ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
ขอเชิญร่วมสร้างมัสยิด
มูลนิธิอนุรักษ์มรดกอิสลาม
ขอเชิญท่านบริจาคสมทบทุน
โครงการก่อสร้างอาคาร
มัสยิดอนุรักษ์



โดยโอนเงินผ่านบัญชีธนาคาร

ชื่อบัญชี
มูลนิธิอนุรักษ์มรดกอิสลาม
ธนาคาร
กรุงไทย สาขาย่อยประเวศ
ประเภท กระแสรายวัน
เลขที่ 188 – 6 – 00316 – 5

>>>..ร่วมบริจาคคลิ๊ก!..<<<

ญะซากุมุ้ลลอฮุคอยร็อน


เมนูหลัก
 หน้าแรก(ข่าวสาร) :
 หน้าแรก
 ค้นหา
 หัวข้อเรื่องที่น่าสนใจ
 สำหรับสมาชิก :
 รายนามสมาชิก
 เข้าสู่ระบบ(สมัครสมาชิก!)
 ร่วมด้วยช่วยกัน :
 แนะนำบอกต่อ
 กระดานเสวนา
 
 สถิติของผู้เข้าชม :
 ยอดฮิตติดอันดับ
 แบบสำรวจ
 คู่มือและเอกสาร :
 ถาม-ตอบ
 วารสารประจำเวบ
 บริการอื่นๆ :
 ติดต่อลงโฆษณา
 ติดต่อเรา
 ห้องแสดงภาพ
 ดาวน์โหลด
 Mozaks_News

 เมนูทั่วไป :
เนตคุณแรงแค่ไหน!
ล้อเลียนการเมือง
เพิ่มเว็บนี้ใน Favourites !
เมล์ด่วนสายตรง
23:46:21
วัน : 13-10-2024
GMT : +0700

สาระวิชาการ
วิชาการ :
ศรัทธาและยึดมั่น
อัลฮะดีษ
จริยธรรมอิสลาม
ประเพณีและความเชื่อ
ประวัติศาสตร์อิสลาม
เหตุแห่งการประทานอัลกุรอาน
อุลูมุ้ลฮะดีษ
ตัฟซีรอัลกุรอาน
คอลัมน์ประจำ :
บทความทั่วไป
ตรรกวิทยา

ดาวน์โหลด

  1: ถาม-ตอบ
ดาวน์โหลด 299 ครั้ง

  2: ขุดโคตรชีอะ
ดาวน์โหลด 184 ครั้ง

  3: การทำแทน
ดาวน์โหลด 108 ครั้ง

  4: ศรัทธาแบบอิสลาม
ดาวน์โหลด 209 ครั้ง

  5: สัญญาณวันสิ้นโลก
ดาวน์โหลด 245 ครั้ง

  6: หลักยึดมั่น
ดาวน์โหลด 146 ครั้ง

..ดูทั้งหมด..

เว็บไซต์อนุรักษ์ซุนนะห์

เผยข้อเท็จจริงลัทธิชีอะห์:





แนวร่วมต่อต้านรอฟิเฏาะ

ภาษาอาหรับ

www.d-sunnah.net
www.fnoor.com
www.albrhan.com
www.wylsh.com
www.khominy.com
http://dhr12.com
www.albainah.net
www.ansar.org
www.almanhaj.com
www.almhdi.com

ภาษาอังกฤษ

www.ahlelbayt.com


หนังสือใหม่
ผลงานล่าสุด
ของ อ.ฟารีด เฟ็นดี้


รู้ทันชีอะฮ์



เผยกลลวงของชีอะห์ในการดึงมุสลิมออกจากอิสลาม
ตอบโต้ข้อกล่าวหา,ใส่ร้าย,ประณามศอฮาบะห์
ติดต่อและสั่งซื้อได้ที่
คุณยะอ์กู๊บ น้อยนงค์เยาว์
084 0004619


