ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
อนุรักษ์มรดกอิสลาม :: ดูกระทู้ - มัซฮับสะละฟีย์และมัซฮับทั้งสี่ (ภาคที่ 2)
อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก อนุรักษ์มรดกอิสลาม  
  เพื่อการอนุรักษ์มรดกอิสลาม      คำถามถามบ่อยของกระดานข่าว      ค้นหา      รายนามสมาชิก  
  · เข้าระบบ ข้อมูลส่วนตัว · เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ · กลุ่มผู้ใช้งาน  
มัซฮับสะละฟีย์และมัซฮับทั้งสี่ (ภาคที่ 2)
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 29, 30, 31, 32, 33  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   กระทู้นี้ถูกปิดคุณไม่สามารถแก้ไขคำตอบหรือตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักความเชื่อ
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
al-azhary
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 14/06/2005
ตอบ: 573
ที่อยู่: อียิปต์

ตอบตอบ: Mon Mar 13, 2006 7:35 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

salam

บังคนอยากรู้ครับ เมื่อเข้ามาแล้ว กรุณาเช็คและอ่าน "ข่าวสาร" ที่ผมส่งไปให้บังด้วยนะครับ


ถึงบังอะสัน

เรื่องอิจญมาอ์นั้น บังอะสันไม่น่าถามผมอย่างนั้นเลย อย่าว่าแต่ผู้รู้บ้านเราเลยครับ แม้กระทั้ง อิจญ์มาอ์ของชาวมะดีนะฮ์ ที่อิมามมาลิก นำมาใช้เป็นหลักฐานนั้น บรรดาอุลามาอ์ส่วนมากยังทำการโต้ตอบเลยครับ เช่นอิมาม อัชชาฟิอีย์ เป็นต้น แต่อิจญฺมาอ์ของชาวมะดีนะฮ์นั้น ก็มีรายละเอียดที่น่าสนใจพอสมควร แต่ก็ไม่ใช่เป้าหมายที่เราจะมาสนทนา

เรื่องสำคัญคือเรื่อง กิยาส ยังไงบังอะสันก็เผยหลักการของวะฮาบีย์มาเถิดครับ อย่างปกปิดเลย เพื่อจะได้รู้ว่า วะฮาบีย์มีหลักการอย่างไร ?


wassalam

_________________
นักศึกษามหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์ เข้าชมเว็บไซต์ Yahoo
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Mon Mar 13, 2006 9:03 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

น้อง konyakroo กล่าวว่า
ที่เวลาผมถามว่า บิดอะห์ แปลว่าอะไรก็ตอบไม่ได้
...........
เฮ้อ..น้องบ่าวเราไปมุดรูที่ใหน ลองอ่านนิยามบิดอะฮ ที่อาบัง ได้นำเสนอไปแล้ว เอาละ..นำมาเสนอให้น้องบ่าว อ่าน หากไม่เข้าใจ จะแปลให้
بدعة في العبادات كالتعبد لله بعبادة لم يشرعها وهي أقسام:
القسم الأول: ما يكون في أصلالعبادة: بأن يحدث عبادة ليس لها أصل في الشرع كأن يحدث صلاة غير مشروعةأصلاً أو أعيادا غير مشروعة كأعيادالموالد وغيرها.
القسم الثاني: ما يكون من الزيادة في العبادة المشروعة، كما لوزاد ركعة خامسة في صلاة الظهر أوالعصر مثلاً.
القسم الثالث: ما يكون فيصفة أداء العبادة المشروعة بأن يؤديها على صفة غير مشروعة ، وذلك كأداء الأذكار المشروعة بأصوات جماعية مطربة ، وكالتشديد على النفس في العبادات إلى حد يخرج عن سنةالرسول صلى الله عليه وسلم.
القسم الرابع : ما يكون بتخصيص وقت للعبادة المشروعة لم يخصصه الشرع كتخصيص يوم النصف من شعبان وليلته بصيام وقيام ، فإن أصلالصيام والقيام مشروع ولكن تخصيصه بوقت من الأوقات يحتاج إلى دليل.


........................
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Mon Mar 13, 2006 9:31 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เพิ่มเติม
البدعة في الشرع المطهر هي كل عبادة أحدثها الناس ليس لها أصل في الكتاب ولا في السنة ولا في عمل الخلفاء الأربعة الراشدين ، لقول النبي ، صلى الله عليه وسلم ( من أحدث في أمرنا هذا ما ليس منه فهو رد )

บิดอะฮใน บัญญัติอันบริสุทธิ์ (หมายถึงบิดในทางศาสนา)คือ ทุกอิบาดะฮ ที่มนุษย์อุตริขึ้นมาใหม่ โดยไม่มีที่มา ในอัลกุรอ่าน ในสุนนะฮ และ ในการกระทำของเคาะลิฟะทั้งสี่ เพราะนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า "ผู้ใดอุตริสิ่งใหม่ขึ้นมา ในกิจการ(ศาสนา)ของเรานี้ สิ่งซึ่ง ไม่ได้มีมาจากมัน มันถูกปฏิเสธ
فعليكم بسنتي وسنة الخلفاء الراشدين المهديين من بعدي
พวกท่านจงยึดมั่นในสุนนะฮของฉันและสุนนะฮเคาะลีฟะฮผู้ทรงธรรม ผู้ได้รับทางนำ หลังจากฉัน...

