ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
อนุรักษ์มรดกอิสลาม :: ดูกระทู้ - วุกุฟวันพุธ...อีดวันพฤหัสฯ
อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก อนุรักษ์มรดกอิสลาม  
  เพื่อการอนุรักษ์มรดกอิสลาม      คำถามถามบ่อยของกระดานข่าว      ค้นหา      รายนามสมาชิก  
  · เข้าระบบ ข้อมูลส่วนตัว · เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ · กลุ่มผู้ใช้งาน  
วุกุฟวันพุธ...อีดวันพฤหัสฯ
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักความเชื่อ
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
อิลยาส
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 20/04/2005
ตอบ: 279


ตอบตอบ: Fri Apr 29, 2005 11:58 pm    ชื่อกระทู้: Re: วุกุฟวันพุธ...อีดวันพฤหัสฯ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ฉะนั้นฮะดีษดังกล่าวจึงเป็นเพียงตัวบทว่าด้วยหลักการกว้างๆ ซึ่งก็คือการถือศีล-อดก็ดีการออกจากการถือศีลอดก็ดีต้องถือหลักการเห็นเดือนเสี้ยวเท่านั้นจะถือหลักการ -อื่นจากนี้ไม่ได้ และการเห็นเดือนเสี้ยวนั้นไม่จำเป็นต้องเห็นพร้อมกันทุกคน หากมีผู้คนบางส่วนเห็นก็ให้ถือปฏิบัติตามกันได้ ส่วนว่าเวลาที่เห็นจะต้องเป็นเวลาใด ผู้เห็นต้องมีคุณสมบัติอย่างไรนั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหากที่ต้องพิจารณาในรายละเอียด โดยอาศัยตัวบทและหลักฐานอื่นมาประกอบ
ฮะดีษที่สองก็เช่นกัน ท่านนะบีรับข่าวจากผู้ที่ไม่รู้จักมักคุ้นมาแต่ต้น เพราะในฮะดีษรุบุว่าเป็นอาหรับชนบท ส่วนท่านนะบีอยู่ในเมือง ดังนั้นจึงไม่มีความคุ้นเคยต่อผู้มาแจ้งข่าว เมื่อเป็นดังนี้ท่านนะบีจึงถามถึงการเป็นมุสลิมของเขา เมื่อเขายืนยันการเป็นมุสลิมแล้วนะบีจึงรับข่าวจากเขา
ในทางปฏิบัติหากว่าซุนนะห์ของท่านนะบีเองหรือแนวปฏิบัติของศ่อฮาบะห์และตาบิอีนไม่มีอะไรมากไปกว่านี้ ก็แน่นอนเหลือเกินว่าผู้ใดจะมาตั้งเงื่อนไขมากไปกว่านี้นั้นไม่ได้ เพราะสิ่งที่เป็นแบบอย่างของนะบีมีอยู่เท่านี้ ใครจะมาต่อเติมมิได้ หากดึงดันจะต่อเติมมากกว่านี้ก็เท่ากับเป็นผู้ต่อเติมหลักการศาสนาแน่นอน ข้อเท็จจริงมันเป็นเช่นนั้นหรือไม่ คำถามนี้เป็นคำถามที่ท้าทายทั้งผู้รู้และผู้ไม่รู้ ในเบื้องต้นนี้ผู้เขียนขอตอบว่ามันมิได้เป็นเช่นที่ว่าเลย หากแต่ซุนนะห์ของท่านนะบีเอง แนวปฏิบัติของบรรดาศ่อฮาบะห์ และคำอธิบายของคนในยุคตาบิอีน มีอะไรอีกมากมายที่จะมาอธิบายและสนับสนุนฮะดีษสองบทข้างต้นนี้ ดังนั้นในทางปฏิบัติเราก็ต้องนำตัวบทและหลักฐานเหล่านั้นมาพิจารณาด้วย มิใช่ยึดแต่เพียงฮะดีษสองบทดังกล่าวแล้วข้างต้น ถ้าไม่เช่นนั้นก็จะกลายเป็นว่าเรายึดหลักฐานบางบทและทิ้งอีกหลายๆ บท
ในฮะดีษบทที่สามคือฮะดีษกองคาราวาน ท่านนะบีมิได้สอบถามสิ่งใดเลย พอมีคนมาแจ้งข่าว ท่านนะบีก็รับทันทีโดยไม่ถามว่าผู้คนที่มาแจ้งข่าวนั้นเป็นมุสลิมหรือไม่อย่างไร สิ่งที่แตกต่างจากฮะดีษอาหรับชนบทมีอยู่ประการหนึ่งคือจำนวนผู้แจ้งข่าวเพราะในฮะดีษระบุเป็นสำนวนพหูพจน์ซึ่งก็หมายถึงคนหลายคน คือตั้งแต่สามคนขึ้นไป (พหูพจน์ตามหลักไวยากรณ์ภาษาอาหรับนั้นเริ่มตั้งแต่สามขึ้นไป) หากจะมีผู้เอาฮะ-ดีษบทนี้ไปอ้างอิงโดยไม่พิจารณาฮะดีษอื่นๆ ประกอบด้วย ก็เท่ากับว่าเราสามารถรับข่าวการเห็นเดือนจากใครก็ได้ ขอเพียงว่าผู้แจ้งข่าวมีจำนวนมากกว่าสองคนขึ้นไป ในทางปฏิบัติเราคงไม่ทำเช่นนั้น เพราะเราคงไม่รับข่าวการเห็นเดือนเสี้ยวจากผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมเป็นแน่นอน
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
อิลยาส
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 20/04/2005
ตอบ: 279


ตอบตอบ: Fri Apr 29, 2005 11:59 pm    ชื่อกระทู้: Re: วุกุฟวันพุธ...อีดวันพฤหัสฯ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ทั้งสามฮะดีษข้างต้นนี้เราเรียกว่าเป็นการกระทำของนะบี ฯ ในเรื่องดังกล่าวนี้ นอกเหนือจากจะมีรายงานการกระทำของนะบีแล้ว เราพบว่ายังมีคำพูดของนะบีด้วยเช่นกัน ซุนนะห์ของนะบีนั้นแบ่งได้เป็นสามลักษณะคือคำพูด การกระทำ และการยอมรับ
คำพูดหรือคำสั่งของท่านนะบีนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเรา ส่วนการกระทำของท่านนั้นอาจเกี่ยวข้องกับเราหรือไม่ก็ได้ เช่น ท่านนะบีสามารถถือศีลอดซุนนะห์ติดต่อกันทุกวันได้ แต่ท่านก็สั่งให้เราถือวันเว้นวัน ท่านมีภรรยาได้ถึงเก้าคน แต่ท่านก็สั่งให้เรามีได้ไม่เกินสี่คน หากเรายึดแต่เพียงซุนนะห์ที่เป็นการกระทำของนะ-บีเพียงอย่างเดียวโดยไม่หันไปมองซุนนะห์ที่เป็นคำพูดหรือคำสั่งของท่าน ก็เท่ากับว่าเรานั้นบกพร่องในการปฏิบัติตามซุนนะห์
ในเรื่องดังกล่าวนี้เราพบซุนนะห์ที่เป็นคำสั่งของนะบีดังนี้
4-عن أمير مكة الحرث بن حاطب قال عهد إلينا رسول الله صلى الله عليه وآله وسلم أن ننسك للرؤية فإن لم نره وشهد شاهدا عدل نسكنا بشهادتهما رواه أبو داود والدارقطني
๔- “มีรายงานจากอะมีรมักกะห์ อัลฮัรษ์ อิบนุ ฮาติบ กล่าวว่าท่านนะบี ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมได้กำชับแก่เราว่าให้เราปฏิบัติศาสนกิจด้วยการเห็น (จันทร์เสี้ยว) หากเราไม่เห็นและมีพยานที่เที่ยงธรรมถึงสองคนมายืนยัน ให้เราถือปฏิบัติศาสนกิจด้วยการยืนยันของทั้งสอง”
ฮะดีษนี้ถือว่าเป็นซุนนะห์ที่เป็นคำพูดของนะบี ซึ่งเราได้กล่าวแล้วว่าหากซุน-นะห์ใดที่เป็นคำพูดหรือคำสั่งของนะบีมันมีนัยยะที่เกี่ยวข้องกับเราโดยตรง ในฮะดีษนี้เราได้ความเข้าใจเพิ่มเติมว่าผู้แจ้งข่าวการเห็นเดือนเสี้ยวนั้น ต้องมีคุณสมบัติอีกประการหนึ่งคือความน่าเชื่อถือ ซึ่งได้จากคำว่า อัดล์ แปลว่า คุณธรรม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
อิลยาส
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 20/04/2005
ตอบ: 279


