อัลอีหม่านในทัศนะของอะฮลุสซุนะฮวัลญะมาอะฮ
วัน จันทร์ 20 ก.ค. 09 @ 19:16
หัวข้อ: ศรัทธาและยึดมั่น


โดย อะสัน หมัดอะดั้ม

     ความหมายของคำว่า อัลอีหม่าน


  ความหมายในทางภาษา

        ความหมายอัลอีหม่านในทางภาษา  ถูกนำมาใช้  2 ความหมายด้วยกันคือ

 1. เมื่อเป็นคำกริยาสกรรมกริยา(เฟียะลุน มุตะอัดดีย์)ด้วยตัวของมันเอง จะมีความหมายว่า التأمين แปลว่า ให้ความปลอดภัย”       

     ดังอัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลาตรัสว่า

           
إِنَّ الْمُتَّقِينَ فِي مَقَامٍ أَمِينٍ

  "แท้จริงบรรดาผู้ยำเกรงจะอยู่ในสถานที่อันสงบปลอดภัย"  - อัดดุคอน/5


   ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

 النُّجُومُ أَمَنَةٌ لِلسَّمَاءِ فَإِذَا ذَهَبَتْ النُّجُومُ أَتَى السَّمَاءَ مَا تُوعَدُ وَأَنَا أَمَنَةٌ لِأَصْحَابِي فَإِذَا ذَهَبْتُ أَتَى أَصْحَابِي مَا يُوعَدُونَ وَأَصْحَابِي أَمَنَةٌ لِأُمَّتِي فَإِذَا ذَهَبَ أَصْحَابِي أَتَى أُمَّتِي مَا يُوعَدُونَ  
 

     “บรรดาดวงดาว คือ หลักประกันความปลอดภัย ของฟากฟ้า ดังนั้น เมื่อบรรดาดวงดาวหายไป สิ่งที่ถูกสัญญาก็จะมายังฟากฟ้า  และฉันคือ หลักประกันความปลอดภัยแก่เหล่าบรรดาสาวกของฉัน ดังนั้นเมื่อฉันจากไป สิ่ง ที่ถูกสัญญาไว้ก็จะมายังบรรดาสาวกของฉัน  และบรรดาสาวกของฉัน คือ ผู้ประกันความปลอดภัยแก่อุมมะฮของฉัน ดังนั้น เมื่อบรรดาสาวกของฉันจากไป  สิ่งที่ถูกสัญญาก็จะมายังอุมมะฮของฉัน รายงานโดย มุสลิม หะดิษหมายเลข 2531

   อิหม่านอันนะวาวีย์ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)ได้อธิบายว่า

 
وَمَعْنَى الْحَدِيثِ أَنَّ النُّجُومَ مَا دَامَتْ بَاقِيَةً فَالسَّمَاءُ بَاقِيَةٌ . فَإِذَا انْكَدَرَتِ النُّجُومُ ، وَتَنَاثَرَتْ فِي الْقِيَامَةِ ، وَهَنَتِ السَّمَاءُ ، فَانْفَطَرَتْ ، وَانْشَقَّتْ ، وَذَهَبَتْ ،

     ความหมายของหะดิษ คือ ตราบใดที่บรรดาดวงดาวยังคงอยู่  ฟากฟ้าก็ยังคงอยู่  ดังนั้น เมื่อบรรดาดวงดาว ร่วงหล่นลง และมันแตกกระจายในวันกิยามะฮ และฟากฟ้า อ่อนตัวลง, แล้วมันก็แตกออก และมันก็กระจายเป็นผุยผง  และมันก็สูญหายไป 

وَقَوْلُهُ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : ( وَأَنَا أَمَنَةٌ لِأَصْحَابِي ، فَإِذَا ذَهَبْتُ أَتَى أَصْحَابِي مَا يُوعَدُونَ ) أَيْ مِنَ الْفِتَنِ وَالْحُرُوبِ ، وَارْتِدَادِ مَنِ ارْتَدَّ مِنَ الْأَعْرَابِ ، وَاخْتِلَافِ الْقُلُوبِ ، وَنَحْوِ ذَلِكَ مِمَّا أَنْذَرَ بِهِ صَرِيحًا ، وَقَدْ وَقَعَ كُلُّ ذَلِكَ

