ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
อนุรักษ์มรดกอิสลาม :: ดูกระทู้ - ซูเราะห์ อัลฟาติฮะห์
อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก อนุรักษ์มรดกอิสลาม  
  เพื่อการอนุรักษ์มรดกอิสลาม      คำถามถามบ่อยของกระดานข่าว      ค้นหา      รายนามสมาชิก  
  · เข้าระบบ ข้อมูลส่วนตัว · เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ · กลุ่มผู้ใช้งาน  
ซูเราะห์ อัลฟาติฮะห์

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักปฏิบัติ
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
gismad
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: 21/08/2008
ตอบ: 96


ตอบตอบ: Mon Feb 07, 2011 11:54 pm    ชื่อกระทู้: ซูเราะห์ อัลฟาติฮะห์ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

Exclamation

ผมอยากได้ คำแปล ซูเราะห์ อัลฟาติฮะห์ พร้อม ตัฟซีร จากนักวิชาการ คับ
บัง asan ช่วย เอามาลงให้หน่อยนะคับ
Idea



_____________

นักศึกษา อิสลาม ที่ถูกต้อง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Tue Feb 08, 2011 12:04 pm    ชื่อกระทู้: Re: ซูเราะห์ อัลฟาติฮะห์ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

gismad บันทึก:
Exclamation

ผมอยากได้ คำแปล ซูเราะห์ อัลฟาติฮะห์ พร้อม ตัฟซีร จากนักวิชาการ คับ
บัง asan ช่วย เอามาลงให้หน่อยนะคับ
Idea



_____________

นักศึกษา อิสลาม ที่ถูกต้อง


Question


ค้นหาดูไม่พบว่าใครได้แปลและอรรถาธิบายเป็นภาษาไทยไว้บ้าง มีแต่ของชีอะฮอธิบายไว้
เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน เนื่องจากผมไม่ค่อยมีเวลา แต่..อินชาอัลลอฮ จะนำมาอธิบายเอง วันละอายะฮ ขอให้คุณติดตตามก็แล้วกันนะครับ

ตัฟสีรซูเราะฮอัลฟาติหะฮ

بِسْمِ اللّهِ الرَّحْمـَنِ الرَّحِيمِ

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ผู้ทรงปราณี


بِسْمِ اللّهِ

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ

أبتدئ قراءة القرآن باسم الله مستعينا به


หมายถึง ฉันเริ่มอ่านอัลกุรอ่านด้วยพระนามแห่งอัลลอฮ โดยเป็นผู้ขอความช่วยเหลือต่อพระองค์ด้วยมัน

,(اللهِ) علم على الرب -تبارك وتعالى- المعبود بحق دون سواه, وهو أخص أسماء الله تعالى, ولا يسمى به غيره سبحانه

คำว่า "อัลลอฮ" คือ นามของพระเจ้า ผู้ทรงจำเริญ ผู้ทรงสูงส่ง ผู้ทรงได้รับการเคารพภักดีที่ถูกต้อง ซึ่งอื่นจากพระองค์นั้นไม่มี(คุณสมบัติข้อนี้) และมัน(คำว่าอัลลอฮ) เป็นนามที่พิเศษที่สุดของบรรดาพระนามของอัลลอฮ ตะอาลา และอื่นจากพระองค์(อัลลอฮ)ผู้ทรงบริสุทธิ์ จะไม่ถูกเรียกชือด้วยคำว่า "อัลลอฮ"

.(الرَّحْمَنِ) ذي الرحمة العامة الذي وسعت رحمته جميع الخلق,

อัรเราะหมาน หมายถึง ผู้ทรงเมตตา ทั่วไปซึ่งความเมตตาของพระองค์ กว้างขวาง ครอบคลุมบรรดามัคลูคทั้งหลาย

,(الرَّحِيمِ) بالمؤمنين, وهما اسمان من أسمائه تعالى، يتضمنان إثبات صفة الرحمة لله تعالى كما يليق بجلاله

อัรเราะหฮีม หมายถึง(ผู้ทรงกรุณา)ต่อบรรดาผู้ศรัทธา (โดยให้พวกเขาพ้นจากไฟนรกในวันกิยามะฮ ) ทั้งอัรเราะหมานและอัรเราะหฮีม เป็นส่วนหนึ่งจากบรรดาพระนามของอัลลอฮ ผู้ทรงสูงส่ง พระนามทั้งสองได้ประมวลไว้ซึ่ง การรับรองคุณลักษณะแห่งความเมตตาให้แก่อัลลอฮ ผู้ทรงสูงส่ง ดังสิ่งที่เหมาะสมกับความยิ่งใหญ่ของพระองค์

والله أعلم بالصواب

อินชาอัลลอฮ โปรดติดตามต่อไป

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
ห้องสมุด อะฮลุ้ลหะดีษ
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: Jan 31, 2011
ตอบ: 86
ที่อยู่: ห้องสมุด อะฮลิ้ลหะดีษ วัลอาษาร์ เชียงใหม่

ตอบตอบ: Tue Feb 08, 2011 1:23 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

بِسْمِ اللهِ الرَّحْمنِ الرَّحِيمِ

ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺผู้ทรงยิ่งในความเมตตาผู้ทรงยิ่งในความกรุณา

สูเราะฮฺที่ 1 อัลฟาติหะฮฺ

เป็นซูเราะห์ มักกียะฮฺ มี 7 อายะฮฺ

ชื่อบท “อัลฟาตีหะฮฺ” มีความหมายว่า “บทเริ่มต้น” เพราะเป็นบทแรกของการจัดลำดับอัลกุรอาน


สูเราะฮฺสั้น ๆ ที่มีเพียง 7 อายะฮ์ แต่กลับเป็นสูเราะฮฺทีมุสลิมอ่านซ้ำแล้วซ้ำเล่า ครั้งแล้วครั้งเล่าถึ่ง 17 ครั้งตลอดเวลาหนึ่งวันและหนึ่งคืนเป็นอย่างน้อย หรือมากกว่านั้นหากพวกเขาละหมาดซุนัต และจำนวนครั้งของการอานสูเราะฮฺสั้น ๆ สูเราะฮฺนี้จะเพิมขื้นอีกหลายเท่าทวีคูณอย่างไม่มี เขตจำกัด หากพวกเขาต้องการยืนอยู่ ณ ความโปรดปรานของอัลลอฮฺด้วยการอ่านในที่ที่นอกเหนือจากการอ่านในละหมาดฟัรฏูและซุนัต การะหมาดจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้โดยปราศจากการอานสูเราะฮฺนี้ เพราะมีหลักฐานปรากฏอยู่ในเศาะฮีฮฺทั้งสองเล่ม (อัลบุคอรียฺและมุสลิม) ในรายงานของท่านอุบาดะฮฺ บิน ซอมิด จากท่านเราะซูลุลลอฮ (ศ็อลฯ) ว่า “ไม่เป็นการละหมาดสำหรับผู้ที่ไม่อ่านสูเราะฮฺอัลฟาตีหะฮฺ”

สูเราะฮฺอัลฟาตีหะฮฺเป็นส่วนหนึ่งของหลักความเชื่อของอิสลาม เป็นภาพรวมของความเข้าใจอิสลาม เป็นภาพรวมของความรู้สึกและตัวบงชี้ ที่ชี้ให้เห็นถึงสุดยอดแห่งปรัชญาที่มุสลิมเลือกที่จะอ่านช้ำแล้วซ้ำเล่าครั้งแล้วครั้งเล่าในทุกร็อกอะฮฺของการละหมาด เป็นการบงบอกให้เห็นถึงสุดยอดแห่งปรัชญาอันเฉียบคมที่ชี้ให้เห็นว่าหากขาดสูเราะฮฺฟาติหะฮฺแล้ว การละหมาดจะไม่เป็นการละหมาดได้อีกต่อไป

