ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
อนุรักษ์มรดกอิสลาม :: ดูกระทู้ - ว่าด้วยหลักการอิบาดะฮที่นบีไม่ทำ
อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก อนุรักษ์มรดกอิสลาม  
  เพื่อการอนุรักษ์มรดกอิสลาม      คำถามถามบ่อยของกระดานข่าว      ค้นหา      รายนามสมาชิก  
  · เข้าระบบ ข้อมูลส่วนตัว · เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ · กลุ่มผู้ใช้งาน  
ว่าด้วยหลักการอิบาดะฮที่นบีไม่ทำ

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> ปัญหาศาสนา
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sat Oct 19, 2013 10:16 pm    ชื่อกระทู้: ว่าด้วยหลักการอิบาดะฮที่นบีไม่ทำ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สิ่งที่อัลกุรอ่านสั่งไว้หรือ นบี ศอ็ลฯได้สอนและทำแบบอย่างเอาไว้ สิ่งนั้นชัดเจนว่า คือ คำสอนศาสนา
แต่สิ่งที่นบี ศอ็ลฯ ไม่ได้สอน ไม่ได้ทำแบบเอาไว้ เราจะพูดเต็มปากได้อย่างไรว่า “มันเป็นคำสอนศาสนา”
การอ้างว่า เรื่องอิบาดะฮ ถ้าไม่ห้ามไว้แล้ว ทำได้ มันเป็นการเดาสุ่ม ลองผิดลองถูก
อิหม่าม อัรชัรกะชีย์กล่าวว่า

الْمُتَابَعَةَ كما تَكُونُ في الْأَفْعَالِ تَكُونُ في التُّرُوكِ

การเจริญรอยตาม ในเรื่อง การทิ้ง(ของนบี)นั้น ก็เหมือนการเจริญรอยตาม ในการกระทำ(ของนบี) - ดู บะหรุลมุฮีฏ เล่ม 4 หน้า 191
หมายความว่า

เมื่อนบีปฏิบัติ เราก็ปฏิบัติ เป็นการตามสุนนะฮนบี เมื่อนบีไม่ทำ เราก็ไม่ทำ เป็นการตามสุนนะฮนบีเช่นกัน
อิหม่ามอิบนุคุซัยมะฮกล่าวในเศาะเฮียะของท่าน เล่ม 2 หน้า 550 ว่า

بَابُ تَرْكِ الصَّلَاةِ فِي الْمُصَلَّى قَبْلَ الْعِيدَيْنِ وَبَعْدَهَا اقْتِدَاءً بِالنَّبِيِّ وَاسْتِنَانًا بِهِ

บทว่าด้วยเรื่องการละทิ้งการละหมาด(สุนัต)ในมุศอ็ลลา (ลานละหมาด) ก่อนละหมาดอีดทั้งสองและหลังจากมันทั้งสอง เพื่อปฏิบัติตามนบี และ เพื่อดำเนินตามแบบอย่างท่านนบี
......
แล้วอิบนุคุซัยมะฮ ยกต้วอย่างหะดิษข้างล่างนี้

عَنْ عَدِيِّ بْنِ ثَابِتٍ قَالَ : سَمِعْتُ سَعِيدَ بْنَ جُبَيْرٍ يُحَدِّثُ ، عَنِ ابْنِ عَبَّاسٍ : أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ خَرَجَ يَوْمَ فِطْرٍ أَوْ أَضْحًى وَأَكْبَرُ عِلْمِي أَنَّهُ قَالَ : " يَوْمَ الْفِطْرِ فَصَلَّى رَكْعَتَيْنِ لَمْ يُصَلِّ قَبْلَهَا وَلَا بَعْدَهَا

จากอะดีย์ บิน ษาบิต กล่าวว่า “ข้าพเจ้าได้ยิน สะอีด บิน ญุบัยรฺ เล่าจาก จากอิบนุอับบาส ว่า “รซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ออกไปในวันอีดิลฟิตรี หรืออีดิลอัฎฮา และท่านได้ตักบีร (สะอีดกล่าวว่า)ข้าเจ้ารู้ว่า เขา(อิบนุอับบาส) กล่าวว่า “ วันอีดิลฟิตรี แล้วท่านนบี ได้ละหมาด สองเราะกาอัต โดยไม่ได้ละหมาด(สุนัต) ก่อนและหลังจากมัน –

ท่านอิหม่ามอัชเชากานีย์ กล่าวว่า

تركه صلى الله عليه وآله وسلم للشيء ، كفعله له في التأسي به فيه ، قال ابن السمعاني : إذا ترك الرسول صلى الله عليه وآله وسلم شيئا وجب علينا متابعته فيه ، ألا ترى أنه صلى الله عليه وآله وسلم لما قدم إليه الضب فأمسك عنه ، وترك أكله : أمسك عنه الصحابة وتركوه إلى أن قال لهم : إنه ليس بأرض قومي فأجدني أعافه وأذن لهم في أكله ، وهكذا تركه صلى الله عليه وآله وسلم لصلاة الليل جماعة ، خشية أن تكتب على الأمة .

