ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
อนุรักษ์มรดกอิสลาม :: ดูกระทู้ - ละหมาดอีซาตามอีหม่าม แล้วค่อยละหมาดใช่มักริบ ได้หรือไม่
อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก อนุรักษ์มรดกอิสลาม  
  เพื่อการอนุรักษ์มรดกอิสลาม      คำถามถามบ่อยของกระดานข่าว      ค้นหา      รายนามสมาชิก  
  · เข้าระบบ ข้อมูลส่วนตัว · เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ · กลุ่มผู้ใช้งาน  
ละหมาดอีซาตามอีหม่าม แล้วค่อยละหมาดใช่มักริบ ได้หรือไม่

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> ปัญหาศาสนา
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
panda
มือใหม่
มือใหม่


เข้าร่วมเมื่อ: 07/06/2006
ตอบ: 7


ตอบตอบ: Mon Dec 27, 2010 9:09 pm    ชื่อกระทู้: ละหมาดอีซาตามอีหม่าม แล้วค่อยละหมาดใช่มักริบ ได้หรือไม่ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

กลับมาจากทำงาน เข้าเวลาอีซาแล้ว
แต่ยังไม่ได้ละหมาดมักริบ เราจะหมาดอีซาตามอีหม่ามได้มั้ย
แล้วค่อยมาละหมาดใช้ละหมาดมักริบที่หลัง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kolis_mala
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/12/2010
ตอบ: 295


ตอบตอบ: Tue Dec 28, 2010 1:14 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

Exclamation
คับน้อง panda
ตามที่น้องได้ถามมา อันเนื่องจาก น้อง ละหมาดพร้อมกับ ญะมาอะห์ พร้อมอีหม่ามซึ่งละหมาดนั้นคือละหมาดอีชาอ์ ทั้งที่น้องยังไม่ได้ละหมาด มักริบ แต่เข้าเวลา อีชาอ์แล้ว
เพราะฉนั้น น้องต้องทำการ กอฎอ(ละหมาดใช้) คับ

การละหมาดชดใช้โดยเรียบเรียงตามลำดับของเวลาละหมาดที่ขาดไปนั้น นักวิชาการสังกัดมัซฮับ อัชชาฟีอีย์ ระบุว่า : เมื่อละหมาดหนึ่งหรือหลายการละหมาดผ่านเลยเขาไป ก็ส่งเสริมให้เขานำเอาการละหมาดที่ผ่านเลยไป (ละหมาดที่ต้องกอฎอ) มาปฏิบัติก่อนละหมาดฟัรฎูประจำเวลา และให้เขาเรียงลำดับการละหมาดที่ผ่านไปโดยกอฎอละหมาดที่ 1 (เช่น ซุฮฺริ) ตามมาด้วยการละหมาดที่สอง (เช่น อัศริ) และการละหมาดในลำดับที่ 3 (เช่น มัฆริบ)


ทั้งนี้ถือตามหะดีษที่ท่านญาบีร (ร.ฎ.) รายงานในเหตุการณ์สมรภูมิคอนดัก (สมรภูมิสนามเพลาะ) และเพื่อออกจากข้อขัดแย้งของบรรดานักวิชาการ และถ้าหากเขา (ผู้ละหมาด) ละทิ้งการเรียงลำดับของการละหมาด หรือ ละหมาดประจำเวลาก่อนละหมาดที่ต้องกอฎอ หรือละหมาดเวลาสุดท้ายก่อนหน้าลำดับการละหมาดที่ผ่านพ้นไป ก็ถือว่าเป็นที่อนุญาต และถ้าหากเขานึกขึ้นได้ถึงละหมาดที่ผ่านพ้นไป และเวลาละหมาดประจำเวลาเหลือน้อยเต็มที ก็จำต้องละหมาดประจำเวลาก่อน (กิตาบ อัลมัจญ์มูอฺ ชัรฮุ้ลมุฮัซซับ : อิหม่าม อันนาวาวีย์ เล่มที่ 3 หน้า 73-75)


والله أعلم بالصواب
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
kolis_mala
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/12/2010
ตอบ: 295


ตอบตอบ: Tue Dec 28, 2010 1:15 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ส่วนการชดใช้ละหมาด (กอฎอ) ในรูปแบบญะมาอะฮฺนั้นป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้ ทั้งนี้เพราะมีหลักฐานจากซุนนะฮฺ ระบุว่า

