ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
อนุรักษ์มรดกอิสลาม :: ดูกระทู้ - ความเข้าใจเกี่ยวกับการถือศีลอด
อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก อนุรักษ์มรดกอิสลาม  
  เพื่อการอนุรักษ์มรดกอิสลาม      คำถามถามบ่อยของกระดานข่าว      ค้นหา      รายนามสมาชิก  
  · เข้าระบบ ข้อมูลส่วนตัว · เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ · กลุ่มผู้ใช้งาน  
ความเข้าใจเกี่ยวกับการถือศีลอด
ไปที่หน้า 1, 2  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> เรื่องทั่วไป
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Mon Sep 03, 2007 12:40 am    ชื่อกระทู้: ความเข้าใจเกี่ยวกับการถือศีลอด ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ศีลอด หรือ ศิยาม ในภาษาอาหรับ หมายถึง การอดอาหารและเครื่องดื่ม และการเสพกาม ตั้งแต่ยามรุ่งอรุณ จนกระทั่งถึงเวลาหลังตะวันตกดิน
1. การถือศีลอดเป็นข้อบังคับและเป็นหลักการหนึ่งจากหลักการของอิสลาม 5 ประการ
อัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลาตรัสว่า

يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ كُتِبَ عَلَيْكُمُ الصِّيَامُ كَمَا كُتِبَ عَلَى الَّذِينَ مِن قَبْلِكُمْ لَعَلَّكُمْ تَتَّقُونَ
[2.183] บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย! การถือศีลอด นั้นได้ถูกกำหนดแก่พวกเจ้าแล้ว เช่นเดียวกับที่ได้ ถูกกำหนดแก่บรรดาผู้ก่อนหน้าพวกเจ้ามาแล้ว เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้ยำเกรง
قَالَ عَبْدُ اللَّهِ قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم ‏"‏ بُنِيَ الإِسْلاَمُ عَلَى خَمْسٍ شَهَادَةِ أَنْ لاَ إِلَهَ إِلاَّ اللَّهُ وَأَنَّ مُحَمَّدًا عَبْدُهُ وَرَسُولُهُ وَإِقَامِ الصَّلاَةِ وَإِيتَاءِ الزَّكَاةِ وَحَجِّ الْبَيْتِ وَصَوْمِ رَمَضَانَ ‏"‏ ‏.‏

อับดุลลอฮ์ ( อิบนิอุมัร ) รายงานว่า ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า (โครงสร้างของ) อิสลามตั้งอยู่บนรากฐานห้าประการคือ (1) การปฏิญาณตนว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใด (ที่ควรแก่การสักการะ) นอกจากพระองค์อัลลลอฮ์ และมูฮัมหมัดคือบ่าวและศาสนทูตของพระองค์ (2) การดำรงละหมาด, (3) การจ่ายซะกาต, (4) การทำฮัจญ์ ณ.บัยตุ้ลลอฮ์ (5) การถือศีลอดเดือนรอมฏอน

2. หลักการในการถือศีลอด
2.1 งดจากสิ่งที่ทำให้เสียศีลอดตั้งแค่อรุณทอแสงจนตะวันตกดิน
อัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลาตรัสว่า