ข่าวสาร
หนังสือพิมพ์ไทย :
ไทยรัฐ
เดลินิวส์
กรุงเทพธุรกิจ
ข่าวสด
ผู้จัดการออนไลน์
มติชน
ประชาไทย
ไทยนิวส์
ศูนย์ข่าวอิศรา
หนังสือพิมพ์อาหรับ :
الاهرام
الجمهورية
الوطن
القبس
البيان
الاتحاد
الرأي العام
الشرق الأوسط
السياسة
دار الخليج
ตำราศาสนาภาษาอาหรับ :
almeshkat
almaktba
kribani
sahab
internet radio
จส.100
คลื่นประชาธิปไตย


บทความเรื่อง ฟิร๊อก กลุ่มแนวคิดบิดเบือน
ตอนชีอะห์อิหม่ามสิบสอง

อย่าให้กะลิมะห์ชะฮาดะห์ของผู้ใดมาล่อลวงเรา
อิสลามไม่มีนิกาย
ข้อแตกต่างด้านโครงสร้างศาสนาของซุนนะห์กับชีอะฮ์
อัลกุรอานและฮะดีษตามความเชื่อของชีอะฮ์
อายะห์อัลกุรอานที่ขาดหาย
"อะฮ์ลุ้ลบัยต์" ครอบครัวและวงศ์วานของท่านนบี
ภรรยาของนบีคือ"อะฮ์ลุ้ลบัยต์"
ฮะดีษซะก่อลัยน์ สิ่งหนักทั้งสอง
ใครคือ"อะฮ์ลุ้ลบัยต์" ที่ระบุในซูเราะห์อัลอะห์ซาบ อายะห์ที่ 33
ฮะดีษกิซาอ์
ท่านอาลีและครอบครัว จากซูเราะห์อัซชุอะรออ์ อายะห์ที่ 23
"อิมามะห์"การศรัทธาต่ออิหม่าม
คำสั่งแต่งตั้งอิหม่าม
หลักฐานแต่งตั้งอิหม่าม จากซูเราะห์อัลมาอิดะห์ อายะห์ 55
อายะห์"อัตตับลีฆ" ซูเราะห์อัลมาอิดะห์ อายะห์ 67
มุบาฮะละห์
ฮะดีษ "มันซีละห์" เปรียบท่านนบีกับอาลีดั่งมูซากับฮารูณ
ละครฉากนี้ที่ "ฆ่อดีรคุม"
คำตอบจากท่านอาลี
อาลีช่วยด้วย !!
อาลี หรือ เยซู
นครแห่งความรู้
ฮุเซนมาจากฉันและฉันก็มาจากฮุเซน
ศอฮาบะห์ในมุมมองของชีอะห์
"อัศฮาบีย์" ประชาชาติของฉัน
ชีอะห์ใส่ร้ายศอฮาบะห์ว่าเป็นมุนาฟิก
พฤหัสบดีวิปโยค
จุดยืนของท่านอาลีที่มีต่อท่านอบูบักร์และท่านอุมัร
เมื่อท่านอาลีประณามและสาปแช่งชีอะฮ์

รายงานความคืบหน้าการนัดสนทนาระหว่างซุนนะห์กับชีอะฮ์


 อะมานะฮฺ ตอนที่ 3

จริยธรรมอิสลาม

الأَمَانَةُ تِجَاهَ الله
1. อะมานะฮฺต่อพระผู้เป็นเจ้า

ประการนี้เป็นพื้นฐานแห่งอะมานะฮฺ ซึ่งมนุษย์ทุกคนจำเป็นต้องตระหนักในหน้าที่ของเขาต่อพระผู้อภิบาล ผู้ทรงสร้างมนุษย์และจักรวาลทั้งปวง ในฐานะที่มนุษย์เป็นบ่าวของอัลลอฮฺ จำเป็นต้องซาบซึ้งในภารกิจแห่งความเป็นบ่าว นั่นคือการเคารพภักดี(อิบาดะฮฺ)ต่อพระองค์อัลลอฮฺอย่างสม่ำเสมอ อัลลอฮฺตรัสไว้ว่า