สูเราะฮฺเริ่มต้นด้วยการกล่าวว่า (بِسْمِ اللهِ الرَّحْمنِ الرَّحِيمِ) “ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮผู้ทรงยิ่งในความเมตตา ผู้ทรงยิ่งในความกรุณา” ไปพร้อมๆ กับความแตกตางทางแนวคิดเกียวกับบิสมิลละฮ์ (بِسْمِ اللهِ ) ว่าเป็นอาฮฺหนึ่งในทุก ๆ สูเราะฮฺของอัลกรอานหรือไม่ ? หรือเป็นเพียงอายะฮฺอัลกุรอานที่ใช้สำหรับการเริ่มต้นการอ่านอัลกรอานในแต่ละสูเราะฮฺเท่านั้น แต่ทัศนะทีถูกต้องทีสุดคือ บิสมิลละฮฺ เป็นอายะฮฺหนึ่งของสูเราะฮฺอัลฟาติหะฮฺ เมื่อนับรวมกับอายะฮฺอื่น ๆ ของสูเราะฮฺแล้วจะได้ทั้งหมด 7 อายะฮฺพอดี และนี่คือความหมายของอายะฮฺที่อัลลอฮทรงตรัสไว้ว่า


وَلَقَدْ آتَيْنَاكَ سَبْعاً مِّنَ الْمَثَانِي وَالْقُرْآنَ الْعَظِيمَ

“ขอยืนยัน แท้จริงเราได้มองโองการทั้งเจ็ดจากที่ถูกอ่านซ้ำ(หมายถึงฟาติหะฮฺ) และอัลกุรอานที่ยิ่งใหญ่แก่เจ้า” (อัลฮิจรฺ 87)

จากอายะฮฺดังกล่าวเป็นการกล่าวถึงสูเราะฮฺอัลฟาติหะฮฺ โดยการกล่าวถึงลักษณะของสูเราะฮฺว่ามีเจ็ดอายะฮฺที่มีการอ่านซ้ำในขณะทำการละหมาดของมุสลิม

เริ่มต้นสูเราะฮฺด้วย พระนามแห่งอัลลอฮฺ ( ) นับได้ว่าเป็นสุดยอดแห่งมารยาที่อัลลอฮฺได้ทรงประทานมายังศาสนฑูตของพระองค์ อันมีปรากฎอยู่ในสูเราะฮฺแรกๆของอัลกุรอานที่พระองค์ทรงประทานมา พระองค์ทรงตรัสว่า

اقْرَأْ بِاسْمِ رَبِّكَ

“จงกล่าวเถิด ในพระนามแห่งองค์อภิบาลของเจ้า” (อัลอะลัก 1)

สอดคล้องกับกฎอันยิ่งใหญ่ของความเข้าใจอิสลามว่าแท้จริงอัลลอฮฺนั้น


هُوَ الأَوَّلُ وَالآخِرُ وَالظَّاهِرُ وَالْبَاطِنُ

“พระองค์ทรงเป็นองค์แรก และพระองค์ทรงเป็นองค์สุดท้าย พระองค์ทรางเป็นภายนอก และพระองค์เป็นภายใน” (อัลหะดีด 3)

อัลลอฮฺ พระองค์ทรงเป็นอยู่อย่างแท้จริง จากการมีอยู่ของพระองค์จึงเป็นที่พึ่งพาของสรรพสิ่งทั้งหลายที่มีอยู่ การเริ่มต้นของทุกสิ่งจะต้องเริ่มจากการมีอยู่ของพระองค์ ฉะนั้นด้วยพระนามของพระองค์นี้เองที่ทุกรูปแบบของการเคลื่อนไหวและทุกทิศทางของการขยับเขยื้อนอุบัติขึ้น


_________________________
مكتبة أهل الحديث والاثار
ห้องสมุด อะฮลุ้ลหะดีษ วัลอาษาร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
ห้องสมุด อะฮลุ้ลหะดีษ
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: Jan 31, 2011
ตอบ: 86
ที่อยู่: ห้องสมุด อะฮลิ้ลหะดีษ วัลอาษาร์ เชียงใหม่

ตอบตอบ: Tue Feb 08, 2011 1:27 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

الْحَمْدُ للهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ

“มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ ผู้ทรงอภิบาลจักรวาล”

มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ เป็นคำพูดที่บงบอกถึงความรู้สึกที่เอ่อล้นออกมาจาก้นบึงแห่งหัวใจของผู้ศรัทธา เพียงเพราะเขาแค่รำลึกถึงอัลลอฮฺ.. โดยรำลึกขึ้นมาเพียงว่าการที่เขามีชีวิตขึ้นมาได้นั้นก็มาจากความเมตตาและความโปรดปรานอันล้นพ้นในความเป็นพระเจ้าของพระองค์ จึงทำให้เขาเปล่างเสียงออกมาเป็นการสรรเสริญต่อพระองค์(อย่างกตัญญู)ในทุกเสี้ยวเวลา ในทุกขณะและทุกย่างก้าวการเคลื่อนไหวของเขาจะดำเนินไปภายใต้การดูแลและความโปรดปรานของอัลลอฮฺที่มีให้อย่างทั่วถึง ซึ่งความเมตตาและความโปรดปรานของอัลลอฮฺที่มีให้อย่างทั่วถึง ซึ่งความเมตตาและความโปรดปรานอันนี้จะหมายรวมถึงบรรดาสิ่งถูกสร้างทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งมนุษย์... ด้วยเหตผลนี้เองการสรรเสริญจึงเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ จากจุดเริ่มต้นและจุดสุดท้าย เป็นส่วนหนึงจากบรรดากฎต่างๆ ที่จะทำความเข้าใจและศึกษาอิสลามโดยตรง อัลลอฮฺทรงตรัสไว้ในอัลกุรอานว่า


وَهُوَ اللهُ لاَ إِلَهَ إِلاَّ هُوَ لَهُ الْحَمْدُ فِي الأُولَى وَالآخِرَةِ

“พระองค์คืออัลลอฮฺ ซึ่งไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ พระองค์ทรงสิทธิในการสรรเสริญ ทั้งในโลกนี้และโลกนหน้า” (อัลเกาะเศาะศฺ 70)

ด้วยความโปรดปรานของอัลลอฮฺ และความกรุณาอันล้นพ้นของอัลลอฮฺที่มีต่อมวลบ่าวของพระองค์ผู้ทรงศรัทธา เพียงแค่เขากล่าวว่า “الحمد لله” (การสรรเสริญทั้งมวลเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ) ก็จะมีการบันทึกความดีที่สามารถทำให้ตราชูด้านหนึ่งหนักขึ้นได้เป็นไหนๆ .. ในสุนันของอิบนุมาญะฮฺ ซึ่งเป็นรายงานของท่านอุบนุอุมัรฺ(ขอความโปรดปรานจากอัลลอฮฺจงมีแดท่านทั้งสอง) รายงานว่า “ท่านเราะสูลุลลอฮฺ(ศ็อลฯ)ได้กล่าวกับพวกเขาว่า “มีบ่าวของอัลลอฮฺคนหนึ่งกล่าวขึ้นว่า


يَا رَبِّ لَكَ الْحَمْدُ كَمَا يَنْبَغِي لِجَلاَلِ وَجْهِكَ وَلِعَظِيمِ سُلْطَانِكَ

