ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
gismad มือเก่า
เข้าร่วมเมื่อ: 21/08/2008 ตอบ: 96
|
ตอบ: Tue Feb 08, 2011 12:02 am ชื่อกระทู้: อุศูลุ้ล ฟิกฮ |
|
|
ผมอยากทราบ วิชา อุศูลุ้ลฟิกฮ มันคืออะไร
และ ใครเป็นคนก่อตั้ง
แล้ว เกี่ยวข้อง อะไรกับศาสนาอิสลาม
แล้วมีอะไรบ้าง
รบกวน บัง asan ช่วยตอบด้วย
_____________
นักศึกษา อิสลาม ที่ถูกต้อง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
ห้องสมุด อะฮลุ้ลหะดีษ มือเก่า
เข้าร่วมเมื่อ: Jan 31, 2011 ตอบ: 86 ที่อยู่: ห้องสมุด อะฮลิ้ลหะดีษ วัลอาษาร์ เชียงใหม่
|
ตอบ: Tue Feb 08, 2011 12:45 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
คำพูด: | ผมอยากทราบ วิชา อุศูลุ้ลฟิกฮ มันคืออะไร
และ ใครเป็นคนก่อตั้ง
แล้ว เกี่ยวข้อง อะไรกับศาสนาอิสลาม |
น้อง gismad คำตอบตามนี้คับ
ก่อนอืน ขออธิบาย คำว่า อัลฟิกฮ์
คำนิยามของวิชาฟิกฮ์
ฟิกฮ์มี 2 ความหมายด้วยกัน คือ
1. ความหมายตามหลักภาษา
2. ความหมายตามหลักศาสนา
ในความหมายตามหลักภาษานั้น ท่าน إِسْمَاعِيْلُ بْنُ حِمَادِ الْجَوْهَرِيِّ ได้กล่าวไว้ว่า ฟิกฮ์ คือ
ความเข้าใจ ดังนั้นคำพูดที่ว่า فَقِهْتُ كَلاَمَكَ ความหมายคือ فَهِمْتُ แปลว่า ฉันเข้าใจคำพูดของท่าน
พระองค์อัลเลาะห์ (ซ.บ.) ทรงตรัสว่า
فَمَا لِهؤُلاَءِ الْقَوْمِ لاَ يَكَادُوْنَ يَفْقَهُوْنَ حَدِيْثًا {النساء : ٧٨}
ความว่า แล้วอันใดเล่าเป็นเหตุแก่กลุ่มชนเหล่านี้ ที่พวกเขาเกือบจะไม่เข้าใจคำพูด (ตักเตือน)
และพระองค์ทรงตรัสว่า
قَالُوْا يَا شُعَيْبُ مَا نَفْقَهُ كَثِيْرًا مِمَّا تَقُوْلُ {هود : ٩١}
ความว่า พวกเขากล่าว่า โอ้ชุอัยบ์ เราไม่เข้าใจในสิ่งที่ท่านพูดเป็นส่วนมาก
ส่วนคำนิยามในด้านหลักศาสนา ฟิกฮ์ คือ การรู้ข้อกำหนดของบัญญัติศาสนาอันเกี่ยวข้องกับการกระทำที่ได้มาจากหลักฐานที่เป็นรายละเอียด จากตัวบทอัลกุรอาน และซุนนะห์เป็นต้น
ตัวอย่างเช่น การรู้ส่วนได้ของสามี (1/2) ในเรื่องของมรดก ที่เอามาจากพระดำรัสของอัลเลาะห์ ซ.บ. ที่ว่า
وَلَكُمْ نِصْفُ مَا تَرَكَ أَزْوَاجُكُمْ إِنْ لَمْ يَكًنْ لَهُنَّ وَلَدٌ {النساء : ١٢}
ความว่า และพวกเจ้าทั้งหลายมีสิทธิ์ในครึ่งหนึ่งของ (ทรัพย์มรดก) ที่คู่ครองของพวกเจ้าได้ทิ้งไว้ทั้งนี้ถ้าพวกนางไม่มีลูก
