ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
อนุรักษ์มรดกอิสลาม :: ดูกระทู้ - เรื่องของเต่า
อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก อนุรักษ์มรดกอิสลาม  
  เพื่อการอนุรักษ์มรดกอิสลาม      คำถามถามบ่อยของกระดานข่าว      ค้นหา      รายนามสมาชิก  
  · เข้าระบบ ข้อมูลส่วนตัว · เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ · กลุ่มผู้ใช้งาน  
เรื่องของเต่า

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> ปัญหาศาสนา
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Thu Apr 30, 2009 12:25 pm    ชื่อกระทู้: เรื่องของเต่า ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เข้าไปอ่านฟัตวาของท่านครูอัลอัซฮารีย์แห่งเว็บสะติวเด้นและเว็บมุสลิมไทย คุณครูตอบปัญหา เรื่องเต่า ว่า
1. เต่า มุสลิมรับประทานไม่ได้ เพราะอาหรับถือว่าสกปรกและเป็นอันตราย

http://www.sunnahstudent.com/forum/index.php?topic=2334.0

ขอวิจารณ์ว่า

การจะตอบว่า สิ่งใดหะลาล หรือ หะรอม เราจะตอ้งกลับไปดู คำตัดสินของ เจ้าของศาสนา คือ อัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา และสุนนะฮของผู้ที่เป็นศาสนทูต ของพระองค์ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม
ตามหลักนิติศาสตร์อิสลามนั้น ระบุไว้ว่า

الأصل في الأشياء الإباحة حتى يدل الدليل على التحريم

พื้นฐานในสิ่งต่างๆนั้น อนุญาต จนกว่า มีหลักฐานแสดงบอกว่า ต้องห้าม – อัลอัชบาอฮวัลนะซอฮีร หน้า 60

ท่านร่อซู้ล (ซ.ล.) ที่รายงานโดยติรมีซีย์และฮากิม กล่าวว่า

الحلال ما أحلّ الله في كتابه، والحرام ما حرّم الله في كتابه، وما سكت عنه، فهو مما عفا عنكم

สิ่งที่อนุญาติคือสิ่งที่ระบุว่าอนุญาติในอัลกุรอาน และสิ่งที่ฮารอมคือสิ่งที่ระบุว่าฮารอมในอัลกุรอานและสิ่งใดที่ไม่ถูกระบุถือว่ าสิ่งนั้นอนุโลมให้แก่ท่าน

عن أبي الدرداء رضى الله عنه مرفوعا : " ما أحل الله في كتابه فهو حلال ، وما حرم فهو حرام ، وما سكت عنه فهو عفو ، فاقبلوا من الله عافيته . فإن الله لم يكن لينسى شيئا ، وتلا : { وما كان ربك نسيا

รายงานจาก อบี อัดดัรดาอ์ ว่า ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ศ็อลลัลลอฮฺอลัยฮิว่าซัลลัม กล่าวว่า


وما أحل الله فى كتابه فهو حلال وما حرم فهو حرام ، وما سكت عته فهو عفو ، فأقبلوا من الله عافيته ، فإن الله لم يكن لينسى شيئا ، ثم تلا ( وما كان ربك نسيا


"สิ่งที่อัลเลาะฮ์ทรงอนุมัตในคำภีร์ของพระองค์นั้น คือสิ่งที่หะลาล และสิ่งที่พระองค์ทรงห้ามนั้น คือสิ่งที่หะรอม และสิ่งที่พระองค์ทรงนิ่งจากมัน ย่อมเป็นการอนุโลมให้ ดังนั้น พวกท่านตอบรับการผ่อนปรนของพระองค์เถิด เพราะแท้จริงแล้ว อัลเลาะฮ์ไม่ทรงเคยลืมเลย จากนั้นท่านร่อซูลได้อ่านอายะฮ์ที่ว่า "และพระผู้อภิบาลของเจ้านั้น ไม่ทรงลืม" (1)


--------------------
(1)
أخرجه الحاكم في " المستدرك " ( 2 / 375 - طبعة دار الكتاب العربي ) وقال : " صحيح الإسناد " . ووافقه الذهبي ، وحسنه الألباني .
انظر تخريج ذلك في كتاب ( غاية المرام في تخريج أحاديث الحلال والحرام )
للشيخ الألباني - رحمه الله - ( 2 ، 3 ، 4 )

………………………..

