ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
umat มือเก่า
เข้าร่วมเมื่อ: 17/12/2008 ตอบ: 77
|
ตอบ: Thu Dec 02, 2010 2:10 pm ชื่อกระทู้: เกี่ยวกับวันศุกร์ครับ |
|
|
มีหลายคนบอกว่า วันศุกร์ดีแบบนู้น ดีแบบนี้ เลยอยากทราบว่า จริงๆแล้วมีหลักฐานอะไรยืนยันไหมครับ ผมได้ยินแต่คนพูดกันแต่ไม่เคยได้ยินหลักฐานเรื่องนี้ครับ รบกวนด้วยครับ
มีหลายอย่างเช่น
เข้ากุโบรวันศุกร์ดี ตายวันศุกร์ดี ตัดเล็บ ตัดผม วันศุกร์ดี
เท็จจริงยังไงรบกวนอาจารย์ด้วยครับ
อ่อ อีกประการการอ่าน ยาซีนในคืนวันศุกร์เป็นซุนนะห์หรือป่าวครับ
ขออัลลอฮฺทรงโปรด
|
|
กลับไปข้างบน |
|
|
shabab มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 16/07/2008 ตอบ: 303
|
ตอบ: Fri Dec 03, 2010 6:23 am ชื่อกระทู้: |
|
|
วาอาลัยกุมมุสลาม วาเราะมาตุลลอฮ
ต่อคำถามที่ว่า วันศุกร์ดีแบบนู้น ดีแบบนี้ เลยอยากทราบว่า จริงๆแล้วมีหลักฐานอะไรยืนยันไหมครับ ผมได้ยินแต่คนพูดกันแต่ไม่เคยได้ยินหลักฐานเรื่องนี้ครับ รบกวนด้วยครับ
หลักฐานมีดังนี้ครับ
1. วันศุกร์เป็นวันที่ประเสริฐที่สุด
จากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า
«خَيْرُ يَوْمٍ طَلَعَتْ عَلَيْهِ الشَّمْسُ يَوْمُ الْجُمُعَةِ، فِيهِ خُلِقَ آدَمُ، وَفِيهِ أُدْخِلَ الْجَنَّةَ، وَفِيهِ أُخْرِجَ مِنْهَا، وَلَا تَقُومُ السَّاعَةُ إِلاَّ فِي يَوْمِ الْجُمُعَةِ»
ความว่า วันที่ประเสริฐที่สุดที่ดวงอาทิตย์ขึ้นคือวันศุกร์ ในวันนั้นนบีอาดัมถูกสร้าง
และถูกนำเข้าสวรรค์และถูกให้ออกจากสวรรค์
และวันกิยามะฮฺจะไม่เกิดขึ้นนอกจากในวันศุกร์ (มุสลิม : 854)
2. ผลบุญอันยิ่งใหญ่แก่ผู้ที่ไปมัสยิดในช่วงเช้าของวันศุกร์
จากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า
«مَنْ اغْتَسَلَ يَوْمَ الْجُمُعَةِ غُسْلَ الْجَنَابَةِ، ثُمَّ رَاحَ فَكَأَنَّمَا قَرَّبَ بَدَنَةً، وَمَنْ رَاحَ فِي السَّاعَةِ الثَّانِيَةِ فَكَأَنَّمَا قَرَّبَ بَقَرَةً، وَمَنْ رَاحَ فِي السَّاعَةِ الثَّالِثَةِ فَكَأَنَّمَا قَرَّبَ كَبْشًا أَقْرَنَ، وَمَنْ رَاحَ فِي السَّاعَةِ الرَّابِعَةِ فَكَأَنَّمَا قَرَّبَ دَجَاجَةً، وَمَنْ رَاحَ فِي السَّاعَةِ الْخَامِسَةِ فَكَأَنَّمَا قَرَّبَ بَيْضَةً، فَإِذَا خَرَجَ الإِمَامُ حَضَرَتْ الْمَلاَئِكَةُ يَسْتَمِعُونَ الذِّكْرَ»
ความว่า บุคคลใดก็ตามที่อาบน้ำวันศุกร์เหมือนกับที่อาบน้ำญะนาบะฮฺ
แล้วเขาออกไป (ยังมัสยิด) ในชั่วโมงแรกเขาจะได้รับผลบุญเหมือนเขากุรบานด้วยการเชือดอูฐ
และใครออกไป (ยังมัสยิด) ในชั่วโมงที่สอง เขา(จะได้รับผลบุญ)เหมือนเขาเชือดวัว