การที่ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ทิ้ง(ไม่ปฏิบัติ)สิ่งใดนั้น ก็เหมือนกับสิ่งที่ท่านได้ปฏิบัติ ในกรณี ที่จะต้องดำเนินตามแบบอย่าง ท่านในมัน ,อิบนุอัสสัมอานีย์ กล่าวว่า “ เมื่อรซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ทิ้ง(ไม่ปฏิบัติ)สิ่งใดๆ ก็จำเป็นหนือพวกเรา จะต้องปฏิบัติตามในสิ่งนั้น พวกท่านไม่ เห็นหรือว่า นบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม
เมื่อมีผู้นำ เนื้อฎอ็บมาให้ท่าน ท่านก็ไม่เอา และไม่รับประทานมัน เลยบรรดาเศาะหาบะฮของท่านก็ไม่เอามัน และได้ทิ้งมัน จนกระทั่งท่านนบี กล่าวกับพวกเขาว่า “ ความจริงมันไม่มีในแผ่นดินกลุ่มชนของฉัน แล้วฉันจะได้อนุโลมมัน และท่านนบีก็อนุญาตให้พวกเขารับประทานมันได้ และในทำนองเดียวกันนี้ นบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ละทิ้งการละหมาดตอนกลางคืนในรูปแบบญะมาอะฮ เพราะเกรงว่าจะถูกบัญญัติเหนื่อพวกเขา - อิรชาดุลฟุหูล เล่ม 1 หน้า 156 ในเรื่องที่ สิบ ว่าด้วยสิ่งที่นบีทิ้งไม่ปฏิบัติ

ถ้าเรื่อง ศาสนา แล้วมาอ้างมาถ้าไม่มีหลักฐานห้ามทำได้ คำว่า “แบบอย่างนบี” มันจะมีความหมายอะไร
สุนนะฮคือ สิ่งที่เราปฏิญานตนในประโยคที่สอง การรับรองมุหัมหมัด บุตร อับดุลลอฮ ว่า เป็นศาสนทูต (รอซูล) ไม่ใช่แค่พูดด้วยปลายลิ้น แต่ต้องปฏิบัติตามเจตนารมณ์ของประโยคนี้ด้วย

เรื่อง อิบาดะฮในอิสลาม ต้องมีตัวบทที่เป็นคำสั่งจากอักุรอ่านและอัสสุนนะฮ

الأعمال الدينية لا يجوز أن يتخذ شيء منها سببا إلا أن تكون مشروعة فإن العبادات مبناها على التوقيف

บรรดาการงานที่เกี่ยวกับศาสนานั้น ไม่อนุญาตให้สิ่งใดๆจากมันถูกเอามาเป็น มูลเหตุ
(ให้กระทำ)นอกจาก มันเป็นสิ่งที่ถูกบัญญัติไว้ เพราะแท้จริงบรรดาอิบาดะฮนั้นรากฐานของมันถูกวางอยู่บนการรอคำสั่ง - อัลอาดาบอัชชัรอียะฮ ของอิบนุมุฟลิห เล่ม 2หน้า 265

อัสสัรเคาะสีย์ กล่าวว่า

ولا مدخل للرأي في معرفة ما هو طاعة الله، ولهذا لا يجوز إثبات أصل العبادة بالرأي.