أُحِلَّ لَكُمْ لَيْلَةَ الصِّيَامِ الرَّفَثُ إِلَى نِسَآئِكُمْ هُنَّ لِبَاسٌ لَّكُمْ وَأَنتُمْ لِبَاسٌ لَّهُنَّ عَلِمَ اللّهُ أَنَّكُمْ كُنتُمْ تَخْتانُونَ أَنفُسَكُمْ فَتَابَ عَلَيْكُمْ وَعَفَا عَنكُمْ فَالآنَ بَاشِرُوهُنَّ وَابْتَغُواْ مَا كَتَبَ اللّهُ لَكُمْ وَكُلُواْ وَاشْرَبُواْ حَتَّى يَتَبَيَّنَ لَكُمُ الْخَيْطُ الأَبْيَضُ مِنَ الْخَيْطِ الأَسْوَدِ مِنَ الْفَجْرِ ثُمَّ أَتِمُّواْ الصِّيَامَ إِلَى الَّليْلِ وَلاَ تُبَاشِرُوهُنَّ وَأَنتُمْ عَاكِفُونَ فِي الْمَسَاجِدِ تِلْكَ حُدُودُ اللّهِ فَلاَ تَقْرَبُوهَا كَذَلِكَ يُبَيِّنُ اللّهُ آيَاتِهِ لِلنَّاسِ لَعَلَّهُمْ يَتَّقُونَ
[2.187] ได้เป็นที่อนุมัติแก่พวกเจ้าแล้ว ซึ่งการสมสู่กับบรรดาภรรยาของพวกเจ้า ในค่ำคืนของการถือศีลอด นางทั้งหลายนั้นคือเครื่องนุ่มห่มของพวกเจ้า และพวกเจ้าก็คือเครื่องนุ่งห่มของพวกนาง อัลลอฮ์ทรงรู้ว่า พวกเจ้านั้นเคยทุจริตต่อตัวเอง แล้วพระองค์ก็ทรงยกโทษให้แก่พวกเจ้า และอภัยให้แก่พวกเจ้าแล้ว บัดนี้พวกเจ้าจงสมสู่กับพวกนางได้ และแสวงหาสิ่งที่อัลลอฮ์ ได้ทรงกำหนดให้แก่พวกเจ้าเถิด และจงกิน และดื่ม จนกระทั่งเส้นขาว จะประจักษ์แก่พวกเจ้าจากเส้นดำ เนื่องจากแสงรุ่งอรุณ แล้วพวกเจ้าจงให้การถือศีลอดครบเต็ม จนถึงพลบค่ำ และพวกเจ้าจงอย่าสมสู่กับพวกนาง ขณะที่พวกเจ้าเอียะติก๊าฟอยู่ในมัศยิด นั่นคือบรรดาขอบเขตของอัลลอฮ์ ดังนั้นพวกเจ้าจงอย่าเข้าใกล้ขอบเขตนั้น ในทำนองนั้นแหละ อัลลอฮ์จะทรงแจกแจงบรรดาโองการ ของพระองค์แก่มนุษย์ เพื่อว่าพวกเขาจะได้ยำเกรง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Mon Sep 03, 2007 12:42 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

2.2 การตั้งเจตนา
ท่านนบี กล่าวว่า
إنما الأعمال بالنيات، وإنما لكل امرئ ما نوى
แท้จริงการงานทั้งหลายขึ้นอยู่กับการเจตนา และทุกคนจะได้ตามที่เขาได้เจตนา –มุตตะฟักอะลัยฮิ
ท่านรซูลุ้ลลอฮ Solallah กล่าวว่า
"من لم يُجْمِع الصّيـام قبل الفجر، فلا صيام له". رواه أحمد، وأصحاب السنن، وصححه ابن خزيمة، وابن حبان.
ผู้ใดไม่รวม(ไม่ตั้งเจตนา)กอ่นรุ่งอรุณทอแสง ก็ไม่มีการถือศีลอดสำหรับเขา” – รายงานโดย อะหมัดและบรรดาเจ้าของสุนัน และอิบนุคุซัยมะฮระบุว่า เป็นหะดิษเศาะเฮียะ
ท่านสัยยิดสาบิกกล่าวว่า
وتصح في أي جزء من أجزاء الليل، ولا يشترط التلفظ بها؛ فإنها عمل قلبيٌّ، لا دخل للسان فيه، فإن حقيقتها القصد إلى الفعل؛ امتثالاً لأمر اللّه تعالى، وطلباً لوجهه الكريم. فمن تسحّر بالليل، قاصداً الصِّيام، تقرباً إلى اللّه بهذا الإمساك، فهو نَاوٍ.
การเนียตถือว่าใช้ได้ ไม่ว่าจะเป็นส่วนใหนของกลางคืนและไม่มีเงื่อนไขว่าจะต้องกล่าวคำเนียต เพราะการเนียต เป็นงานของหัวใจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับลิ้น เพราะแท้จริงแก่นแท้ของการเนียตคือ การเจตนากระทำเพื่อปฏิบัติตามคำสั่งของอัลลอฮ ผู้ทรงสูงส่ง และแสวงหาความโปรดปรานของพระองค์ผู้ทรงเกียรติ ดังนั้น ผู้ใดรับประทานสะหูรในเวลากลางคืน โดยเจตนาว่าจะถือศีลอด เพื่อแสวงหาความใกล้ชิดต่ออัลลอฮ ด้วยการการงดเว้นนั้น ก็ถือว่าเขาเป็นผู้ตั้งเจตนา(เนียต)แล้ว) - ฟิกฮอัสสุนนะฮ เล่ม 1 เรื่อง การถือศีลอด
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Mon Sep 03, 2007 12:44 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ชัยคุลอิสลาม อิบนุตัยมียะฮ กล่าวว่า
ومن خطر بقلبه أنه صائم غداً فقد نوى
และผู้ใดนึกในใจของเขาว่า เขาถือศีลอดในวันพรุ่งนี้ แท้จริง เขาได้เนียตแล้ว
- อัลอิคติยารอต หน้า 191
3. เวลาของการถือศีลอด
อัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลาตรัสว่า
وَكُلُواْ وَاشْرَبُواْ حَتَّى يَتَبَيَّنَ لَكُمُ الْخَيْطُ الأَبْيَضُ مِنَ الْخَيْطِ الأَسْوَدِ مِنَ الْفَجْرِ ثُمَّ أَتِمُّواْ الصِّيَامَ إِلَى الَّليْلِ
และจงกิน และดื่ม จนกระทั่งเส้นขาว จะประจักษ์แก่พวกเจ้าจากเส้นดำ เนื่องจากแสงรุ่งอรุณ แล้วพวกเจ้าจงให้การถือศีลอดครบเต็ม จนถึงพลบค่ำ – อัลบะเกาะเราะฮ /187
คำว่า “ฟัจญัร”หรือแสงรุ่งอรุณนั้นมีสองประเภทคือ
1. ฟะญัรกาซิบ คือ แสงอรุณที่ยังไม่อนุญาตให้ละหมาดศุบฮิและยังไม่ห้ามการรับประทานอาหาร โดยมีลักษณะแสงขาวที่ทาบขอบฟ้าเป็นแนวยาว
2. ฟะญัรศอดิก คือ แสงอรุณที่อนุญาตให้ละหมาดศุบฮิได้และไม่อนุญาตให้รับประทานอาหาร โดยแสงนี้มีลักษณะแสงสีแดงที่กระจายอเป็นรัศมีกว้าง ยู่ในขอบฟ้า
ท่านนบี Solallah กล่าวว่า