และใครออกไป(ยังมัสยิด)ในชั่วโมงที่สามเขา(จะได้รับผลบุญ)เหมือนเขาเชือดแกะที่มีเขา
และใครออกไป(ยังมัสยิด)ในชั่วโมงที่สี่เขา(จะได้รับผลบุญ)เหมือนเขาเชือดไก่
และใครออกไป(ยังมัสยิด)ในชั่วโมงที่ห้าเขา(จะได้รับผลบุญ)เหมือนเขาบริจาคไข่
และเมื่ออิมามออกมากล่าวคุฏบะฮฺ บรรดามลาอิกะฮฺก็จะเข้าร่วมฟังการกล่าวซิกิร
(คนที่มาตอนนี้และหลังจากนี้จะไม่ได้รับผลบุญกุรบานเหมือนคนที่มาก่อนหน้านี้)
(รายงานโดยอัล-บุคอรีย์ : 841 สำนวนรายงานเป็นของท่าน, มุสลิม : 851)
3. ในวันศุกร์จะมีช่วงเวลาหนึ่งซึ่งอัลลอฮฺจะทรงตอบรับดุอาอ์ของผู้ที่ขอในช่วงเวลานั้น
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม ได้พูดถึงวันศุกร์ แล้วท่านก็กล่าวว่า
«فِيهِ سَاعَةٌ لاَ يُوَافِقُهَا عَبْدٌ مُسْلِمٌ وَهُوَ قَائِمٌ يُصَلِّي يَسْأَلُ اللَّهَ تَعَالَى شَيْئًا إِلاَّ أَعْطَاهُ إِيَّاهُ»
ความว่า ในวันนั้นมีช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งไม่มีบ่าวมุสลิมคนใดที่กำลังยืนละหมาด
และขอดุอาอ์ให้อัลลอฮฺทรงประทานสิ่งหนึ่งสิ่งใดในช่วงที่ตรงกับเวลานั้น
นอกจากอัลลอฮฺจะทรงประทานสิ่งนั้นให้แก่เขา
และท่านนบีให้สัญญานด้วยมือของท่านว่ามันเป็นช่วงเวลาอันน้อยนิด
(รายงานโดยอัล-บุคอรีย์ : 893 และมุสลิม : 852)
ในรายงานของมุสลิมจากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม ได้กล่าวว่า
«إِنَّ فِي الْجُمُعَةِ لَسَاعَةً لاَ يُوَافِقُهَا مُسْلِمٌ يَسْأَلُ اللَّهَ فِيهَا خَيْرًا إِلاَّ أَعْطَاهُ إِيَّاهُ، قَالَ : وَهِيَ سَاعَةٌ خَفِيفَةٌ»
ความว่า
แท้จริง ในวันศุกร์นั้นมีช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งไม่มีมุสลิมคนใดที่ขอดุอาอ์ต่ออัลลอฮฺในสิ่งที่ดี
นอกจากพระองค์จะทรงประทานสิ่งนั้นให้แก่เขา มันเป็นช่วงเวลาที่สั้น (มุสลิม 852)
อัส-สุยูฏีย์ กล่าวว่า บรรดาผู้รู้ในหมู่เศาะหาบะฮฺและตาบิอีนมีทัศนะที่ขัดแย้งกันเกี่ยวกับช่วงเวลาดังกล่าวมากกว่า 30 ทัศนะ และท่านก็หยิบยกทัศนะเหล่านั้น แล้วท่านก็อ้างถึงคำพูดของอัฏ-เฏาะบะรอนีย์ที่ว่า หะดีษที่น่าเชื่อถือที่สุดคือหะดีษของ อบู มูซา อัล-อัชอะรีย์ ซึ่งรายงานโดยมุสลิมมีว่า :
ท่านอบู มูซา อัล-อัชอะรีย์ ได้ยินท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
«هِيَ مَا بَيْنَ أَنْ يَجْلِسَ الإِمَامُ إِلَى أَنْ تُقْضَى الصَّلاةُ»
ความว่า มัน(ช่วงเวลาดังกล่าว)นั้นอยู่ในช่วงระหว่างที่อิมามนั่ง(อยู่บนมินบัร)จนละหมาดเสร็จ (มุสลิม :853)
