ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
ขอเชิญร่วมสร้างมัสยิด
มูลนิธิอนุรักษ์มรดกอิสลาม
ขอเชิญท่านบริจาคสมทบทุน
โครงการก่อสร้างอาคาร
มัสยิดอนุรักษ์



โดยโอนเงินผ่านบัญชีธนาคาร

ชื่อบัญชี
มูลนิธิอนุรักษ์มรดกอิสลาม
ธนาคาร
กรุงไทย สาขาย่อยประเวศ
ประเภท กระแสรายวัน
เลขที่ 188 – 6 – 00316 – 5

>>>..ร่วมบริจาคคลิ๊ก!..<<<

ญะซากุมุ้ลลอฮุคอยร็อน


เมนูหลัก
 หน้าแรก(ข่าวสาร) :
 หน้าแรก
 ค้นหา
 หัวข้อเรื่องที่น่าสนใจ
 สำหรับสมาชิก :
 รายนามสมาชิก
 เข้าสู่ระบบ(สมัครสมาชิก!)
 ร่วมด้วยช่วยกัน :
 แนะนำบอกต่อ
 กระดานเสวนา
 
 สถิติของผู้เข้าชม :
 ยอดฮิตติดอันดับ
 แบบสำรวจ
 คู่มือและเอกสาร :
 ถาม-ตอบ
 วารสารประจำเวบ
 บริการอื่นๆ :
 ติดต่อลงโฆษณา
 ติดต่อเรา
 ห้องแสดงภาพ
 ดาวน์โหลด
 Mozaks_News

 เมนูทั่วไป :
เนตคุณแรงแค่ไหน!
ล้อเลียนการเมือง
เพิ่มเว็บนี้ใน Favourites !
เมล์ด่วนสายตรง
17:49:42
วัน : 26-04-2024
GMT : +0700

สาระวิชาการ
วิชาการ :
ศรัทธาและยึดมั่น
อัลฮะดีษ
จริยธรรมอิสลาม
ประเพณีและความเชื่อ
ประวัติศาสตร์อิสลาม
เหตุแห่งการประทานอัลกุรอาน
อุลูมุ้ลฮะดีษ
ตัฟซีรอัลกุรอาน
คอลัมน์ประจำ :
บทความทั่วไป
ตรรกวิทยา

ดาวน์โหลด

  1: ถาม-ตอบ
ดาวน์โหลด 297 ครั้ง

  2: ขุดโคตรชีอะ
ดาวน์โหลด 183 ครั้ง

  3: การทำแทน
ดาวน์โหลด 108 ครั้ง

  4: ศรัทธาแบบอิสลาม
ดาวน์โหลด 208 ครั้ง

  5: สัญญาณวันสิ้นโลก
ดาวน์โหลด 245 ครั้ง

  6: หลักยึดมั่น
ดาวน์โหลด 146 ครั้ง

..ดูทั้งหมด..

เว็บไซต์อนุรักษ์ซุนนะห์

เผยข้อเท็จจริงลัทธิชีอะห์:





แนวร่วมต่อต้านรอฟิเฏาะ

ภาษาอาหรับ

www.d-sunnah.net
www.fnoor.com
www.albrhan.com
www.wylsh.com
www.khominy.com
http://dhr12.com
www.albainah.net
www.ansar.org
www.almanhaj.com
www.almhdi.com

ภาษาอังกฤษ

www.ahlelbayt.com


หนังสือใหม่
ผลงานล่าสุด
ของ อ.ฟารีด เฟ็นดี้


รู้ทันชีอะฮ์



เผยกลลวงของชีอะห์ในการดึงมุสลิมออกจากอิสลาม
ตอบโต้ข้อกล่าวหา,ใส่ร้าย,ประณามศอฮาบะห์
ติดต่อและสั่งซื้อได้ที่
คุณยะอ์กู๊บ น้อยนงค์เยาว์
084 0004619


ข่าวสาร
หนังสือพิมพ์ไทย :
ไทยรัฐ
เดลินิวส์
กรุงเทพธุรกิจ
ข่าวสด
ผู้จัดการออนไลน์
มติชน
ประชาไทย
ไทยนิวส์
ศูนย์ข่าวอิศรา
หนังสือพิมพ์อาหรับ :
الاهرام
الجمهورية
الوطن
القبس
البيان
الاتحاد
الرأي العام
الشرق الأوسط
السياسة
دار الخليج
ตำราศาสนาภาษาอาหรับ :
almeshkat
almaktba
kribani
sahab
internet radio
จส.100
คลื่นประชาธิปไตย


