ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Tue Apr 03, 2012 8:33 am ชื่อกระทู้: รวบรวมสาระความรู้ที่โพสต์ในเฟสบุคของอะสัน หมัดอะดั้ม |
|
|
1.เมื่อนอนหลับดวงวิญญานไปใหน
اللَّهُ يَتَوَفَّى الْأَنْفُسَ حِينَ مَوْتِهَا وَالَّتِي لَمْ تَمُتْ فِي مَنَامِهَا فَيُمْسِكُ الَّتِي قَضَى عَلَيْهَا الْمَوْتَ وَيُرْسِلُ الْأُخْرَى إِلَى أَجَلٍ مُسَمًّى إِنَّ فِي ذَلِكَ لَآيَاتٍ لِقَوْمٍ يَتَفَكَّرُونَ ) الزمر/42.
อัลลอฮทรงเก็บชีวิตทั้งหลายเมื่อครับกำหนดวาระแห่งการตายของมัน และทรง(เก็บ)ชีวิต ที่ไม่ตายขณะนอนหลับ ดังนั้นพระองค์จะทรงยึดชีวิตที่ทรงกำหนดความตายให้แก่เขา และทรงปล่อยชีวิตอื่นให้คงอยู่ต่อไป คราบจนวาระที่ถูกกำหนดมาถึง แท้จริงในนั้น ยอมเป็นสัญญานแก่กลุ่มชนที่ใคร่ครวญ อัซซุมัร/42
وَقَالَ ابْنُ عَبَّاسٍ وَغَيْرُهُ مِنَ الْمُفَسِّرِينَ : إِنَّ أَرْوَاحَ الْأَحْيَاءِ وَالْأَمْوَاتِ تَلْتَقِي فِي الْمَنَامِ فَتَتَعَارَفُ مَا شَاءَ اللَّهُ مِنْهَا ، فَإِذَا أَرَادَ جَمِيعُهَا الرُّجُوعَ إِلَى الْأَجْسَادِ أَمْسَكَ اللَّهُ أَرْوَاحَ الْأَمْوَاتِ عِنْدَهُ ، وَأَرْسَلَ أَرْوَاحَ الْأَحْيَاءِ إِلَى أَجْسَادِهَا
อิบนุอับบาสและบรรดานักตัฟสีรอื่นจากเขา กล่าวว่า แท้จริงบรรดาดวงวิญญาณ ของผู้ที่ยังมีชีวิต และดวงวิญญาณของบรรดาผู้ที่ตายแล้ว ได้พบกันในขณะนอนหลับ แล้วพวกเขาได้ทำความรู้จักกัน สิ่งซึ่งอัลลอฮทรงประสงค์จากมัน แล้วเมื่อการรวมตัวของมัน ต้องการที่จะกลับไปยังบรรดาร่างกาย อัลลอฮ ก็ได้ยึดบรรดาดวงวิญญาณของคนที่ตายแล้วเอาไว้ ณ ที่พระองค์ และทรงส่งบรรดาดวงวิญญาณของคนที่ยังมีชีวิตอยู่(ที่ยังไม่ถึงวาระ) กลับไปยังบรรดาร่างของมัน ดูตัฟสีรอัลกุรฏุบีย์ เล่ม 15 หน้า 260والله أعلم بالصواب _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย asan เมื่อ Sat Apr 21, 2012 10:37 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Tue Apr 03, 2012 8:37 am ชื่อกระทู้: |
|
|
2.ทรัพสมบัติที่ได้มาจากการพนันจนสามรถ สร้างฐานะจนร่ำรวย ไม่ทราบว่าเมื่อตายไปแล้วลูกซึ่งเป็นผู้รับมรดกจะรับได้หรือไม่อย่างไร ขอคำตอบหน่อยครับ
ตอบ
ذهب الجمهور من الحنفية والمالكية والشافعية والحنابلة ، وهو اختيار شيخ الإسلام إلى أن الموت لا يطيب المال الحرام ، بل الواجب فيه الرد على مالكه إن كان معروفا ، فإن لم يكن معروفا تصدق به على الفقراء والمساكين .
บรรดานักวิชาการส่วนใหญ่จากนักวิชาการมัซฮับหะนะฟียะฮ,มาลิกียะฮ,ชาฟีอียะฮ และหะนาบะละฮ และมันเป็นทัศนะที่ชัยคุยอิสลามได้เลือก คือ การตาย(ของเจ้าทรัพย์) ไม่ได้ทำให้ทรัพย์ที่หะรอม ดี(หะลาล)ขึ้นมาได้ ในทางกลับกัน ในนั้น จำเป็นจะต้องนำกลับคืนให้แก่เจ้าของ(เดิม)ของมัน หากปรากฏว่าเขาเป็นที่รู้จัก แล้วถ้าหากว่า เขา(เจ้าของทรัพย์ตัวจริงที่ถูกโกงมา)ไม่เป็นที่รู้จัก ก็ให้นำทรัพย์สินนั้น บริจาคแก่บรรดาคนอนาถาและคนยากจน ดูที่มาข้างล่าง
"حاشية ابن عابدين" (5/104) - "المجموع" (9/428) "إحياء علوم الدين" (2/210) "الإنصاف" (8/323) - "الفتاوى الكبرى" (1/478)
والله أعلم بالصوابวันวันอาทิตย์เวลา 19:50 น. · ถูกใจ · 1 _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Tue Apr 03, 2012 8:46 am ชื่อกระทู้: |
|
|
3.มีคำถามอีกนะค่ะ
ในกรณีพ่อตายแล้วมีบุตรชายและหญิง 2สอง ในกรณีนี้พ่อของผู้ตายมีสิทธิ์รับมรดกไหม
เนื่องจากทรัพสมบัติทั้งหมดได้มาจากน้ำพักน้ำแรงของผู้ตายและภรรยา
ญาซากัลลอฮุค็อยร็อน
ตอบ
ก่อนอื่น ต้องเข้าใจเสียก่อนว่า การแบ่งมรดกนั้น คือ การแบ่งทรัพย์สินของผู้ตายที่ทิ้งเอาไว้ ไม่ใช่แบ่งของคนที่ยังมีชีวิตอยู่
ในกรณีพ่อของคุณตาย ก็ต้องแบ่งเฉพาะทรัพย์สินของพ่อ ไม่ใช่เอาของภรรยามาแบ่งด้วย กล่าวคือ เอาสินสมรส หมายถึงทรัพย์สินที่ได้จากการร่วมกันทำงานระหว่างที่เป็นสามีภรรยา กัน มาแบ่งสองส่วน แล้วเอาส่วนที่เป็นของพ่อที่เสียชีวิต มารวมกับทรัพย์สินของพ่อที่ได้รับมรดกก่อนแต่งงาน หรือที่หามาได้ก่อนแต่งงาน ถ้ามี แล้วมาแบ่งเป็นมรดกให้แก่
1. พ่อผู้ตาย
2. บุตรสาวผู้ตาย 2 คน
3. ภรรยาผู้ตาย
4. บุตรชายผู้ตาย
والله أعلم بالصواب _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Tue Apr 03, 2012 8:56 am ชื่อกระทู้: |
|
|
4.เรื่องกลุ่มชนที่ถูกกล่าวถึงในหะดิษ ที่ อ.อารีฟีนได้ยกมาอ้างว่าพูดถึง อะชาอิเราะฮฺ ซึ่งในตอนนี้ยังไม่พบว่านักหะดิษท่านใดที่อธิบายความว่า หะดิษนี้กล่าวเจาะจงไปยังกลุ่มอะชาอิเราะฮฺ
ตอบ
อัลกอฏีย์ อิยาฎ กล่าวว่า
إنما أراد أحمد أهل السنة والجماعة ، ومن يعتقد مذهب أهل الحديث .