﴿ وَلَقَدْ وَصَّيْنَا الَّذِيْنَ أُوْتُوْا الكِتَابَ مِنْ قَبْلِكُمْ وَإِيَّاكُمْ أَنِ اتَّقُوْا اللهَ وَإِنْ تَكْفُرُوْا فَإِنَّ لله مَا في السَّمَاوَاتِ وَمَا في الأَرْضِ وَكاَن اللهُ غَنِيَّاًَ حَمِيْدَاً ﴾

ความว่า “และแท้จริงเราได้สั่งเสียไว้แก่บรรดาผู้ที่ได้รับคัมภีร์ก่อนจากพวกเจ้าและพวกเจ้าด้วยว่าจงยำเกรงอัล ลอฮฺเถิด และหากพวกเจ้าปฏิเสธศรัทธา แท้จริงสิ่งที่อยู่ในชั้นฟ้า และสิ่งที่อยู่ในแผ่นดินนั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของอัล ลอฮฺ และอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงมั่งมี ผู้ทรงได้รับการสรรเสริญ” (อันนิซาอฺ 131)

และพระองค์ตรัสไว้อีกว่า

﴿ يَا أَيُّهَا الَّذِيْنَ آمَنُوْا لا تَخُوْنُوْا اللهَ وَالرَّسُوْلَ ﴾

ความว่า “โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย จงอย่าทุจริตต่ออัลลอฮฺและร่อซูล” (อัลอัมฟาล 27)

อายาตข้างต้นทำให้เราเข้าใจว่า มนุษย์ทุกคนมีหน้าที่ต้องศรัทธาและยำเกรงต่ออัลลอฮฺ โดยต้องปฏิบัติตามพระ บัญชาของพระองค์อย่างเคร่งครัด และการฝ่าฝืนพระบัญชาของอัลลอฮฺ ถือว่าเป็นการทุจริตต่อพระองค์ หมายถึง ไม่รักษาอะมานะฮฺ(หน้าที่)ต่อพระองค์ ซึ่งอะมานะฮฺต่อพระองค์อัลลอฮฺที่มนุษย์ทุกคนต้องรักษาไว้นั้น แบ่งได้เป็น 3 ส่วน