บทความเรื่อง ฟิร๊อก กลุ่มแนวคิดบิดเบือน
ตอนชีอะห์อิหม่ามสิบสอง

อย่าให้กะลิมะห์ชะฮาดะห์ของผู้ใดมาล่อลวงเรา
อิสลามไม่มีนิกาย
ข้อแตกต่างด้านโครงสร้างศาสนาของซุนนะห์กับชีอะฮ์
อัลกุรอานและฮะดีษตามความเชื่อของชีอะฮ์
อายะห์อัลกุรอานที่ขาดหาย
"อะฮ์ลุ้ลบัยต์" ครอบครัวและวงศ์วานของท่านนบี
ภรรยาของนบีคือ"อะฮ์ลุ้ลบัยต์"
ฮะดีษซะก่อลัยน์ สิ่งหนักทั้งสอง
ใครคือ"อะฮ์ลุ้ลบัยต์" ที่ระบุในซูเราะห์อัลอะห์ซาบ อายะห์ที่ 33
ฮะดีษกิซาอ์
ท่านอาลีและครอบครัว จากซูเราะห์อัซชุอะรออ์ อายะห์ที่ 23
"อิมามะห์"การศรัทธาต่ออิหม่าม
คำสั่งแต่งตั้งอิหม่าม
หลักฐานแต่งตั้งอิหม่าม จากซูเราะห์อัลมาอิดะห์ อายะห์ 55
อายะห์"อัตตับลีฆ" ซูเราะห์อัลมาอิดะห์ อายะห์ 67
มุบาฮะละห์
ฮะดีษ "มันซีละห์" เปรียบท่านนบีกับอาลีดั่งมูซากับฮารูณ
ละครฉากนี้ที่ "ฆ่อดีรคุม"
คำตอบจากท่านอาลี
อาลีช่วยด้วย !!
อาลี หรือ เยซู
นครแห่งความรู้
ฮุเซนมาจากฉันและฉันก็มาจากฮุเซน
ศอฮาบะห์ในมุมมองของชีอะห์
"อัศฮาบีย์" ประชาชาติของฉัน
ชีอะห์ใส่ร้ายศอฮาบะห์ว่าเป็นมุนาฟิก
พฤหัสบดีวิปโยค
จุดยืนของท่านอาลีที่มีต่อท่านอบูบักร์และท่านอุมัร
เมื่อท่านอาลีประณามและสาปแช่งชีอะฮ์

รายงานความคืบหน้าการนัดสนทนาระหว่างซุนนะห์กับชีอะฮ์


 จุดกำเนิดวิชา อุซูลุ้ลฟิกฮฺ

อุศูลุ้ลฟิกฮ์

โดย....kolis_mala

อุซูลุ้ลฟิกฮ์เป็นวิชาด้านกฎหมายอิสลามที่มากมายไปด้วยคุณค่าและยิ่งใหญ่ในด้านประโยชน์ซึ่งนักปราชญ์ในแขนงต่างๆไม่ว่าในแขนงตัฟซีรหรืออัลฮะดีษหรือฟิกฮ์จะไม่สามารถออกกฎหมายแห่งบัญญัติอิสลามได้ เว้นแต่ต้องรู้ในวิชานี้ อุซูลุลฟิกฮ์จึงเป็นวิชาหลักของการวินิจฉัยกฎหมายอิสลามซึ่งจะขาดเสียมิได้

ก่อนจะมาเป็นวิชาอุซูลุลฟิกฮ์

ในสมัยท่านร่อซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลฯ อัลกุรอานได้ถูกประทานลงมา เพื่อจะบรรยายถึงสิ่งที่เกิด ขึ้นหรือเพื่อที่จะตอบคำถามเหล่าซอฮาบะห์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุม จึงไม่มีความจำเป็นในเรื่องของการวินิจฉัยกฏหมาย เพราะท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลฯ ขณะอยู่กับพวกเขาเป็นผู้คอยให้คำชี้ขาดในปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น ในสมัยนั้นแหล่งที่มาของบัญญัติอิสลามจึงมีเพียงแค่อัลกุรอาน และอัลฮะดีษที่มาชี้แจงและอธิบายสิ่งที่อัลกุรอานบอกให้อย่างสรุป