.............
หวังว่าคงไม่ต้องวกกลับไปที่เดิมอีก เพราะฉะนั้น น้องบ่าว ยกตัวอย่าวมาซิครับ ว่า บิดอะฮที่น้องบ่าวว่า ดี ที่ผู้คนบ้านเราคิดขึ้นมา นั้น ได้แก่อะไรบ้าง แล้วอธิบายหลักฐานประกอบ ผู้อ่านก็จะได้รู้ว่า โอ้..นายอะสัน หลงผิดเสียแล้ว ที่นี้แหละ น้อง konyakroo ก็นอ๊คบังอะสันได้ แบบนับสิบไม่ยกขึ้นเลย อย่างนี้ไม่ดีกว่าหรือ น้องบ่าวที่รัก



boxer_hook_lg_wm.gif
 คำจำกัดความ:
 ขนาดไฟล์:  43.55 กิโลไบต์
 เข้าชม:  9777 ครั้ง

boxer_hook_lg_wm.gif


กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Mon Mar 13, 2006 9:35 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

แต่บังอะสัน ก็ซ้อมอยู่ทุกวัน ดูซิครับ


boxer_punching_punching_bag_sm_wm.gif
 คำจำกัดความ:
 ขนาดไฟล์:  32.53 กิโลไบต์
 เข้าชม:  9776 ครั้ง

boxer_punching_punching_bag_sm_wm.gif


กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Konyakroo
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 16/01/2006
ตอบ: 244


ตอบตอบ: Mon Mar 13, 2006 9:35 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

salam บังฮะซัน
ว้าว มาแล้วสิ่งที่ผมต้องการ
Laughing ขอบคุณมากแต่ถ้าช่วยแปลเป็นภาษาไทยได้ด้วยยิ่งดีครับเพราะเว็บนี้มีคนไทยมุสลิมที่อ่านและแปลภาษาอาหรับ ไม่ออกเหมือนกับผมมากครับ

แปลให้ละเอียดเลยนะครับเดี๋ยวผมจะเช็คตามหลังและขอที่มาอ้างอิงด้วยครับ...ฮิๆๆๆๆ

กำเสียะๆๆมากคัก
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Konyakroo
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 16/01/2006
ตอบ: 244


ตอบตอบ: Mon Mar 13, 2006 9:41 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

บังฮะซันครับ


ชื่นใจมากเลยครับ ขอที่มาของคำนิยามในความหมายนี้ด้วยครับ อย่าลืมนะครับหลักฐานอ้างอิง

อย่างนี่ซิถึงจะคุยกันได้อีกนานฮิๆๆๆๆๆ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Mon Mar 13, 2006 9:52 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ลองอ่านดูนะน้องบ่าว
http://www.khayma.com/kshf/F/Ftawa.htm
http://www.assiraj.bizland.com/library/shirk.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Mon Mar 13, 2006 9:58 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ลองเอาหลักฐานเรื่องทำ เมาลิด ให้บังอะสันดูเป็นขวัญตาบ้างซิครับ น้อง บ่าวคนออยากรู้
โอะโอ๋ เย็บนิดเดียว ลุกขึ้นไม่ไหวเลยหรือ ฮิฮิ



boxer_knocked_down_sm_wm.gif
 คำจำกัดความ:
 ขนาดไฟล์:  12.61 กิโลไบต์
 เข้าชม:  9771 ครั้ง

boxer_knocked_down_sm_wm.gif


กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Tue Mar 14, 2006 6:36 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

น้อง konyakroo ครับ
น่าจะเอาหลักฐานมานำเสนอกันบ้าง ไม่ใช่วิจารณ์อย่างเดียว คือ อยากจะได้ข้อมูลจากท่านอาจารย์ konyakroo ที่ชอบวิจารย์คนอื่นบ้าง ไม่ใช่หยิบของคนนั้นที คนนี้ที

يقول ابن حجر رحمه الله : فالبدعة في عرف الشرع مذمومة بخلاف اللغة فإن كل شيء أحدث على غير مثال يسمى بدعة سواء كان محموداً أو مذموماً فتح الباري ج/13/253

อิบนิหะญัร ขออัลลอฮเมตตาต่อท่านกล่าวว่า
บิดอะฮ ในนิยามทางศาสนานั้น ถูกตำหนิ ซึ่งต่างกับบิดอะฮในทางภาษา ดังนั้นทุกสิ่งที่ถูกอิตริขึ้นใหม่ โดยไม่มีแบบอย่างมาก่อนนั้น เรียกว่า บิดอะฮ จะเป็นสิ่งที่ได้รับการสรรเสริญหรือ ได้รับการตำหนิก็ตาม - ดูฟัตหุ้ลบารีย์ เล่ม 13 หน้า 353
..............

ส่วนเรื่อง อัลกิยาสนั้น
وباب القربات يقتصر فيه على المنصوص، ولا يتصرف فيه بأنواع الأقيسة والآراء،

และเรื่อง กุรบาต(อิบาดะฮ)นั้น ถูกจำกัดอยู่บนหลักฐาน จะหันไปหาการกิยาสและความคิดเห็นใดๆไม่ได้ - ตัฟสีรอิบนิกะษีร เล่ม 4 หน้า 258
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Konyakroo
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 16/01/2006
ตอบ: 244


ตอบตอบ: Tue Mar 14, 2006 11:02 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

salam บังฮะซัน

ต้องขอบคุณ บังอีกครั้ง ที่ส่งความหมายของคำว่าบิดอะฮ์ในความเข้าในในอแนวทางของบัง
นี่ถือว่าเป็นก้าวแรกที่เราผู้อยู่ต่างทัศนะ..ของหลักฐานแต่ละฝ่าย มานำเสนอท่านผู้ชม

จากความหมายในเข้าใจของอุลามะในสายของบังกล่าว่า
salam البدعة في الشرع المطهر هي كل عبادة أحدثها الناس ليس لها أصل في الكتاب ولا في السنة ولا في عمل الخلفاء الأربعة الراشدين ، لقول النبي ، صلى الله عليه وسلم ( من أحدث في أمرنا هذا ما ليس منه فهو رد )

บิดอะฮใน บัญญัติอันบริสุทธิ์ (หมายถึงบิดในทางศาสนา)คือ ทุกอิบาดะฮ ที่มนุษย์อุตริขึ้นมาใหม่ โดยไม่มีที่มา ในอัลกุรอ่าน ในสุนนะฮ และ ในการกระทำของเคาะลิฟะทั้งสี่ เพราะนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า "ผู้ใดอุตริสิ่งใหม่ขึ้นมา ในกิจการ(ศาสนา)ของเรานี้ สิ่งซึ่ง ไม่ได้มีมาจากมัน มันถูกปฏิเสธ
فعليكم بسنتي وسنة الخلفاء الراشدين المهديين من بعدي พวกท่านจงยึดมั่นใน สุนนะฮของฉันและสุนนะฮเคาะลีฟะฮผู้ทรงธรรม ผู้ได้รับทางนำ หลังจากฉัน.