และไม่มีช่องทางใดๆสำหรับความคิดเห็น ในเรื่องการรู้จักสิ่งที่มันเป็นการภักดีต่ออัลลอฮ เพราะเหตุนี้ จึงไม่อนุญาตให้รับรองรากฐานการอิบาดะฮ ด้วยการใช้ความคิดเห็น – ดู อุศูลุอัสสัรเคาะสีย์ เล่ม 2 หน้า 122
หมายความว่า ในเรื่อง การอิบาดะฮนั้น ไม่เปิดโอกาสให้นำความคิดเห็นมากำหนดบทบัญญัติศาสนาที่จะนำไปทำการภักดีต่ออัลลอฮ เพราะเรื่องอิบาดะฮนั้น ต้องหยุดอยู่ที่คำสัง
ดังที่ อัลหาฟิซ อิบนุหะญัร กล่าวว่า

الأصل في العبادة التوقف

รากฐานในเรื่องอิบาดะฮนั้น คือ การหยุดอยู่ที่คำสั่ง – ดูฟัตหุลบารีย์ เล่ม 2 หน้า 80
والله أعلم بالصواب

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sat Oct 19, 2013 11:13 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

มาดูตัวอย่างของอิหม่ามชาฟิอี(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)ที่ให้ความสำคัญกับการตามสุนนะฮ

อัลหาฟิซอิบนุหะญัร กล่าวว่า

أجاب الشافعي عن قول من قال ليس شيء من البيت مهجوراً بأن لم ندع استلامها هجراً للبيت وكيف يهجره وهو يطوف به؟ ولكن نتبع السنة فعلاً أو تركاً

อัชชาฟิอี ได้ตอบ คำพูดของผู้ที่กล่าวว่า ไม่มีสิ่งใดจากบัยตุลลอฮ ที่ถูกละทิ้ง ด้วยการที่เราจะไม่ละทิ้งการลูบมัน โดยที่ละทิ้ง(การลูบ)บัยตุลลอฮ และเราจะละทิ้งมันได้อย่างไร โดยที่เราทำการฏอวาฟด้วยมัน ?
(อิหม่ามชาฟิอีตอบว่า) แต่เราตามสุนนะฮ ในการกระทำ หรือ ในการทิ้ง – ดูฟัตหุลบารีย์ เล่ม 4 หน้า 220

กล่าวคือ มีคนพูดว่า เขาจะไม่ทิ้งการลูบ(มุม)บัยตุลลอฮ เวลาทำการฏอวาฟ เพราะเมื่อเราฏอวาฟด้วยมัน เราก็จะลูบมันด้วย
อิหม่ามชาฟิอี ตอบกรณีนี้ว่า แต่เราตามสุนนะฮ ในสิ่งที่นบีทำ และตามในสิ่งที่นบีไม่ทำ เพราะไม่มีสุนนะฮให้ลูบบัยตุลลอฮ ขณะทำการฏอวาฟ อิหม่ามชาฟิอีจึงไม่ทำ เพราะท่านตามสุนนะฮนบี

มาดูตัวอย่างการตามสุนนะฮ ตัรกียะฮ(สุนนะฮโดยการทิ้งสิ่งที่นบีไม่ได้ทำ)


عَنْ مُجَاهِدٍ ، عَنِ ابْنُ عَبَّاسٍَ ، " أَنَّهُ طَافَ مَعَ مُعَاوِيَةَ بِالْبَيْتِ ، فَجَعَلَ مُعَاوِيَةُ يَسْتَلِمُ الأَرْكَانَ كُلَّهَا ، فَقَالَ لَه : لِمَ تَسْتَلِمُ هَذَيْنِ الرُّكْنَيْنِ ، وَلَمْ يَكُنْ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَسْتَلِمُهُمَا ؟ فَقَالَ مُعَاوِيَةُ لَيْسَ شَيْءٌ مِنَ الْبَيْتِ مَهْجُورًا ، فَقَالَ ابْنُ عَبَّاسٍ : لَقَدْ كَانَ لَكُمْ فِي رَسُولِ اللَّهِ أُسْوَةٌ حَسَنَةٌ سورة الأحزاب آية 21 ، فَقَالَ مُعَاوِيَةُ : صَدَقْتَ

รายงานจาก มุญาฮิด จากอิบนุอับบาส ว่า เขาได้ทำการฏอวาฟ บัยตุลลอฮ พร้อมกับมุอาวิยะฮ แล้วปรากฏว่า มุอาวียะฮได้ลูบ รุกน(มุม)ของบัยตุลลอฮทั้งหมด แล้ว อิบนุอับบาสได้ กล่าวแก่เขา(มุอาวียะฮ)ว่า ทำไมท่านจึงลูบสองรุกนนี้ด้วย ทั้งๆที่ ไม่ปรากฏว่ารซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ลูบมันทั้งสองเลย ? แล้วเขา(มุอาวิยะฮกล่าวว่า “ ไม่มีสิ่งใดจากบัยตุลลอฮ ที่ถูกละทิ้ง (ในการลูบ) แล้ว อิบนุอับบาส ได้กล่าวอายะฮที่ว่า (แท้จริงในศาสนทูตของอัลลอฮนั้น เป็นแบบอย่างที่ดี สำหรับพวกเจ้า) - ซูเราะฮอัลอะฮซาบ/21 แล้ว ท่านมุอาวิยะฮ จึงกล่าวว่า “ ท่านพูดถูกต้อง แล้ว - รายงาน โดย มุสลิม ,อะหมัด และคนอื่นอื่นๆ
...............
ข้างต้นคือ ตัวอย่างของการละทิ้งปฏิบัติ เนื่องจาก ตามแบบอย่างของรอซูล ในสิ่งที่ท่านไม่ปฏิบัติ เพราะฉะนั้น การอ้างว่า ไม่มีหลักฐานห้าม ทำได้ มันเป็นการใช้ความเห็นมากำหนดหลักการศาสนา