เพราะฉะนั้น การจะตัดสินว่า “เต่าบริโภคไม่ได้ หะรอม ผู้ตอบจะต้องดูก่อนว่ามีหลักฐานห้ามหรือไม่ ไม่ใช่อ้างว่า ชาวอาหรับไม่ชอบ เพราะการอ้างแบบนี้ คือ ความเห็น
มาดูฟัตวาเกี่ยวกับ เรื่องนี้


السؤال
ماحكم أكل السلحفاة والضبع ؟
ถาม
การบริโภคเต่าและสุนัขทะเลทราย มีข้อตัดสินว่าอย่างไร?
الفتوى

الحمد لله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد:
فالصحيح عند أهل العلم -إن شاء الله - جواز أكل السلحفاة بحرية كانت أو برية لأن الله جل وعلا يقول : (كلوا مما في الأرض حلالاً طيباً ).[ البقرة: 168]. مع قوله : (وقد فصل لكم ما حرم عليكم ). [الأنعام: 119]. ولم يفصل لنا تحريم السلحفاة فهي حلال كلها، وهذا مذهب فقهاء المدينة وكثير من أهل العلم، ومنهم من أجاز أكل البحرية دون البرية، ومن العلماء من منع أكلها مطلقاً. وأما الضبع فالصحيح عند أهل العلم أنها مباحة الأكل وهو الصحيح من مذهب الشافعية والحنابلة، وكره المالكية أكلها ولم يحرموه ، وقال الحنفية بالتحريم. ودليل الإباحة: ما رواه أحمد وأبو داود والنسائي وابن ماجه والترمذي من حديث جابر بن عبد الله أنه سئل عن الضبع فأمر بأكلها فقيل له : أصيد هي؟ فقال : نعم، فقيل له : أسمعته من رسول الله صلى الله عليه وسلم ؟ قال: نعم .[ وقال الترمذي حسن صحيح] . والله تعالى أعلم

ตอบ

มวลการสรรเสริญเป็นของอัลลอฮ และขอให้พรและควาสันติสุขจงประสบแด่รซูลุลลอฮ และดังนั้น

ที่ถูกต้องในทัศนะของนักวิชาการ – อินชาอัลลอฮ
อนุญาตให้รับประทานเต่า ไม่ว่าจะเป็นเต่าทะเลหรือเต่าบก เพราะอัลลอฮ ผู้ทรงเกรียงไกร ผู้ทรงสูงส่ง ตรัสว่า
(พวกเจ้าจงจงบริโภคสิ่งอนุมัติที่ดี ๆ จากสิ่งที่อยู่ในแผ่นดิน) – อัลบะเกาะฮเราะ/168 ,พร้อมกับคำตรัสของพระองค์ที่ว่า (ทั้งๆ ที่พระองค์ทรงแจกแจงแก่พวกเจ้าแล้ว ซึ่งสิ่งที่พระองค์ได้ทรงห้ามแก่พวกเจ้า) และพระองค์ไม่ได้ทรงแจกแจงแก่เราว่าเตาเป็นที่ต้องห้าม เพราะฉะนั้น มันเป็นสิ่งที่หะลาล ทั้งหมด และนี้คือ มัซฮับฟุเกาะฮาอฺ(นักนิติศาสตร์อิสลาม)แห่งมะดีนะฮ และบรรดานักวิชาการส่วนมาก และส่วนหนึ่งจากพวกเขา คือ ผู้ที่อนุญาตให้บริโภคเต่าทะเลได้แต่ไม่อนุญาตเต่าบก และส่วนหนึ่งจากอุลามาอฺ ห้ามบริโภคมันทั้งหมดโดยไม่มีข้อแม้ และสำหรับสุนัขทะเลทรายนั้น ที่ถูกต้อง(เศาะเฮียะ)ในทัศนะของนักวิชาการ นั้นอนุญาตให้บริโภคได้ และมันเป็นทัศนะที่ถูกต้องจากมัซฮับของนักวิชาการสายชาฟิอียะฮและหะนาบะฮละฮ และนักวิชาการสายมาลิกียะฮ กล่าวว่าเป็นมักรูฮ และพวกเขาไม่ได้ถือว่ามันเป็นสิ่งต้องห้าม (หะรอม)และนักวิชาการสายหะนะฟียะฮ กล่าวว่า หะรอม(ห้ามบริโภค) และหลักฐานที่แสดงว่า อนุญาต(ให้บริโภคเนื้อสุนัขทะเลทรายได้)คือ หะดิษรายงานโดย อิหม่ามอะหมัด,อบูดาวูด,นะสาอีย์อิบนุมาญะฮและอัตติรมิซีย์ จากญาบีร บิน อับดุลลอฮว่า “เขาถูกถามเกี่ยวกับสุนัขทะเลทราย แล้วเขาใช้ให้บริโภคมัน และมีผู้ถามเขาว่า “ท่านได้ล่ามันเองหรือ ? เขา(ญาบีร)ตอบว่า “ครับ”และมีผู้ถามเขาว่า “ท่านได้ยินมันจากรซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมหรือ? เขา(ญาบีร บิน อับดุลลอฮ) กล่าวตอบว่า “ครับ”(อิหม่ามอัตติรมิซีย์กล่าวว่า เป็นหะดิษหะซัน อีกทั้งเศาะเฮียะ) - วัลลอฮุอะลัม