ความจริง ความประสงค์ อะหมัด หมายถึง อะฮลุสสุนนะฮ วัลญะมาอะฮ และบรรดผู้ที่มีอะกีดะฮ ตามแนวทางของนักหะดิษ อิตหาฟุลญะมาอะฮ เล่ม 1 หน้า 330
.
แนวทางด้านอะกีดะฮ อะชาอีเราะฮ ไม่ได้เป็นแนวทางของนักหะดิษ แต่เป็นแนวทางของนักวิภาษวิทยา (อะฮลุลกะลาม)
หะฟิซ อิบนุหะญีร กล่าวว่า
อัลหากิม ได้บันทึก ในอุลูมุลหะดิษ ด้วยสายรายงานที่ เศาะเฮียะ จากอะหมัด ว่า หากพวกเขา หากพวกเขาไม่เป็นนักหะดิษ ข้าพเจ้าไม่รู้ว่าพวกเขาเป็นใครกันหรือ? - ฟัตหุลบารีย์ เล่ม 13 หน้า 359
อิหม่ามติรมิซีย์กล่าวว่า
قال محمد بن إسماعيل - هو البخاري - قال علي بن المديني هم أصحاب الحديث
หัมหมัด บิน อิสมาอีล คือ อัลบุคอรี กล่าวว่า อะลี บิน อัลมะดีนีย์ กล่าวว่า พวกเขาคือ บรรดานักหะดิษ
- อาริเฎาะฮอัลอะหวะซีย์ เล่ม 5 หน้า 23
................
ไม่ทราบว่าบรรดานักหะดิษคนใหนเป็นอะชาอีเราะฮที่มีแนวคิดแบบปัญญานิยมในยุคปัจจุบัน
قَالَ قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ لَا تَزَالُ طَائِفَةٌ مِنْ أُمَّتِي ظَاهِرِينَ عَلَى الْحَقِّ لَا يَضُرُّهُمْ مَنْ خَذَلَهُمْ حَتَّى يَأْتِيَ أَمْرُ اللَّهِ
จะยังคงมีชนกลุ่มหนึ่งจากประชาชาติของฉัน ที่เป็นผู้ที่ยืนหยัดอยู่ในแนวทางแห่งสัจธรรม ผู้ที่มุ่งหวังให้พวกเขาพ่ายแพ้และผู้ที่ขัดแย้งกับพวกเขา ไม่มีใครสามารถทำอันตรายต่อพวกเขาได้ จนกระทั่งคำบัญชาของอัลลอฮฺได้มาถึง
อิหม่ามนะวาวีย กล่าวว่า
وَأَمَّا هَذِهِ الطَّائِفَةُ فَقَالَ الْبُخَارِيُّ : هُمْ أَهْلُ الْعِلْمِ ، وَقَالَ أَحْمَدُ بْنُ حَنْبَلٍ : إِنْ لَمْ يَكُونُوا أَهْلَ الْحَدِيثِ فَلَا أَدْرِي مَنْ هُمْ ؟ قَالَ الْقَاضِي عِيَاضٌ : إِنَّمَا أَرَادَ أَحْمَدُ أَهْلَ السُّنَّةِ وَالْجَمَاعَةِ ، وَمَنْ يَعْتَقِدُ مَذْهَبَ أَهْلِ الْحَدِيثِ ، قُلْتُ : وَيَحْتَمِلُ أَنَّ هَذِهِ الطَّائِفَةَ مُفَرَّقَةٌ بَيْنَ أَنْوَاعِ الْمُؤْمِنِينَ مِنْهُمْ شُجْعَانٌ مُقَاتِلُونَ ، وَمِنْهُمْ فُقَهَاءُ ، وَمِنْهُمْ مُحَدِّثُونَ ، وَمِنْهُمْ زُهَّادٌ وَآمِرُونَ بِالْمَعْرُوفَ وَنَاهُونَ عَنِ الْمُنْكَرِ ، وَمِنْهُمْ أَهْلُ أَنْوَاعٍ أُخْرَى مِنَ الْخَيْرِ ، وَلَا يَلْزَمُ أَنْ يَكُونُوا مُجْتَمَعِينَ بَلْ قَدْ يَكُونُونَ مُتَفَرِّقِينَ فِي أَقْطَارِ الْأَرْض
และสำหรับกลุ่มนี้ ,อัลบุคอรีกล่าวว่า พวกเขาคือ นักวิชาการ และอิหม่ามอะหมัด บิน หัมบัล กล่าวว่า ถ้าหากพวกเขาไม่เป็นนักหะดิษ ข้าพเจ้าไม่รู้ว่าพวกเขาเป็นใครกัน? อัลกอฎีย์อิยาฎ กล่าวว่า ความจริงอะหมัด หมายถึง อะฮลุสซุนนะฮวัลญะมาอะฮ และผู้ที่มีหลักความเชื่อตามแนวทางของนักหะดิษ ,ข้าพเจ้า(หมายถึงหม่ามนะวาวีย) กล่าวว่า เป็นไปได้ว่า กลุ่มเหล่านี้ ถูกแยกออกเป็นกลุ่ม ระหว่าง ประเภทของบรรดาผู้ศรัทธา ส่วนหนึ่งจากพวกเขาคือ บรรดาผู้กล้าหาญที่ถูกฆ่า และส่วนหนึ่งจากพวกเขา คือ บรรดาฟุเกาะฮาอฺ และส่วนหนึ่งจากพวกเขาคือ บรรดานักรายงานหะดิษ และส่วนหนึ่งจากพวกเขาคือ บรรดาผู้ที่ถือสันโดษ และบรรดาผู้ที่ใช้ให้ทำความดี และบรรดาผู้ที่ห้ามจากการชั่ว และส่วนหนึ่งจากพวกเขา คือ พวกทำความดีประเภทอื่นๆ และพวกเขาไม่จำเป็นจะต้องเป็นบรรดาผู้ร่วมตัวกัน แต่ทว่า บางที่พวกเขา เป็นบรรดาผู้ที่แยกออกไปตามดินแดนต่างของแผ่นดิน ชัรหุมุสลิม กิตาบุลอิมาเราะฮ หน้า 58
................ _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Thu Apr 05, 2012 8:28 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
5. อิบนุเราะญับกล่าวว่า
5. อิบนุเราะญับ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า
. وَقَالَ الْفَضْلُ بْنُ زِيَادٍ : سَأَلْتُ أَبَا عَبْدِ اللَّهِ - يَعْنِي أَحْمَدَ - عَنِ النِّيَّةِ فِي الْعَمَلِ ، قُلْتُ كَيْفَ النِّيَّةُ ؟ قَالَ : يُعَالِجُ نَفْسَهُ ، إِذَا أَرَادَ عَمَلًا لَا يُرِيدُ بِهِ النَّاسَ
อัลฟัฏลุ บิน ซียาดกล่าวว่า ขาพเจ้าถามอบูอับดุลลอฮ หมายถึงอิหม่ามอะหมัด- เกี่ยวกับการเนียตในการประกอบอะมั้ล ,ข้าพเจ้ากล่าวว่า เนียตนั้นเป็นอย่างไร? เขา(อิหม่ามอะหมัด)กล่าวว่า เขาลงมือปฏิบัติแก่ตัวเขา เมื่อเขาต้องการกระทำ โดยไม่มีจุดประสงค์เพื่อมนุษย์ด้วยมัน ญามิอุลอุลูมวัลหิกัม หน้า 63