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Mon Feb 24, 2014 9:26 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เข้าอ้างว่านบีไม่ทำ ไม่ได้หมายถึงห้ามไม่ให้ทำ

มีโต๊ะครูท่านหนึ่งในโลกไซเบอร์ อ้างว่า
กฎของวิชาอุซู้ล(วิชาที่ใช้ในการพิจารณาความตัวบท) ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า "อัตตัรกู่ ลาย่าดุ้ลลู่ อ้าลัตตะห์รีม"
الترك لا يدل على التحريم
ความว่า "การละทิ้ง(ไม่ทำ)ของคนๆหนึ่ง มิได้เป็น(หลักฐาน)ที่บ่งชี้ว่า(สิ่งนั้น)เป็นที่ต้องห้าม"
ฉนั้น การทำไม่ทำของคนๆหนึ่ง จึงไม่ได้เป็นการฮู่ก่มสิ่งหนึ่งว่า "ห้ามกระทำ" ตามไปด้วย
................................
ขอชี้แจงดังนี้
หลักอุศูลุลฟิกฮข้างต้น มักจะมีผู้รู้อนุรักษ์บิดอะฮบางส่วน นำเอามาอ้างการรับรองบิดอะฮของพวกเขา
อยู่เสมอ ซึ่งหลักอุศูลุลฟิกฮที่มีความหมายเหมือนกันอีกสำนวนหนึ่งคือ
الترك لا يقتضي التحريم
การละทิ้ง มันไม่ได้ตัดสินว่าเป็นข้อห้าม
ครับ หลักการนี้ถูกต้อง แต่ผู้อ้างนำมาใช้ผิดที่ เพราะหลักการข้างต้น เขานำมาเป็นหลักการพิจารณาในเรื่องอาดัต (เรื่องเกี่ยวกับวิถีชิวิตปกติของมนุษย์ในทางโลก) ไม่ใช่เรื่องเกียวกับ อิบาดะฮ (ศาสนพิธีหรือพิธีกรรมทางศาสนา) ซึ่งหลักอุศูลุลฟิกฮในเรื่องที่เกี่ยวกับอาดะฮ คือ
والأصل في العادات الإباحة إلا ما ورد الشرع بتحريمه
ความว่า "ตามหลักการทั่วไปในเรื่อง อาดะฮนั้น ล้วนเป็นสิ่งอนุญาตเว้นแต่สิ่งที่มีหลักฐานชี้ชัดว่าเป็นสิ่งต้องห้าม"
ส่วนหลักการในเรื่องอิบาดะฮนั้นคือ
الأصل في العبادات الحظر إلا ما ورد عن الشارع تشريعه،
ความว่า "ตามหลักการทั่วไปในเรื่อง อิบาดะฮนั้น ล้วนเป็นสิ่งต้องห้ามเว้นแต่กระทำที่มาจากผู้บัญญัติศาสนบัญญัติ(หมายถึงอัลลอฮและรอซูล)ได้บัญญัติมัน
การนำหลักการต่อไปนี้มาอ้างรับรองอิบาดะฮที่เป็นบิดอะฮนั้น เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง หมายถึงหลักการที่ว่า
الترك لا يدل على التحريم
ความว่า "การละทิ้ง(ไม่ทำ)ของคนๆหนึ่ง มิได้เป็น(หลักฐาน)ที่บ่งชี้ว่า(สิ่งนั้น)เป็นที่ต้องห้าม"
เพราะการอ้างหลักการข้างต้นในเรื่องอิบาดะฮ มันขัดแย้งกับหะดิษที่ว่า
وَإِيَّاكُمْ وَمُحْدَثَاتِ الأُمُوْرِ ، فَإِنَّ كُلَّ مُحْدَثَةٍ بِدْعَةٌ