วิจารณ์
พี่น้องครับสิ่งบังฮะซันนำมานั้นอยู่ในพื้นฐานความเข้าใจของทัศนะและอุลามะในแนวทางวะฮาบีย์ที่บรรดาสานุศิษย์ของแนวทางนี้พยายามแปลความหมายให้ห็นว่า
---- อะไรก็ตามไม่ว่าเป็นการกระทำใดๆ หรือแบบอย่างซอฮาบะท่านใดถ้าไม่มีในอัลกรุอาน
และแบบฉบับของนบี และซุนนะคอลีฟะทั้ง4 แล้วทุกอย่างคือบิดอะทั้งหมด------

-------------นี่คือความเข้าใจ ในแนวทางของบังฮะซันและสหายวะฮาบีย์ครับพี่น้อง-------------

Laughing ที่นี่ผมจะนำหลักฐานที่แนวทางของอีหม่าม ชาฟีอิจากทัศนะ1ใน4 มาเปรียบเทียบให้พี่น้องดูเผื่อให้พี่น้องได้เห็นถึงรากศัพท์คำนี้อย่างชัดเจนว่า อะไรคือความถูกต้องที่มาสนับสนุนคำดังกล่าว และเพื่อให้พี่น้องต่างทัศนะได้แยกแยะในความแตกต่าง ในความหมายของคำนี้และเพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดในการมุ่งร้ายเพื่อสร้างฟิตนะต่อกัน..
ซึ่งแนวทางของเรานั้นการตีความใดนั้นๆต้องมีหลักฐานอ้างอิงในความหมายตัวคำๆนั้นทุกตัวอักษรโดย ความหมายนั้นต้องได้รับการยอมรับจากบรรดาอุลามะและ นักวิชาการส่วนมากในยุคนั้น จึงเป็นที่มาของคำว่านิยามคำนิยามนั้นๆ
และจากคำว่าบิดอะฮ์

Razz บิดอะฮ์ ตามหลักภาษาอาหรับอาหรับ คือคำนาม ที่มาจากคำว่า อิบติดาอ์ ( إبتداع ) หมายถึงการ ประดิษฐ์ขึ้นมาไหม่ ริเริ่มขึ้นมา หรือสิ่งที่เกิดขึ้นมาเป็นอันดับแรก

..................................โดยอ้างจากอัลกรุอ่าน ที่จากคำที่ว่า....................................

قل ما كنت بدعا من الرسل

Idea ความว่า "เจ้าจงกล่าวเถิดว่า ฉันไม่ใช่เป็นคนแรกจากบรรดาร่อซูล" (อัล-อะหฺกอฟ 9)
หมายถึง ฉันไม่ใช่เป็นบุคคลแรกจากผู้ที่ถูกส่งมา แต่บรรดาร่อซูลมากมายที่ถูกส่งมาก่อนฉัน

อักษร บาอฺ (ب) ดาลฺ (د) อัยนฺ (ع) อ่านว่า بَدَعَ มีความหมายว่า

1. ริเริ่มทำสิ่งหนึ่ง และประดิษฐ์สิ่งหนึ่ง ที่ไม่มีตัวอย่างมาก่อน

2. หยุดฉงัก หมดเรี่ยวแรง ( ดู มั๊วะญัม มะกอยีส ของอิบนุ ฟาริส เล่ม 1 หน้า 209)

ท่านอบู อัลบะกออ์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ อัล-กุลลียาต ว่า " บิดอะฮ์ คือการกระทำหนึ่งที่ไม่มีแบบอย่างมาก่อน " และความเข้าใจของนิยามนี้ คือ ทุกๆการกระทำหนึ่งที่ไม่มีแบบอย่างมาก่อน ไม่ว่าจะมีรากฐานที่มาแต่เดิม หรือไม่มี ก็ย่อมเป็นบิดอะฮ์ หลักฐานดังกล่าวคือ อัล-กุรอ่าน ได้กล่าวว่า

بديع السموات والأرض แ ละจากอายะที่ว่า

ความว่า "พระองค์ผู้ทรงประดิษฐ์บรรดาฟากฟ้าและแผ่นดิน" (อัล-บะก่อเราะฮ์ 117)

หมายความว่า "พระองค์ทรงประดิษฐ์ ทรงสร้างฟากฟ้าและแผ่นดิน โดยไม่มีตัวอย่าง (المثال) มาก่อน คือไม่มีรากฐานเดิม (الأصل) มาก่อน คำว่า ตัวอย่าง ใน ณ ที่นี้ ย่อมครอบคลุมถึง รากฐานเดิม และรูปแบบ เพราะอัลเลาะฮ์ทรงสร้างฟากฟ้าและแผ่นดิน จากการที่ไม่เคยมีมาก่อนเลยจากรากฐานเดิมที่มาพาดพิงถึง และไม่มีรูปแบบจาการประดิษฐ์ที่เหมือนกับมัน

قل ما كنت بدعا من الرسل

ความว่า "เจ้าจงกล่าวเถิดว่า ฉันไม่ใช่เป็นคนแรกจากบรรดาร่อซูล" (อัล-อะหฺกอฟ 9)
หมายถึง "ฉันไม่มีอะไร นอกจากได้มีตัวอย่าง (المثال) มาก่อนแล้ว และตัวอย่างนี้ ก็คือ บรรดานบีและบรรดาร่อซูล" ดังกล่าวจึงชี้ชัดแก่เราว่า แท้จริง บิดอะฮ์มี สอง ประเภท

1. บิดอะฮ์ที่มีรากฐานมาแต่เดิม

2. บิดอะฮ์ที่ไม่มีรากฐานมาแต่เดิม

ซึ่งได้บ่งชี้ตามนัยยะดังกล่าว จากคำตรัสของอัลเลาะฮ์(ซ.บ.) ที่ว่า

من يشفع شفاعة حسنة يكن له نصيب منها ومن يشفع شفاعة سيئة يكن له كفل منها

"ผู้ใดที่ให้ความช่วยเหลือที่ดี ก็จะเป็นของเขาซึ่งส่วนหนึ่งจากความดีนั้น และผู้ใดให้ความช่วยเหลือที่ชั่ว ก็จะเป็นของเขาซึ่งส่วนหนึ่งจากความชั่วนั้น "

