ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
sengship มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 10/09/2008 ตอบ: 102
|
ตอบ: Sun Dec 21, 2008 7:09 am ชื่อกระทู้: มาแล้วคับ.. |
|
|
อัสลามูอาลัยกุม..
ขอถามหน่อยคับ ละหมาดรวมทำยังไงในกรณีอะไรบ้าง
ละหมาดย่อทำยังไงกรณีอะไรบ้าง
บอกวิธีปฏิบัติด้วยน่ะคับ
..ยาซากัลลอฮ์ฮุค็อยร็อน.. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
ตอบ: Sun Dec 21, 2008 3:39 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
นมาซย่อ และนมาซรวม
นมาซย่อ และนมาซรวม
โดย อ.มุรีด ทิมะเสน
ศาสนาอนุญาตให้มุสลิมนมาซย่อได้ก็ต่อเมื่อเขาอยู่ในภาวะเดินทาง
พระองค์อัลลอฮฺทรงตรัสไว้ว่า และเมื่อสูเจ้าเดินทางไปบนหน้าแผ่นดิน ก็ไม่มีบาปอันใดสำหรับสูเจ้าที่สูเจ้าจะนมาซย่อ
อันที่จริงบทบัญญัติแรกเริ่มการนมาซฟัรฺฎูนั้นถูกประทานให้นมาซเพียง 2 ร็อกอะฮฺ ภายหลังจากนั้นจึงถูกเพิ่มเป็น 4 ร็อกอะฮฺ (ยกเว้นนมาซศุบหฺ และนมาซมัฆริบ)
ท่านหญิงอาอิชะฮฺเล่าว่า ความจริงการนมาซนั้นได้ถูกบัญญัติมาทีละ 2 ร็อกอะฮฺ (ทีละ) 2 ร็อกอะฮฺที่มักกะฮฺ เมื่อท่านรสูลุลลอฮฺเข้ามาอยู่ที่เมืองมะดีนะฮฺจึงมีการเพิ่มพร้อมๆ กันทุกๆ 2 ร็อกอะฮฺ อีก 2 ร็อกอะฮฺ ยกเว้นเวลามัฆริบ เพราะมันเป็นเวลาคี่ของกลางวัน และเวลานมาซฟัรฺจญ์ (นมาซศุบหฺ) เพราะต้องอ่านยาว ครั้นเมื่อท่านนบีเดินทาง ท่านจะนมาซเฉกเช่นการนมาซ (ที่ถูกประทาน) ในครั้งแรก (คือนมาซ 2 ร็อกอะฮฺที่บัญญัติไว้ขณะอยู่ที่มักกะฮฺ)
ข้อชี้ขาดเกี่ยวกับการนมาซย่อสำหรับผู้เดินทาง
นักวิชาการมีความขัดแย้งกันว่า การนมาซฟัรฺฎู 2 ร็อกอะฮฺ (จาก 4 ร็อกอะฮฺ) ขณะเดินทางนั้นเป็นวาญิบ (จำเป็นต้องทำ) หรือ เป็นสุนนะฮฺมุอักกะดะฮฺ (เน้นหนักให้กระทำ) หรืออนุญาตให้ทำ บทสรุปของคำตอบข้างต้นคือ การนมาซฟัรฺฎูจาก 4 ร็อกอะฮฺ เหลือ 2 ร็อกอะฮฺสำหรับผู้เดินทางนั้นถือว่า สุนนะฮฺมุอักกะดะฮฺ กล่าวคือ เน้นหนักให้ผู้เดินทางกระทำการนมาซย่อนั่นเอง
ระยะทางที่ศาสนาอนุญาตให้นมาซย่อ
การกำหนดระยะทางที่อนุญาตให้นมาซย่อนั้น ไม่พบหลักฐานจากท่าน รสูลุลลอฮฺที่ระบุสิ่งข้างต้นไว้ ส่วนบรรดานักวิชาการต่างก็มีความเห็นแตกต่างกันไป แต่ที่เป็นบทสรุปคงจะเป็นการกระทำของท่านรสูลุลลอฮฺขณะที่ท่านรสูลเดินทางออกจากเมืองมะดีนะฮฺแล้วนมาซย่อ
ท่านอนัสเล่าว่า ครั้นเมื่อท่านบีมุหัมมัดออกเดินทางเป็นระยะทาง 3 ไมล์ หรือ ฟัรฺซัค ท่านนบีจะนมาซ 2 ร็อกอะฮฺ
อีกหะดีษหนึ่งท่านอบูสะอีดเล่าว่า เมื่อท่านรสูลุลลอฮฺเดินทางเป็นระยะทาง 1 ฟัรฺซัค ท่านนบีจะนมาซย่อ
เป็นที่ทราบกันดีว่า 1 ฟัรฺซัค เท่ากับ 3 ไมล์ ฉะนั้นที่มีรายงานจากการกระทำของท่านรสูลุลลอฮฺคือ ท่านรสูออกเดินทางออกจากเมืองมะดีนะฮฺเพียง 3 ไมล์ (หรือประมาณ 5 กิโลเมตร) ท่านรสูลก็นมาซย่อแล้ว ฉะนั้นเมื่อมุสลิมคนหนึ่งเดินทางออกจากเมืองของตนเองได้เพียง 5 กิโลเมตร ศาสนาอนุญาตให้เขานมาซย่อได้แล้วนั่นเอง
สถานที่อนุญาตให้นมาซย่อ (เริ่มนับตรงไหน?)