لا يمنعكم من سحوركم أذان بلال ولا الفجر المستطيل ولكن الفجر المستطير في الأفق

อย่าให้เสียงอะซานของบิลาล และแสงอรุณที่ทอดเป็นลำยาว ยับยั้งพวกท่านไม่ให้รับประทานสะหูร แต่ทว่า แสงอรุณแท้ คือ แสงที่กระจายอยู่ในขอบฟ้า - รายงานโดยอัตติรมิซีย์
.........
อินชาอัลลอฮ มีต่อ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Mon Sep 03, 2007 12:46 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ท่านนบี Solallah กล่าวว่า
إذا أقبل الليل من هاهنا وأدبر النهار من هاهنا، وغربت الشمس فقد أفطر الصائم
เมื่อกลางคืนมุ่งหน้ามาทางด้านนี้และกลางวันผ่านไปทางด้านนี้ และดวงอาทิตย์ตก แท้จริงผู้ถือศีลอด ได้แก้ศีลอดแล้ว -มุตตะฟักอะลัย

4. การรับประทานสะหูร (หมายถึงการรับประทานอาหารก่อนรุ่งอรุณเพื่อถือศีลอด)
ท่านรซูลุ้ลลอฮ Solallah กล่าวว่า
تسحروا فإن في السحور بركة
พวกท่านจงรับประทานอาหารสะหูรเถิด แท้จริงในอาหารสะหูร นั้นมีความจำเริญ" อัลหะดีษ บันทึกโดยบุคอรียและมุสลิม
ท่านรอซูล Solallah ได้สั่งเสียในหะดีษดังกล่าวถึงความจำเป็นในการรับประทานอาหารสะหูร เพราะอาหารสะหูรจะช่วยให้เราไม่รู้สึกอ่อนเพลีย และปวดศีรษะในตอนกลางวันของรอมฎอน และยังจะช่วยบรรเทาความกระหายน้ำอย่างรุนแรงอีกด้วย -
........
อินชาอัลลอฮมีต่อ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Mon Sep 03, 2007 1:03 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ท่านนบี Solallah กล่าวว่า
فصل ما بين صيامنا وصيام أهل الكتاب أكلة السحر
ข้อแตกต่างระหว่างการถือศีลอดของพวกเรา(มุสลิม)และการถือศีลอดของชาวคัมภีร์คือ การรับประทานสะหูร " - รายงานโดย มุสลิม
ท่านนบี Solallah กล่าวว่า
السحور أكلة بركة فلا تدعوه ولو أن يجرع أحدكم جرعة من ماء، فإن الله وملائكته يصلون على المتسحرين
การรับประทานสะหูรนั้น เป็นความจำเริญ ดังนั้นพวกท่านอย่าทิ้งมัน แม้ว่าคนหนึ่งในหมู่พวกท่านดื่มน้ำสักหยดก็ตาม เพราะแท้จริงอัลลอฮและบรรดามลาอิกะฮของพระองค์ ขอพรให้แก่บรรดาผู้ที่รับประทานสะหูร - หะดิษหะซัน รายงานโดย อิหม่ามอะหมัด
........
อินชาอัลลอฮ มีต่อ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Tue Sep 04, 2007 5:14 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

