ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
gismad มือเก่า
เข้าร่วมเมื่อ: 21/08/2008 ตอบ: 96
|
ตอบ: Thu Apr 21, 2011 12:47 am ชื่อกระทู้: การกล่าวลาอิลาฮะ อิลัลลอฮฺ |
|
|
อยากทราบว่า
การกล่าวลาอิลาฮะ อิลัลลอฮฺ มีกฎอย่างไรบ้าง ในอิสสลาม
_________________ กลับมาสู่ กรุอ่านและซุนนะห์ บนแนวทางสลัฟฟุสศอและห์ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
อะห์ลิซซุนนะห์ มือใหม่
เข้าร่วมเมื่อ: Mar 06, 2011 ตอบ: 7
|
ตอบ: Thu Apr 21, 2011 12:50 am ชื่อกระทู้: |
|
|
การกล่าวลาอิลาฮะ อิลัลลอฮฺ (ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ) จะนำสู่สวนสวรรค์ อย่างไรก็ตาม การเข้าใจว่าเพียงแต่กล่าวประโยคนี้ โดยไม่ได้ยืนหยัดอะไรเลย ย่อมไม่ถูกต้อง
ครั้งหนึ่งตะบีอีนที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่ง คือ ท่าน วะหฺบ บิน มุนับบิหฺ ได้ถูกถามว่า "ลาอิลาฮะ อิลัลลอฮฺ คือ กุญแจสู่สวรรค์ใช่หรือไม่?" ท่านตอบว่า "ใช่ แต่ทุกกุญแจย่อมมีหยัก ถ้าท่านมาพร้อมกับกุญแจที่มีหยักที่ถูกต้อง ประตูก็เปิดได้ แต่ถ้าท่านไม่มีกุญแจที่มีหยักที่ถูกต้อง ประตูก็ไม่เปิดให้ท่าน"
"หยัก" ก็คือ "เงื่อนไข" จากการศึกษาอัลกุรอานและชีวประวัติของท่านนบีฯ บรรดาปราชญ์แห่งอิสลามได้ประมวลเงื่อนไขไว้คล้ายคลึงกัน ซึ่งได้แก่
1)ความรู้ความเข้าใจ
ความรู้ความและความเข้าใจ หรือ ฟะฮฺม(ความเข้าใจ)และอิลมฺ(ความรู้) เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับมุสลิมทุกคนที่ต้องศึกษาพื้นฐานความเข้าใจต่อชะฮาดะฮฺ เขาต้องรู้ว่าในสิ่งที่ชะฮาดะฮฺปฏิเสธ และในสิ่งที่ชะฮาดะฮฺยืนยัน ท่านนบีฯได้กล่าวไว้ว่า "ใครก็ตามที่ได้ตายลง โดยที่เขารู้(เข้าใจ)ว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ จะได้เข้าสวรรค์"(มุสลิม)
"จง(เรียน)รู้(และเข้าใจ)ว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ และจงขอการอภัยโทษจากความผิดของเจ้า" (มุฮัมมัด 47: 19)
ฉะนั้น เขาต้องรู้พื้นฐานของประโยคนี้ เขาต้องรู้อย่างกระจ่างชัดว่า "อิลาฮฺ" หรือพระเจ้าหมายถึงอะไร? อัลลอฮฺ คือใคร มีลักษณะอย่างไร? ทำไมเราต้อง "อิบาดะฮฺ" ต่อพระองค์? นั่นคือการทำความเข้าใจ "เตาฮีด" หรือ หลักการยึดมั่นต่อเอกภาพของอัลลอฮฺ โดยอ้างอิงมาจากอัล-กุรอาน และฮะดีษของท่านนบีฯ อย่างชัดเจน
2)ความมั่นใจ
