ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
อนุรักษ์มรดกอิสลาม :: ดูกระทู้ - ไม่พร้อมกัน
อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก อนุรักษ์มรดกอิสลาม  
  เพื่อการอนุรักษ์มรดกอิสลาม      คำถามถามบ่อยของกระดานข่าว      ค้นหา      รายนามสมาชิก  
  · เข้าระบบ ข้อมูลส่วนตัว · เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ · กลุ่มผู้ใช้งาน  
ไม่พร้อมกัน
ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   กระทู้นี้ถูกปิดคุณไม่สามารถแก้ไขคำตอบหรือตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> ประวัติศาสตร์อิสลาม
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
loveyou
มือใหม่
มือใหม่


เข้าร่วมเมื่อ: 01/07/2010
ตอบ: 29


ตอบตอบ: Thu Dec 02, 2010 2:52 pm    ชื่อกระทู้: ไม่พร้อมกัน ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

Exclamation
ทำไมสมัยซอฮาบัต ระหว่างกุรอยซ์กับอิบนิอับบาส"เข้าบวช"คนละวันกัน
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
gismad
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: 21/08/2008
ตอบ: 96


ตอบตอบ: Thu Dec 02, 2010 7:21 pm    ชื่อกระทู้: เรื่องนี้ อ. ฟาริดได้ตอบไว้แล้วคับ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

วิพากษ์ฮะดีษกุรอยบ์





ฮะดีษกุรอยบ์ หรือที่คนบ้านเราเรียกกันติดปากว่า ฮะดีษกุเรบ เป็นฮะดีษต้นเอกเกือบทุกปี เมื่อถึงฤดูกาลเข้าบวชหรือออกบวช หลายกลุ่มหลายมุมมอง ต่างก็หยิบเอาฮะดีษบทนี้ไปอ้างเป็นหลักฐานให้แก่ทัศนะของตนเองเสมอ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มที่ถือ “มัฏละอ์” หรือกลุ่มที่ยึดประเทศใครประเทศมัน และ ฯลฯ แต่ที่พลาดไม่ได้ก็เห็นจะเป็นกลุ่มดาราศาสสตร์ น้องใหม่ไฟแรงที่ก็อ้างฮะดีษกุเรบกับเขาด้วยเหมือนกัน


ข้อเขียนต่อไปนี้ไม่มีเจตนาจะหักล้างทัศนะของผู้ใด แต่จะชี้ประเด็นให้เห็นถึงเป้าหมายของฮะดีษตามที่ระบุอยู่ในถ้อยความของรายงานเท่านั้น







ตัวบทฮะดีษกุรอยบ์



عَنْ كُرَيْبٍ أَنَّ أُمَّ الفَضْلِ بِنْتَ الحَارِثِ بَعَثَتْهُ اِلَى مُعَاوِيَةَ بِالشَامِ قَالَ فَقَدِمْتُ الشَامَ فَقَضَيْتُ حَاجَتَهَا وَاسْتُهِلَّ عَليَّ رَمَضَانُ وَأنَا بِالشَامِ فَرَأيْتُ الهِلاَلَ لَيْلَةَ الجُمْعَةِ ثُمَّ قَدِمْتُ المَدِيْنَةَ فِي آخِرِ الشَهْرِ فَسَألَنِي عَبْدُ اللهِ بْنِ عَبَّاسٍ رَضِىَ اللهُ عَنْهُمَا ثُمَّ ذَكَرَ الهِلاَلَ فَقَالَ مَتَى رَأيْتُمُ الهِلاَلَ فَقُلْتُ رَأيْنَاهُ لَيْلَةَ الجُمْعَةِ فَقَالَ أنْتَ رَأيْتَهُ فَقُلْتُ نَعَمْ وَرَآهُ النَاسُ وَصَامُوا وَصَامَ مُعَاوِيَةُ فَقَالَ لكِنَّا رَأيْنَاهُ لَيْلَةَ السَبْتِ فَلاَ نَزَالُ نَصُوْمُ حَتَّى نُكْمِلَ ثَلاَثِيْنَ أوْ نَرَاهُ فَقُلْتُ أَوَلاَ تَكْتَفِي بِرُؤْيَةِ مُعَاوِيَةَ وَصِيَامِهِ فَقَالَ لاَ هَكَذَا أَمَرَنَا رَسُوْلُ اللهِ صَلى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ


รายงานจากกุรอยบ์ว่า อุมมุลฟัฏล์ บินต่าฮาริส ได้ส่งเขาไปหามุอาวิยะห์ที่แค้วนชาม เขากล่าวว่า ฉันได้เดินทางไปที่ชาม และได้จัดการธุระของนางแล้ว ขณะนั้นเดือนรอมฏอนได้ย่างเข้ามาขณะฉันยังอยู่ที่ชาม โดยฉันเห็นเดือนเสี้ยวข้างขึ้นในคืนวัศุกร์ ต่อมาฉันได้เดินทางกลับนครมะดีนะห์ในตอนปลายเดือน ซึ่งท่านอิบนุอับบาส ร่อดิยัลลอฮุอันฮุมา ได้ถามฉันแล้วก็คุนกันเรื่องเดือนเสี้ยว เขาถามว่า พวกท่านเห็นเดือนเสี้ยวกันเมื่อไหร่ ฉันตอบว่า พวกเราเห็นมันในคืนวันศุกร์ เขาถามต่อว่า ท่านได้เห็นมันด้วยตัวเองหรือ ฉันตอบว่า ใช่ครับ และคนอื่นๆ ก็เห็นด้วย พวกเขาจึงได้ถือศีลอด และมุอาวิยะห์ก็ถือศีลอด เขากล่าวว่า แต่พวกเราเห็นมันคืนวันเสาร์ ดังนั้นเราจะยังคงถือศีลอดต่อไปจนกว่าจะครบ 30 วัน หรือไม่ก็เห็นเดือนเสี้ยวเสียก่อน ฉันถามว่า การเห็นเดือนของมุอาวิยะห์และการถือศีลอดของเขายังไม่เพียงพอหรือ เขาตอบว่า ไม่ อย่างนี้แหละที่ท่านรอซูลเคยใช้พวกเรา”

บันทึกฮะดีษ

ตัวบทฮะดีษนี้มีอยู่หลายบันทึกด้วยกัน เช่น สุนันอัตติรมีซีย์ ฮะดีษเลขที่ 629 สุนันนะซาอีย์ ฮะดีษเลขที่ 2084 สุนันอบีดาวู๊ด ฮะดีษเลขที่ 1985 เป็นต้น
แต่สำนวนรายงานที่นำเสนอนี้จากบันทึก “ศอเฮียะฮ์มุสลิม” ของท่านอิหม่ามมุสลิม บทที่ว่าด้วยเรื่องการถือศีลอด ฮะดีษเลขที่ 1819

ผู้รายงานฮะดีษ

ฮะดีษบทนนี้เกิดขึ้นหลังจากท่านรอซูลได้เสียชีวิตไปแล้ว เป็นการสนทนาระหว่างศอฮาะห์กับตาบีอีน คือท่านอิบนุอับอับาส ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า ท่านเป็นปราชญ์ในหมู่ศอฮาบะห์ ส่วนอีกท่านหนึ่งคือ กุรอยบ์ มีชื่อเต็มว่า กุรอยบ์ อิบนุ อบีมุสลิม อัลฮาซิมีย์ มีสร้อยว่า อบูรุชดีน เป็นตาบีอีนรุ่นกลาง มีถิ่นฐานอยู่ที่มะดีนะห์ และเสียชีวิตที่มะดีนะห์ ในปีที่ 98 ฮิจเราะห์ศักราช

ประเภทฮะดีษ

เหตุการณ์และตำพูดที่ถูกระบุอยู่ในฮะดีษนี้ประกอบด้วย
1 – คำพูดของกุรอยบ์ ที่อ้างการกระทำของศอฮาบะห์ชื่อ มุอาวิยะห์ อิบนิอบีซุฟยาน และชาวแค้วนชาม
2 – คำพูดของกุรอยบ์ในกานสนทนากับศอฮาบะห์คือท่านอิบนุอับบาส
3 – คำพูดของท่านอิบนุอับบาสในการสนทนาซักถาม และตอบคำถามแก่กุรอยบ์
4 – คำพูดของอิบนิอับบาสที่อ้างถึงคำสอนของท่านนบี มูฮัมหมัด ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลัม

สิ่งที่เป็นมาตรฐานอันดับแรกจากทั้ง 4 ประการนี้ก็คือข้อที่ 4 คือการที่ท่านอิบนิอับบาสอ้างคำพูดของท่านนบี มูฮัมหมัด ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลัม ที่ว่า “อย่างนี้แหละที่ท่านรอซูลเคยใช้พวกเรา” ฉะนั้นฮะดีษบทนี้จึงจัดอยู่ในประเภท ฮะดีษมัรฟัวฮ์ หมายถึงการที่ศอฮาบะห์อ้างการรายงานถึงท่านนบี ด้วยเหตุนี้คำของท่านอิบนิอับบาสจึงไม่ใช่ประเด็นการวินิจฉัย “อิจติฮาต” ของท่านเองอย่างที่บางคนเข้าใจ