     และคำพูดของท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมที่ว่า (ฟากฟ้า  และฉันคือ หลักประกันความปลอดภัยแก่เหล่าบรรดาสาวกของฉัน ดังนั้นเมื่อฉันจากไป สิ่ง ที่ถูกสัญญาไว้ก็จะมายังบรรดาสาวกของฉัน) หมายถึง ฟิตนะฮ ,การทำสงคราม,บรรดาชาวอาหรับจะกลับไปสู่ศาสนาเดิม(มุรตัด) และ บรรดาหัวใจที่มีความขัดแย้งกัน  เป็นต้น จากสิ่งที่ท่านได้เตือนให้ระวัง ไว้ชัดเจน และแท้จริงทุกสิ่งที่กล่าวมานั้นได้เกิดขึ้นแล้ว
 
 قَوْلُهُ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : ( وَأَصْحَابِي أَمَنَةٌ لِأُمَّتِي فَإِذَا ذَهَبَ أَصْحَابِي أَتَى أُمَّتِي مَا يُوعَدُونَ ) مَعْنَاهُ مِنْ ظُهُورِ الْبِدَعِ ، وَالْحَوَادِثِ فِي الدِّينِ ، وَالْفِتَنِ فِيهِ

         และคำพูดของท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมที่ว่า (และบรรดาสาวกของฉัน คือ ผู้ประกันความปลอดภัยแก่อุมมะฮของฉัน ดังนั้น เมื่อบรรดาสาวกของฉันจากไป  สิ่งที่ถูกสัญญาก็จะมายังอุมมะฮของฉัน ) ความหมายถึง  บรรดาบิดอะฮ ,บรรดสิ่งประดิษฐ์ขึ้นใหม่ในเรื่องศาสนา และ ฟิตนะฮต่าง จะปรากฏในนั้น .....ดู  - เศาะเฮียะมุสลิม  กิตาบุลฟัฎลิศเศาะหาบะฮ  หะดิษหมายเลข 2531

  2. เมื่อมันเป็นคำกริยา  ที่เป็น สกรรมกริยา  ด้วย อักษรบา หรือ ลาม ก็จะมีความหมายว่า  “التصديق “  แปลว่า  เชื่อ , ศรัทธา    

     อัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ตรัสว่า   

    و منهم الذين يؤذون النبى و يقولون هو أذن قل أذن ـ على الذين يزعمون أنه أذن ـ خير لكم يؤمن بالله و يؤمن للمؤمنين  

        และในหมู่พวกเขานั้นมีบรรดาผู้ที่ก่อความเดือดร้อนแก่นะบี โดยที่พวกเขากล่าวว่า เขาคือหู จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ว่า คือหูแห่งความดีสำหรับพวกท่านโดยที่ศรัทธาต่ออัลลอฮ์ และเชื่อถือต่อผู้ศรัทธาทั้งหลาย และเป็นการเอ็นดูเมตตาแก่บรรดาผู้ศรัทธาในหมู่พวกท่านและบรรดาผู้ที่ก่อความเดือดร้อนแก่ร่อซูลของอัลลอฮ์ นั้นพวกเขาจะได้รับการลงโทษอันเจ็บปวด”- อัตเตาบะฮ/61ความ

              ความหมายในทางวิชาการ   

  1.   อิหม่ามบุคอรี (ขออัลลอฮ เมตตาต่อท่าน) กล่าวว่า       

          لقيت اكثر من الف رجل من العلماء بالامصار فما رأيت احداً منهم مختلف في ان الايمان قول و عمل و يزيد و ينقص  
           ข้าพเจ้าพบบรรดานักวิชาการร่วมสมัยมากกว่า หนึ่งพันคน แล้วข้าพเจ้าไม่เห็นว่า คนหนึ่งคนใดในหมู่พวกเขา ขัดแย้งกัน ว่า แท้จริง อัลอีหม่าน คือ คำพูดและการกระทำ ,มันเพิ่มและมันลด – ดู ฟัตหุลบารีย์ เล่ม 1 หน้า 47 


    2. อิหม่ามชาฟิอี  (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) กล่าวว่า 

 وكان الاجماع من الصحابة و التابعين ومن بعدهم وممن ادركناهم يقولون " الايمان قول و عمل و نية لايجزي واحد من ثلاث إلا بالآخر   

     “และปรากฏเป็นมติจากบรรดาเศาะหาบะฮ ,ตาบิอีนและผู้ที่อยู่สมัยหลังจากพวกเขา และจากผู้ที่เราได้พบพวกเขา ,พวกเขากล่าวว่า  “ อัลอีหม่านคือ คำพูด,การกระทำและ การเจตนา โดยที่ ประการหนึ่งประการใดจากสามประการนั้นจะใช้ไม่ได้ นอกจาก ต้องอาศัยด้วยประอื่น(จากสามประการนั้น) – ดู อัลอุม เล่ม 8 หน้า 161 และ มัจญมัวะอัลฟะตาวา เล่ม  7 หน้า 209
 