และขอให้ท่านทั้งหลายออกห่างสิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่ (ในศาสนา) เพราะว่า ทุกสิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่นั้น เป็นอุตริกรรม (บิดอะฮฺ) และทุกอุตริกรรมนั้น เป็นความหลงผิด – รายงานโดยอิหม่ามอัตติรมิซีย์
เรื่อง อิบาดะฮนั้น ต้องมีหลักฐานยืนยันว่ามีบัญญัติใช้เอาไว้เท่านั้น
ท่านอิบนุกะษีรฺ ได้กล่าวอธิบายในหนังสือ “ตัฟซีรฺ อิบนุกะษีรฺ” เล่มที่ 4 หน้า 276 ว่า
وَبَابُ الْقُرَبَاتِ يُقْتَصَرُ فِيْهِ عَلَى النُّصُوْصِ، وَلاَ يُتَصَرَّفُ فِيْهِ بِأَنْوَاعِ اْلأَقْيِسَةِ وَاْلآرَاءِ
“และในเรื่องของ อัลกุรบาต(เรื่องการแสดงความใกล้ชิดกับอัลลอฮ์) จะถูก “จำกัดตามตัวบท” เท่านั้น จะไปแปรเปลี่ยนมันตามการอนุมานเปรียบเทียบต่างๆ(กิยาส)หรือแนวคิดต่างๆไม่ได้”
อิหม่ามอิบนุกอ็ยยิม กล่าวว่า
فَإِنَّ تَرْكَهُ صلى الله عليه وسلم سُنَّةٌ كَمَا أَنَّ فِعْلَهُ سُنَّةٌ ، فَإِذَا اسْتَحْبَبْنَا فِعْلَ مَا تَرَكَهُ كَانَ نَظِيرَ اسْتِحْبَابِنَا تَرْكَ مَا فَعَلَهُ ، وَلَا فَرْقَ
เพราะแท้จริงการละทิ้งของนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม นั้น เป็นสุนนะฮ เช่นเดียวกับสิ่งที่ท่านนบีได้ทำมัน คือสุนนะฮ ดังนั้น เมื่อเราส่งเสริมให้ทำสิ่งที่นบีได้ละทิ้งมัน ก็เหมือนกับว่า เราส่งเสริมให้ทิ้งสิ่งที่นบีได้กระทำ และไม่ได้แตกต่างกันเลย – ดูเอียะลามอัลมุวักกิอีน เล่ม 2 หน้า 284
.....
คือ หมายความว่า ถ้าไปส่งเสริมให้ทำในสิ่งที่นบี ศอ็ลฯ ไม่ปฏิบัติ ก็เหมือนกับส่งเสริมให้ละทิ้งในสิ่งที่นบี ศอ็ลฯ ปฏิบัติ ซึ่งยอมไม่ถูกต้อง
อิหม่ามอัลอัยนีย์กล่าวว่า
لأن التكليف عند أهل الحق لا يثبت إلا بالشرع
เพราะแท้จริง การบังคับใช้ ในทัศนะของผู้ที่อยู่บนความถูกต้องนั้น มันจะไม่ถูกรับรอง นอกจากด้วยศาสนบัญญัติ
- ดู อัมดะตุลกอรี ชัรหเศาะเฮียะอัลบุคอรี ของอัลอัยนีย์ เล่ม 1 หน้า 299
.....
ไม่เข้าใจเหมือนกันว่า มีสุนนะฮของนบี ศอ็ลฯมากมากมายที่ส่งเสริมให้ทำ แต่กลับมีคนส่งเสริมชาวบ้านให้ทำสิ่งที่ไม่มีในสุนนะฮ โดยยกข้ออ้างต่างนานา วัลอิยาซุบิลละฮ

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Tue Dec 30, 2014 3:49 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

มาดู อิหม่าม อิบนุดะกีก อัลอีด เราะหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวไว้ครับ

