ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
อนุรักษ์มรดกอิสลาม :: ดูกระทู้ - ตะรอเวียะฮฺที่คลาดเคลื้อน
อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก อนุรักษ์มรดกอิสลาม  
  เพื่อการอนุรักษ์มรดกอิสลาม      คำถามถามบ่อยของกระดานข่าว      ค้นหา      รายนามสมาชิก  
  · เข้าระบบ ข้อมูลส่วนตัว · เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ · กลุ่มผู้ใช้งาน  
ตะรอเวียะฮฺที่คลาดเคลื้อน

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักความเชื่อ
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
shabab
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 16/07/2008
ตอบ: 303


ตอบตอบ: Tue Sep 02, 2008 2:45 am    ชื่อกระทู้: ตะรอเวียะฮฺที่คลาดเคลื้อน ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

[/align]بِسْمِ اللهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيْم
السلام عليكم ورحمة الله وبركا ته
โอ้...ปัญญาชนแล้วทั้งหลายเอ๋ย
ใช่ว่า....การนำเสนอซึ่งข้อมูลทางศาสนาที่มันค้านกับ สิ่งที่ท่านทำ สิ่งที่ทำปฏิบัติเสมอมา หรือสิ่งที่ท่านเข้าใจมาแต่อดีตนั้นจะเป็นสิ่งที่ท่านจะปฏิเสธ จะไม่รับฟัง จะไม่อ่านและจะไม่พิจารณา และนำมาซึ่งการกล่าวถึงว่า คนนี้เป็นวะฮาบี คนนั้นเป็นคณะเก่า คนนั้นเป็นคนแปลก เราจะไม่อ่านนะ เราจะไม่รับฟังนะครับ เพราะสติปัญญาของท่าน การศึกษาของท่าน ความคิดของท่านย่อมนำมาซึ่งหลักการพิจารณา หลักการคิดไตร่ตรองว่า ...เออ ...อะไรมันใช่ อะไรมันถูก อะไรไม่ใช่อิสลาม โดยอาศัยหลักการที่มาจากอัลกุรอานและหะดิษที่ศอเหี้ยะจริงๆ หาใช่เป็นการตามกันมาหรือฟังมาโดยมิได้สืบสาวราวเรื่องนั้นๆไม่ครับ
ดังนั้น
เมื่อรอมฏอนมาถึง
พี่น้องของเราต่างก็เตรียมตัวทำอิบาดะฮ์ต่างๆเท่าที่ตั วเองอยากทำ เท่าที่ตัวเองอยากปฏิบัติตามที่เรียนรู้มา ตามที่ศึกษามา ว่าต้องทำอย่างนั้น ต้องทำอย่างนี้ แต่แน่นอนก็คงจะขาดเสียไม่ได้ใช่ไหมครับว่า อามาลที่เราทำ อามาลที่เราปฏิบัติ ทุกคนย่อมต้อง
เรียนรู้ ย่อมต้องการรับทราบถึงผลตอบแทนใช่ไหมครับ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็มีการละหมาดตะรอเวียะห์ที่ใครๆก็อยากทราบ ใครๆก็อยากรู้ ว่าทำแล้วได้อย่างไร ทำแล้วเป็นอย่างไรใช่ไหมครับ
แต่ทำไมหรือ.. ทำไมครับ... หากไม่มีซึ่งผลบุญมาล่อ มานำเสนออย่างมากมายเสียก่อน เราจะไม่ทำกันใช่ไหม เราจะไม่ปฏิบัติกันใช่ไหมครับ หรือเพราะเป็นเพียงแค่สุนนะห์ หรือเป็นเพียงการสมัครใจครับถึงต้องนำเสนออย่างนี้
นี่แหละครับ ทำไมถึงต้องมีการกล่าว การนำเสนออย่างผิดๆถูกๆ เพื่อต้องการให้พี่น้องเรา เข้าหาสุนนะห์กัน ทำสุนนะห์กัน
หรือ!เพราะเราเองครับที่ไม่เข้าใจหลักการเองครับ ไม่เข้าใจศาสนาเองครับ ไม่ตระหนักเองครับถึงความสำคัญของการละหมาดดังกล่าว
จึงไม่รู้ว่า อะไรคือใช่ อะไรคือถูก อะไรที่มีหลักฐานรองรับครับ อะไรที่ต้องทำ
เค้าถึงต้องนำเสนอมาแบบนี้เพื่อให้ท่านละหมาดและปฏิบัติอามาลนั้นครับ
พี่น้องลองพิจารณาดูซิว่า ผลบุญข้างต้นเป็นอย่างไร มีหลักฐานรองรับไหม น่าเชื่อถือไหม
แล้วอย่างไรที่ควรรับทราบมากกว่ากันครับ....พี่น้อง
อ้างจากหนังสือดุรเราะตุนนาศีหีน อ้างถึงรายงานจากท่านอลีเราะฏิยัลลอฮุอันฮุ ความว่า
คืนที่1 ผู้ละหมาดจะไม่มีบาปเหมือนกับตอนที่เขาถูกคลอดจากท้องมารดาใหม่ๆ
คืนที่ 2 อัลเลาะห์อภัยโทษแก่เขาและบิดาของเขาหากเขาทั้งสองเป็นผู้ที่ศรัทธาต่ออัลเลาะห์