ตอบตอบ: Sat Apr 30, 2005 12:00 am    ชื่อกระทู้: Re: วุกุฟวันพุธ...อีดวันพฤหัสฯ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

มีผู้อธิบายว่าผู้มีคุณธรรมก็คือมุสลิม หรือมุสลิมก็คือผู้มีคุณธรรมแล้ว นั่นก็หมายความว่าฮะดีษนี้กับฮะดีษอาหรับชนบทมีความหมายเดียวกัน จะต่างกันก็เพียงจำนวนผู้แจ้งข่าว ในฮะดีษอาหรับชนบทนั้นท่านนะบีรับข่าวจากผู้แจ้งข่าวเพียงคนเดียว แต่ในฮะดีษนี้ท่านนะบีสั่งให้รับจากผู้แจ้งข่าวตั้งแต่สองคนขึ้นไป คำอธิบายนี้ไม่ถูกต้องเพราะคำว่ามุสลิมโดยทั่วไปนั้น หมายถึงผู้ที่กล่าวยอมรับในชะฮาดะห์ทั้งสองซึ่งก็คือการกล่าวว่า ลาอี่ลาฮ้าอิลลัลลอฮ์ มุฮำหมัดร่อซูลุลลอฮ์ ในทางปฏิบัติผู้ที่กล่าวเช่นนั้นอาจมีบางคนที่ยังไม่เลิกสุรา ไม่เลิกมุสา ไม่เลิกซินา ไม่เลิกทำบาปใหญ่ๆ หรือบางคนอาจจะละหมาดบ้างไม่ละหมาดบ้าง ออกซะกาตบ้างไม่ออกซะกาตบ้าง ถือศีลอดบ้างไม่ถือศีลอดบ้าง อย่างนี้เป็นต้น ดังนั้นการอธิบายว่ามุสลิมทุกคนคือผู้ที่มีคุณธรรมแล้วจึงเป็นคำอธิบายที่ไม่ถูกต้อง หากเราพิจารณาคำพูดของผู้รู้เราก็จะทราบว่ามุสลิมนั้นอาจจะหมายถึงผู้ที่มีคุณธรรมหรือไม่ก็ได้ หากว่าเขาประพฤติปฏิบัติดีตามหลักการของศาสนา เช่น ละเว้นบาปใหญ่ ไม่ละทิ้งฟัรฎู ไม่กระทำบาปเล็กๆ อย่างต่อเนื่อง มุสลิมประเภทนี้จึงจะนับว่าน่าเชื่อถือ ส่วนผู้ที่ยังกินเหล้า เล่นการพนัน ทำซินา ละทิ้งละหมาด ไม่ออกซะกาต ไม่ถือศีลอด แน่นอนเขาย่อมไม่เป็นที่น่าเชื่อถือซึ่งเรียกว่าเป็นมุสลิมฟาซิก ท่านชัยคุลอิสลาม อิบนุ ตัยมียะห์ กล่าวไว้ว่า
(وأما قول من يقول : الأصل في المسلمين العدالة فهو باطل.. إلى قوله.. ومجرد التكلم بالشهادتين لا يوجب انتقال الإنسان عن الظلم والجهل إلى العدل) مجموع الفتاوى
“ส่วนคำพูดของคนที่พูดว่า โดยพื้นฐานนั้นมุสลิมย่อมมีความเที่ยงธรรม อะดาละห์ เป็นคำพูดที่เหลียวไหล -จนถึงคำพูดที่ว่า- และเพียงแค่การกล่าวชะฮาดะห์ทั้งสองก็ไม่ได้ หมายความว่าคนนั้นจะพ้นจากความอธรรมหรือความโง่ไปสู่ความเที่ยงธรรมได้”
หากมีผู้ตั้งคำถามว่าในกรณีเช่นนี้เราจะทำอย่างไร คือบางครั้งท่านนะบีก็รับข่าวโดยไม่สอบถามสิ่งใดเลยเช่นกรณีข่าวจากกองคาราวาน และบางครั้งก็ถามแต่เพียงว่าผู้แจ้งข่าวเป็นมุสลิมหรือไม่เช่นในกรณีของข่าวจากอาหรับชนบท แต่ในคำพูดของท่านกลับสั่งให้เรารับข่าวจากผู้มีคุณธรรมตั้งแต่สองคนขึ้นไป คำตอบง่ายๆก็คือเราต้องประมวลหลักการทั้งหมดมาปฏิบัติ จะถือหลักการหนึ่งแล้วทิ้งหลักการหนึ่งนั้นมิได้
หลักการทั้งหมดเป็นซุนนะห์ของท่านนะบี ดังนั้นเราจะละทิ้งซุนนะห์ใดๆมิได้ ไม่ว่าจะเป็นคำพูดและการกระทำของท่าน แต่ระหว่างการกระทำและคำพูดของท่าน นะบีนั้นมีส่วนต่างเล็กน้อย คือการกระทำของท่านอาจหมายถึงตัวท่านเป็นการเฉพาะ เช่นการมีภรรยาได้มากกว่าสี่คน หรืออาจหมายถึงเราด้วย เช่น ท่านยกมือตักบีรในการละหมาดเราก็ยกด้วย ส่วนคำพูดหรือคำสั่งของท่านนั้นอาจหมายถึงเราโดยตรง เช่น ห้ามมิให้เราถือศีลอดซุนนะห์ต่อเนื่องทุกวันตลอดไป หรืออาจหมายถึงตัวท่านด้วย เช่นท่านสั่งให้เราละหมาดตัวท่านก็ละหมาดด้วย ดังนั้นนักวิชาการจึงถือเป็นหลักเกณฑ์ดังนี้ว่า
( تقرر في الأصول من أن فعله صلى الله عليه وآله وسلم لا يعارض القول الخاص بالأمة ولا بنسخه ) نيل الأوطار
“ตามหลักอุศูล (หลักพื้นฐานการวินิจฉัย) นั้น การกระทำของ ท่านนะบี ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ย่อมไม่ขัดต่อคำสั่งเฉพาะ (ของท่าน) ที่มีต่อประชาชาติ และก็ไม่ยกเลิกคำสั่งเฉพาะนั้นด้วย”
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
อิลยาส
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 20/04/2005
ตอบ: 279


