ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
อนุรักษ์มรดกอิสลาม :: ดูกระทู้ - รวบรวมสาระความรู้ที่โพสต์ในเฟสบุคของอะสัน หมัดอะดั้ม
อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก อนุรักษ์มรดกอิสลาม  
  เพื่อการอนุรักษ์มรดกอิสลาม      คำถามถามบ่อยของกระดานข่าว      ค้นหา      รายนามสมาชิก  
  · เข้าระบบ ข้อมูลส่วนตัว · เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ · กลุ่มผู้ใช้งาน  
รวบรวมสาระความรู้ที่โพสต์ในเฟสบุคของอะสัน หมัดอะดั้ม
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, 4, 5 ... 17, 18, 19  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักความเชื่อ
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sun May 27, 2012 3:37 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

37. การตามอุลามาอฺ และการตามมัซฮับ

มีผู้กล่าวว่า
สรุป มุสลิมมีน(ในโลก) ส่วนใหญ่เขาตามมัสฮับกัน ผมก็ตามมัสฮับ และยืนยันว่า บรรดามุสลิมีนในประเทศไทยเรา ส่วนใหญ่(เกือบทั้งหมด) ให้การยอมรับตามมัสฮับท่านอีหม่ามซาฟีอี ร่อฮิมะฮุ้ลลอฮ์. มัสฮับเป็นอะไรที่ช่วยคัดย่อยคัดกรอง ในสิ่งที่สงสัยให้สิ้นสงสัย ในสิ่งที่สับสนให้ลดการสับสน โดยระดับมุจตาฮิจ ผู้ตกผลึกแล้วโดยองค์ความรู้ซึ่งถูกการยอม

………………….
ผมใครขอเห็นที่ต่างออกไปคือ

ผมว่าหน้าที่ของมุสลิมทุกคน ต้องตามอัลลอฮ และรอซูล โดยการเรียนรู้จากการถ่ายทอดจากบรรดาผู้รู้ ผู้รู้ที่ถ่ายทอดคำสอนจากอัลกุรอ่นและสุนนะฮนบี สอ็ล คือู้ที่ได้รับสิทธิ์ที่ควรเรียกว่า “ทายาททางความรู้ของเหล่านบี” ดังหะดิษ
ท่านนบี ได้กล่าวไว้ว่า

إن العلماء ورثة الأنبياء وإن الأنبياء لم يورثوا دينارا ولا درهما وإنما ورثوا العلم ,فمن أخذه فقد أخذ بحظ وا فر

“แท้จริงอุลามาคือผู้สืบทอดมรดกของบรรดานบี ซึ่งที่จริงแล้วพวกเขาไม่ทอดทิ้งสิ่งใดเลย(ให้คนที่มีชีวิตต่อจากเขา)แม้จะเป็นเงินซักดีนาร์หรือเงินดิรฮัมเดียวแต่สิ่งที่พวกเขาได้ทิ้งไว้คือความรู้,ดังนั้นใครก็ตามที่เขาได้รับเอาไปก็เท่ากับว่าเขาได้รับโชคลาภอันล้ำค่าที่สุด” (อัลบุคอรีย์ 268

และหน้าที่ของผู้รู้ก็ต้อง ชี้นำศิษย์ผู้ไม่รู้ให้ปฏิบัติตาม อัลลออ และรอซูลเช่นกัน

يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا أَطِيعُوا اللهَ وَأَطِيعُوا الرَّسُولَ وَأُولِي الأَمْرِ مِنْكُمْ} [النساء: 59]؛
ผู้ศรัทธาทั้งหลาย ! จงเชื่อฟังอัลลอฮฺ และเชื่อฟังร่อซูลเถิด และผู้ปกครองในหมู่พวกเจ้าด้วย

จากอายะฮข้างต้น สอนให้เราปฏิบัติตาม ๓ ประการคือ

๑.อัลลอฮ
๒.รอซูล
๓. ปกครอง หรือ บรรดานักปราชญ์

การตามข้อที่ ๑ และ ข้อที่ ๒ นั้น เป็นการตามโดยไม่มีเงื่อนไข คือ ต้องปฏิบัติตามอย่างไม่มีเงือนไข

แต่การตามในข้อ ๓ ต้อง ตามมีเงื่อนไข คือ ตามในสิ่งที่สอดคล้องกับคำสอนของ ข้อ ๑ และ ข้อ ๒ ดังที่อายะฮข้างต้นกล่าวต่อไปว่า

فَإِنْ تَنَازَعْتُمْ فِي شَيْءٍ فَرُدُّوهُ إِلَى اللَّهِ وَالرَّسُولِ

แต่ถ้าพวกเจ้าขัดแย้งกันในสิ่งใด ก็จงนำสิ่งนั่นกลับไปยังอัลลอฮฺ และร่อซูล

----------------

ทำไม่อัลลอฮจึงไม่ระบุคำว่า “อุลิลอัมริ” ในประเด็นการตัดสินชี้ถูกชี้ผิด ก็เพราะอุลิลอัมริเอง ไม่ว่าจะเป็นนักปกครอง หรือ ผู้รู้ หรือ อุลามาอฺ ก็ต้องตามหุกุมของอัลลอฮและรอซูล ไม่ใช่ หุกุม ที่ตนอุตริขึ้นมาเอง
ท่านอิบนุตัยมียะฮกล่าวเกี่ยวกับอายะฮนี้ว่

أولو الأمر صنفان: العلماء والأمراء، فإذا صلحوا صلح الناس، وإذا فسدوا فسد الناس

อุลิลอัมริ มีสอง ประเภท คือ บรรดานักปราชญ์ และนักปกครอง ดังนั้น เมื่อพวกเขาดี บรรดาประชาชนก็ดีไปด้วย และเมื่อพวกเขา เสื่อมเสีย ประชนชนก็เสียหายไปด้วย
- มัจญมัวะฟะตาวา เล่ม ๒๘ หน้า ๑๗๐

อุลามาอฺ แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ

1. อุลามาอฺเดาละฮ คือ อุลามาอฺ เอาใจและประจบสอพลอการเมือง
2. อุลามาอฺอุมมะฮ คือ อุลามาอฺที่เอาใจมวลชน สอนในสิ่งที่อารมณ์ของมวลชนต้องการ ฟัตวา ตามตามกระแส
3. อุลามาอฺมิลละฮ คือ อุลามาอฺที่มีความบริสุทธิ์ใจในการอุทิศตนในด้านศาสนาเพื่ออัลลอฮ
...............

เพราะฉะนั้น เวลาอ้าปากให้อุลามาอฺป้อนความรู้ให้ ก็ควรลืมตาดูด้วยด้วยว่า สิ่งที่เขาป้อนคืออะไร เป็นอาหารตามที่อัลลอฮและนบีสั่งหรือไม่

/

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย asan เมื่อ Sun Jun 10, 2012 11:43 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sun May 27, 2012 4:29 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

38. อิหม่ามอบูหะซัน อัลอัชอะรีย์ รับรองสิฟัตมือ แก่อัลลอฮ

เมื่ออิบลิสขัดขืน ไม่ยอมสุญูดแก่อาดัมตามคำบัญชาของอัลลอฮ พระองค์ได้ตรัสแก่มันว่า

قَالَ يَا إِبْلِيسُ مَا مَنَعَكَ أَنْ تَسْجُدَ لِمَا خَلَقْتُ بِيَدَيَّ أَسْتَكْبَرْتَ

พระองค์ตรัสว่า “อิบลีสเอ๋ย อะไรเล่าที่ขัดขวางเจ้ามิให้เจ้าสุญูดต่อสิ่งที่ข้าได้สร้างด้วยมือทั้งสองของข้า ? เจ้าเย่อหยิ่งจองหองนักหรือ
อิหมามอบูหะซัน อัลอัชอะรียื(หรือ อะชาอิเราะฮของแท้ ไม่เลียนแบบ) อธิบายว่า

دل على أنه ليس معنى الآية القدرة إذ كان الله تعالى خلق الأشياء جميعا بقدرته وإنما أراد إثبات يدين ولم يشارك إبليس آدم صلى الله عليه وسلم في أن خلق بهما

แสดงบอกว่า ความหมายของอายะฮนี้ ไม่ใช หมายถึง เดชานุภาพ เพราะอัลลอฮตะอาลาทรงสร้างสิ่งต่างๆทั้งหมด ด้วยพลังอำนาจของพระองค์อยู่แล้ว ความจริง พระองค์ทรงประสงค์ รับรอง สองมือ และอิบอิบลิส ไม่หุ้นส่วนกับอาดัม ศอ็ลฯ ในการที่พระอวค์ร้างด้วยมันทั้งสอง – ดู อัลอิบานะฮ เล่ม ๑ หน้า ๑๓๓

อิบนุญะรีร นักตัฟสีรชาวสะลัฟ อธิบายว่า

يُخْبِرُ - تَعَالَى ذِكْرُهُ - بِذَلِكَ أَنَّهُ خَلَقَ آدَمَ بِيَدَيْهِ .