ประเด็นวิเคราะห์

ก่อนที่จะเริ่มบทวิเคราะห์ ขอตั้งข้อสักเกตเล็กน้อยว่า เหตุการณ์ที่ถูกระบุอยู่ในฮะดีษนี้มีมุมมองหลายกรณีด้วยกันคือ
- แค้วนชามตามที่ถูกกล่าวในฮะดีษนี้บางท่านกล่าวว่า คือประเทศซีเรียในปัจจุบัน แต่ความจริงแล้ว ชาม เป็นแคว้นในอดีตที่มีอณาเขตกว้างใหญ่มาก ไม่ใช่เฉพาะพื้นที่ของประเทศซีเรียเท่านั้น แต่ยังรวมถึง อิรัค จอร์แดน เลบานอนในปัจจุบันอีกด้วย ฉะนั้นการที่ให้ความหมาย “ชาม” ว่าประเทศซีเรียนั้นจึงยังไม่ถูกต้องนัก
- กุรอยบ์ได้ออกเดินทางจากมดีนะห์ไปที่ชามก่อนที่จะเข้าสู่เดือนรอมฏอน และได้ไปเริ่มต้นถือศีล อดที่นั่น
- การสื่อสารและการส่งข่าวในอดีตเป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะกว่าที่ชาวมะดีนะห์จะรู้ข่าวเรื่องการเข้าเดือนรอมฏอน ก็ล่วงเลยมาจนถึงปลายเดือน ขณะที่กุรอยบ์เดินทางกลับมาจากชามแล้ว
- กุรอยบ์ได้กลับมาที่นครมะดีนะห์ในตอนปลายเดือน ซึ่งขณะนั้นยังไม่มีการดูเดือน และชาวมะดีนะห์ก็ยังถือศึลอดไม่ครบ 30 วันตามคำของอิบนุอับบาสที่ว่า “เราจะยังคงถือศีลอดต่อไปจนกว่าจะครบ 30 วัน หรือไม่ก็เห็นเดือนเสี้ยวเสียก่อน”

ปัญหามีอยู่ว่า การที่กุรอยบ์กลับมาถึงมะดีนะห์ในตอนปลายเดือนนั้น จะใช้เงื่อนไขใด ในการชวนท่านอิบนิอับบาสออกบวช เพระชาวมะดีนะห์ก็ยังไม่มีการดูเดือน อีกทั้งยังบวชไม่ครบ 30 วัน ตามที่ท่านอิบนิอับบาสได้กล่าวว่า “เราจะยังคงถือศีลอดต่อไปจนกว่าจะครบ 30 วัน หรือไม่ก็เห็นเดือนเสี้ยวเสียก่อน”
หรือว่าการเห็นเดือนในตอนเข้ารอมฏอนเพียงอย่างเดียวเพียงพอแล้วสำหรับการออกบวช โดยไม่ต้องดูจันทร์เสี้ยวตอนปลายเดือนและก็ยังบวชไม่ครบ 30 วัน ตามที่กุรอยบ์ได้กล่าวว่า “การเห็นเดือนของมุอาวิยะห์และการถือศีลอดของเขายังไม่เพียงพอหรือ” ซึ่งหมายถึงการเห็นเดือนในตอนเข้ารอมฏอน จะใช้กำหนดการออกบวชได้เลยอย่างนั้นหรือ

แต่ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นประเด็นของการตั้งข้อสังเกตเท่านั้น มิใช่ประเด็นวิเคราะห์ที่เราจะนำมาเป็นผลเลิศในการตัดสินข้อขัดแย้ง เพราะเนื่องจากคำพูดของอิบนุอับบาสที่อ้างคำสอนของท่านนบีที่ว่า “อย่างนี้แหละที่ท่านรอซูลเคยใช้พวกเรา” ยังคงปรากฏอยู่ และถ้าหากเราไม่ใส่ใจคำของท่านนบีแต่ไปเอาคำของคนอื่นหรือเหตุการณ์อื่นมาเป็นผลเลิศละก็ แสดงว่าเรากำลังหลงประเด็นและกำลังเสียจุดยืนในการตออะฮ์ต่อท่านรอซูลอย่างแน่นอน

ฉะนั้นประเด็นที่เราต้องทำความเข้าใจจากฮะดีษบทนี้ก็คือคำว่า “อย่างนี้แหละที่ท่านรอซูลเคยใช้พวกเรา” แม้ว่าจะเป็นคำของท่านอิบนิอับบาส แต่ก็เป็นการกล่าวอ้างถึงคำสอนของท่านนบี ที่ท่านได้เคยสอนแก่ศอฮาบะห์ไว้แล้ว ปัญหามีอยู่ว่า อย่างนี้แหละ ที่ท่านอิบนิอับบาสพูดถึง คืออย่างไหนกันแน่ เราลองมาพิจารณากันทีละข้อดังนี้

1 – ถ้า อย่างนี้แหละ หมายถึงประเทศใครประเทศมันตามที่มีบางท่านกล่าวอ้าง เราก็ต้องกลับไปดูว่า เคยมีคำสอนจากท่านรอซูลหรือไม่ ที่จริงแล้วประเด็นนี้พิสูจน์ได้ไม่ยาก เพราะในขณะที่ท่านนบีประกาศอิสลามนั้นยังไม่มีขอบเขตของประเทศตามที่ปรากฏในแผนที่ขณะนี้ หรือการกล่าวว่า ชามก็คือประเทศซีเรียในปัจุบันก็เป็นคำพูดที่ไม่ถูกต้องตามที่กล่าวแล้วข้างต้น ฉะนั้นการอ้างว่าท่านรอซูลเคยใช้เฉพาะประเทศใครประเทศมันนั้น เป็นการกุเท็จอย่างไม่ต้องสงสัย และ เราก็คงตัดประเด็นนี้ออกไป