قد منعنا إحداث ما هو
شعار في الدين . ومثاله : ما أحدثته الروافض من عيد ثالث ، سموه عيد الغدير .
وكذلك الاجتماع وإقامة شعاره في وقت مخصوص على شيء مخصوص ، لم يثبت شرعا . وقريب
من ذلك : أن تكون العبادة من جهة الشرع مرتبة على وجه مخصوص . فيريد بعض الناس :
أن يحدث فيها أمرا آخر لم يرد به الشرع ، زاعما أنه يدرجه تحت عموم . فهذا لا
يستقيم ؛ لأن الغالب على العبادات التعبد ، ومأخذها التوقيف
และแท้จริง เราได้ห้าม ไม่ให้มีการประดิษฐขึ้นใหม่ ของสิ่งที่ มันคือ
เครื่องหมายในศาสนา(หมายถึงสิ่งที่เป็นพิธีกรรมในศาสนา) และตัวอย่างของมันคือ สิ่งที่บรรดาชีอะฮรอฟีเฎาะฮ
ได้ประดิษฐ์มันขึ้นมาใหม่ จากการให้มีอีดที่สามขึ้นมา แล้วพวกเขาเรียกว่า “ อีดุลเฆาะดีร”
และในทำนองเดียวกันนั้น คือ การชุมนุมกัน และการกำหนดบรรดาเครื่องหมายศาสนา(พิธีกรรมศาสนา) ในเวลาที่เฉพาะเจาะจง ในสิ่งที่เฉพาะเจาะจง ที่ไม่ได้รับการยืนยันทางศาสนาบัญญัติ และ(ตัวอย่าง)ที่ใกล้เคียงกับดังกล่าวนั้นคือ อิบาดะฮ ที่ ในด้านศาสนาบัญญัตินั้น อยู่ในฐานะบนรูปแบบที่ถูกเจาะจงไว้ แล้วผู้คนบางส่วน ได้ประดิษฐ์สิ่งอื่นขึ้นมาใหม่ในมัน โดยที่ไม่มีรายงานมาจากศาสนบัญญัติ โดยอ้างว่า มันอยู่ภายใต้ หลักฐานกว้างๆ แบบนี้ไม่ถูกต้อง เพราะส่วนใหญ่ บน การอิบาดะฮทั้งหลายนั้นคือ การตะอับบุด (การแสดงการเคารพภักดีต่อพระเจ้า) และที่เอา(ที่มา)ของมัน คือ อัตเตากิฟ (คือรอคำสั่ง) – ดุ อะหกามุลอะหกาม ชัรหอุมดะติลอะหกาม ของ อิบนุดะกีก อัลอีด 1/119 เรือง คุณค่าละหมาดญะมาอะฮ
สรุปจากคำพูดของอิบนุดะกีกคือ
1. ไม่อนุญาตให้กำหนดรูปแบบพิธีกรรมศาสนาในเวลาและรูปแบบที่เฉพาะ โดยไม่มีหลักฐานทางศาสนาบัญญัติ เช่น
การกำหนดวีนอีดที่สามขึ้นมา อย่างพวกรอฟิเฏาะคือ อีดเฆาะดีร
2. การกำหนดรูปแบบอิบาดะฮ โดยอ้างว่า เป็นหลักฐานกว้างๆนั้นไม่ถูกต้อง
เพราะ หลักการอิบาดะฮนั้นต้องรอคำสั่งจากศาสนบัญญัติ

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Tue Dec 30, 2014 4:11 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อิหม่ามอัสสะอดีย์ (ฮ.ศ 1376) ได้กล่าวไว้ว่า
ومن أمثلة العبادات
غير المشروعة: ما يفعله بعض الناس من التقرب لله - عز وجل - بالتصفيق أو بالرقص
والغناء، هذه إذا فُعلت على جهة العبادة تكون بدعة مخالفة للشريعة. ومثل الاحتفال
برأس السنة، أو الاحتفال بالمولد النبوي، ومثل ذلك أيضا: إذا كان العمل لم يرد فيه
إلا دليل ضعيف، فإنه يحكم بكونه بدعة؛ لأنه لا يصح تقرير عبادة جديدة بواسطة
الحديث الضعيف
และส่วนหนึ่งจากบรรดาตัวอย่างอิบาดะฮ ที่ไม่ได้ถูกบัญญัติไว้ คือ
สิ่งที่บรรดาผู้คนบางส่วน ได้ปฏิบัติมัน เพื่อแสดงการใกล้ชิด(อิบาดะฮ)ต่ออัลลอฮ ด้วยการตบมือ ,กาเต้นรำและการร้องเพลง ,กรณีนี้ เมื่อมันถูกปฏิบัติ บนรูปแบบอิบาดะฮ มันก็เป็นบิดอะฮ ที่ขัดแย้งกับศาสนบัญญัติ และตัวอย่างเช่น การเฉลิมฉลองปีใหม่
,การเฉลิมฉลองเมาลิดนบี และในทำนองเดียวกันนั้น เช่น เมื่อ การปฏิบัตินั้น ไม่มีหลักฐานในมัน นอกจากหลักฐานเฎาะอีฟ ดังนั้น
มันก็ถูกตัดสินว่า มัน เป็นบิดอะฮ เพราะ การรับรองอิบาดะฮใหม่ โดยใช้สื่อกลางด้วยหะดิษเฎาะอีฟ- ดู มุอัลลิฟาต อัสสะดีย์
8/80
...........