5. การแก้ศีลอด
ท่านนบี Solallah กล่าวว่า
لا يزال الناس بخير، ما عَجّلوا الفطر رواه البخاري،
“มนุษย์ยังคงอยู่ในความดีตราบใดที่พวกเขารีบเร่งในการแก้ศีลอด” บันทึกโดย : อัลบุคอรีย์
فعن أنَس _ رضي اللّه عنه _ قال: كان رسول اللّه صلى الله عليه وسلم يُفْطِر على رُطَباتٍ قبل أن يُصَلي، فإن لم تكن، فعلى تمرات، فإن لم تكن، حَسَا حَسَوات من ماء . رواه أبو داود، والحاكم وصححه، والترمذي وحسنه
จากท่านอะนัส ร.ด. ได้กล่าวว่า "ท่านรซูล Solallah ได้แก้ศีลอดด้วยผลอินทผลัมสุกก่อนที่ท่านจะไปละหมาด ถ้าไม่มีท่านก็จะแก้ผลอินทผัมแห้ง และถ้าหากว่าไม่มีก็จะดื่มน้ำ 2-3 อึก" -รายงานโดย อบูดาวูดและหากิม โดยเขาระบุว่าเป็นหะดิษเศาะเฮียะและอัตติรมิซีย์ เขาระบุว่าเป็นหะดิษหะซัน
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Tue Sep 04, 2007 7:22 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

عن أبي عطية قال : دخلتُ أنا ومسروق على عائشة فقلنا : يا أم المؤمنين رجلان مِن أصحاب محمَّد صلى الله عليه وسلم أحدهما يعجل الإفطار ويعجل الصلاة والآخر يؤخر الإفطار ويؤخر الصلاة ؟ قالت : أيهما الذي يعجل الإفطار ويعجل الصلاة ؟ قال : قلنا : عبد الله - يعني : ابن مسعود - قالت : كذلك كان يصنع رسول الله صلى الله عليه وسلم . رواه مسلم ( 1099

รายงานจากอบีอะฏียะฮ กล่าวว่า “ ข้าพเจ้าเองและมัสรูก ได้เข้าพบท่านหญิงอาอีฉะฮ แล้วเราได้กล่าวว่า “โอ้มารดาแห่งบรรดาศรัทธาชน มีชายสองคนจากสหายของมุหัมหมัด คนหนึ่งจากทั้งสองนั้น รีบแก้ศีลอด(เมื่อถึงเวล)และรีบละหมาด และอีกคนแก้ศีลอดและละหมาดล่าช้า ท่านหญิงอาอีฉะฮกล่าวว่า “แล้วคนใหนที่รีบแก้ศีลอดและรีบละหมาด? เขา(อบีอะฏียะฮ)กล่าวว่า “ เรากล่าวว่า อับดุลลอฮ หมายถึง บุตรชายของอิบนิมัสอูด “ นาง(ท่านหญิงอะอีฉะฮ)กล่าวว่า “ เช่นนั้นแหละ ปรากฏว่าท่านรซูลุลลอฮ Solallah ได้กระทำ” – รายงานโดยมุสลิม หะดิษหมายเลข 1099

عن أنس بن مالك قال : " كان النَّبيُّ صلى الله عليه وسلم يفطر على رُطَبات قبل أن يصلي فإن لم يكن رُطَبات فتَمْرات فإن لم يكن تمرات حسا حَسَواتٍ مِن ماءٍ . رواه أبو داود ( 2356

รายงานจากอะนัส บุตร มาลิก กล่าวว่า “ปรากฏว่า ท่านนบี Solallah แก้ศีลอดด้วย อินทผลัมสด ก่อนที่จะละหมาด แล้วถ้าปรากฏว่าไม่มีอินทผลัมสด ก็ด้วยอินทผลัมแห้ง แล้วถ้าปรากฏว่าไม่มีอินทผลัมแห้ง ท่านได้ดื่มน้ำ 2- 3 อึก”- รายงานโดย อบูดาวูด หะดิษหมายเลข 2356
และหะดิษบทนี้ อัลบานีย์ระบุ ใน อัลอิรวาอ์ 4/45 ว่า เป็นหะดิษเศาะฮียะ
عن ابن عمر قال : " كان رسول الله صلى الله عليه وسلم إذا أفطر قال : " ذَهَب الظمأ وابتلَّت العروق وثبت الأجر إن شاء الله " . رواه أبو داود ( 2357