คืนที่ 3 มาลาอีกะจะประกาศใต้อารัชว่าเจ้าจงเริ่มทำความดีเถิดเพราะความชั่วทั้งหลายถูกลบล้างออกไปหมดแล้วเจ้าจงใช้ชีวิตให้สวยงามต่อไปคืนที่4 เขาจะได้รับผลบุญเท่ากับคนที่อ่านคัมภีร์เตารอต อินยีล ซาบูรและอัลกรุอานคืนที่5 ได้รับผลบุญเท่ากับผู้ที่ได้ไปละหมาดทีมัสยิดหะรอม มัสยิดนาบาวีมัสยิดอัลอักซอคืนที่ 6ได้รับผลบุญเท่ากับผู้ที่ไปทำเตาวาฟ ณ บัลตุลมะมุร (กิบลัตของมาลาอีกะตรงกับบัยตุลเลาะ)หินและของมีค่าทั้งหมดในโลกนี้จะขออภัยให้แก่เขาคืนที่ 7 ได้ผลบุญเหมือนกับเขาได้เกิดในสมัยที่ท่านนาบีมูซาสงครามกับฟิรอูนและฮามานคืนที่ 8จะได้รับผลบุญเหมือนกับอัลเลาะห์ได้ประทานแก่นาบีอิบฮีม (อ.)คืนที่ 9 บุญที่ได้รับจะเท่ากับบุญการอีบาดะของนาบีมูฮัมหมัด (ซ.ล.) คืนที่ 10 อัลเลาะห์จะทรงบันดาลให้พบแต่ความดีงามทั้งโลกนี้และโลกหน้า คืนที่ 11 หากพวกเขาสิ้นชีวิตในคืนนี้ เขาก็เหมือนกับทากรที่ถูกคลอดใหม่ๆคืนที่ 12 เขาจะเกิดมาในวันกียามะด้วยใบหน้าที่ดุจดั่งจันทร์เพ็ญคืนที่ 13 เขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในวันกียามะคืนที่ 14 ในวันกียามะมาลาอีกะจะเป็นพยานยืนเคียงข้างเขาคืนที่ 15 มาลาอีกะตลอดจนมาลักที่แบกอารัชต่างๆจะอวยพรให้แก่เขาคืนที่ 16 เขาจะถูกบันทึกว่าเป็นผู้ปลอดภัยจากนรกคืนที่ 17เขาจะได้บุญเท่ากับผลบุญบรรดานาบีรวมกัน คืนที่ 18 มาลาอีกะจะประกาศชื่อของเขาว่า แน่แท้พระองค์อัลเลาะห์ทรงอภัยในตัวเขาและบิดามารดาของเขาคืนที่ 19 อัลเลาะห์จะยกฐานะอันสูงส่งในชั้นฟิรเดาส์ คืนที่ 20 เขาจะได้รับผลบุญเท่ากับผู้ที่ตายชาฮีดคืนที่ 21 อัลเลาะห์จะสร้างบ้านหลังหนึ่งที่เต็มไปด้วยรัศมีให้แก่เขาคืนที่ 22 เขาจะไปปรากฏตัวในวันกียามะโดยปราศจากความทุกข์คืนที่ 23 อัลเลาะห์ได้เตรียมเมืองไว้สำหรับให้เขาครอบครองคืนที่ 24 อัลเลาะห์เปิดโอกาสรับดุอายี ่สิบสี่ประการคืนที่ 25 อัลเลาะห์ทรงยกโทษในกุโบร์ให้แก่เขาคืนที่ 26 อัลเลาะห์ทรงยกผลบุญเท่ากับทำอีบาดะสี่สิบปี คืนที่ 27 เขาจะเดินผ่านสะพานซีร็อตดุจฟ้าแลบคืนที่ 28 อัลเลาะห์ทรงยกฐานะให้เขาหนึ่งพันชั้นคืนที่ 29 อัลเลาะห์ทรงประทานผลบุญให้เท่ากับประกอบพิธีฮัจย์หนึ่งพั นครั้งคืนที่ 30 อัลเลาะห์ทรงกล่าวว่า " โอ้บ่าวของฉันจงมารับประทานผลไม้ในสวรรค์และจงอาบน้ำซัลซาบีล (ซึ่งเป็นน้ำทิพย์ในสวรรค์)จงดื่มน้ำอัลเกาซัรซึ่งเราเป็นเจ้าของ เจ้าเป็นบ่าวของเรา เจ้าได้ปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าเสร็จสมบูรณ์แล้ว
-----------
พี่น้องครับ
หะดิษข้างต้นนั้น เป็นหะดิษเมาฎัวะอฺ(หะดิษเก๊) ทำไมหรือที่เป็นเมาฎัวะอฺครับ ก็เพราะหะดิษข้างต้นไม่มีเลยซึ่งการระบุถึงสายรายงานหะดิษ นักรายงานหะดิษ และผู้รายงานหะดิษที่จะยอมรับว่าเป็นหะดิษศอเหี้ยะ เป็นหะดิษที่บรรดาอุลมาร์ของโลกจะนำมาพิจารณาและระบุถึงในตำรับตำราต่างๆแม้กระทั่งของอิหม่ามชาฟีอีเองก็ตาม และถ้อยคำดังกล่าวนั้น ได้บ่งอย่างชัดเจนถึงการกุฮะดิษขึ้นมา ซึ่งผลบุญต่างๆที่เกี่ยวข้องกับอิบาดะห์นั้น ย่อมเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งกับการระบุถึงหลักฐานที่รองรับจากอัลกุรอานและหะดิษครับ
โกหกเพื่อให้เขามาละหมาดกันได้หรือ .ออ..อิสลามชวนกันละหมาดแบบนี้หรอ
อิสลามนั้นสมบูรณ์ สมบูรณ์ในความจริงที่ปรากฎ ไฉนเลย ต้องนำสิ่งนี้มาล่อ มาหลอกกันด้วยครับ
การปฏิบัติอามาลย่อมอยู่ในจิตสำนึกของคนมุสลิม ไม่จำเป็นใช่ไหมที่ต้องนำสิ่งนี้ มาล่อ มาหลอกกันใช่ไหมครับ
มารับรู้กัน มาตระหนักกัน ถึงหะดิษที่ไม่มีข้อขัดแย้ง ไม่มีซึ่งอุลมาร์ท่านใดของโลกหรืออิหม่ามชาฟีอีเองที่ท่านสังกัด ที่ท่านเชื่อถือที่จะกล่าว ที่จะแย้งว่า มันเป็นฏออีฟ มันเป็นเมาฏัวะอฺครับ