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Tue Dec 30, 2014 4:24 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อิหม่ามนะสะฟีย์ เราะหิมะฮุลลอฮฺ
لا مدخل للرأي في معرفة ما هو طاعة الله ولهذا لا يجوز إثبات أصل العبادة بالرأي
ไม่มีช่องทางสำหรับความคิดเห็น ในการรู้จัก สิ่งที่มันคือ การภักดีต่ออัลลอฮ และเพราะเหตุนี้ ไม่อนุญาตให้ยืนยันรากฐานอิบาดะฮ ด้วยความเห็น – ดู كشف الأسرار (2/210)

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sat Mar 21, 2015 9:09 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สุนนะฮตัรกียะฮ ในทัศนะของปราชญ์มัซฮับชาฟิอี

คำว่า “สุนนะฮตัรกียะฮ(السنة التركية،) หมายถึง การที่นบี ศอ็ลฯละทิ้งปฏิบัติ ต่อสิ่งใดๆ ที่ไม่ใช่เรื่อง ธรรมชาติของความเป็นมนุษย์ ทั้งๆที่มี
ความจำเป็นหรือมีเหตุผลที่จะปฏิบัติ โดยไม่มีอุปสรรค์ใดๆมาขัดขวาง
กล่าวคือ นบี ศอ็ลฯ นั้น มีความต้องการที่จะให้ได้รับผลบุญในการปฏิบัติและ ณ เวลานั้น ก็ไม่มีอุปสรรค์อะไรมาขัดขวางไม่ให้ปฏิบัติ แต่นบี ศอ็ลฯไม่ปฏิบัติ และไม่ส่งเสริมให้ปฏิบัติ ก็แสดงว่าสิ่งนั้น ไม่ใช่ศาสนา
1. อิหม่ามชาฟิอีย์ (ร.ฮ)กล่าวว่า
وللناس تبرٌ غيره من نحاس وحديد ورصاص فلما لم يأخذ منه رسول الله ولا أحد بعده زكاة تركناه اتباعاً بتركه
และประชาชนมีสินแร่ อื่นจากมัน จาก ทองแดง ,เหล็ก และตะกั่ว เมื่อ รซูลุลลอฮ ศอ็ลฯ และคนหนึ่งคนใดหลังจากท่าน ไม่ได้เอามัน มาเป็นซะกาต เราก็ทิ้งมัน เป็นการปฏิบัติตาม การละทิ้งของท่านนบี – ดู อัรริสาละฮ หน้า 194
อิหม่ามชาฟิอี กล่าวว่า ประชาชน มีทองแดง ,มีเหล็ก และตะกั่ว ท่านรซูลุลลอฮ ศอ็ลฯไม่เก็บซะกาต เราก็ไม่เก็บเหมือนกัน เป็นการเจริญรอยตามในสิ่งที่นบีไม่ปฏิบัติ คือนบีไม่ปฏิบัติ เราก็ไม่ปฏิบัติ
2. อิบนุคุซัยมะฮ (ร.ฎ) ได้กำหนดหัวเรื่องว่า
بَابُ تَرْكِ الصَّلاَةِ فِي المُصَلَّى قَبْلَ الْعِيدَيْنِ وَبَعْدَهَا اقْتِدَاءً بِالنَّبِيِّ وَاسْتِنَانًا بِهِ
บทว่าด้วยเรื่อง การละทิ้งการละหมาด ใน มุศอ็ลลา ก่อนละหมาดอีด ทั้งสองและหลังจากมัน เพื่อปฏิบัติตามแบบอย่างนบี และเป็นการดำเนินตามแบบอย่างนบี – เศาะเฮียะอิบนุคุซัยมะฮ 2/550
กล่าวคือ การทิ้งไม่ปฏิบัติละหมาดสุนัต ณ สถานที่ละหมาด (มุศอ็ลลา) ก่อนละหมาดอีดและหลังละหมาดอีดทั้งสอง เพื่อปฏิบัติตามแบบอย่างนบี คือ นบีไม่ปฏิบัติ ก็ให้ละทิ้งไม่ต้องปฏิบัติด้วย
3. อะบุลมุซฟัรอัสสัมอานีย (ร.ฮ) กล่าวว่า
إذا ترك النبي صلى الله عليه وسلم شيئا من الأشياء وجب علينا متابعته فيه
เมื่อนบี ศอ็ลฯ ละทิ้งไม่ปฏิบัติ สิ่งใดๆ จากบรรดาสิ่งต่างๆ จำเป็นแก่เราจะต้อง ปฏิบัติตามในมันด้วย – เกาะวาเฏาะอัลอะดิลละฮ 1/311
4. อิหม่ามอัรซัรกะชีย์ (ร.ฮ) กล่าวว่า
الْمُتَابَعَةَ كما تَكُونُ في الْأَفْعَالِ تَكُونُ في التُّرُوكِ
การปฏิบัติตามในบรรดาการละทิ้ง นั้น เหมือนกับ การปฏิบัติตามในบรรการกระทำ – อัลบะหรุลมะฮีฏ 4/191
กล่าวคือ การปฏิบัติตามในสิ่งที่นบีทิ้ง ก็เหมือนกับการปฏิบัติตามในสิ่งที่นบีทำ คือ เมื่อนบี ศอ็ลฯ ไม่ปฏิบัติ เราก็ไม่ปฏิบัติ
ข้างต้นคือ ตัวอย่างของการปฏิบัติตามสุนนะฮ ตัรกียะฮ ซึ่งหมายถึง สิ่งใดที่เกี่ยวข้องกับศาสนา ที่นบีไม่ได้ทำแบบอย่างเอาไว้ ไม่ได้ปฏิบัติ เราในฐานะอุมมะฮ ก็ไม่ปฏิบัติเช่นกัน ไม่ใช่ ทิ้งสิ่งที่นบีทำ และพยายามทำ ในสิ่งที่นบีไม่ทำ โดยอ้างเหตุผลตามความเห็นว่า ดี มีความประเสริฐ
والله أعلم بالصواب