คำว่า (شفاعة) นี้ หมายถึง ซุนนะฮ์และแนวทางที่อัลเลาะฮ์ทรงวางแนวทางไว้บนมัน และเป็นแนวทางที่ทุกๆศาสนาต้องดำเนินตาม และบนแนวทางนี้นั้น อัลกุรอานและซุนนะฮ์ได้ดำรงอยู่ และด้วยเหตุจากแนวทางนี้ บรรดาชารีอะฮ์ต่างๆได้มีมา เพื่อแยกแยะระหว่างความดีและความชั่ว ดังนั้น ผู้ที่กล่าวว่า มีบิดอะฮ์หะสะนะฮ์(บิดอะฮ์ที่ดี)นั้น เขาย่อมวินิจฉัยจากการนี้ ที่มาจากวิญญานและบรรดาเป้าหมายหรือเจตนารมณ์ของชาริอะฮ์

และในนิยามของคำว่าบิดอะฮ์ตามทัศนะของบรรดาอุลามาอ์ ทั่วไปที่มีความรู้ซึ่งเป็นที่ยอมรับของปวงปราชญ์

บรรดาอุลามาอ์ ได้จำกัดคำนิยามคำว่า "บิดอะฮ์" ไว้มากมาย

1. อิมามอัช-ชาฟิอีย์ (ร.ฏ.)เสียชีวิต ฮค.202 คือกลุ่มคนในยุคสลัฟอะศซอและฮ์ ท่านเป็นผู้แบ่งแยกคำๆนี้จากคำพูดของท่านบี เพื่อให้เราผู้ที่อยู่เบื้องหลังได้เข้าใจในความหมายนี้อย่างชัดเจนและทิ้งความคลุมเคลือ
หรือความไม่รู้ ที่นำมาปฏิบัติโดยไม่มีการศึกษาและค้นคว้าท ซึ่งอาจนำพาให้เกิดการหลงผิดได้

ท่านได้แบ่งและแยกแยะในคำว่าบิดอะฮ์ และสิ่งที่ต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาใหม่นั้น มี 2 ประเภท

(1) สิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่ ที่ขัดแย้งกับอัลกุรอาน ซุนนะฮ์ คำพูดที่ถูกรายงานมา และอิจญฺมาอ์ สิ่งที่นี้ย่อมเป็นบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลง

(2) สิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่จากคุณงามความดี ที่ไม่ขัดกับอันหนึ่งอันใดทั้งอัลกรุอ่านและซุนนะ คำพูดที่ถูกรายงานและอิจญมาฮ์นี้ และนี้ย่อมเป็นสิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่โดยไม่ถูกตำหนิ เรียกว่าบิดอะที่ดี

โดยอ้างที่ท่านอุมัรได้กล่าว เกี่ยวกับ(การรวม)ละหมาดตะรอวิหฺ ว่า
نعمت البدعة هذه
"เป็นบิดอะฮ์ที่ดี คือ(ตะรอวิหฺ) อันนี้"

หมายความว่า"การละหมาดตะรอวิหฺในคืนร่อมาฏอนนี้ คือสิ่งที่ทำขึ้นมาใหม่โดยที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และเมื่อมีการกระทำมาแล้ว ก็ไม่เป็นการค้านให้กับสิ่งที่กล่าวมา " และสายรายงานนี้ ซอเฮี๊ยะห์ ดู หนังสือ มะนากิบ อัช-ชาฟิอีย์ เล่ม1 หน้า 468 - 469
ท่านอบู นุอัยม์ ได้นำเสนอรายงานอื่นอีก ไว้ในหนังสือ หิลยะตุลเอาลิยาอ์ เล่ม 9 หน้า 113 ว่า "ท่านอิมามอัช-อัชชาฟิอีย์ กล่าวว่า บิดอะฮ์นั้น มี 2 ประเภท คือบิดอะฮ์ที่ถูกสรรเสริญ และบิดอะฮ์ที่ถูกตำหนิ ดังนั้น สิ่งที่สอดคล้องกับซุนนะฮ์ ย่อมเป็นสิ่งที่ถูกสรรญเสริญ และสิ่งที่ขัดกับซุนนะฮ์ ย่อมเป็นสิ่งที่น่าตำหนิ และอิมามชาฟิอีย์ ได้อ้างหลักฐานด้วยคำกล่าวของท่านอุมัร(ร.ฏ.)

2. ท่านอิบนุ หัซมิน (ร.ห.) เสียชีวิตปี 456 ฮ.ศ. คือสิ่งที่เป็นการปฏิบัติความดีงามและมีตัวบทกล่าวไว้ ในความหมายที่ครอบคลุมถึงการส่งเสริม(สุนัต)ให้กระทำ ถึงหากแม้นว่า การปฏิบัตินั้น จะไม่ได้ถูกำหนดไว้ในตัวบทก็ตาม และส่วนหนึ่งจากบิดอะฮ์ คือสิ่งที่ถูกตำหนิและผู้ปฏิบัติตาม ก็จะไม่ได้รับการผ่อนปรน ก็คือสิ่งที่มีหลักฐานมายืนยันว่ามันใช้ไม่ได้และผู้ที่ปฏิบัติก็ยังคงยืนกรานด้วยกับการกระทำมัน

Laughing ดังนั้น บรรดาบิดอะฮ์หะสะนะฮ์นั้น จึงถูกลงมติเห็นพร้องว่า อนุญาติให้กระทำได้ และหวังผลบุญ และมีการหวังผลบุญ สำหรับผู้ที่มีเจตนาที่ดี โดยที่บิดอะฮ์นั้น ต้องเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่และสอดคล้องกับกฏเกณฑ์ต่างๆของหลักศาสนา (ชะรีอะฮ์) และไม่มีข้อห้ามตามหลักศาสนาหากได้กระทำมัน (ดู อัลบาอิษ อะลา อินการิลบิดะอ์ วัลหะวาดิษ ของท่าน อบี ชามะฮ์ หน้า 93)