พระองค์ผู้ซึ่งการสดุดีพระองค์สูงส่งยิ่ง ได้บอกเกี่ยวกับดังกล่าวนั้นว่า พระองค์ทรงสร้างอาดัมด้วยมือทั้งสองของพระองค์ – ดูตัฟสีรอัฏฏอ็บรีย์ อรรถาธิบาย อายะฮที่ ๗๕ ซูเราะฮ ศอด
---------------
เมื่ออะชาอีเราะฮแท้ยอมรับแล้ว ..........................ผู้ที่อ้างว่าสังกัดอะชาอิเราะฮมัวรออยู่ทำไมอีกหรือ...?

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย asan เมื่อ Thu Aug 18, 2016 4:12 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Mon May 28, 2012 12:41 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

39 การฟัตวาคนตักลิดมัซฮับ


هَلْ يَجُوزُ لِلْمُقَلِّدِ أَنْ يُفْتِيَ ؟ ] الْفَائِدَةُ الْعِشْرُونَ : لَا يَجُوزُ لِلْمُقَلِّدِ أَنْ يُفْتِيَ فِي دِينِ اللَّهِ بِمَا هُوَ مُقَلِّدٌ فِيهِ وَلَيْسَ عَلَى بَصِيرَةٍ فِيهِ سِوَى أَنَّهُ قَوْلُ مَنْ قَلَّدَهُ دِينَهُ ، هَذَا إجْمَاعٌ مِنْ السَّلَفِ كُلِّهِمْ ، وَصَرَّحَ بِهِ الْإِمَامُ أَحْمَدُ وَالشَّافِعِيُّ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُمَا وَغَيْرُهُمَا

อนุญาตให้มุกอ็ลลิด ฟัตวาไหม?
(ประโยชน์ที่ยี่สิบ) : ไม่อนุญาตให้มุกอ็ลลิด ทำการฟัตวาในเรื่องศาสนาของอัลลอฮ ด้วยสิ่งที่เขาเองเป็นผู้มุกอ็ลลิดในมัน(ในเรื่องนั้น) และเขาไม่ได้รู้แจ้งลึกซึ้งในมัน นอกจากว่ามันเป็นคำพูดของผู้ที่เขาตักลิดตามเขาผู้นั้นเกี่ยวศาสนาของเขา และนี้คือมติเอกฉันท์ของนักปราชญ์สะลัฟทั้งหมด และอิมามอะหฺมัดและอิมามชาฟิอีย์(ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุมา) ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจน " ดู เอี๊ยะลาม อัลมุวักกิอีน เล่ม 4 หน้า 175
,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,
ความหมายของคำตอบข้างต้น คือ ไม่อนุญาตให้คนมุกอ็ลลิด(คนที่เชื่อตามอุลามาอ)ฟัตวาในเรื่องศาสนาของอัลลอฮ โดยที่เขาไม่ได้รู้แจ้งหรือ เข้าใจลึกซึ้งในเรื่องนั้น เขารู้แต่เพียงว่า เป็นเป็นคำพูดของอุลามาอฺที่เขาตักลิดเท่านั้น และไม่ได้รู้ว่าข้อเท็จจริงคำพูดนั้นเขาเอามาจากหลักฐานใด
ซึ่งสอดคล้องกับคำพูดของอบูหะนีฟะฮกล่าวว่า

لا يحل لأحد أن يقول بقولنا حتى يعلم من أين قلناه

ไม่หะลาลให้คนหนึ่งคนใดกล่าวด้วยคำพูดของเรา จนกว่าเขาจะรู้ว่า เรากล่าวมันมาจากใหน - ดู เอี๊ยะลาม อัลมุวักกิอีน เล่ม ๒ หน้า ๒๐๐
และอีกคำพูดหนึ่งของท่านอบูหะนีฟะฮคือ

لا يحل لمن يفتي من كتبي أن يفتي حتى يعلم من أين قلت

ไม่หะลาลให้ผู้ใดก็ตามที่ทำการฟัตวา โดยจะ ทำการฟัตวา จากบรรดาตำราของฉันจนกว่าเขาจะรู้ว่า ฉันพูด(อ้างอิงหลักฐาน)มาจากใหน – ดู อัลอินติกออฺ ของอิบุอับดุลบีร หน้า ๑๔๕
,,,,,,,,,,,,,,,,,,,
คือ จะอ้างคำพูดของอิหม่ามมัซฮับ ไปตอบปัญหา(ฟัตวา)ให้คนอื่น เขาจะต้องรู้ว่า คำพูดนั้นมีที่มาจากการอ้างอิงหลักฐานใด

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Mon May 28, 2012 12:46 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

40 .การผูกขาดมัซฮับเป็นบิดอะฮที่น่าเกลียด


รื่องสังกัดมัซฮับ ท่านอิบนุกอ็ยยิม กล่าวว่าอย่างไร
ลองมาอ่านดู

هَلْ عَلَى الْعَامِّيِّ أَنْ يَتَمَذْهَبَ بِمَذْهَبٍ وَاحِدٍ مِنْ الْأَرْبَعَةِ أَوْ غَيْرِهِمْ ؟ أَحَدُهُمَا : لَا يَلْزَمُهُ ، وَهُوَ الصَّوَابُ الْمَقْطُوعُ بِهِ ; إذْ لَا وَاجِبَ إلَّا مَا أَوْجَبَهُ اللَّهُ وَرَسُولُهُ ، وَلَمْ يُوجِبْ اللَّهُ وَلَا رَسُولُهُ عَلَى أَحَدٍ مِنْ النَّاسِ أَنْ يَتَمَذْهَبَ بِمَذْهَبِ رَجُلٍ مِنْ الْأُمَّةِ فَيُقَلِّدَهُ دِينَهُ دُونَ غَيْرِهِ

จำเป็นแก่คนอาวามให้สังกัดมัซฮับด้วยมัซฮับคนหนึ่งคนใดจากสี่มัซฮับหรืออื่นจากจากพวกเขา หรือไม่? ทัศนะหนึ่งของสองทัศนะ คือ ไม่จำเป็นเกี่ยวกับมัน และมันคือทัศนะที่ถูกต้องอย่างไม่ต้องสงสัย เพราะไม่มีการกำหนดให้เป็นวาญิบ นอกจากสิ่งที่อัลลอฮและรอซูลของพระองค์ ได้กำหนดให้เป็นวาญิบเท่านั้น โดยที่ อัลลอฮและรอซูลของพระองค์ ไม่ได้กำหนดให้เป็นวาญิบแก่ผู้ใดจากมนุษย์ สังกัดมัซฮับของคนใดจากอุมมะฮ แล้วตักลิด(เชื่อตาม)เขาผู้นั้นเกี่ยวกับศาสนาของเขา โดยไม่ตามคนอื่นอื่นจากเขาผู้นั้น -ดู เอี๊ยะลาม อัลมุวักกิอีน เล่ม ๔ หน้า ๒๐๒
.......................
เพราะฉะนั้น สิ่งที่คุณ Abutarika Ma โพสต์มาเพือสอนผม มันอาจจะเป็นไม้ตะพด ย้อนกลับไปทุบหัวคุณก็ได้ เพราะไม่เข้าใจแล้วดันจะสอนคนอื่น เพราะคำพูดของอิบนุกอ็ยยิมข้างต้น คือ ไม่วายิบสังกัดมัซฮับแบบผูกขาด ตามที่ผมเคยอธิบายหลายครังแล้ว

อิบนุกอ็ยยิมกล่าวต่อไปว่า

وَلَا يَلْزَمُ أَحَدًا قَطُّ أَنْ يَتَمَذْهَبَ بِمَذْهَبِ رَجُلٍ مِنْ الْأُمَّةِ بِحَيْثُ يَأْخُذُ أَقْوَالَهُ كُلَّهَا وَيَدْعُ أَقْوَالَ غَيْرِهِ .
ไม่จำเป็นแก่คนใดเลยที่จะสังกัดมัซฮับ ด้วยมัซฮับของคนใดจากอุมมะฮนี้ โดยเอาบรรดาคำพูดของเขามายึดถือทั้งหมด และทิ้งบรรดาคำพูดคนอื่นจากเขา-ดู เอี๊ยะลาม อัลมุวักกิอีน เล่ม ๔ หน้า ๒๐๒
,,,,,,,,,,,,,,,

ข้างต้นคือหลักการตามมัซฮับ คือ ไม่ยึดติดกับมัซฮับถึงขนาดคำพูดคนอื่นมีหลักฐานก็ไม่รับ เพราะไม่ตรงกับมัซฮับตนเอง แบบนี้คือ บิดอะฮที่น่าเกลียด ดังคำพูดตอนท้ายประโยคคือ

وَهَذِهِ بِدْعَةٌ قَبِيحَةٌ حَدَثَتْ فِي الْأُمَّةِ
และนี้คือ บิดอะฮที่น่าเกลียดที่เกิดขึ้นใหม่ในอุมมะฮนี้

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Thu May 31, 2012 11:38 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

41. การจำกัดการเยี่ยมกุบูรในวันอีด และการจำกัดอิบาดะฮในสิ่งที่ศาสานาได้กล่าวเอาไว้กว้างๆ