ความประเสริฐของการละหมาดตะรอวี๊ห์
عَنْ أَبِيْ هُرَيْرَةَ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ قاَلَ : قاَلَ رَسُوْلُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمِ : " مَنْ قاَمَ رَمْضاَنَ إِيْماَناً وَاحْتِساَباً غُفِرَلَهُ ماَ تَقَدَّمَ مِنْ ذَنْبِهِ
ความว่า จากอบี ฮุรอยเราะห์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่าท่านรอซูล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม)กล่าวว่า "ผู้ใดที่ละหมาดในเดือนรอมฎอนด้วยความศรัทธา (ต่อคำสั่งและสัญญาของอัลลอฮฺ)รวมทั้งคาดหวังผลตอบแทนจากพระองค์ แน่แท้พระองค์จะทรงอภัยโทษต่อบาปต่างๆ ที่ผ่านมา"
(มุตตะฟะกุน อะลัยห์ : บุคอรี 2/252 และมุสลิม 1/523)
คำอธิบายหะดิษ
การงานที่ศาสนาอิสลามส่งเสริมให้บรรดามุสลิมกระทำในเดือนรอมฎอน คือ การละหมาดในเวลากลางคืน ซึ่งเป็นที่รู้จักว่าเป็นการละหมาดตะรอวี๊ห์ และผลการตอบแทนในการปฏิบัตินั้นยิ่งใหญ่ไม่น้อยไปกว่าการประกอบอิบดะฮ์ประเภทอื่นๆ ที่ใช้ให้ปฏิบัติในเดือนรอมฎอน เช่น การถือศีลอด เพราะต่างได้รับการสัญญาว่าจะได้รับการอภัยโทษในบาปที่กระทำมา เฉกเช่นเดียวกับการตอบแทนที่ได้สัญญาแก่คนที่ปฏิบัติอะมัลอิบาดะฮ์ในค่ำคืนอัลเกาะดัรในด้านการได้รับอภัยโทษ ทั้งหมดนั้นขึ้นอยู่กับความมั่นใจของเราต่อคำสั่งของอัลลอฮ์ รวมทั้งความบริสุทธิใจในการปฏิบัติอะมัลดังกล่าวด้วย
ส่วนหุก่มของการละหมาดตะรอวีห์นั้น บรรดาอุลามาอ์ได้ลงความเห็นเป็นเอกฉันท์ว่า เป็นสุนัตสำหรับชายและหญิง และใช้ให้ปฏิบัติทั้งในรูปแบบญะมาอะห์หรือในลักษณะต่างคนต่างทำ แต่การปฏิบัติในรูปแบบญะมาอะห์จะมีความประเสริฐมากกว่า
บทเรียนจากหะดีษ
1. ความประเสริฐของเดือนรอมฎอนและอิบาดะฮฺกิยามุลลัยล์ในเดือนรอมฎอน
2. มีความมั่นใจต่อคำสั่งของอัลลอฮฺ และความบริสุทธิ์ใจในการประกอบอิบาดะฮฺนั้นถือว่าเป็นเงื่อนไขหลักของการได้มาซึ่งการตอบแทนจากอัลลอฮฺ (หมายถึงอัลลอฮฺจะทรงพิจารณาถึงความบริสุทธิ์ใจในการประกอบอิบาดะฮฺของบ่าว)
3. เราะมัตของอัลลอฮฺ ซึ่งพระองค์จะให้อภัยต่อบาปต่างๆ ที่ผ่านมาแก่ผู้ที่ดำรงละหมาดในค่ำคืนเดือนรอมฎอน


