ความดีไม่มีขายถ้าอยากได้ต้องทำเอง
วัน ศุกร์ 07 ก.ค. 06 @ 02:51
หัวข้อ: บทความทั่วไป


โดย อะสัน หมัดอะดั้ม

หัวข้อที่กล่าวถึงข้างต้น เป็นสำนวนที่ได้จากคนเขาพูดกัน แต่เห็นว่า น่าจะเอามาขยายความ เพราะมันสอดคล้องกับคำสอนอิสลาม ที่เน้นให้มุสลิมประกอบอิบาดะฮ ด้วยตัวเอง เพราะการทำอิบาดะฮนั้น เป็นการแสดงออกซึ่ง ความเป็นบ่าวของอัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา และการกระทำของบ่าวนั้น เป็นเครื่องพิสูจน์ความศรัทธา ในพระเจ้าของเขา และความอดทนของเขา เพื่อพระองค์ ดังอัลกุรอ่าน ระบุว่า..



أَمْ حَسِبْتُمْ أَن تَدْخُلُواْ الْجَنَّةَ وَلَمَّا يَأْتِكُم مَّثَلُ الَّذِينَ خَلَوْاْ مِن قَبْلِكُم مَّسَّتْهُمُ الْبَأْسَاء وَالضَّرَّاء وَزُلْزِلُواْ حَتَّى يَقُولَ الرَّسُولُ وَالَّذِينَ آمَنُواْ مَعَهُ مَتَى نَصْرُ اللّهِ أَلا إِنَّ نَصْرَ اللّهِ قَرِيبٌ

[2.214] หรือพวกเจ้าคิดว่า พวกเจ้าจะได้เข้าสวรรค์ โดยที่เยี่ยงอย่างของผู้ที่ล่วงลับไปก่อนพวกเจ้า ยังมิได้มายังพวกเจ้าเลย ซึ่งบรรดาความลำบาก และความเดือดร้อนได้ประสบแก่พวกเขา และ พวกเขาได้รับความหวั่นไหว จนกระทั่งรอซูลและ บรรดาผู้ศรัทธา ซึ่งอยู่กับเขา กล่าวขึ้นว่า เมื่อไร เล่าการช่วยเหลือของอัลลอฮ์ฦ พึงรู้เถิดว่า แท้จริงการช่วยเหลือของอัลลอฮ์ใกล้อยู่แล้ว – อัลบะเกาะเราะฮ/214
ท่านอิบนุกะษีร(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)อธิบายว่า

يَقُول تَعَالَى" أَمْ حَسِبْتُمْ أَنْ تَدْخُلُوا الْجَنَّة " قَبْل أَنْ تُبْتَلَوْا وَتُخْتَبَرُوا وَتُمْتَحَنُوا كَمَا فُعِلَ بِاَلَّذِينَ مِنْ قَبْلكُمْ مِنْ الْأُمَم

อัลลอฮ ผู้ทรงสูงส่ง ตรัสว่า (พวกเจ้าคิดหรือว่า พวกเจ้าจะได้เข้าสวรรค์) ก่อนที่พวกเจ้าจะถูกทดสอบ, ถูกทดลองและถูกพิสูจน์ ดังเช่นที่ ถูกกระทำกับบรรดาประชาชาติก่อนหน้าพวกเจ้า – ดูตัฟสีรอิบนุกะษิร อรรถถาธิบาย อายะฮที่ 214 ซูเราะฮอัลบะเราะฮ


عَنْ خَبَّاب بْن الْأَرَتّ قَالَ : قُلْنَا يَا رَسُول اللَّه أَلَا تَسْتَنْصِر لَنَا أَلَا تَدْعُو اللَّه لَنَا فَقَالَ " إِنَّ مَنْ كَانَ قَبْلكُمْ كَانَ أَحَدهمْ يُوضَع الْمِنْشَار عَلَى مَفْرِق رَأْسه فَيَخْلُص إِلَى قَدَمَيْهِ لَا يَصْرِفهُ ذَلِكَ عَنْ دِينه وَيُمَشَّط بِأَمْشَاطِ الْحَدِيد مَا بَيْن لَحْمه وَعَظْمه لَا يَصْرِفهُ ذَلِكَ عَنْ دِينه " ثُمَّ قَالَ " وَاَللَّه لَيُتِمَّنَّ اللَّه هَذَا الْأَمْر حَتَّى يَسِير الرَّاكِب مِنْ صَنْعَاء إِلَى حَضْرَمَوْت لَا يَخَاف إِلَّا اللَّه وَالذِّئْب عَلَى غَنَمه وَلَكِنَّكُمْ قَوْم تَسْتَعْجِلُونَ وَقَالَ اللَّه تَعَالَى " الم أَحَسِبَ النَّاسُ أَنْ يُتْرَكُوا أَنْ يَقُولُوا آمَنَّا وَهُمْ لَا يُفْتَنُونَ وَلَقَدْ فَتَنَّا الَّذِينَ مِنْ قَبْلهمْ فَلَيَعْلَمَنَّ اللَّهُ الَّذِينَ صَدَقُوا وَلَيَعْلَمَنَّ الْكَاذِبِينَ