3.ท่านอบู ชามะฮ์ ได้ให้คำนิยามของบิดอะฮ์ที่ดี จากคำพูดของท่านที่ว่า "จึงถูกลงมติเห็นพร้องว่า อนุญาติให้กระทำได้" ซึ่งหมายถึงผู้ที่คำพูดของเขานั้น ถูกตอบรับในเรื่องการอิจญฺมาอ์ ดังนั้น ผู้ที่ไม่ถูกตอบรับด้วยกับคำพูดของเขา ก็ถูกคัดออกไป เช่นคำกล่าวของอิบนุตัยมียะฮ์ และผู้ที่มีแนวทางเดียวกับเขา ดังนั้น จึงไม่อนุญาติกับผู้ที่คัดค้านคำกล่าวนี้ เนื่องจากมันเป็นการแหวกมติของประชาชาติอิสลาม และการแหวกมติของประชาชาติอิสลามนั้น เป็นสิ่งที่หะรอม

4.ท่านอิบนุ อัล-อะษีร กล่าวว่า "บิดอะฮ์ มี 2 ประเภท คือบิดอะฮ์ที่อยู่ในทางนำ และบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลง ดังนั้น สิ่งที่ขัดแย้งกับสิ่งที่อัลเลาะฮ์และร่อซูล(ซ.ล.) ทรงใช้นั้น ย่อมอยู่ในกรอบของการตำหนิและปฏิเสธ และสิ่งที่เกิดขึ้นภายใต้การครอบคลุมสิ่งที่อัลเลาะฮ์ทรงใช้และส่งเสริม หรือสิ่งที่ร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) เรียกร้องและส่งเสริม ก็ย่อมอยู่ในกรอบแห่งการสรรญเสริญ"
จากนั้น ท่านอิบนุ อัล-อะษีร กล่าวว่า " บิดอะฮ์(จากคำกล่าวของท่านอุมัรนี้) แก่นแท้แล้ว คือซุนนะฮ์ เพราะท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) กล่าวว่า
عليكم بسنتى وسنة الخلفاء الراشدين

"จำเป็นบนพวกท่าน ด้วยซุนนะฮ์ของฉัน และซุนนะฮ์ของบรรดาคอลิฟะฮฺผู้ทรงธรรม"
และที่
ท่านร่อซุล กล่าวในฮาดิสที่ว่านั้นอีกว่า
إقتدوا بالذين من بعدى أبى بكر وعمر
"ทุกสิ่งที่ทำขึ้นใหม่นั้นเป็นบิดอะฮ์" คือ แท้จริง ท่านร่อซูล(ซ.ล.)หมายถึง ทุกๆสิ่งที่ขัดกับหลักพื้นฐาน(อุซูล)ต่างๆของชะริอะฮ์และไม่สอดคล้องกับซุนนะฮ์ "

จะเห็นได้ว่า ฮาดีสข้างต้นนี้ที่กลุ่มวะฮาบีย์ยกมาฮูกมพี่น้องอีกทัศนะหนึ่งนั้น มันหมายถึงบิดอะฮ์ที่ซัยยิอะหรือการกาะทำที่ไม่มีแบบอย่างมาก่อน และขัดกับพื้นฐานในฮูซุลต่างๆและหลักชารีอัตที่ไม่สอดคล้องกับซุนนะนบี ต่างหากละครับพี่น้อง

--------------------------------------------------------------------------------

Wink สรุปแล้วแนวทาง ของอีหม่ามชาฟีอี(รด)เป็นแนวทางที่มีความรอบคอบเรื่องศาสนา แม้กระทั้งความหมายต่างที่จะนำมาเป็นบรรทัดฐานในการปฏิบัติภาคผลของอิบาดัดที่ให้พระองค์พอใจนั้นต้องอาศัยการห้ความหมายจากบรรดาผู้รู้หรืออุลามะที่โลกอิสลามให้การยอมรับ
...โดยไม่ใช้การตัดสินของคนกลุ่มน้อยที่ไม่เป็นการยอมรับของบรรดาผู้รู้ในยุคอดีตหรือการความหมายที่ถูกต้องและชัดเจนที่ขาดองค์ประกอบในความรู้จริง มาตัดสินปัญหาใดๆที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดซึ่งจะนำแห่งความฟิตนะในศาสนาของอัลลออัสวัญญญัละฮ์

----------และในการตัดสินใดๆที่เป็นปัญห่คลาฟียะนั้นต้อง ผ่านบรรดาผู้รอบรู้ในการวินิจฉัยปัญหานั้นอย่างรอบคอบ โดยมาตรฐานของผู้มีความรู้ของชนรุ่นก้อนเท่านั้นที่ถือว่าเขาคือผู้ที่ทุ่มเทในการค้นคว้าที่ทำด้วยความอิคลาสใจ ไม่ใช่เอามาตรฐานของผู้รู้ในยุคหลังๆที่ไม่มีความรู้ที่ชำนาญในวิชาการนั้นแล้วมาตัดสินปัญห่คิลาฟียะที่มันเกิดมาตั้งแต่อดีตแล้ว ซึ่งคนรุ่นหลังไม่มีส่วนรับรู้ปัญหานั้นเลย เพียงแต่มาเจอหรือค้นพบข้อมูลทีหลังแล้วทำให้เกิดความสงสัยหรือลังเลเน้น และการสงสัยหรือลังเลนั้นมันเกิดจากการที่เราไม่ได้เรียนรู้ถึงประเด็นนั้นอย่างลึกซึ้ง

จึงทำให้มีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน

ตัวอย่าง ต่อไปนี้จะเปรียบเทียบให้พี่น้องให้เห็นอย่างชัดเจนกับความน่าเชื่อถือในตัวบุคคล

ระหว่าอีหม่ามชาฟีอี(รด) เป็นคนในยุคสลัฟที่มีความรู้ทุกสาขาแขนงของวิชากดารแป็นที่ยอมรับของแนวทางทั้ง4หรือมากกว่านั้นยุคที่มีการบริโภคด้านวิชาการอิสลามและเป็นผู้ที่มีความรู้ที่แท้จริง

ท่านิหม่ามอิบนุตัยมียะผู้ที่กลุ่มวะฮาบีย์ได้อ้าง ว่า ดำเนิน รอตามชนสลัฟ โดยยึดติดคำสอนของท่านอีม่ามฮัมบาลี(รด)ผู้เป็นศิย์ของท่านอีหม่ามชาฟีอิ(รด)และเป็นคนรุ่นถัดมาในชนสลัฟเช่นกัน