وَعَنِ الْإِمَامِ أَحْمَدَ قَالَ : أُصُولُ الْإِسْلَامِ عَلَى ثَلَاثَةِ أَحَادِيثَ : حَدِيثُ عُمَرَ : إِنَّمَا الْأَعْمَالُ بِالنِّيَّاتِ وَحَدِيثُ عَائِشَةَ : مَنْ أَحْدَثَ فِي أَمْرِنَا هَذَا مَا لَيْسَ مِنْهُ فَهُوَ رَدٌّ وَحَدِيثُ النُّعْمَانِ بْنِ بَشِيرٍ : الْحَلَالُ بَيِّنٌ وَالْحَرَامُ بَيِّنٌ
และรายงานจากอิหม่ามอะหมัดว่า เขากล่าวว่า รากฐานของอิสลาม วางอยู่บน สามหะดิษคือ(1) หะดิษอุมัร คือ แท้จริงบรรดาการงานขึ้นอยู่กับการเจตนา (2) หะดิษอาอีฉะฮที่ว่า ผู้ใดอุตรสิ่งใหม่ในกิจการ(ศาสนา)ของเรานี้ สิ่งซึ่งไม่ได้มาจากมัน มันถูกปฏิเสธ และ(3) หะดิษ อัลนุอฺมาน บิน บะชีร ที่ว่า สิ่งหะลาลนั้นชัดเจนและสิ่งหะรอมนั้น ชัดเจน ดูญามิอุลอุลูมวัลหิกัม ของ อิบนุเราะญับ หน้า 63
وقال ابن عجلان : لا يصلح العمل إلا بثلاث : التقوى لله ، والنية الحسنة ، والإصابة
อิบนุอัจญลาน กล่าวว่า การงาน(อะมั้ล)นั้น จะดีไม่ได้ นอกจาก(ต้องประกอบ)ด้วยสามประการ คือ(1) การยำเกรงต่ออัลลอฮ(2) การเจตนาที่ดี (3) ความถูกต้อง - ดูญามิอุลอุลูมวัลหิกัม ของ อิบนุเราะญับ หน้า 63
_________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Thu Apr 05, 2012 10:02 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
6. การดะอวะฮตามเจตนารมณ์ของอัลกุรอ่าน
أدْعُ إِلَى سَبِيلِ رَبِّكَ بِالْحِكْمَةِ وَالْمَوْعِظَةِ الْحَسَنَةِ وَجَادِلْهُمْ بِالَّتِي هِيَ أَحْسَنُ
ท่านจงเรียกร้องสู่แนวทางแห่งพระผู้อภิบาลของเจ้าด้วยวิทยปัญญาและคำตักเตือนที่ดีๆและจงตอบโต้พวกเขาด้วยกับสิ่งที่ดีที่สุด
อันนะฮ์ลุ:125
ดูคำอธิบายจากตัฟสีรอัฏฏอ็บรีย์ เล่ม 17 หน้า 322
( إِلَى سَبِيلِ رَبِّكَ ) يَقُولُ : إِلَى شَرِيعَةِ رَبِّكَ الَّتِي شَرَعَهَا لِخَلْقِهِ ، وَهُوَ الْإِسْلَامُ ( بِالْحِكْمَةِ ) يَقُولُ بِوَحْيِ اللَّهِ الَّذِي يُوحِيهِ إِلَيْكَ وَكِتَابِهِ الَّذِي يُنَزِّلُهُ عَلَيْكَ ( وَالْمَوْعِظَةِ الْحَسَنَةِ ) يَقُولُ : وَبِالْعِبَرِ الْجَمِيلَةِ الَّتِي جَعَلَهَا اللَّهُ حُجَّةً عَلَيْهِمْ فِي كِتَابِهِ
ท่านจงเรียกร้องสู่แนวทางแห่งพระผู้อภิบาลของเจ้า เขากล่าวว่า (หมายถึง) ไปสู่ชะรีอะฮ(บทบัญญัติ) ของพระผู้อภิบาลของเจ้า ที่ทรงบัญญัติแก่มัคลูคของพระองค์ คือ อัลอิสลาม (ด้วยวิทยปัญญา) เขากล่าวว่า ด้วยวะหยู ของอัลลอฮ ที่ทรงวะหยูมันแก่เจ้า และคัมภีร์ของพระองค์ ที่ทรงประทานลงมาแก่เจ้า (คำตักเตือนที่ดีๆ) เขากล่าวว่า หมายถึง การตักเตือน(หรือข้อคิด)ที่ดี ที่อัลลอฮได้ให้มันเป็นหลักฐานอ้างแก่พวกเขา ในคัมภีร์ของพระองค์ _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Sat Apr 07, 2012 8:36 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
7. ไม่อนุญาตให้ขัดแย้งกับคำตัดสินชองอัลลอฮและรอซูล
อัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลาตรัสว่า
وَمَا كَانَ لِمُؤْمِنٍ وَلَا مُؤْمِنَةٍ إِذَا قَضَى اللَّهُ وَرَسُولُهُ أَمْرًا أَنْ تَكُونَ لَهُمُ الْخِيَرَةُ مِنْ أَمْرِهِمْ وَمَنْ يَعْصِ اللَّهَ وَرَسُوُلَهُ فَقَدْ ضَلَّ ضَلَالًا مُبِينًا "
ไม่บังควรแก่ผู้ศรัทธาชายและผู้ศรัทธาหญิง เมื่ออัลลอฮฺและร่อซูลของพระองค์ได้กำหนดกิจการใดแล้ว สำหรับพวกเขาไม่มีทางเลือกในเรื่องของพวกเขา และผู้ใดไม่เชื่อฟังอัลลอฮฺและร่อซูลของพระองค์แล้วแน่นอนเขาได้หลงผิดอย่างชัดแจ้ง อัลอะซาบ/36
อิบนุกะษีร (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)อธิบายว่า
فَهَذِهِ الْآيَةُ عَامَّةٌ فِي جَمِيعِ الْأُمُورِ ، وَذَلِكَ أَنَّهُ إِذَا حَكَمَ اللَّهُ وَرَسُولُهُ بِشَيْءٍ ، فَلَيْسَ لِأَحَدٍ مُخَالَفَتُهُ وَلَا اخْتِيَارَ لِأَحَدٍ هَاهُنَا ، وَلَا رَأْيَ وَلَا قَوْلَ
อายะฮนี้ ครอบคลุมในกิจการต่างๆทั้งหมด และดังกล่าวนั้น คือ แท้จริง เมื่ออัลลอฮและรอซูลของพระองค์ได้ตัดสินด้วยสิ่งใดๆแล้ว ก็ไม่อนุญาตให้บุคคลใดขัดแย้งมัน และไม่อนุญาตให้คนใดเลือกเป็นอย่างอื่น ณ ที่นี้ ไม่ว่าจะเป็นความเห็น หรือ คำพูดใดๆก็ตาม ดู ตัฟสีรอิบนุกะษีร เล่ม 6 หน้า 423
..........