1) อะมานะฮฺแห่งความศรัทธา : หมายถึง ต้องศรัทธาตามหลักเชื่อ มั่นที่มาจากอัลลอฮฺ โดยต้องเชื่อในรุกุนอีมานต่างๆ และเนื้อหาที่เกี่ยวกับเรื่องอีมาน ตามที่มีอยู่ในอัลกุรอาน และซุนนะฮฺของท่านนะบีมุฮัมมัด โดยไม่อนุญาตให้ออกนอกกรอบนี้ ซึ่งการละเมิดกรอบอีมานดังกล่าว ถือเป็น การทุจริตต่ออะมานะฮฺแห่งความศรัทธา เนื่องจากว่าเรื่องอีมานนั้นมีความสมบูรณ์ ถูกต้อง และรอบคอบอยู่แล้ว ไม่มีใครมีสิทธิที่จะนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับอีมาน โดยปราศจากหลักฐานแห่งกิตาบุลลอฮฺและซุนนะฮฺของท่าน นะบีมุฮัมมัด อนึ่ง หลักอีมานนั้นเปรียบเสมือนความเชื่อที่พระองค์อัลลอฮฺทรงฝาก ไว้แก่บรรดาผู้ศรัทธาให้เชื่อ มั่น ปฏิบัติตาม เผยแผ่ และต่อสู้ในหนทางนั้น ตราบใดที่มุอฺมินไม่บิดเบือนหลักอีมาน ไม่ละเมิดขอบเขตแห่ง ความศรัทธา โดยนำแนวปรัชญาหรือความคิดของมนุษย์ใดๆ หรือลัทธิแห่งศาสนาอื่นๆ มาปะปนกับหลักอีมาน ของศาสนาอิสลาม ก็ถือว่าเป็นมุอฺมินที่ได้รักษาอะมานะฮฺแห่งอีมานแล้ว 2) อะมานะฮฺแห่งการทำอิบาดะฮฺที่จำเป็นต้องปฏิบัติ (ฟัรฎู) : มุอฺมิ นอยู่ในโลกนี้โดยต้องประกาศว่า ตนมีภารกิจอันจำเป็นต่อพระผู้เป็นเจ้า จึงต้องแสดงการสวามิภักดิ์ต่อพระองค์ โดยเฉพาะในสิ่งที่พระองค์ทรงสั่งใช้ให้ปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ซึ่งการปฏิบัติระดับนี้ถือเป็นพื้นฐานแห่งหน้าที่ที่มุ อฺมิน ทุกคนต้องกระทำ เช่น การละหมาดฟัรฎู 5 เวลา การถือศีลอดเดือนรอมฎอน การบริจาคซะกาตอันเป็นวา ยิบสำหรับผู้มีฐานะ การประกอบพิธีฮัจย์สำหรับผู้มีความสามารถ สี่ประการดังกล่าวถือเป็น รุกุนแห่งศาสนาอิส ลามที่มุอฺมินทุกคนต้องปฏิบัติเพื่อ เป็นการยืนยันว่าตนเองมีศาสนา มีความรับผิดชอบต่อพระผู้เป็นเจ้า และข้อ บกพร่องในรุกุนต่างๆ ดังกล่าวย่อมจะกระทบต่อหลักการศาสนา ซึ่งจะมีผลกระทบต่ออะมานะฮฺของตนเองด้วย เพราะเป็นไปไม่ได้สำหรับมุสลิมที่จะรักษาอะมานะฮฺ (ของฝาก)ของมนุษย์อย่างสุจริต แต่เมื่อถึงเรื่องอะมานะ ฮฺแห่งพระผู้เป็นเจ้า (การละหมาดที่อัลลอฮฺทรงฝากไว้ให้ปฏิบัติ) เขากลับทุจริตต่อหน้าที่นี้อย่างไม่รู้สึกตัว จึง เป็นความบิดพลิ้วที่มุสลิมทุกคนจะต้องทบทวนตนเอง ถึงแม้ว่าสังคมจะยกย่องเราก็ตาม เราต้องคำนึงถึงสภาพ อีมาน และการทำหน้าที่ของเราต่อพระผู้เป็นเจ้าเป็นสำคัญ เพื่อเป็นการยืนหยัดในขั้นพื้นฐานแห่งการมีอะมานะฮฺ อัลลอฮฺตรัสถึงบรรดาผู้สับปลับบิดพลิ้วไว้ว่า

﴿ وَإِذَا قَامُوا إِلَى الصَّلاةِ قَامُوْا كُسَالَى يُرَاءُوْنَ النَّاسَ وَلا يَذْكُرُوْنَ اللهَ إِلا قَلِيْلا ﴾

ความว่า “และเมื่อพวกเขาลุกขึ้นไปละหมาด พวกเขาก็ลุกขึ้นในสภาพเกียจคร้าน โดยให้ผู้คนเห็นเท่านั้น และ พวกเขาจะไม่กล่าวรำลึกถึงอัลลอฮฺ นอกจากเพียงเล็กน้อยเท่านั้น” (อันนิซาอฺ 142)

จากอายะฮฺนี้จะเห็นว่า การรักษาอะมานะฮฺในการปฏิบัติศาสนกิจเป็นเรื่องลำบากสำหรับผู้สับปลับ(มุนาฟิก) เพราะการรักษาอิบาดะฮฺจะทำให้พวกเขาลำบากใจ เนื่องจากพวกมุนาฟิกไม่มีความปรารถนาดีต่อพระผู้เป็นเจ้า แม้กระทั่งการลุกขึ้นไปละหมาดก็เป็นสิ่งที่เขาเกียจคร้าน และท่านนะบีก็กล่าวถึงลักษณะผู้สับปลับว่า เป็นผู้ที่ รู้สึกว่าการละหมาดซุบฮฺ และละหมาดอิชาอฺ เป็นภารกิจอันยากลำบากสำหรับพวกเขา ซึ่งลักษณะเหล่านี้จะไม่ ปรากฏกับบรรดาผู้ศรัทธาที่รักษาอะมานะฮฺในการปฏิบัติอิบาดะฮฺ แต่จะเห็นว่าการรักษาอะมานะฮฺในการทำอิ บาดะฮฺนั้น เป็นสิ่งที่จะสร้างความสุขให้แก่ผู้ศรัทธา และจะเป็นความเมตตา ความสงบสุข และความจำเริญ สำหรับชีวิตของพวกเขา