อัลบานีย์ กล่าวว่า

ج : نقول بإيجاز زيارة الأحياء للأموات يوم العيد من محدثات الأمور لأنه يعني تقييد ما أطلقه الشارع الحكيم قال النبي صلى الله عليه وسلم فـي الحديث الصحيح ( كنت نهيتكم عن زيارة القبور ألا فزوروها فإنها تذكركم بالآخرة
فقوله ( ألا فزوروها ) أمر عام لا يجوز تقييده بزمن أو بمكان خاص لأن تقييد النص وإطلاقه ليس من وظيفه الناس إنما وظيفة رب العالمين الذي كلف الرسول الكريم قال له : ( وأنزلنا إليك الذكر لتبين للناس ما نزل إليهم

ตอบ

เราขอกล่าวว่า การอนุญาตให้คนเป็นเยี่ยมคนตาย ในวันอีดนั้น เป็นส่วนหนึ่งจากกิจการที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ เพราะหมายถึง การจำกัดสิ่งที่ผู้บัญญัติศาสนาบัญญัติผู้ปรีชาญาน ได้กล่าวเอาไว้กว้างๆ ,ท่านนบี ศอ็ลฯ กล่าวไว้ในหะดิษเศาะเฮียะว่า ( ฉันเคยห้ามพวกท่านจากการเยี่ยมกุบูร พึงทราบเถิดว่า พวกท่านจงเยี่ยมมันเถิด เพราะมันจะทำให้พวกท่านระลึกถึงวันอาคีเราะฮ) แล้วคำว่า (พวกท่านจงเยี่ยมมันเถิด) เป็นคำสั่งทั่วไป ไม่ได้จำกัดเวลา หรือ สถานที่ เพราะการจำกัดกความหมายตัวบทและการกล่าวไว้กว้างๆนั้น ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของหน้าที่มนุษย์ แต่ความจริง มันเป็นหน้าที่ของพระผู้อภิบาลแห่งสากลจักรวาล ผู้ซึ่งมอบภาระแก่รอซูลผู้ทรงเกียรติ โดยตรัสแก่ท่านรซูลว่า “เราได้ประทานอัลกุรอ่านให้แก่เจ้า เพื่อเจ้าจะได้อธิบายแก่มนุษย์ สิ่งที่ถูกประทานลงมาแก่พวกเขา – ฟะตาวาอัลบานีย์หน้า 61


ท่านอบูชามะฮ กล่าวว่า

ولا ينبغي تخصيص العبادات بأوقات لم يخصَّها بها الشرع، بل يكون جميع أفعال البر مرسلة في جميع الأزمان ليس لبعضها على بعض فضل إلا ما فضله الشرع وخصه بنوع من العبادة
และไม่สมควรจะจำกัดเฉพาะบรรดาอิบาดะฮ ด้วยบรรดาเวลา ซึ่ง ศาสนบัญญัติไม่ได้จำกัดเฉพาะมันด้วยเวลา แต่ทว่า บรรดาการทำความดีทั้งหมด ถูกปล่อยให้ดำเนินไปในบรรดาเวลา โดยที่บางส่วนของมันไม่ได้ประเสริฐเหนือบางส่วน ยกเว้น สิ่งที่ศาสนาบัญญัติได้กำหนดให้มันมีความประเสริฐและจำกัดเฉพาะมัน ด้วยชนิดใดๆจากอิบาดะฮ.........ดู อัลบาอิษ อะลาอิงกะริลบิดอิวัลหะวาดิษ หน้า ๗๗

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Mon Jun 04, 2012 6:01 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เพิ่มเติม

ชัยคุลอิสลาม อิบนุตัยมียะฮกล่าวว่า

أحقّ الناس بأن تكون هي الفرقة الناجية أهل الحديث والسنة الذين ليس لهم متبوع يتعصبون له إلا رسول الله صلى الله عليه وسلم)

มนุษย์ที่สมควรที่จะเป็น กลุ่มชนที่ปลอดภัย คือ อะฮลุลหะดิษ และสุนนะฮ พวกเขาไม่มีผู้ที่ถูกตาม ที่พวกเขายึดติด(ตะอัศศุบ)ต่อผู้นั้น นอกจากรซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม – มัจญมัวะอัลฟะตาวา เล่ม 3 หน้า 347
.............

อะฮลุลหะดิษและสุนนะฮ เขาไม่มีการยึดติด ผูกขาดในการปฏิบัติตามบุคคลตลใด เป็นการเฉพาะ ยกเว้น ท่านรซูลลุลลอฮ ศอ็ลฯ
เพราะฉะนั้น คนที่ เชิญชวนไปผูกขาดมัซฮับ ,ปกป้องบิดอะฮ ไม่สนใจที่จะปกป้องสุนนะฮ มิหนำซ้ำสอนศิษย์ให้กินเนื้อนักปราชญ์(อุลามาอฺ) บุคคลประเภทนี้ สมควรที่จะเรียกว่า “นักหะดิษ หรือ อะลุลหะดิษ อย่างนั้นหรือ


ชัยคุลอิสลาม อิบนุตัยมียะฮ กล่าวว่า
ونحن لا نعني بأهل الحديث المقتصرين على سماعه، أو كتابته أو روايته، بل نعني بهم: كل من كان أحق بحفظه ومعرفته وفهمه ظاهراً وباطناً، واتباعه باطناً وظاهراً

และเราไม่ได้ให้ความหมาย อะฮลุลหะดิษ กับบรรดาบุคคลที่จำกัดเฉพาะการฟังหะดิษ หรือบันทึกหะดิษ หรือรายงานหะดิษ แต่ทว่า เราให้ความหมายพวกเขา กับบุคคล ทุกๆคนที่จำหะดิษจริงๆ ,รู้จักมัน และเข้าใจมัน ทั้งเปิดเผยและไม่เปิดเผย และปฏิบัติตามมัน ทั้งไม่เปิดเผยและเปิดเผย – มัจญมัวะอัลฟะตาวา เล่ม 4 หน้า 95
อัลกอฏีย์ อิยาฎ กล่าวว่า

إنما أراد أحمد أهل السنة والجماعة ، ومن يعتقد مذهب أهل الحديث .

ความจริง ความประสงค์ อะหมัด หมายถึง อะฮลุสสุนนะฮ วัลญะมาอะฮ และบรรดผู้ที่มีอะกีดะฮ ตามแนวทางของนักหะดิษ – อิตหาฟุลญะมาอะฮ เล่ม 1 หน้า 330
……….

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Tue Jun 05, 2012 12:03 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หลักฐานที่กล่าวว่า “อัยนัลลอฮ-อัลลอฮอยู่ที่ไหน?” ตัวอย่างคือ หลักฐานจากหะดีษที่รายงานโดยท่านมุอาวิยะฮฺ บิน อัล-หะกัม อัส-สุลัยมีย์ ด้วยสำนวนของมุสลิม



وَكَانَتْ لِي جَارِيَةٌ تَرْعَى غَنَمًا لِي قِبَلَ أُحُدٍ وَالْجَوَّانِيَّةِ فَاطَّلَعْتُ ذَاتَ يَوْمٍ فَإِذَا الذِّيبُ قَدْ ذَهَبَ بِشَاةٍ مِنْ غَنَمِهَا وَأَنَا رَجُلٌ مِنْ بَنِي آدَمَ آسَفُ كَمَا يَأْسَفُونَ لَكِنِّي صَكَكْتُهَا صَكَّةً فَأَتَيْتُ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فَعَظَّمَ ذَلِكَ عَلَيَّ قُلْتُ: يَا رَسُولَ اللَّهِ أَفَلَا أُعْتِقُهَا قَالَ: "ائْتِنِي بِهَا" فَأَتَيْتُهُ بِهَا فَقَالَ لَهَا: "أَيْنَ اللَّهُ؟" قَالَتْ: فِي السَّمَاءِ، قَالَ: "مَنْ أَنَا؟" قَالَتْ: أَنْتَ رَسُولُ اللَّهِ، قَالَ: "أَعْتِقْهَا فَإِنَّهَا مُؤْمِنَةٌ


ฉันมีทาสคนหนึ่งที่เคยเลี้ยงแพะของฉันในพื้นที่ระหว่างอุฮุดและอัล-ญะวานิยยะฮฺ วันหนึ่งเขาได้กระทำความผิดบางอย่าง เขาได้ออกโดยเอาแพะไปตัวหนึ่ง ฉันเป็นมนุษย์ธรรมดา แน่นอนว่าต้องมีอารมณ์โกรธ ฉันจึงตบหน้าเขา แล้วท่านเราะสูลุลลอฮ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ก็มา(เห็น) และสิ่งนี้ทำให้ฉันกังวลใจ ฉันจึงอธิบายกับท่านว่า ‘โอ้ท่านเราะสูลุลลอฮ ฉันควรปล่อยทาสของฉันคนนี้เป็นอิสระไหม?’ ‘พาเขามาหาฉัน’ ท่านเราะสูลุลลอฮฯ กล่าว ฉันจึงรีบพาเขามาหาท่าน แล้วท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ก็ได้ถามทาสของฉันคนนี้ว่า

أَيْنَ اللَّهُ

“อัลลอฮอยู่ที่ไหน?”