  3. อิบนุตัยมียะฮ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า        

      وكان ممن مضى من سلفنا لايفرقون بين الايمان و العمل ، العمل من الايمان و   الايمان من العمل   

              และปรากฏว่า ผู้ที่มาก่อนพวกเรา ที่ผ่านมา พวกเขา  ไม่ได้แยกระหว่าง อัลอีหม่าน(การศรัทธา)และอะมัล(การกระทำ) ,การกระทำ เป็นส่วนหนึ่ง ของ การศรัทธา และการศรัทธา เป็นส่วนหนึ่งของ การกระทำ – กิตาบุลอีหม่าน หน้า 261   

  และอิบนุตัยมียะฮ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวอีกว่า 

ومن هذا الباب أقوال السلف و أئمة السنة في تفسير الايمان فتارةً يقولون : هو قول و عمل و تارة يقولون : هو قول و عمل ونية و تارة يقولون : هو قول و عمل ونية واتباع السنة و تارة يقولون قول باللسان و اعتقاد بالقلب و عمل بالجوارح وكل هذا صحيح  

          และส่วนหนึ่งจากเรื่องนี้ คือ บรรดาคำพูดของสะลัฟและบรรดาอิหม่ามซุนนะฮ ในการอธิบายความหมายของอัลอีหม่าน บางครั้ง พวกเขากล่าวว่า มัน(อัลอีหม่าน) คือ คำพูด,การกระทำและการเจตนา และบางครั้งพวกเขากล่าวว่า “มันคือ  คำพูด,การกระทำ,การเจตนาและ การปฏิบัติตามสุนนะฮ  และบางครั้งพวกเขากล่าวว่า “  (หมายถึง) การกล่าวด้วยวาจา,การเชื่อมั่นด้วยใจ และการปฏิบัติด้วยอวัยวะ และทั้งหมดนี้  ถูกต้อง – กิตาบุลอีหม่าน หน้า 164

   3. อิบนุกอ็ยยิม (ขออัลลอฮ เมตตาต่อท่าน) กล่าวว่า   

  ان حقيقة الايمان مركبة من قول و عمل ، و القول قسمان : قول القلب وهو الاعتقاد - يعني التصديق - و قول اللسان و هو التكلم بكلمة الاسلام - يعني شهادة لاإله الا الله محمد رسول الله - ، والعمل قسمان : عمل القلب وهو النية ، الاخلاص و الخوف . . . الخ ، وعمل الجوارح فإذا زالت هذه الاربع زال الايمان  

           แท้จริง แก่นแท้ของอัลอีหม่านนั้น ประกอบด้วย คำพูด และการกระทำ และ คำพูด(อัลเกาลุ)นั้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท (ประเภทแรก)คือ คำพูดของหัวใจ มันคือ การยึดมั่น หมายถึง การศรัทธา และ(ประเภทที่สอง) คือคำพูดของลิ้นคือ การกล่าว  กะลิมะฮตุลอิสลาม หมายถึง การปฏิญานว่า  ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ, มุหัมหมัด ศาสนทูตของอัลลอฮ  -

          และ การกระทำนั้น(อัลอะมัล)นั้น  แบ่งออกเป็น 2 ประเภท  (ประการแรก)คือ การกระทำของหัวใจ  เช่น  การเนียต,  ความบริสุทธิ์ใจ(อัลอิคลาศ, การกลัวอัลลอฮ ....  และ(ประการที่สองคือ) การกระทำของอวัยวะ ดังนั้น เมื่อสี่ประการนี้ หายไป การอีหม่าน ก็หายไปด้วย  - กิตาบุศเศาะลาต หน้า 26   

ولا إيمان إلا بالعمل، ولا قول ولا عمل إلا بنية، ولا قول ولا عمل ولا نية إلا  بموافقةالسنة  

          และไม่เป็นการศรัทธา นอกจากด้วยการกระทำ และไม่เป็น คำพูด และไม่เป็นการกระทำ นอกจากด้วยการเนียต และไม่เป็น คำพูด และไม่เป็นการกระทำ ไม่เป็นการเนียต นอกจาก ต้องสอดคล้องกับ อัสสุนนะฮ  - อัลวะญีซ ฟี อะกีดะฮสะละฟุศศอลิหฺ ของ เช็คอับดุลหะมีด อัลอะษะรีย์ หน้า 52

والله أعلم بالصواب
.............

แปลและเรียบเรียง โดย อะสัน หมัดอะดั้ม 
asan12call@hotmail.com






บทความนี้มาจาก Moradokislam.org
http://www.moradokislam.org

URL สำหรับเรื่องนี้คือ:
http://www.moradokislam.org/modules.php?name=News&file=article&sid=401