ข้อตัดสินของการดูจันทร์เสี้ยวตามประเทศอื่นๆ ตอนที่ 1
วัน จันทร์ 31 ม.ค. 11 @ 00:40
หัวข้อ: ห้องสมุดอะฮลุ้ลหะดีษ




حكم رؤية الهلال فى بقية البلاد اذاراه اهل بلد

ข้อตัดสินของการดูจันทร์เสี้ยวตามประเทศอื่นๆ ที่มีการพิสูจน์ยืนยันต่อการเห็นดวงจันทร์

นักวิชาการทางด้านนิติศาสตร์อิสลาม (ฟุกอฮาอฺ) ได้แสดงทรรศนะที่แตกต่างกันไปของแต่ละกลุ่มซึ่งจะนำมากล่าวโดยสังเขป ดังต่อไปนี้

กลุ่มแรกให้ทรรศนะว่าการพิจารณาในการประจักษ์จันทร์เสี้ยวเพื่อกำหนดการถือศีลอดในเดือนรอมฎอน หรือออก ศีล (อีดิ้ลฟิฏริ) อันนี้ขึ้นอยู่กับการประจักษ์ของแต่ละประเทศเป็นผู้กำหนดเองโดยไม่จำเป็นต้องไปอาศัยการดูดวงจันทร์ของประเทศใดๆ ทรรศนะดังกล่าวได้แก่

มัซฮับชาฟีอีย์บางกลุ่ม ในหนังสือ المجموع อัลมัจมุอฺฟีชัรฮิลมุฮัซซับ อธิบายโดยอิหม่ามอัลนะวาวีย์ กล่าวไว้ในเล่มที่ 6 แผ่นที่ 182 ว่า :

اذارأوالهلال فى رمضان فى بلد ولم يروه فى غيره فإن تقارب البلد ان فحكمها حكم بلدواحد ويلزم اهل البلد الأ خر الصوم بلاخلاف وان تبا عدا فوجهان مشهوران فى الطريقتين اصحهما : لايجب الصوم والثانى يجب به

เมื่อมีการเห็นจันทร์เสี้ยวเพื่อกำหนดรอมฎอนของประเทศหนึ่งประเทศใดๆ แต่ประเทศอื่นๆไม่มีการยืนยันการเห็นอันนี้หากระยะทางของแต่ละพื้นที่อยู่ใกล้กันให้ใช้กฎอันเดียวกัน ดังกล่าวไม่มีข้อขัดแย้ง หากว่าแต่ละประเทศไกลกันมี 2 วิธี ที่ถูกต้อง วิธีแรกไม่ต้องถือตามกัน วิธีที่สองให้ถือตามกัน โปรดดูหนังสือ المجموع อัลมัจมุอฺฟีชัรฮิลมุฮัซซับ อธิบายโดยอิหม่าม อัลนะวาวีย์ เล่มที่ 6 แผ่นที่ 182 ตรวจทานโดย มูฮำมัดนายีบ อัลมุตีอีย์

กลุ่มที่สองให้ทรรศนะว่า : ไม่จำเป็นที่จะต้องดูจันทร์เสี้ยวตามประเทศใดทั้งนั้น เว้นแต่จะเป็นคำสั่งของผู้นำประเทศเท่านั้น อันเนื่องจากว่าผู้นำประเทศก็ คือเจ้าของประเทศ เขาจะออกคำสั่งให้ดูเดือนตามประเทศใดได้ทั้งนั้น ทรรศนะดังกล่าว นำโดยอิบนุมาจิชุน (ابن الماجشون) (1

กลุ่มที่สามให้ทรรศนะว่าหากแต่ละประเทศหรือแต่ละท้องที่อยู่ใกล้กัน ก็ให้ใช้กฎการเห็นจันทร์เสี้ยวอันเดียวกัน แต่ถ้าหากว่าอยู่ไกลกันไม่จำเป็นต้องตามกัน อันนี้คือทรรศนะอีกทรรศนะหนึ่งของอิหม่ามชาฟีอีย์ นักวิชาการของมัซฮับชาฟีอีย์ให้ทรรศนะที่แตกต่างกันไปทางด้านระยะทางของแต่ละพื้นที่ และความแตกต่างระหว่าง (مطلع) มัตละอฺ (ข้างขึ้นข้างแรม) เช่น อิหม่ามอัลนะวะวีย์ ได้ให้น้ำหนักในประเด็นของข้างขึ้นข้างแรม ของแต่ละประเทศที่ต่างกัน
ส่วนเจ้าของหนังสือ مغنى المحتاج มุฆนีย์อัลมุห์ตาจ มูฮำมัด อัลคอฎิบอัชชุรบีนีย์ ได้ให้น้ำหนักหะดิษของท่านกุเรบในการยืนยันมากกว่า(2)
อิหม่ามอัลรอฟิอีย์ และอิหม่ามอัลบัฆวีย์ได้ให้ทรรศนะว่าหากระยะทางของแต่ละประเทศแต่ละพื้นที่ห่างไกลกันโดยใช้หลักพิจรณาระยะทางของการนมาซย่อของผู้เดินทาง(مسافةالقصر) เป็นหลักในการพิจรณาให้ดูเดือนเสี้ยวตามกันได้(3)

