ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
อนุรักษ์มรดกอิสลาม :: ดูกระทู้ - คุณค่าของการถือศีลอด
อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก อนุรักษ์มรดกอิสลาม  
  เพื่อการอนุรักษ์มรดกอิสลาม      คำถามถามบ่อยของกระดานข่าว      ค้นหา      รายนามสมาชิก  
  · เข้าระบบ ข้อมูลส่วนตัว · เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ · กลุ่มผู้ใช้งาน  
คุณค่าของการถือศีลอด

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> เรื่องทั่วไป
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Fri Sep 14, 2007 10:07 pm    ชื่อกระทู้: คุณค่าของการถือศีลอด ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คุณค่าของการถือศีลอด
1. การถือศีลอดเป็นหนทางสู่การตักวา
ดังที่อัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลาตรัสว่า
يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ كُتِبَ عَلَيْكُمُ الصِّيَامُ كَمَا كُتِبَ عَلَى الَّذِينَ مِن قَبْلِكُمْ لَعَلَّكُمْ تَتَّقُونَ
[2.183] บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย! การถือศีลอด นั้นได้ถูกกำหนดแก่พวกเจ้าแล้ว เช่นเดียวกับที่ได้ ถูกกำหนดแก่บรรดาผู้ที่อยู่ก่อนหน้าพวกเจ้า เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้ยำเกรง
อิหม่ามอัลบัฆวีย์ อธิบายว่า
﴿لَعَلَّكُمْ تَتَّقُونَ﴾ يعني بالصوم ؛ لأن الصوم وصلة إلى التقوى لما فيه من قهر النفس وكسر الشهوات
(เพื่อพวกเจ้าจะได้ยำเกรง) หมายถึง ด้วยการถือศีลอด เพราะการถือศีลอด นั้น นำไปสู่การตักวา(การยำเกรง) เพราะในการถือศีลอดนั้น เป็นส่วนหนึ่งจากการบังคับตนเองและการทำลายความปรารถนาของตัญหา – ตัฟสีรมาอาลิมุลตันซีล 1/196
อิบนิกะษีร อธิบายว่า
لأن الصوم فيه تزكية للبدن وتضييق لمسالك الشيطان
เพราะในการถือศีลอดนั้น เป็นการขัดเกลาร่างกายให้บริสุทธิ์และเป็นการปิดทางเดินของมารร้ายให้แคบลง – ตัฟสีรอิบนิกะษีร 1/318
2. อัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ได้เตรียมการอภัยโทษและผลตอบแทนอันยิ่งใหญ่แก่บรรดาผู้ถือศีลอด
إِنَّ الْمُسْلِمِينَ وَالْمُسْلِمَاتِ وَالْمُؤْمِنِينَ وَالْمُؤْمِنَاتِ وَالْقَانِتِينَ وَالْقَانِتَاتِ وَالصَّادِقِينَ وَالصَّادِقَاتِ وَالصَّابِرِينَ وَالصَّابِرَاتِ وَالْخَاشِعِينَ وَالْخَاشِعَاتِ وَالْمُتَصَدِّقِينَ وَالْمُتَصَدِّقَاتِ وَالصَّائِمِينَ وَالصَّائِمَاتِ وَالْحَافِظِينَ فُرُوجَهُمْ وَالْحَافِظَاتِ وَالذَّاكِرِينَ اللَّهَ كَثِيراً وَالذَّاكِرَاتِ أَعَدَّ اللَّهُ لَهُم مَّغْفِرَةً وَأَجْراً عَظِيماً
[33.35] แท้จริง บรรดาผู้นอบน้อมชายและหญิง บรรดาผู้ศรัทธาชายและหญิง บรรดาผู้ภักดีชายและหญิง บรรดาผู้สัตย์จริงชายและหญิง บรรดาผู้อดทนชายและหญิง บรรดาผู้ถ่อมตัวชายและหญิง บรรดาผู้บริจาคทานชายและหญิงบรรดาผู้ถือศีลอดชายและหญิง บรรดาผู้รักษาอวัยวะเพศของพวกเขาที่เป็นชายและหญิง บรรดาผู้รำลึกถึงอัลลอฮ์อย่างมากที่เป็นชายและหญิงนั้น อัลลอฮได้เตรียมการอภัยโทษและการตอบแทนอันยิ่งใหญ่ให้แก่พวกเขา”
.......
อินชาอัลลอฮมีต่อ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Fri Sep 14, 2007 10:48 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