2 – ถ้าอย่างนี้แหละหมายถึงเมืองใครเมืองมันตามที่ท่านรอซูลเคยใช้ เราก็กลับไปตรวจสอบจากคำสอนของท่านรอซูลอีกเช่นกันว่า มีไหมที่ท่านรอซูลเคยใช้ไว้เช่นนี้ ก็ปรากฏว่าหาตัวบทหลักฐานมาสนับสนุนในทัศนะนี้ไม่ได้ ประเด็นนี้ก็ต้องตัดออกไปเช่นเดียวกัน

3 – ถ้าอย่างนี้แหละที่หมายถึงมัฏละอ์ คือระยะที่ขึ้นของเดือน ก็ยิ่งไม่ปรากฏในคำสอนของท่านรอซูล ฉะนั้นประเด็นนี้ก็ต้องตัดออกไปด้วยเช่นกัน

4 – หรือ อย่างนี้แหละ ที่หมายถึง เอาเฉพาะที่ใกล้ๆ เคียงกัน ซึ่งเป็นข้อสังเกตว่า คำว่าใกล้ หรือไกล นั้นผู้ใดจะเป็นผู้กำหนด แต่อย่างไรก็ตาม เราก็ไม่พบในคำสอนของท่านรอซูลด้วยเช่นกัน จึงต้องตัดประเด็นนี้ออกไปด้วย

5 – หรือ อย่างนี้แหละ หมายถึงการให้เอาระยะทางละหมาดย่อเป็นเกณฑ์ ก็ยิ่งเป็นการเอาฮุก่มคนละเรื่องมาโยงกัน ซึ่งในทางปฏิบัติก็ยิ่งจะเกิดความโกลาหลอย่างแน่นอน และในบ้านเมืองของเราคงต้องเกิดฮุก่มใหม่กลายเป็นเมืองใครเมืองมัน จังหวัดใครจังหวัด ซึ่งไม่ปรากฏว่าท่านรอซูลได้เคยสอนเรื่องนี้มาก่อน

ถ้าเช่นนั้น คำว่า “อย่างนี้แหละที่ท่านรอซูลเคยใช้พวกเรา” คือประเด็นไหนกันแน่

หากเราได้ย้อนกลับไปทบทวนข้อความของอิบนุอับบาสที่ได้กล่าวไว้ก่อนที่ท่านจะพูดประโยคนี้เพียงเล็กน้อย เราจะพบคำของท่านดังต่อไปนี้คือ “เราจะยังคงถือศีลอดต่อไปจนกว่าจะครบ 30 วัน หรือไม่ก็เห็นเดือนเสี้ยวเสียก่อน” อย่างนี้ท่านรอซูลเคยใช้หรือไม่ ซึ่งเมื่อได้สำรวจดูแล้วก็ปรากฏว่าท่านรอซูลเคยสั่งใช้ในประเด็นนี้จริงๆ ซึ่งมีรายงานอยู่หลายบันทึกด้วยกัน เช่น
ท่านอบูฮุรอยเราะห์ รายงานว่า ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า


صُوْمُوا لِرُؤْيَتِهِ وَأفْطِرُوا لِرُؤْيَتِهِ فَاِنْ غُمِّيَ عَليْكُمُ الشَهْرُ فَعُدُّوا ثَلاَثِيْنَ


“พวกเจ้าทั้งหลายจงถือศีลอด (เข้ารอมฏอน) เนื่องจากเห็นเดือนเสี้ยว และจงออกจากศีลอด (ออกจากรอมฏอน) เมื่อเห็นเดือนเสี้ยว แต่หากเดือนนั้นถูกบดบังพวกเจ้าจงนับให้ครบ 30 วัน” บันทึกโดยอิหม่ามมุสลิม ฮะดีษาเลขที่ 1810

นี่เป็นประเด็นการอธิบายด้วยหลักฐานตามที่ถูกอ้างในคำรายงานของฮะดีษบทนี้ว่า “อย่างนี้แหละที่ท่านรอซูลเคยใช้พวกเรา” ซึ่งไม่ใช่เป็นการอธิบายด้วยเหตุผลโดยหาหลักฐานประกอบไมได้ แต่เป็นการอธิบายฮะดีษด้วยฮะดีษ และเป็นคำที่ท่านนบีได้เคยสอนไว้จริงๆ

หรือหากจะมองประเด็นที่เกี่ยวข้องจากเหตุการณ์ที่ถูกระบุอยู่ในเนื้อหาของฮะดีษ นั่นคือการเป็นพยาน เพราะกุรอยบ์เพียงผู้เดียวที่กลับมารายงานเรื่องการเห็นเดือนตอนเข้ารอมฏอนที่ชามแก่อิบนิอับบาส แต่ที่ปรากฏในคำสอนของท่านรอซูลนั้น การแจ้งข่าวเรื่องการเห็นเดือนเพื่อออกจากรอมฏอน จะต้องมีพยานยืนยันจำนวน 2 คน เป็นอย่างน้อย
ท่านฮาริส บิน ฮาติบได้รายงานว่า