บาปที่ผ่านไปได้รับการอภัยโทษ
عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ رَضِىَ اللهُ عَنْهُ أَنَّ النَّبِيَّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمْ قَالَ:" مَنْ صَامَ رَمَضَانَ إِيْمَاناً وَاحْتِسَاباً غُفِرَلَهُ مَا تَقَدَّمَ مِنْ ذَنْبِهِ" رواه البخارى 4/221 ومسلم 760
ความหมาย จากอบีฮุรอยเราะห์ เราะฏิยัลลอฮุอันฮุ ท่านรอซูล กล่าวว่า "ผู้ใดที่ถือศีลอดเดือนรอมฏอนด้วยความศรัทธาและบริสุทธิ์ และมุ่งหวังผลบุญจากการถือศีลอดเขาจะได้รับการอภัยบาปของเขาที่ผ่านมา" (หะดีษรายงานโดยอัลบุคอรีย์ 4/221 และมุสลิม 760)
คำอธิบายหะดีษ
คำว่า "إِيْمَاناً" คือ การอี๊ติก็อดต่อหน้าที่ในการถือศีลอดอย่างเต็มเปี่ยม ส่วนคำว่า "احْتِسَاباً" คือ การวิงวอนขอผลบุญจากอัลลอฮ ซุบฮานะหุวะตะอาลา
อัลเคาะฏอบีย์ กล่าวว่า "احْتِسَاباً" หมายถึง การตั้งใจ นั่นคือ การที่เขาถือศีลอดอันเนื่องจากหวังเพื่อได้รับผลบุญที่เกิดจากจิตใจที่บริสุทธิ์และยินยอม ขณะเดียวกันเขาจะไม่มีความรู้สึกหนักใจในการถือศีลอดและไม่รู้สึกว่าเวลาในการถือศีลอดนั้นนานเกินไป [ฟัตฮุ อัล-บารีย์ 4/114]
อัส-สุยูฏีย์กล่าวว่า คำว่า "إِيْمَاناً" หมายถึง การยินยอมให้การถือศีลอดเป็นฟัรดูเหนือเขาและเป็นสิทธิที่เป็นวาญิบและเป็นหนึ่งในรุก่นอิสลาม ยังเป็นส่วนหนึ่งของกระทำที่อัลลอฮให้คำมั่นสัญญาว่าจะให้ผลบุญและผลตอบแทน [ตุหฺฟะตุลอะห์วะซีย์ 3/361]
อิหม่ามอันนะวะวีย์กล่าวว่า อะมั้ลอิบาดะห์ทุกอย่างที่สามารถไถ่จากบาปต่างๆ เมื่อตรงกับบาปต่างๆ (ไม่ว่าจะเป็นบาปใหญ่หรือบาปเล็ก) บาปนั้นก็จะถูกลบล้างไป ซึ่งบาปเล็กก็จะถูกลบไป ส่วนบาปใหญ่ก็จะให้เบาบางลง หากอิบาดะห์ต่างๆ มิใช่เป็นสาเหตุของการยกระดับ (ดะรอญะห์) ในสวรรค์
อิบนุ มุนซิรกล่าวว่า การให้อภัยนั้นจะคลอบคลุมถึงบาปทุกอย่าง ทั้งที่เป็นบาปใหญ่และบาปเล็ก
บทเรียนจากหะดีษ
1. กล่าวถึงความประเสริฐของการประกอบอิบาดะห์คือ การถือศีลอด
2. ผู้ที่ถือศีลอดอย่างแท้จริงนั้นจะได้รับการอภัยโทษจากบาปต่างๆ ที่ผ่านไป
3. การถือศีลอดที่แท้จริงเกิดจากความศรัทธาต่อคำสั่งของอัลลอฮ และหน้าที่ในการถือศีลอด พร้อมทั้งหวังในผลบุญจากพระองค์
4. ในภาพรวมแล้ว หะดีษนี้จะกล่าวถึงบาปทั้งที่เป็นบาปใหญ่และบาปเล็กจะได้รับการอภัยจากอัลลอฮ แต่ทัศนะของนักวิชาการเห็นว่าการอภัยโทษนั้นเจาะจงเฉพาะที่เป็นบาปเล็กเท่านั้น ส่วนบาปใหญ่จะเบาบางลงเท่านั้น
5. การอภัยโทษจากอัลลอฮนับเป็นความโปรดปรานที่ยิ่งใหญ่ที่สุ ดแด่บ่าวของพระองค์
-----------------
หวังเพียงอย่างยิ่งว่า พี่น้องทั้งหลายจะตระหนัก จะพิจารณาและทบทวนตัวเองอยู่เสมอว่า เราละหมาดตามใคร เราละหมาดอย่างไร เราละหมาดถูกต้องไหม อิริยาบทเป็นอย่างไร สอดคล้องไหมกับสิ่งที่อัลลอฮว่า รอซูลว่าครับ
หรือเราเพียงก้มๆเงยๆ เพื่อให้ผ่านพ้น เพื่อให้เสร็จสิ้น เพื่อให้รับรู้กับตัวเอง กับเพื่อนๆว่า เราละหมาดแล้ว เราเสร็จแล้วครับ