ตอบตอบ: Sat Apr 30, 2005 12:00 am    ชื่อกระทู้: Re: วุกุฟวันพุธ...อีดวันพฤหัสฯ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ดังนั้นในเบื้องต้นนี้เราจึงพอสรุปได้ว่าหลักการในการรับข่าวการเห็นเดือนเสี้ยวนั้นต้องมีขั้นตอนดังนี้คือ
๑. หากผู้แจ้งข่าวเป็นที่รู้จักและน่าเชื่อถือก็ไม่จำเป็นต้องสอบถามหรือตรวจสอบ
อะไรมากมาย เช่น ในกรณีของข่าวจากกองคาราวาน
๒.หากไม่รู้จักก็ต้องตรวจสอบว่าผู้แจ้งข่าวเป็นมุสลิมหรือไม่ เช่น ในกรณีข่าว
จากอาหรับชนบท
๓. และถ้าเกิดความไม่แน่ใจก็ให้ดูที่ความประพฤติของผู้แจ้งข่าวด้วยว่ามีความ
น่าเชื่อถือหรือไม่ ซึ่งก็หมายถึงการมีคุณธรรมของผู้แจ้งข่าว เช่น กรณีฮะ-
ดีษอิมีรมักกะห์
ที่บอกว่าเป็นการสรุปในเบื้องต้นก็เพราะว่านอกเหนือจากซุนนะห์ที่เราประมวลได้นี้ เราพบว่าในแนวปฏิบัติของศ่อฮาบะห์นั้นยังมีรายละเอียดในทางปฏิบัติอีกบางประการดังนี้
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
อิลยาส
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 20/04/2005
ตอบ: 279


ตอบตอบ: Sat Apr 30, 2005 12:01 am    ชื่อกระทู้: Re: วุกุฟวันพุธ...อีดวันพฤหัสฯ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

5-عن شقيق بن سلمة قال« كتب إلينا عمر بن الخطاب ونحن بخانقين أن الأهلة بعضها أكبر من بعض فإذا رأيتم الهلال نهارا فلا تفطروا حتى يشهد عدلان أنهما رأياه بالأمس» التمهيد لابن عبد البر
๕- “จากชะกีก อิบนุ ซะละมะห์ กล่าวว่า ท่านอุมัร ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้มีหนังสือมาถึงเราในขณะที่เราอยู่ที่เมืองคอนิกีน (ในหนังสือนั้นระบุว่าลักษณะของ) เดือนเสี้ยวนั้นบางทีก็ใหญ่บางทีก็เล็ก หากพวกท่านเห็นมันในกลางวันก็อย่าได้ละศีลอดจนกว่าจะมีผู้มีคุณธรรมสองคน (อีกริวายะห์หนึ่งใช้คำว่า ผู้เป็นมุสลิมสองคน ) มายืนยันว่าได้เห็นมันตั้งแต่วันวาน”
6-(أن الهلال رؤي في زمان عثمان بن عفان بعشي فلم يفطر عثمان حتى أمسى وغابت الشمس). الموطأ
๖- “มีการเห็นเดือนเสี้ยวตอนบ่ายในยุคของท่านอุษมาน อิบนุ อัฟฟาน ท่านอุษมานไม่ละศีลอดจนกระทั่งเย็นและจนอาทิตย์ลับขอบฟ้า”
7- (أن هلال الفطر رئي نهارا فلم يأمر علي بن أبي طالب الناس أن يفطروا من يومهم ذلك ) التمهيد لابن عبد البر
๗- “มีการเห็นเดือนเสี้ยวในยามกลางวัน ท่านอาลี อิบนิ อะบีฏอลิบ ไม่สั่งให้ผู้คนละศีลอดในวันดังกล่าว”
จากตัวบทที่เป็นซุนนะห์ของท่านนะบีทั้งที่เป็นคำพูดและการกระทำของท่าน เรายังพบแนวปฏิบัติของคุละฟาอัรรรอชิดีนทั้งสามท่านคือท่านอุมัร อิบนุล คฏฏอบ ท่านอุษมาน อิบนุ อัฟฟาน ท่านอาลี อิบนุ อะลีฏอลิบ ว่าท่านเหล่านี้ได้พิจารณาถึงเวลาที่เห็นเดือนเสี้ยวด้วยเช่นกัน กล่าวคือหากมีการเห็นในเวลาที่ไม่ถูกต้อง ท่านเหล่านั้นก็ไม่รับการเห็นนั้นเช่นกัน
เราต้องยอมรับว่าแบบอย่างของคุละฟาอัรรรอชิดูนนั้น เป็นสิ่งที่เรามิอาจปฏิเสธได้เพราะท่านนะบีสั่งเราไว้ดังนี้ว่า
( عليكم بسنتي وسنة الخلفاء الراشدين المهديين )
“พวกเจ้าจงยึดแบบอย่างของฉัน(นะบี)และแบบอย่างของคุละฟาอิรรอชิดีนผู้อยู่ในทางนำ”
( اقتدوا باللذين من بعدي أبي بكر وعمر )
“จงถือปฏิบัติตามบุคคลสองคนหลักจากฉันคืออะบูบักร์และอุมัร”
สำหรับผู้ที่อ้างว่าไม่ต้องพิจารณาว่า เห็นเมื่อใด เพราะการพิจารณานี้เป็นแนวทางของพวกนักดาราศาสตร์ ศาสนาไม่ให้ยึดถือคำพูดของนักดาราศาสตร์ การกล่าวหาเช่นนี้นั้นนับว่ารุนแรงนัก และเป็นข้ออ้างที่เขลาอย่างยิ่ง ซึ่งก็เท่ากับว่าบรรดาศ่อฮาบะห์เหล่านั้นไม่เชื่อฟังนะบี แต่กลับไปยึดในคำพูดของพวกนักดาราศาสตร์ ส่วนตนและคณะเท่านั้นคือผู้เจริญรอยตามซุนนะห์ของนะบีแต่ผู้เดียว ที่กล้ากล่าวเช่นนั้น สันนิฐานว่าอาจเกิดจากความไม่รอบคอบทางความรู้ หรืออาจรู้ดีว่าบรรดาศ่อฮาบะห์เหลานั้นพิจารณาถึงเวลาที่เห็นเดือนเสี้ยวด้วย แต่เพราะดูถูกผู้อื่นว่าไม่น่าจะรู้เรื่องดังกล่าวจึงพูดในลักษณะหวังเพียงให้มวลชนที่นับถือตนเกิดความสับสนต่อนักวิชาการท่านอื่นๆ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
อิลยาส
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 20/04/2005
ตอบ: 279


