ข้อตัดสินของการดูจันทร์เสี้ยวตามประเทศอื่นๆ ตอนที่4
วัน อังคาร 01 ก.พ. 11 @ 22:05
หัวข้อ: ห้องสมุดอะฮลุ้ลหะดีษ



الترجيح بين الأ دلة

สรุปผลวิชาการด้านตัวบท(อะดิ้ลละฮ์)

การประจักษ์จันทร์เสี้ยวเพื่อค้นหาวันแรกของรอมฎอน หรือกำหนดอีดิ้ลฟิฏริมีอยู่สองวิธีคือ

วิธีแรกด้วยกับการประจักษ์เดือนเสี้ยว

วิธีที่สองด้วยกับการนับเดือนชะอฺบานให้ครบ 30 วัน โดยอาศัยตามตัวบทจากท่านนบี ซึ่งเป็นหะดิษของอะบูฮูร็อยเราะฮ์

لقوله صلى الله عليه وسلم : صوموالرؤيته وافطرو الرؤيته فإن غم عليكم فاكملوا عدة شعبان ثلاثين يوما

ท่านนบี ซ็อลล็อลลอฮุอะไลฮิวะซัลลัมกล่าวว่า“พวกท่านทั้งหลายจงทำการถือศีลอดต่อเมื่อมีการประจักษ์จันทร์เสี้ยว และก็จงออกศีลอด(อีดิ้ลฟิฏริ)ต่อเมื่อมีการประจักษ์จันทร์เสี้ยวหากเมฆหมอกปกคลุมพวกท่านทั้งหลายก็จงนับเดือนชะอฺบานให้ครบ 30 วัน”

เมื่อไหร่มีการพิสูจน์และค้นหาจันทร์เสี้ยวจากทิศหนึ่งทิศใดในโลกจำเป็นทุกๆที่(วาญิบ)ต้องถือศีลอด โดยไม่ต้องพิจรณาถึงเรื่องของข้อแตกต่างของข้างขึ้นข้างแรมของแต่ละประเทศแต่ละแคว้นที่แตกต่างกัน (اختلاف المطا لع)
นอกจากนี้ไม่มีข้อแตกต่างของระยะทางไม่ว่าจะใกล้หรือไกล อันนี้ถือเป็นการ(اتفاق) มติของอิหม่ามเจ้าของมัซฮํบทั้งสาม คือ อบูหะนีฟะฮ์ อิหม่ามมาลิกบินอะนัส อิหม่ามอะห์หมัดบินฮัมบัล ยกเว้นอิหม่ามชาฟีอีย์เพียงท่านเดียวที่ให้ทรรศนะต่างกับ(الجمهور) นักวิชาการส่วนมาก ถึงฉนั้นก็ตามนักวิชาการฝ่ายอิหม่ามชาฟีอีย์เองก็ยังให้ทรรศนะที่แตกต่างกันไป
อิหม่ามนะวะวีย์ได้ยึดเอา(مطلع) ข้อแตกต่างของข้างขึ้นข้างแรมของแต่ละประเทศเป็นหลัก
ส่วนเจ้าของหนังสือมุฆนีย์อัลมุห์ตาจ โดย มูฮำมัดอัลคอฏิบ อัชชุรบีนีย์ ได้ให้น้ำหนักหะดิษของท่านกุเรบมากกว่า
ส่วนอิหม่ามอัรรอฟิอีย์กับอิหม่ามอัลบัฆวีย์ทั้งสองได้ใช้(مسافة القصر) ระยะทางที่ศาสนาอนุมัติให้นมาซย่อ ใช้พิจรณาในการประจักษ์ในการประจักษ์เดือนเป็นหลัก
ต่อมานักวิชาการส่วนใหญ่ได้ตอบโต้หลัก (قياس) การเปรียบเทียบในเรื่องดังกล่าวต่อมัซฮับชาฟีอีย์ว่า การที่จะเอาระยะทางที่ศาสนาอนุมัติให้นมาซย่อได้มาเป็นบรรทัดฐานในการตัดสิน อันนี้ถือว่าเป็นการไม่ยึดเอาตัวบทของศาสนา

นอกจากนี้นักวิชาการ(อัลญุมฮุร) ได้นำหะดิษของท่านอะบูฮุร็อยเราะฮ์ที่ท่านนบีกล่าว่า

