ข้อตัดสินของการดูจันทร์เสี้ยวตามประเทศอื่นๆ ตอนที่ 2
วัน จันทร์ 31 ม.ค. 11 @ 01:01
หัวข้อ: ห้องสมุดอะฮลุ้ลหะดีษ


الأدلة

ตัวบทจากศาสนาที่ใช้ประกอบการยืนยัน นักวิชาการในมัซฮับของอิหม่ามมาลิกได้รวบรวมตัวบทจากศาสนา เพื่อยืนยันและสนับสนุนทรรศนะของพวกเขา อันได้แก่ หะดิษของท่านนบี ซ็อลล็อลลอฮุอะไลฮิวะซัลลัม เล่าจากท่านอะบูฮุร็อยเราะฮ์ (บันทึกโดยอิหม่ามมุสลิม (กิตาบุสศิยาม)

عن ابي هر يرة قال قال صلى الله عليه وسلم : صوموالرؤيته وافطروالرؤيته.... الخ

“พวกท่านทั้งหลายจงทำการถือศีลอดต่อเมื่อมีการประจักษ์จันทร์เสี้ยว และก็จงออกศีลอด(อีดิ้ลฟิฏริ)ต่อเมื่อมีการประจักษ์จันทร์เสี้ยว…” หะดิษดังกล่าวเป็นการชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่าหากมีการแจ้งข่าว หรือประกาศเห็นดวงเดือนจากที่ใด หรือประเทศไหน อันนี้หมายถึงมุสลิมทุกคนติดตามการเห็นจันทร์เสี้ยวได้เหมือนกันทุกๆที่ ซึ่งในเรื่องดังกล่าวไม่มีตัวบทอันใดมาคัดค้าน (مخصص له) จำกัดเฉพาะที่ใดที่หนึ่ง

واستدل الجمهور الفقهاء على أنه يختلف بإختلاف المطالع أوببعد الإ قليم بما روى عن كريب انه قال :’رأيت الهلال بالشام ثم قدمت المدينة فقال ابن عباس متى رأيتم الهلال؟ قلت ليلة الجمعة قال:أنت رأيته ؟ قلت نعم ورآ ه الناس وصاموا وصام معاوية فقال لكنا رأيناه ليلة السبت فلانزا ل نصوم حتى نكمل العدة فقلت أولا نكتفي برؤيةمعاو ية وصيامه ؟ قال لا هكذا أمرنا رسول الله صلى الله عليه وسلم‘(رواه الجماعةالاالبخارىوابن ماجه)

นักวิชาการด้านนิติศาสตร์อิสลาม (ญุมฮูรฟุกอฮาอฺ) ได้นำตัวบทจากศาสนาประกอบการยืนยันว่า ที่มาของข้างขึ้นข้างแรมบวกกับระยะทางของแต่ละทวีปมันต่างกัน ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงมีการเล่าหะดิษจากท่านกุเรบกล่าวว่า “ข้าพเจ้าเห็นจันทร์เสี้ยวที่ประเทศชาม ต่อมาข้าพเจ้าจึงมาที่ นครมะดีนะฮ์ อิบนุอับบาสถามท่านกุเรบว่า พวกท่านเห็นเดือนเมื่อไหร่? ท่านกุเรบตอบว่า “เมื่อวันศุกร์” อิบนุอับบาสถามอีกว่า “ตัวท่านเองเป็นคนเห็นจันทร์เสี้ยว

