การหลับตาตาม หมายความว่าอย่างไร
วัน พฤหัสบดี 31 ก.ค. 08 @ 23:41
หัวข้อ: บทความทั่วไป


โดย อะสัน หมัดอะดั้ม

คำว่า التقليد الأعمى (ตักลีดุลอะอฺมา) หมายถึง การเลียนแบบหรือการเชื่อตามผู้อื่นอย่างหลับหูหลับตาโดยไม่รู้ข้อเท็จจริงหรือหลักฐาน  อัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลาตรัสเกี่ยวกับพวกอาหรับที่เชื่อตามบรรพบุรุษอย่างหลับหูหลับตาว่า   

 وَإِذَا قِيلَ لَهُمُ اتَّبِعُوا مَا أَنْزَلَ اللَّهُ قَالُوا بَلْ نَتَّبِعُ مَا أَلْفَيْنَا عَلَيْهِ ءَابَاءَنَا أَوَلَوْ كَانَ ءَابَاؤُهُمْ لاَ يَعْقِلُونَ شَيْئًا وَلاَ يَهْتَدُونَ   

 [2.170] และเมื่อได้มีการกล่าวแก่พวกเขาว่า จงปฏิบัติตามคำบัญชาที่อัลลอฮ์ได้ทรงประทานมา พวกเขาตอบว่า เราจะปฏิบัติตามเฉพาะที่เราพบว่าบรรพบุรุษของเราได้ปฏิบัติ ทั้ง ๆ ที่บรรพบุรุษของพวกเขาไม่ได้ใช้สติปัญญาและไม่ได้อยู่ในทางนำที่ถูกต้องกระนั้นหรืออิบนุกอ็ยยิม(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า

 المتبعون من الناس على قسمين: قسم عالم مسعد لنفسه ومسعد لغيره, وهو الذي عرف الحق بالدليل لا بالتقليد ,ودعا الناس إلى معرفة الحق بالدليل, لا بأن يقلدوه,وقسم مهلك لنفسه ومهلك لغيره,وهو الذي قلد آباءه وأجداده فيما يعتقدون ويستحسنون,وترك النظر بعقله ودعا الناس لتقليده,والأعمى لا يصح أن يقود العميان ,وإذا كان تقليد الرجال مذموما,غير مرضي في الاعتقادات,فتقليد الكتب أولى وأحرى بالذم, وإن بهيمة تقاد,أفضل من مقلد ينقاد,وإن أقوال العلماء والمتدينين متضادة متخالفة في الأكثر, واختيار واحد منها واتباعه بلا دليل باطل,لأنه ترجيح بلا مرجح فيكون معارضا بمثله  

บรรดามนุษย์ผู้ที่ตามนั้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

ประเภทที่หนึ่ง ผู้รู้ที่นำความสำเร็จให้แก่ตัวของเขาเองและผู้อื่น และเขาคือผู้ที่รู้ความจริง ด้วยหลักฐาน ไม่ใช่ด้วยการตักลิด(ไม่ใช่ด้วยการให้เชื่อตามหรือเลียนแบบโดยไม่มีหลักฐาน) และเขาเรียกร้อง(ดะอฺวะฮ)ผู้คนไปสู่การรู้จักความจริงด้วยหลักฐาน ไม่ใช่ด้วยการให้บรรดาผู้คนเชื่อตาม(ตักลิด)เขา

ประเภทที่สอง
 ผู้ที่นำความเสียหายให้แก่ตัวเขาเองและผู้อื่น และเขาคือ ผู้ที่เชื่อตามบรรดาพ่อๆและปู่ๆของพวกเขาในสิ่งที่พวกเขาเชื่อมั่น และสิ่งที่พวกเขาเห็นว่าดี  และ เขาละทิ้งการพิจารณาใตร่ตรอง ด้วยสติปัญญาของเขา และเขาเชิญชวน(ดะอฺวะฮ)บรรดาผู้คน ให้เชื่อตาม(ตักลิด)เขา ทั้งที่คนตาบอด ย่อมไม่สามารถที่จะจูงบรรดาคนตาบอดได้ และในเมื่อการเชื่อตามบรรดาบุคคล(โดยไม่รู้หลักฐาน)เป็นสิ่งที่ถูกตำหนิ และไม่ได้รับการยอมรับในเรื่อง อะกีดะฮ(หลักความเชื่อ) แล้วการเชื่อตาม(ตักลิด)บรรดาตำรา ย่อม สมควรที่จะตำหนิยิ่งกว่า และแท้จริงสัตว์ที่ถูกจูง ย่อมดีกว่าคนที่ตักลิด(คนที่เชื่อตามหรือเลียนแบบผู้อื่นโดยไม่มีหลักฐาน)ที่ถูกจูง แท้จริงบรรดานักวิชาการและนักการศาสนาที่ขัดแย้งและแตกต่างกันในหลายๆเรื่องนั้น ดังนั้นการตัดสินใจและปฏิบัติตามคนใดคนหนึ่งจากมัน(จากทัศนะที่ขัดแย้งและแตกต่างกัน)โดยปราศจากหลักฐานนั้น ย่อมเป็นโมฆะ  เนื่องจากการ
ให้น้ำหนักโดยไม่มี(หลักฐาน)มาให้น้ำหนักนั้น มันเป็นการขัดแย้งกับสิ่งที่เหมือนกับมัน” – ดู เกาะวาอิดอัตตะหฺดิษ -ของ อัลกอสิมีย์ หน้า  360 