เพราะฉะนั้น ไม่ว่าเรืองมรดก หรืออื่นๆ เราจะเอาความเห็น ความถูกใจมาหักล้างหรือขัดแย้งกับหุกุมอัลลอฮและรอซูลไม่ได้เด็ดขาด _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Wed Apr 11, 2012 9:00 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
8. حماد بن أبي حنيفة (ت. 176هـ) : หัมมาด บิน อบีหะนีฟะฮ (ฮ.ศ.176)
قال في مناظرة له مع المبتدعة:;قلنا لهؤلاء : أرأيتم قول الله عز وجل{وَجَاءَ رَبُّكَ وَالْمَلَكُ صَفًّا صَفًّا} [الفجر : 22] وقوله عز وجل: {هَلْ يَنْظُرُونَ إِلَّا أَنْ يَأْتِيَهُمُ اللَّهُ فِي ظُلَلٍ مِنَ الْغَمَامِ وَالْمَلَائِكَةُ} [البقرة : 210] فهل يجيء ربنا كما قال؟ وهل يجيء الملك صفًا صفًا؟ ; قالوا: أما الملائكة فيجيئون صفا صفا، وأما الرب تعالى فإنا لا ندري ما عنى بذلك، ولا ندري كيف جيئته. فقلنا لهم:;إنا لم نكلفكم أن تعلموا كيف جيئته، ولكنا نكلفكم أن تؤمنوا بمجيئه، أرأيتم من أنكر أن الملك لا يجيء صفا صفا، ما هو عندكم؟ قالوا: كافر مكذب.
قلنا: ;فكذلك من أنكر أن الله سبحانه لا يجيء فهو كافر مكذب (16
เขาได้กล่าวในการโต้แย้ง ของเขาต่อผู้ที่อุตริบิดอะฮว่า (เราได้กล่าวแก่พวกเขาเล่านี้ว่า พวกท่านไม่เห็นคำตรัสของอัลลอฮ ผู้ทรงสูงส่งและทรงเลิศยิ่ง ที่ว่า (และพระเจ้าของเจ้าเสด็จมาพร้อมทั้งมะลาอิกะฮฺด้วยเป็นแถว ๆ- อัลฟัจญรุ/22) หรอกหรือ? และคำตรัสของพระองค์ ผู้ทรงสูงส่งและทรงเลิศยิ่งที่ว่า (และพวกเขามิได้คอยอะไร นอกจากการที่อัลลอฮ์และมลาอิกะอ์ของพระองค์จะมายังพวกเขา ในร่มเงาจากเมฆ ) อัลบะเกาะเราะฮ/210 แล้วพระเจ้าของเราเสด็จมาอย่างที่ทรงตรัสไหม? และบรรดามลาอิกะฮได้มาเป็นแถวๆไหม? พวกเขากล่าวตอบว่า สำหรับบรรดามลาอิกะฮนั้น พวกเขามาเป็นแถวๆ และ สำหรับพระเจ้าผู้ทรงสูงส่งนั้น เราไม่ทราบสิ่งที่พระองค์หมายถึงดังกล่าว และเราไม่ทราบรูปแบบวิธีการของการเสด็จมาของพระองค์ ,แล้วเราได้กล่าวแก่พวกเขาว่า เราจะไม่บังคับให้พวกท่าน รู้ว่า การเสด็จมาของพระองค์นั้นเป็นอย่างไร แต่ว่า เราบังคับให้พวกท่านศรัทธา ต่อการเสด็จมาของพระองค์ ,พวกท่านมีความเห็นอย่างไร กับผู้ที่คัดค้าน ว่า มลาอิกะฮไม่ได้มา เป็นแถวๆ ? เขาเป็นอย่างไรในทัศนะของพวกท่าน? พวกเขากล่าวว่า เป็นกาเฟร ที่มุสาเรากล่าวว่า ดังนั้นในทำนองเดียวกัน ผู้ใดก็ตามคัดค้านว่าอัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ไม่ได้เสด็จมา เขาผู้นั้น เป็นกาเฟร เป็นผู้มุสา ดูที่มาข้างล่าง
.
رواه أبو عثمان الصابوني في "عقيدة السلف وأصحاب الحديث" عن كتاب أبي عبد الله محمد بن أحمد أبي حفص البخاري، والذي رواه عن عبد الله بن عثمان الملقب بعبدان، عن محمد بن الحسن الشيباني، عن حماد بن أبي حنيفة. (ص 233-234) بتحقيق الجديع، و(ص63) بتحقيق أبو اليمين المنصوري _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Thu Apr 12, 2012 10:36 am ชื่อกระทู้: |
|
|
9. ให้ระวังเรื่องตีความอายะฮมุตะชาบิฮาต
อัลลอฮ ซุบฮานะฮุวะตะอาลาตรัสว่า
هُوَ الَّذِي أَنْزَلَ عَلَيْكَ الْكِتَابَ مِنْهُ آيَاتٌ مُحْكَمَاتٌ هُنَّ أُمُّ الْكِتَابِ وَأُخَرُ مُتَشَابِهَاتٌ فَأَمَّا الَّذِينَ فِي قُلُوبِهِمْ زَيْغٌ فَيَتَّبِعُونَ مَا تَشَابَهَ مِنْهُ ابْتِغَاءَ الْفِتْنَةِ وَابْتِغَاءَ تَأْوِيلِهِ وَمَا يَعْلَمُ تَأْوِيلَهُ إِلَّا اللَّهُ وَالرَّاسِخُونَ فِي الْعِلْمِ يَقُولُونَ آمَنَّا بِهِ كُلٌّ مِنْ عِنْدِ رَبِّنَا وَمَا يَذَّكَّرُ إِلَّا أُوْلُوا الأَلْبَابِ
พระองค์คือผู้ทรงประทานคัมภีร์ลงมาแก่เจ้า โดยที่ส่วนหนึ่งจากคัมภีร์นั้นมีบรรดาโฮงการที่มีข้อความรัดกุมชัดเจน(*1*) ซึ่งโองการเหล่านั้น คือรากฐานของคัมภีร์(*2*) และมีโองการอื่น ไ อีกที่มีข้อความเป็นนัย(*3*) ส่วนบรรดาผู้ที่ในหัวใจของพวกเขามีการเอนเอียงออกจากความจริงนั้น เขาจะติดตามโองการที่มีข้อความเป็นนัยจากคัมภีร์ ทั้งนี้ เพื่อแสวงหาความวุ่นวาย(*4*) และเพื่อแสวงหาการตีความในโองการนั้น(*5*) แลไม่มีใครรู้ในการตีความโองการนั้นได้นอกจากอัลลอฮ์ และบรรดาผู้ที่มั่นคงในความรู้เท่านั้น(*6*) โดยที่พวกเขาจะกล่าวว่า พวกเราศรัทธาต่อโองการนั้น ทั้งหมดนั้นมาจากที่ที่พระผู้เป็นเจ้าของเราทั้งสิ้น และไม่มีใครที่จะรับคำตักเตือนนอกจากบรรดาผู้ที่มีสติปัญญาเท่านั้น - อาลิอิมรอน/7
(1) เมื่อทุกคนได้อ่านหรือได้ฟังแล้วจะเข้าใจเหมือน ๆ กันโดยไม่ต้องตีความ
(2) เป็นหลักสำคัญของคัมภีร์ที่มุ่งหมายให้เป็นความรู้ทั้งในหลักการศรัทธาและในข้ปฏิบัติของมนุษย์ และยังเป็นหลักยึดถือในการตีความโองการที่เป็นนัยอีกด้วย
(3) มีข้อความในเชิงเปรียบเทียบ อาจเข้าใจหลายทาง ผู้ที่มีความรู้ในศาสนาของพระองค์อย่างกว้างขวางเท่านั้นที่จะเข้าใจในทางที่ถูกต้องได้
(4) เพื่อก่อให้เกิดความวุ่นวายในหมู่ผู้ศรัทธาด้วยการตีความสนโองการที่เป็นนัยให้เฉออกไปจากความเป็นจริงที่พวกเขาเคยได้รับมาก่อน
(5) คือเพื่อหาทางตีความไปตามเป้าหมายที่เขาต้องการ โดยไม่คำนึงว่าจะขัดต่อความหมายของอายะฮ์ที่มีข้อความชัดเจนหรือไม่