ความมั่นใจอย่างหนักแน่น หรือเรียกในภาษาอาหรับว่า ยะกีน คำนี้ตรงข้ามกับ ความสงสัย, ความไม่แน่นอน ดังที่ท่านนบีฯได้กล่าวว่า "บ่าวคนใดจะไม่พบกับอัลลอฮฺ ด้วยถ้อยคำว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใด นอกจากอัลลอฮฺและนบีมุฮัมมัดเป็นผู้นำสาส์นของพระองค์ โดยที่เขาไม่มีความสงสัยใดๆในถ้อยคำดังกล่าว เว้นแต่เขาจะได้เข้าสวรรค์" (รายงานโดยมุสลิม)
"คัมภัร์เล่มนี้(อัล-กุรอาน) ไม่มีข้อสงสัยใดๆ เป็นทางนำสำหรับผู้ที่ยำเกรงอัลลอฮ"
(บะเกาะเราะฮฺ 2: 2)
เราจะเพิ่มความ "มั่นใจ" ยิ่งขึ้น เมื่อเราได้ศึกษาอัล-กุรอาน เราจะพบว่าทุกสิ่งทุกอย่างในอัล-กุรอานเป็นความ "มหัศจรรย์" ไม่ว่า เรื่องของการกำเนิด เรื่องของเมฆ เรื่องของทะเล เรื่องของภูเขา ฯลฯ เราจะรู้ว่า คัมภีร์เล่มนี้มากจาก "ผู้สร้าง" ทุกสิ่งทุกอย่าง โดยแท้จริง
3)การยอมรับ
การยอบรับหรือ เกาะบูล หมายความว่า เมื่อมีความรู้ความเข้าใจ มีความเชื่อมั่นแล้ว เราต้องยอบรับทุกสิ่งทุกอย่างในอัล-กุรอาน และฮะดีษของท่านนบีฯ โดยไม่มีการนำความเห็นส่วนตัวเข้าไปตีความ ใครก็ตามที่มีความรู้ มีความมั่นใจ แต่ไม่ยอมรับทั้งหมด ก็เท่ากับเขาปฎิเสธชะฮาดะฮฺนั้นเอง
"พวกท่านศรัทธาต่อบางส่วนจากคัมภีร์ และปฏิเสธอีกบางส่วนกระนั้นหรือ? ดังนั้น สิ่งที่ตอบแทนแก่ผู้กระทำเช่นนั้นจากพวกเจ้า จึงมิใช่อะไรอื่น นอกจากความอัปยศอดสู ในชีวิตความเป็นอยู่แห่งโลกนี้เท่านั้น และในกิยามะฮฺ พวกเขาจะถูกนำกลับไปสู่การลงโทษอันฉกรรจ์ยิ่ง และอัลลอฮฺนั้นไม่ส่งเผลอ ในสิ่งที่พวกเจ้ากระทำกันอยู่" (บะเกาะเราะฮฺ 2: 85)
เราไม่สามารถพูดว่า "ฉันเห็นว่า หมูนั้น หะรอม แต่ฉันไม่เชื่อหรอกว่า มันไม่ดี" หรือ "ฉันไม่เห็นด้วยการคลุมฮิญาบ" เราจะต้องยอมรับทุกสิ่งที่อัลลอฮฺได้สั่ง ได้ห้าม เพราะว่าการไม่ศรัทธาเพียงบางส่วน เท่ากับการไม่ศรัทธาทั้งหมด
4)การยอมจำนน
การยอมจำนน หรือ อินกิยาด ซึ่งเป็นลักษณะของผู้ศรัทธาที่แท้จริง ก็คือการยอมจำนนต่อคำสั่งของอัลลอฮฺและเราะซูล อย่างไม่โต้เถียง ด้วยความเต็มใจ อัลลอฮฺได้กล่าวไว้ในอัล-กุรอานว่า
"มิใช่เช่นนั้นหรอก ข้าขอสาบานด้วยพระเจ้าของเจ้าว่า เขาเหล่านั้นจะยังไม่ศรัทธาจนกว่าพวกเขาจะให้เจ้าตัดสินในสิ่งที่ขัดแย้งระหว่างพวกเขา และพวกเขาไม่พบความคับใจใดๆ ในจิตใจของพวกเขา จากสิ่งที่เจ้าตัดสินไป และพวกเขายอมจำนน ด้วยการยอมจำนนอย่างสุดกำลัง" (บะเกาะเราะฮฺ 4: 65)