รายงานจากอิบนุอุมัร กล่าวว่า “ ปรากฏว่าท่านรซูลุลลอฮ Solallah เมื่อแก้ศีลอด ท่านกล่าวว่า “ ความกระหายได้มลายไปแล้ว เส้นเอ็นต่างๆได้เปียกแล้ว และผลการตอบแทนได้ปรากฏแน่นอนแล้ว หากอัลลอฮทรงประสงค์ – รายงานโดย อบูดาวูด หะดิษหมายเลข 2357
ท่านอัลหาฟีซ อิบนุหะญัร กล่าวไว้ใน อัตตัลคีส อัลหะบีร 2/202 ว่า เป็นหะดิษที่อยู่ในระดับดี(หะซัน
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Thu Sep 06, 2007 9:06 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

6. คุณค่าของการถือศีลอด
عن أبي هريرة رضي الله عنه أن رسول الله صلى الله عليه وسلم قال : " الصيام جُنَّة فلا يرفث ولا يجهل وإن امرؤ قاتله أو شاتمه فليقل إني صائم مرتين والذي نفسي بيده لخُلوف فم الصائم أطيب عند الله تعالى من ريح المسك ، قال تعالى : يترك طعامه وشرابه وشهوته مِن أجلي الصيام لي وأنا أجزي به ، والحسنة بعشر أمثالها " . رواه البخاري ( 1795 ) ومسلم ( 1151
จากอบีฮุรัยเราะฮ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่า แท้จริงรซูลุ้ลลอฮ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “ การถือศีลอดนั้น เป็นโลห่(ป้องกันความผิด) และหากมีคนชวนทะเลาะหรือด่าว่าเขา เขาจงกล่าวว่า “ฉันกำลังถือศีลอด” สองครั้ง และขอสาบานต่อผู้ซึ่งชีวิตของฉัน อยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ ความจริงกลิ่นปากของผู้ที่ถือศีลอดนั้น ณ อัลลอฮนั้น หอมยิ่งกว่ากลิ่นชะมดเชียงเสียอีก ,อัลลอฮ ตะอาลา ตรัสว่า “ เขางดเว้นอาหาร,เครื่องดื่มและความกำหนดของเขา เพื่อข้า ,การถือศีลอดนั้น เป็นของข้า และข้าจะตอบแทนมันเอง และความดีนั้น จะได้รับการตอบแทนสิบเท่าของมัน “- รายงานโดย บุคอรี(1795)และมุสลิม (1151)
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Thu Sep 06, 2007 9:17 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

عن سهل بن سعد رضي الله عنه عن النَّبيِّ صلى الله عليه وسلم قال : " إن في الجنة باباً يقال له الريان يدخل منه الصائمون يوم القيامة لا يدخل مِنه أحدٌ غيرهم يقال أين الصائمون فيقومون لا يدخل منه أحد غيرهم فإذا دخلوا أغلق فلم يدخل منه أحدٌ " . رواه البخاري ( 1797 ) ومسلم ( 1151
จากสะฮลุน บุตร สะอีด เราะฎิยัลลอฮุอันฮู จากท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “ แท้จริงในสวรรค์นั้น มีประตูอยู่หนึ่งประตู เรียกว่า “อัรร็อยยาน” จะมีเพียงบรรดาผู้ถือศีลอดเท่านั้นเข้าไปได้ในวันกิยามะฮ โดยที่อื่นจากพวกเขานั้นไม่มีคนใดสามารถเข้าไปได้ มีการประการศว่า “บรรดาผู้ถือศีลอดอยู่ใหน ?แล้วพวกเขาก็ยืนขึ้น ไม่มีคนใดอื่นจากพวกเขาเข้าไปได้ แล้วเมื่อพวกเขา(บรรดาผู้ถือศีลอด) ได้เข้าไปแล้ว มันก็ถูกปิด ดังนั้น จึงไม่มีคนใดเข้าไปอีก. – รายงานโดย บุคอรี (1797)และมุสลิม (1151)
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Fri Sep 07, 2007 1:57 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