อนึ่ง สำหรับการวินิจฉัยในสมัยท่านศาสดานั้นมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น จึงไม่นับว่าเป็นแหล่งที่มาของบัญญัติอิสลาม เพราะว่าการวินิจฉัยเมื่อมาจากนบีก็คือ วิวรณ์ที่ถูกประทานลงมาแก่ท่าน เพื่อที่จะยืนยันการวินิจฉัยอันนั้นหรือเพื่อที่จะแก้ไขและอธิบายสิ่งที่พลั้งพลาดในการวินิจฉัยเช่นกรณีสงครามบัดร์ซึ่งมีสองความคิดเห็นในเรื่องการจัดการกับเชลย คือ

1. ให้ทำการไถ่ตัวได้

2. ให้ฆ่าสถานเดียว เนื่องจากพวกตั้งภาคีเคยกระทำกับมุอ์มินอย่างโหดเหี้ยมทารุณ แต่ท่านนบีก็เอนเอียงไปยังความเห็นแรก และได้ตัดสินตามนั้น อัลกุรอานจึงถูกประทานลงมาติเตียนท่านนบี

( مَاكَانَ ِلنَبِيٍّ أَنْ يَكُوْنَ لَهُ أَسْرَىحَتَّىيُثْخِنُ فِىاْلأَرْضِ تُرِيْدُوْنَ عَرَضَ الدُّنْيَاوَاللهُ يُرِيْدُاْلآخِرَةَ وَاللهِ عَزِبْزٌحَكِيْمٌ )

ซึ่งมีใจความว่า ﴾ ไม่บังควรแก่ศาสดาคนใดเลยที่จะมีเชลยไว้ ( เพื่อเรียกค่าไถ่ในขณะที่ฝ่ายตนยังอ่อนแออยู่ )จนกว่าเขาจะทำการสู้รบจนชนะในแผ่นดิน พวกเจ้าปรารถนา ( ค่าไถ่เชลยอันเป็น ) ผลประ โยชน์ ( เพียงเล็กน้อย )ของโลกนี้ แต่อัลลอฮ์ทรงปรารถนาโลกหน้า และอัลลอฮ์ทรงอำนาจยิ่ง อีกทั้งทรงปรีชาญาณยิ่ง ﴿ ซูเราะห์อัลอันฟาล อายะห์ที่ 67

และการวินิจฉัยของซอฮาบะห์นั้นมีเพียงเล็กน้อยเช่นกัน ดังกล่าวนั้นจะเป็นเรื่องของปัญหาที่จะล่าช้าเสียมิได้และพวกเขาอยู่ในเมืองที่ห่างไกล ยากต่อการกลับมาให้นบีชี้ขาด และอีกตอนหนึ่งขณะที่ท่านนบีได้ประสงค์ที่จะแต่งตั้งมุอาซ บุตร ญะบัลไปเมืองยะมัน ท่านนบี ศ็อลฯ ได้กล่าวแก่เขาว่า

“ ท่านจะตัดสินอย่างไรเมื่อมีปัญหาถูกเสนอแก่ท่าน เขากล่าวว่า ข้าพเจ้าจะตัดสินด้วยคัมภีร์ของอัลลอฮ์ ท่านนบีได้กล่าวว่า ถ้าหากท่านไม่พบว่ามีในคัมภีร์แห่งอัลลอฮ์ เขากล่าวว่า จะตัดสินด้วยแนวทางของร่อซูลุลลอฮ์ ท่านนบีได้กล่าวอีกว่า ถ้าหากท่านไม่พบว่ามีในคัมภีร์และแนวทางของท่านร่อซู้ล ศ็อลฯ เขากล่าวว่า ข้าพเจ้าจะวินิจฉัยด้วยความคิดเห็นของข้าพเจ้า และจะไม่เลินเล่อต่อคำตัดสิน ” ท่านนบี ศ็อลฯ ตบอกเขาและกล่าวว่า การสรรเสริญเป็นสิทธิแห่งอัลลอฮ์ผู้ทรงให้ความเห็นชอบแก่ทูตของศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ในสิ่งที่ศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์พึงพอใจ ”

จากนั้นท่านนบี ศ็อลฯ ก็จะยืนยันการวินิจฉัยของพวกเขา ถ้าหากว่าไม่ถูกต้อง ท่านนบีก็จะอธิบายถึงแนวทางที่ถูกต้องของการวินิจฉัย และท่านได้อนุญาตให้ส่วนหนึ่งจากซ่อฮาบะห์ทำการวินิจฉัยปัญหา โดยที่ท่านเองก็อยู่ด้วย เพื่อที่จะฝึกฝนพวกเขาในการวินิจฉัยปัญหาต่างๆ ต่อจากท่าน