ปัจจุบัน เรามักทิ้งอิสลามไป เนื่องจากกระแสทางโลก เรามักจะพูดกันบ่อยๆว่า "เราอยากจะสวมชุดฮิญาบเหมือนกัน แต่ว่ายังไม่พร้อม" เราทำตัวแตกต่างมากกับมุสลิมยุคแรก ยกตัวอย่างเมื่ออายะฮฺอัล-กุรอาน(อันนูร 24:31)เรื่องฮิญาบได้ลงมา พวกผู้หญิงสมัยนั้นก็พากันหาตัดบางส่วนของผ้ามาคลุมกันอย่างรวดเร็ว
5)ความสัตย์จริง
ความสัตย์จริง หรือ อัศ-ศิดกฺ ซึ่งต้องข้ามกับการหน้าไหว้หลังหลอก(นิฟาก) ใครที่ยอมรับชะฮาดะฮฺนี้จะต้องไม่มีพฤติกรรมหน้าไหว้หลังหลอกโดยเด็ดขาด อัลลอฮฺได้กล่าวว่า
"และจากหมู่ชนนั้น มีผู้กล่าวว่า "เราได้ศรัทธาต่ออัลลอฮฺและวันสุดท้ายแล้ว" ทั้งๆที่พวกเขาหาได้ศรัทธาไม่ พวกเขาเหล่านั้นต่างหลอกลวงอัลลอฮฺและบรรดาผู้ศรัทธา และพวกเขาหาได้หลอกลวงใครไม่ นอกจากตัวพวกเขาเองเท่านั้น แต่พวกเขาไม่รู้สึก ในหัวใจของพวกเขามีโรคอย่างหนึ่ง และอัลลอฮฺก็ได้เพิ่มโรคอีกอย่างหนึ่งให้แก่พวกเขา และพวกเขาจะได้รับการลงโทษอันเจ็บแสบ เนื่องจากพวกเขากล่าวเท็จ" (บะเกาะเราะฮฺ 2: 8-10)
6)ความบริสุทธิ์ใจ
ความบริสุทธิ์ใจหรืออิคลาศ หมายถึง การกระทำทั้งหมดของเขา เป็นการกระทำเพื่ออัลลอฮฺเท่านั้น ไม่ได้ทำเพื่อมนุษย์คนใด หรือเพื่อสิ่งอื่น เราควรตระหนักให้มากเกี่ยวกับฮะดีษที่กล่าวถึง คนสอนอัล-กุรอาน คนบริจาค คนที่ต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺ แต่ทำทั้งหมดไปเพื่อ "โชว์ ออฟ" ให้คนอื่นเห็น พวกเหล่านี้ทั้งหมดถูกลากหน้าถูไปกับพื้นเพื่อโยนลงสู่ไฟนรก (นะอูซุ บิลลาฮิ มิน ซาลิก)
7)ความรัก
ความรักหรือมะฮับบะฮฺ หมายถึงมุสลิมจะรักทุกสิ่งที่อิสลามได้เรียกร้องให้เขากระทำ และรังเกียจทุกสิ่งที่อิสลามห้าม นี่คือหนทางที่จะนำไปสู่สวรรค์
ท่านอนัสรายงานฮะดีษหนึ่งว่า ท่านนบีฯได้กล่าวว่า
"ใครก็ตามที่ครอบครองคุณสมบัติ 3 ประการต่อไปนี้ จะได้ลิ้มรสอีหม่าน
1)เขามีอัลลอฮฺและเราะซูลเป็นที่รักมากกว่าทุกสิ่งทุกอย่าง
2)เขารักใครก็รักเพื่ออัลลอฮฺเท่านั้น
3)เกลียดชังที่จะกลับไปสู่การปฏิเสธศรัทธา หลังจากอัลลอฮฺได้ปกป้องเขาจากสิ่งนั้น เหมือนเขาเกลียดที่จะถูกโยนลงไปสู่ไฟนรก"
(รายงานโดยบุคอรียฺ และมุสลิม) _________________ ท่านอับดุลลอฮ์ บิน มัสอู้ด กล่าวว่า การปฏิบัติที่น้อยนิดในเรื่องซุนนะห์ ดีกว่า การปฏิบัติการงานที่มากมายในเรื่องบิดอะห์ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
gismad มือเก่า
เข้าร่วมเมื่อ: 21/08/2008 ตอบ: 96
|
ตอบ: Fri Apr 22, 2011 1:29 am ชื่อกระทู้: |
|
|
_________________ กลับมาสู่ กรุอ่านและซุนนะห์ บนแนวทางสลัฟฟุสศอและห์ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|