ตอบตอบ: Sat Apr 30, 2005 12:03 am    ชื่อกระทู้: Re: วุกุฟวันพุธ...อีดวันพฤหัสฯ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เราเห็นด้วยในกรณีที่ปฏิเสธการถือดาราศาสตร์เป็นหลักในการเข้าและออกจากรอมฎอนตลอดจนการถือปฏิบัติศาสนกิจอื่นๆ โดยละทิ้งหลักการจากกิตาบุลลอฮ์ ซุนนะห์ และแนวปฏิบัติของศ่อฮาบะห์ เช่น การดูเดือนในเย็นวันที่ 29 ตามหลักการหากมีเมฆหมอกมาบดบังทัศนะวิสัยและไม่สามารถมองเห็นสิ่งที่ปรากฏบนฟ้าได้ อีกทั้งไม่มีผู้ใดส่งข่าวการเห็นเดือนมาเลย เราก็ต้องนับวันถัดไปเป็นวันที่ 30 ถึงแม้นักดารา-ศาสตร์จะคำนวณได้ว่ามีเดือนใหม่ปรากฏบนฟ้าทางทิศตะวันตกหลังจากอาทิตย์ลับขอบฟ้าก็ตาม แน่นอนเราคงไม่ทิ้งหลักการที่ให้นับเดือนเก่าให้ครบ 30 วันและหันไปยึดคำพูดของนักดาราศาสตร์ แต่การตรวจสอบว่ามีการเห็นเดือนในเวลาใด หาได้เกี่ยวข้องกับนักดาราศาสตร์แต่ประการใดไม่ มันเป็นแนวปฏิบัติของบรรดาคุละฟาอัรรอชิดีนผู้ซึ่งเข้าใจซุนนะห์ของนะบีได้ดีกว่าใครๆ ทั้งสิ้น และหากว่าจะปฏิเสธสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ควรจะรอบคอบและตรวจสอบให้ถ่องแท้เสียก่อน อย่าได้ทำอะไรอย่างสุกเอาเผากินเพราะเรื่องศาสนานั้นต้องละเอียดรอบคอบ การพูดอะไรอย่างรีบร้อนมันไม่เป็นผลดีต่อผู้ใดเลย ไม่ว่าจะเป็นผู้พูดเองหรือผู้ฟังก็ตาม และหากผู้พูดเป็นผู้รู้ที่มีคนนับถือก็ย่อมจะ-ส่งผลเสียมากมายแก่ผู้ไม่รู้ที่นับถือตนได้ ผู้ไม่รู้ทั้งหลายก็อาจหลงเชื่อในสิ่งที่ผิดๆเหล่านั้นได้ คนเรานั้นอย่าได้หลงตนเองจนเกินไป อย่าดูถูกดูแคลนผู้อื่นว่าโฉดเขลา ความรู้เรื่องศาสนานั้นอัลลอฮ์ทรงยุติธรรมยิ่ง พระองค์มิได้ทรงมอบความรู้นั้นให้แก่-ผู้ใดแต่เพียงผู้เดียวยกเว้นท่านร่อซูลุลลอฮ์เท่านั้น ความทระนงตนเป็นหนทางแห่งความวิบัติทั้งในดุนยาและอาคิเราะห์ ท่านนะบีกล่าวไว้ว่า
عن عبد الله بن مسعود عن النبي صلى الله عليه وسلم قال( لا يدخل الجنة من كان في قلبه مثقال ذرة من كبر قال رجل إن الرجل يحب أن يكون ثوبه حسنا ونعله حسنة قال إن الله جميل يحب الجمال الكبر بطر الحق و غمط الناس) رواه مسلم
รายงานจากอับดุลลอฮ์ อิบนุ มัสอู๊ด ว่าท่านนะบี ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า “ผู้ใดก็ตามที่ในหัวใจของเขามีความอวดใหญ่อวดโตแม้เพียงธุลีเดียว เขาก็จะไม่ได้เข้าสวรรค์” มีคนหนึ่งถามขึ้นว่า หากคนเราชอบที่จะให้เสื้อผ้าและร้องเท้าของเขาดูดีและสวยงามเล่า (มันจะเป็นการอวดใหญ่อวดโตหรือเปล่า?) ท่านนะบีจึงกล่าวขึ้นว่า “แท้จริงอัลลอฮ์ทรงสวยงามและรักความสวยงาม ส่วนการอวดใหญ่อวดโตนั้นคือการปฏิเสธความจริงและดูหมิ่นดูแคลนผู้คน”
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
อิลยาส
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 20/04/2005
ตอบ: 279


ตอบตอบ: Sat Apr 30, 2005 12:03 am    ชื่อกระทู้: Re: วุกุฟวันพุธ...อีดวันพฤหัสฯ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

นอกเหนือจากหลักเกณฑ์ที่กล่าวแล้ว เรายังพบแนวปฏิบัติของศ่อฮาบะห์ท่านอื่นๆ อีกดังนี้
8- وروى الزهري عن سالم عن ابن عمر قال" لا تفطروا حتى يرى من موضعه وعن ابن مسعود وأنس بن مالك مثل ذلك" التمهيد لابن عبد البر
๘- “ท่านซุห์รี่รายงานจาก ซาเล็ม จากอิบนิ อุมัร ว่าท่านกล่าวว่า พวกท่านทั้งหลายอย่าได้ละศีลอดจนกว่ามันจะถูกเห็น (เดือนเสี้ยว) ณ ที่ๆ ควรเห็น” รายงานดังกล่าวยังมีปรากฏจากท่านอิบนุมัสอู๊ดและอะนัส บิน มาลิก เช่นกัน
ศ่อฮาบะห์ทั้งสามท่านที่กล่าวไว้ในรายงานข้างต้น เป็นที่ทราบดีว่าคือศ่อฮาบะห์ ระดับผู้มีความรู้ซุนนะห์ของท่านร่อซูลเป็นอย่างดี เราคงไม่อาจกล่าวได้ว่าท่านเหล่านั้นไม่เข้าใจฮะดีษ ศูมู หรือเข้าใจดีแต่ไม่เอาฮะดีษดังกล่าว มีแต่เฉพาะเราเท่านั้นที่เข้าใจและปฏิบัติตามฮะดีษดังกล่าว หรือจะกล่าวหาว่าท่านเหล่านั้นนำหลักดาศาสตร์มาเกี่ยวข้องเพื่อรับข่าวการเห็นเดือนหรือปฏิเสธการเห็นเดือน
หากพิจารณาแนวปฏิบัติข้างต้นนี้ เราพบว่าบรรดาศ่อฮาบะห์หลายท่านพิจารณาแม้กระทั่งที่ๆเดือนเสี้ยวถูกเห็นว่ามันถูกทิศถูกทางหรือไม่คำว่า เมาฎิอิฮี คงแปลเป็นอื่นไปไม่ได้เว้นแต่จะต้องแปลว่าสถานที่ๆมันถูกเห็น ก็คือขอบฟ้าทางทิศตะวันตกหลังอาทิตย์ลับขอบฟ้า
หากเราเฝ้าสังเกตการขึ้นตกของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์เราจะพบความจริงอยู่ ประการหนึ่งว่าบางครั้งมันก็ขึ้นตรงๆทางขอบฟ้าทิศตะวันออกแต่บางทีมันก็เยื้องไปทางใต้หรือขึ้นไปทางเหนือเล็กน้อย การตกก็เช่นกันบางทีมันก็ตกตรงๆทางทิศตะวันตกแต่บางครั้งมันก็เยื้องไปทางใต้หรือขึ้นไปทางเหนือเล็กน้อย ความรู้เหล่านี้ใครๆ ก็รู้ได้หากเฝ้าสังเกตเล็กน้อย ไม่ต้องอาศัยวิชาดาราศาสตร์หรือการคำนวณอะไรทั้งสิ้น คนไม่รู้หนังสือก็ดูได้และรู้ได้ คนไม่รู้เรื่องเลขก็ดูได้และรู้ได้ คนโบราณในบ้านเราก็ทราบดีในเรื่องนี้เห็นได้จากคำพูดที่ว่าตะวันอ้อมข้าวอะไรทำนองนี้เป็นต้น
ในกรณีการขึ้นตกของดวงจันทร์นั้น บางทีมันก็ตกตรงที่ๆดวงอาทิตย์ตก แต่บางทีมันก็ตกเยื้องไปทางใต้เล็กน้อย คือไม่ก็ตกตรงที่ๆดวงอาทิตย์ตก บางครั้งมันก็ตกเยื้องไปทางเหนือเล็กน้อย สิ่งต่างๆ เหล่านี้อยู่ที่การสังเกต ไม่ต้องอาศัยวิชาดาราศาสตร์อะไรทั้งสิ้น หากว่าผู้แจ้งข่าวการเห็นเดือนเสี้ยวบอกผิดที่ผิดทางและผิดเวลานั่นก็แสดงว่าเป็นการเห็นที่ไม่ถูกต้อง เมื่อเป็นการเห็นที่ไม่ถูกต้องศ่อฮาบะห์เหล่านั้นก็ไม่เอาการการเห็นดังกล่าวมาเป็นการเริ่มต้นเดือนใหม่ ขอย้ำว่านี่คือแนวทางของศ่อฮาบะห์หากผู้ใดไม่ประสงค์ ก็ขอเชิญปฏิบัติไปตามความคิดความเห็นและความเข้าใจของท่านตามสบาย แต่อย่ามากล่าวหาว่าร้ายเราว่าละทิ้งหลักการ ละทิ้งจุดยืน ไม่ตามซุนนะห์ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราและพี่น้องมุสลิมส่วนใหญ่ยอมรับมิได้ด้วยประการทั้งปวง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
อิลยาส
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 20/04/2005
ตอบ: 279


