ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
ahmadee มือใหม่
เข้าร่วมเมื่อ: 10/08/2009 ตอบ: 2
|
ตอบ: Wed Aug 12, 2009 1:39 pm ชื่อกระทู้: ละหมาดเดินทาง |
|
|
เรียนถามเกี่ยวกับหลักปฏิบัติที่ถูกต้องเกี่ยวกับระยะเวลาที่อนุญาติให้ละหมาดย่อ/รวม กรณีเดินทางมาศึกษาต่อใน กทม 2 ปี อยากทราบว่าอนุญาติให้ละหมาดย่อ/รวมได้นานแค่ไหน(เคยทราบว่ามีฮาดิษว่าท่านนบีเคยทำติดต่อเป็นเวลา 2 ปี)ฮาดิษนี้จะนำมาใช้อย่างไร |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Wed Aug 12, 2009 11:51 pm ชื่อกระทู้: Re: ละหมาดเดินทาง |
|
|
ahmadee บันทึก: |
เรียนถามเกี่ยวกับหลักปฏิบัติที่ถูกต้องเกี่ยวกับระยะเวลาที่อนุญาติให้ละหมาดย่อ/รวม กรณีเดินทางมาศึกษาต่อใน กทม 2 ปี อยากทราบว่าอนุญาติให้ละหมาดย่อ/รวมได้นานแค่ไหน(เคยทราบว่ามีฮาดิษว่าท่านนบีเคยทำติดต่อเป็นเวลา 2 ปี)ฮาดิษนี้จะนำมาใช้อย่างไร |
ลองศึกษาจากฟัตวาข้างล่างนี้ครับ
เมื่อเดินทางถึงจุดหมายแล้ว
จะละหมาดย่อได้กี่วัน?
โดย อับดุศศอมัด อัน นัดวียฺ
คำถาม คนเดินทางนั้นสามารถละหมาดย่อได้ตลอดตราบที่เขาอยู่ในการเดินทางไม่ว่าจะนานแค่ไหนก็ตาม แต่เมื่อเขาถึงจุดหมายปลายทางที่ต้องการแล้ว เขาจะละหมาดย่อได้อีกนานเท่าไหร่?
คำตอบ เรื่องนี้ศาสนาไม่ได้กำหนดระยะเวลาที่ตายตัว และไม่มีตัวบทหะดีษที่เจาะจงเวลาที่แน่นอนอย่างชัดเจน บรรดาอุละมาอ์มีความเห็นแตกต่างถึง 11 ความเห็น ที่มีชื่อเสียงนั้นมีอยู่ 4 ทัศนะดังนี้
ความเห็นที่หนึ่ง ׃ ถ้าผู้เดินทางตั้งใจว่าจะอยู่เกินสี่วัน ก็ไม่อนุญาตให้เขาละหมาดย่อ นี่เป็นทัศนะของมัซฮับมาลิกี ชาฟีอียฺ และฮัมบาลียฺ
ความเห็นที่สอง ׃ ถ้าผู้เดินทางตั้งใจว่าจะอยู่เกินสิบห้าวัน เขาจะละหมาดย่อไม่ได้ นี่เป็นทัศนะของอบู หะนีฟะฮฺ อัษเษารียฺ และอัลมุซนียฺ
ความเห็นที่สาม ׃ ผู้เดินทางสามารถละหมาดย่อได้ตลอด ตราบที่เขาไม่คิดจะพำนักอยู่ที่นั่นอย่างถาวร นี่เป็นทัศนะของอัลหะซัน เกาะตาดะฮฺ อิสหาก และอิบนุ ตัยมียะฮฺก็เห็นด้วยกับทัศนะนี้
ความเห็นที่สี่ ׃ ผู้เดินทางสามารถละหมาดย่อได้ 20 วัน 20 คืน จากนั้นต้องละหมาดเต็ม ไม่ว่าเขาตั้งใจว่าจะพำนักอยู่ที่นั่นหรือไม่ก็ตาม นี่เป็นทัศนะของอิบนุ หัซมฺ
ทัศนะที่มีน้ำหนัก
ในอัลกุรอานและอัซซุนนะฮฺ มีแต่คำว่า มุซาฟิร (ผู้เดินทาง) และคำว่ามุกีม(คนพำนักในถิ่นฐานของตน) ดังนั้นคนที่เดินทางไปถึงท้องถิ่นที่ไม่ใช่บ้านของเขาและพักอยู่ที่นั่นนั้นต้องแยกออกเป็นสองกรณี
กรณีที่หนึ่ง คนที่เมื่อเขาเดินทางถึงจุดหมายแล้ว เขาวางสัมภาระและไปจัดหาที่พักเป็นส่วนตัวของเขา พร้อมทั้งตกแต่งที่พัก และอาศัยอยู่ที่นั่นอย่างสงบมั่นคง อย่างนี้ถือว่าเขาเป็นมุกีม(คนท้องถิ่นนั้น) เขาจะละหมาดย่อไม่ได้ ไม่ว่าจะกี่วันก็ตาม เพราะเป็นการพิจารณาถึงเจตนารมณ์ในการเข้าพัก ส่วนหนึ่งดูได้จากสภาพของที่พัก โดยไม่พิจารณาถึงจำนวนเวลาที่พัก
กรณีที่สอง คนที่เข้าพักยังที่พักซึ่งไม่ทำให้เขามีความรู้สึกว่าเป็นการตั้งถิ่นฐานอย่างมั่นคงที่นั่น เช่นห้องรับรองแขก ดังนี้เขาก็คือมุซาฟิร(คนเดินทาง)ซึ่งสามารถละหมาดย่อได้ตลอด แม้เขาจะอยู่ที่นั่นมากกว่ายี่สิบวัน ตัวอย่างเช่น ชายคนหนึ่งอยู่เมืองหลวงแล้วเขาเดินทางไปต่างจังหวัดเพื่อทำธุระ ซึ่งใช้เวลาประมาณหนึ่งเดือน โดยนอนบ้านญาติบางสัปดาห์ และบางสัปดาห์ก็นอนบ้านเพื่อน อย่างนี้ถือว่าเขาเป็นคนเดินทาง เขาจึงสามารถละหมาดย่อได้ตลอดจนกว่าจะกลับเมืองหลวง นี่เป็นทัศนะที่ใกล้เคียงกับความเห็นที่สาม
ด้วยหลักการพิจารณานี้ เราจึงเห็นว่านักศึกษาที่เดินทางไปเรียนยังสถาบันการศึกษาต่างๆ แล้วพักอยู่ในเมืองที่สถาบันนั้นตั้งอยู่ โดยพวกเขามีที่พักเป็นการเฉพาะ ถือว่าพวกเขาเป็นมุกีมไม่ใช่คนเดินทาง พวกเขาจึงละหมาดย่อไม่ได้ วัลลอฮุ อะอฺลัม
.................................................
อ้างอิง
เศาะฮีฮฺ ฟิกฮุซซุนนะฮฺ โดย อบู มาลิก กะมาล อิบนุ อัซซิด ซาลิม
http://tawbah.org/index.php?option=com_content&task=view&id=42&Itemid=31 _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|