อนึ่ง การรักษาอะมานะฮฺในการปฏิบัติอิบาดะฮฺนั้น มิใช่เพียงรักษาจำนวนหรือการกระทำโดยปราศจากคุณภาพ และความสวยงามแห่งการปฏิบัติ อิบาดะฮฺ เสมือนว่าเป็นภารกิจที่ต้องการปฏิบัติให้พ้นไปเท่านั้น ท่านนะบีมุ ฮัมมัดถือว่าบุคคลที่ละหมาดโดยไม่มีความสงบ นอบน้อม และไม่มีสมาธินั้น เปรียบเสมือนขโมยที่ทรยศ ทรัพย์สินผู้อื่น จึงเรียกคนที่ไม่ได้ละหมาดอย่างสมบูรณ์แบบว่า เป็นผู้ทรยศต่ออะมานะฮฺแห่งการทำอิบาดะฮฺ อัน เป็นลักษณะที่ต้องแก้ไข โดยเฉพาะในอิบาดะฮฺที่เป็นวายิบ เพื่อขจัดข้อบกพร่องต่างๆ จนทำให้การปฏิบัติอิบา ดะฮฺมีลักษณะสวยงาม หากมีข้อบกพร่องเกิดขึ้นในการปฏิบัติอิบาดะฮฺภาคฟัรฎู ก็จำเป็นต้องรักษาอะมานะฮฺใน ขั้นต่อไป เพื่อเป็นการชดเชย(ทดแทน)ข้อบกพร่องดังกล่าว 3)อะมานะฮฺแห่งการทำอิบาดะฮฺที่ชอบให้กระทำ : เป็นอิบาดะฮฺที่ ศาสนาไม่บังคับให้ปฏิบัติ เพียงแต่เรียกร้องเชิญชวนให้ผู้ศรัทธาปฏิบัติอิบาดะฮฺ ดังกล่าวด้วยความสมัครใจ แต่ เป็นเรื่องที่ต้องทำ ความเข้าใจว่า การปฏิบัติอิบาดะฮฺที่เป็นซุนนะฮฺ(ไม่จำเป็นต้องกระทำ)นี้จะละทิ้งอย่างเด็ด ขาดมิได้ เพราะการละทิ้งซุนนะฮฺอย่างเด็ดขาด เสมือนเป็นการไม่เอาใจใส่ต่อคำเรียกร้อง หรือบทบัญญัติของ ศาสนา ถึงแม้ว่าจะมิใช่ข้อบังคับก็ตาม ท่านนะบีมุฮัมมัด(ศอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวไว้ว่า

( مَن رَغِبَ عَنْ سُنَّتِي فَلَيْسَ مِنِّي )

ความว่า “ผู้ใดที่ละทิ้งแนวทางของฉัน ไม่ใช่พวกของฉัน”

แนวทางของท่านนะบีก็มีทั้งวายิบและซุนนะฮฺ ซึ่งอิบาดะฮฺวายิบนั้น ไม่อนุญาตให้ละทิ้งเป็นอันขาด สำหรับอิบา ดะฮฺที่เป็นซุนนะฮฺนั้น อนุญาตให้ละเว้นบ้าง แต่การละทิ้งซุนนะฮฺอย่างเด็ดขาดนั้นถือเป็นความผิดเช่นเดียวกัน โดยทั่วไปการปฏิบัติอิบาดะฮฺฟัรฎูย่อมมีข้อบกพร่องอยู่แล้ว จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องรักษาอะมานะฮฺใน การปฏิบัติสิ่งที่เป็นซุนนะฮฺ เพื่อเป็นการชดเชย ปรับปรุง และเสริมแต่งการปฏิบัติวายิบ