(6) มีพื้นฐานแห่งความรู้อย่างมั่นคงเกี่ยวกับคุณลักษณะต่าง ๆ ของพระองค์ (ศิฟาต) และความมุ่งหมายในบทบัญญัติของพระองค์ ตลอดจนมีความรู้เกี่ยวกับหลักภาษาที่เป็นโองการของพระองค์อย่างกว้างขวางด้วย
อิบนุตัยมียะฮ กล่าวว่า
قَدْ ثَبَتَ أَنَّ اتِّبَاعَ الْمُتَشَابِهِ لَيْسَ فِي خُصُوصِ الصِّفَاتِ ; بَلْ فِي صَحِيحِ الْبُخَارِيِّ { أَنَّ النَّبِيَّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ لِعَائِشَةَ يَا عَائِشَةُ إذَا رَأَيْت الَّذِينَ يَتَّبِعُونَ مَا تَشَابَهَ مِنْهُ فَأُولَئِكَ الَّذِينَ سَمَّى اللَّهُ فَاحْذَرِيهِمْ } وَهَذَا عَامٌّ
และแท้จริง เป็นที่แน่นอนว่า การติดตามโองการที่มีข้อความเป็นนัย นั้น ไม่ใช่เฉาะเจาะจงในบรรดาคุณลักษณะ(บรรดาสิฟาต)เท่านั้น ในทางกลับกัน ได้ปรากฏในเศาะเฮียะบุคอรี ว่า(แท้จริงท่านนบี ศอ็ลลัลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวแก่ท่านหญิงอาอีฉะฮว่า เมื่อเธอเห็นบรรดาผู้ที่ ติดตามโองการที่มีข้อความเป็นนัย จากมัน(จากอัลกุรอ่าน เพื่อจะตีความ) พวกเหล่านั้นแหละ คือ บรรดาผู้ที่อัลลอฮ ได้กล่าวนามไว้ ดังนั้น เธอจงเตือนพวกเขา) (อิบนตัยมียะฮกล่าวว่า) และกรณีนี้ ครอบคลุมทั่วไป (คือไม่ได้เฉพาะสิฟัตใดสิฟัตหนึ่ง) - ดู มัจญมัวะอัลฟะตาวา เล่ม 13 หน้า 311
........
แล้วท่านอิบนุตัยมียะฮได้กล่าวถึงท่านเรื่องราว ของ เศาะบีฆ บิน อะสัล ที่ถามท่านอุมัร เกี่ยวกับ อายะฮที่ว่า
وَالذَّارِيَاتِ ذَرْوًا
ขอสาบานต่อลมที่พัด (ฝุ่นให้) กระจัดกระจายอย่างปลิวว่อน
เลยถูกท่านอุมัรลงโทษ
...........
จะเห็นได้ว่า การที่พยายามค้นหาอายะฮที่มีความหมายเป็นนัย(อะยะฮมุตะชาบิฮาต) เกี่ยวกับสิฟัตอัลลอฮ เพื่อตีความนั้น เป็นการก่อให้เกิดฟิตนะฮอย่างหนึ่ง จึงควรระวัง _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย asan เมื่อ Mon Jun 16, 2014 5:52 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Sat Apr 14, 2012 7:39 am ชื่อกระทู้: |
|
|
10. ใครคือดำใหญ่
Amraam Borsu
{ อะฮฺลีซุนนะฮฺวาลญามาอะฮฺ ... อัลญามาอะฮฺ คือ ชนกลุ่มใหญ่ นบีกล่าวว่า "อุมมะฮฺของฉันจะไม่ทำการลงมติบนความหลงผิด" แสดงว่าการลงมตินี่นะครับ จะเป็นชนกลุ่มน้อยไม่ได้ ต้องเป็นชนกลุ่มมาก หรือทั้งหมด นั่นจะถือว่าเป็นการอิจตีมาอฺเป็นการลงมติ ... }
อ.อารีฟีน แสงวิมาน
http://www.facebook.com/groups/215151975220125/
..
ไปเจอมา มีคนอ้างว่า อะชาอีเราะฮ ท่านนบีรับรองว่าไม่หลงผิด ขอชี้แจงดังนี้
ข้ออ้างข้างต้นคงจะเอามาจากหะดิษอะนัส บิน มาลิกที่ว่า ที่ว่า
سَمِعْتُ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَقُولُ إِنَّ أُمَّتِي لَا تَجْتَمِعُ عَلَى ضَلَالَةٍ فَإِذَا رَأَيْتُمْ اخْتِلَافًا فَعَلَيْكُمْ بِالسَّوَادِ الْأَعْظَمِ
ข้าพเจ้าได้ยินรซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า อุมมะฮของฉันจะไม่รวมกันบนการหลงผิด ดังนั้น เมื่อพวกท่านเห็นการขัดแย้งกัน พวกท่านจงปฏิบัติตาม หมู่คณะส่วนใหญ่ อิบนุมาญะฮ
ท่านอัสซินดีย์(ร.ฮ) กล่าวว่า
وَفِي الزَّوَائِدِ فِي إِسْنَادِهِ أَبُو خَلَفٍ الْأَعْمَى وَاسْمُهُ حَازِمُ بْنُ عَطَاءٍ وَهُوَ ضَعِيفٌ وَقَدْ جَاءَ الْحَدِيثُ بِطُرُقٍ فِي كُلِّهَا نَظَرٌ قَالَهُ شَيْخُنَا الْعِرَاقِيُّ فِي تَخْرِيجِ أَحَادِيثِ الْبَيْضَاوِيِّ .
และระบุในหนังสือ อัซซะวาอิด ว่าในสายรายงานของมัน มีผู้รายงานชื่อว่า อบูคอ็ลฟิ อัลอะอฺมา โดยที่ชื่อของเขาคือ หาซิม บิน อะฏออฺ เขาเป็นผู้ที่หลักฐานอ่อน(เฎาะอีฟ) และ หะดิษนี้ได้มีมาด้วยหลายสายรายงาน ในมันทั้งหมดนั้น ต้องพิจารณาให้รอบคอบ อาจารย์ของเรา อัลอิรอกีย์ ได้กล่าวมันเอาไว้ใน ตัคริญิ อะหาดิษ อัลบัยฎอวีย์ ดู หาชิยะฮอัสซินดีย์ หะดิษหมายเลข 3950 بَاب السَّوَادِ الْأَعْظَمِ
อย่างไรก็ตาม เรามาดูว่า ดำใหญ่ หรือ หมู่คณะส่วนใหญ่ คือใคร
อิสหาก บิน รอฮะวียะฮ กล่าวว่า
لو سألت الجهال عن السواد الأعظم لقالوا جماعة الناس، ولا يعلمون أن الجماعة عالم متمسك بأثر النبي صلى الله عليه وسلم وطريقه فمن كان معه وتبعه فهو الجماعة
ถ้าท่านถามบรรดาพวกโง่เขลา เกี่ยวกับความหมายคำว่า ดำใหญ่ พวกเขาก็จะกล่าวว่า คือ หมู่คณะของผู้คน(ทั่วไป) และพวกเขาไม่รู้ว่า แท้จริง หมู่คณะ นั้น คือ ผู้รู้ที่ยึดถือ ด้วยร่องรอยของนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และแนวทางของท่านนบี ดังนั้น ผู้ใด อยู่พร้อมกับนบีและปฏิบัติตามท่าน เขาคือ หมู่คณะ(อัลญะมาอะฮ - บันทึกโดย อบูนะอีม ใน อัลหุลลียะฮ เล่ม 9 หน้า 239
อิหม่ามอิบนุกอ็ยยิม ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน กล่าวว่า
واعلم أن الإجماع والحجة والسواد الأعظم هو العالم صاحب الحق , وإن كان وحده وإن خالفه أهل الأرض
พึงรู้ไว้เถิดว่า แท้จริง การลงมติ (อัลอิจญมะอฺ) หลักฐาน และหมู่คณะส่วนใหญ่ คือ ผู้รู้ ที่เป็นผู้อยู่บนความถูกต้อง แม้ว่าเขา เพียงคนเดียวก็ตาม และแม้ชาวโลกจะแตกต่าง(เห็นต่าง)กับเขาก็ตาม ดู เอียะลามุลมุวักกิอีน เล่ม 3 หน้า 398
..