นางตอบว่า

فِى السَّمَاءِ

“อยู่บนฟากฟ้า”

แล้วท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ก็ถามต่อไปอีกว่า “ฉันคือใคร?” นางตอบว่า “ท่านคือศาสนฑูตของอัลลอฮ”
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า

أَعْتِقْهَا فَإِنَّهَا مُؤْمِنَةٌ

“ปล่อยนางให้เป็นอิสระเถิด แท้จริงนางคือผู้ศรัทธา”[12]

อิมามอัซ-ซะฮะบีย์ กล่าวว่า “นี่คือความเห็นของฉัน ว่า ผู้ใดก็ตามที่ถูกถามว่า อัลลอฮอยู่ที่ไหน? ก็จะถูกฉายภาพให้แก่เขาด้วยธรรมชาติของเขาว่า อัลลอฮทรงอยู่เหนือฟากฟ้า ในรายงานนี้มี 2 เรื่องสำคัญ คือ [1]อนุญาตให้คนๆหนึ่งถามว่า ‘อัลลอฮอยู่ที่ไหน?’ แล�
แล้วท่านอัซ-ซะฮะบีย์ ก็กล่าวว่า “ผู้ใดปฏิเสธสองสิ่งนี้ หมายความว่า เขาได้สิ่งที่สวนทางท่านมุศเฏาะฟา(ท่านนบีมุหัมมัด) ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม”[13]
.......................


.... .[12] บันทึกโดยอะหฺมัด 5/447 , มาลิกในอัล-มุวัฏฏออ์ 666 , มุสลิม 537 , อบูดาวูด 3282 , อัน-นะสาอีย์ ในอัล-มุจญ์ตะบา 3/15 , อิบนุ คุซัยมะฮฺ 178-180 , อิบนุ อบีอาศิม ในอัส-สุนนะฮฺ 1/215 , อัล-ละลิกะอีย์ ในอุศูล อะฮฺลิสสุนนะฮฺ 3/392 , อัซ-ซะฮะบีย์ ในอัล-อุลุวฺ 81
[13] มุคตะศ็อร อัล-อุลุวฺ , ชัยคฺ อัล-อัลบานีย์ , อัซ-ซะฮะบีย์ , ตรวจทานโดย ชัยคฺ มุหัมมัด นาศิรุดดีน อัล-อัลบานีย์ , หน้า 81 , อัล-มักตับ อัล-อิสลามีย์ , พิมพ์ครั้งที่ 2 , 1412

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย asan เมื่อ Tue Jun 05, 2012 10:48 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Tue Jun 05, 2012 12:16 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เพิ่มเติม

หะดิษข้างต้นอะชาอีเราะคงแถไม่รับอีก ความจริงเป็นหะิดิษเศาะเฮียะที่สะเตือนใจอะชาอีเราะฮปัจจุบันมากที่สุด และได้มีการบันทึกไว้ในตำรามากมายเช่น ...........

رواه الإمام مالك في (( الموطأ )) (2/776 )، والإمام الشافعيّ في (( الرّسالة )) (ص/75 -واللفظ لـه- )، وابن أبي شيبة في (( الإيمان )) (ص/36 رقم: 84 )، والإمام أحمد في (( المسند )) (5/448 )، وأبو داود في (( السنن )) (1/260 الصحيح )، والدّارميّ في (( الرّد على الجهميّة )) (ص/39 )، وفي (( الرّد على المريسي )) (1/491 )، وعبد الله ابن الإمام أحمد في (( السنّة )) (1/306 )، وابن خزيمة في (( التوحيد )) (1/279 )، واللالكائيّ في (( شرح أصول الاعتقاد )) (3/392 )، والبيهقيّ في(( الأسماء والصفات )) (ص/532 )، وفي(( السنن الكبرى )) (7/354 و10/98 )، ومسلمٌ في (( صحيحه )) (5/23 رقم: 1199 )، والذّهبي في (( العلو )) (ص/81 المختصر )، وغيرهم -رحم الله الجميع-.
من طرق؛ عن هلال بن أبي ميمونة، عن عطاء بن يسار، عن معاوية بن الحكم به؛ ورواه من طريق الزهري، عن أبي سلمة بن عبد الرحمن، عن معاوية بن الحكم جماعة كما في (( المصنّف لعبد الرزاق )) (10/402 )، و (( مسند الإمام أحمد )) (3/443 و5/448 ) وغيرهم -رحم الله الجميع-.
وقد ذكر طرق الحديث وخرّجه بإيعابٍ واستيعاب شيخنا البحاثة، مشهور بن حسن -حفظه الله- في تحقيقه على كتاب (( الموافقات )) (1/60-64 ) للشاطبيّ، فلينظره من شاء التفصيل ( ).
وهذا الحديث، وهو المشهور بحديث الجارية، حديثٌ صحيحٌ باتفاق أهل النقل، صححه-تصريحاً أو ما يقوم مقامه- جمهرةٌ من أهل العلم؛ منهم الإمام مسلم حيث أخرجه في ((صحيحه )) (5/23 رقم: 1199 )، والحافظ ابن حجر في (( الفتح )) (13/359 )، والبيهقيُّ في (( الأسماء والصفات )) (ص/533 )، والذهبيّ في (( العلو ))(ص/81 مختصر )، والألبانيّ في مواضع منها (( الإيمان ))(ص/36) لابن أبي شيبة، حيث قال-رحمه الله-(( إسناده صحيحٌ على شرط الشيخين ))( )، وقال في (( مختصر العلو ))(ص/81): (( فإنّه مع صحّةِ إسناده، وتصحيح أئمة الحديث إيّاه دون خلافٍ بينهم أعلمه ))

..........
ท่านอิบนุอับดุลบีร กล่าวว่า
معاني هذا الحديث واضحة، يستغنى عن الكلام فيها، وأمّا قوله: (( أين الله؟ )) فعلى هذا أهل الحق لقوله تعالى: } أمنتم من في السماء { ولقوله: } إليه يصعد الكلم الطيّب { ولقوله } تعرج الملائكة والـروح إليه
ความหมายหะดิษนี้ชัดเจน ไม่จำต้องอาศัยการวิจารณ์ในมันอีกแล้ว สำหรับคำพูดของท่านนบีที่ว่า (อัลลอฮ)อยู่ใหน) บรรดาผู้ที่อยู่บนความจริง ยืนหยัดอยู่บนสิ่งนี้ เพราะอัลลอฮตะอาตตัสว่า
أمنتم من في السماء
ความว่า “พวกเจ้ารอดพ้น ผู้อยู่ใน(บน)ชั้นฟ้ากระนั้นหรือ
إِلَيْهِ يَصْعَدُ الْكَلِمُ الطَّيِّبُ
คำกล่าวที่ดีย่อมจะขึ้นไปสู่พระองค์
تَعْرُجُ الْمَلَائِكَةُ وَالرُّوحُ إِلَيْهِ
มลาอิกะฮฺและอัร-รูหฺ(ญิบรีล) จะขึ้นไปหาพระองค์
- ดูอัตตัมฮีด เล่ม ๒๒ หน้า ๘๐
------------------------
หะดิษนี้ สะเทือนใจอะชาอิเราะฮมาก เพราะถ้ายอมรับ อะชาอีเราะฮบางคนจะหมดราคาทันที่ เพราะต่อต้านหะดิษนี้ตลอด

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Tue Jun 05, 2012 12:18 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เพิ่มเติม

อิบนุหะญัร อัลอัสเกาะลานีย์กล่าวว่า
قِصَّةِ الْجَارِيَةِ الَّتِي سَأَلَهَا النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَنْتِ مُؤْمِنَةٌ؟ قَالَتْ نَعَمْ ، قَالَ فَأَيْنَ اللَّهُ ؟ قَالَتْ فِي السَّمَاءِ ، فَقَالَ أَعْتِقْهَا فَإِنَّهَا مُؤْمِنَةٌ ، وَهُوَ حَدِيثٌ صَحِيحٌ أَخْرَجَهُ مُسْلِمٌ
เรื่องราวของทาสหญิง ที่นบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ถามนางว่า เธอเป็นผู้ศรัทธาใช่ไหม ? นางกล่าวว่า “ค่ะ ,ท่านนบีถามว่า “อัลลอฮอยู่ใหน?นางตอบว่า อยู่บนฟากฟ้า ,แล้วท่านนบีกล่าวว่า “จงปล่อยนางให้เป็นอิสระ เพราะแท้จริงนาง เป็นผู้ศรัทธา ,โดยที่มันเป็นหะดิษเศาะเฮียะ บันทึกโดย มุสลิม – ดูฟัตหุลบารีย์ เล่ม ๑๓ หน้า ๓๕๙
.......................
หาฟิซอิบนุหะญัร ซึ่งอะชาอีเราะฮอ้างว่า เป็นอะชาอีเราะฮ ยอมรับหะดิษนี้ แต่ อะชาอีเราะฮในเว็บสะติวเด้นบอกว่า เฎาะอีฟ แล้วนำเสนอหะดิษ อีกบทหนึ่งซึ่งเฏาะอีฟ มาค้าน

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Wed Jun 06, 2012 11:27 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เมื่ออิหม่ามชาฟิอียอมรับหะดิษญารียะฮ แต่ชาฟิอียะฮสะติวเด้นค้านหัวชนฝา


อาจารย์อารีฟีน กล่าวว่า

เมื่อมีคนถามว่า อัลเลาะฮ์อยู่ใหน ? เราสามารถตอบด้วยอายะฮ์อัลกุรอานความว่า :

وَإِذَا سَأَلَكَ عِبَادِي عَنِّي فَإِنِّي قَرِيبٌ أُجِيبُ دَعْوَةَ الدَّاعِ إِذَا دَعَانِ

http://www.sunnahstudent.com/forum/index.php?topic=2836.0


วิภาษข้ออ้างข้างต้น

อาจารย์ พยายามหลีกเลี่ยงที่จะไม่ใช้หะดิษญารียะฮ และนำเสนออายะฮ ข้างล่าง

وَإِذَا سَأَلَكَ عِبَادِي عَنِّي فَإِنِّي قَرِيبٌ أُجِيبُ دَعْوَةَ الدَّاعِ إِذَا دَعَانِ

และเมื่อมวลบ่าวของข้าได้ถามถึงข้า (เข้าก็จงตอบไปเถิดว่า) แท้จริงข้าเป็นผู้ใกล้ชิด (กับพวกเจ้า) ข้าคอยสนองตอบคำวอนของผู้วอนขอ เมื่อเขาได้วอนขอต่อข้า .....