และทัศนะที่แพร่หลายที่สุดคือทัศนะของท่านอับดุลลอฮฺ บิน สลาม เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ นั่นก็คือ มันอยู่ในช่วงสุดท้ายของวันศุกร์
อัส-สุยูฏีย์ได้กล่าวต่อไปว่า บรรดาคนรุ่นก่อนก็ขัดแย้งกันอีกว่า ทั้งสองทัศนะนี้ทัศนะใดที่ถูกต้องที่สุด และแต่ละทัศนะนั้นต่างก็มีผู้เห็นด้วยทั้งสิ้น
อิบนุล อะเราะบีย์, อัล-กุรฏุบีย์ และอัน-นะวะวีย์ต่างก็เห็นด้วยกับทัศนะของท่านอบู มูซา อัล-อัชอะรีย์
ส่วนอะห์มัด, อิบนุ รอฮะวัยฮฺ และอิบนุ อับดิลบัร นั้นเห็นด้วยกับทัศนะของท่านอับดุลลอฮฺ บิน สลาม
อัส-สุยูฏีย์ ได้กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า และทัศนะที่ฉันเลือกและเห็นด้วยกับมันคือ ช่วงเวลาดังกล่าวนั้นคือช่วงระหว่างอิกอมะฮฺของละหมาดวันศุกร์.
อ.ซุฟอัม อุษมาน
Islam House |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
shabab มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 16/07/2008 ตอบ: 303
|
ตอบ: Fri Dec 03, 2010 6:28 am ชื่อกระทู้: |
|
|
สวนคำถามที่ว่า
มีหลายอย่างเช่น
เข้ากุโบรวันศุกร์ดี ตายวันศุกร์ดี ตัดเล็บ ตัดผม วันศุกร์ดี
เท็จจริงยังไงรบกวนอาจารย์ด้วยครับ
อันนี้ ไม่เคยปรากฏหลักฐานเจาะจงว่า สิ่งดังที่กล่าวข้างต้น จะมีความประเสริฐเฉพาะเจาะจงในวันศุกร์นี้ ซึ่งแน่นอน หากไม่มีหลักฐานปรากฏ ก็ย่อมจะเชื่อและถือว่ามีความประเสริฐหาได้ไม่
วัลลอฮฮุอะลัม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
shabab มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 16/07/2008 ตอบ: 303
|
ตอบ: Fri Dec 03, 2010 6:42 am ชื่อกระทู้: |
|
|
การอ่าน ยาซีนในคืนวันศุกร์เป็นซุนนะห์หรือป่าวครับ
ไม่เป็นสุนนะห์ เพราะไม่ปรากฏหลักฐานศอเฮียะ อันจะถือว่าเป็นสุนนะห์เฉพาะวันศุกร์ได้
แต่ที่มีหลักฐานปรากฏชัดเจนว่า อ่านแล้วได้สุนนะห์วันศุกร์ คือ
ซูเราะฮฺอัลกะหฟในวันศุกร์
ในบันทึกของอิมามนะซาอียฺและบัยหะกียฺ เชคอัลบานียฺว่าศ่อฮี้ฮฺ ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
من قرأ سورة الكهف في يوم الجمعة سطع له نور من تحت قدمه إلى عنان السماء يضيء له يوم القيامة وغفر له ما بين الجمعتين
ความว่า ใครที่อ่านซูเราะฮฺอัลกะหฟในวันศุกร์ จะมีแสงสว่าง(รัศมี)ปรากฏแก่เขาระหว่างสองศุกร์ (1) เกิดแก่เขาตั้งแต่เท้าของเขาถึงท้องฟ้า (2) และจะได้รับความอภัยโทษระหว่างสองญุมุอะฮฺ
(1) แสวงสว่าง(รัศมี)เป็นอุปมา ถ้าเราอ่านซูเราะฮฺอัลกะหฟิอย่างเข้าใจความหมาย บทเรียนจากซูเราะฮฺนี้จะเป็นทางนำแก่เราซึ่งมีมารกมาย เช่น เรื่องเกี่ยวกับมารยาท สวรรค์ นรก การคิดบัญชีวันกิยามะฮฺ อะมานะฮฺ การปกครอง มารยาทลูกศิษย์กับผู้รู้ เรื่องนบีมูซากับท่านคอฎิร