ใช่ไหม ?” ท่านตอบว่า “ใช่ รวมถึงประชาชนชาวเมืองชามด้วย แล้วพวกเขาจึงพากันถือศีลอด และท่านมุอาวียะฮ์ก็ถือตามด้วย” อิบนุอับบาสจึงพูดขึ้นมาอีกว่า “ส่วนพวกเราชาวเมืองมะดีนะฮ์เห็นจันทร์เมื่อคืนวันเสาร์พวกเราทุกคนก็จะถือศีลอดไปเช่นนี้จนกว่าจะครบกำหนด” ท่านกุเรบย้อนถามท่านอิบนิอับบาสขึ้นอีกว่า “ไม่เป็นการเพียงพอดอกหรือ ? ต่อการเห็นจันทร์เสี้ยวของท่านมุอาวียะฮ์กับการถือศีลอดของท่าน”ท่านอิบนุอับบาสตอบว่า “มันไม่เป็นการเพียงพอ เช่นนี้เองที่ท่านนบี ซ็อลล็อลลอฮุอะไลฮิวะซัลลัม ใช้ให้พวกเรากระทำ”(บันทึกโดย ญะมาอะฮ์ ยกเว้น บุคคอรีย์ และ อิบนุมาญะฮ์) จากตัวบทหะดิษของท่านกุเรบย่อมพอที่จะหาความเข้าใจและให้ข้อสังเกตุได้อย่างหนึ่งว่า ข้างขึ้นข้างแรมของแต่ละที่มันต่างกัน ซึ่งไปตรงกับทรรศนะของอิหม่ามชาฟีอีย์ที่มีน้ำหนักอีกด้วย
وقد ردجمهور المالكية والحنا بلةعلي جمهور الفقهاء بمايأ تي :
โดยแน่แท้นักวิชาการ (ญุมฮุร) ส่วนมากทั้งมัซฮับของอิหม่ามมาลิก และอิหม่ามอะห์หมัดต่างพากันตอบโต้ทรรศนะของสำนักนิติศาสตร์อิสลาม (ฟุกอฮะอฺ) โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ : การที่นักกฎหมายอิสลามเข้าใจว่าหะดิษของท่านกุเรบที่กล่าวมาข้างต้นเป็นข้อบัญญัติยืนยันให้เห็นว่า ไม่จำเป็นต้องติดตามการเห็นจันทร์เสี้ยวของประเทศหนึ่งประเทศใดก็ได้ เนื่องจากท่านอิบนุอับบาสปฏิบัติเอาไว้
ญุมฮูรมาลิกีย์กับฮัมบะลีย์ตอบว่า : การที่ท่านอิบนุอับบาสไม่ยอมรับการประจักษ์เดือนเสี้ยวของประเทศชามทั้งๆที่มันก็มีระยะทางไม่ไกลกับมะดีนะฮ์มากจนเกินไป นอกจากนี้ก็ไม่ต่างกันมากในเรื่องของข้างขึ้นข้างแรม แต่ข้อสำคัญถือว่าอิบนุอับบาสใช้อิจติฮาด(اجتهاد) ดุลย์พินิจส่วนตัวของท่าน ซึ่งก็เป็นที่ทราบดีอยู่แล้วทางด้านกฎหมายอิสลามว่า การใช้ดุลพินิจจะนำมาเป็นตัวบทมารตฐานอ้างอิงยืนยันไม่ได้ นอกจากนี้มุสลิมทุกคนมีสิทธิเสรีในการใช้ข้อบัญญัติกฎหมายอิสลามร่วมกันได้ทุกหนทุกแห่งในโลกนี้ เมื่อเป็นเช่นนี้การประจักษ์จันทร์เสี้ยวเพื่อกำหนดรอมฎอนหรืออีด ก็เป็นหนึ่งใน (أحكام) ข้อบัญญัติของศาสนาเช่นเดียวกัน โปรดดูหนังสือ احكام الصوم อะห์กามุล อัสเศามฺ โดย ดร.อะบูสุร็อยอฺ อัลฮาดี แผ่นที่ 45 พิมพ์ที่ โรงพิมพ์ อัลหะรอมัยนฺ

وأما القياس فإنهم قاسوا البلدان للبعدة علي المدن القريبة من بلدالرؤية إذلافرق التفرقة تحكم لاتعتمدعلى دليل

ส่วนการกิยาสนั้นนักวิชาการได้ใช้หลักการกิยาส(เปรียบเทียบ)ระยะทางระหว่างประเทศที่ประจักษ์ดวงจันทร์กับพื้นที่ที่ไม่มีการประจักษ์จันทร์เสี้ยว โดยใช้ระยะทางใกล้ไกลเป็นหลักในการเปรียบเทียบ ฉนั้นการกิยาสและระยะทางใกล้ไกล มันไม่มีข้อแตกต่างที่จะเอามาเป็นประเด็นในการตัดสิน โดยไม่ยึดเอาตัวบทจากศาสนาจึงนับได้ว่าเป็นการกิยาส(قياس) ไม่ถูกต้อง