1. จากหนังสือ بداية المجتهد ونهاية المقتصدบิดายะตุ้ลมุจตะฮิดวะนิฮายะตุ้ลมุกตะซิด โดย อิบนุรุชดฺ อัลอันดะลุซีย์ เสียชีวิตเมื่อ 595 เล่มที่ 1 แผ่นที่ 336
2.โปรดดูหนังสือ مغنى المحتاج มุฆนีย์อัลมุห์ตาจ มูฮำมัด อัลคอฎิบอัชชุรบีนีย์ เล่มที่ 1 แผ่นที่ 420
3.โปรดดูหนังสือ فتح البارى ฟัตหุ้ลบารีย์ โดย อิบนุหะญัร เล่มที่ 4 แผ่นที่ 123 ส่วนมัซฮับหะนะฟีย์ได้ให้ทรรศนะว่า

اذاكانت المسا فة بين البلدين قريبة لاتختلف فيها المطلع فرؤية أحدهما رؤية للبلدالأخر أماإذاكانت بعيدة فلايلزم احدالبلدين حكم الأخر


หากระยะทางของแต่ละพื้นที่หรือแต่ละประเทศที่ใกล้กัน หรือ مطلع มัตละอฺ(ข้างขึ้นข้างแรม) ไม่มีข้อแตกต่างกัน อันนี้ให้ใช้หลักการพิสูจน์ดวงจันทร์เสี้ยวอันเดียวกันได้ถ้าหากว่าอยู่ไกลกันมากก็ไม่จำเป็นต้องใช้กฎเดียวกัน

มัซฮับของอิหม่ามมาลิก (มาลิกีย์) รวมถึงทรรศนะของอิหม่ามอะห์หมัด บินฮัมบัล (ฮัมบะลีย์) ได้ให้ทรรศนะว่า เมื่อมีการแจ้งหรือถูกตัดสินจากกลุ่มประเทศต่างๆถึงการประจักษ์เห็นจันทร์เสี้ยวแล้ว อันนี้ให้รวมถึงการเห็นของทุกๆประเทศที่อยู่ในแต่ละท้องที่อื่นด้วย แม้นว่าแต่ละประเทศจะอยู่ไกลกันสักแค่ไหนทรรศนะดังกล่าวนับได้ว่าเป็นทรรศนะที่ถูกต้อง และมีความชัดเจนมากที่สุด อ้างกันว่าทางมัซฮับมาลิกีย์กับมัซฮับฮัมบะลีย์ เคยให้ทรรศนะว่าหากระยะทางของแต่ละประเทศไกลกันมากก็ไม่จำเป็นต้องติดตามกัน ทางด้านการประจักษ์จันทร์เสี้ยวทรรศนะดังกล่าวยังถือว่าไม่มีความชัดเจนเท่าที่ทราบมา

1.โปรดดูหนังสือ بدائع الصنائع للكا سانى บาดาเอี๊ยะอัศศอนาเอี๊ยะ โดย อิหม่าม อัลกาซานีย์ อัลหะนะฟีย์ เล่มที่ 2 แผ่นที่ 129 ตรวจทานโดย มูฮำมัด หะละบี ย์ พิมพ์ที่ ดารุ้ลมะอฺลิฟะฮ์
2. ผู้เขียน

مكتبة أهل الحديث والاثار
ห้องสมุด อะฮลุ้ลหะดีษ วัลอาษาร

ติดตามตอนต่อไป อินชาอัลลอฮ







บทความนี้มาจาก Moradokislam.org
http://www.moradokislam.org

URL สำหรับเรื่องนี้คือ:
http://www.moradokislam.org/modules.php?name=News&file=article&sid=408