ตอบตอบ: Sat Apr 30, 2005 12:06 am    ชื่อกระทู้: Re: วุกุฟวันพุธ...อีดวันพฤหัสฯ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ในเรื่องการพิจารณาการเห็นเดือนเสี้ยวนี้ เรายังได้รับคำอธิบายจากคนในยุคตา-บิอีนอีกด้วย คำอธิบายดังกล่าวเราได้จากคำพูดของท่านญาบิร อิบนุ ซัยด์ ครั้งเมื่อมีคนถามท่านเกี่ยวกับการเห็นเดือนผิดเวลา ซึ่งมีตัวบทดังต่อไปนี้
9-(عن صالح الدهان قال رئي هلال آخر رمضان نهارا فوقع الناس في الطعام والشراب ونفر من الأزد معتكفين فقالوا يا صالح أنت رسولنا إلى جابر بن زيد فأتيت جابر بن زيد فذكرت ذلك له قال أنت ممن رأيته قلت نعم قال أبين يدي الشمس رايته أو رأيته خلفها قلت لا بين يديها قال فإن يومكم هذا من رمضان إنما رأيتموه في مسيره فمر أصحابك يتمون صومهم واعتكافهم ) المصنف لابن أبي شيبة
๙-“มีรายงานจาก ซอและห์ อัดดะฮ์ฮาน กล่าวว่า มีการเห็นเดือนเสี้ยวในช่วงกลางวันปลายรอมฎอน(ในปีหนึ่ง) ผู้คนต่างกินอาหารและดื่มน้ำกัน แต่ก็มีคนส่วนหนึ่งจากตระกูล อุซด์ กำลังเอี้ยติกาฟ (อยู่ในมัสยิด) พวกเขากล่าวแก่ (ฉัน) ว่าโอ้ซอและห์เอ๋ยท่านจงเป็นตัวแทนเราไปหาท่านญาบิร อิบนุ ซัยด์ เถิด (เพื่อถามถึงข้อตัดสินในเรื่องดังกล่าว) ฉันจึงได้ไปหาท่านญาบิรและเล่าเรื่องดังกล่าวให้ท่านฟัง ท่านถามฉันว่า เจ้าเป็นผู้หนึ่งหรือที่เห็น (จัทร์เสี้ยว) ฉันตอบว่าใช่ ท่านถามฉันต่อไปว่า เจ้าเห็นมันนำหน้าดวงอาทิตย์หรือเห็นมันตามหลัง ฉันตอบว่าเห็นมันนำหน้าดวงอาทิตย์ ท่านจึงพูดว่าวันนี้ยังเป็นเดือนรอมฎอนอยู่ และที่เห็นนั้นมันยังอยู่ในเส้นทางของมันอยู่ (คือยังไม่ครบรอบเดือน) ดังนั้นจงไปบอกพวกพ้องของเจ้าว่าให้ถือศีลอดและเอี้ยติกาฟต่อไป”
ก่อนที่จะวิเคราะห์รายงานข้างต้นนี้ สมควรที่จะแนะนำก่อนว่าท่านญาบิร อิบนุ ซัยด์คือใคร ท่านคือผู้รู้ท่านหนึ่งในยุคตาบิอีนเป็นคนในยุคซะละฟุซซอและห์ ท่านเป็นลูกศิษย์ของอิบนุอับบาสและศ่อฮาบะห์ท่านอื่นๆ ท่านได้รับการรับรองความรู้จากอิบนุอับบาสเองและจากท่านอิบนุอุมัร ดังรายงานต่อไปนี้
(عن عطاء سمع بن عباس يقول لو أن أهل البصرة نزلوا عند قول جابر بن زيد لأوسعهم علما عما في كتاب الله ) التاريخ الكبير للبخاري
“มีรายงานจาก อะฏออ์ว่า เขาได้ยิน อิบนุ อับบาสกล่าวว่า หากชาวเมืองบัศเราะห์เชื่อฟังคำสอนของญาบิร แน่นอนพวกเขาคงจะมีความรู้กว้างขวางในกิตาบุลลอฮ์”
(عن بن عباس قال تسألوني عن شيء وفيكم جابر بن زيد) تذكرة الحفاظ
“ท่านอิบนุอับบาสกล่าว(แก่คนที่มาถามท่านเกี่ยวกับเรื่องของศาสนา)ว่า พวกเจ้าจะถามฉันถึงเรื่องอันใด ทั้งๆที่ญาบิร อิบนุ ซัยด์ ก็อยู่ในหมู่พวกเจ้าแล้ว”
(عن جابر بن زيد قال لقيني بن عمر فقال يا جابر انك من فقهاء أهل البصرة وستستفتى فلا تفتين إلا بكتاب ناطق أو سنة ماضية) التاريخ الكبير للبخاري
“มีรายงายจากท่านญาบิร อิบนุ ซัยด์ เองกล่าวว่า ฉันพบท่านอิบนุอุมัร ท่านกล่าวแก่ฉันว่าแท้จริงเจ้าคือผู้รู้คนหนึ่งแห่งเมืองบัศเราะห์ เจ้าต้องถูกถามเรื่องศาสนาแน่ หากเจ้าจะตอบก็จงตอบด้วยกิตาบุลลอฮ์ที่พูดไว้และซุนนะห์ที่ได้ดำเนินมาแล้ว”
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
อิลยาส
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 20/04/2005
ตอบ: 279