หะดิษดังกล่าวมิได้กำหนดเจาะจงพื้นที่หนึ่งหรือประเทศใดเฉพาะ ทว่ามันเป็นสาสน์จากท่านนบีให้มุสลิมทุกๆคนถือปฏิบัติได้โดยรวมๆ (خطاب عام)
ในหนังสือของอิหม่ามมุวัฟฟิกุดดีน อิบนุกุดามะฮ์ อัลมักดะซีย์ อัลฮัมบะลีย์ เสียชีวิตเมื่อฮิจเราะฮ์ที่ 620 ชื่อว่า อัลมุฆนีย์ (المغنى) ตรวจทานโดย ดร. อับดุลลอฮ์ อับดุลมุห์ซิน อัตตุรกีย์ เล่มที่ 4 แผ่นที่ 328-329 โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้:
قال الإ مام موفق الدين ابن قدا مة المقدسي الحنبلى : وإذارأى الهلال أهل بلد لزم جميع البلادالصوم وهذ اقول الليث وبعض أصحاب الشا فعى
เมื่อมีการประจักษ์จันทร์เสี้ยวจากประเทศหนึ่งประเทศใดแล้วก็ให้ประเทศนั้นถือศีลอดตามได้ทันที และนี่คือทรรศนะหนึ่งของท่านลัยษฺ รวมถึงนักปราชญ์บางกลุ่มของมัซฮับอิหม่ามชาฟีอีย์ นอกจากนี้ท่านยังกล่าวเสริมอีกว่า

ثم قال : ولناقول الله تعالى ’ فمن شهد منكم الشهرفليصمه ‘ وقول النبي صلى الله عليه وسلم للأعرابي لما قال له : الله آ مرك ان تصوم هذا الشهر من السنة ؟ قال : نعم ... الخ
واجمع المسلمون على وجوب صوم شهررمضان وقدثبت أن هذا اليوم من شهر رمضان بشهادة الثقات فوجب صومه على جميع المسلمين
“และสำหรับพวกเราได้ยืนหยัดอยู่บนพระดำรัสของอัลลอฮ์ตะอาลาที่ว่า ((และสำหรับผู้ใดในหมู่สูเจ้าได้ประจักษ์ดวงจันทร์ก็จงถือศีลอดในเดือนนั้น)) นอกจากนี้ท่านนบี ได้ตอบคำถามชาวชนบทที่มาถามท่านว่า อัลลอฮ์ใช่ใหม ? ที่ทรงใช้ให้ท่านถือศีลอดในเดือนนี้ของทุกปี ท่านนบีตอบว่า ใช่ ...” มวลบรรดามุสลิมได้ร่วมกันลงมติว่าหากมีการแจ้งหรือประจักษ์เดือนจันทร์เสี้ยว เพื่อกำหนดการถือศีลอดในเดือนรอมฎอน จากมุสลิมที่เชื่อถือได้ จำเป็นที่ทุกๆคนต้องศีลอดทันทีจากหนัง المغنى لإ بن قدامة อัลมุฆนีย์ โดยอิบนุกุดามะฮ์ ตรวจทานโดย ดร. อับดุลลอฮ์ อับดุลมุห์ซิน อัตตุรกีย์ จัดพิมพ์โดย ทรัพย์ส่วนพระองค์ มรว. ตุรกีย์ บิน อับดุลอาซีซ อาลิซาอุด ต่อมาท่านอิหม่าม นักนิติศาสตร์อิสลาม นักหะดิษ (มุฮัดดิษ) มูฮำมัด บินมุฟลิห์ อัลมักดะซีย์ เสียชีวิตเมื่อ ฮิจเราะฮ์ที่ 763 ซึ่งนับได้ว่าท่านก็เป็นลูกศิษต์ของชัยคุ้ลอิสลามอิบนุตัยมีย์ยะฮ์ได้กล่าวไว้ว่า

قال ابن مفلح فى كتابه الفروع : وان ثبتت رؤيته بمكان قريب أوبعيد لزم جميع البلاادالصوم وحكم من لم يره كمن رآه ولو اختلفت المطالع نص عليه وذكره جماعة للعموم واحتج القا ضى وا لأصحاب وصاحب المغنى والمحرر ثبوت جميع الأ حكام فكذا الصوم

