ซึ่งเป็นเจ้าของศาสนา ผู้บัญญัติสาสนา ส่วน นบีมุหัมหมัด เป็นผู้ถูกแต่งตั้งให้เป็นรอซูล และอัลลอฮ กับรอซูล คือ ผู้ที่อยู่ในคำปฏิญานของมุสลิม เพราะฉะนั้น มันจะมีประโยชน์อะไรถ้าเรากล่าวคำปฏิญาน กับอัลลอฮ และรอซูล แต่เรากลับไม่เอาคำสอน และแบบอย่างของรอซูลมาเป็นทางนำ
لَقَدْ كَانَ لَكُمْ فِي رَسُولِ اللَّهِ أُسْوَةٌ حَسَنَةٌ
โดยแน่นอน ในผู้นำสาส์นของอัลลอฮฺ(มุฮัมมัด)มีแบบอันดีงามสำหรับพวกเจ้าแล้ว (อัล กุรอาน 33.21)
เพราะฉะนั้น ผมไม่ได้ใช้ความเห็นส่วนตัว ผมใช้คำสอนศาสนาเป็นแนวทาง ครับ
والله أعلم بالصواب _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
abdooh มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 08/06/2012 ตอบ: 188
|
ตอบ: Sat Jun 09, 2012 9:23 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
หลักฐานที่คุณกล่าวอ้าง แท้ที่จริงมันก็คือทัศนะเท่านั้น มิได้เป็นซุนนะฮ์จากท่านนบีซ.ล.ที่ระบุเช่นนั้น คุณพยายามสร้างสถานการณ์แวดล้อมให้คนอ่าน คนฟังโน้มเอียงไปตามสูตรของคุณ โดยอ้้างด้วยคำพูดที่สวยหรูว่า นี่คือของจริง นี่คือสูตรนบี นี่คือซุนนะฮ์ การกระทำที่มีหลักฐานชัดเจนให้ทำ แต่เมื่อมีการกระทำขึ้นในลักษณะที่มิได้มีข้อห้ามแต่อย่างใด คุณกลับใช้ทัศนะบอกว่ามันเป็นการเจาะจงเป็นบิดอะฮ์ ผมไม่รู้คุณคิดได้อย่างไร มันเป็นศาสนาหรือทัศนะของคุณลักษณะเช่นนี้ ที่ต่อต้านคำสั่งใช้ของท่านนบีซ.ล.ในบางรูปแบบที่ไม่มีข้อห้าม นี่ถ้าหากมีหลักฐานระบุชัดๆ ผมก็เห็นด้วยกับคุณ แต่คุณไม่เคยมีหลักฐานแม่้แต่หลักฐานเดียวที่ถูกต้องชัดเจนจากท่านนบีซ.ล.ระบุเช่นนั้นเลย แต่คุณกล้าหาญมากที่ตัดสินส่ิงนี้ว่า บิดอะฮ์ วั้ลอิยาซุบิ้ลลาฮ์มินซาลิก |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Sun Jun 10, 2012 6:47 am ชื่อกระทู้: |
|
|
abdooh บันทึก: | หลักฐานที่คุณกล่าวอ้าง แท้ที่จริงมันก็คือทัศนะเท่านั้น มิได้เป็นซุนนะฮ์จากท่านนบีซ.ล.ที่ระบุเช่นนั้น คุณพยายามสร้างสถานการณ์แวดล้อมให้คนอ่าน คนฟังโน้มเอียงไปตามสูตรของคุณ โดยอ้้างด้วยคำพูดที่สวยหรูว่า นี่คือของจริง นี่คือสูตรนบี นี่คือซุนนะฮ์ การกระทำที่มีหลักฐานชัดเจนให้ทำ แต่เมื่อมีการกระทำขึ้นในลักษณะที่มิได้มีข้อห้ามแต่อย่างใด คุณกลับใช้ทัศนะบอกว่ามันเป็นการเจาะจงเป็นบิดอะฮ์ ผมไม่รู้คุณคิดได้อย่างไร มันเป็นศาสนาหรือทัศนะของคุณลักษณะเช่นนี้ ที่ต่อต้านคำสั่งใช้ของท่านนบีซ.