รายงานจากอ็บบาบ บุตร อัลอะรอ็ต กล่าวว่า “พวกเราได้กล่าวว่า โอ้ท่านรซูลุ้ลลอฮ ทำไมท่านไม่ขอความช่วยเหลือให้แก่พวกเรา ทำไมท่านไม่ขอดุอาต่ออัลลอฮ ให้แก่พวกเรา” แล้วท่านรซูลุ้ลลอฮได้กล่าวว่า “ แท้จริง ได้ปรากฏว่า บุคคลยุคก่อนจากพวกท่าน ปรากฏว่าคนหนึ่งในหมู่พวกเขา เลือยได้ถูกวางบนกลางศีรษะของเขา แล้วมัน(ศีรษะได้ถูกเลือย)ให้แยกออกไปจนถึงสองเท้าของเขา การกระทำดังกล่าวนั้น ไม่ได้ทำให้เขาหันเหออกจากศาสนาของเขา และ (ปรากฏว่าคนหนึ่งในหมู่พวกเขา)ถูกสับด้วยหวีเหล็ก จนกระดูกและเนื้อแยกออกจากกัน การกระทำดังกล่าวนั้น ก็ไม่ได้ทำให้เขาหันเหออกจากศาสนาของเขา” หลังจากนั้นท่านรซูลุ้ลลอฮได้กล่าวว่า” ขอสาบานด้วยพระนามแห่งอัลลอฮ พระองค์จะต้องทำให้งานชิ้นนี้สมบูรณ์อย่างแน่นอน จนผู้ขับขี่พาหนะสามารถเดินทางระหว่าง ศ็อนอาอฺ จนถึง หะเฎาะเราะเมาต์ โดยเขาไม่มี
ความกลัวต่อสิ่งใด นอกจากอัลลอฮ และ หมาป่าจะไม่ทำร้ายแพะของเขา แต่ว่าพวกท่านรีบร้อน”
และอัลลอฮ ผู้สูงส่งตรัสว่า

أَحَسِبَ النَّاسُ أَن يُتْرَكُوا أَن يَقُولُوا آمَنَّا وَهُمْ لَا يُفْتَنُونَ

[29.2] มนุษย์คิดหรือว่า พวกเขาจะถูกทอดทิ้งเพียงแต่พวกเขากล่าวว่าเราศรัทธา และพวกเขาจะไม่ถูกทดสอบ กระนั้นหรือ ?

وَلَقَدْ فَتَنَّا الَّذِينَ مِن قَبْلِهِمْ فَلَيَعْلَمَنَّ اللَّهُ الَّذِينَ صَدَقُوا وَلَيَعْلَمَنَّ الْكَاذِبِينَ

[29.3] และโดยแน่นอน เราได้ทดสอบบรรดาก่อนหน้าพวกเขาแล้ว ดังนั้นอัลลอฮ์จะทรงจำแนกให้รู้แจ้งถึงบรรดาผู้สัตว์จริงและจะทรงจำแนกให้รู้แจ้งถึงบรรดาผู้กล่าวเท็จ - ดู ดูตัฟสีรอิบนุกะษิร อรรถถาธิบาย อายะฮที่ 214 ซูเราะฮอัลบะเราะฮ
และอัลกุรอ่านระบุไว้อีกว่า

أَمْ حَسِبْتُمْ أَن تَدْخُلُواْ الْجَنَّةَ وَلَمَّا يَعْلَمِ اللّهُ الَّذِينَ جَاهَدُواْ مِنكُمْ وَيَعْلَمَ الصَّابِرِينَ

[3.142] หรือว่าพวกเจ้าคิดว่า พวกเจ้าจะได้เข้าสวนสวรรค์ ทั้งๆ ที่อัลลอฮ์ยังมิได้(จำแนกให้)รู้ชัด(ว่าใครคือ) บรรดาผู้ที่ต่อสู้ (ญิฮาด) ในหมู่พวกเจ้า และ(ยังมิได้จำแนกให้แน่ชัด)ให้ทรงรู้(ว่าใครคือ)บรรดาผู้ที่อดทนด้วย – อาลิอิมรอน/142
อีกทั้งอัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ได้ทรงบอกว่า มนุษย์จะได้รับการตอบแทน อันเนื่องมาจากผลงานที่เขาได้กระทำเอาไว้ เช่น
أَلَّا تَزِرُ وَازِرَةٌ وِزْرَ أُخْرَى