http://216.176.51.23/ver2/Fatwa/ShowFatwa.php?lang=A&Id=121&Option=FatwaId

يقول الدكتور عبد الله الفقيه مشرف شبكة الفتوى الفقهية :
السلحفاة نوعان: بحرية، وبرية
فأما البحرية منها، فيجوز أكلها لعموم قوله تعالى: (أُحِلَّ لَكُمْ صَيْدُ الْبَحْرِ) المائدة:96 .
ولقوله صلى الله عليه وسلم: "هو الطهور ماؤه، الحل ميتته" رواه أصحاب السنن .
قال البخاري في كتاب الذبائح والصيد: باب قول الله تعالى: (أُحِلَّ لَكُمْ صَيْدُ الْبَحْرِ)، ثم قال رحمه الله: ولم ير الحسن بالسلحفاة بأساً. والأحوط أن تذبح خروجا من الخلاف
وأما السلحفاة البرية، فلا يجوز أكلها، إلا بعد ذبحها .
قال ابن قدامة: كل ما يعيش في البر من دواب لا يحل بغير ذكاة، كطير الماء، والسلحفاة... وقال أحمد: كلب الماء يذبح، ولا أرى بأساً بالسلحفاة إذا ذبح ، والرق يذبح. (والرق: السلحفاة العظيمة، كما جاء في فقه اللغة للثعالبي

والله أعلم

ดร. อับดุลลอฮ อัลฟะกีฮ มุชัรรอฟ แห่งเว็บ อัลฟัตวาอัลฟิกฮียะฮ กล่าวว่า
เตานั้น แบ่งออกเป็นสองชนิด คือ เต่าทะเล และเต่าบก สำหรับ เต่าทะเลนั้น อนุญาตให้บริโภคมันได้ เพราะคำตรัสของอัลลอฮ ที่ตรัสเอาไว้แบบกว้างๆว่า (ได้ถูกอนุมัติแก่พวกเจ้า ซึ่งสัตว์ล่าในทะเล) – อัลมาอิดะฮ/96

และเพราะท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า (น้ำทะเลนั้นสะอาด,สัตว์ทะเลที่ตายนั้นหะลาล” –รายงานโดย บรรดาเจ้าของสุนัน

อัลบุคอรีย์ ได้กล่าวเอาไว้ใน เรื่อง อัซซะบาเอียะหฺวัศศอ็ยดุ บทว่า ด้วยคำตรัสของอัลลอฮตะอาลาที่ว่า(ได้ถูกอนุมัติแก่พวกเจ้า ซึ่งสัตว์ล่าในทะเล) หลังจากนั้นท่านอิหม่ามบุคอรีกล่าวว่า “ อัลหะซัน(อัลบัศรีย์) ไม่เห็นว่าเต่านั้น เป็นสิ่งเลวร้าย (หมายถึงเป็นสิ่งต้องห้าม) และที่ปลอดภัยที่สุด ควรเชือดเสียก่อน เพื่อให้ออกจากกรณีการขัดแย้งของนักวิชาการ(คิลาฟ) และสำหรับ เต่าที่อยู่บนบกนั้น ไม่อนุญาตให้บริโภคมัน นอกจากหลังจากเชือดมันเท่านั้น