ไม่ทราบว่า ผู้ที่ชงเอง กินเอง แบบนี้ เอาหลักฐานมาจากใหนว่า คำว่า ดำใหญ่ หมายถึง กลุ่มอะชาอีเราะฮ หรือ หมายถึง กลุ่มอะชาอีเราะฮเท่านั้นอยู่บนความถูกต้อง ไม่หลงผิด _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย asan เมื่อ Tue Jul 02, 2019 12:13 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Mon Apr 16, 2012 12:05 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
11. เขาบอกว่า
การยกมือไปยังท้องฟ้าในขณะที่ขอดุอา ไม่ใช่หลักฐานที่บ่งชี้ว่า "อัลลอฮฺ อยู่บนฟ้า"
قال الحافظ الزبيدي في الإتحاف السادة المتقين ( 170/2): فأما رفع الأيدي عند السؤال والدعاء إلى جهة السماء فهو لأنها قبلة الدعاء
ท่านอิมามหาฟิซ อัซ-ซะบีดีย์ ได้กล่าวไว้ในตำรา อัล-อิตหาฟ อัส-สาดะฮฺ อัล-มุตตะกีน เล่มที่ 2 หน้าที่ 170 ว่า "ส่วนการยกมือทั้งสองขึ้น (โดยยื่นขึ้นไปยังท้องฟ้า) ในขณะที่ทำการขอดุอานั้น ก็เพราะว่า แท้จริงท้องฟ้านั้น คือ กิบละฮฺ(ทิศทางของการผินไป) สำหรับการขอดุอา"
http://www.sunnahstudent.com/forum/index.php?topic=9864.0
ข้างต้นเป็นความเห็นของอุลามาอฮคนหนึ่ง ที่นำมาหักล้างอัลกุรอ่าน ซึ่งเป็นคำตรัสของอัลลอฮ ซุบฮานะฮุวะตะอาลา และหะดิ?เป็นคำพูดของท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม วัลอิยาซุบิลละฮ
อัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ตรัสว่า
วะตะอาลา ทรงตรัสว่า
وَهُوَ الْقَاهِرُ فَوْقَ عِبَادِهِ
และพระองค์คือผู้ทรงอำนาจ อยู่เหนือปวงบ่าวของพระองค์
(สูเราะฮฺอัล-อันอาม 6 : 18 , 61
تَعْرُجُ الْمَلَائِكَةُ وَالرُّوحُ إِلَيْه
มลาอิกะฮฺและอัร-รูหฺ(ญิบรีล) จะขึ้นไปหาพระองค์
(สูเราะฮฺอัล-มะอาริจญ์ 70 : 4)
อัลลอฮทรงตรัสว่า
إِذْ قَالَ اللَّهُ يَا عِيسَى إِنِّي مُتَوَفِّيكَ وَرَافِعُكَ إِلَيَّ
จงลำลึกถึงขณะที่อัลลอฮ ตรัสว่าโอ้อีซา! ข้าจะเป็นผู้รับเจ้าไปพร้อมด้วยชีวิตและร่างกายของเจ้า และจะเป็นผู้ยกเจ้าขึ้นไปยังข้า
(สูเราะฮฺอาลิ อิมรอน 3 : 55)
หะดีษของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม จากท่านอิบนุอุมัร ท่านเราะสูลกล่าวว่า
اِتَّقُوْا دَعْوَةَ المَظْلُوْمِ فَإِنَّهَا تَصْعُدُ إِلَى اللهِ كَأَنَّهَا شَرَارَةٌ
จงระวังการวิงวอนขอของผู้ถูกอธรรม (เพราะ)คำวิงวอนนั้นจะขึ้นไปยังอัลลอฮดังเช่นประกายไฟดั่งเช่นประกายไฟ คือ ถึงอย่างรวดเร็ว เพราะนี่คือดุอาอ์ของผู้ที่อยู่ในสถานการณ์คับขัน(ต้องการอย่างเร่งด่วน)
عن أبي هريرة رضي الله عنه أن رسول الله صلى الله عليه وسلم قال " يتعاقبون فيكم ملائكة بالليل وملائكة بالنهار ويجتمعون في صلاة الفجر وصلاة العصر،ثم يعرج الذين باتوا فيكم فيسألهم ربهم وهو أعلم بهم كيف تركتم عبادي؟ فيقولون تركناهم وهم يصلون ، وأتيناهم وهم يصلون". رواه البخاري ومسلم
รายงานจากอบีฮุรัยเราะฮ เราะฎิยัลลอฮุอันฮู ว่า รซูลุลลอฮ กล่าวว่า บรรดามลาอิกะฮที่เฝ้าคอยติดตามพวกท่าน ในตอนกลางคืน และมลาอิกะฮที่(เฝ้าคอยติดตามพวกท่าน)ในตอนกลางวัน และพวกเขาจะมาชุมนุมกันในเวลาละหมาดศุบฮิและอัศริ หลังจากนั้น บรรดา(มลาอิกะฮ)ผู้ที่พักแรมในหมู่พวกท่าน ได้ขึ้นไป แล้วพระผู้อภิบาลของพวกเขาได้ทรงถามพวกเขา ทั้งๆที่พระองค์ทรงรู้ยิ่งเกี่ยวกับพวกเขา ว่า " พวกเจ้าได้ทิ้งบ่าวของข้ามา มีสภาพเป็นอย่างไร? แล้วพวกเขา(บรรดามลาอิกะฮ)กล่าวว่า "พวกข้าพระองค์ได้ทิ้งพวกเขามา โดยที่พวกเขากำลังละหมาด? และพวกข้าพระองค์ได้ไปยังพวกเขา โดยที่พวกเขากำลังละหมาด" - รายงานโดย บุคอรีและมุสลิม
........