ตัวอย่างใน ซุนนะห์ เช่น คำกล่าวของท่านร่อซูลุลเลาะห์ (ซ.ล.) ให้กับหญิงที่ถูกหย่า 3 ต่อล๊าก และชายอีกคนหนึ่งได้แต่งงานกับเธอว่า
لاَ تَحِلِّيْنَ لَهُ حَتَّى تَذُوْقِىْ عَسِيْلَتَهُ وَيَذُوْقَ عَسِيْلَتَكِ
ความว่า เธอจะไม่เป็นที่อนุญาตแก่สามีคนเก่าของเธอ จนกว่าเธอจะลิ้มรสน้ำผึ้งของสามีคนใหม่ของเธอ และเขาจะลิ้มรสน้ำผึ้งของเธอ
นั่นหมายถึงการกลับมาคืนดีกับสามีเก่าได้นั้นถูกวางเงื่อนไขด้วย دُخُوْلٌ การร่วมประเวณี ไม่ใช่เพียงแค่การกล่าวคำเสนอและคำสนองในการสมรส عَقْدُ النِّكَاحِ
_________________________
مكتبة أهل الحديث والاثار
ห้องสมุด อะฮลุ้ลหะดีษ วัลอาษาร |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Tue Feb 08, 2011 12:49 pm ชื่อกระทู้: Re: อุศูลุ้ล ฟิกฮ |
|
|
gismad บันทึก: | ผมอยากทราบ วิชา อุศูลุ้ลฟิกฮ มันคืออะไร
และ ใครเป็นคนก่อตั้ง
แล้ว เกี่ยวข้อง อะไรกับศาสนาอิสลาม
แล้วมีอะไรบ้าง
รบกวน บัง asan ช่วยตอบด้วย
_____________
นักศึกษา อิสลาม ที่ถูกต้อง |
أวิชาอุศูลุลฟิกฮ หรือ วิชาหลักนิติศาสตร์อิสลาม คือ วิชาว่าด้วย หลักการหรือกฏเกณฑ์ ต่างๆ ที่นักกฏหมายอิสลามนำมาเป็นเครื่องมือในการพิจารณา วิเคราะห์ วินิจฉัย หลักฐานต่างๆ
เพื่อกำหนดเป็น กฏหมายอิสลาม (الأحكام الشرعية )
นักกฏหมายอิสลามคนแรก ที่ได้รวบรวมกฏเกณฑ์ต่างๆขึ้น เป็นตำราแขนงนี้คือ
อิหม่ามชาฟิอี (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)
والله أعلم بالصواب _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
ห้องสมุด อะฮลุ้ลหะดีษ มือเก่า
เข้าร่วมเมื่อ: Jan 31, 2011 ตอบ: 86 ที่อยู่: ห้องสมุด อะฮลิ้ลหะดีษ วัลอาษาร์ เชียงใหม่
|
ตอบ: Tue Feb 08, 2011 12:50 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
การรู้จักรากฐานการเกิดขึ้นของฟิกฮ์ หรือที่เรียกว่า วิชาอุซูลุ้ลฟิกฮ์ أُصُوْلً الْفِقْهِ
ในเรื่องของอุซูลุ้ลฟิกฮ์ มีการขัดแย้งกันของนักวิชาการในเนื้อหาของวิชานี้ ส่วนใหญ่ของนักวิชาการอุซูลุ้ลฟิกฮ์ เห็นว่าวิชานี้จะครอบคลุมหลักฐานที่มีการเห็นพ้องต้องกันของอิหม่ามทั้งสี่ หลักฐานเหล่านั้นก็คือ อัลกุรอ่าน ซุนนะห์ อิจมาอ์ (มตินักปราชญ์) และหลักการกิยาส (เปรียบเทียบ) และสิ่งที่มีการขัดแย้งกันระหว่างพวกเขา เช่น اْلاِسْتِصْحَابُ , الْمَصَالِحُ المُرْسَلَةُ , قَوْلُ الصَّحَابِيِّ และอื่น ๆ จากนี้ ส่วนในเรื่องข้อกำหนดทางศาสนา (ฮู่ก่ม) اْلأَحْكَامُ พวกเขาเห็นว่าไม่มีการเกี่ยวข้องกับวิชานี้