ซึ่งมีความหมายว่า “โอ้องค์อภิบาลของข้า การสรรเสริญเป็นสิทธิของพระองค์ตามความเหมาะสมกับความสูงส่งแห่งพระพักตร์และความยิ่งใหญ่ในอำนาจของพระองค์”

“มะลาอิกะฮฺทั้งสองถึงกับชะงักงัน ไม่รู้จะปฎิบัติอย่างไร ไม่รู้ว่าจะบันทึกสิ่งที่บ่าวของอัลลอฮฺคนนี้กระทำอย่างไร ทั้งสองเลยต้องขึ้นไปกราบบังคมทูลต่ออัลลอฮฺและกราบบังคมทูลพระองค์ไปว่า “โอ้องค์อภิบาลของเรา แท้จริงมีบ่าวของพระองค์คนหนึค่งกล่าวถ้อยคำที่เราทั้งสองมิอาจจะรู้ได้เลยว่าจะบันทึกมันอย่างไร?” พระองค์ทรงตรัสถามมะลาอิกะฮฺ(ทั้งๆที่พระองค์รู้) ว่า “บ่าวของฉันกล่าวว่ากระไรหรือฦ” ทั้งสองเลยกราบังคมทูลว่า “บ่าวของพระองค์กล่าวว่า “โอ้องค์อภิบาลของข้า การสรรเสริญเป็นสิทธิของพระองค์ตามความเหมาะสมกับความสูงส่งแห่งพระพักตร์และความยิ่งใหญ่ในอำนาจของพระองค์” พระองค์จึงตรัสตอบไปว่า “จงบันทึกดังที่บ่าวของข้าได้กล่าวไว้ เมื่อถึงยายังข้า ข้าจะตอบแทนเขาเอง”

การมุ่งสู่อัลลอฮฺด้วยการสรรเสริญ เป็นการแสดงออกถึงความรู้สึกของผู้ศรัทธาที่เปล่งออกมาเพียงเพราะเขารำลึกถึงอัลลอฮฺ(ดังที่ได้กล่าวมา) และในตอนท้ายของอายะฮฺนี้ได้ถูกกล่าวไว้ว่า “رَبِّ الْعَالَمِينَ” (ผู้อภิบาลแห่งสากลโลก) อันเป็นเสมือนกกของการทำความเข้าใจอิสลาม กระอภิบาลที่ครอบคลุมและเด็ดขาด คือ ส่วนหนึ่งของหลักความเชื่อแห่งอิสลาม ผู้บภิบาลคือผู้ทรงอำนาจในการดำเนินการเพื่อให้เกิดประโยชน์ การอภิบาลและการดำเนินการเพื่อให้เกิดประโยชน์ในทางสร้างสรรค์และดูแลอภิบาลเป็นอย่างดีมาตลอด และทุกสรรพสิ่งที่ถูกสร้างมาจะได้รับการดูแลปกป้องจากอัลลอฮฺผู้อภิบาลแห่สากลโลกเป็นอย่างดี ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ทรงสร้างกับสิ่งถูกสร้างจึงเป็นไปอย่างต่อเนื่องทุกกาลเวลาตลอดไป

อำนาจการอภิบาลทีเด็ดขาดคือทางแยกที่จะแยกแยะให้ประจักษ์ระหว่างความชัดแจ้งในเอกภาพแห่งอัลลอฮทีครบถ้วนสมบูรณ์กับความมืดสลัวทางความเชื่อที่เกิดจากความอึมครึมไม่ชัดเจนต่าง ๆ และนี้คือสัจธรรมที่มีรูปแบบทีชัดเจนเด็ดขาด แต่ก็มีผู้คนจำนวนไม่น้อยทีรวมไว้ทั้งการยอมรับในคุณลักษณะของอัลลอฮฺว่าพระองค์แต่เพียงพระองค์เดียวคือผู้บันดาลจักรวาลให้เกิดขึ้น พวกเขาศรัทธาไปพร้อม ๆกับความเชื่อในรูปของพยุหะเทวนิยมโดยเชื่อว่ามีพระเจ้าหลายองค์ทีคอยควบคุมดูแลชีวิตบนโลกนี้ ซึ่งฟังดูแล้วเป็นเรื่องทีแปลกพิลึกน่าขันเป็นยิ่งนัก เป็นไปได้อย่างไรที่มีความเชื่อในพระเจ้าองค์เดียวแล้วกลับไปเชื่อว่ายังมีพระเจ้าอื่นๆ อีกมากมายคอยควบคุมดูแลอยู่ แต่เรื่องดังกล่าวยังคงมีปรากฏดังทีอัลกุรอานได้เล่าให้ฟังว่ามีพวกผู้ตั้งภาคี กลุ่มหนึ่งใด้เคยพูดถึงการมีพระเจ้าหลายองค์ของพวกเขาว่า


مَا نَعْبُدُهُمْ إِلاَّ لِيُقَرِّبُونَا إِلَى اللهِ زُلْفَى

“ เรามิได้นมัสการสิ่งเหล่านั้น (เพีออื่นใด) นอกจากเพื่อพวกเขาเหล่านนั้นจะได้ทำให้เราเข้าใกล้ต่ออัลลอฮฺยิ่งขึ้น ” (อัซซุมัรฺ 3)

อัลลอฮฺได้กล่าวถึงขาวคัมภีร์กลุ่มหนึ่งไว้ในอัลกุรอานว่า


اتَّخَذُواْ أَحْبَارَهُمْ وَرُهْبَانَهُمْ أَرْبَاباً مِّن دُونِ اللهِ

“พวกเขาเหล่านั้นได้ยึดเอานักปราชญ์ (พวกยิว) และพวกนักบวช(พวกคริสต์)ของพวกเขา (เคารพยย่องเหมือน) เป็นพระเจ้านอกเหนือจากอัลลอฮฺ” (อัตเตาบะฮฺ 31)

ในวันที่อิสลามมาปรากฎ หลักความเชื่อของเหลาญาฮิลียะฮฺได้แผ่กระจายไปทั่วเมือง มีการร้องขอความช่วยเหลือต่อพระเจ้าต่างๆ อย่างหลากหลาย โดยทีมีความเชื่อว่า พระเจ้าเหลานี้เป็นพระเจ้าองค์เล็กองค์น้อยทีอยู่เคียงข้างพระเจ้าองค์ใหญ่ตามที่พวกเขาเข้าใจ

ต่อ...
อำนาจการบริหารหรือกาอภิบาลที่เด็ดขาดและทั่วถึงครอบคลุมสากลโลกทั้งหมดที่ถูกล่าวไว้ในสูเราะฮฺนี้ นับได้ว่าเป็นการแยกแยะระหว่างการมีระบบกับความยุ่งเหยิงปั่นปวนใร้ระบบในหลักความเชื่อ ให้เห็นกันอย่างชัด ๆ เพื่อชี้นำโลกทั้งหลายทั้งปวงไปสู่ผู้อภิบาลองค์เดียว ยอมรับในอำนาจการอภิบาลอันเด็ดขาดของพระองค์ เป็นการทำลายระบบหัวหน้าเผ่า และพระเจ้าองค์เล็กองค์น้อยที่เคยมีอยู่ให้สิ้นซาก มิให้เข้ามายงเกี่ยวอีกต่อไป เป็นการผินหลังให้พระเจ้าองค์เล็กองค์น้อยทุกรูปแบบ อันจะทำให้จิตใจของโลกทั้งหลายทั้งปวงมีความสงบมั่นภายใต้การปกครองของอัลลอฮฺ ภายใต้การรอภิบาลของพระองค์อย่างยังยืนตลอดไป การปกป้องของพระองค์จะไม่มีวันขาดตอนหรือขาดหายใปจากพวกเขาเด้ดขาด ไม่เหมือนจินตนาการของนักปรัชญาบางคนอยางอริสโตเติลทีกลาวว่า “พระเจ้าใด้สร้างใลกนี้ขึ้น จากนั้นก็ไม่ได้ใสใจต่อมันอีกเลย เพราะพระเจ้าจะตัองคอยคิดในสิ่งอื่นอีกต่อไป นั่นคือพระเจ้าจะไม่มี เวลาสำหรับขบคิดในสิ่งอืนใด้อีกแล้ว นอกจากเกี่ยวกับตัวของพระองค์เอง” นั่นคือคำพูดของอิรสโตเติล ผู้ทีถูกเรียกว่าเป็นนักปรัชญาผู้ยิ่งใหญ่ ผู้มีปัญญาอันเฉียบคม