(2) สำนวนนี้จะให้ความหมายของ แสงสว่าง ว่าเป็นแสงในวันกิยามะฮฺ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
umat มือเก่า
เข้าร่วมเมื่อ: 17/12/2008 ตอบ: 77
|
ตอบ: Fri Dec 03, 2010 2:19 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ขออัลลอฮฺ ทรงโปรดครับ
ชัดเจนมากเหลือเกินครับ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
sengship มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 10/09/2008 ตอบ: 102
|
ตอบ: Fri Jan 28, 2011 3:41 am ชื่อกระทู้: |
|
|
แถวบ้านผมพอถึงช่วงที่อ่านคุตบะที่1เสร็จ ก็จะมีการยกมือขอดุอากันจนกระทั่งผู้อ่านได้เริ่มอ่านคุตบะที่2 แสดงว่าทำได้ใช่หรือไม่ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Fri Jan 28, 2011 2:13 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
sengship บันทึก: | แถวบ้านผมพอถึงช่วงที่อ่านคุตบะที่1เสร็จ ก็จะมีการยกมือขอดุอากันจนกระทั่งผู้อ่านได้เริ่มอ่านคุตบะที่2 แสดงว่าทำได้ใช่หรือไม่ |
การยกมือขอดุอาในขณะอ่านคุตบะฮ
حكم رفع اليدين في التأمين على دعاء الإمام في خطبة الجمعة، أي رفع اليدين للمأموم بالتأمين لأنَّ المشاهد أنَّ كثيراً من الأخوة المصلِّين حينما يدعو خطيب الجمعة في آخر الخطبة لا يرفعون أيديهم، فهل في هذا نصٌّ بارك الله فيكم ؟
การยกมือทั้งสอง กล่าวอามีน รับดุอาของอิหม่ามในการอ่านคุตบะฮญุมอัต กล่าวคือ การยกมือทั้งสองสำหรับมะอฺมูมนั้นมีหุกุมว่าอย่างไร เพราะว่ามีผู้พี่น้องที่ละหมาดจำนวนมาก เมื่อเคาะฏิบอ่านดุอาในช่วงท้ายของคุตบะฮ พวกเขาไม่ยกมือทั้งสองของพวกเขา แล้วมีหลักฐานในเรื่องนี้ไหม ? ขออัลลอฮโปรดประทานความจำเริญแก่ท่าน
الفتوى :
رفع اليدين عند الدعاءِ من أسباب الإجابة، ولكنَّه يُشرع مطلقاً ومقيَّداً، فُيشرع مطلقاً في الدعاء المطلق، ويُشرع مقيَّداً في ما ورد له دليل من أنواع الدعاء المقيَّد، ومعنى ذلك أنَّه لا يُشرع رفع اليدين في كل دعاءٍ مقيَّد كالدعاءِ في آخر الصَّلاة قبل السَّلام أو بعد السَّلام، إذ لم يرد في السنَّة ما يدلُّ على ذلك، وإنَّما يُشرع رفع اليدين فيما دلَّت السنَّة على مشروعيِّة ذلك فيه كالدعاء بعد رمي الجمرة الأولى والثانية، وعلى الصفا والمروة وفي الاستسقاء وغير ذلك ممادلَّت السنَّة على رفع اليدين فيه، وعلى هذا فلا يُشرع للمأمومين أن يرفعوا أيديهم عند دعاء الخطيب على المنبر يوم الجمعة.