7. บุคคลที่ไม่จำเป็นต้องถือศีลอด
7.1 มุสาฟีร คือ ผู้ที่อยู่ในระหว่างการเดินทาง ใกล ที่เรียกว่า “การเดินทาง” การเดินทาง ตามทัศนะที่มีน้ำหนักคือ การเดินทางที่ตามธรรมเนียมและสังคม ของท้องถิ่นนั้น ถือว่า เป็นการเดินทาง” – ดูมัจญมัวะฟะตาวา 34/40-50, 19/243
ผู้ที่อยู่ในระว่างการเดินทางดังกล่าว ไม่จำเป็นต้องถือศีลอด ดังที่อัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลาตรัสว่า
فَمَن كَانَ مِنكُم مّرِيضاً أَوْ عَلَىَ سَفَرٍ فَعِدّةٌ مّنْ أَيّامٍ أُخَرَ
ดังนั้น ผู้ใดในหมู่พวกเจ้าป่วยหรืออยู่ในระว่างเดินทาง เขาจง(ถือทดแทน)ตามจำนวน ในวันอื่นๆ - อัลบะเกาะเราะฮ/184
ท่านฮัมซะฮ บิน อัมมัร อัลอัสลามีย์ เป็นคนหนึ่งที่ถือศีลอดอย่างเคร่งครัด เขาได้ถามท่านรซูลุ้ลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่า ข้าพเจ้าถือศีลอดในระหว่างการเดินทางได้หรือไม่? ท่านรซูลุ้ลลอฮ ตอบว่า
إن شئت فصم وإن شئت فأفطر
จงถือศีลอดเถิดหากท่านประสงค์ และจงแก้ศีลอดเถิด หากท่านประสงค์ – รายงานโดย บุคอรี หะดิษหมายเลข 1841 และมุสลิม หะดิษหมายเลข 1121
จากหะดิษข้างต้น แสดงให้เห็นว่า ผู้ที่อยู่ในระว่างเดินทางใกลนั้น ไม่วาญิบต้องถือศีลอด แต่ถ้าเขาถือศีลอดก็ย่อมทำได้ หากไม่เกิดอันตรายต่อสุขภาพของเขา ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
ليس من البر الصوم في السفر
การถือศีลอดในระหว่างการเดินทางนั้น ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งจากความดีงาม - รายงานโดย บุคอรี หะดิษหมายเลข 1844 และมุสลิม หะดิษหมายเลข 1115
ในกรณีข้างต้น หากเขาไม่มีความเข้มแข็งพอในการถือศีลอดในระว่างเดินทาง ดังมีรายงานว่า
فكانوا يرون أنه من وجد قوة فصام فحسن ومن وجد ضعفا فافطر فحسن
ปรากฏว่าพวกเขา(เหล่าเศาะหาบะอ) มีความเห็นว่า ผู้ใด พบว่ามีความสามารถ ก็ให้เขาถือศีลอด ย่อมเป็นการดี และผู้ใด พบว่า มีความอ่อนแอ ก็ให้เขาแก้ถีลอด(ไม่ต้องถือศีลอด) ย่อมเป็นการดี – รายงานโดย อัตติรมิซีย์ หะดิษหมายเลข 713 และอัลบัฆวีย์ หะดิษหมายเลข 1763 และอิหม่ามอัตติรมิซีย์ระบุว่า หะซัน เศาะเฮียะ
แต่อย่างไรก็ตาม ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
إن الله يحب أن تؤتى رخصه كما يكره أن تؤتى معصيته
แท้จริงอัลลอฮรักต่อการที่เขาปฏิบัติตามข้อผ่อนปรนของพระองค์ ดังเช่นที่ทรงรังเกียจต่อการที่เขาปฏิบัติสิ่งที่เป็นการฝ่าฝืนต่อพระองค์ – รายงานโดย อะหมัด หะดิษหมายเลข 5866 และอิบนุหิบบาน หะดิษหมายเลข 2742 ท่านเช็คอัลบานีย์ระบุไว้ในหนังสือ อัลอิรวาอ์อุลเฆาะลีร เล่ม 3 หน้า 9 หะดิษหมายเลข 564 ว่า เป็นหะดิษเศาะเฮียะ
………………..
อินชาอัลลอฮ มีต่อ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Mon Sep 10, 2007 8:55 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

7.2 หญิงที่มีประจำเดือน และมีน้ำคาวปลาหลังคลอดบุตร
ท่านหญิงอาอีฉะฮ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า
كَانَ يُصِيْبُنَا ذَلِكَ فَنُأْمَرُ بِقَضَاءِ الصِّيَامِ وَلاَ نُأْمَرُ بِقَضَاءِ الصَّلاَةِ
ปรากฏว่าพวกเราประสบกับดังกล่าวนั้น (หมายถึงมีประจำเดือน) แล้วพวกเราถูกใช้ให้ถือศีลอดชดใช้และพวกเราไม่ถูกใช้ให้ละหมาดชดใช้(กอฎอ) – รายงานโดย บุคอรีและมุสลิม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Mon Sep 10, 2007 9:59 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