ซึ่งกลุ่มวะฮาบีย์จะยึดถือตามท่านผู้นี้เฉพาะ วิชาการด้านวิชาฟิกฮ์ของท่านเท่านั้น และยังยึดปัญหาบางอย่างจากการให้ความหมายของท่านอิบุตัยมียะและบรรดาสานุศิษย์ และในบางครั้งยังยึดข้อปลีกข้อย่อยของบางทัศนะที่กล่าวถึงมาใช้ในการตัดสินปัญหาด้วย

ดังนั้น ระหว่าความน่าเชื่อถือระหว่างท่านอีหม่ามอัชชาฟีอี(รด) กับท่นอิบนุตัยมียะนั้นแตกต่างกันอย่างไกลลิบเลยครับพี่น้อง.................................
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Tue Mar 14, 2006 12:42 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

น้อง konyakroo กล่าวว่า

ดังนั้น ระหว่าความน่าเชื่อถือระหว่างท่านอีหม่ามอัชชาฟีอี(รด) กับท่นอิบนุตัยมียะนั้นแตกต่างกันอย่างไกลลิบเลยครับพี่น้อง.................................

ตอบ
น้องบ่าว konyakroo ครับ บังอะสัน อ่านคำตอบของน้อง อ่านไป ยิ้มไป อนิจฉา ..ทำหน้าที่ตุลาการ ตัดสินเลยหรือว่า อิหม่ามชาฟิอีย์ ขลังกว่า อิบนุตัยมียะฮ น้องบ่าวอ่านแนวทางของท่านทั้งสองถ้วนถี่แล้วหรือ เพราะตลอดเวลาที่คุยกัน ก็เห็นเที่ยวไปยิบของคนนั้น ไปหยิบ ของคนนี้ อยากแนะนำให้ศึกษาให้มากว่านี้ เดี่ยวผู้อ่านเขาหัวเราะท่านตุลาการ konyakroo เอาได้นะครับ แล้วอีกนิยามหนึ่ง รู้สึกว่าท่านตุลาการยังไม่ได้วิจารณ์คือ


يقول ابن حجر رحمه الله : فالبدعة في عرف الشرع مذمومة بخلاف اللغة فإن كل شيء أحدث على غير مثال يسمى بدعة سواء كان محموداً أو مذموماً فتح الباري ج/13/253

อิบนิหะญัร ขออัลลอฮเมตตาต่อท่านกล่าวว่า
บิดอะฮ ในนิยามทางศาสนานั้น ถูกตำหนิ ซึ่งต่างกับบิดอะฮในทางภาษา ดังนั้นทุกสิ่งที่ถูกอิตริขึ้นใหม่ โดยไม่มีแบบอย่างมาก่อนนั้น เรียกว่า บิดอะฮ จะเป็นสิ่งที่ได้รับการสรรเสริญหรือ ได้รับการตำหนิก็ตาม - ดูฟัตหุ้ลบารีย์ เล่ม 13 หน้า 353
ท่านตุลาการ konyakroo อ้างอายะฮที่ว่า

من يشفع شفاعة حسنة يكن له نصيب منها ومن يشفع شفاعة سيئة يكن له كفل منها

( سورة النساء: من آية " 85 " )
"ผู้ใดที่ให้ความช่วยเหลือที่ดี ก็จะเป็นของเขาซึ่งส่วนหนึ่งจากความดีนั้น และผู้ใดให้ความช่วยเหลือที่ชั่ว ก็จะเป็นของเขาซึ่งส่วนหนึ่งจากความชั่วนั้น
........................................
นี้ หรือครับ หลักฐานเด็ด สำหรับสนับสนุนบิดอะฮ มาชาอัลลอฮ ท่านตุลาการเอ๋ย... ทำไมจึงเป็นเอามากถึงขนาดนี้ น้องบ่าวตุลาการครับ ระวังนะครับ การนำอายะฮกุรอ่านมาอ้างอิง เพื่อส่งเสริมให้คนทำบิดอะฮ มันจะกลับมาเล่นงานเอานะน้องจ๋า ..
وَقَالَ مُجَاهِد بْن جَبْر : نَزَلَتْ هَذِهِ الْآيَة فِي شَفَاعَات النَّاس بَعْضهمْ لِبَعْضٍ

ท่านมุญาฮิด บุตร ญับริ กล่าวว่า “ อายะฮนี้ ถูกประทานลงมาเกี่ยวกับ ให้การช่วยเหลือซึ่งกันและกันของ มนุษย์ - มุคตะศอรอิบนิกะษีร เล่ม 1 หน้า 418
หมายถึง อัลลอฮ(ซ.บ) ต้องการะสอนให้รู้ว่า หากช่วยเหลื่อในทางที่ดี ก็จะได้รับการตอบแทนใน ความดีนั้น อย่างท่านนบีกล่าวว่า
" اِشْفَعُوا تُؤْجَرُوا
พวกท่านจงช่วยเหลือกัน แล้วพวกท่านจะได้รับการตอบแทน - มุคตะศอรอิบนิกะษีร เล่ม 1 หน้า 418
และหากช่วยเหลือกันในทางที่ผิด เขาก็จะต้องรับผิดชอบความชั่ว จากการกระทำนั้นด้วย
................
แล้วมันเกี่ยวกับบิดอะฮ หะสะนะฮ ตรงใหน ล่ะครับท่านตุลาการ ไปศึกษาให้มากกว่านี้เถอะครับน้อง บังอะสัน ก็ยังศึกษาอยู่ตลอด เพราะอยากจะเป็นตุลาการอย่างน้องบ่าวเรามั้ง อีกอย่างหนึ่ง นักการศาสนา ไม่ใช่ เซียนพระ หรือ นักเล่นของเก่านะครับ ที่จะมาอวดกันว่า อันนี้รุ่นนั้น อันนั้นรุ่นนี้ แล้วสรุปว่า ใครเก่ากว่ากัน ฮะฮา
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
fais
มือเก่า
มือเก่า