وقد أخرج مسلم رحمه الله عن عمارة بن رؤيبة أنَّه رأى بشر بن مروان رافعاً يديه على المنبر فقال: قبَّح الله هاتين اليدين، لقد رأيت رسول الله ـ صلَّى الله عليه وسلم ـ ما يزيد على أن يقول بيده هكذا: وأشار بأصبعه المسبِّحة. قال النووي: فيه أنَّ السنَّة ألا يرفع اليد في الخطبة
والله أعلم
ตอบ
การยกมือทั้งสองขณะขอดุอานั้นเป็นส่วนหนึ่งจากสาเหตุที่ทำให้ดุอาถูกรับ แต่ว่า มันได้ถูกบัญญัติเอาไว้ในรูปแบบกว้างๆและ บัญญัติเอาไว้โดยเฉพาะ โดย มันถูกบัญญัติไว้กว้างๆ ในดุอาที่ถูกกล่าวเอาไว้กว้างๆ และมันถูกบัญญัติเอาไว้เป็นการเฉพาะ ในสิ่งที่ปรากฏหลักฐาน จากบรรดาประเภทดุอาที่ถูกกล่าวไว้เป็นการเฉพาะ และความหมายดังกล่าวคือ จะไม่ถูกบัญญัติใช้ให้ยกมือทั้งสองในทุกๆดุอา ตัวอย่าง เช่น ดุอาช่วงท้ายของละหมาดก่อนกล่าวสลาม หรือ ดุอาหลังจากกล่าวสลาม ทั้งนี้เพราะไม่ปรากฏในอัสสุนนะฮ แสดงบอกให้กระทำดังกล่าว และ แท้จริงมีบัญญัติใช้ให้ยกมือทั้งสอง ในสิ่งที่อัสสุนนะฮแสดงบอก มีบัญญัติให้กระทำ และเพราะเหตุนี้ จึงไม่มีบัญญัติใช้ให้บรรดามะอฺมูม ยกมือทั้งสองของพวกเขา ขณะที่คอฏิบอ่านดุอาอยู่บนมิมบัร ในวันศุกร์ และแท้จริงอิหม่ามมุสลิม(ขออัลลอฮเมตตต่อท่าน)ได้บันทึกหะดิษรายงานจากอุมาเราะฮ บินรุอัยบะฮ ว่า เขาได้เห็น บิชร์ บิน มัรวาน ยกมือของเขาทั้งสอง ขอดุอาอยู่บนมิมบัร เขาจึงกล่าวว่า “อัลลอฮ ทรงรังเกียจสองมือนี้” ความจริงฉันเห็นรซูลลุลลอฮ ไม่ได้เพิ่มเติมมากไปกว่าการกล่าวด้วยมือของท่านแบบนี้” แล้วเขาก็ได้แสดงด้วยนิ้วมือของของเขาที่ใช้นับเวลากล่าวตัสเบียะ ,อิหม่ามนะวาวีย์ กล่าวว่า ในหะดิษนี้ (เป็นหลักฐานแสดงว่า)แท้จริงตามสุนนะฮนั้น ไม่มีการยกมือ ในการอ่านคุตบะฮ - วัลลอฮุอะอฺลัม
http://www.ejabh.com/arabic_article_85092.html
http://www.azsunnah.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=6&postdays=0&postorder=asc&start=60 _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|