7.3 หญิงมีครรภ์และหญิงที่ให้นมบุตร
หญิงมีครรภ์และหญิงที่ให้นมบุตร หากนางทั้งสองเกรงว่าจะเกิดอันตรายต่อตนเองหรืออันตรายต่อบุตรของนาง ก็ให้จ่ายอาหารแก่คนยากจนแทนการถือศีลอด
روى الدار قطني بإسناد صححه (1/ 208)عن ابن عباس أنه رأى أم ولد له حاملا أو مرضعا فقال ((أنت من الذين لا يطيقون ، عليك الجزاء وليس عليك القضاء
รายงานโดย อัดดารุ้ลกุฏนีย์ ด้วยสายรายงานที่เศาะเฮียะ (1/208) จากอิบนิอับบาส ว่า เขามีความเห็นว่า “อุมมุนวะลัดของเขา(ทาสหญิงที่ให้กำเนิดบุตรแก่เขา) ที่มีครรภ์หรือ เป็นผู้ให้นมบุตร โดยกล่าวว่า “ เธอเป็นส่วนหนึ่งจากบรรดาผู้ไม่มีความสามารถ เธอมีหน้าที่ต้องจ่ายทดแทน และไม่มีหน้าที่ชดใช้ “
وروى الدارقطني(1/207)عن ابن عمر وصححه أنه قال : ((الحامل والمرضع تفطر ولا تقضي
รายงานโดยอัดดารุ้ลกุฏนีย์(1/207)จากอิบนิอุมัร และเขา(อัดดารุ้ลกุฏนีย์)ระบุว่าเป็นหะดิษเศาะเฮียะ ว่า เขา(อิบนุอุมัร)กล่าวว่า (หญิงมีครรภ์ และหญิงให้นมบุตร นั้น ให้นางแก้ศีลอด และนางไม่ต้องถือชดใช้”
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Mon Sep 10, 2007 10:57 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

عَنْ ابْنِ عَبَّاسٍ رضي الله عنه في قوله تعالى : { وَعَلَى الَّذِينَ يُطِيقُونَهُ فِدْيَةٌ طَعَامُ مِسْكِينٍ } قَالَ : كَانَتْ رُخْصَةً لِلشَّيْخِ الْكَبِيرِ وَالْمَرْأَةِ الْكَبِيرَةِ وَهُمَا يُطِيقَانِ الصِّيَامَ أَنْ يُفْطِرَا وَيُطْعِمَا مَكَانَ كُلِّ يَوْمٍ مِسْكِينًا وَالْحُبْلَى وَالْمُرْضِعُ إِذَا خَافَتَا قَالَ أَبُو دَاوُد يَعْنِي عَلَى أَوْلادِهِمَا أَفْطَرَتَا ( أخرجه أبو داود 1947 ) وصححه الألباني في الإرواء ( 4 / 18 ، 25 )
จากอิบนิอับบาส(ร.ฎ)เกี่ยวกับคำตรัสของอัลลอฮ ตะอาลาที่ว่า
وَعَلَى الَّذِينَ يُطِيقُونَهُ فِدْيَةٌ طَعَامُ مِسْكِينٍ
และหน้าที่ของบรรดาผู้ที่ ถือศีลอดด้วยความลำบากยิ่งนั้น คือการชดเชยอันได้แก่การให้อาหาร (มื้อหนึ่ง) แก่คนมิสกีนคนหนึ่ง
เขา(อิบนุอับบาส)กล่าวว่า เป็นข้อผ่อนปรนแก่ชายและหญิงชรา โดยที่เขาทั้งสองมีความลำบากต่อการถือศีลอด ให้เขาทั้งสองละศีลอดและจ่ายอาหารแก่คนยากจนแทนทุกวัน และหญิงมีครรภ์และหญิงให้นมบุตรนั้น เมื่อนางทั้งสองกลัว - อบูดาวูดกล่าวว่า หมายถึงกลัวจะอันตรายต่อบุตรของนางทั้งสอง ก็ให้นางละศีลอด- บันทึกโดยอบูดาวูด หะดิษหมายเลข 1947 อัลบานีย์ระบุในอัลอิรวาอ์ เล่ม 4 หน้า 18,25 ว่า เป็นหะดิษเศาะเฮียะ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Wed Sep 12, 2007 12:03 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