ส่วนนักวิชาการบางท่านเห็นว่า เนื้อหาของวิชาอุซูลุ้ลฟิกฮ์นั้นรวมถึงหลักฐาน และข้อกำ
หนด โดยที่หลักฐานนั้นมีมารับรองฮุ่ก่มข้อกำหนด และฮู่ก่มข้อกำหนดจะปรากฏขึ้นมาด้วยกับหลักฐาน
การได้รับการสนับสนุนของวิชา อุซูลุ้ลฟิกฮ์ นักวิชาการได้กล่าวไว้ว่า อุซูลุ้ลฟิกฮ์ได้รับการช่วยเหลือจาก 3 แขนงวิชาด้วยกัน
1. วิชาตรรกศาสตร์ ( عِلْمُ الْكَلاَمِ)
2. วิชาหลักภาษาอาหรับ
3. ข้อกำหนดทางศาสนา (اْلأَحْكَامُ الشَّرْعِيَّةُ )
ประโยชน์ของวิชาอุซูลุ้ลฟิกฮ์ ประโยชน์ในวิชานี้กลับคืนไปสู่ 2 กลุ่มใหญ่ คือ
1. กลุ่มนักวินิจฉัยของกำหนดของศาสนาทางด้านฟิกฮ์ ( الْمُجْتَهِدُ ) วิชานี้จะทำให้พวกเขาสามารถที่จะวิเคราะห์ข้อกำหนดของศาสนาทางด้านฟิกฮ์โดยยึดหลักฐานที่เป็นรายละเอียด เช่น อัลกุรอาน และอัลฮาดิษ เป็นต้น ดังนั้นบุคคลใดที่เงื่อนไขของการเป็นนักวินิจฉัยนี้ อย่างครบสมบูรณ์ในตัวของเขา เขาก็สามารถที่จะวิเคราะห์ข้อกำหนดของอัลเลาะห์ (ซ.บ.) ในประเด็นปัญหาต่าง ๆ ที่ถูกพบและเกิดขึ้นมา
2. กลุ่มผู้ที่ปฏิบัติตาม ( الْمُقَلِّدُ ) บรรดาผู้ที่ยังไม่สามารถถึงระดับของนักวินิจฉัย เขาสามารถที่จะศึกษาและได้รับประโยชน์จากวิชานี้ได้ดังต่อไปนี้
- ได้รับความเข้าใจถึงแนวทางในการวิเคราะห์ข้อกำหนดของศาสนา ( ฮู่ก่ม ) ของนักวินิจฉัย ( มุจตะฮิด )
- เขาสามารถที่จะเทียบระหว่างมัซฮับต่าง ๆ ของนักวิชาการฟิกฮ์ ในประเด็นปัญหาเดียวกัน หรือการให้น้ำหนักมัซฮับที่เขาเห็นว่ามีหลักฐานที่มีน้ำหนักมารับรอง และสอดคล้องกับกฎเกณฑ์ทางด้านวิชาอุซูลุ้ลฟิกฮ์
_________________________
مكتبة أهل الحديث والاثار
ห้องสมุด อะฮลุ้ลหะดีษ วัลอาษาร |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
ห้องสมุด อะฮลุ้ลหะดีษ มือเก่า
เข้าร่วมเมื่อ: Jan 31, 2011 ตอบ: 86 ที่อยู่: ห้องสมุด อะฮลิ้ลหะดีษ วัลอาษาร์ เชียงใหม่
|
ตอบ: Tue Feb 08, 2011 12:52 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
การเกิดขึ้นของวิชาอุซูลุ้ลฟิกฮ์
ในสมัยของท่านร่อซูลุ้ลเลาะห์ (ซ.ล.) ข้อกำหนดทางศาสนาภาคปฏิบัติได้มาจากอัลกุรอาน โดยมีท่านร่อซู้ลเป็นผู้อรรถาธิบายด้วยคำพูดของท่าน หรือบางทีก็ด้วยการกระทำ