อ่านไปทั้งสองด้านนะครับ พี่นอง แล้วพิจารณาดูว่า อะไรจริง อะไรเท็จ _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Tue Apr 17, 2012 10:54 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
11. การรวบรวมอัลกุรอ่านในสมัยนบี
عن أنس رضي الله عنه قال : " جَمَعَ الْقُرْآنَ عَلَى عَهْدِ رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَرْبَعَةٌ كُلُّهُمْ مِنْ الْأَنْصَارِ : مُعَاذُ بْنُ جَبَلٍ وَأُبَيُّ بْنُ كَعْبٍ وَزَيْدُ بْنُ ثَابِتٍ وَأَبُو زَيْدٍ
รายงานจากอะนัส (ร.ฎ)กล่าวว่า สี่คนได้รวบรวมอัลกุรอ่านในสมัยนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ทั้งหมดนั้น เป็นชาวอันศอร คือ มุอาซ บิน ยะบัล ,อุบัย บิน กะอับ ,เซด บิน ษาบิต และ อบูเซด บุคอรี หะดิษหมายเลข 3810
การรวบรวมอัลกุรอ่านในสมัยนั้น คือ การท่องจำ และมีการบันทึกไว้ ซึ่งการบันทึกนี้ไม่ได้หมายถึงการบันทึกเป็นเล่มๆดั่งเช่น อัลกุรอานซึ่งเราได้เห็นในปัจจุบัน หากแต่เป็นการบันทึกลงบนแผ่นจารึกต่างๆ ได้แก่ กระดูก แผ่นไม้ แผ่นหิน หนังสัตว์ ก้านอินทผลัม และอื่นๆ แต่เมื่อมีการรวบรวมเป็นเล่มในสมัยอบูบักร ท่านเซด บิน ซาบิต ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าคณรวบรวมอัลกุรอ่าน _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Tue Apr 17, 2012 11:57 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
12. หะดิษปลอมที่ชีอะฮกุขึ้นมา
لولاك يا محمّد ما خلقت الأفلاك ، ولولا علي ماخلقتك ، ولولا فاطمة ماخلقتكما
หากไม่มีเจ้า โอ้มุฮัมหมัด ข้าก็จะไม่สร้างจักรวาลนี้ ,หากไม่มีอาลี ข้าจะไม่สร้างเจ้า และหากไม่มีฟาฎิมะฮ ข้าก็จะไม่สร้างพเจ้าทั้งสอง - ที่มาของหะดิษนี้คือ มาจากหนังสือต่อไปนี้
1. الجنة العاصمة ص 148 تأليف الميرجهاني
2. ـ كتاب ملتقي البحرين ص 14 للعلامة المرندي
3. مستدرك سفينة البحار تأليف النمازي الشاهرودي،
เป็นหะดิษที่ถูกอุปโลกน์ขึ้นมา แล้วอ้างว่าเป็นหะดิษกุดซีย์ เป็นคำตรัสของอัลลอฮ
อิหม่ามเชากานีย์กล่าวว่า
قال الصغاني : موضوع
อัศเศาะฆอนีย์ กล่าวว่า เป็นหะดิษปลอม ดู อัลฟะวาอิดอัลมัจญมูอะฮ หน้า 326
อัลบานีย์ กล่าวว่า موضوع เป็นหะดิษปลอม ดูสิลสิละฮ อัฎเฎาะอีฟะฮ หะดิษหมายเลข 282 _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Fri Apr 20, 2012 9:25 am ชื่อกระทู้: |
|
|
13. ภรรยาจะได้อยู่ในสวรรค์กับสามีคนใด?
إذا ماتت المرأة ، وقد تزوجت في حياتها بأكثر من زوج ، فمع مَن تكون في الجنَّة ؟
---------------------------------------------------------------------
هذه المسألة فيها ثلاثة أقوال لأهل العلم :
الأول : أنها تكون مع أحسنهم خلقاً كان معها في الدنيا .
والثاني : أنها تُخيَّر بينهم .
والثالث : أنها لآخر أزواجها .
وأقرب هذه الأقوال وأصحّها هو القول الثالث وفيه حديث مرفوع إلى النبي صلى الله عليه وسلم : " أيما امرأة تُوفي عنها زوجها ، فتزوجت بعده ، فهي لآخر أزواجها " صححه الألباني رحمه الله في صحيح الجامع 2704 وفي السلسلة الصحيحة 1281
.
เมื่อผู้หญิงได้เสียชีวิต และนางได้แต่งงานในชีวิตของนาง กับสามีมากกว่าหนึ่งคน แล้วนางจะอยู่กับคนใดในสวรรค์
.........................
ในประเด็นนี้ นักวิชาการมี 3 ทัศนะคือ
1. นางจะได้อยู่พร้อมกับผู้ที่มีมารยาทที่ดีที่สุดในหมู่พวกเขา ตอนที่เขาอยู่กับนางในโลกนี้
2. แท้จริงนางจะเลือกในระหว่างพวกเขา(ว่าจะอยู่กับคนใด)
3. นางจะได้อยู่กับสามีคนสุดท้ายของนาง
และ ทัศนะเหล่านี้ ที่ใกล้เคียงและถูกต้องที่สุดคือ ทัศนะที่สาม และในทัศนะนี้ มีหะดิษที่สืบไปถึงนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่า หญิงใดก็ตามที่สามีของนางได้ตายจากนาง แล้วนางได้แต่งงานหลังจากเขา นางก็จะได้อยู่กับสามีคนสุดท้ายของนาง- อัลบานีย์ ได้ระบุว่าเป็นหะดิษเศาะเฮียะ ในเศาะอัลญาเมียะ หะดิษหมายเลข 2704 และ ในอัลอัสสิละฮอัศเศาะฮีหะฮ หะดิษหมายเลข 1281
..... _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Fri Apr 20, 2012 9:58 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
14. ชีอะฮตัดตอนหะดิษต่อไปนี้ กล่าวหาอบูบักร
อัลบุคอรีเล่าว่า
فَأَبَى أَبُو بَكْرٍ أَنْ يَدْفَعَ إِلَى فَاطِمَةَ مِنْهَا شَيْئًا فَوَجَدَتْ فَاطِمَةُ عَلَى أَبِى بَكْرٍ فِى ذَلِكَ فَهَجَرَتْهُ ، فَلَمْ تُكَلِّمْهُ حَتَّى تُوُفِّيَتْ ، وَعَاشَتْ بَعْدَ النَّبِىِّ - صلى الله عليه وسلم - سِتَّةَ أَشْهُرٍ ، فَلَمَّا تُوُفِّيَتْ ، دَفَنَهَا زَوْجُهَا عَلِىٌّ لَيْلاً ، وَلَمْ يُؤْذِنْ بِهَا أَبَا بَكْرٍ وَصَلَّى عَلَيْهَا
ท่านอบูบักรได้ปฏิเสธที่จะส่งมอบให้กับท่านหญิงฟาติมะฮ์ ไม่ว่าสิ่งใดจากมัน(คือมรดกของนบี) ท่านหญิงฟาติมะฮ์จึงโกรธเคืองท่านอบูบักรในสิ่งนั้น นางได้จากเขาไป แล้วนางไม่เคยพูดกับเขาอีกเลยจนนางเสียชีวิต นางเสียชีวิตหลังท่านนบี(ศ.จากไป)หกเดือน เมื่อนางเสียชีวิต ท่านอะลีสามีนางได้ฝังนางในตอนกลางคืน
เศาะหิ๊หฺบุคอรี หะดีษที่ 4240 และ 4241
http://www.q4sunni.com/believe/index.php?option=com_kunena&Itemid=71&func=view&catid=2&id=74
..............