 อิบนุอัลเญาซีย์ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า

 واعلم أن عموم أصحاب المذاهب يعظم في قلوبهم التفحص عن أدلة إمامهم,فيتبعون قوله,فينبغي النظر إلى القول لا إلى القائل كما قال علي رضي الله عنه للحارث بن عبد الله الأعور ,وقد قال له:أتظن أن طلحة والزبير كانا على الباطل؟ فقال له: يا حارث! إنه ملبوس عليك,إن الحق لا يعرف بالرجال ,اعرف الحق تعرف أهله 

และจงรู้ไว้เถิดว่า บรรดาผู้ที่ตามมัซฮับโดยทั่วไป  ในใจของพวกเขานั้น จะให้ความสำคัญการพิจารณาค้นคว้าหลักฐานของอิหม่ามของพวกเขา แล้วพวกเขาก็ตามคำพูดของอิหม่าม  ดังนั้น สมควรจะพิจารณาคำพูด ไม่ใช่พิจารณาตัวผู้พูด ดังที่ท่านอาลี เราะฎิยัลลอฮุอันฮู กล่าวแก่ท่านอัลหาริษ บุตร อับดุลลอฮ อัลอะฮวัรว่า และแท้จริงเขา(อัลหาริษ)ได้กล่าวแก่เขา(อาลี)ว่า  “ท่านเข้าใจว่า ฏอ็ลหะฮและอัซซุบัยร์ อยู่บนความไม่ถูกต้องกระนั้นหรือ? แล้วเขา(อาลี)ได้กล่าวแก่เขา(อาลี)ว่า “โอ้ท่านหาริษ แท้จริง ความสับสนได้ถูกให้เกิดขึ้นแก่ท่าน(ในเรื่องนี้) แท้จริง ความจริง(ความถูกต้อง)นั้น ไม่ใช่รู้ได้ด้วย(การพิจารณา)ที่ตัวบุคคล  ท่านจงรู้จักความจริง แล้วท่านจะรู้จักผู้อยู่บนความจริง - ดู เกาะวาอิดอัตตะหฺดิษ -ของ อัลกอสิมีย์ หน้า  357        

  หมายถึง ความถูกต้องนั้น ไม่ใช่พิจารณาที่ตัวบุคคล และเราจะรู้ได้ว่าคนใดอยู่บนความถูกต้อง เราก็ต้องรู้จักในสิ่งที่ถูกต้องเสียก่อน  เช่น เราจะรู้ว่าครูคนใดสอนความจริงหรือความเท็จ เราก็ต้องตรวจสอบคำพูดของเขากับอัลกุรอ่านและอัสสุนนะฮ  เมื่อตรงกับอัลกุรอ่านและอัสสุนนะฮ ก็แสดงว่าครูคนนั้น สอนในสิ่งที่ถูกต้อง แต่ถ้าไม่ตรงกับทั้งสองนั้น ก็แสดงว่า ครูคนนั้น สอนในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เป็นต้น  ชัยคุลอิสลาม อิบนุตัยมียะฮกล่าวว่า

 وليس لأحد أن يحتج بقول أحد في مسائل النزاع، وإنما الحجة: النص، والإجماع، ودليل مستنبط من ذلك تقرر مقدماته بالأدلة الشرعية، لا بأقوال بعض العلماء؛ فإن أقوال العلماء يحتج لها بالأدلة الشرعية، لا يحتج بها على الأدلة الشرعية 

ไม่อนุญาตแก่บุคคลใด อ้างหลักฐานด้วยคำพูดของบุคคลหนึ่งบุคคลใด ในบรรดาประเด็นปัญหาที่ขัดแย้งกัน และความจริง หลักฐานคือ ตัวบท,อิจญามาอฺและหลักฐานที่ได้จากการวิเคราะห์จากดังกล่าวนั้น  บรรดาสิ่งที่อ้างอิงของเขานั้น จะต้องยืนยันด้วยหลักฐานทางศาสนบัญญัติ  ไม่ใช่ด้วยบรรดาคำพูดของนักวิชาการบางส่วน เพราะบรรดาคำพูดของนักวิชาการ(อุลามาอฺ)นั้น จะต้องอ้างหลักฐานด้วยบรรดาหลักฐานทางศาสนบัญญัติ ไม่ใช่อ้างหลักฐานด้วยมัน(ด้วยบรรดาคำพูดของนักวิชาการ)มาหักล้างบรรดาหลักฐานทางศาสนบัญญัติ – มัจญมัวะฟะตาวา เล่ม 26 หน้า  202
.......................

ดังนั้น การตามที่ปลอดภัยที่สุดคือ การปฏิบัติตามหลักฐานที่มาจากคำสอนของศาสนา  ดังที่อิหม่ามอะหมัดกล่าวว่า

الإتباع أن يتبع الرجل ما جاء عن النبي صلى الله عليه وسلم وعن أصحابه ثم هو من بعد التابعين مخير

อัลอิตบาอฺ คือ การที่คนนั้น ปฏิบัติตาม สิ่งที่มาจากจากนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และ จากบรรดาสาวกของท่าน ถัดจากนั้น เขาคือ ผู้ที่เลือกเฟ้น(ตามความสมัครใจ)กับ ผู้ที่อยู่หลังจากตาบิอีน -
أبو داود في مسائل الإمام أحمد ص 276-277









บทความนี้มาจาก Moradokislam.org
http://www.moradokislam.org

URL สำหรับเรื่องนี้คือ:
http://www.moradokislam.org/modules.php?name=News&file=article&sid=361