ล.ในบางรูปแบบที่ไม่มีข้อห้าม นี่ถ้าหากมีหลักฐานระบุชัดๆ ผมก็เห็นด้วยกับคุณ แต่คุณไม่เคยมีหลักฐานแม่้แต่หลักฐานเดียวที่ถูกต้องชัดเจนจากท่านนบีซ.ล.ระบุเช่นนั้นเลย แต่คุณกล้าหาญมากที่ตัดสินส่ิงนี้ว่า บิดอะฮ์ วั้ลอิยาซุบิ้ลลาฮ์มินซาลิก |
ผมว่าคุณชักจะไปกันใหญ่ คุณบอกว่า ที่ผมพูดเป็นทัศนะ ผมขอบอกว่า มันเป็นทัศนะที่อยู่บนหลักการและหลักฐาน ผมจึงถามคุณว่า นักปราชญ์ ยุคสะลัฟ เช่นอิหม่ามสี่ เคยมีคำสอน หรือเคยปฏิบัติ หรือเคยส่งเสริมบ้างใหม ว่า ให้เยี่ยมกุบูร ในวันอีด เป็นการเฉพาะ คุณก็คงอ้างหลักฐานไม่ได้
คุณอับดุฮบอกว่า
คุณกลับใช้ทัศนะบอกว่ามันเป็นการเจาะจงเป็นบิดอะฮ์ ผมไม่รู้คุณคิดได้อย่างไร มันเป็นศาสนาหรือทัศนะของคุณลักษณะเช่นนี้ ที่ต่อต้านคำสั่งใช้ของท่านนบีซ.ล.ในบางรูปแบบที่ไม่มีข้อห้าม
ผมชี้แจงว่า คุณไม่เข้าใจ ผมขอนำหะดิษที่นบี ส่งเสริมในห้เยี่ยมกุบูรอีกครั้งคือ
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวเช่นกันว่า
فَزُورُوا الْقُبُورَ فَإِنَّهَا تُذَكِّرُ الْمَوْتَ
"ดังนั้นพวกท่านจงเยี่ยมกุบูรเถิดเพราะแท้จริงการเยี่ยมกุบูรนั้นทำให้รำลึกถึงความตาย" รายงานโดย มุสลิม
...........
ผมจึงขอถามว่า หลังจากละหมาดอีดเสร็จ เคยมีสักครั้งไหม ที่ท่านนบี บอกให้เหล่าเศาะหาบะฮไปเยี่ยมกุบูร และเคยมีสักครั้งไหม ท่านไปเยี่ยมกุบูรในวันนั้น และเคยมีบ้างใหมในประวัติศาสตร์อิสลาม ที่เหล่าเศาะหาบะฮ หรือ บรรพชนผู้ทรงธรรมยุคก่อน เขาปฏิบัติกันเป็นธรรมเนียม อย่างที่ท่านปฏิบัติ เพราะพวกเขาเข้าใจ อย่ที่คุณเข้าใจ ย่อมจะมีบ้างในประวัติศาสตร์
มาดูส่วนหนึ่งจากลักษณะการอิบาดะฮที่เป็นบิดอะฮ
ما يكون بتخصيص وقت للعبادة المشروعة لم يخصصه الشرع كتخصيص يوم معين من شهر معين بصيام مثلاً بدون دليل
สิ่งที่ปรากฏด้วยการเจาะจง เวลาอิบาดธฮที่ได้ถูกบัญญัติไว้ และ บทบัญญัติ ไม่ได้เจาะจงไว้เป็นการเฉพาะ เช่นเจาะจงวันหนึ่งวันใดโดยเฉพาะ จากเดือนหนึ่งเดือนใดโดยเฉพาะ ด้วยการถือศีลอด โดยปราศจากหลักฐาน ดู หนังสือ البدع والمحدثات ومالا أصل له หน้า 101 _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|