หากได้มีการพิสูจน์การประจักษ์ดวงจันทร์เสี้ยวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แม้นว่าแต่ละเมืองหรือแต่ละประเทศจะอยู่ใกล้หรือไกลกันให้ทุกๆท้องที่ทำการถือศีลอดตามกันได้ทันที อันเนื่องจากว่ากฎของผู้ที่ได้ประจักษ์จันทร์เสี้ยวมันคือกฎอันเดียวกันกับผู้ที่มิได้ประจักษ์ ถึงแม้นว่า (مطلع) มัตละอฺ ข้างขึ้นข้างแรมแต่ละท้องถิ่นแต่ละประเทศจะแตกต่างกันก็ตาม อันนี้ถือว่าเป็นทรรศนะที่อิบนุมุฟลิหฺได้วางเป็นตัวบทเอาไว้ และก็มีนักวิชาการส่วนมากกล่าวว่า ในเรื่องดังกล่าวมันคือสิ่งที่บ่งบอกถึงโดยทั่วๆไป(عام) เช่นเดียวกันกับข้อบัญญัติต่างๆที่คนทุกคนร่วมกันปฏิบัติได้ทุกสถานที่ทั่วโลก เช่นกันนั้นรวมถึงการถือศีลอดด้วย ดังกล่าวคือทรรศนะของนักวิชาการกลุ่มหนึ่ง(ของมัซฮับฮัมบะลีย์) และท่านอัลกอฎีย์ พร้อมทั้งคณะของท่านรวมไปถึงเจ้าของหนังสืออัลมุฆนีย์ และหนังสืออัลมุหัรรอร

ثم قال ابن مفلح وقال شيخنا : تختلف المطا لع بإتفاق اهل المعرفة ان اتفقت لزم الصوم والا فلا وفاقا للأصح للشافعية

ต่อมาอิบนุมุฟลิหฺกล่าวว่า “ส่วนอาจารย์ของพวกเราอิบนุตัยมีย์ยะฮ์ได้ให้ทรรศนะว่า แต่ละที่นั้นมีข้อแตกต่างของข้างขึ้นข้างแรม อันนี้ถือว่าเป็นมติของมวลนักวิชาการ ซึ่งมันไปตรงกับทรรศนะของอิหม่ามชาฟีอีย์ที่ว่า หากข้างขึ้นข้างแรมตรงกันก็จำเป็นต้องถือศีลอดพร้อมกัน หากไม่ตรงกันก็ไม่จำเป็นต้องถือตามกัน ซึ่งตามทรรศนะของอิบนุตัยมีย์ยะฮ์นั้นไม่เกี่ยวกับระยะทางใกล้หรือไกลตามที่อิหม่ามอัลมีรดาวีย์ ผู้ตรวจทานหนังสืออัลฟุรัวะอฺได้กล่าวไว้
قال أبوعمر:لامخالف له من الصحابة وقول طائفة من فقهاء التابعين ومع هذا ان النظريدل عليه عندى

เหล่าสาวกอขงท่านนบีรวมทั้งนักนิติศาสตร์กลุ่มหนึ่งจากตาบิอีน(กลุ่มชนที่เจอกับศ่อฮาบะฮ์)ได้ให้ทรรศนะว่า การที่ไม่ให้ยึดเอาการประจักษ์ดวงเดือนจากสถานที่อยู่ไกลจากประเทศนั้น จึงนับได้ว่าเป็นอิจมะอฺ(اجماع)มติของประชาชาติด้วยกับสิ่งนี้ ข้าพเจ้าจึงมองว่ามันชัดเจนที่สุดแล้ว ณ.ที่ข้าพเจ้า

مكتبة أهل الحديث والاثار
ห้องสมุด อะฮลุ้ลหะดีษ วัลอาษาร
ติดตามตอนต่อไป อินชาอัลลอฮ





บทความนี้มาจาก Moradokislam.org
http://www.moradokislam.org

URL สำหรับเรื่องนี้คือ:
http://www.moradokislam.org/modules.php?name=News&file=article&sid=409