สาเหตุที่ผลักดันให้ทำการรวบรวมบันทึกวิชาอุซูลุลฟิกฮ์และผู้ที่ริเริ่มกำหนดวิชานี้เป็นส่วนหนึ่งจากศาสตร์ของศาสนา

หลังจากนบีเสียชีวิตไปแล้ว ซ่อฮาบะห์มีความจำเป็นอย่างยิ่งในเรื่องของการวินิจฉัย และพวกเขากระทำการดังกล่าวได้อย่างดีเยี่ยมด้วยสติปัญญาที่หลักแหลมและบริสุทธิ์ใจและพวกเขาเป็นผู้ที่รู้ดีที่สุดในเรื่องซุนนะห์และมูลเหตุแห่งการพระราชทานอัลกุรอาน เมื่อถึงยุคบรรดาตาบิอีนและตาบิอิตตาบิอีน แหล่งที่มาของบัญญัติศาสนาก็ยังคงเหมือนกับยุคของซอฮาบะห์คือ คัมภีร์อัลกุรอาน, ซุนนะห์ท่านร่อซู้ล และกิยาส และได้เพิ่มไปถึงการตัดสินชี้ขาดของซอฮาบะห์(فَتَاوَىالصَّحَابَةِ ) ซึ่งทั้งซอฮาบะห์และตาบิอีนค้นคว้าและวิจัยถึงเหตุผลของกฏหมายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแบบที่มาเป็นตัวบทหรือถูกวินิจฉัยมาแล้วก็ตาม เพื่อที่จะนำไปเปรียบเทียบต่อสิ่งที่ไม่มีตัวบทบ่งบอกเอาไว้
หลักการวิชาอุซูลุลฟิกฮ์จึงเริ่มปรากฏชัดในยุคของซอฮาบะห์ ถึงแม้ว่าจะเพียงเล็กน้อยก็ตาม แต่มันก็ได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงยุคของอิหม่ามทั้งสี่ และผู้ที่ริเริ่มรวบรวมวิชานี้เป็นคนแรกคือ อิหม่ามมุฮำมัดบินอิดรีสอัชชาฟิอี ร่อฎิยัลลอฮุอันฮ์ ซึ่งท่านเสียชีวิตในฮิจเราะห์ศักราชที่ 204 ท่านมีความคิดเห็นที่จะรวบรวมวิชานี้ จากหลายสาเหตุด้วยกัน

1. การมีความเห็นที่แตกต่างกันระหว่างสำนักอัลฮะดีษที่มะดีนะห์และสำนักความคิดที่แบกแดด โดยที่สำนักแรกนั้น เพียงพอด้วยตัวบทกฏหมายที่แน่นอน และปัญหาใหม่ๆก็เกิดขึ้นน้อยมาก สำหรับสำนักที่สองนั้น มีปัญหาใหม่ๆเกิดขึ้นมากมาย พวกเขาจึงใช้ความคิดในการตัดสินปัญหาจนเป็นที่กว้างขวางในเรื่องนี้ กระทั่งเป็นที่เลื่องลือว่าเป็นสถาบันการใช้ความคิดเห็น

2. เกิดปัญหาใหม่ๆ มากมายในแต่ละวัน และปัญหาเหล่านั้นจำเป็นต้องมีการตัดสิน นักวินิจฉัยต้องพิจารณาในปัญหานั้น เมื่อพบว่าระหว่างปัญหาใหม่กับปัญหาที่มีตัวบทอยู่แล้วคล้ายคลึงกัน และมีสาเหตุ ( อิลละห์) ของฮุกุ่มในปัญหาที่มีตัวบทมีอยู่ในปัญหาที่เกิดขึ้นใหม่ ก็ให้กฏหมายจากตัวบทเดิมใช้กับปัญหาในแขนงนั้นได้