لقوله صلى الله عليه وسلم : صوموالرؤيته وافطرو الرؤيته فإن غم عليكم فاكملوا عدة شعبان ثلاثين يوما

ท่านนบี ซ็อลล็อลลอฮุอะไลฮิวะซัลลัมกล่าวว่า“พวกท่านทั้งหลายจงทำการถือศีลอดต่อเมื่อมีการประจักษ์จันทร์เสี้ยว และก็จงออกศีลอด(อีดิ้ลฟิฏริ)ต่อเมื่อมีการประจักษ์จันทร์เสี้ยวหากเมฆหมอกปกคลุมพวกท่านทั้งหลายก็จงนับเดือนชะอฺบานให้ครบ 30 วัน”

قال ملا على فى المرقاة : فاللام للتعليل والضميرللهلال على حد

ท่านมุลาอาลีอัลกอรีย์กล่าวว่า อักษรลาม(ل)ที่ปรากฏในสำนวนของหะดิษ บ่งบอกถึงเหตุที่มีการถือศีลอดก็เนื่องจากการประจักษ์และพิสูจน์หาจันทร์เสี้ยว
ส่วนศัพท์นามที่อยู่ในสำนวนหะดิษคือฮา(ه) กลับไปหาจันทร์เสี้ยวเพียงเท่านั้น
จึงสรุปได้ว่าหะดิษดังกล่าวจึงเป็นการบ่งชี้(วาญิบ)สำหรับมุสลิมทุกๆคนให้ถือศีลอดเมื่อได้รับข่าวการประจักษ์เดือนเสี้ยวจากทุกที่ทุกแห่ง เพราะคำสั่งของท่านนบีตรงนี้ตามภาษาพื้นฐานของนักนิติศาสตร์อิสลามนักอุสุลิยูน(الأصوليون) เรียกว่า มุตลัก(مطلق) คำที่บ่งถึงหรือเจาะจงสิ่งหนึ่งสิ่งใดโดยไม่มีการจำกัดหรือถ้าจะแปลให้ตรงตัวคือคำที่บ่งถึงการเป็นอิสระในตัวของมัน
เมื่อเป็นเช่นนั้นมันจึงเป็นการเพียงพอสำหรับที่จะยอมรับการประจักษ์เดือนเสี้ยวจากผู้คนส่วนมากหรือเพียงคนเดียวที่เป็นมุสลิมที่เชื่อถือได้
จนกว่าจะมีคำสั่งจากท่านนบีมามุก็อยยัด(مقيد) จำกัดความหมายของหะดิษ(มิให้รับการประจักษ์จันทร์เสี้ยวจากที่หนึ่งที่ใด)

ส่วนหะดิษของท่านกุเรบที่นักนิติศาสตร์อิสลามได้นำมาอ้างอิงประกอบทรรศนะของพวกเขาก็เกิดการระส่ำระส่าย(اضطراب) ก็เนื่องจากว่าตัวของท่านอิบนุอับบาสเองไม่ยอมรับการประจักษ์จันทร์เสี้ยวของประชาชนชาวเมืองชาม ที่เป็นที่รู้กันว่าระยะทางระหว่างนครมะดีนะฮ์อัลมุเนาวาเราะฮ์กับประเทศชามห่างกันประมาณ 1000 กิโลเมตรเศษๆ ซึ่งถ้าจะเปรียบไปกับประเทศไทยของเราก็ยังมีบางจังหวัดห่างกันถึง 1000 กิโลเมตรฉนั้นก็ยังจัดว่ามะดีนะฮ์กับชามก็ยังอยู่ในโซนเดียวกันอยู่
แต่มันก็มิใช่ประเด็นหลัก เพราะปัญหามันมีอยู่ว่าเหตุไฉน? อิบนุอับ บาสเองไม่ยอมรับการบอกข่าวของท่านกุเรบเพราะอะไร ?
ก็เพราะว่าเป็นการใช้ดุลย์พินิจของอิบนุอับบาสเอง ซึ่งภาษาของนักอุสุลเรียกว่า อิจติฮาด(اجتهاد) การใช้ดุลพินิจส่วนตัว ซึ่งจะนำมาเป็นมาตรฐานในการยืนยันทางด้านตัวบทไม่ได้เป็นอันขาด เพราะเป็นที่รู้ในหมู่มวลนักวิชาการด้านนิติศาสตร์ว่า
(لاإجتهاد فى موردالنص)
ห้ามใช้ดุลย์พินิจวิเคราะห์หรือพิจรณาในขณะที่มีตัวบทเป็นที่ชัดเจนอยู่แล้ว
นอกจากนี้หะดิษของท่านกุเรบที่ท่านอิบนุอับบาสไม่ยอมรับการประจักษ์เดือนเสี้ยว มิได้หมายความว่าเป็นคำสั่งของท่านนบี ใช้มิให้ท่าน และมวลมุสลิมติดตามการประจักษ์เห็นเดือนเสี้ยวที่หนึ่งที่ใด เนื่องจากความหมายของหะดิษดังกล่าว ตามที่อิหม่ามซิดดิ๊กหะซันคานได้อธิบายเอาไว้ว่า
มันเป็น การสงสัยจากอิบนุอับบาสเองว่า การที่จะประจักษ์เดือนเสี้ยวเฉพาะในท้องที่หรือในประเทศใครประเทศมันเท่านั้น ฉนั้นแล้วผู้ใดที่มีทรรศนะดังกล่าว นับว่าเป็นการนำตัวบทศาสนามาใช้แบบผิดๆและด้วยกับหะดิษของอิบนุอับบาสนักวิชาการเกิดการแบ่งออกเป็น 8 กลุ่ม 8 ทรรศนะ