นักวิชาการส่วนใหญ่ถือว่า การนมาซย่อนั้นบทบัญญัติให้แก่ผู้ที่เดินทางออกจากที่พักอาศัยและพ้นออกจากเมืองของเขาเสียก่อน ซึ่งท่านนบีมุหัมมัดจะยังไม่นมาซย่อในการเดินทาง ยกเว้นว่าท่านนบีจะต้องเดินทางออกจากเมืองมะดีนะฮฺเสียก่อน
ท่านอนัสเล่าว่า ฉันนมาซซุฮฺริร่วมกับท่านนบีมุหัมมัดที่เมืองมะดีนะฮฺ 4 ร็อกอะฮฺ แต่ที่ (เมือง) ซุลหุลัยฟะฮฺนมาซ 2 ร็อกอะฮฺ
จำนวนกี่วันที่อนุญาตให้นมาซย่อขณะเดินทาง?
ผู้เดินทางสามารถนมาซย่อได้ตลอด ตราบใดที่เขายังคงอยู่ในภาวะเดินทาง หรือแม้กระทั่งเขาหยุดพำนักยังสถานที่ที่เขาทำธุรกิจ หรือภาระกิจของเขายังไม่เสร็จ ก็ให้เขานมาซย่อได้ เพราะถือว่าเขาอยู่ในสถานะของผู้เดินทางนั่นเอง แม้ว่าเขาจะพำนักอยู่เป็นระยะเวลา 2 ปีก็ตาม
ท่านญาบิรฺเล่าว่า ท่านรสูลุลลอฮฺพำนักที่ (เมือง) ตะบูก 20 วัน โดยท่าน รสูลนมาซย่อ
ท่านนาฟิอฺเล่าว่า ท่านอิบนุอุมัรฺ (ซึ่งเป็นเศาะหาบะฮฺ) พำนักอยู่ที่ (เมือง) อาเซอร์ไบจัน 6 เดือน โดยเขานมาซ (ย่อ) 2 ร็อกอะฮฺ และที่ต้องอยู่ที่นั้นก็เพราะหิมะตกหนักเป็นอุปสรรคมิให้เขาเข้าเมืองได้
ท่านอนัสเล่าว่า บรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านนบีพำนักที่ (เมือง) รอมฮุรฺมุซ 7 เดือนในสภาพที่นมาซย่อ
ท่านหะสันเล่าว่า ฉันพำนักอยู่กับอับดุรเราะมาน อิบนุสะมุเราะฮฺ (ซึ่งเป็นเศาะหาบะฮฺ) ที่เมืองคาบูลเป็นระยะเวลา 2 ปี ในสภาพที่นมาซย่อ แต่ไม่รวมนมาซ
การนมาซสุนนะฮฺในขณะเดินทาง
นักวิชาการส่วนใหญ่มีทัศนะว่า ไม่ถือว่าเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ (มักรูหฺ) ว่าด้วยการนมาซสุนนะฮฺสำหรับผู้เดินทางและนมาซย่อ ไม่ว่าจะเป็นนมาซสุนนะฮฺเราะวาติบ หรือนมาซสุนนะฮฺอื่นๆ ก็ตาม
ท่านอิบนุอุมัรฺเล่าว่า แท้จริงท่านบีมุหัมมัดเคยอาบน้ำที่บ้านของอุมมุฮานิอินในวันพิชิตมักกะฮฺโดยนมาซนมาซ (สุนนะฮฺดุฮา) 8 ร็อกอะฮฺ
การเดินทางในวันศุกร์
ศาสนาอนุญาตให้มุสลิมเดินทางในวันศุกร์ได้ ตราบที่ยังไม่ถึงเวลานมาซวันศุกร์
ท่านอุมัรฺ (บุตรของค็อฏฏอบ) ได้ยินชายผู้หนึ่งกล่าวว่า หากวันนี้ไม่ใช่วันศุกร์ ฉันจะออกเดินทาง ท่านอุมัรฺกล่าวขึ้นว่า ท่านจงออกเดินทางไปเถิด เพราะวันศุกร์มิได้ (เป็นเหตุ) ยับยั้งการเดินทางหรอก
การนมาซรวม