ตอบ
ชีอะฮนำเอาหะดิษของบุคอรีโดยตัดมาท่อนกลาง เพื่อบิดเบือน ที่นี้มาดูสาเหตุดังกล่าวที่ระบุไว้ ที่ระบุในตอนแรกของหะดิษคือ
أَنَّ فَاطِمَةَ عَلَيْهَا السَّلَام بِنْتَ النَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَرْسَلَتْ إِلَى أَبِي بَكْرٍ تَسْأَلُهُ مِيرَاثَهَا مِنْ رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ مِمَّا أَفَاءَ اللَّهُ عَلَيْهِ بِالْمَدِينَةِ وَفَدَكٍ وَمَا بَقِيَ مِنْ خُمُسِ خَيْبَرَ فَقَالَ أَبُو بَكْرٍ إِنَّ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ لَا نُورَثُ مَا تَرَكْنَا صَدَقَةٌ إِنَّمَا يَأْكُلُ آلُ مُحَمَّدٍ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فِي هَذَا الْمَالِ وَإِنِّي وَاللَّهِ لَا أُغَيِّرُ شَيْئًا مِنْ صَدَقَةِ رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ عَنْ حَالِهَا الَّتِي كَانَ عَلَيْهَا فِي عَهْدِ رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَلَأَعْمَلَنَّ فِيهَا بِمَا عَمِلَ بِهِ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فَأَبَى أَبُو بَكْرٍ أَنْ يَدْفَعَ إِلَى فَاطِمَةَ مِنْهَا شَيْئًا
แท้จริงฟาติมะฮ (อะลัยฮัสสลาม) บุตรสาวของนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ส่งคนไปยังอบูบักร์ เพื่อขอเขา(อบูบักร)เกี่ยวกับส่วนแบ่งมรดกของนางจากรซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จากสิ่งที่อัลลอฮได้ประทานให้แก่เขา (จากทรัพย์สินที่ยึดได้จากข้าศึกโดยไม่มีการรบ)ที่นครมะดีนะฮ และที่เมืองฟะดัก และส่วนแบ่งทรัพย์สินหนึ่งในห้า(ที่ยึดได้จากข้าศึก จากการทำสงครามที่คอ็ยบัร แล้วอบูบักร กล่าวว่า แท้จริงรซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมกล่าวว่า เราจะไม่ให้มีการสืบมรดกสิ่งใดก็ตามที่เราทิ้งเอาไว้เป็นทาน(เศาะดะเกาะฮ) ความจริงวงศ์วานของมุฮัมหมัด ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จะได้กินในทรัพย์สินนี้ และฉันขอสาบานต่ออัลลอฮ ฉันจะไม่เปลี่ยนแปลงสิ่งใดก็ตามจากเศาะดะเกาะฮของ ซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จากสภาพของมันที่เป็นอยู่ในสมัยของรซูลุลลอฮศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และขอยืนยันว่า ฉันจะปฏิบัติ ในทรัพย์สินนั้น ตามที่ซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ปฏิบัติกับมันเอาไว้ แล้วอบูบักร์ ไม่ยอมมอบสิ่งใดจากมันแก่ท่านหญิงฟาฎิมะฮ
.................
นี้คือ สาเหตุที่ท่านอบูบักร์ ไม่มอบทรัพย์สินดังกล่าวแก่ฟาฏิมะฮเพราะ ท่านนบีได้สั่งเอาไว้ ว่าทรัพย์สินนั้น จะทำเป็นมรดกไม่ได้ แต่วงศ์วานของท่านนบีสามารถที่จะกินทรัพย์ส่วนนั้นได้
และในช่วงท้ายของหะดิษ ระบุว่า
فَقَالَ عَلِيٌّ لِأَبِي بَكْرٍ مَوْعِدُكَ الْعَشِيَّةَ لِلْبَيْعَةِ فَلَمَّا صَلَّى أَبُو بَكْرٍ الظُّهْرَ رَقِيَ عَلَى الْمِنْبَرِ فَتَشَهَّدَ وَذَكَرَ شَأْنَ عَلِيٍّ وَتَخَلُّفَهُ عَنْ الْبَيْعَةِ وَعُذْرَهُ بِالَّذِي اعْتَذَرَ إِلَيْهِ ثُمَّ اسْتَغْفَرَ وَتَشَهَّدَ عَلِيٌّ فَعَظَّمَ حَقَّ أَبِي بَكْرٍ وَحَدَّثَ أَنَّهُ لَمْ يَحْمِلْهُ عَلَى الَّذِي صَنَعَ نَفَاسَةً عَلَى أَبِي بَكْرٍ وَلَا إِنْكَارًا لِلَّذِي فَضَّلَهُ اللَّهُ بِهِ وَلَكِنَّا نَرَى لَنَا فِي هَذَا الْأَمْرِ نَصِيبًا فَاسْتَبَدَّ عَلَيْنَا فَوَجَدْنَا فِي أَنْفُسِنَا فَسُرَّ بِذَلِكَ الْمُسْلِمُونَ وَقَالُوا أَصَبْتَ وَكَانَ الْمُسْلِمُونَ إِلَى عَلِيٍّ قَرِيبًا حِينَ رَاجَعَ الْأَمْرَ الْمَعْرُوفَ
แล้วอาลีกล่าวแก่อบูบักรฺ ว่า เวลาแห่งการมุบายะอะฮต่อท่าน รอจนกว่าจะค่ำ แล้ว เมื่ออบูบักร ละหมาดซุฮรี เสร็จ เขาได้ขึ้นบนมิมบัร แล้วเขาได้กล่าวปฏิญาน แล้วได้ระบุเกี่ยวกับเรื่องราวของอาลีและการที่เขาทำการมุบายะอะฮ(ให้สัตยาบันรับรอง)ภายหลัง และ เหตุผลของเขา ที่เขาได้อ้างต่อ เขา(อบูบักร )ต่อมา อาลีได้ กล่าวอิสติฆฟัร และได้กล่าวปฏิญาน แล้วได้ เทิดทูลเกียรติของอบีบักร์ แล้ว ได้เล่าวว่า ที่เขาทำไป ไม่ได้อิจฉาอบูบักร์ และไม่ได้คัดค้าน สิ่งที่อัลลอทรงประทานความโปรดปรานกับเขา(อบูบักร) แต่เราเห็นว่า ในเรื่องนี้(การสืบมรดก) เราสมควรที่จะได้ส่วนแบ่ง แล้วเขาได้กระทำต่อเราตามอำเภอใจ แล้วเรารู้สึกโกรธเขา ,บรรดามุสลิมทั้งหลายก็รู้สึกดีใจ แล้วกล่าวว่า ท่านทำถูกต้องแล้ว และบรรดามุสลิม ได้เข้าใกล้อาลี เมื่อเขาได้กลับมาสู่สิ่งที่ดี (คือเหตุการณ์คลี่คลายไปในทางที่ดี)
---------
คือ ตอนแรกท่านอาลีและครอบครัวเข้าใจว่า มีสิทธิ์ในมรดกจากทรัพย์สินรซูลุลลอฮและเข้าใจว่าอบูบักรทำตามอำเภอใจ จึงรู้สึกโกรธ แต่ต่อมาก็เข้าใจกัน และกลับมาดีกันเหมือนเดิม และท่านอาลีได้ให้สัตยาบันแก่ท่านอบูบักร์ ด้วย
อิบนุกะษีร กล่าวว่า
وقد اتفق الصحابة - رضي الله عنهم - على بيعة الصديق في ذلك الوقت، حتى علي بن أبي طالب، والزبير ابن العوام.
บรรดาเหล่าเศาะหาบะฮ (ร.ฎ) ได้มีมติต่อการให้สัตยาบัน อบูบักร อัศเศาะดีก ในเวลานั้น แม้กระทั่ง อาลี บิน อบี ฏอลิบ และ อัซซุบัยรฺ บิน อัลอะวาม (ก็ได้ให้สัตยาบันด้วย) อัลบิดายะฮ วัลนิฮายะฮ เล่ม 6 หน้า 306
.....................
ความอคติและความเกลียดจังที่มีต่อเหล่าศอหาบะฮ จึงหาวิธีต่างๆนาๆเพื่อที่จะทำลาย น่าเสียดายพีน้องมุสลิมบางคน ถูกฝังหัวให้เกลียดเศาะหาบะฮ ทั้งๆที่ตนเองไม่รู้ที่มาที่ไปอะไรเลย นะอูซุบิลละฮ _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|