[53.38] ว่าไม่มีผู้แบกภาระคนใดที่จะแบกภาระของผู้อื่นได้

وَأَن لَّيْسَ لِلْإِنسَانِ إِلَّا مَا سَعَى

[53.39] และมนุษย์จะไม่ได้อะไรเลย นอกจากสิ่งที่เขาได้ขวนขวายเอาไว้

وَأَنَّ سَعْيَهُ سَوْفَ يُرَى

[53.40] และแท้จริงการขวนขวายของเขาก็จะได้เห็นในไม่ช้า - ซูเราะฮอัลนัจญมิ/38-40
ท่านอิบนุกะษีร (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) ได้อธิบายว่า

اَيْ كَمَا لَا يُحْمَل عَلَيْهِ وِزْر غَيْره كَذَلِكَ لَا يُحَصِّل مِنْ الْأَجْر إِلَّا مَا كَسَبَ هُوَ لِنَفْسِهِ وَمِنْ وَهَذِهِ الْآيَة الْكَرِيمَة اِسْتَنْبَطَ الشَّافِعِيّ رَحِمَهُ اللَّه وَمَنْ اِتَّبَعَهُ أَنَّ الْقِرَاءَة لَا يَصِل إِهْدَاء ثَوَابهَا إِلَى الْمَوْتَى

กล่าวคือ ดังเช่นที่ไม่ต้องรับภาระความผิดของผู้อื่น ในทำนองนั้น เขาจะไม่ได้รับผลตอบแทน นอกจาก สิ่งที่เขาได้ ขวนขวาย ให้แก่ตัวเขาเองเท่านั้น และจากโองการอันทรงเกียรตินี้ อิหม่ามชาฟิอี และผู้เจริญรอยตามท่าน ได้สรุปเป็นหลักฐานว่า การอ่านอัลกุรอ่าน อุทิศผลบุญของมันนั้น ไม่ถึงผู้ตาย...... ดูมุคตะศอรฺอิบนิกะษีร เล่ม 3 หน้า 404
ส่วนบรรดาหะดิษที่ระบุว่า ลูกทำความดีแทนพ่อแม่นั้น เช่น การเศาะดะเกาะฮ อันนี้ เช็คอัลบานีย์(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า
ما يفعله الولد الصالح من الأعمال الصالحة فإن لوالديه مثل أجره ، دون أن ينقص من أجره شيءٌ ؛ لأن الولد من سعيهما وكسبهما ، والله عز وجل يقول : ( وأن ليس للإنسان إلا ما سعى ) النجم /39 ، وقال رسول الله صلى الله عليه وسلم : ( إن أطيب ما أكل الرجل من كسبه ، وإن ولده من كسبه ) .
สิ่งที่ลูกที่ดี ได้ทำมันไว้ จากบรรดาการงานที่ดี แท้จริง พ่อแม่ของเขาจะได้รับ เหมือนกับ ผลตอบแทนของเขา ไม่ได้ลดย่อนไปกว่าการตอบแทน(ผลบุญ)ที่เขาได้รับแม้แต่น้อย เพราะว่าแท้จริง บุตรนั้น เป็นส่วนหนึ่งจาก การพากเพียรและการขนขวายของเขาทั้งสอง และอัลลอฮ ผู้ทรงอำนาจ ผู้ทรงเลิศยิ่ง ตรัสไว้ว่า (และมนุษย์จะไม่ได้อะไรเลย นอกจากสิ่งที่เขาได้ขวนขวาย – ซูเราะฮอัลนัจญมิ/39)

และ ท่านรซูลลุ้ลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “ แท้จริงที่ดียิ่ง คือ สิ่งที่บุคคลนั้น ได้บริโภค จากการขวนขวายของเขาเอง และแท้จริง บุตรของเขานั้น คือ ส่วนหนึ่งจากการขวนขวายของเขา –
- رواه أصحاب السنن الأربعة وصححه الشيخ رحمه الله بشواهده – " انتهى .
"- ดูอะหกามมุ้ลญะนาอิซ หน้า 126 และ 217
ส่วนการว่าจ้างทำอิบาดะฮ แล้วอุทิศส่วนบุญให้ผู้ตาย นอกจากจะไม่ได้รับผลบุญแล้ว ยังได้รับโทษอีกด้วย เช็คสอลิห อัล-เฟาซาน กล่าวถึง การว่าจ้างอ่านอัลกุรอ่านอุทิศผลบุญแก่ผู้ตายว่า