ศาสนาอนุญาตให้นมาซซุฮฺริรวมกับนมาซอัศริ หรือนมาซมัฆริบรวมกับนมาซอิชาอ์ไม่ว่าจะเป็นการรวมนมาซในเวลาแรก หรือในเวลาหลังก็ตาม ซึ่งกรณีที่อนุญาตให้รวมนมาซมีดั่งนี้
1. นมาซรวมที่อะเราะฟะฮฺ และที่มุซดะลิฟะฮฺ
บรรดานักวิชาการมีมติว่า อนุญาตให้รวมนมาซซุฮฺริกับนมาซอัศริในเวลาแรก กล่าวคือ นมาซซุฮฺริรวมกับนมาซอัศริที่อะเราะฟะฮฺในเวลาของซุฮฺริ และให้นมาซ มัฆริบรวมกับอิชาอ์ในเวลาของนมาซอิชาอ์ที่มุซดะลิฟะฮฺ
2. นมาซรวมในขณะเดินทาง
ศาสนาอนุญาตให้ผู้เดินทางนมาซรวมสองเวลาได้ โดยไม่พิจารณาว่าจะรวมนมาซในระหว่างเดินทาง หรือรวมนมาซขณะพำนักในระหว่างเดินทาง
ท่านมุอาซเล่าว่า ปรากฏว่าท่านรสูลุลลอฮฺออกไปในสงครามตะบูก ครั้งเมื่อดวงอาทิตย์คล้อยก่อนที่ท่านรสูลจะเดินทาง ท่านจะนมาซซุฮฺริและอัศริรวมกันและเมื่อท่านรสูลออกเดินทางก่อนดวงอาทิตย์คล้อย ท่านรสูลก็จะนมาซซุฮฺริล่าออกไปจนกระทั่งเข้าเวลานมาซอัศริ
3. การนมาซรวมอันเนื่องจากฝนตก
กรณีที่มีฝนตก เกิดความยากลำบาก และไม่สามารถป้องกันนะญิสบนถนนหนทางได้ เช่นนี้ศาสนาอนุญาตให้นมาซสองเวลารวมกันได้ ตัวอย่างเช่น ที่มัสญิดมีการนมาซมัฆริบในช่วงเวลาดังกล่าวก็เกิดฝนตก เช่นนี้ภายหลังที่นมาซมัฆริบเสร็จแล้วอนุญาตให้นมาซอิชาอ์รวมไปด้วย
โดยมีหะดีษระบุไว้ว่า แท้จริงท่านบีมุหัมมัดรวมนมาซมัฆริบรวมกับนมาซ อิชาอ์ในคืนที่มีฝนตก
อนึ่ง เห็นด้วยกับนักวิชาการบางท่านที่ระบุว่า การนมาซรวมอันเนื่องจากฝนตกนั้นอนุญาตให้สำหรับที่ไปนมาซญะมาอะฮฺที่มัสญิด กล่าวคือบุคคลที่อยู่ไกลๆ จากมัสญิดซึ่งเขาเดินทางมาแล้วทำให้เปียกฝน
ส่วนกรณีบุคคลที่อยู่ในมัสญิด, บุคคลที่นมาซญะมาอะฮฺภายในบ้าน, บุคคลที่เดินมามัสญิดโดยมีสิ่งป้องกันมิได้เปียกฝน หรือบุคคลที่อยู่ใกล้มัสญิด ดั่งกล่าวนี้ไม่อนุญาตให้นมาซรวม
4. การนมาซรวมอันเนื่องจากเจ็บป่วย หรือมีอุปสรรค
อนุญาตให้นมาซรวมได้ไม่ว่าจะเป็นการนมาซรวมในเวลาแรก หรือเวลาหลังอันเนื่องจากการเจ็บป่วย หรือได้รับความลำบากอันเนื่องจากฝนตกหนัก
อิมามนะวะวีย์แสดงทัศนะว่า อนุญาตให้รวมนมาซได้อันเนื่องจากการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับการนมาซทุกเวลาที่ทำให้เกิดความยากลำบาก และผู้ป่วยก็อ่อนแอด้วย