عَهِدَ اِلَيْنَا رَسُوْلُ اللهِ صَلى اللهُ عَليْهِ وَسَلَّمَ أَنْ نَنْشُكَ لِلرُؤْيَةِ فَاِنْ لَمْ نَرَهُ وَشَهِدَ شَاهِدَا عَدْلٍ نَسَكْنَا بِشَهَا دَتِهِمَا


“ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ได้วางกฎไว้ให้พวกเรา ในการปฏิบัติอิบาดะห์ (ถือศีลอด) เนื่องจากเห็นเดือนเสี้ยว และถ้าหากเราไม่เห็นแต่มีพยานสองคนที่เชื่อถือได้มายันยืน ก็ให้เราปฏิบัติอิบาดะห์จากการยืนยันของทั้งสอง” บันทึกโดยอิหม่ามอบูดาวูด ฮะดีษเลขที่ 1991

และนี่เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ท่านรอซูลเคยใช้ ซึ่งเป็นอีกประการหนึ่งของการอธิบายฮะดีษด้วยฮะดีษ และไม่ได้ออกนอกกรอบจากเนื้อหาของฮะดีษเลย

สรุปว่า คำของอิบนิอับบาสที่กล่าวว่า “อย่างนี้แหละที่ท่านรอซูลเคยใช้พวกเรา” ได้ชี้ให้เห็นถึงคำสอนของท่านรอซูลสองประการด้วยกันคือ
1 – การเข้าและออกจากเดือนรอมฏอนโดยการเห็นจันทร์เสี้ยวข้างขึ้น และหากไม่มีผู้ใดเห็นก็ให้นับเดือนรอมฏอนให้ครบ 30 วัน
2 – หากมีพยานสองคนที่เชื่อถือได้มายืนยันเรื่องการเห็นจันทร์เสี้ยวข้างขึ้น ก็ให้มุสลิมถือปฏิบัติตามการยืนยันนั้น

ทั้งสองประการนี้เป็นสิ่งที่ท่านรอซูลได้เคยใช้เหล่าศอฮาบะห์จริงๆ ตามตัวบทที่ได้แสดงแล้วข้างต้น แต่ไม่ทราบว่าเพระเหตุใดจึงมีผู้นำเอาฮะดีษบทนี้ไปชี้ประเด็นอื่นๆที่หาหลักฐานมาอธิบายไม่ได้ อย่างนี้มิเท่ากับเป็นการบิดเบือนเป้าหมายคำของท่านอิบนิอับบาสตามที่ปรากฏในฮะดีษกุรอยบ์นี้หรอกหรือ วัลลอฮุอะอ์ลัม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
loveyou
มือใหม่
มือใหม่


เข้าร่วมเมื่อ: 01/07/2010
ตอบ: 29


ตอบตอบ: Thu Dec 02, 2010 11:42 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สรุปจากฮาดิษกุรอยบ์แล้ว ใครอยู่"พื้นที่"ตรงไหนก็ควรดูฮิลาลจากตรงนั้น
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
loveyou
มือใหม่
มือใหม่


เข้าร่วมเมื่อ: 01/07/2010
ตอบ: 29


ตอบตอบ: Fri Dec 03, 2010 2:11 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

จากฮาดิษกุรอยบ์ เอามาเทียบกับปัจจุบัน เราควรจะตามผู้นำในแต่ละพื้นที่หรือประเทศ ก็จะได้ตรงตามเป้าหมายจากฮาดิษนี้
ป.ล อ.ฟารีดน่าจะวิภาษผิดในประเด็นเกี่ยวกับพื้นที่(ประเทศ)
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
loveyou
มือใหม่
มือใหม่


เข้าร่วมเมื่อ: 01/07/2010
ตอบ: 29


ตอบตอบ: Fri Dec 03, 2010 2:24 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สรุปจากฮาดิษกุรอยบ์อีกครั้ง เรา(ชาวไทยมุสลิม)ควรจะฟังผู้นำ(จุฬาฯ)ในการประกาศผลการดูฮิลาล(ถ้าเราอยู่ในประเทศไทยขณะนั้น)เพื่อเริ่มถือศีลอดกัน เราก็จะได้ตรงตามกุรอานและฮาดิษอย่างถึงที่สุด
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
gismad
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: 21/08/2008
ตอบ: 96


ตอบตอบ: Fri Dec 03, 2010 10:29 pm    ชื่อกระทู้: เรียน คุณ love you ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สรุปจากฮาดิษกุรอยบ์อีกครั้ง เรา(ชาวไทยมุสลิม)ควรจะฟังผู้นำ(จุฬาฯ)ในการประกาศผลการดูฮิลาล(ถ้าเราอยู่ในประเทศไทยขณะนั้น)เพื่อเริ่มถือศีลอดกัน เราก็จะได้ตรงตามกุรอานและฮาดิษอย่างถึงที่สุด