“ครั้งหนึ่งพวกเราอยู่ในการเดินทางพร้อมกับท่านนบี (‏‏صلى الله عليه وسلم) และพวกเราก็เดินทางในยามค่ำคืนจนกระทั่งพวกเราอยู่ในช่วงท้ายของเวลากลางคืน... ไม่มีสิ่งใดปลุกให้เราตื่นนอกจากความร้อนของดวงอาทิตย์ เมื่อท่านนบี (‏‏صلى الله عليه وسلم) ได้ตื่น พวกเขาก็อวดครวญยังท่านถึงสิ่งที่มาประสบกับพวกเขา...(ในตอนท้ายของหะดีษระบุว่า) แล้วท่านนบี (‏‏صلى الله عليه وسلم) ก็อาบน้ำละหมาด และมีการอะซานเพื่อละหมาด แล้วท่านนบี (‏‏صلى الله عليه وسلم) ก็นำผู้คนละหมาด”
(รายงานจาก อิมรอน อุบนุ ฮุซอยน์ (ร.ฎ.) บันทึกโดยอัลบุคอรีย์และมุสลิม) เป็นต้น

การชดใช้ละหมาด (กอฎอ) ในหะดีษข้างต้นนี้คือการละหมาดกอฏอซุบฮิแบบญะมาอะฮฺนั่นเอง


والله أعلم بالصواب
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
kolis_mala
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/12/2010
ตอบ: 295


ตอบตอบ: Tue Dec 28, 2010 1:18 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ส่วนละหมาดไม่ตรงเวลา?

الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد...

พระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงดำรัสว่า :

(فَخَلَفَ مِنْ بَعْدِ هِمْ خَلْفٌ أضاعُواالصلاةَ واتَّبَعُواالشَّهُواتِ فَسَوْفَ يَلْقَوْنَ
غَيًّاإلاَّ مَنْ تَابَ وَآمَنَ و عَمِلَ صالِحًا) مريم ٥٩–٦٠

“แล้วมีกลุ่มชนรุ่นหลังได้มาภายหลังพวกเขา (พวกชนรุ่นหลังนั้น) ได้ทำให้การละหมาดสูญหายไป (ทิ้งละหมาด) และปฏิบัติตามอารมณ์ความใคร่ พวกเขาจะได้พบกับการหลงผิด (หรือขุมนรกหนึ่งในญะฮันนัม) ยกเว้นบุคคลที่สำนึกผิด, ศรัทธาและประพฤติการงานที่ดี” (มัรยัม : 59-60)


ท่านอิบนุ อับบาส (ร.ฎ.) กล่าวว่า : คำว่า “พวกเขาได้ทำการละหมาดสูญหาย” มิได้หมายความว่าพวกเขาทิ้งการละหมาดทั้งหมด แต่พวกเขาล่าช้าการละหมาดจนออกจากเวลาของการละหมาดนั้น ท่านสะอีด อิบนุ อัลมุซัยยับ อิหม่ามของชนรุ่นตาบิอีน กล่าวว่า : คือการที่เขาจะไม่ละหมาดซุฮฺริจนกว่าเวลาอัศริมาถึง และจะไม่ละหมาดอัศริจนเข้าสู่เวลามัฆริบ และจะไม่ละหมาดมัฆริบจนเข้าสู่เวลาอิชาอฺ และจะไม่ละหมาดอิชาอฺจนเข้าสู่เวลาฟัจฺร์ (ซุบฮิ) และจะไม่ละหมาดฟัจฺร์จนกระทั่งดวงตะวันขึ้น

ดังนั้นผู้ใดตายไปในสภาพที่เขายืนกรานต่อสภาพเช่นนี้ และไม่สำนึกผิด (เตาบะฮฺ) พระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงคาดโทษ (สัญญาร้าย) แก่ผู้นั้นด้วย ฆ็อยฺย์ อันหมายถึง ขุมหนึ่งในนรกญะฮันนัมที่ก้นของมันลึกและรสชาติ (หรืออาหาร) ของมันเลวยิ่งนัก


และพระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงดำรัสในอีกอายะฮฺหนึ่งว่า
(فَوَيْلٌ لِلْمُصَلِّيْنَ الذينَ هُمْ عَنْ صَلاَتِهِمْ سَاهُوْنَ) الماعون : ٤