เข้าร่วมเมื่อ: 01/09/2005
ตอบ: 84


ตอบตอบ: Tue Mar 14, 2006 1:38 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

salam
อ้างคุณkonyaru
ดังนั้น ระหว่าความน่าเชื่อถือระหว่างท่านอีหม่ามอัชชาฟีอี(รด) กับท่นอิบนุตัยมียะนั้นแตกต่างกันอย่างไกลลิบเลยครับพี่น้อง
...............
ผมขอถามว่า การเฝ้ากุโบร์และกิจกรรมเกี่ยวกับมัน เป็นบิดอะห์ฮาซานะห์หรือเปล่า
ท่านอีหม่าม ซาฟีอี(รฎ) เคยมีคำวินิฉัยเกี่ยวกับเรื่องนี้บ้างหรือเปล่าและวินิฉัยว่าอย่างไร

แค่เนี่ยะช่วยตอบด้วย หากว่าท่านเคยกระทำมัน
wassalam
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Konyakroo
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 16/01/2006
ตอบ: 244


ตอบตอบ: Tue Mar 14, 2006 4:20 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

บังฮะซันครับ


บิดอะฮ ในนิยามทางศาสนานั้น ถูกตำหนิ ซึ่งต่างกับบิดอะฮในทางภาษา ดังนั้นทุกสิ่งที่ถูกอิตริขึ้นใหม่ โดยไม่มีแบบอย่างมาก่อนนั้น เรียกว่า บิดอะฮ จะเป็นสิ่งที่ได้รับการสรรเสริญหรือ ได้รับการตำหนิก็ตาม - ดูฟัตหุ้ลบารีย์ เล่ม 13 หน้า 353

Laughing คำกล่าวของท่าน อิบนิหะญัร ขออัลลอฮเมตตาต่อท่านนั้นในหนังสือฟัตหุลบารีย์นั้น
ผมไม่จำเป็นต้องวิจารณ์อะไรท่านนี้ครับ เพราะท่านไม่ได้ค้านอะไรกับบิดอะที่ดีที่ท่านอุมัร(รด)ทำ แต่คำว่า บิดอะในนิยามทางศาสนานั้น มันหมายถึง บิดอะที่ลุ่มหลงต่างหากละครับ
แต่บังพยายามนำมันมาเพื่อตบตาพี่น้อง ว่านี่คือหลักฐานสนับสนุนที่เชื่อว่าทุกบิดอะฮ์คือการลุ่มหลง ในความเข้าใจของบังและสหายวะฮาบีย์
ผมไม่ทราบว่าบังได้อ่านคำวิจารณ์ของ อจ.อัลฟารุกและน้องอัลอัชฮารีย์ละเอียดหรือยัง
เพราะสิ่งที่นักศึกษาทั้งสองนำมาหักล้างนั้นมันเป็นทีมาที่เดียวกับของผม ดังนั้นผมคิดว่า หลักฐานในคำหักล้างนั้นถือว่า ขาวสะอาดแล้วครับ....หรือบังคิดว่ามันคนละประเด็นกัน ไม่ใช่ครับ
ดังนั้นบังจะเห็นว่า ในตำราของอีหม่ามชาฟีอี(รด) นั้นจะเป็นแนวทางเดียวกัน ครับเราไม่เอาอารมณ์ใฝ่ต่ำในการนำเสนอหลักฐานที่ เห็นว่าเข้าข้างตนเอง

หลักฐานที่บังยกมานั้น
บังครับ สำหรับเรา การที่จะเข้าว่า มันเป็นบิดอะฮ์ในเชิงภาษา หรือบิดอะฮ์ในเชิงศาสนา แต่ที่สำคัญสำหรับเราตรงนี้ บังจะยอมรับใหมครับว่า บิดอะฮ์(ทางภาษา)นั้น แบ่งออกเป็น บิดอะฮ์ซัยยิอะฮ์ และบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ โดยที่มีอุลามาอ์สะลัฟ อย่างอิมาม อัช-ชาฟิอีย์ได้กล่าวไว้ ว่า มีทั้ง บิดอะฮ์ที่ดี และ บิดอะฮ์ที่ถูกตำหนิ แล้วบัง จะยอมรับใหมล่ะครับ

บังครับ และคำกล่าวของ ท่านมุหัมมัด บิน อับดุลวะฮาบ ของบังในประโยคที่ 1)

ومتابعة الرسول فيها تخلع جميع البدع

"และการเจริญรอยตามท่านร่อซูล(ซ.ล.)ในการทำอิบาดะฮ์ ก็คือเป็นการถอดทั้งหมดของบรรดาบิดอะฮ์"
ในคำว่า"ทั้งหมดของบรรดาบิดอะฮ์" นี้ คือบิดอะฮ์ในเชิงศาสนา หรือในเชิงภาษา ครับ ? บัง จะต้องตอบอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้นว่า มันคือ "บิดอะฮ์ในเชิงศาสนา"
แต่ท่านมุหัมมัด บิน อับดุลวะฮาบ กล่าวต่ออีกว่าในประโยคที่ 2)

إلا بدعة لها أصل في الشرع

------------------------"นอกจาก บิดอะฮ์ ที่มีรากฐานในหลักศาสนาให้แก่มัน" -------------------------------

บิดอะฮ์ที่มีรากฐานในหลักศาสนา คือบิดอะฮ์ในเชิงหลักศาสนา หรือ บิดอะฮ์ในเชิงหลักภาษา ครับ ?

ขอถามจุดยืนของบังในสิ่งที่ท่านอิบนุ อับดลวะฮาบที่กล่าวมานั้น ว่าบังจะตอบยังไงว่ามัน
คือ บิดอะฮ์ตามหลักภาษาหรือ เชิงภาษาครับ

------------------คำถามนี้รู้สึกว่าน้องอัลอัชฮารีย์ก็เคยถามไปแล้วครั้งหนึ่งแต่บังก็ไม่ตอบอะไร ......

และข้างล่างนี้คือคถามของน้องอัลอัชฮารีย์ผมยกมาทวนให้บังได้อ่านอีกครั้งครับ

ผมก็อยากจะถามบังอะสันว่า เมื่อประโยค เมื่อประโยคที่สอง เป็น บิดอะฮ์ทางภาษา แล้วทำไมประโยคที่ 1 กลับกลายเป็น หลัก ศาสนาไปได้อย่างไร ? หรือประโยคที่ 1 เป็นบิดอะฮ์ทางหลักศาสนา แล้ว ประโยคที่ 2 มันเป็นบิดอะฮ์ทางหลักภาษาไปได้อย่างไร? ทั้งที่คำว่า "นอกจากบิดอะฮ์" นี้ ก็ถูกยกเว้นมาจาก คำว่า"ทั้งหมดของบิดอะฮ์" ที่อยู่ในเชิงของศาสนา แล้วอยู่ดีๆมันกลับกลายเป็น เชิงภาษาไปได้อย่างไร ? และคำว่า إلا بدعة คำว่า "เว้นแต่" " الإستثناء นี้ คือ الإستثناء المنقطع หรือ الإسنثناء المتصل ????