พระองค์อัลเลาะห์ (ซ.บ.) ทรงตรัสไว้ว่า
وَمَا يَنْطِقُ عَنِ الْهَوَى * إِنْ هُوَ إِلاَّ وَحْيٌ يُوْحَى {النجم : ٣ـ٤}
ความว่า และเขาไม่พูดออกมาจากอารมณ์ สี่งที่เขาพูดนั้นมิใช่อื่นใด นอกจากเป็นโองการที่เขาได้รับ
ดังนั้น ในสมัยของท่านร่อซู้ล (ซ.ล.) จะไม่มีความต้องการไปยังการวิเคราะห์ข้อกำหนดทางศาสนา (ฮู่ก่ม) ทั้ง ๆ ที่เป็นเช่นนี้ เราจะพบได้ว่า ในบางครั้งท่านร่อซู้ล (ซ.ล.) ก็ทำการวินิจฉัยในบางเหตุการณ์ แต่ทว่าการวินิจฉัยของท่านนั้นต่างกับการวินิจฉัยของประชาชาติของท่าน โดยที่จะมีโองการจากพระเจ้ามารับรอง สนับสนุน สร้างความมั่นใจ หรือบางทีก็มีโองการลงมาติเตือน ตัวอย่างเช่นในสงครามบะดัร บางส่วนของกุฟฟารได้ตกเป็นเชลย ท่านร่อซู้ล(ซ.ล.) ได้ปรึกษาบรรดาอัครสาวกของท่าน ท่านได้ถามพวกเขา ท่านอบูบักร์กล่าวว่า พวกเขาก็คือกลุ่มชนของท่าน จงไว้ชีวิตพวกเขา หวังว่าอัลเลาะห์ (ซ.บ.) จะอภัยโทษกับพวกเขา และท่านจงเอาค่าไถ่ตัวจากพวกเขาเพื่อมาสนับสนุนพวกเรา
ส่วนท่านอุมัร กล่าวว่า พวกเขากล่าวหาว่าท่านโกหก และขับไล่ท่านออกจากเมืองของท่าน ท่านจงฆ่าพวกเขา พวกเขาเหล่านั้นเป็นผู้นำของพวกกุโฟร และอัลเลาะห์ทรงพอเพียงจากค่าไถ่ตัว
ดังนั้นท่านร่อซู้ล (ซ.ล.) ได้วินิจฉัยและเลือกเอาความเห็นของท่านอบูบักร ต่อมาก็ได้มีโองการจากพระเจ้าลงมาตำหนิและแจ้งให้ทราบถึงความจริง
مَا كَانَ لِنَبِيٍّ أَنْ يَكُوْنَ لَهُ أَسْرَى حَتَّى يُثْخِنَ فِي اْلأَرْضِ تُرِيْدُوْنَ عَرَضَ الدُّنْيَا وَاللهُ يُرِيْدُ الآخِرَةَ وَاللهُ عَزِيْزٌ حَكِيْمٌ {الأنفال : ٦٧}
ความว่า ไม่มี (ความบังควร) แก่ศาสดาคนใดเลยที่จะมีเชลยศึกไว้ (เพื่อเรียกค่าไถ่ ขณะที่ฝ่ายตนยังอ่อนแออยู่) จนกว่าเขาจะทำการสู้รบจนชนะในแผ่นดิน (ก็ให้จับเชลยไว้ได้) พวกเจ้าปรารถนา (ค่าไถ่เชลยอันเป็น) ผลประโยชน์ (เพียงเล็กน้อย) ของโลกนี้ แต่อัลเลาะห์ทรงปรารถนาโลกหน้า และอัลเลาะห์ทรงอำนาจ อีกทั้งทรงปริชาญาณยิ่ง
อนึ่งในพระวจนะของท่านร่อซู้ล (ซ.ล.) ที่กล่าวว่า
قَالَ النَّبِيُّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : إِذَا حَكَمَ حَاكِمٌ فَاجْتَهَدَ ثُمَّ أَصَابَ فَلَهُ أَجْرَانِ وَإِذَا حَكَمَ ثُمَّ اجْتَهَدَ فَأَخْطَأَ فَلَهُ أَجْرٌ وَاحِدٌ