...........

อายะฮข้างต้น ไม่ได้ระบุคำถามว่าอัลลอฮอยู่ใหน แทนที่จะเอาหะดิษเศาะเฮียะ คือ หะดิษญารียะฮที่รายงานโดย อิหม่ามมุสลิม แต่กลับ หะดิษเฎาะอีฟมาอธิบาย ดังนี้

ท่านอิบนุญะรีร รายงานว่า


حَدَّثَنَا الْحَسَن بْن يَحْيَى , قَالَ : أَخْبَرَنَا عَبْد الرَّزَّاق , قَالَ : أَخْبَرَنَا جَعْفَر بْن سُلَيْمَان عَنْ عَوْف , عَنْ الْحَسَن , قَالَ : سَأَلَ أَصْحَاب النَّبِيّ صَلَّى اللَّه عَلَيْهِ وَسَلَّمَ النَّبِيّ صَلَّى اللَّه عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : أَيْنَ رَبّنَا ؟ فَأَنْزَلَ اللَّه تَعَالَى ذِكْره : { وَإِذَا سَأَلَك عِبَادِي عَنِّي فَإِنِّي قَرِيب أُجِيب دَعْوَة الدَّاعِ إذَا دَعَانِ . .. } الْآيَة

ได้บอกเล่าให้เราทราบโดย อัลฮะซัน บิน ยะห์ยา เขากล่าวว่า ได้เล่าให้เราทราบโดยอับดุลร็อซซาก เขากล่าวว่า ได้เล่าให้เราทราบโดยญะฟัร บิน สุลัยมาน จากเอาฟ์ จาก อัลฮะซัน เขากล่าวว่า "บรรดาซอฮาบะฮ์ของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ถามท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ว่า ผู้อภิบาลของเราอยู่ใหน? ดังนั้น อัลเลาะฮ์ตะอาลา ทรง(ตอบโดย)ประทานอายะฮ์อัลกุรอานความว่า "และเมื่อมวลบ่าวของข้าได้ถามถึงข้า (เข้าก็จงตอบไปเถิดว่า) แท้จริงข้าเป็นผู้ใกล้ชิด (กับพวกเจ้า) ข้าคอยสนองตอบคำวอนของผู้วอนขอ เมื่อเขาได้วอนขอต่อข้า" ตัฟซีรอัฏฏ๊อบรีย์ อายะฮ์ที่ 186 ซูเราะฮ์อัลบะกอเราะฮ์

……..

หะดิษนี้ อาจารย์วิจารณ์เองว่าเป็นหะดิษที่สายรายงานขาดตอน คือ เป็นหะดิษมุรซัล ดังที่ อาจารย์อาริฟีนระบุว่า
ท่านอิบนุญะรีร รายงานว่า


حَدَّثَنَا الْحَسَن بْن يَحْيَى , قَالَ : أَخْبَرَنَا عَبْد الرَّزَّاق , قَالَ : أَخْبَرَنَا جَعْفَر بْن سُلَيْمَان عَنْ عَوْف , عَنْ الْحَسَن , قَالَ : سَأَلَ أَصْحَاب النَّبِيّ صَلَّى اللَّه عَلَيْهِ وَسَلَّمَ النَّبِيّ صَلَّى اللَّه عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : أَيْنَ رَبّنَا ؟ فَأَنْزَلَ اللَّه تَعَالَى ذِكْره : { وَإِذَا سَأَلَك عِبَادِي عَنِّي فَإِنِّي قَرِيب أُجِيب دَعْوَة الدَّاعِ إذَا دَعَانِ . .. } الْآيَة


ได้บอกเล่าให้เราทราบโดย อัลฮะซัน บิน ยะห์ยา เขากล่าวว่า ได้เล่าให้เราทราบโดยอับดุลร็อซซาก เขากล่าวว่า ได้เล่าให้เราทราบโดยญะฟัร บิน สุลัยมาน จากเอาฟ์ จาก อัลฮะซัน เขากล่าวว่า "บรรดาซอฮาบะฮ์ของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ถามท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ว่า ผู้อภิบาลของเราอยู่ใหน? ดังนั้น อัลเลาะฮ์ตะอาลา ทรง(ตอบโดย)ประทานอายะฮ์อัลกุรอานความว่า "และเมื่อมวลบ่าวของข้าได้ถามถึงข้า (เข้าก็จงตอบไปเถิดว่า) แท้จริงข้าเป็นผู้ใกล้ชิด (กับพวกเจ้า) ข้าคอยสนองตอบคำวอนของผู้วอนขอ เมื่อเขาได้วอนขอต่อข้า" ตัฟซีรอัฏฏ๊อบรีย์ อายะฮ์ที่ 186 ซูเราะฮ์อัลบะกอเราะฮ์


ฮะดิษนี้แม้จะเป็นฮะดิษมุรซัล (ฮะดิษที่รายงานโดยตาบิอีนถึงท่านนบี) แต่เป็นฮะดิษมุรซัลที่ซอฮิห์ ซึ่งนำมาเป็นหลักฐานได้ตามทัศนะของ อิมามอบูหะนีฟะฮ์ , อิมามมาลิก , และอิมามอะห์มัด , นอกจากอิมามอัชชาฟิอีย์ แต่ทว่าฮะดิษนี้ได้มีตัวบทฮะดิษและสายรายงานมาสนับสนุนโดยท่านอิบนุกะษีร
http://www.sunnahstudent.com/forum/index.php?topic=2836.0
...........
ขอกล่าวว่า แปลกมา ที่อ้างหะดิษมาลอยๆ ซึ่งหะดิษที่ท่านอบนุกะษีรอ้าง ท่านก็ไม่ได้ ระบุสถานหะดิษไว้เลย แล้วมิหนำซ้ำ ให้น้ำหนักเองว่า “มุรซัลเศาะเฮียะ” มาชาอัลลอฮ
แล้วทำไม่นำหะดิษเศาะเฮียะ ที่ท่านอิหม่ามชาฟิอีรับรองกลับไม่ยอมรับและไม่นำมาอ้าง นั้นคือ หะดิษที่ท่านหญิงคนหนึ่งตอบนบีว่า “อัลลอฮ อยู่บนฟ้า
มาดูคำพูดอิหม่ามชาฟิอีย์ที่ท่านอ้างหลักฐานด้วยหะดิษนี้



وَأَحَبُّ إلَيَّ أَنْ لَا يُعْتِقَ إلَّا بَالِغَةً مُؤْمِنَةً فَإِنْ كَانَتْ أَعْجَمِيَّةً فَوَصَفَتْ الْإِسْلَامَ أَجْزَأَتْهُ ، أَخْبَرَنَا مَالِكٌ عَنْ هِلَالِ بْنِ أُسَامَةَ عَنْ عَطَاءِ بْنِ يَسَارٍ عَنْ عُمَرَ بْنِ الْحَكَمِ أَنَّهُ قَالَ { أَتَيْت رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فَقُلْت يَا رَسُولَ اللَّهِ إنَّ جَارِيَةً لِي كَانَتْ تَرْعَى غَنَمًا لِي فَجِئْتهَا وَفَقَدَتْ شَاةً مِنْ الْغَنَمِ فَسَأَلْتهَا عَنْهَا فَقَالَتْ أَكَلَهَا الذِّئْبُ فَأَسِفْت عَلَيْهَا وَكُنْت مِنْ بَنِي آدَمَ فَلَطَمْتُ وَجْهَهَا وَعَلَيَّ رَقَبَةٌ أَفَأَعْتِقُهَا ؟ فَقَالَ لَهَا رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَيْنَ اللَّهُ ؟ فَقَالَتْ فِي السَّمَاءِ فَقَالَ مَنْ أَنَا ؟ فَقَالَتْ أَنْتَ رَسُولُ اللَّهِ قَالَ فَأَعْتِقْهَا


และที่ข้าพเจ้าชอบคือ จะไม่มีการปล่อยทาสให้เป็นอิสระ นอกจาก เป็นหญิงผู้ศรัทธาที่บรรลุศาสนภาวะ แล้วถ้าปรากฏว่านางเป็นหญิงอะญัม(ไม่ใช่อาหรับ) แล้วนางมีคุณลักษณะอิสลาม ก็ใช้ได้,มาลิก ได้บอกแก่เรา จากฮิลาล บิน อุสามะฮ จาก อะฏออฺ บิน ยะสาร จากอุมัร บินหะกัม ว่า “เขากล่าวว่าฉันมีทาสคนหนึ่งที่เคยเลี้ยงแพะของฉันในพื้นที่ระหว่างอุฮุดและอัล-ญะวานิยยะฮฺ วันหนึ่งเขาได้กระทำความผิดบางอย่าง เขาได้ออกโดยเอาแพะไปตัวหนึ่ง ฉันเป็นมนุษย์ธรรมดา แน่นอนว่าต้องมีอารมณ์โกรธ ฉันจึงตบหน้าเขา แล้วท่านเราะสูลุลลอฮ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ก็มา(เห็น) และสิ่งนี้ทำให้ฉันกังวลใจ ฉันจึงอธิบายกับท่านว่า ‘โอ้ท่านเราะสูลุลลอฮ ฉันควรปล่อยทาสของฉันคนนี้เป็นอิสระไหม?’ ‘พาเขามาหาฉัน’ ท่านเราะสูลุลลอฮฯ กล่าว ฉันจึงรีบพาเขามาหาท่าน แล้วท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ก็ได้ถามนางว่า “อัลลอฮอยู่ที่ไหน?”