3. การถือศีลอดเป็นโล่ห์(ป้องกันความชั่ว)
عن أبي هريرة رضي الله عنه قال قال رسول الله صلى الله عليه وسلم (قال الله كل عمل ابن آدم له إلا الصيام، فإنه لي وأنا أجزي به، والصيام جُنّة، وإذا كان يوم صوم أحدكم فلا يرفث ولا يصخب، فإن سابّه أحد أو قاتله فليقل إني امرؤ صائم، والذي نفس محمد بيده لخلوف فم الصائم أطيب عند الله من ريح المسك، للصائم فرحتان يفرحهما إذا أفطر فرح، وإذا لقي ربه فرح بصومه
รายงานจากอบีฮุรัยเราะฮ (ร.ฎ)ว่า รซูลุ้ลลอฮ Solallah กล่าวว่า (อัลลอฮตรัสว่า ทุกการงานของมนุษย์นั้น เป็นสิทธิ์ของเขา ยกเว้นการถือศีลอด มันเป็นของข้าและข้าจะตอบแทนมันเอง และการถือศีลอดนั้น เป็นโล่ห์ (ป้องกันความชั่ว) และเมื่อวันถือศีลอด เป็นของคนใดในหมู่พวกท่าน เขาจงอย่าพูดจาหยาบคายและอย่าพูดจาก้าวร้าว แล้วหากมีผู้ใดด่าว่าเขาหรือชวนเขาทะเลาะ เขาจงกล่าวว่า “ฉันเป็นผู้ที่กำลังถือศีลอด “และขอสาบานด้วยพระเจ้าผู้ซึ่งชีวิตมุหัมหมัด อยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ อันที่จริงกลิ่นปากของคนถือศีลอดนั้น ณ อัลลอฮแล้ว หอมยิ่งกว่ากลิ่นชะมดเชียงเสียอีก สำหรับผู้ถือศีลอดนั้น มีความดีใจอยู่สองวาระ ซึ่งเขาดีใจต่อมันทั้งสอง เมื่อเขาแก้ศีลอด เขาก็ดีใจและเมื่อเขาได้พบพระเจ้าของเขา เขาก็ดีใจด้วยการถือศีลอดของเขา” บันทึกโดย บุคอรี หะดิษหมายเลข 1904 และมุสลิม หะดิษหมายเลข 1151
อิบนุอับดิลบีรริ กล่าวว่า
والجُنّة: الوقاية والستر من النار، وحسبك بهذا فضلاً للصائم
และคำว่า “ญุนนะฮ”คือ การรักษาและการปิดกั้นจากนรก และพอเพียงแล้วสำหรับท่าน ด้วยความโปรดปรานอันยิ่งใหญ่นี้ – อัตตัมฮีด 19/54
อัลกอฎีย์ อิยาด กล่าวว่า
"(جُنّة) أي سِتْر ومانع من الرفث والآثام أو مانع من النار وساتر منها أو مانع من جميع ذلك
ญุนนะฮ หมายถึง การปิดกั้น และ สิ่งที่ยับยั้ง จากคำพูดที่หยาบคายและเป็นบาป หรือ ยับยั้งจากนรก ปิดกั้นจากมันหรือยับยั้งจากทั้งหมดนั้น – อัลอิกมาล 4/110
อิบนุหะญัร กล่าวว่า
فالحاصل أنه إذا كفّ نفسه عن الشهوات في الدنيا كان ذلك ساتراً له من النار في الآخرة
สรุปว่า เมื่อเขายับยั้งตนเองจากการตามปรารถนาของตัณหา ในโลกนี้ ดังกล่าวนั้น ก็เป็นสิ่งปิดกั้นจากนรกให้แก่เขาในวันปรโลก - ฟัตหุ้ลบารีย์ 4/125
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sat Sep 15, 2007 6:57 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