อิสลามได้เข้ามาในขณะที่โลกเต็มไปด้วยหลักความเชื่อที่หลากหลายเป็นกองพะเนิน มีหลากหลายจินตนาการ ไหนจะเป็นเรื่องเล่า ไหนจะเป็นปรัชญา ไหนจะเป็นแนวคิด ไหนจะเป็นนิยายปรัมปราไร้สาระ สิ่งเหลานี้ถูกเก็บเข้ามาผสมผสานกับหลักความเชื่อของผู้คนทั้งสิ้น สัจธรรมถูกคลุกเคล้าไปกับโมฆะธรรมจนแยกไม่ออก ความถูกต้องถูกเบียดบังจนมองไม่เห็น ศาสนาถูกทำให้สับสนปะปนไปกับเรื่องไร้สาระ ปะปนไปกับปรัชญาหรือนิยายปรัมปรา จนจิตใจของผู้คนถูกทับถมด้วยการกองทับของสิ่งเหล่านี้ จึงทำให้ตกอยู่ในความมืดและความสงสัยคลางแคลงไม่ชัดเจน ความหลงผิดที่ไมมีความมันใจ ไม่มีรัศมีแห่งทางนำให้เห็น สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่เป็นปัจจัยในการตีความ เเละการทำความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับพ ระเจ้า ทำความเข้าใจคุณลักษณะ และความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้ากับสรรพสิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสัมพันธ์ระหวางอัลลอฮฺกับมนุษยชาติ

ตราบใดที่สถานการณ์ในรูปแบบนี้ยังคงอยู่ จะไม่มีใครสามารถทำให้จิตใจของมนุษย์มั่นคงต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในจักรวาลได้ ไม่สามารถทำให้เกิดความสงบมั่นในเรื่องเกี่ยวกับตัวเองและการเป็นอยู่ของตัวเองได้ หากยังไม่สามารถทำให้พวกเขาเกิดความเชื่อมั่นในเรื่องเกี่ยวกับหลักความเชื่อ เกิดความเชื่อมั่นในเรื่องเกี่ยวกับพระเจ้า และคุณลักษณะของพระองค์ จิตใจของมนุษย์จะสงบมั่นได้ก็ต่อเมื่อความเชื่อมั่นที่ชัดเจน เที่ยงตรงถูกต้องได้เกิดขึ้นในจิตใจของพวกเขาแล้วเท่านั้น เพราะพวกเขาตกอยูในท่ามกลางการทับถมของความหลงผิดที่หนักหน่วงนั่นเอง

ผู้คนจะยังมองไม่เห็นความจำเป็นว่าความสงบมั่นนนั้นเกิดขี้นจากหลักความเชื่ออันนี้ได้อย่างไร จนกว่าจะมองเห็นรูปแบบหลักความเชื่อต่าง ๆทีกองพะเนินทับถมกัน จนกว่าพวกเขาจะมองนห็นความไม่ถูกต้องของหลักความเชื่อ จนกว่าจะสามารถแยกได้ว่านั่นคือจินตนาการที่เกิดจาก ความหลงผิด นั่นคือนิยายปรัมปรา นั่นคือปรัชญาและการคาดคะเนรวมถึงแนวคิดต่างๆที่มีอยู่อย่างไร้หลักการ

เมื่ออิสลามมาปรากฏก็พบว่าสิงเหลานี้ล้วนแล้วแต่จะสร้างความโสโครกให้กับจิตใจของมนุษย์ทั้งสิ้น ซึ่งส่วนหนึ่งเราได้ชี้ให้เห็นมาเเล้ว ( และจะมีการนำเสนอต่อไปในอีกหลาย ๆสูเราะฮฺ เพื่อชี้ให้เห็นสภาพปัญหาและการแก้ปัญหาทีถูกต้องครบถ้วนของอัลกุรอานในเรื่องดังกล่าวต่อไป )

ด้วยเหตุนี้เองอิลลาม จึงมุ่งที่จะปลดปล่อยในเรื่องเกี่ยวกับหลักความเชื่อเป็นอันดับแรก มีการกำหนดยุทธวิธีทที่จะทำใหจิตใจสงบมั่นในเรื่องเกียวกับการศรัทธาต่ออัลลอฮ และคุณลักษณะของพระองค์ ความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างอัลลอฮกับสิ่งทีถูกสร้าง และสิงถูกสร้างกับอัลลอฮ เพื่อสร้างความเข้าใจที่เด็ดขาด

มั่นคงให้เกิดขึ้นก่อนเป็นอันดับแรก และสร้างความศรัทธาในเอกภาพของอัลลอฮฺที่มั่นคงบริสทธิ ถูกต้องสมบูรณ์ไม่ลักลั่น และนั่นคือหลักการที่อิสลามนำมายังมนุษย์ หลักการที่จะทำให้จิตใจของมนุษย์บริสุทธิอันเป็นผลที่ตามมาของการศรัทธาในเอกภาพแห่งอัลลอฮฺ ซึ่งจะทำให้สามารถปลดปล่อยจิตใจออกจากความมืดมัว จะทำให้จิตใจมีเสถียรภาพมั่นคง ไม่เปิดช่องว่างให้เกิดภาพลวงตาใดๆ สอดแทรกเข้ามาอีกอิสลามได้นำมาซึ่งคำที่เป็นตัวแยกแยะไว้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องเกี่ยวกับคุณลักษณะของอัลลอฮฺและเรื่องเกี่ยวกับอำนาจการอภิบาลที่เด็ดขาด ความหลงผิดส่วนใหญที่เกิดจากความงมงายของเหล่าปรัชญา หรือหลักความเชื่อที่มาจากการคาดคะเนและนิยายปรัมปราล้วนแล้วนแต่เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกันเรื่องทีสาคัญ ๆ ทั้งหมด และเป็นเรื่องทีนับได้ว่ามีอิทธิพลต่อจิตใจมนุษย์แทบทั้งสิ้น



_________________________
مكتبة أهل الحديث والاثار
ห้องสมุด อะฮลุ้ลหะดีษ วัลอาษาร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
ห้องสมุด อะฮลุ้ลหะดีษ
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: Jan 31, 2011
ตอบ: 86
ที่อยู่: ห้องสมุด อะฮลิ้ลหะดีษ วัลอาษาร์ เชียงใหม่

ตอบตอบ: Tue Feb 08, 2011 1:29 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

“الرحمن الرحيم”