นางตอบว่า “อยู่บนฟากฟ้า” แล้วท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ก็ถามต่อไปอีกว่า “ฉันคือใคร?” ทาสของฉันตอบว่า “ท่านคือศาสนฑูตของอัลลอฮ” ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า “ปล่อยนางให้เป็นอิสระเถิด แท้จริงนางคือผู้ศรัทธา
-ดู หนังสือ อัลอุม ของอิหม่าชาฟิอีย์ เล่ม 5 บทว่าด้วย باب عتق المؤمنة في الظهار

……………

อิหม่ามชาฟิอีย์รับรองแต่ คนอ้างตามชาฟิอีย์ไม่รับรอง ...มาชาอัลลอฮ

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Wed Jun 06, 2012 12:44 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เขาอ้างว่าอิมามอะห์มัด บิน ฮัมบัล ร่อฮิมะฮุลลอฮ์ กำชับให้เรียนวิชากะลาม!

อาจารย์ อารีฟีน กล่าวว่า

ท่านอิมามอิบนุมุฟลิห์(ปราชญ์มัซฮับฮัมบาลีย์และศิษย์ของท่านอิบนุตัยมียะฮ์) และท่านอิมามอัลบุฮูตีย์ปราชญ์มัซฮับฮัมบาลีย์ ได้กล่าวต่อไปว่า

وَوَجَدْتٌ فِيْ كِتَابٍ لِوَلَدِ وَلَدِ الْقَاضِي أَبِيْ يَعْلَى ذَكَرَ فِيْهِ خِلاَفاً فِي الْمَذْهَبِ، وَكَلَامُ الِإمَامِ أَحْمَدَ فِيْ ذَلِكَ قَالَ : إِنَّ عِلْمَ الكَلَامِ مَشْرُوْعٌ مَأْمُوْرٌ بِهِ ، وَتَجُوْزُ الْمُنَاظَرَةُ فِيْهِ، وَالْمَحَاجَّةُ لِأَهْلِ البِدَعِ ، وَوَضْعُ الْكِتَابِ فِي الرَّدِّ عَلَيْهِمْ . وَإِلَى ذَلِكَ ذَهَبَ أَئِمَّةُ التَّحْقِيْقِ الْقَاضِي وَالتَّمِيْمِيُّ فِيْ جَمَاعَةِ الْمُحَقِّقِيْنَ، وَتَمَسَّكُوْا فِيْ ذَلِكَ مَعَ اسْتِفْتَائِهِ عَنْ قََوْلٍ يُسْنَدُ إِلَيْهِ بِقَوْلِ الإِمَامِ أَحْمَدَ فِيْ رِوَايَةِ الْمَرُّوْذِيِّ : إِذَا اشْتَغَلَ بِالصَّوْمِ وَالصَّلاَةِ وَاعْتَزَلَ وَسَكَتَ عَنِ الكَلاَمِ فِيْ أَهْلِ البِدَعِ، فَالصَّوْمُ وَالصَّلاَةُ لِنَفْسِهِ ، وَإِذَا تَكَلَّمَ كاَنَ لَهُ وَلِغَيْرِهِ، يَتَكَلَّمُ أَفْضَلَ وَقَدْ أَلَّفَ أَحْمَدُ كِتَابًا فِي الرَّدِّ عَلَى الزَّنَادِقَةِ وَالْقَدْرِيَّةِ فِيْ مُتَشَابِهِ الْقُرْآنِ وَغَيْرِهِ، وَاحْتَجَّ فِيْهِ بِدَلاَئِلِ الْعُقُوْلِ . وَهَذَا الكِتَابُ رَوَاهُ ابْنُهُ عَبْدُاللهِ ، وَذَكَرَهُ الخَلَّالُ فِي كِتَابِهِ ، وَمَا تَمَسَّكَ بِهِ الأَوَّلُوْنَ مِنْ قَوْلِ أَحْمَدَ فَهُوَ مَنْسُوْخٌ

"ข้าพเจ้าได้พบในหนังสือของหลานของกอฏีอะบียะลา ได้กล่าวการขัดแย้งในมัซฮับ(ฮัมบาลีย์) และคำพูดของอิมามอะห์มัดในสิ่งดังกล่าว เขากล่าวว่า แท้จริงวิชากะลามนั้นเป็นสิ่งที่ถูกสั่งใช้และถูกบัญญัติไว้ตามหลักศาสนา และอนุญาตให้ทำการวิภาษเกี่ยววิชากะลาม และทำการตอบโต้ต่อพวกบิดอะฮ์ และอนุญาตให้แต่งหนังสือนตอบโต้พวกเขา และสิ่งดังกล่าว เป็นทัศนะของบรรดาปราชญ์ที่แน่นแฟ้นในวิชาความรู้ คือท่านอัลกอฎีและท่านอัตตะมีมีย์ ซึ่งอยู่ในกลุ่มของปราชญ์ที่แน่นแฟ้นในวิชาความรู้ และพวกเขาได้ยึดสิ่งดังกล่าว พร้อมกับขอฟัตวาจากคำกล่าวที่พาดพิงไปยังคำกล่าวที่ถูกพาดพิงยังมัน ด้วยคำพูดของท่านอิมามอะห์มัด ในรายงานหนึ่งของอัลมัรรูซีย์ ที่ว่า เมื่อเขาได้ให้ความสนใจการถือศีลอดและการละหมาดและเขาได้ปลีกตัวและนิ่งเฉยจากการพูดเกี่ยวกับพวกบิดอะฮ์ การถือศีลอดและการละหมาดก็เป็นคุณแก่ตัวเขาเอง และเมื่อเขาได้พูด(เกี่ยวกับพวกบิดอะฮ์) ก็เป็นคุณแก่เขาและผู้อื่น โดยเขาก็ได้พูดซึ่งสิ่งที่ดีกว่า และแท้จริงท่านอะห์มัดได้แต่งหนังสือเล่มหนึ่งในการโต้พวกนอกศาสนาและพวกก็ อดรียะฮ์เกี่ยวกับอัลกุรอานและอื่น ๆ ที่มีความหมายคลุมเครือ และทำการอ้างหลักฐานด้วยหลักสติปัญญา และหนังสือเล่มนี้ บุตรของท่านอะห์มัด คืออับดุลลอฮ์ได้รายงานไว้ และท่านอัลค็อลล้าลก็ได้กล่าวไว้ในหนังสือของท่าน และสิ่งที่ปราชญ์ยุคก่อนได้ยึดจากคำพูดของท่านอะห์มัด(ที่ห้ามวิชากะลาม)นั้น ถือว่าถูกยกเลิกไปแล้ว
http://www.sunnahstudent.com/forum/index.php/topic,4679.0.html
........................