ตอบตอบ: Sat Apr 30, 2005 12:07 am    ชื่อกระทู้: Re: วุกุฟวันพุธ...อีดวันพฤหัสฯ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คำถามที่ท่านญาบิรได้ถามซอและห์อิบนุดดะฮานนั้น เป็นคำถามที่น่าสนใจมากคือท่านถามว่าที่ว่าเห็นจันทร์เสี้ยวนั้น เห็นมันนำหน้าดวงอาทิตย์หรือตามหลังดวงอาทิตย์ ซอและห์อิบนุดดะฮานตอบว่าเห็นมันนำหน้าดวงอาทิตย์ ท่านญาบิรจึงบอกว่านั่นมันยังเป็นเดือนเก่าอยู่และสั่งให้ถือศีลอดต่อไป หากคำถามเหล่านี้ผิดหลักการศาสนาเป็นคำถามของพวกนักดาราศาสตร์ตามที่มีคนกล่าวอ้าง ก็หมายความว่าผู้รู้ใน-ยุคศ่อฮาบะห์ตาบิอีน ละทิ้งซุนนะห์ ละทิ้งหลักการ หันไปตามคำพูดของพวกดารา-ศาสตร์เสียสิ้น (ขั้นตอนการตรวจสอบเหล่านี้ คือการทิ้งหลักการของบรรรดาศ่อฮาบะห์และตาบิอีน หรือเราเองเป็นผู้ไม่เข้าใจหลักการกันแน่) หรือจะพูดว่ามีก็แต่ผู้รู้ในเมืองไทยบางกลุ่มเท่านั้นที่ยังยืนหยัดยึดมั่นอยู่ในซุนนะห์อย่างเคร่งครัด ส่วนบรรดาศ่อ-ฮาบะห์ต่างละทิ้งซุนนะห์และหันไปยึดนักดาราศาสตร์กันหมดแล้ว
สำหรับผู้ไม่ติดยึดในกลุ่มหรือบุคคลก็คงจะพอเข้าใจในสิ่งที่ผมนำเสนอนี้ แต่ถ้าเป็นผู้ที่หลับหูหลับตาตามโดยอาศัยรูปลักษณ์ข้างนอกเป็นเครื่องวัดความรู้แล้วละก็ การนำเสนอหลักฐาน หลักการ หรือเหตุผลใดๆ ก็คงจะไร้ผล
นอกเหนือจากนี้ เรายังพบว่าผู้รู้ในยุคปัจจุบันได้วางเงื่อนไขไว้รัดกุมมากเกี่ยวกับการตรวจสอบการเห็นเดือนเสี้ยวหรือข่าวการเห็นจันทร์เสี้ยว เช่น ในประเทศซาอุดิอา-ราเบียเราพบว่าเขากำหนดให้ศาลศาสนาเป็นผู้ตรวจสอบโดยกำหนดให้กอฎีซึ่งก็คือผู้รู้ที่เป็นผู้พิพากษาประจำศาลนั้นๆ เป็นผู้ตรวจสอบข่าว (ในประเทศซาอุดิอาราเบียมีศาลอยู่ประเภทเดียวคือศาลศาสนา) คือให้มีการตรวจสอบผู้ที่เห็น เวลาที่เห็น สถานที่เห็น และระยะห่างระหว่างดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ตลอดจนอาจถามคำถามใดๆ ที่เป็นการเพิ่มเติมเพื่อให้ได้รับความมั่นใจในข่าวนั้นๆมากยิ่งขึ้น กฎเกณฑ์ทั้งหมดนี้ก็คือกฎเกณฑ์ที่ประมวลมาจากแนวปฏิบัติของศ่อฮาบะห์และตาบิอีนดังที่เสนอไปแล้ว หาใช่เป็นเพิ่มกฎเกณฑ์ทางศาสนาไม่ เพราะนักวิชาการนั้นเข้าใจดีว่าการที่ร่อซูลุลลอฮ์ ศ่อฮาบะห์ และตาบิอีน ได้ถามไถ่ผู้แจ้งข่าวการเห็นเดือนเสี้ยว ก็เพื่อให้ได้รับความมั่นใจในข่าวนั้นๆ กฎเกณฑ์เหล่านี้จึงมิใช่อิบาดะห์ที่ต้องคงรูปแบบจะขาดจะเกินไม่ได้ ที่ท่านร่อซู-ลต้องถามอาหรับชนบทถึงการเป็นมุสลิมของเขาก็เพื่อให้เกิดความมั่นใจ ที่ร่อซูลสั่งให้เรารับข่าวจากผู้ที่มีคุณธรรมตามหลักการศาสนาซึ่งก็คือผู้ที่น่าเชื่อถือได้ ก็เพื่อให้ได้รับความมั่นใจที่สุด ส่วนศ่อฮาบะห์และตาบิอีนที่นำเรื่องเงื่อนไขของเวลาและทิศทางที่เห็นมาเกี่ยวข้องก็เพื่อให้ได้รับความมั่นใจที่สุดเช่นกัน ดังนั้นขั้นตอนการตรวจสอบข่าวจึงเป็นเพียงเครื่องมือสร้างเสริมความมั่นใจให้แก่ผู้รับข่าว หากว่าจะมีข้อผิดพลาดบ้างก็คงมีโอกาสน้อยที่สุด ส่วนการรับข่าวโดยไม่ตรวจสอบใดๆ เว้นแต่การเป็นมุสลิมของผู้แจ้งข่าวเท่านั้น นอกเหนือจากจะปฏิบัติไม่ตรงต่อซุนนะห์ แนวปฏิบัติของศ่อ-ฮาบะห์ และแนวปฏิบัติของตาบิอีนแล้ว ยังเป็นการหละหลวมในการรับข่าวอย่างยิ่ง ซึ่งจะก่อให้เกิดความผิดพลาดได้มากเลยทีเดียว
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
อิลยาส
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 20/04/2005
ตอบ: 279


ตอบตอบ: Sat Apr 30, 2005 12:09 am    ชื่อกระทู้: Re: วุกุฟวันพุธ...อีดวันพฤหัสฯ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เท่าที่สังเกตจากข้อเขียน เทปบันทึกเสียง ตลอดจนรายการวิทยุ ไม่ปรากฏว่านักวิชาการในกลุ่มที่รับข่าวโดยถือแต่เพียงเงื่อนไขเดียว พูดถึงหลักฐานทั้งหมดในเรื่องนี้ ส่วนใหญ่จะพูดถึงแต่ฮะดีษ ศูมู ฮะดีษอาหรับชนบท หรือไม่ก็ฮะดีษกองคาราวาน ส่วนที่เกี่ยวข้องกับแนวปฏิบัติของศ่อฮาบะห์และตาบิอีน ไม่ปรากฏว่ามีการอ้างถึงเลยแม้แต่น้อย ผมไม่เข้าใจว่าเพราะเหตุใดถึงเป็นเช่นนั้น ครั้นจะคิดไปว่าเพราะไม่มีความรู้หรือมีความรู้ไม่ถึง ก็จะเป็นการดูถูกดูแคลนกันเกินไป ผมเองก็ไม่อยากจะเชื่อเช่นนั้น เพราะผู้ออกมาชี้นำผู้คนเกี่ยวกับหลักการของศาสนาอย่างน้อยก็ต้องมีความรู้บ้าง จริงๆแล้วผมก็ยังเชื่อว่าผู้คนเหล่านั้นก็มีความรู้ แต่เหตุใดท่านจึงไม่นำเสนอในสิ่งที่เป็นความรู้ของท่านให้ผู้คนได้รับทราบในทุกแง่ทุกมุมแม้ว่าความรู้เหล่านั้นอาจไม่เข้า- ข้างตนก็ตาม เพราะวิสัยของผู้รู้นั้นต้องนำเสนอหลักฐานทั้งที่เข้าข้างตนและไม่เข้าข้างตน การปิดบังอำพรางความรู้ย่อมเป็นความผิดมหันต์ จะต้องถูกสวมบังเหียนไฟในอาคิเราะห์แน่
ในทางปฏิบัติ มีองค์กรใดในโลกที่เขาถือหลักเกณฑ์ตามที่พวกท่านถือกันอยู่นี้ คือไม่ต้องตรวจสอบใดๆยกเว้นให้รู้แต่เพียงว่าผู้แจ้งข่าวเป็นมุสลิมก็พอแล้ว หรือตรวจสอบแต่เพียงว่ามีข่าวจริง ส่วนว่าจะเห็นจริงหรือไม่ๆต้องตรวจสอบ และหากจะนำเสนอหลักเกณฑ์ขององค์กรใดๆสู่สาธารณชน ก็จงนำเสนอตัวบทหลักฐานที่อ้างอิงได้ อย่าเป็นการนำเสนอที่ไม่อาจตรวจสอบใดๆ ได้ เช่นเป็นการกล่าวอ้างโดยปราศจากหลักฐานอ้างอิง
เรายอมรับว่ามีมุสลิมอยู่ทั่วโลกและเราก็ยอมรับว่ามุสลิมที่อยู่ทั่วโลกนั้นหาได้มีอะไรเป็นมาตรฐานเดียวกันไม่ ซึ่งผิดกับยุคของนะบีและศ่อฮาบะห์รวมถึงยุคของตา-บิอีนด้วย ในโลกอาหรับก็เช่นกัน มีทั้งบิดอะห์ ซูฟี ชีอะห์ ฏ่อรีเกาะห์ พวกปัญญานิยม เช่น ลิเบียที่ประกาศว่าถือหลักดาราศาสตร์ในการเข้าและออกจากรอมฎอน เป็นที่น่าแปลกอยู่อย่างหนึ่งคือทุกฝ่ายต่างอ้างว่าตัวเองคือผู้ตามซุนนะห์เหมือนกันหมด ดูชีอะห์เป็นตัวอย่างเขาก็ประกาศว่าเขาคือซุนนะห์ที่แท้จริง ดังนั้นการที่ใครอ้างว่าตัวเองเป็นซุนนะห์นั้น สำหรับเราแล้วต้องดูที่การปฏิบัติด้วยไม่ใช่ที่ข้ออ้างแต่เพียงอย่างเดียว
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
อิลยาส
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 20/04/2005
ตอบ: 279