(ผู้ทรงยิ่งในความเมตตาผู้ทรงยิ่งในความกรุณา)
อายะฮ์นี้กล่าวถึง ลักษณะความเมตตาในทกรูปเเบบและทกด้านของความเมตตา คุณลักษณะนี้ถูกกล่าวถึงอีกครั้งในใจกลางของสูเราะฮฺ โดยถูกยกมากล่าวไว้ในอายะฮฺที่แยกไว้เฉพาะ นั่นก็เพื่อย้ำลักษณะอันชัดเจนของการอภิบาลที่ทั่วถึงเพื่อให้ความสัมพันธ์ระหว่างผู้อภิบาลกับผู้ถูกอภิบาล ผู้ทรงสร้างกับสิ่งถูกสร้างให้เกิดความมั่นคง และชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อยืนยันว่าความสัมพันธ็ระหวางผู้อภิบาลกับผู้ถูกอภิบาลนั้นเป็นความสัมพันธ์ที่มีความรักความเมตตา เป็นความเมตตาทีสามารถทำให้ผู้ที่ได้รับถึงขนาดต้องกล่าวสรรเสริญออกมาด้วยความกตัญญู เป็นความผูกพันที่

เกิดขึ้นในหัวใจทีสงนมัน จนทาให้เกิตความรักความผูกพันขึ้นในจิตใจผู้ศรัทธา การกล่าวสรรเสริญผู้ทรงสร้างที่กล่าวออกมาเป็นการตอบรับในเมตตาธิคุณของผู้ทรงสร้างด้วยความรู้สึกที่เป็นธรรมชาติอย่างแท้จริง


_________________________
مكتبة أهل الحديث والاثار
ห้องสมุด อะฮลุ้ลหะดีษ วัลอาษาร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
ห้องสมุด อะฮลุ้ลหะดีษ
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: Jan 31, 2011
ตอบ: 86
ที่อยู่: ห้องสมุด อะฮลิ้ลหะดีษ วัลอาษาร์ เชียงใหม่

ตอบตอบ: Tue Feb 08, 2011 1:31 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

مَالِكِ يَوْمِ الدِّينِ

“ผู้ทรงอำนาจในวันแห่งการตอบแทน”

ความหมายของอายะฮฺนี้แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจที่ยิ่งใหญ่ลึกซึ้งและมีผลต่อชีวิตการเป็นอยู่ของผู้คนทั้งหมด เป็นหลักความเชื่อเกี่ยวกับวันกิยามะฮฺ ผู้ทรงอำนาจ(องค์ราชา)นับได้ว่าเป็นผู้ที่ดำรงตำแหน่งสูงสุดในการปกครอง วันกิยามะฮฺ(คือวันสุดท้าย วันแห่งการตอบแทน) มีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่มีความเชื่อในความเป็นพระเจ้า ความเป็นผู้ทรงสร้าง แต่พวกเขากลับไม่เชื่อในวันเเห่งการตอบแทน อัลกุรอานได้เล่าเรื่องราวของพวกเขาไว้ว่า


وَلَئِن سَأَلْتَهُم مَّنْ خَلَقَ السَّمَاوَاتِ وَالأَرْضَ وَسَخَّرَ الشَّمْسَ وَالْقَمَرَ لَيَقُولُنَّ اللَّهُ

“ขอยีนยัน หากแม้นเจ้าถามพวกเขาว่า ใครกันทีบันดาลฟากฟ้าและแผ่นดิน และที่ได้อำนวยประโยชน์ดวงตะวันและดวงเดีอน(แก่พวกเขา) แน่นอนพวกเขาก็จะตอบว่า อัลลอฮ(อัลอังกะบูต 61)

ในอีกอายะฮฺหนึ่งอัลลอฮฺได้ทรงกล่าวถึงพวกเขาไว้ว่า


بَلْ عَجِبُوا أَن جَاءهُمْ مُنذِرٌ مِّنْهُمْ فَقَالَ الْكَافِرُونَ هَذَا شَيْءٌ عَجِيبٌ

أَئِذَا مِتْنَا وَكُنَّا تُرَاباً ذَلِكَ رَجْعٌ بَعِيدٌ
“ทว่า พวกเขามีความฉงน ในการที่มีศาสดาผู้มาตักเตือนจากเชื้อชาติของพวกเขาเอง(ได้ถูกแต่งตั้งให้) มาเผยแพร่ต่อพวกเขา และบรรดาจำพวกไร้ศรัทธาก็พูดว่า “นี่เป็นสิ่งที่นาฉงนยิ่งนัก” (พวกเราจะกลับฟื้นขึ้นมาอีกกระนั้น)หรือ เมื่อเราได้ตายและกลายเป็นดินไปแล้ว นั้นเป็นการกลับอันหางไกลยิ่งนัก (ที่จะเป็นไปได้) (กอฟ 2- 3)

ความเชื่อเกี่ยวกับวันกิยามะฮฺเป็นแขนงหนึ่งของหลักความเชื่อมั่นทั้งหมดของอิสลาม เป็นหลักความเชื่อที่สร้างความผูกพักระหว่างจิตใจของมนุษย์กับโลกหน้าที่จะเกิดขึ้นหลังจากโลกนี้ เพื่อมิให้ความจำเป็นของโลกนี้มาบีบคั้นรังแกพวกเขาจนต้องตกอยู่ภายใต้ปัจจัยทางโลก อย่าให้ความลักลั่นมาเป็นตัวทำลายการพิสูจน์หาความจริงเกี่ยวกับการตอบแทนความเพียรพยายามของพวกเขาในช่วงชีวิตสั้นๆ ที่เคยอยู่บนโลกนี้ แต่พวกเขาควรจะเพียรพยายามสร้างสมกิจกรรมต่าง ๆ เพื่ออัลลอฮเพื่อรอคอยการตอบแทนจากพระองค์ ดังที่พระองค์ทรงกำหนดไว้ ซึ่งการตอบแทนจากอัลลอฮฺอาจจะเป็นในโลกนี้หรือโลกหน้าก็ได้ พวกเขาควรมีความมั่นใจต่ออัลลอฮฺเชื่อในคุณความดี เชื่อในสัจธรรม มีความเชื่อที่แน่วแน่ ความเชื่อดังกล่าวก็จะเป็นทางแยกระหว่างเจตนาร้ายกับปรารถนาดีให้เห็นอย่างชัดเจน เป็นตัวแยกระหวางอิสรภาพที่เหมาะสมกับความเป็นมนุษย์ แยกระหว่างการก้หัวให้กับจินตนาการทางโลกและความเป็นพระเจ้าตามความเชื่อของเหล่าญาฮิลียะฮฺ เป็นทางแยกระหว่างแก่นเเท้ของความเป็นมนุษย์ทีสูงส่งตามที่อัลลอฮฺทรงให้เกิดขึ้นกับบ่าวของพระองค์กับภาพความบิดเบือนหรือสิ่งไร้สาระต่างๆ


มนุษย์ไม่อาจยืนอยู่บนแนวทางแห่งอัลลอฮฺที่ถูกต้องเที่ยงตรงได้ หากยังไม่ประสบความสำเร็จในการปลูกฝังความเชื่อในเรื่องนี้ได้ มนุษย์จะยังไม่สามารกยืนอยู่บนแนวทางแห่งอัลลอฮฺได้หากพวกเขายังไม่มีความมั่นใจว่าการตอบแทนที่พวกเขาได้รับในโลกนี้แทจริงแล้วไม่ใช่ส่วนที่พวกเขาจะได้รับในโลกหน้า หากพวกเขายังไม่เชื่อว่าทุกคนมีชวงอายุที่จำกัดและสั้นมาก และยังจะต้องมีชีวิตอีกโลกหนึ่งคือโลกหน้า เป็นโลกที่จำเป็นต้องเพิยรพยายามไปยังทีนั้น ต้องทำให้สัจธรรมและคุณธรรมปรากฎ ต้องนำสิ่งนี้มาทดแทนสิ่งทีกำลังเป็นอยู่ให้ได้