นั่นคือเคล็ดลับในการที่ศาสนบัญญัติได้แบ่งภารกิจของผู้ศรัทธา ในการเคารพภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้าให้มีทั้ง สองอย่าง คือทั้งวายิบและซุนนะฮฺ เมื่อบกพร่องในการปฏิบัติวายิบ ก็จะมีทางแก้ไขปรับปรุงด้วยการปฏิบัติซุน นะฮฺ จึงเป็นสาเหตุที่จะทำให้บ่าวของอัลลอฮฺอยู่ใกล้ชิดกับพระองค์ ดังที่อัลลอฮฺตรัสไว้ในหะดีษกุดซียฺว่า “และบ่าวของข้าจะรักษาการปฏิบัตินะวาฟิล (สิ่งที่ไม่ใช่วายิบ) จนกระทั่งข้าจะรัก เขา และเมื่อข้ารักเขาแล้ว ข้าก็จะเป็นดวงตาของเขา หูของเขา มือที่ใช้สัมผัสของเขา เท้าที่ใช้เดินของเขา และ เมื่อเขาเรียกร้องขอพรข้า ข้าก็จะตอบรับเขา และเมื่อเขาขอความคุ้มครองจากข้า ข้าก็จะคุ้มครองเขา”

จึงขอสรุปอะมานะฮฺต่อพระผู้เป็นเจ้า ในวาระดังต่อไปนี้
1) ให้เอกภาพแด่อัลลอฮฺ ซึ่งเป็นเอกสิทธิ์ของพระองค์ อันเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิตของมุสลิม และเป็น อะมานะฮฺอันยิ่งใหญ่ที่ต้องยืนหยัดตลอดชีวิต 2) ปฏิบัติตามพระบัญชาของพระผู้เป็นเจ้าในทุกประการอย่างเคร่งครัด 3) ขยันปฏิบัติหน้าที่ในการทำอิบาดะฮฺทุกชนิดด้วยความภูมิใจในความเป็นบ่าวที่รับใช้ และถวายชีวิต ทรัพย์สินให้แก่พระองค์ 4) แสวงหาความรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะของพระองค์อัลลอฮฺ ซึ่งเป็นวิถีทางที่จะทำให้มุสลิมยิ่งใกล้ชิด กับพระองค์มากยิ่งขึ้น 5) ให้เกียรติ เคารพ และเผยแผ่พระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน อันเป็นวิธีสื่อสารระหว่างมนุษย์กับ พระผู้เป็นเจ้า จึงเป็นอะมานะฮฺที่ต้องอ่าน ท่องจำ ปฏิบัติ ตัดสิน และเรียกร้องสู่หนทางของอัลกุรอาน 6) รำลึกถึงอัลลอฮฺอย่างสม่ำเสมอ ด้วยการสรรเสริญพระองค์ ขอพรต่อพระองค์ และถวายอมั้ลอิบาดะ ฮฺต่างๆ แด่พระองค์ 7) แสวงหาทุกวิถีทางที่ทำให้ชีวิตมีคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อเป็นตัวอย่างแห่งบ่าวของอัลลอฮฺ ที่ถูก ใช้ให้บูรณะโลกนี้ด้วยความดี และดำรงชีวิตโดยให้ศาสนาของพระองค์เป็นบรรทัดฐานในการดำเนินชีวิต

จากหนังสือ..อะมานะฮฺคืออะไร
โดย..เชคริฎอ อะหมัด สมะดี



 
ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
· ข้อมูลเพิ่มเติม จริยธรรมอิสลาม
· เสนอข่าวโดย วิทยากร


เรื่องที่นิยมอ่านมากสุด จริยธรรมอิสลาม:
ต้อนรับเดือนรอมฎอนอย่างไร?


คะแนนของบทความ
คะแนนเฉลี่ย: 0
จำนวนผู้ลงคะแนน: 0

โปรดสละเวลาให้คะแนนสำหรับบทความนี้:

สุดยอด
ดีมาก
ดี
ธรรมดา
แย่


ส่วนเพิ่ม

 หน้าเอกสารสำหรับเครื่องพิมพ์ หน้าเอกสารสำหรับเครื่องพิมพ์


หัวข้อเรื่องที่เกี่ยวข้อง

จริยธรรมอิสลาม

News ©







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.17 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