ขอชี้แจงดังนี้

ความจริง การเรียนวิชากะลามนั้น ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ ประเด็นสำคัญอยู่ที่การนำไปใช้ และที่อันตรายนำไปใช้อธิบายคุณลักษณะของอัลลอฮ ที่ปรากฏในอัลกุรอ่านและหะดิษ เพื่อให้กินกับเหตุผลและสติปัญญา
อะฮฺลุลกะลาม คือกลุ่มที่ใช้แนวทางหลักตรรกหรือสติปัญญาเป็นหลักในการอธิบายหลักอะกีดะฮฺและเตาฮีด

สิ่งที่แสดงให้เห็นว่า วิชากะลาม เป็นวิชาที่อรรถาธิบายเรื่องอะกีดะฮด้วยปัญญาและเหตุผลทางปัญญา คือ

อิบนุคอ็ลดูนกล่าวว่า


علم يتضمن الحجاج عن العقائد الإيمانية بالأدلة العقلية
คือ วิชา ที่ประกอบด้วยบรรดาเหตุผล เกี่ยวกับหลักศรัทธาด้วยบรรดาหลักฐานทางปัญญา – ดู ตาริคอิบนคอ็ลดูน หน้า ๓๕๐

อิบนุอุษัยมีน กล่าวว่า

هو ما أحدثه المتكلمون في أصول الدين من إثبات العقائد بالطرق التي ابتكروها، وأعرضوا بها عما جاء بالكتاب والسنة

มันคือสิ่งที่ บรรดานักกะลามได้อุตริขึ้นมาใหม่ เกี่ยวกับรากฐานศาสนา จากการรับรองหลักความเชื่อ ด้วยบรรดาแนวทางที่พวกเขาประดิษฐมันขึ้นมา และพวกเขาหันเหออกจากสิ่งที่นำมาด้วยคัมภีร์และอัสสุนนะฮ ด้วยมัน(ด้วยแนวทางที่พวกเขาประดิษฐ์ขึ้นมา – ดู ฟัตหุรอ็บอัลบะรียะฮ หน้า๗๖

เพราะเหตุนี้เองท่านอิหม่ามชาฟิอี (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า

حُكْمِي فِي أَهْلِ الكَلاَمِ أَنْ يُضْرَبُوا بِالجَرِيْدِ، وَيُحْمَلُوا عَلَى الإِبِلِ، وَيُطَافُ بِهِم فِي العَشَائِرِ، يُنَادَى عَلَيْهِم: هَذَا جَزَاءُ مَنْ تَرَكَ الكِتَابَ وَالسُّنَّةَ، وَأَقْبَلَ عَلَى الكَلاَمِ

หุกุมของข้าพเจ้า เกี่ยวกับ อะฮลุลกะลาม คือ การตีด้วยก้านอินทผลัม และพวกเขาจะถูกให้ขึ้นหลังอูฐ และนำพวกเขาแห่ไปรอบๆ ชนเผ่าต่างๆ โดยประกาศบนพวกเขาว่า “นี้คือการตอบแทนผู้ที่ทิ้งคัมภีร์ของอัลลอฮ และสุนนะฮ และมุ่งไปเอาวิชากะลาม – ดูที่มาจากข้างล่างนี้
...................................................

أخرجه البيهقي في مناقب الشافعي 1/462، والخطيب والغدادي في شرف أصحاب الحديث رقم: 163، وابن عبد البر في الانتقاء في مناقب الأئمة الثلاثة الفقهاء ص 123-124، وأبو نعيم في حلية الأولياء 9/116، والبغوي في شرح السنة 1/218، وابن حجر في توالي التأسيس ص 111، وذكره الذهبي في سير أعلام النبلاء 10/29، وعلي القاري في شرح الفقه الأكبر ص 2-3، والسيوطي في الأمر بالإتباع والنهي عن الابتداع ص 72، وفي صون المنطق والكلام ص 31 و65، وابن مفلح الحنبلي في الآداب الشرعية 1/225،
........................

ส่วนการอ้างว่า อิหม่ามอะหมัดกำชับให้เรียนนั้น สมมุติถ้าจริง คงไม่ใช้ให้นำมาเป็นมาตรฐานในการอธิบายสิฟัตอัลลอฮ ในอาดาบอัรชัรอียะฮ ของอิบนุมุฟลิห เล่ม ๑ หน้า ๑๙๙ กล่าวคำพูดของอิหม่ามอะหมัด บิน หัมบัล ว่า


لَسْت بِصَاحِبِ كَلَامٍ، فَلَا أَرَى الْكَلَام فِي شَيْء إلَّا مَا كَانَ فِي كِتَابِ اللَّهِ أَوْ حَدِيثٍ عَنْ رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَأَصْحَابِهِ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُمْ أَوْ عَنْ التَّابِعِينَ، فَأَمَّا غَيْر ذَلِكَ فَالْكَلَام فِيهِ غَيْرُ مَحْمُود

“ฉันไม่ใช่ นักวิชากะลาม ดังนั้น ฉันไม่เห็นด้วยต่อวิชากะลาม แม้แต่น้อย นอกจากสิ่งที่อยู่ในคัมภีร์ อัลลอฮ , ในหะดิษจากรซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม .จากบรรดาเศาะหาบะฮของท่าน (ร.ฎ) และจากบรรดาตาบิอีน ,แล้วสำหรับอื่นจากดังกล่าวนั้น การเสวนาในมันนั้น ไม่ได้รับการชมเชย.

อิบนุมุฟลิ ได้กล่าวว่า

وَنَصَّ الْإِمَامُ أَحْمَدُ رَحِمَهُ اللَّهُ عَلَى الْمَنْع مِنْ النَّظَر فِي كُتُبِ أَهْلِ الْكَلَام وَالْبِدَع الْمُضِلَّة وَقِرَاءَتِهَا وَرِوَايَتِهَا

อิหม่ามอะหมัด (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) ได้บอกเอาไว้เป็นข้อความถึงการห้ามดูในหนังสือของนักกะลามและพวกบิดอะฮที่ลุ่มหลง และห้ามไม่ให้อ่านและรายงานมัน –ดู อาดาบอัรชัรอียะฮ ของอิบนุมุฟลิห เล่ม ๑ หน้า ๑๙๙
..............................
จึงสรุปได้ว่า อิหม่ามอะหมัด บิน หัมบัล ถูกแอบอ้าง ว่าสนับสนุนให้เรียนวิชากะลามมาอธิบายอะกีดะฮ เสียแล้วครับท่าน

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Thu Jun 07, 2012 9:20 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขาบอกไม่เอาหะดิษเศาะเฮียะมาโต้หลักฐานสะติวเด้น

มาดูหางเครื่องโต๊ะครูสะติวเด้นกล่าว

Bainal Haq Wa Batin ในลิงค์ดังกล่าวนี้ พูดเรื่องสะลัฟตอบว่าอย่างไร http://www.sunnahstudent.com/forum/index.php?topic=2836.0

แต่อะสัน ไม่ยอมเอาข้อความของสะลัฟ อย่างเช่น อิบนุญะรีร อัตเฏาะบะรีย์ มาอ้างอิงและแก้ต่าง ซึ่งข้อความีดังนี้...

ท่านอิมาม อิบนุ ญะรีร อัฏฏ็อบรีย์ อุลามาอ์สะลัฟและอิมามปราชญ์นักตัฟซีร ได้กล่าวสนับสนุนอีกว่า

يَعْنِي تَعَالَى ذِكْره بِذَلِكَ : وَإِذَا سَأَلَك يَا مُحَمَّد عِبَادِي عَنِّي أَيْنَ أَنَا ؟ فَإِنِّي قَرِيب مِنْهُمْ أَسْمَع دُعَاءَهُمْ , وَأُجِيب دَعْوَة الدَّاعِي مِنْهُمْ

ความหมายของอัลเลาะฮ์ตะอาลา ด้วยกับอายะฮ์ดังกล่าวนั้น คือ "โอ้ มุฮัมมัด เมื่อบรรดาปวงบ่าวของข้าได้ถามเจ้าถึงข้าว่า ข้าอยู่ใหน? ดังนั้น (เจ้าจงตอบว่า) แท้จริงข้าใกล้ชิดพวกเขา ข้าได้ยินการวอนขอของพวกเขา และข้าจะตอบรับการวอนขอของผู้วอนขอจากพวกเขา" ตัฟซีรอัฏฏ็อบรีย์ อายะฮ์ที่ 186 ซูเราะฮ์อัลบะกอเราะฮ์
………………..

โอ้...มาชาอัลลฮ เศาะเฮียะแต่อะสันไม่เอา.... ใครบอกว่าไม่เอาละท่าน และอายะฮนี้ มันไปหักล้างการอยู่เหนื่อฟากฟ้าของอัลลอฮตรงใหนคร้าบ... อย่าเอาอายะฮนี้อายะฮเดียวมาปิดตาชาวบ้านเค้า แล้วอายะฮ ต่อไปนี้ไม่เศาะเฮียะหรือครับท่าน

أَمْ أَمِنْتُمْ مَنْ فِي السَّمَاءِ أَنْ يُرْسِلَ عَلَيْكُمْ حَاصِبًا
หรือว่าพวกเจ้าจะปลอดภัยจากการที่พระผู้ทรงสถิตย์อยู่ ณ ฟากฟ้า จะทรงส่งลมหอบก้อนกรวดให้กระหน่ำมายัง พวกเจ้า – อัลมุลกุ/17

มาดูคำอธิบายของ ท่านอิบนุญะรีร อัฏฏอ็บรีย์

( أَمْ أَمِنْتُمْ مَنْ فِي السَّمَاءِ ) وَهُوَ اللَّهُ ( أَنْ يُرْسِلَ عَلَيْكُمْ حَاصِبًا )

(หรือว่าพวกเจ้าจะปลอดภัยจากการที่พระผู้ทรงสถิตย์อยู่ ณ ฟากฟ้า ) และพระองค์คือ อัลลอฮ (จะทรงส่งลมหอบก้อนกรวดให้กระหน่ำมายัง พวกเจ้า ) ดูตัฟสีรอิบนุญะรีร อัฏฏอ็บรีย์ อรรถาธิบายซูเราะฮอัลมุลกุ อายะฮ ที่ 17
.........