และหากบังอะสันยังยืนยันบอกว่า มันคือ บิดอะฮ์ตามหลักภาษา ผมก็อยากถามว่า บิดอะฮ์ในเชิงภาษาที่มีรากฐานในศาสนา นั้น เป็นบิดอะฮ์ที่ดีหรือไม่ ? และบิดอะฮ์ในเชิงหลักภาษามีบิดอะฮ์ที่ไม่ดีหรือไม่?
يقول ابن حجر رحمه الله : فالبدعة في عرف الشرع مذمومة بخلاف اللغة فإن كل شيء أحدث على غير مثال يسمى بدعة سواء كان محموداً أو مذموماً فتح الباري ج/13/253


บังครับพอจะสรุปและตอบคำถามของน้องอัลอัชฮารีย์ได้หรืไม่
ไม่ต้องให้ผมไปเอาหลักฐานใหม่ๆหรอกครับ แค่หลักฐานกับคำถามเก่าๆที่มันทับถมเหมือนดินพอกหางหมู

บังก็สะสมไว้เป็นกองมรดก ไม่ยอมตอบก็มากมายนับไม่ถ้วนครับ

ผมบอกแล้วว่า ตราบใดที่บังไม่ยอมตอบคำถาม

และหลักฐานที่บังยกในคำนิยามในคำว่าบิดอะของแนวทางของบัง

.............นั้นมันไม่ชัดเจน เพราะการอ้างอิงของบุคลที่บังกล่าวน้นไม่เป็นการยอมรับของนักวิชาการส่วนมากครับ.......................................
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Konyakroo
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 16/01/2006
ตอบ: 244


ตอบตอบ: Tue Mar 14, 2006 4:28 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

บังยกคำอ้างของท่านท่านมุญาฮิด บุตร ญับริ กล่าวว่า وَقَالَ مُجَاهِد بْن جَبْر : نَزَلَتْ هَذِهِ الْآيَة فِي شَفَاعَات النَّاس بَعْضهمْ لِبَعْضٍ
“ อายะฮนี้ ถูกประทานลงมาเกี่ยวกับ ให้การช่วยเหลือซึ่งกันและกันของ มนุษย์ - มุคตะศอรอิบนิกะษีร เล่ม 1 หน้า 418
หมายถึง อัลลอฮ(ซ.บ) ต้องการะสอนให้รู้ว่า หากช่วยเหลื่อในทางที่ดี ก็จะได้รับการตอบแทนใน ความดีนั้น อย่างท่านนบีกล่าวว่า
" اِشْفَعُوا تُؤْجَرُوا
พวกท่านจงช่วยเหลือกัน แล้วพวกท่านจะได้รับการตอบแทน - มุคตะศอรอิบนิกะษีร เล่ม 1 หน้า 418
และหากช่วยเหลือกันในทางที่ผิด เขาก็จะต้องรับผิดชอบความชั่ว จากการกระทำนั้นด้วย

ผมขอตอบว่าบังยกอะไรมานั้นต้องศึกษา คำอธิบายให้รอบคอบครับไม่ใช่อะไรก็ได้ที่เห็นว่า มันสอดคล้องกับความเห็นฉันแล้วฉันจะดึคงมาได้ทั้งนั้นครับ
ไม่ได้นะครับ ต้องดูวัตถุประสงค์ของอายะนี้ด้วยนะครับ

จริงแล้วท่านมุญาฮิดนั้นอธบายถึง การช่วยเหลือกันและกันของมนุษย์แบบครอบคลุมนั้นเอง

แล้วนี่บังยกอะไรมาครับ ที่เวลาอายะใดอะไรที่เข้าข้างหรือสอดคล้องกับความเห็นตัวเองแล้วยกมาเลยนะบังฮ้าๆๆๆ

น่าแปลกใจ มาก ทีเวลาอายะหรือฮาดีสที่ทางเรายกมาในการสนับสนุนความดี ทั่วไปแล้วบังจะไม่ยอมรับ ฮ้าๆๆๆตาหรกมากๆๆ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Konyakroo
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 16/01/2006
ตอบ: 244


ตอบตอบ: Tue Mar 14, 2006 4:35 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

salam คุณฟาอิสกล่าวว่า

ผมขอถามว่า การเฝ้ากุโบร์และกิจกรรมเกี่ยวกับมัน เป็นบิดอะห์ฮาซานะห์หรือเปล่า
ท่านอีหม่าม ซาฟีอี(รฎ) เคยมีคำวินิฉัยเกี่ยวกับเรื่องนี้บ้างหรือเปล่าและวินิจฉัยว่าอย่างไร
แค่เนี่ยะช่วยตอบด้วย หากว่าท่านเคยกระทำมัน

Razz ยังครับ คุณฟาอิส คุณยังค้างคำถามผมอยู่อีกข้อครับ

ความเข้าใจของคุณในเรื่องมัวะตาซีละด้วยครับ

เรื่อง หลักฐานเฝ้ากุโบร์นั้น มีแน่และมาจากการกระทำบรรดาซอฮาบะและคนสลัฟด้วย ครับ

แต่ผมขอถาม คุณ ฟาอิสก่อนว่า จะยอมรับการกระทำของบรรดาซอฮาบะของนบีหรือไม่ครับ
คำถามนี้ ผมเคยถามบังฮะซัน หลายหนแล้วบังแก วกไปมาจนน่ารำคาญครับ คุณฟาอิสต้องตอบนะครับ...ฮ้าๆๆๆ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   กระทู้นี้ถูกปิดคุณไม่สามารถแก้ไขคำตอบหรือตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักความเชื่อ ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 29, 30, 31, 32, 33  ถัดไป
หน้า 30 จากทั้งหมด 33

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


Powered by phpBB ฉ 2001, 2002 phpBB Group







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.11 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