จากฮาดิษกุรอยบ์ เอามาเทียบกับปัจจุบัน เราควรจะตามผู้นำในแต่ละพื้นที่หรือประเทศ ก็จะได้ตรงตามเป้าหมายจากฮาดิษนี้
ป.ล อ.ฟารีดน่าจะวิภาษผิดในประเด็นเกี่ยวกับพื้นที่(ประเทศ

สรุปจากฮาดิษกุรอยบ์แล้ว ใครอยู่"พื้นที่"ตรงไหนก็ควรดูฮิลาลจากตรงนั้น


ข้างบนทั้งหมด เป็นคำพูด ของ คุณ love you

ก่อนอืนผมอยากทราบว่า คุณ love you เอาความเข้าใจ จากใครมา หรือ จากตัวท่านเอง
ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม การที่คนที่เข้าใจเช่นนี้ ขอบอกว่าเข้าใจผิด อย่างมาก
เพราะว่า ใน ตัวบท ฮะดีษกุรอยบ์ เรามาดู พร้อมๆกันคับ คุณ love you

ตัวบทฮะดีษกุรอยบ์

รายงานจากกุรอยบ์ว่า อุมมุลฟัฏล์ บินต่าฮาริส ได้ส่งเขาไปหามุอาวิยะห์ที่แค้วนชาม เขากล่าวว่า ฉันได้เดินทางไปที่ชาม และได้จัดการธุระของนางแล้ว ขณะนั้นเดือนรอมฏอนได้ย่างเข้ามาขณะฉันยังอยู่ที่ชาม โดยฉันเห็นเดือนเสี้ยวข้างขึ้นในคืนวัศุกร์ ต่อมาฉันได้เดินทางกลับนครมะดีนะห์ในตอนปลายเดือน ซึ่งท่านอิบนุอับบาส ร่อดิยัลลอฮุอันฮุมา ได้ถามฉันแล้วก็คุนกันเรื่องเดือนเสี้ยว เขาถามว่า พวกท่านเห็นเดือนเสี้ยวกันเมื่อไหร่ ฉันตอบว่า พวกเราเห็นมันในคืนวันศุกร์ เขาถามต่อว่า ท่านได้เห็นมันด้วยตัวเองหรือ ฉันตอบว่า ใช่ครับ และคนอื่นๆ ก็เห็นด้วย พวกเขาจึงได้ถือศีลอด และมุอาวิยะห์ก็ถือศีลอด เขากล่าวว่า แต่พวกเราเห็นมันคืนวันเสาร์ ดังนั้นเราจะยังคงถือศีลอดต่อไปจนกว่าจะครบ 30 วัน หรือไม่ก็เห็นเดือนเสี้ยวเสียก่อน ฉันถามว่า การเห็นเดือนของมุอาวิยะห์และการถือศีลอดของเขายังไม่เพียงพอหรือ เขาตอบว่า ไม่ อย่างนี้แหละที่ท่านรอซูลเคยใช้พวกเรา”

บันทึกฮะดีษ

ตัวบทฮะดีษนี้มีอยู่หลายบันทึกด้วยกัน เช่น สุนันอัตติรมีซีย์ ฮะดีษเลขที่ 629 สุนันนะซาอีย์ ฮะดีษเลขที่ 2084 สุนันอบีดาวู๊ด ฮะดีษเลขที่ 1985 เป็นต้น
แต่สำนวนรายงานที่นำเสนอนี้จากบันทึก “ศอเฮียะฮ์มุสลิม” ของท่านอิหม่ามมุสลิม บทที่ว่าด้วยเรื่องการถือศีลอด ฮะดีษเลขที่ 1819

ตัวบทฮะดีษกุรอยบ์
คือการสนทนาระหว่าง อิบนิ อับบาส กับ กุรอยบ์ โดยกุรอยบ์ ได้อ้าง ถึง มุอาวิยะห์ บินอบีซุบยาน
ว่า พวกเขาเห็นเดือน และพวกเขา ก็ ถือศีลอด และมุอาวิยะห์ ก็ ถือศีลอด

แต่มันมีอะไรในสมัยนั้น ที่จะมายืนยันว่า หะดีษ บท นี้ ไม่สามารถ นำมาเป็นหลักฐานเรื่อง ตามผู้นำได้ คือ
ในสมัยนั้น ท่านมุอาวิยะห์ เป็นผู้นำ แต่เพราะเหตุใด ท่านอิบนิ อับบาส
ถึงไม่ตาม มุอาวิยะห์ ซึ่งเขาคือผู้นำในสมัยนั้น ถ้าหากว่าหลักฐานดังกล่าวสามารถ
นำมาเป็นหลักได้ ฉนั้นเพราะเหตุใด อิบนิอับบาสไม่ตามผู้นำ
ขอให้คุณ love you เข้าใจซะใหม่ มิเช่นนั้น อาจจะทำให้คุณ หลงผิดโดยรู้ตัว
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
gismad
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: 21/08/2008
ตอบ: 96