ความว่า เมื่อผู้ตัดสินคนใดได้ทำการตัดสิน และเขาได้วินิจฉัยในการตัดสิน และต่อมาได้บังเกิดความถูกต้อง เขาจะได้รับผลบุญ 2 ผลบุญ และเมื่อใดที่ผู้ตัดสินได้ทำการตัดสินและเขาได้วินิจฉัยในการตัดสินนั้น และต่อมาก็บังเกิดความผิดพลาดขึ้น เขาจะได้รับผลบุญ 1 ผลบุญ
ในฮาดิษบทนี้เป็นการส่งเสริมและสร้างความกล้าให้กับประชาชาติของท่านนบี (ซ.ล.) ในการใช้วิจารณญาณในการวินิจฉัย เมื่อมีความต้องการ
_________________________
مكتبة أهل الحديث والاثار
ห้องสมุด อะฮลุ้ลหะดีษ วัลอาษาร |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Tue Feb 08, 2011 1:00 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
อัลหัมดุลิลลอฮ
ที่น้อง ห้องสมุด อะฮลุ้ลหะดีษ มาช่วยตอบ
_________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kolis_mala มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 24/12/2010 ตอบ: 295
|
ตอบ: Tue Feb 08, 2011 3:02 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
บัง asan และ บัง ห้องสมุด อะฮลุ้ลหะดีษ วัลอาษาร
อัลฮัมดุลิ้ลลาห์ บัง ทั้ง 2 ช่วยกันตอบ คำถาม ได้ดีมากคับ
ไว้มีโอกาศ จะขอ แจมด้วยคน นะคับ
والله أعلم بالصواب |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
sunnahkung มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 24/12/2008 ตอบ: 116
|
ตอบ: Wed Feb 09, 2011 12:35 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
^
^
^
อยากให้ช่วยแนะนำหรือระบุว่ามีตำราใดบ้าง ที่รวบรวมข้อมูลด้านนี้ และใครเป็นผู้แต่ง _________________ "และที่เลวยิ่งจากกิจการทั้งหลายคือการอุตริกรรมในศาสนาเพราะทุกสิ่งที่ถูกอุตริขึ้นใหม่เป็นบิดอะฮ์และทุกๆบิดอะฮ์คือความหลงผิดและทุกๆความหลงผิดอยู่ในนรก"(ศอเหี๊ยะสุนันนะซาอีย์:1577) |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
ห้องสมุด อะฮลุ้ลหะดีษ มือเก่า
เข้าร่วมเมื่อ: Jan 31, 2011 ตอบ: 86 ที่อยู่: ห้องสมุด อะฮลิ้ลหะดีษ วัลอาษาร์ เชียงใหม่
|
ตอบ: Thu Feb 10, 2011 2:00 am ชื่อกระทู้: |
|
|
คำพูด: | อยากให้ช่วยแนะนำหรือระบุว่ามีตำราใดบ้าง ที่รวบรวมข้อมูลด้านนี้ และใครเป็นผู้แต่ง |
ยินดี คับ งั้นลองเอา 2 เล่มนี้ไปอ่านนะคับ
1. أصول الفقه محمد أبو زهرة อุศูลุ้ลฟิกฮ โดย มุฮัมหมัด อะบู ซะห์รอห์