ตอบตอบ: Sat Apr 30, 2005 12:10 am    ชื่อกระทู้: Re: วุกุฟวันพุธ...อีดวันพฤหัสฯ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

บทสรุปสุดท้าย
บทสรุปสุดท้ายในเรื่องดังกล่าวนี้ ผมขอแยกเป็นสองประเด็นดังนี้
๑. ในกรณีที่วางใจในข่าวการเห็นเดือนเสี้ยว คือไม่สงสัยใดๆ ในข่าวนั้นก็ให้ถือปฏิบัติตามข่าวการเห็นนั้นได้ (จากฮะดีษกองคาราวานและฮะดีษทิ้งสิ่งที่สงสัยยึดสิ่งที่มั่นใจ) ซึ่งเป็นไปได้ในสองลักษณะดังนี้คือ
ก. บุคคลหรือเป็นองกรที่แจ้งข่าวการเห็นเดือนเสี้ยวเป็นที่รู้จักอย่างดีสำหรับเรา
หรือเราวางใจในขั้นตอนการตรวจสอบ เช่น องค์กรตรวจสอบของประเทศ-
ซาอูดิอาราเบีย ซึ่งได้นำเสนอไปแล้ว
ข. ข่าวการเห็นเดือนเสี้ยวมีมามากมายหลายทาง เช่น ในกรณีที่ประเทศมุสลิม
ส่วนใหญ่ทั่วโลกเขาประกาศเห็นเดือนเสี้ยว (ถือหลักข่าวมุวาติร) ตัวอย่างเช่น
กรณีการเข้ารอมฎอนในวันจันทร์ที่ 27 และออกอีดุลฟิตริในวันอังคารที่ 25
ของปี 2546 ที่ผ่านมา
๒. ในกรณีที่เกิดความสงสัยในข่าวการเห็นเดือนเสี้ยวนั้น ผมขอแบ่งออกเป็นสามประเด็นดังนี้
ก. มีข่าวการเห็นเดือนเสี้ยวมาน้อยมาก เช่น มีประเทศมุสลิม บางประเทศ
ประกาศเห็นเดือนเสี้ยวและไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าถือหลักการใดแน่ แต่อีก
หลายประเทศที่ตั้งอยู่โดยรอบอีกทั้งถือหลักการเห็นเดือนเสี้ยวอย่างแน่ชัด
ไม่ปรากฏว่ามีการประกาศการเห็นเดือนเสี้ยวเลย ซึ่งเป็นสิ่งที่สร้างความน่า
สงสัยและกังขาอย่างยิ่ง
ข. ในกรณีที่อาจมีข่าวการเห็นเดือนเสี้ยวมาจากหลายแหล่งก็ตาม แต่มีเงื่อนงำว่าใช้หลักการคำนวณทางดาราศาสตร์หรือใช้หลักการเห็นเดือนเสี้ยวกันแน่
ค. อีกกรณีหนึ่งคือหากมีการแจ้งข่าวการเห็นเดือนเสี้ยวมาถึงเราจากประเทศหนึ่ง แต่องค์กรที่เป็นทางการและรับผิดชอบในประเทศนั้นๆ ประกาศว่าไม่มีการเห็นเดือนเสี้ยวดังกล่าว หรือองค์กรที่เป็นทางการในประเทศนั้นๆ ไม่รับข่าวดังกล่าว กรณีเช่นนี้ย่อมสร้างความสงสัยได้เช่นกัน
ในกรณีที่สองนี้ ต้องมีการตรวจสอบโดยละเอียดตามขั้นตอนของซุนนะห์ แนวปฏิบัติของศ่อฮาบะห์ และแนวปฏิบัติของตาบิอีน ซึ่งได้กล่าวไปแล้วโดยละเอียด เพื่อให้ได้รับความแน่ใจและวางใจในข่าวนั้นอันเป็นการถือปฏิบัติตามหลักการศาสนาที่ว่า
(دع ما يريك إلى ما لا يريبك)
“จงทิ้งสิ่งที่เจ้าสงสัยสู้สิ่งที่เจ้ามั่นใจ”
ข้อขัดแย้งในเรื่องการปฏิเสธหรือรับข่าวการเห็นเดือน เป็นการขัดแย้งในเรื่องข้อเท็จจริง มิใช่เป็นข้อขัดแย้งในเรื่องหลักการ กล่าวคือการเห็นเดือนไม่ว่าจะใหล้หรือไกลทุกฝ่าย (กลุ่มซุนนะห์ในประเทศไทย) เห็นว่าถือปฏิบัติตามได้อยู่แล้ว แต่ที่มีการถกเถียงกันนี้ก็คือมีการเห็นจริงหรือไม่ ผู้เห็นมีความน่าเชื่อแค่ไหน ซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริง มิใช่เรื่องของหลักการแต่ประการใด ดังตัวอย่างข้อขัดแย้งในหมู่ศ่อฮาบะห์ที่หาทิศกิบละห์ กล่าวคือบรรดาศ่อฮาบะห์กลุ่มหนึ่งได้ออกไปทำสงคราม ในช่วงกลางวันมีการรบติดพันจนไม่มีใครสังเกตว่าอาทิตย์ลับขอบฟ้าทางทิศใด ครั้นเมื่อความฟ้ามืดก็ไม่อาจทำศึกต่อไปได้จึงมีการพักรบชั่วคราว บรรดาศ่อฮาบะห์เหล่านั้นก็กลับที่ตั้งและต้องการจะละหมาด แต่ก็ถกเถียงกันว่าทิศใดคือทิศกิบละห์ แต่ละคนมีความมั่นใจไปคนละทาง แต่ละคนจึงละหมาดไปในทิศที่ตนแน่ใจว่าเป็นทิศกิบละห์ ข้อ-ขัดแย้งดังกล่าวนี้เป็นข้อขัดแย้งในข้อเท็จจริงที่ว่าทิศใดคือทิศกิบละห์ ไม่ใช่เป็นข้อ-ขัดแย้งในทางกลักการเพราะแต่ละคนก็เชื่อและยอมรับว่าหากหันหน้าไปทิศอื่นที่มิใช่ทิศกิบละห์นั้น การละหมาดย่อมใช้ไม่ได้ ซึ่งเป็นหลักการที่ทุกคนทราบดีและเป็นที่ยอมรับด้วยกันทุกฝ่าย
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
อิลยาส
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 20/04/2005
ตอบ: 279