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sat Mar 21, 2015 9:10 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อิบนุเราะญับ (ร.ฮ) ปราชญ์มัซฮับ หัมบะลีกล่าวว่า
فأما ما اتفق السلف على تركه فلا يجوز العمل به لأنهم ما تركوه إلا على علم أنه لا يعمل
แล้วสำหรับ สิ่งที่ชาวสะลัฟ เห็นฟ้องกันบนการให้ละทิ้ง ก็ไม่อนุญาตให้ปฏิบัติด้วยมัน เพราะแท้จริง พวกเขาจะไม่ทิ้ง(หมายถึงจะไม่ปฏิบัติ) มัน นอกจาก บนการรู้ว่า มันไมถูกปฏิบัติ –
كتاب فضل علم السلف على الخلف ص 32
หมายความว่า บรรดาสิ่งที่บรรดาชนยุคสะลัฟไม่มีใครปฏิบัติเลย ก็ไม่อนุญาตให้ปฏิบัติ เพราะพวกเขาจะไม่ละทิ้งการปฏิบัติสิ่งใด นอกจากรู้ว่า สิ่งนั้น นบี ศอ็ลฯ ไม่ได้ปฏิบัติ

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sat Mar 21, 2015 9:14 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อิบนุเราะญับ (ร.ฮ) ปราชญ์มัซฮับ หัมบะลีกล่าวว่า
فأما ما اتفق السلف على تركه فلا يجوز العمل به لأنهم ما تركوه إلا على علم أنه لا يعمل
แล้วสำหรับ สิ่งที่ชาวสะลัฟ เห็นฟ้องกันบนการให้ละทิ้ง ก็ไม่อนุญาตให้ปฏิบัติด้วยมัน เพราะแท้จริง พวกเขาจะไม่ทิ้ง(หมายถึงจะไม่ปฏิบัติ) มัน นอกจาก บนการรู้ว่า มันไมถูกปฏิบัติ –
كتاب فضل علم السلف على الخلف ص 32
หมายความว่า บรรดาสิ่งที่บรรดาชนยุคสะลัฟไม่มีใครปฏิบัติเลย ก็ไม่อนุญาตให้ปฏิบัติ เพราะพวกเขาจะไม่ละทิ้งการปฏิบัติสิ่งใด นอกจากรู้ว่า สิ่งนั้น นบี ศอ็ลฯ ไม่ได้ปฏิบัติ

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> ปัญหาศาสนา ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


Powered by phpBB ฉ 2001, 2002 phpBB Group







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.26 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