อิบนุกุดามะฮ กล่าวว่า “ ทุกสิ่งที่ดำรงชีวิตอยู่บนบก จากบรรดาสัตว์ ไม่อนุญาต(ให้บริโภค)โดยปราศจากการเชือด เช่น นกน้ำ และเต่า....

อิหม่ามอะหมัด กล่าวว่า “หมาน้ำ นั้น ต้องเชือดเสียก่อน และข้าพเจ้าไม่เห็นว่าเต่านั้น เลวร้าย(ต้องห้าม) เมื่อมันได้ถูกเชือดแล้ว และ อัรรอ็ก นั้น ต้องเชือดเสียก่อน (อัรรอ็ก คือ เต่าทะเลขนาดใหญ่)(1) ดังปรากฏใน หนังสือฟิกฮุลลุเฆาะฮ ของ อัษษะอาละบีย์ – วัลลอฮุอะอฺลัม

http://www.islamonline.net/servlet/Satellite?pagename=IslamOnline-Arabic-Ask_Scholar/FatwaA/FatwaA&cid=1122528618060
……………..

(1)ดู รายละเอียดจาก อัลมุฆนีย์ เล่ม 7 หน้า 338

............

จากที่กล่าวมาข้างต้น ไม่ได้ตำหนิอาจารย์อัลอัซอารีย์ แต่แนะนำว่า ควรจะรอบคอบในการตอบปัญหา ไม่ควรจะเป็นแบบโต๊ะครูใดโนเสาร์ที่ตัดสินเรื่อง หะลาลและหะรอม ตามอารมณ์ และที่เป็นฟิตนะฮฮคือ มีคนใช้นามแฝงว่า Reyes เอาฟัตวาของ อ. อัลอัซอารี ไปโพสต์โจมตี อ.มุรีด ในเว็บบอร์ดมุสลิมไทย ที่ตอบปัญหาว่า ว่า เต่าหะลาล โดยคุณ Reyes มีอคติและบ่งบอกถึงความโง่เง่าไร้ความเข้าใจในศาสนา

................

والله أعلم بالصواب

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย asan เมื่อ Thu Apr 30, 2009 4:32 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Thu Apr 30, 2009 12:38 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ภาพของ สุนัขป่าทะเลทรายและเต่า


250px-HyenaTanzania.jpg
 คำจำกัดความ:
 ขนาดไฟล์:  17.62 กิโลไบต์
 เข้าชม:  6289 ครั้ง

250px-HyenaTanzania.jpg



_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Thu Apr 30, 2009 12:39 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เต่า


images.jpg
 คำจำกัดความ:
 ขนาดไฟล์:  3.95 กิโลไบต์
 เข้าชม:  6287 ครั้ง

images.jpg



_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sun May 03, 2009 4:47 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

--------------------------------------------------------------------------------
حكم أكل السلحفاة والتمساح والقنفد

س - هل يحل أكل الحيوانات الآتية السلحفاة ، فرس البحر ، التمساح ، القنفذاء أم هي حرام أكلها ؟

ج- أما القنفذ فحلال أكله لعموم آية " قل لا أجد فيما أوحى إلى محرما على طاعم يطعمه إلا أن يكون ميتة أو دما
مسفوحا أو لحم الخنزير فإنه رجس أو فسقا أهل لغير الله به " . ولأن الأصل الجواز حتى يثبت ما ينقل عنه . وأما السلحفاة فقال جماعة من العلماء يجوز أكلها ولو لم يذبح لعموم قوله – تعالى - " أحل لكم صيد البحر وطعامه" وقول النبي ، - صلى الله عليه وسلم - ، " هو الطهور ماؤه الحل ميتته " . لكن الأحوط ذبحها خروجا من الخلاف ، أما التمساح فقيل يؤكل كالسمك لعموم ما تقدم من الآية والحديث ، وقيل " لا يؤكل لكونه من ذوات الأنياب من السباع ، والراجح الأول . وأما فرس البحر فيؤكل لما تقدم من عموم الآية والحديث ، وعدم وجود المعارض ، ولأن فرس البر حلال بالنص ففرس البحر أولى بالحل .