ซึ่งอิบนุหะญัร ที่อธิบายศ่อเหี๊ยะ ของอิหม่ามบุคอรีย์ได้กล่าว ไว้เพียงแค่ 6 กลุ่มเพียงเท่านั้นเอง
นอกจากนี้สิ่งที่เป็นที่ชัดเจนยิ่งไปอีกเจ้าของหนังสือ อัลมุฆนีย์ ของอิหม่ามมุวัฟฟิกุดดีน อิบนุกุดามะฮ์
และอิบนุมุฟลิห์ เจ้าของหนังสืออัลฟุรัวะอฺ รวมทั้งเจ้าของหนังสืออัลมุหัรรอร สามอิหม่ามที่ยิ่งใหญ่นักนิติศาสตร์อิสลาม ได้ให้ข้อคิดเกี่ยวกับการยอมรับการประจักษ์เดือนเสี้ยวจากประเทศอื่นหรือที่หนึ่งที่ใดเอาไว้ว่า
ในเมื่อมุสลิมทุกคนมีสิทธิเสรีภาพทัดเทียมกัน ในการที่จะใช้ข้อบัญญัติต่างๆของอัลลอฮ์ทั่วโลกเช่น การสมรส การอย่าร้าง การอยู่ในอิดดะฮ์ของสตรีที่ถูกอย่า ฉนั้นการถือศีลอดก็เป็นหนึ่งในอะห์กาม(ข้อบัญญัติ)มุสลิมจึงมีสิทธิ์ที่จะรับฟังข่าวจากทุกๆที่ในโลกนี้ได้

ต่อมาเชคอัลบานีย์ ร่อฮิมาฮุ้ลลอฮ์ ยังได้ให้ทรรศนะเกี่ยวกับหะดิษของท่านกุเรบว่า หะดิษดังกล่าวหมายถึง คนหนึ่งหากถือศีลอดด้วยกับการเห็นเดือนในประเทศของเขา ต่อมามีผู้คนบอกเขาว่าที่อื่นเห็นเดือนก่อนเขาหนึ่งวัน เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ให้เขาอยู่ในสภาพถือศีลอดตามประเทศของเขาจนครบ 30 วัน หรือจนกว่าจะมีการแจ้งข่าวการเห็นเดือนเสียก่อนมันจึงจะหมดปัญหาทะเลาะวิวาท
ส่วนหะดิษของท่านอะบูฮูร็อยเราะฮ์ข้างต้นที่ผ่านมา ให้คงตามตัวบทของศาสนาไว้ที่บ่งถึงการประจักษ์เดือนเสี้ยวโดยรวมๆของมุสลิมทั่วๆไป(العموم) ตามหลักการของนักนิติศาสตร์อิสลาม

مكتبة أهل الحديث والاثار
ห้องสมุด อะฮลุ้ลหะดีษ วัลอาษาร
ติดตามตอนต่อไป อินชาอัลลอฮ







บทความนี้มาจาก Moradokislam.org
http://www.moradokislam.org

URL สำหรับเรื่องนี้คือ:
http://www.moradokislam.org/modules.php?name=News&file=article&sid=414