فتلاوة القرآن عمل صالح وعبادة عظيمة مع التدبر والتفكر بآياته والعمل بما فيه من الأحكام، وأخذ الأجرة على تلاوة القرآن لا تجوز؛ لأن تلاوة القرآن قربة وعبادة، وأخذ الأجرة على القرب والعبادات لا يجوز، وقراءة القرآن على أرواح الأموات بدعة لا دليل عليها، فلا يجوز أن تتخذ قراءة القرآن حرفة يتكسب بها؛ لأنه إذا قرأ القرآن لأجل الأجرة فإنه ليس له أجر عند الله سبحانه وتعالى، قال تعالى: {مَنْ كَانَ يُرِيدُ الْحَيَاةَ الدُّنْيَا وَزِينَتَهَا نُوَفِّ إِلَيْهِمْ أَعْمَالَهُمْ فِيهَا وَهُمْ فِيهَا لا يُبْخَسُونَ. أُولَئِكَ الَّذِينَ لَيْسَ لَهُمْ فِي الْآخِرَةِ إِلَّا النَّارُ وَحَبِطَ مَا صَنَعُوا فِيهَا وَبَاطِلٌ مَا كَانُوا يَعْمَلُونَ} [هود: 15، 16


การอ่านอัลกุรอ่านนั้น เป็นการงานที่ดี และเป็นอิบาดะฮที่ยิ่ง
ใหญ่ พร้อมทั้งได้ พิจารณาและใคร่ครวญ บรรดาโองการต่างๆ ของอัลกุรอ่าน และได้ปฎิบัติตามสิ่งที่อยู่ในนั้น จากบรรดาหุกุม(ข้อบังคับ)ต่างๆ และ การเอาค่าจ้าง การอ่านอัลกุรอ่านนั้น ไม่อนุญาต เพราะการอ่านอัลกุรอ่านนั้นกุรบะฮ( เป็นการแสดงออกเพื่อให้ได้ใกล้ชิดต่อพระเจ้า)และเป็นอิบาดะฮ ,การเอาค่าจ้าง การทำอิบาดาต นั้น ไม่อนุญาต และการอ่านอัลกุรอ่านอุทิศให้ดวงวิญญาณผู้ตายนั้น เป็นบิดอะฮ ไม่มีหลักฐาน ยืนยัน ดังนั้น จึงไม่อนุญาตให้ถือ เอาการอ่านอัลกุรอ่าน เป็น อาชีพ ที่หารายได้ด้วยมัน เพราะว่า แท้จริง เมื่ออ่านอัลกุรอ่าน เพื่อเอาค่าจ้าง ดังนั้น เขาก็ไม่ได้ผลบุญ ณ. อัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา , พระองค์ผู้ทรงสูงส่งตรัสว่า
15. ผู้ใดปรารถนาการมีชีวิตอยู่ในโลกนี้และความเพริศแพร้วของมัน เราก็จะตอบแทนให้พวกเขาอย่างครบถ้วน ซึ่งการงานของพวกเขาในโลกนี้เท่านั้น และพวกเขาจะไม่ถูกริดรอนในการงานนั้นแต่อย่างใด
16. ชนเหล่านั้น พวกเขาจะไม่ได้รับการตอบแทนอันใดในโลกอาคิเราะฮ์ นอกจากไฟนรกและสิ่งที่พวกเขาได้ปฏิบัติไว้ในโลกดุนยาก็จะไร้ผลและสิ่งที่พวกเขาได้กระทำไว้ก็จะสูญเสียไป – ซูเราะฮฮูด/15-16 - ดู อัลมุนตะกอ ฟัตวาเช็คศอลิหฺ อัล –เฟาซาน เล่ม 5 หน้า 219 ฟัตวาหมายเลข 330
..........................................
ดังนั้น โปรดทำความดีด้วยตัวเองเถิด ดังคำว่า “ความดีไม่มีขาย ถ้าอยากได้ต้องทำเอง คำนี้ จึงเป็นคำที่ ไม่ไร้ค่าเลย หากจะนำมาเตือนใจตนเอง
.....................
والله أعلم بالصواب






บทความนี้มาจาก Moradokislam.org
http://www.moradokislam.org

URL สำหรับเรื่องนี้คือ:
http://www.moradokislam.org/modules.php?name=News&file=article&sid=309