فإن الحامل والمرضع إذا خافتا على أنفسهما أو على أولادهما لهما أن يفطرا، أما القضاء والفِدية فإن ابن حزم لا يوجب شيئًا منهما، وابن عباس وابن عمر يوجبان الفدية فقط دون قضاء، والأحناف يوجبون القضاء فقط دون فدية، والشافعية والحنابلة يوجبان القضاء والفدية معًا إن خافتا على الولد فقط، أما إذا خافتا على أنفسهما فقط أو على أنفسهما وعلى ولديهما فعليهما القضاء فقط دون فدية "نيل الأوطار ج 4 ص 243ـ 245".
แท้จริงผู้หญิงมีครรภ์และให้นมบุตร เมื่อนางทั้งสองกลัวจะเกิดอันตรายแก่ตัวของนางเองหรืออันตรายต่อบุตรของนางทั้งสอง ก็อนุญาตให้นางทั้งสองละศีลอดได้สำหรับการถือชดใช้และการจ่ายฟิตยะฮนั้น อิบนุหัซมิน มีทัศนะว่าไม่จำเป็นใดๆเลยจากทั้งสองนั้น,อิบนุอับบาสและอิบนุอุมัรมีทัศนะว่า จำเป็นต้องจ่ายฟิตยะฮเท่านั้น ไม่ต้องถือชดใช้ ,นักวิชาการมัซฮับหะนะฟี มีทัศนะว่า จำเป็นต้องถือศีลอดชดใช้เท่านั้น ไม่ต้องจ่ายฟิตยะฮ และนักวิชาการมัซฮับชาฟิอี และหัมบะลีย์ มีทัศนะว่า จำเป็นต้องถือชดใช้และจ่ายฟิตยะฮพร้อมกัน หากนางทั้งสองกลัวจะอันตรายต่อบุตรเท่านั้น สำหรับเมื่อนางทั้งสองกลัวจะเกิดอันตรายแก่ตัวของนางทั้งสองเองเท่านั้นหรือกลัวจะเกิดอันตรายแก่ตัวเองและบุตรด้วย ก็จำเป็นต้องถือชดใช้โดยไม่ต้องจ่ายฟิตตยะฮ - ดูนัยลุ้ลเอาฏอร เล่ม 4 หน้า 243-245
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Wed Sep 12, 2007 11:09 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

من زعم أن وضع الصوم عن الحامل والمرضع كوضع الصيام عن المسافر ورتب على ذلك أن القضاء يلزمها فقوله مردود عليه لأن القرآن بين معنى وضع الصيام عن المسافر : ((فمن كان منكم مريضا أو على سفر فعدة من أيام أخر )) وبين كذلك معنى وضعه عمن لا يطيقونه : ((وعلى الذين يطيقونه فدية طعام مسكين)) وقد ثبت لديك أن الحامل والمرضع ممن تشملهم هذه الآية بل هي خاصة لهم

ผู้ใดเข้าใจว่า การผ่อนปรนการถือศีลอดจากหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร ว่า เหมือนกับการผ่อนปรนการถือศีลอดจากผู้ที่อยู่ระหว่างเดินทาง และ ผลที่ตามมาจากดังกล่าวคือ จำเป็นจะต้องถือศีลอดชดใช้ ดังนั้นคำพูดของเขาผู้นั้น เป็นโมฆะเพราะอัลกุรอ่านนั้น อธิบายความหมาย ของการผ่อนปรนการถือศีลอดจากผู้อยู่ระหว่างเดินทางอย่างชัดเจนแล้วว่า (ดังนั้นผู้ใด ในหมู่พวกเจ้าป่วยหรืออยู่ระหว่างการเดินทาง ก็ให้นับ(ถือชดใช้) ในวันอื่น) และในทำนองนั้น ได้อธิบายความหมายของการผ่อนปรนการถือศีลอด จากผู้ที่มีความลำบากยิ่งในการถือศีลอดว่า (และหน้าที่ของบรรดาผู้ที่ ถือศีลอดด้วยความลำบากยิ่งนั้น คือการชดเชยอันได้แก่การให้อาหาร (มื้อหนึ่ง) แก่คนมิสกีนหนึ่งคน ) และได้ยืนยันต่อหน้าท่านแล้วว่า หญิงมีครรภ์และหญิงให้นมบุตร เป็นส่วนหนึ่งจากผู้ที่อายะฮนี้กล่าวครอบคลุมถึงพวกเขาด้วย แต่ทว่า มันได้เฉพาะสำหรับพวกเขาด้วย” – คัดจากหนังสือตามรายชื่อ ข้างล่างนี้
صفة صوم النبي صلى الله عليه وسلم في رمضان (الصفحة من 80 إلى85
تأليف : سليم بن عيد الهلالي و على حسن علي عبد الحميد
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> เรื่องทั่วไป ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า 1, 2  ถัดไป
หน้า 1 จากทั้งหมด 2

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


Powered by phpBB ฉ 2001, 2002 phpBB Group







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.13 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