ตอบตอบ: Sat Apr 30, 2005 12:11 am    ชื่อกระทู้: Re: วุกุฟวันพุธ...อีดวันพฤหัสฯ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ดังนั้นจึงขอความกรุณาอย่าเบี่ยงเบนประเด็นในเรื่องการไม่รับข่าวการเห็นเดือนเสี้ยวที่ปรากฏในอินเตอร์เนท และข่าวสารจากสำนักข่าวอัลญะซีเราะห์ว่าเป็นข้อขัดแย้งในเชิงหลักการ หากท่านจะเชื่อข่าวเหล่านั้นก็ไม่มีใครว่าอยู่แล้ว แต่ที่หลายฝ่ายออกมาตอบโต้และชี้แจงนั้นก็เพราะท่านไปกล่าวหาผู้อื่นว่าไม่เอาหลักการ ทิ้งซุนนะห์ และทิ้งจุดยืน หนักไปกว่านั้นก็คือท่านกล่าวหาผู้สงสัยในข้อเท็จจริงของการเห็นเดือนว่า ขัด- ขวางมิให้มุสลิมีนปฏิบัติศาสนกิจอย่างครบถ้วนและถูกต้องตามบทบัญญัติที่มีอยู่ในกิตาบุลลอฮ์และซุนนะห์ของนะบี ศ้อลลัลลอฮุอะลัยอิวะซัลลัม มันเป็นข้อกล่าวหาที่เกินจริงจนไม่อาจรับได้ การที่เยเมน ซูดาน และอียิปต์ไม่รับข่าวการเห็นเดือนเสี้ยวจากอิรัคจะถือว่าเป็นการขัดขวางมิให้มุสลิมีนปฏิบัติศาสนกิจอย่างครบถ้วนด้วยหรือไม่ ที่ยกสามประเทศมาอ้างอิงนั้น ก็เพราะว่าประเทศเหล่านั้นคือแหล่งข่าวที่ท่านถือการเห็นเดือนของเขาเพื่อเข้าสู่การถือศีลอดในรอมฎอนที่ผ่านมา หากว่าสามประเทศดังกล่าวไม่รับข่าวการเห็นเดือนจากอิรักเช่นเดียวกับพี่น้องมุสลิมส่วนใหญ่ในประเทศไทย จะให้เป็นธรรมแล้ว ข้อกล่าวหาที่พรั่งพรูออกมาจากปากพวกท่านที่มีต่อพี่น้องมุสลิมในประเทศ เช่น ไม่เอาหลักการ ไม่เอาซุนนะห์ ละทิ้งจุดยืน ขัดขวางมิให้มุสลิมปฏิบัติศาสนกิจอย่างครบถ้วน ก็ต้องเป็นข้อกล่าวหาที่มีต่อพี่น้องมุสลิมส่วนใหญ่ในโลกด้วยเช่นกันเพราะทั้งหมดก็มิได้ยึดถือข่าวการเห็นเดือนเสี้ยวจากประเทศอิรัก และในปีหน้าท่านจะรับข่าวการเห็นเดือนเสี้ยวจากใครได้เพราะแต่ละประเทศกลายเป็น ผู้ทิ้งหลักการ ไม่เอาซุนนะห์ ละทิ้งจุดยืน ขัดขวางมิให้มุสลิมปฏิบัติศาสนกิจอย่างครบถ้วน ความน่าเชื่อถือของโลกมุสลิมก็สูญเสียไปสิ้นด้วยข้อตัดสินของท่าน ผู้ทิ้งหลักการย่อมสูญเสียความอะดาละห์หรือความน่าเชื่อถือตามหลักการศาสนา ดังนั้นในปีหน้าท่านจึงไม่สามรถรับข่าวใดๆได้จากประเทศมุสลิมเหล่านั้น ยกเว้นจากอิรักและจากมุสลิมในไนจีเรียบางส่วน เว้นแต่ว่าท่านจะรีบกลับลำหรือกลับคำเป็นอื่น
اللهم لا تزغ قلوبنا بعد إذ هديتنا وهب لنا من لدنك رحمة إنك أنت الوهاب ، اللهم ألف بين قلوب المسلمين ، ووحد صفوفهم ، واهدهم إلى صراطك المستقيم ، وصلى الله على نبيك محمد بن عبد الله وعلى آله وصحبه أجمعين
وآخر دعوانا أن الحمد لله رب العالمين
إسحاق عبد الرحمن فونجماني أبو الوفاء
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
อิลยาส
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 20/04/2005
ตอบ: 279


ตอบตอบ: Sat Apr 30, 2005 12:15 am    ชื่อกระทู้: Re: วุกุฟวันพุธ...อีดวันพฤหัสฯ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ส่วนตัวผมนั้นได้ยึดเอาว่า รับข่าวจากเดาละฮฺอิสลามที่น่าเชื่อถือตามเงื่อนไขที่ถูกกล่าวมาข้างต้นครับ ในฐานะที่เราอยู่ในบ้านเมืองกุฟฟารมุชริกีน และไม่มีวลียุ้ลอัมรฺครับ ท้ายนี้ขอฝาก

"เดือนของอะฮฺลุซซุนนะฮฺ กับเดือนของซูฟี ตะรีกัตเป็นเดือนคนละดวง" wassalam
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sat Apr 30, 2005 6:36 am    ชื่อกระทู้: Re: วุกุฟวันพุธ...อีดวันพฤหัสฯ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

salam
ขอขอบคุณ คุณอิลยาสเป็นอย่างมากที่เสียสละเวลาและศึกษาข้อมูลที่มีประโยชน์ มานำเสนอให้ทราบ ขออัลลอฮโปรดตอบแทนความดีด้วยเทอญ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
mahdisaudi
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 03/06/2004
ตอบ: 381


ตอบตอบ: Sun May 01, 2005 2:14 pm    ชื่อกระทู้: Re: วุกุฟวันพุธ...อีดวันพฤหัสฯ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขอขอบคุณ คุณอิลยาส ที่หาข้อมูลที่มีประโยชน์ มานำเสนอให้ทราบ และขออนุญาติ

นำข้อมูลบางส่วนนี้เพื่อเสนอเข้า ชมรมดาราศาสตร์ด้วย

ส่วนทัศนะของผมที่ยังไม่สามารถยอมรับการเห็นเดือนของเดาลัตอิสลามอื่นได้

1-- ถ้าทางดาราศาสตร์ได้ยืนยันว่าท้องฟ้าในประเทศนั้นๆไม่สามารถเห็นจันทร์เสี้ยวใหม่

ได้ทั้งๆที่รู้ว่ามีอยู่ของดวงจันทร์ก็ตาม เพราะท่านนบีฯบอกว่าเห็นด้วยตาไม่ใช่ รู้ว่ามีดวงจันทร์
หรือทางดาราศาสตร์ ได้บอกว่าท้องฟ้าของประเทศนั้นๆดวงจันทร์ได้ตกพร้อมๆกับดวงอาทิตย์

หรือดวงจันทร์ได้ตกไปก่อนเวลามัฆริบแล้ว(อย่างกรณีที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่10 มกราคม

ที่ผ่านมาว่าสาอุดีมีผู้เห็นฮิลาลทั้งที่ดวงจันทร์ได้ตกไปก่อนดวงอาทิตย์แล้ว ทำให้หลาย

ประเทศที่ตามสาอุดีต้องเข้าวันผิดตามไปด้วย แต่ถ้าหากว่าวันนั้นมีฮิลาลค้างฟ้าจริงๆ

เห็นด้วยตาคนจริงๆเราก็ยังมีทัศนะว่าจะตามได้หรือไม่ได้แยกทัศนะเรื่องนี้ออกไปได้อีก)

2- ถึงแม้ว่าว่าโลกนี้จะถูกปกครองโดยระบอบอิสลามโดยมีเคาะลีฟะฮฺก็ตาม ท่านก็จะไม่นำเอา

การเห็นเดือนเสี้ยวของซีกโลกด้านหนึ่งไปบังคับใช้อีกด้านหนึ่ง เพราะท่านเข้าใจว่าเอกภาพ

ของอิสลามเอกภาพของอะกีดะฮฺอิสลาม ไม่เกี่ยวกับการดูเดือน ว่าต้องเข้าหรือออก

พร้อมกันทั้งโลก เพราะท่านรู้นี่แหละว่าโลกกลมและท้ายเดือนจะต้องมีบางประเทศนับได้ 29 วัน

และบางประเทศจะนับได้30 วันไม่พร้อมกันวันเดียวทั้งโลก

และ 3- ความรู้ทางดาราศาสตร์มีประโยชน์ไว้จับเท็จนักดูเดือนจอมปลอมได้หรือปฎิเสธ

ข่าวการเห็นดวงจันทร์ได้ เมื่อการคำนวนบอกว่าจะไม่มีดวงจันทร์ในตอนเย็นของวันนั้นๆ

_________________
อัลฟะละกี
เรื่องดาราศาตร์ก็มีกล่าวในอัลกุรอาน
&ใช้ดาราศาสตร์เพื่อช่วยให้ง่ายสดวกในการดูเดือน
มิใช่เพื่อมาทดแทนการดูเดือน
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักความเชื่อ ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7  ถัดไป
หน้า 6 จากทั้งหมด 7

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


Powered by phpBB ฉ 2001, 2002 phpBB Group







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.12 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