ตอบตอบ: Fri Dec 03, 2010 10:31 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สรุปจากฮาดิษกุรอยบ์อีกครั้ง เรา(ชาวไทยมุสลิม)ควรจะฟังผู้นำ(จุฬาฯ)ในการประกาศผลการดูฮิลาล(ถ้าเราอยู่ในประเทศไทยขณะนั้น)เพื่อเริ่มถือศีลอดกัน เราก็จะได้ตรงตามกุรอานและฮาดิษอย่างถึงที่สุด

คุณ สรุป เรื่องนี้เอง โดยที่ อ. ฟาริด เค้า ไม่ได้ สรุป ตามที่คุณ เข้าใจ
แต่ว่า อ.ฟาริด นำหะดีษดังกล่าวมาเสนอให้เห็นในมุมมองต่างๆ
ซึ่ง การที่คุณกล่าวว่า (เรา(ชาวไทยมุสลิม)ควรจะฟังผู้นำ(จุฬาฯ)ในการประกาศผลการดูฮิลาล(ถ้าเราอยู่ในประเทศไทยขณะนั้น)เพื่อเริ่มถือศีลอดกัน เราก็จะได้ตรงตามกุรอานและฮาดิษอย่างถึงที่สุด)
ซึ่งหมายถึง ผู้นำอันดับแรกและจะได้พร้อมเพียงกันในการตามกรุอ่านและหะดีษ
คุณอ่านและเข้าใจหรือไม่ ว่า อิบนิอับบาสอ้างถึงนบี ว่า อย่างนี้เหละที่รอซูลใช้เรา
มันกลับไป หา หะดีษ
«صوموا لرؤيته، وأفطروا لرؤيته، فإن غم عليكم فصوموا ثلاثين»
ความว่า “จงถือศีลอดด้วยการเห็นจันทร์เสี้ยว และจงออกอีดด้วยการเห็นจันทร์เสี้ยว แต่ถ้าหากมันไม่ปรากฏให้เห็นแก่พวกท่าน ก็จงถือศีลอดให้ครบสามสิบวัน”
เข้าใจซะใหม่ ตรง ตามหะดีษ กับ กรุอ่านต้องอย่างนี้

อย่าอ้างมั่วๆซิ อ่านให้ เข้าใจก่อน
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
gismad
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: 21/08/2008
ตอบ: 96


ตอบตอบ: Fri Dec 03, 2010 10:39 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สรุปจากฮาดิษกุรอยบ์แล้ว ใครอยู่"พื้นที่"ตรงไหนก็ควรดูฮิลาลจากตรงนั้น

คุณ love you คับ
ในบทวิพาษ์ ดังกล่าว อ. ฟาริด เค้าพูดเรื่อง มัฎละห์ ว่า ต้องตาม มัฎละห์ที่ไหนที่นั้นเหรอคับ

อ.ฟาริดบอกว่า
ถ้าอย่างนี้แหละที่หมายถึงมัฏละอ์ คือระยะที่ขึ้นของเดือน ก็ยิ่งไม่ปรากฏในคำสอนของท่านรอซูล ฉะนั้นประเด็นนี้ก็ต้องตัดออกไปด้วยเช่นกัน
แล้วตรงไหนที่คุณ อ้างมิทราบ
วัสลาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
loveyou
มือใหม่
มือใหม่


เข้าร่วมเมื่อ: 01/07/2010
ตอบ: 29


ตอบตอบ: Sat Dec 04, 2010 1:00 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

จากฮาดิษกุรอยบ์ ทำให้เรา"รู้ว่า"มีการ"เข้าบวช"ไม่ตรงกันมาตั้งแต่สมัยซอฮาบัตแล้ว เพราะซอฮาบัตทั้งสองฝ่ายอยู่คนละเมืองกัน ทั้งสองฝ่ายต่างก็ทำตามที่ท่านนบีสั่ง เลยเป็นผลให้"เข้าบวช"ไม่ตรงกัน เหตุผลก็เพราะมาจากระยะห่างระหว่างเมืองทั้งสอง [B]
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
loveyou
มือใหม่
มือใหม่


เข้าร่วมเมื่อ: 01/07/2010
ตอบ: 29


ตอบตอบ: Sat Dec 04, 2010 1:06 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

กระทู้นี้ผมขอพูดถึงการ"เข้าบวช"นะครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
gismad
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: 21/08/2008
ตอบ: 96


ตอบตอบ: Sat Dec 04, 2010 6:43 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