ท่านอิบนุตัยมิยะฮฺกล่าวว่า แนวทางที่พูดถึงเรื่องดังกล่าวซึ่งแสดงทัศนะที่เปิดกว้างที่สุดคือแนวทางของฮัมบาลีย์ที่อนุญาตให้นมาซรวมได้ สำหรับพ่อครัว,คนทำอาหาร, คนทำขนมปัง และอื่นๆ ที่กลัวว่าจะทำให้ทรัพย์สินเสียหาย
สรุปคือ กรณีที่เกิดความยากลำบาก, มีอุปสรรคอันจำเป็น หรืออยู่ภาวะเจ็บป่วย เช่นนี้ก็อนุญาตให้นมาซรวมสองเวลาเข้าด้วยได้ กล่าวคือ นมาซซุฮฺริรวมกับนมาซอัศริ หรือนมาซมัฆริบรวมกับนมาซอิชาอ์
5. การนมาซรวมเพื่อความสะดวก
ท่านอิบนุ อับบาสเล่าว่า ท่านรสูลุลลอฮฺนมาซรวมหระหว่างซุฮฺริกับอัศริ และระหว่างมัฆริบกับอิชาอฺที่เมืองมะดีนะฮฺ (คือเมืองที่นบีพำนักอยู่) โดยไม่ใช่สาเหตุจากความหวาดกลัว และไม่เกี่ยวกับฝนตก มีผู้ถามอิบนุอับบาสว่า ท่านนบีต้อกการอะไรเกี่ยวกับเรื่อง (การนมาซรวม) นั้น? ท่านอิบนุอับบาสตอบว่า ท่านนบีไม่ต้องการให้เกิดความยากลำบากแก่ประชาชาชาติของท่าน (บันทึกโดยมุสลิม)
กล่าวคือ การนมาซรวมมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดความสะดวกแก่มุสลิมทุกคน ศาสนาจึงอนุญาตให้มุสลิมนมาซรวมสองเวลาเข้าด้วยกัน คือนมาซซุฮฺริรวมกับนมาซอัศริ และนมาซมัฆริบรวมกับอิชาอฺ (ดั่งเงื่อนไขที่กล่าวมาแล้วข้างต้น) แต่อย่างไรก็ตาม การนมาซตามเวลาของแต่ละนมาซนั้นเป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สุดอยู่แล้ว ซึ่งท่านนบีมุหัมมัดการนมาซตรงเวลาเป็นการงานที่ประเสริฐสุดนั่นเอง
http://www.fityatulhaq.net/board/viewthread.php?tid=151 _________________ จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
asan ผู้ดูแลกระดานเสวนา
เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005 ตอบ: 3165
|
|
กลับไปข้างบน |
|
|
sengship มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 10/09/2008 ตอบ: 102
|
ตอบ: Mon Dec 22, 2008 4:39 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
บังasan คับ บอกวิธีเหนียตและละหมาดด้วยคับ ผมต้องใช้คับ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
sengship มือเก๋า
เข้าร่วมเมื่อ: 10/09/2008 ตอบ: 102
|
ตอบ: Mon Dec 22, 2008 4:43 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
แล้วกี่รอกาอัตคับ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|