ในวันอาคิเราะฮฺผู้ศรัทธาจะต้องแตกต่างจากบรรดาผู้ไร้ศรัทธา แตกต่างทั้งความรู้สึก จิรยธรรม และพฤติกรรม ความศรัทธากับการใร้ความศรัทธาจะต้อง แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง คุณลักษณะของคนทั้งสองประเภทแตกต่าง กัน ไม่มีโอกาศพบกันเด็ดขาดในวันอาคิเร าะฮฺ และนี่คือทางแยกที่ชัดเจนอีกประการหนึ่ง


_________________________
مكتبة أهل الحديث والاثار
ห้องสมุด อะฮลุ้ลหะดีษ วัลอาษาร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
ห้องสมุด อะฮลุ้ลหะดีษ
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: Jan 31, 2011
ตอบ: 86
ที่อยู่: ห้องสมุด อะฮลิ้ลหะดีษ วัลอาษาร์ เชียงใหม่

ตอบตอบ: Tue Feb 08, 2011 1:33 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

إِيَّاكَ نَعْبُدُ وإِيَّاكَ نَسْتَعِينُ

“เฉพาะพระองค์เท่านั้นที่เราขอนมัสการและเฉพาะพระองค์เท่านั้นที่เราขอความช่วยเหลือ”

อีกส่วนหนึ่งของหลักความเชื่อที่มีปรากฎอยู่สูเราะฮฺนี้ ไมมีการนมัสการพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัสลอฮฺ ไม่มีการขอความช่วยเหลือต่อผู้ใดนอกจากอัลลอฮฺ เป็นตัวแยกการนมัสการ ออกจากการนมัสการต่อมนุษย์ ด้วยกัน เป็นการประกาศเสรีภาพของความเป็นมนุษย์ให้ปรากฏ เป็นการปลดปล่อยนนุษย์ออกจากการนมัสการทีไม่ชัดเจน การบูชาระบบและการบูชาตำแหน่ง อัลลอฮฺเทานั้นทีจะได้รับการนมัสการ อัลลอฮเท่านั้นที่เป็นที่ขอความช่วยเหลือ เป็นการปลดปล่อยมนุษย์จากการยอมจำนนต่อระบบตำแห่งและบุคคล เป็นการปลดปล่อยมนุษย์ออกจากการยอมจำนนต่อนิทานปรัมปราเรื่องใร้สาระและความไม่ชัดเจนต่าง ๆ ทุกรูปแบบ ณ จุดนี้เป็นการแสดงให้เห็นจุดยืนของมุสลิมต่อพลังความเป็นมนุษย์และพลังแห่งธรรมชาติอย่างชัดเจน

ในส่วนของพลังแห่งความเป็นมนุษย์(เมื่อเทียบกับมุสลิม)แบ่งเป็นสองประเภทคือ พลังที่เป็นทางนำ คือการศรัทธาต่ออัลลอฮฺและการตามแบบฉบับแห่งพระองค์ เรื่องนี้เป็นส่วนที่จำเป็นต้องให้การสนับสนุช่วยเหลือด้วยคุณธรรม สัจธรรมและความดี พลังที่หลงผิด คือความไม่ใส่ใจที่จะศรัทธาต่ออัลลอฮ ไม่คิดที่จะตามแนวทางแห่งพระอฉค์ พลังอันนี้จำเป็นต้องต่อต้านและเปลี่ยนแนวคิดเพื่ออย่าให้เกิดขื้น อย่าปล่อยให้พลังแห่งความหลงผิดเหล่านี้เป็นเรืองใหญ่สำหรับมุสลิม โดยทำให้หลงจากที่มาของมัน นั่นคือพลังของอัลลอฮฺ อันได้ แก่พลังที่แท้จริงอย่าให้พลังส่วนนี้ขาดหายไปๆ อย่าให้โภชนาการทีเป็นตัวส่งเสริมปกป้องพลังต้องขาดหายไป เหมือนเทหวัตถุที่แยกออกจากดาวฤกษ์ ซึ่งจะดับและเย็นลงในที่สุด แสงที่เคยส่องสวางก็จะมอดดับไปในที่สุด เเม้ว่าน่าจะรวมเป็นกลุ่มก้อนกันได้ใหญ่โตขนาดไหนก็ตาม ก็จะไม่เท่ากับส่วนเล็กๆ ที่ยังคงอยู่กับแหล่งกำเนิดเดิมที่ยังลุกโชติช่วงและทรงพลัง ด้วยความร้อนและแสงสว่าง อัลลอฮทรงตรัสไว้ในอัลกุรอานว่า


كَم مِّن فِئَةٍ قَلِيلَةٍ غَلَبَتْ فِئَةً كَثِيرَةً بِإِذْنِ اللهِ

“มีตั้งเท่าไหรแล้วกลุ่มชนที่มีเพียงเล็กน้อยสามารถพิชิตกลุ่มชนที่มากกว่าโดยอนุมัติของอัลลอฮฺ” (บะเกาะเราะฮฺ 249)

พลังทีสามารถพิชิตศัตรูได้นั้นเกิดขึ้นเพราะวายังมีการเชื่อมโยงอยู่กับที่มาแห่งพลัง โดยนำพลังจากแหล่งกำเนิดอันหนึ่ง เดียวออกมาใช้ซึ่งแหล่งดังกล่าว หมายถึงอัลลอฮ เป็นแหล่งพลังอันทรงเกียรติและยิ่งใหญ่กว่าพลังใดๆ ทั้งหมด

สำหรับจุดยืนของมุสลิมต่อพลังทางธรรมชาติ มุสลิมจะต้องทำความเข้าใจค้นหาความจริง ไม่ใช่ยืนอยู่ด้วยความกลัวหรือการต่อต้าน เพราะพลังของมนุษย์และพลังทางธรรมชาติล้วนแล้วแต่มาจากแหล่งเดียวกันคือมาจากพระประสงค์ของอัลลอฮฺ พลังทั้งสองมาจากพระประสงค์ของพระองค์ การขับเคลื่อนของพลังทั้งสองจึง

สอดคล้องกันและเดินไปด้วยกันโดยไม่มีความขัดแย้งแต่อย่างใด

หลักความเชื่อของมุสลิมเป็นหลักความเชื่อที่ปลูกฝังให้เข้าใจว่า อัลลอฮผู้อภิบาลคือผู้ทรงบันดาลพลังต่างๆ ที่มีอยู่ในโลกนี้ทั้งหมด ทรงบันดาลมาเพื่อให้เป็นผู้ช่วยหรือผู้สนับสนุนมนุษย์ในการสร้างสรรค์และพัฒนาผืนแผ่นดิน สำหรับแนวทางที่จะนำไปสู่การทำความเข้าใจหรือค้นหาความจริงคือการศึกษาค้นคว้าพินิจพิจารณาเพื่อที่จะดึงพลังเหล่านี้เข้ามามีส่วนร่วมในการมุ่งสู่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาล แม้บางครั้งพลังทางธรรมชาติจะสร้างความเดือดร้อนหรือให้ร้ายกับมนษย์บ้าง แต่นั่นเป็นเพราะว่ามนุษย์ยังไม่ได้ทำความเข้าใจธรรมชาติให้ถ่องแท้ ไม่ได้ทำความรู้จักพลังเหล่านี้ให้ชัดเจน ไม่ได้รับการชี้นำให้รู้จักธรรมชาติของกฎต่างๆ ที่พลังเหล่านี้ดำเนินอยู่จึง เกิดความผิดพลาดจนบางครั้งมนุษย์ต้องได้รับความเดือดร้อนจากพลังเหลานี้บ้างในบางครั้ง