จากฮาดิษกุรอยบ์ ทำให้เรา"รู้ว่า"มีการ"เข้าบวช"ไม่ตรงกันมาตั้งแต่สมัยซอฮาบัตแล้ว เพราะซอฮาบัตทั้งสองฝ่ายอยู่คนละเมืองกัน ทั้งสองฝ่ายต่างก็ทำตามที่ท่านนบีสั่ง เลยเป็นผลให้"เข้าบวช"ไม่ตรงกัน เหตุผลก็เพราะมาจากระยะห่างระหว่างเมืองทั้งสอง

ถ้าคุณ( love you ชื่อความหมายดีน๊ะ) จะอ้างแบบที่คุณ บอกว่า มันขึ้นอยู่กับระยะทาง
งั้น ผมอยากทราบว่า คุณ รู้หรือไม่ว่า ระยะ ห่างระหว่าง ยัสริบไปที่ ชาม กี่ กิโล
และจาก เชียงใหม่ไป ภูเก็ต กี่ กิโล ถ้าหากว่า หะดีษ บทนี้ ทำให้ท่านอ้าง เรื่องระยะทางได้ละก้อ
งั้นตอบผม มาก่อน เพราะ อะไรรู้ไหม ที่ผม ถามคุณ นะ เพราะ คำพูดที่คุณ บอกว่า

กระทู้นี้ผมขอพูดถึงการ"เข้าบวช"นะครับ

ทำให้ผมทราบว่า ท่าน ต้อง การพูดคุยใน ประเด่นดังกล่าว ถูกไหมคับ

الله يهديك
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
loveyou
มือใหม่
มือใหม่


เข้าร่วมเมื่อ: 01/07/2010
ตอบ: 29


ตอบตอบ: Sun Dec 05, 2010 12:46 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ผมเริ่มกระทู้โดยตั้งเป็นคำถาม ผมขอถามอ.ฟารีด คุณgismad หรือคนอื่นๆอีกครั้งว่า ทำไมสมัยซอฮาบัตระหว่างกุรอยบ์กับอิบนุอับบาส"เข้าบวช"ไม่พร้อมกัน
ป.ล. กรุณาตรงคำถาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
gismad
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: 21/08/2008
ตอบ: 96


ตอบตอบ: Sun Dec 05, 2010 1:12 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขณะนี้ อ.ฟาริด เฟ็นดี้ คงไม่ว่างมาตอบ เนื่องจากงาน บรรยา หลายสถานที่ + กับ ตอบโต้ ชีอะห์12 อีหม่ามอีกด้วย แต่ไม่เป็นไร เรื่องแค่นี้ คุยกับผม ก็ได้คับ
คุณเข้าใจผิดแล้ว เพราะ ขณะที่ กุรอยบ์ ได้เห็นเดือน ในตอนต้นเดือน ขณะอยู่ที่ชาม และกลับมาตอนปลายเดือน ที่ มะดีนะห์ และได้ แจ้ง ข่าวแก่อิบนิอับบาส
เพราะสมัยก่อน การแจ้งข่าว เกิดความลำบากยากเย็น
แต่ที่ อิบนิ อับบาส ไม่เอา เพราะรู้ ข่าว ตอนปลายเดินแล้ว คับ
แล้วหากท่านจะนำมา อ้าง
แล้วมีไหมที่นบีใช้ ว่าตามไม่ได้ถ้าระยะทางไกล
และไหนละที่นบีห้ามตาม ถ้า คนละเมื่อง
และไหนละที่นบีใช้ให้ตามผู้นำนะ
คุณต้องเข้าใจซะใหม่คับ

الله يهديك
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
loveyou
มือใหม่
มือใหม่


เข้าร่วมเมื่อ: 01/07/2010
ตอบ: 29


ตอบตอบ: Mon Dec 06, 2010 12:05 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เห็นได้ชัดว่าคุณgismadไม่เข้าใจกติกามารยาทในการสนทนาทางวิชาการ เพราะว่าคุณgismadตอบไม่ตรงคำถาม กระทู้นี้ผมคงขอจบการสนทนากับคุณgismad[B] Rolling Eyes[B]
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
loveyou
มือใหม่
มือใหม่


เข้าร่วมเมื่อ: 01/07/2010
ตอบ: 29


ตอบตอบ: Mon Dec 06, 2010 12:21 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขอความกรุณาถึงทุกคนในเวปให้ช่วยกันรักษามารยาทในการสนทนาเชิงวิชาการดังต่อไปนี้ด้วยครับ คือ
1 ใช้วาจาสุภาพ
2 ตอบอย่างตรงประเด็นไปทีละขั้น
3 เปิดกว้างกับความรู้ใหม่
4 ใครทำตามข้อ 1,2 ไม่ได้ ขอให้หยุดการโพสต์ความเห็น
5 ใครเสนอกติกาที่ดีเพิ่มได้อีกนะครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   กระทู้นี้ถูกปิดคุณไม่สามารถแก้ไขคำตอบหรือตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> ประวัติศาสตร์อิสลาม ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8  ถัดไป
หน้า 1 จากทั้งหมด 8

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


Powered by phpBB ฉ 2001, 2002 phpBB Group







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.22 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