2. الموافقات في الأصول الشريعة إمام أبو إسحاق الشاطبي อัลมุวาฟะกอต ฟี อุซูลลิ้ล ชะรีอะห์ โดย อีหม่าม อบูอิสฮาก อัชชาติบีย์
ส่วนตำรา ด้าน อุศูล กระผมยังไม่เคยเจอที่เป็นภาษาไทย มีแต่ภาษาอาหรับคับ
_________________________
مكتبة أهل الحديث والاثار
ห้องสมุด อะฮลุ้ลหะดีษ วัลอาษาร |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
มุร๊อบบี มือใหม่
เข้าร่วมเมื่อ: 17/07/2008 ตอบ: 10
|
ตอบ: Wed Mar 09, 2011 4:58 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
อัสลามมุอะลัยกุมครับ ขอต่อหน่อยครับ ตำหรับตำราที่เป็นหนังสือเกี่ยวกับวิชาอุศูลุ้ลฟิกฮฺที่เป็นภาษาไทยก็พอจะมีครับ ที่เรียนอยู่ก็น่าจะเป็นของท่าน รองศาสตราจารย์ ดร.อิสมาแอล อาลี เป็นผู้เขียน ชื่อ อุศูลุลฟิกฮฺ The Principle of Fiqh ท่านเป็น อ. ที่ มอ.ปัต ครับ ลองซื้อมาอ่านดูครับผมก็เห็นว่าเนื้อหามันก็ตรงจากหนังสือหลายๆที่เป็นภาษาอาหรับนะครับ เช่น อิ้ลมุ ฟี อุศูลุ้ลฟิกฮฺ ของท่าน คอลลาฟ ขอแจมแค่นี้ครับ วัลลอฮุอะอฺลัมบิศวาบ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
ห้องสมุด อะฮลุ้ลหะดีษ มือเก่า
เข้าร่วมเมื่อ: Jan 31, 2011 ตอบ: 86 ที่อยู่: ห้องสมุด อะฮลิ้ลหะดีษ วัลอาษาร์ เชียงใหม่
|
ตอบ: Thu Mar 10, 2011 1:42 am ชื่อกระทู้: |
|
|
คำพูด: | อัสลามมุอะลัยกุมครับ ขอต่อหน่อยครับ ตำหรับตำราที่เป็นหนังสือเกี่ยวกับวิชาอุศูลุ้ลฟิกฮฺที่เป็นภาษาไทยก็พอจะมีครับ ที่เรียนอยู่ก็น่าจะเป็นของท่าน รองศาสตราจารย์ ดร.อิสมาแอล อาลี เป็นผู้เขียน ชื่อ อุศูลุลฟิกฮฺ The Principle of Fiqh ท่านเป็น อ. ที่ มอ.ปัต ครับ ลองซื้อมาอ่านดูครับผมก็เห็นว่าเนื้อหามันก็ตรงจากหนังสือหลายๆที่เป็นภาษาอาหรับนะครับ เช่น อิ้ลมุ ฟี อุศูลุ้ลฟิกฮฺ ของท่าน คอลลาฟ ขอแจมแค่นี้ครับ วัลลอฮุอะอฺลัมบิศวาบ |
คุณ มุร๊อบบี
ดีมากๆ เลยคับ เพราะมีนักศึกษา อีกมากที่อ่าน ภาษาอาหรับไม่ออก แต่มีความต้องการที่จะเรียนรู้ จะให้ บรรดา คณาจารย์ แปลให้ทั้งหมด คงต้องใช้เวลา นานพอสมควร
อินชาอัลลอฮ ไว้จะบอกต่อๆไป
ขออัลลอฮ ทรงตอบแทน คูณ มุร๊อบบี ด้วยเถิด อามีน
_________________________
مكتبة أهل الحديث والاثار
ห้องสมุด อะฮลุ้ลหะดีษ วัลอาษาร |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|