ชาวตะวันตก(ทายาททางความคิดของญาฮิลียะฮฺโรมัน)พยายามตีความและนำพลังทางธรรมชาติมาใช้โดยใช้คำว่า “เอาชนะธรรมชาติ” คำๆนี้เป็นการแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าเป็นการมอง แบบญาฮิลียะฮฺซึ่งตัดขาดจากอัลลอฮฺ ไม่มีจิตวิญญาณการยอมรับอัลลอฮฺอยู่เลย แม้แต่น้อย แต่สาหรับมุสลิม แล้วจะพบว่าจิตใจของพวกเขาผูกพันอยู่กับอัลลอฮฺผู้อภิบาลผู้ทรงยิ่งในความเมตตาผู้ทรงยิ่งในความกรุณา มีการผสานจิตวิญญาณของตนเองกับจิตวิญญาณของสรรพสิ่งในการที่จะสรรเสริญ ผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลกตลอดเวลา และผู้ศรัทธายัง เชื่อมั่นอีกว่าความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติยังมีอีกหลายรูปแบบไม่ใช่เพียงการเอาชนะธรรมขาติเท่านั้น โดยที่พวกเขาเองเชื่อมั่นว่าอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงสร้างสรรค์พลังเหล่านี้ทั้งหมด พระองค์ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหมดมาด้วยกฎอันเดียวกัน นั่นก็เพื่อให้สรรพสิ่งเหล่านี้ผสานงานซึ่งกันและกันในการที่จะนำไปสูเป้าหมายสูงสุดของกฎ พลังเหล่านี้ถูกสร้างมาเพืออานวยความสะดวกให้กับมนษญ์ ใดยมนุษย็ เองจะต้องเสริมโดยการทำความเข้าใจ ศึกษาพินิจพิจารณาค้นหาความจริงของกฎต่างๆ เหล่านี้และที่สำคัญที่สุดมนุษย์จะต้องกตัญญูต่ออัลลอฮผู้ทีทรงสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านี้มาให้ เพราะพระองค์คือผู้ที่ทรงสร้างพลังต่างๆ มาเพื่อเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับมนุษย์ ไม่ใช่สร้างมาเพื่อให้มนุษย์เอาชนะพระองค์ทรงตรัสไว้ในอัลกุรอานว่า


وَسَخَّرَ لَكُم مَّا فِي السَّمَاوَاتِ وَمَا فِي الْأَرْضِ جَمِيعاً


“และทรงอำนวยสิ่งในฟากฟ้าและสิ่งในแผนดินทั้งลิ้นให้ยังประโยซน์แก่พวกเจ้าจากพระองค์” อัลญาซียะฮฺ 3)

ฉะนั้นพลังทางธรรมชาติจึงไม่ใช่เรื่อองน่ากลัว การเผชิญหน้าระหว่างมนุษย์กับพลังทางธรรมชาติจึงใม่ใช่ด้วยความกลัวอีกต่อไปสำหรับผู้ศรัทธาพวกเขาศรัทธาต่ออัลลอฮฺแต่เพียงพระองค์เดียว นมัสการและขอความช่วยเหลือต่ออัลลอฮแต่เพียงพระองค์เดียว พลังดังกล่าวล้วนแล้วแต่เกิดจากการสรรค์สร้างของผู้อภิบาลทั้งสิ้น ผู้ศรัทธาต้องสร้างความคุ้นเคยทำความเข้าใจความเร้นลับต่าง ๆ ของสิ่งเหล่านี้ และนำพลังเหล่านี้มาเป็นสิ่งอำนวยความสะดวก โดยศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับความเร้นลับของพลังเหล่านี้ให้ประจักษ์ เพื่อชีวิตร่วมอยู่กับสิ่งเหล่านี้ด้วยความเป็นมิตรภายใต้กฎเดียวกัน ท่านเราะซูลุลลอฮฺได้กล่าวไว้ในหะดีษของท่านบทหนึ่งเมื่อครั้งท่านได้หันไปมองเทือกเขาอุฮุดว่า “ภูเขาลูกนี้มัน(มีความ)ผูกพันกับพวกเรา และเราก็(มีความ) ผูกพันกับมันด้วย” เพียงถ้อยคำกาไม่กีคำทีกล่าวมา ประกอบด้วยความรู้สึกที่มีอยู่ในจิตใจของมุสลิม เป็นการแสดงออกถึงความรักความผูกพันระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติอันใหญโตมหึมาออกมาให้เห็นอยางชัดเจน

_________________________
مكتبة أهل الحديث والاثار
ห้องสมุด อะฮลุ้ลหะดีษ วัลอาษาร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
ห้องสมุด อะฮลุ้ลหะดีษ
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: Jan 31, 2011
ตอบ: 86
ที่อยู่: ห้องสมุด อะฮลิ้ลหะดีษ วัลอาษาร์ เชียงใหม่

ตอบตอบ: Tue Feb 08, 2011 1:35 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

اهدِنَا الصِّرَاطَ المُستَقِيمَ صِرَاطَ الَّذِينَ أَنعَمتَ عَلَيهِمْ غَيرِ المَغضُوبِ عَلَيهِمْ وَلاَ الضَّالِّينَ

“โปรดชี้นำเราสู่แนวทางอันเที่ยงตรงเถิดแนวทางของบรรดาผู้ทีพพระองคทรงโปรดปราณแก่พวกเขา มิใช่แนวทางของพวกที่ถูกกริ้ว และมิใช่ (แนวทางของ) พวกที่หลงผิด”

“โปรดชี้นำเราสู่แนวทางอันเที่ยงตรงเถิด” สิ่งที่เราต้องการทำความเข้าใจคือคำวา صِّرَاطَ المُستَقِيمَ “แนวทางทีเทียงตรงแน่วแน่” เพื่อที่จะทำความเข้าใจ และเมื่อเข้าใจจนเป็นที่ประจักษ์แล้วเราก็จะยึดมั่นอยู่กับแนวทางนี้ตลอดไป การได้รับความเข้าใจและมีโอกาสได้ยึดมันในแนวทางนั้น นับได้ว่าเป็นความเมตตาจากอัลลอฮฺ อีกประการหนึ่งเพราะมันเป็นผลจากการไดรับการชี้นำและการปกป้องของพระองค์การทีผู้ศรัทธาได้มีโอกาสมุ่งสู่แนวทางนี้ คือผลจากความเชื่อมั่นว่าพระองค์เท่านั้นคือผู้นำจะให้ความช่วยเหลือ ซึ่งหลักความเชื่อดังกล่าวจึงนับได้ว่า เป็นสิ่งสำคัญและยิ่งใหญ่ที่สุด เป็นสิ่งแรกทีมุสลิมทุกคนวอนขอต่อองค์อภิบาลของพวกเขา การได้รับทางนำไปสู่แนวทางที่เที่ยงตรง คือสิ่งทีจะประกันความผาสุกทั้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยข้อเทจจริงแล้วมันคือทางนำที่จะนำมนุษย์ไปสู่การปฏิบัติตามกฎของอัลลอฮ กฎที่เข้ากันได้ระหว่างการเคลื่อนไหวของมนุษย์กับการเคลื่อนไหวของสรรพสิ่งทั้งหมด ในการมุ่งสู่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลใลก

ในอายะฮฺได้เปิดเผยถึงธรรมชาติหรือลักษณะของแนวทางอันเที่ยงตรงไว้ว่า แนวทางของบรรดาผู้ที่พระองค์ได้ทรงโประดปรานแก่พวกเขา มิใช่แนวทางของพวกที่พระองคทรงพิโรธ และมิใช่(แนวทางของ)พวกที่หลงผิด มันหมายถึงแนวทางที่จะได้รับความเมตตาจากพระองค์ ไม่ใช่แนวทางที่พระองคทรงกริ้วโกรธ เพราะรับรู้ในสัจธรรมแล้วกลับหันเหบิดเบือนออกจากมันโดยไม่ใส่ใจ ไม่ใช่แนวทางของถู้ทีหลงผิดจากสัจธรรมหมาญถึงมิได้รับทางนำมาแต่ต้น แต่มันเป็นแนวทางของผู้ประเสริฐผู้ที่ได้รับทางนำจากพระองค์อยู่อย่างแท้จริง

และนี้คือสูเราะฮฺที่ได้รับเลือกให้อ่านซ้ำแล้วซ้ำเล่า ครั้งแล้วครั้งเล่าในทุกครั้งทีทำการละหมาด โดยที่การละหมาดจะไม่สมบูรณได้หากปราศจากการอ่านสูเราะฮฺนี้ ทั้งๆที่เป็นสูเราะฮฺสั้นๆ แต่ก์ประกอบด้วยคำที่เป็นพื้นฐานหลักๆ ของความเข้าใจอิสลาม ซึ่งจะเป็นตัวชี้ให้เห็นถึงความรู้สึกถึงความเข้าใจในอิสลามของบุคลได้อย่างชัดเจน

มีหะดีษหนึ่งปรากฏอยู่ในเศาะหีหฺอัลบุคอรียฺ เป็นหะดีษของ อุลาอฺ อิบนุ อับดุรฺเราะฮฺมาน เมาลา อัล ฮัรฺกอฮฺ รายงานจากบิดาของเขาว่า : มีรายงานจากอะบูฮุร็อยเราะฮฺ(รอฎิยัลลอฮุอันฮุ – ขอโปรดปรานจากอัลลอฮฺจงมีแด่ท่าน) จากเราะสูลุลลอฮฺ(ศ็อลฯ) ว่า ท่านได้กล่าวว่า “อัลลอฮทรงตรัสไว้ว่า ข้าได้แบ่งบทอัลฟาตีหะฮฺ(ออกเป็น)สองส่วน ส่วนหนึ่งสำหรับข้า อีกส่วนหนึ่งสำหรับบาวของข้า สำหรับบ่าวของข้าเขาจะได้รับในสิ่งที่เขาวอนขอ เมื่อบ่าวของข้ากล่าวว่า “การสรรเสริญทั้งมวลเป็นสิทธิของอัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก” ข้าก็จะกล่าวว่า “บ่าวของข้าได้กล่าวสรรเสริญข้า” เมื่อพวกเขากล่าวว่า “ ผู้ทรงยิ่งในความเมตตา ผู้ทรงยิ่งในความกรุณา” อัลลอฮก็จะกล่าวว่า “บาวของข้าได้กล่าวสดุดียกย่องข้า” เมื่อพวกเขากล่าวว่า “ผู้ทรงอำนาจในวันตอบแทน” อัล์ลอฮก็จะตรัสว่า “บ่าวของข้าสรรญเสรีญเทิดทูนข้า” และเมื่อพวกเขากล่าวว่า “เฉพาะพระองค์เท่านั้นที่เราขอนมัสการ และเฉพาะพระองคเท่านั้นที่เราขอความช่วยเหลือ” พระองค์จะตรัสว่า “นั้นเป็นเรื่องระหว่างข้ากับบ่าวของข้าและบ่าวของข้าจะได้รับในสิ่งที่เขาวอนขอ” และเมื่อพวกเขากล่าวว่า “โปรดชี้นำทางพวกเราสู่แนวทางอันเที่ยงตรงเถิต แนวทางของบรรดาผู้ที่พระองค์ได้ทรงโปรดปรานแก่พวกเข า มิใช่แนวทางของพวกที่พระองค์ทรงพิโรธ และมิใช่(แนวทางของ )พวกที่หลงผิด” พระองค์ก็จะตรัสตอบว่า “สำหรับข่าวของข้าพวกเขาจะได้รับในสิ่งที่พวกเขาวอนขอ”


_________________________
مكتبة أهل الحديث والاثار
ห้องสมุด อะฮลุ้ลหะดีษ วัลอาษาร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
ห้องสมุด อะฮลุ้ลหะดีษ
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: Jan 31, 2011
ตอบ: 86
ที่อยู่: ห้องสมุด อะฮลิ้ลหะดีษ วัลอาษาร์ เชียงใหม่

ตอบตอบ: Tue Feb 08, 2011 1:41 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

بِسْمِ اللهِ الرَّحْمنِ الرَّحِيمِ

ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ ผู้ทรงเมตตา ผู้ทรงปรานี

الْحَمْد للّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ

มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮ์ ผู้ทรงอภิบาลโลกทั้งหลาย

الرَّحْمـنِ الرَّحِيمِ

ผู้ทรงยิ่งในความเมตตา ผู้ทรงยิ่งในความกรุณา

مَالِكِ يَوْمِ الدِّينِ

ผู้ทรงสิทธิอำนาจในวันตอบแทน

إِيَّاكَ نَعْبد وإِيَّاكَ نَسْتَعِين

เฉพาะพระองค์เท่านั้นที่เราขอนมัสการ และเฉพาะพระองค์เท่านั้นที่เราขอความช่วยเหลือ

اهدِنَــــاالصِّرَاطَ المستَقِيمَ

โปรดชี้นำเราสู่แนวทางอันเที่ยงตรงด้วยเถิด

صِرَاطَ الَّذِينَ أَنعَمتَعَلَيهِمْ غَيرِ المَغضوبِ عَلَيهِمْوَلاَ الضَّالِّينَ

แนวทางของบรรดาผู้ที่พระองค์ ได้ทรงโปรดปรานแก่พวกเขา มิใช่แนวทางของพวกที่ถูกกริ้ว และมิใช่


_________________________
مكتبة أهل الحديث والاثار
ห้องสมุด อะฮลุ้ลหะดีษ วัลอาษาร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Tue Feb 08, 2011 2:24 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อัลหัมดุลิลละฮ
Idea

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kolis_mala
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/12/2010
ตอบ: 295


ตอบตอบ: Tue Feb 08, 2011 3:07 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

Exclamation

บัง asan ผู้ดูแลกระดานเสวนานี้
ผม kolis_mala ขออนุญาติ นำการ อธิบาย ซูเราะห์ อัลฟาติฮะห์นี้ ไปเผยแพร่ต่อได้ไหมคับ
เพื่อให้ ผู้ไม่ ทราบ ถึงความหมาย โดย ละเอียด จะได้ เขาใจมากยิ่งขึ้น

ได้หรือไม่ คับ บัง

Idea
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Tue Feb 08, 2011 9:52 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

kolis_mala บันทึก:
Exclamation

บัง asan ผู้ดูแลกระดานเสวนานี้
ผม kolis_mala ขออนุญาติ นำการ อธิบาย ซูเราะห์ อัลฟาติฮะห์นี้ ไปเผยแพร่ต่อได้ไหมคับ
เพื่อให้ ผู้ไม่ ทราบ ถึงความหมาย โดย ละเอียด จะได้ เขาใจมากยิ่งขึ้น

ได้หรือไม่ คับ บัง

Idea


الحمدلله
ดีมากเลย ได้ซิครับ
Idea

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักปฏิบัติ ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


Powered by phpBB ฉ 2001, 2002 phpBB Group







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.23 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