ที่สำคัญ ตะรอเวียะห์ หาใช่เป็นอิบาดะห์ที่เราจะละหมาดที่ไหนก็ได้ จะละหมาดอย่างไรก็ได้ไม่ แต่เป็นอิบาดะห์ที่ต้องการความสมบูรณ์ ความคุชัวะ ความถูกต้อง ที่ไม่ใช่แบบก้มๆ เงยๆอย่างรวดเร็ว อย่างรีบด่วน เหมือนบางมัสยิดที่เป็นอยู่ในสังคมปัจจุบัน
ดังนั้น
น่าเสียดายนะ หากคืนนี้ ท่านเลือกมัสยิดที่ละหมาดอย่าง ก้มๆ เงยๆ อย่างรวดเร็ว อย่างรีบด่วนครับ
เพราะท่านมิใช่ต้องการให้ผ่านพ้นใช่ไหม ต้องการให้เสร็จเร็วๆใช่ไหม แต่ท่านต้องการผลบุญที่เกิดจากการนอบน้อมอย่างมีคูชัวะ อย่างตั้งใจที่จะขอขอดุอาร์ต่างๆ จริงไหมครับ...พี่น้อง
พี่น้องครับ
อดทนนะ อดทน อย่าเบื่อกับอิบาดะที่ท่านทำเลยครับ...เพราะฟิรดาวส์ของท่านอยู่แค่เอื้อม...
อินชาอัลลอฮ

والسلام عليكم ورحمة الله وبركاته
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักความเชื่อ ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


Powered by phpBB ฉ 2001, 2002 phpBB Group







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.09 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