4. การถือศีลอด จะขอความช่วยเหลือ(อัชชะฟาอะฮ)ต่ออัลลอฮ ให้แก่เจ้าของของมัน
عن عبد الله بن عمرو رضي الله عنهما عن النبي صلى الله عليه وسلم (الصيام والقرآن يشفعان للعبد يوم القيامة يقول الصيام أي رب منعته الطعام والشهوة فشفعني فيه، ويقول القرآن منعته النوم بالليل فشفعني فيه، قال: فيشفعان
รายงานจากอับดุลลอฮ บุตร อัมริน (ร.ฎ) จากท่านนบี Solallah ว่า การถือศีลอดและอัลกุรอ่าน มันทั้งสองจะขอความช่วยเหลือให้แก่บ่าว ในวันกิยามะฮ โดย การถือศีลอดกล่าวว่า “โอ้พระผู้อภิบาลของข้า พระองค์ท่านได้ห้ามไม่ให้เขารับประทานอาหารและห้ามไม่ให้สนองความต้องการของอารมณ์ ดังนั้นได้โปรดให้ข้าพระองค์ได้ให้การช่วยเหลือ(ชะฟาอะฮ) ในมัน และอัลกุรอ่านกล่าวว่า “พระองค์ท่านได้ห้ามเขาไม่ให้นอน ในตอนกลางคืน ดังนั้นได้โปรดให้ข้าพระองค์ได้ให้การช่วยเหลือ(ชะฟาอะฮ) ในมัน เขา(ท่านนบี)กล่าวว่า “แล้วมันทั้งสองได้ให้การช่วยเหลือ” - ดูที่มาของหะดิษข้างล่าง
رواه أحمد في مسنده ( 2 / 174 – 6626 )، والحاكم في المستدرك ( 1 / 740 )، وقال: " صحيح على شرط مسلم "، وقال الهيثمي في مجمع الزوائد ( 3 / 181 ): " رواه أحمد والطبراني في الكبير ورجال الطبراني رجال الصحيح "، وصححه الألباني في صحيح الترغيب ( 1 / 483 )، ولم أعثر عليه عند
الطبراني.
อัฏฏีบีย์ กล่าวว่า
والقول من الصيام والقرآن إما أن يُأَوَّل أو يجرى على ما عليه النص، هذا هو المنهج القويم والصراط المستقيم، فإن العقول البشرية تتلاشى وتضمحل عن إدراك العوالم الإلهية ولا سبيل لها إلا الإذعان له والإيمان به
และ คำพูดที่มาจาก การถือศีลอดและอัลกุรอ่านนั้น บางที่ได้มีการตีความ หรือไม่ก็ให้ดำเนินไปตามตัวบท นี้คือ หนทางที่มั่นคงและแนวทางที่เที่ยงตรง เพราะสติปัญญาของมนุษย์นั้น ไม่สามารถที่จะรับรู้ถึงความรอบรู้แห่งพระเจ้าได้เลย และไม่มีทาง สำหรับมันเลย นอกจากการยอมรับและศรัทธาต่อมันเท่านั้น -ดู ชัรหุ อัฏฏีบีย์ อะลัลมิชกาต เล่ม 4 หน้า 141
อัลมะลา อาลีกอรีย์ กล่าวว่า
" وهذا دليل على عظمتهما
และนี้คือ หลักฐานแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของมันทั้งสอง - ดู อัลมิรกอต อะลัลมิชกาต เล่ม 4 หน้า 454
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> เรื่องทั่วไป ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


Powered by phpBB ฉ 2001, 2002 phpBB Group







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.07 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