اللجنة الدائمة(3/538)

หุกุมว่าด้วยการบริโภคเต่า,จระเข้และ เม่น

ถาม

การบริโภคสัตว์ต่อไปนี้ อนุญาตหรือไม่ คือ เต่า,จระเข้และเม่น หรือมันห้ามบริโภค?

ตอบ


สำหรับ เม่นนั้น อนุญาตให้บริโภคได้ เพราะความหมายที่ระบุโดยกว้างๆของอายะฮที่ว่า “


قُلْ لَا أَجِدُ فِي مَا أُوحِيَ إِلَيَّ مُحَرَّمًا عَلَى طَاعِمٍ يَطْعَمُهُ إِلَّا أَنْ يَكُونَ مَيْتَةً أَوْ دَمًا مَسْفُوحًا أَوْ لَحْمَ خِنْزِيرٍ فَإِنَّهُ رِجْسٌ أَوْ فِسْقًا أُهِلَّ لِغَيْرِ اللَّهِ بِهِ

จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ว่า ฉันไม่พบว่าในสิ่งที่ถูกให้เป็นโองการแก่ฉันนั้น มีสิ่งต้องห้ามแก่ผู้บริโภคที่จะบริโภคมัน นอกจากสิ่งนั้นเป็นสัตว์ที่ตายเอง หรือเลือดที่ไหลออกหรือเนื้อสุกรแท้จริงมันเป็นสิ่งโสมม หรือเป็นสิ่งละเมิด ซึ่งถูกเปล่งนามอื่นจากอัลลอฮ์ที่มัน – อันอันอาม/145

เพราะหลักพื้นฐานของมันนั้น อนุญาต จนกว่าจะมีรายงานจากมันมายืนยัน(ว่าห้าม)
สำหรับเต่านั้น นักวิชาการคณะหนึ่ง กล่าวว่า “อนุญาต ให้บริโภคมันได้ แม้จะไม่ถูกเชือดก็ตาม เพราะความหมายกว้างๆของคำดำรัสของอัลลอฮที่ว่า

أحل لكم صيد البحر وطعامه

“ได้ถูกอนุมัติแก่พวกเจ้า ซึ่งสัตว์ล่าในทะเลและอาหารของมัน “ และคำพูดของนบี สอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมที่ว่า “ น้ำทะเลนั้นสะอาด ,สัตว์ทะเลที่ตายนั้นหะลาล” แต่ ที่ปลอดภัยที่สุด ควรเชือดเสียก่อน เพื่อให้ออกจากการคิลาฟ(ความเห็นขัดแย้งของนักวิชาการ) สำหรับ จระเข้นั้น มีผู้กล่าวว่า บริโภคได้ เช่นเดียวกับ ปลา เพราะหลักฐานที่มีความหมายกว้างๆ(อุมูม) จากอายะฮอัลกุรอ่านและหะดิษที่กล่าวมาก่อนหน้านี้ และมีผู้กล่าวว่า “ บริโภคไม่ได้ เพราะเป็นสัตว์ดุร้ายที่หากินด้วยกรงเล็บ และทัศนะที่มีน้ำหนัก คือ ทัศนะแรก
และสำหรับม้าน้ำ นั้น บริโภคได้ ปลา เพราะหลักฐานที่มีความหมายกว้างๆ(อุมูม) จากอายะฮอัลกุรอ่านและหะดิษ ที่กล่าวมาก่อนหน้านี้ และไม่มีการคัดค้าน (ของนักวิชาการ)เพราะ ม้าที่อาศัยบนบก ก็หะลาล ด้วยหลักฐาน เพราะฉะนั้น ม้าน้ำ ก็สมควรที่จะหะลาลยิ่งกว่า”
- ฟัตวาอัลลุจญนะฮ เล่ม 3 หน้า 538

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> ปัญหาศาสนา ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


Powered by phpBB ฉ 2001, 2002 phpBB Group







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.10 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