3. อ่อนในหลักภาษาอาหรับ อันเป็นผลเนื่องมาจากการปะปนกันของภาษาอาหรับกับภาษาอื่น

4. ไกลยุคกันระหว่างท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลฯ กับยุคของท่านอิหม่ามอัชชาฟิอี ร่อฎิยัลลอฮุอันฮ์ ท่านอิหม่ามตั้งใจอย่างแน่วแน่ว่า ถึงเวลาแล้ว และสติปัญญาเต็มเปี่ยมแล้ว ท่านจึงบันทึกหนังสือ الرِّسَالَةُ ของท่านที่เป็นที่เลื่องลือต่อมาในภายหลัง ท่านเริ่มแต่งหนังสือเล่มนี้ที่กรุงแบกแดด หลังจากนั้น กลับมาปรับปรุงอีกครั้งที่อียิปต์ และได้บอกหลักการต่างๆไว้อย่างมากมายที่จำเป็นต่อนักวินิจฉัย (มุจตะฮิด) ในการที่จะรู้ถึงแก่นของอุซูลุลฟิกฮ์ ด้วยเหตุนี้เอง เราสามารถพูดได้ว่า ผู้ที่ได้วางหลักวิชานี้เป็นคนแรกคือท่านอิหม่ามชาฟิอี ร่อฎิยัลลอฮุอันฮ์

นิยามของอุซูลุ้ลฟิกฮ์

อุซูลุ้ลฟิกฮ์คือวิชาที่ว่าด้วยหลักการต่างๆ ซึ่งจะนำไปสู่การวินิจฉัยกฏหมายด้านฟิกฮ์จากหลักฐานแบบขยายความ วิชานี้จะค้นคว้า วิจัยจากหลักฐานแบบสรุปก่อน นั่นก็คือ อัลกุรอาน ซุนนะห์ที่อธิบายอัลกุรอาน อิจญมาอ์ กิยาส และอื่นๆ

เช่นเดียวกัน วิชานี้จะค้นคว้าถึงประเภทของหลักฐานดังกล่าว เช่น บัญญัติใช้ บัญญัติห้าม สิ่งที่ครอบคลุมทั่วไปจากคัมภีร์อัลกุรอานและอัซซุนนะห์ และเช่นเดียวกันการลงมติแบบออกเสียง ( إِجْمَاعٌ قَوْلِيٌّ ) และลงมติแบบไม่ออกเสียง ( إِجْمَاعٌ سَكُوْتِيٌّ ) และการเทียบเหตุผลจากตัวบทและจากการวินิจฉัย ตลอดจนประเภทอื่นๆของหลักฐาน

เนื้อหาของวิชาอุซูลุลฟิกฮ์

ปราชญ์ส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่าเนื้อหาของวิชานี้คือ หลักฐานต่างๆ แบบสรุปที่จะนำไปสู่กฎหมายโดยใช้การวินิจฉัย และการให้น้ำหนักในกรณีที่กฏหมายขัดแย้งกันเอง

ประโยชน์ของอุซูลุลฟิกฮ์

สำหรับวิชาอุซุลุลฟิกฮ์นั้นมีประโยชน์อยู่ 2 ประการด้วยกัน

1. ประโยชน์กลับไปสู่นักวินิจฉัยกฏหมายเอง คือเขาสามารถที่จะทำการวินิจฉัยกฏหมายด้านฟิกฮ์จากหลักฐานแบบขยายความ เพราะผู้ที่ไม่มีความรู้ความชำนาญในหลักการของอุซูลุลฟิกฮ์ จะไม่สามารถออกกฏหมายจากหลักฐานได้

2. ประโยชน์แก่ผู้ตามคำวินิจฉัย ในกฏหมายของฟิกฮ์คือสามารถที่จะเปรียบเทียบระหว่างหลักฐานของผู้นำมัซฮับที่เขาสังกัดอยู่กับหลักฐานของผู้นำมัซฮับอื่นๆ เพื่อเขาจะได้มั่นใจในสิ่งที่เขาตาม


 
ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
· ข้อมูลเพิ่มเติม อุศูลุ้ลฟิกฮ์
· เสนอข่าวโดย gismad


เรื่องที่นิยมอ่านมากสุด อุศูลุ้ลฟิกฮ์:
จุดกำเนิดวิชา อุซูลุ้ลฟิกฮฺ


คะแนนของบทความ
คะแนนเฉลี่ย: 5
จำนวนผู้ลงคะแนน: 1


โปรดสละเวลาให้คะแนนสำหรับบทความนี้:

สุดยอด
ดีมาก
ดี
ธรรมดา
แย่


ส่วนเพิ่ม

 หน้าเอกสารสำหรับเครื่องพิมพ์ หน้าเอกสารสำหรับเครื่องพิมพ์


หัวข้อเรื่องที่เกี่ยวข้อง

อุศูลุ้ลฟิกฮ์

News ©







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.15 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