“ดังนั้นความวิบัติมีแก่บรรดาผู้ละหมาดที่พวกเขาหลงลืมจากการละหมาดของพวกเขา” (อัลมาอูน : 4)


หมายถึง พวกเขาหลงลืมและเพิกเฉยต่อการละหมาด ท่านสะอฺด์ อิบนุ อบีวักก็อซ (ร.ฎ.) กล่าวว่า : ฉันได้ถามท่านร่อซู้ล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ถึงบรรดาผู้ที่หลงลืมจากการละหมาดของพวกเขา (ว่าหมายถึงอย่างไร?) ท่านร่อซู้ล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า : คือการล่าช้าเวลาละหมาด หมายถึง ล่าช้าในการละหมาดจนออกจากเวลาของมัน (ทัศนะที่มีน้ำหนักที่สุดระบุว่า หะดีษนี้เป็นคำพูดของท่านสะอฺด์)


พระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงเรียกชื่อพวกเขาว่าเป็นบรรดาผู้ปฏิบัติละหมาด (اَلْمُصَلِّيْنَ) แต่ทว่าเมื่อพวกเขากระทำเบาความและทำให้การละหมาดล่าช้าจนออกจากเวลาของมัน พระองค์จึงทรงคาดโทษพวกเขาด้วยกับวัยฺล์ (وَيْل) อันหมายถึง การลงทัณฑ์อันรุนแรง บ้างก็กล่าวว่า หมายถึง ขุมหนึ่งในนรกญะฮันนัม ซึ่งถ้าหากนำเอาบรรดาขุนเขาในโลกนี้ใส่ลงไปในขุมนี้ แน่นอนบรรดาขุนเขาเหล่านั้นก็จะหลอมละลายสิ้นเนื่องจากความร้อนที่รุนแรงของมัน


ขุมนรกนี้เป็นที่พำนักของบรรดาผู้เพิกเฉยและกระทำเบาความกับการละหมาด และทำให้การละหมาดล่าช้าจนออกจากเวลาของมัน ยกเว้นผู้ที่สำนึกผิดยังพระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) และเสียใจที่ต่อความบกพร่องของตน (The Mejor sins Al-KABA'IR ; By Muhammad Bin Uthman Adh-Dha habi, Rendered into English By Mohammed Moinuddin Siddiqui, ph D. p.34-35)



ดังกล่าวข้างต้นคือ ผลของการละหมาดไม่ตรงเวลา ซึ่งหากกระทำโดยเจตนาและไม่มีความจำเป็นหรืออุปสรรคพร้อมกับการเพิกเฉยและกระทำเบาความก็ถือเป็นบาปใหญ่ (كَبِيْرَة) ซึ่งจำเป็นต้องเตาบัตตัวโดยไม่รีรอ ส่วนการชดใช้ (กอฎออฺ) ละหมาดที่ขาดไปนั้น ถ้าหากว่าขาดไปเพราะลืมหรือนอนหลับ นักวิชาการเห็นพ้องกันว่า จำเป็นต้องกอฎออฺ (ชดใช้) ส่วนผู้ที่ละทิ้งการละหมาดโดยเจตนา ตามทัศนะของปวงปราชญ์ (ญุมฮู๊ร) ถือว่า ผู้นั้นมีความผิดและจำเป็นที่ผู้นั้นต้องชดใช้ (กอฎออฺ)


แต่นักวิชาการบางท่าน เช่น อิบนุตัยมียะฮฺ (ร.ฮ.) และอิบนุฮัซฺมิน ระบุว่า ไม่มีบัญญัติให้เขาผู้นั้น (ผู้ที่เจตนาละทิ้งการละหมาด) ทำการชดใช้ (กอฎออฺ) และถือว่าการละหมาดชดใช้ไม่เซาะฮฺ (ใช้ไม่ได้) -ฟิกฮุซซุนนะฮฺ ; อัซซัยยิด ซาบิก เล่มที่ 1 หน้า 297-300)


ซึ่งในประเด็นนี้สมควรที่จะยึดถือตามทัศนะของปวงปราชญ์เพราะเป็นสิ่งที่รอบคอบกว่า


والله أعلم بالصواب
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> ปัญหาศาสนา ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


Powered by phpBB ฉ 2001, 2002 phpBB Group







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.18 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