ข้างบน เป็นอายะฮอัลกุรอ่านและ อิบนุญะรีรเขาอธิบาย ไม้เศาะเฮียะหรือครับ มันสอดคล้องกับหะดิษญารียะฮ ร้อยเปอร์เซ็น

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Mon Jun 11, 2012 5:47 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

มีผู้ถามว่า

ทุกวันนี้ผมเข้าใจมาตลอดว่า ศาสนาอิสลามเกิดขึ้นได้เพียง 1400 กว่าปี ศาสนาก่อนหน้านั้นที่ผมทราบก็มีศาสนา ยิว คริสต์ ที่ระบุไว้ในกาลามุลลอฮฺ และก็มีอายะห์ที่พระองค์ทรงตรัสว่า "แท้จรืงศาสนาของอัลลอฮฺ คือศาสนาอิสลาม"... ก็เป็นคำตรัสที่พระองค์ได้ตรัสไว้ใน อัลกุรอาน.. ข้าพเจ้าอยากให้ อ. Asan Madadam หรือท่นใดก็ได้
………………
อัลหัมดุลิลละฮ เป็นคำถามที่ดีมากครับ
ความจริงศาสนาอิสลาม มีมาตั้งแต่อัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ได้แต่งตั้งนบีอาดัมให้เป็นศาสนาดาแล้ว โดยมีหลักอะกีดะฮเดียวกันคือ การศรัทธาในพรเจ้าองค์เดียวและให้เคารพภักดี ต่ออัลลอฮองค์เดียวเท่านั้นส่วนหลักชะรีอะฮ นั้น มีความแตกต่างกันไปตามยุคตามสมัย
คำว่า”คำว่า “อิสลาม”ตามภาษาอัลกุรอ่าน เป็นความหมายรวมทุกศาสนาที่อัลลอฮได้ประทานแก่บรรดารอซูล ไม่ใช่เฉพาะในยุคนบีมุหัมหมัด
ท่านนบี ศอลฯกล่าวว่า
، وَالْأَنْبِيَاءُ إِخْوَةٌ لِعَلَّاتٍ ، أُمَّهَاتُهُمْ شَتَّى وَدِينُهُمْ وَاحِدٌ
บรรดานบี เป็นพี่น้องที่สืบเชื้อสายจากพ่อเดียวกัน และบรรดาแม่ของพวกเขาแตกต่างกัน และพวกเขามีศาสนาเดียวกัน – รายงานโดยบุคอรี
ท่านอัลหาฟิซอิบนุหะญัร กล่าวว่า

معنى الحديث أن أصل دينهم واحد وهو التوحيد وإن اختلفت فروع الشرائع

ความหมายของหะดิษนี้คือ แท้จริงรากฐานของศาสนาบรรดานบีนั้น อันเดียวกัน คือ เตาฮีด แม้จะมีข้อปลีกย่อยของชะรีอัตแตกต่างกัน – ดูฟัตหุลบารี เล่ม ๖ หน้า ๔๘๙

คำว่า ศาสนายิวในอดีต หมายถึง ศาสนาอิสลาม ตามคำสอนคัมภีร์เตารอต ส่วนศาสนาคริสต์หมายถึง ศาสนาตามคำสอนคัมภีร์อินญีล ในอดีต

ชัยคุลอิสลามอิบนุตัยมียะอ กล่าวว่า

" فمن كان متبعا لشرع التوراة أو الإنجيل الذي لم يبدَّل ولم ينسخ فهو على دين الإسلام ، كالذين كانوا على شريعة التوراة بلا تبديل قبل مبعث المسيح عليه السلام ،
والذين كانوا على شريعة الإنجيل بلا تبديل قبل مبعث محمد صلى الله عليه وسلم "

ดังนั้นผู้ใดปฏิบัติตามชะรีอัต ของคัมภีร์เตารอต หรือคัมภีร์อินญีล ที่มันไม่ได้ถูกเปลี่ยนแปลงและถูกยกเลิก เขาก็อยู่ในศาสนาอิสลาม เช่น บรรดาผู้ที่พวกเขาอยู่บนชะรีอัตคัมภีรเตารอต โดยที่ยังไม่ได้เปลี่ยนแปลงก่อนที่นบีอีซา(อ)ถูกแต่งตั้ง และเช่น บรรดาผู้ที่พวกเขาอยู่บนชะรีอัตคัมภีร์อินญีลโดยที่ยังไม่ได้เปลี่ยนแปลงก่อนที่นบีมุหัมหมัด (ศอ็ลฯ)ถูกแต่งตั้ง- ดูมัจญมัวะอัลฟะตาวา เล่ม ๒๗ หน้า ๒๗๐
เพราะฉะนั้น ศาสนายิว และ ศาสนาคริสต์ในอดีต ก็คือ ศาสนาอิสลามนั้นเอง

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sat Jun 16, 2012 1:06 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ทัศนะของอิหม่ามุจญตะฮิดเกี่ยวกับบิดอะฮ

1.อิบนุตัยมียะฮ กล่าวว่า
البدعة في الدين هي ما لم يشرعه الله ورسوله، وهو ما لم يأمر به أمر إيجاب ولا استحباب

บิดอะฮ ใน ศาสนา คือ สิ่งที่อัลลอฮและรซูลของพระองค์ ไม่ได้บัญญัติมัน และมันคือ สิ่งที่ไม่ได้ถูกสั่งให้กระทำ ด้วยมัน ไม่ว่าคำสั่งที่เป็นวาญิบและคำสั่งที่ชอบให้กระทำ ก็ไม่มี - มัจญมัวะฟะตาวา เล่ม 4 หน้า 107

2. อิหม่ามอะหมัด


ดอิหม่ามอะหมัด ดังนี้

عُبْدُوسُ بْنُ مَالِكٍ الْعَطَّارُ قَالَ : سَمِعْتُ أَبَا عَبْدِ اللَّهِ أَحْمَدَ بْنَ مُحَمَّدِ بْنِ حَنْبَلٍ يَقُولُ : " أُصُولُ السُّنَّةِ عِنْدَنَا : التَّمَسُّكُ بِمَا كَانَ عَلَيْهِ أَصْحَابُ رَسُولِ اللَّهِ - صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ - وَالِاقْتِدَاءُ بِهِمْ ، وَتَرْكُ الْبِدَعِ ، وَكُلُّ بِدْعَةٍ فَهِيَ ضَلَالَةٌ ، وَتَرْكُ الْخُصُومَاتِ وَالْجُلُوسِ مَعَ أَصْحَابِ الْأَهْوَاءِ ، وَتَرْكُ الْمِرَاءِ وَالْجِدَالِ وَالْخُصُومَاتِ فِي الدِّينِ ، وَالسُّنَّةُ عِنْدَنَا آثَارُ رَسُولِ اللَّهِ - صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ - وَالسُّنَّةُ تُفَسِّرُ الْقُرْآنَ ، وَهِيَ دَلَائِلُ الْقُرْآنِ ، وَلَيْسَ فِي السُّنَّةِ قِيَاسٌ ، وَلَا تُضْرَبُ لَهَا الْأَمْثَالُ ، وَلَا تُدْرَكُ بِالْعُقُولِ وَلَا الْأَهْوَاءِ ، إِنَّمَا هِيَ الِاتِّبَاعُ وَتَرْكُ الْهَوَى

อับดุส บิน มาลิก อัลอัฏฏอร กล่าวว่า “ข้าพเจ้าได้ยิน อบูอับดุลลอฮ ,อะหมัด บิน หัมบัล กล่าวว่า “บรรดารากฐานอัสสุนนะฮในทัศนะของเราคือ ยึดถือ ด้วยสิ่งที่บรรดาสาวกของรซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ยืนหยัดอยู่บนมัน และ เจริญรอยตามพวกเขา และละทิ้งบิดอะฮ และทุกบิดอะฮนั้น คือ การหลุ่มหลง และให้ละทิ้งการโต้เถียงและนั่งร่วมกับพวกตามอารมณ์ และละทิ้งการโอ้อวด และการทะเลาะวิวาทและการโต้เถียงกันในเรื่องศาสนา และ อัสสุนนะฮในทัศนะของเราคือ ร่องรอย(หะดิษ)ของรซูลุลลอฮศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และอัสสุนนะฮ อรรถาธิบายอัลกุรอ่าน และมันคือ บรรดาหลักฐานของอัลกุรอ่าน และไม่มีการกิยาสในอัสสุนนะฮ และจะไม่ถูกยกตัวอย่างเปรียบเที่ยบให้แก่อัสสุนนะฮ และมันจะไม่ถูกรับรู้ได้ด้วยการใช้ปัญญา และ ความเห็นตามอารมณ์ ความจริง มันคือ การปฏิบัติตาม และละทิ้งการตามแสดงความเห็นด้วยอารมณ์ – ชัรหุอุศูลิสสุนนะฮวัลญะมาอะฮ ของอิบนุมันศูรอัฏฏอ็บรีย์ เลม 1 หน้า 317 เรื่อง เอียะติกอด อิหม่ามอะหมัด

3. อีหม่ามมาลิก

ดอิหม่ามมาลิก (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวเกี่ยวกับเรื่อง บิดอะฮ

قال ابن الماجشون سمعت مالكا يقول من ابتدع في الاسلام بدعه يراها حسنه فقد زعم ان محمدا ( صلى الله عليه وسلم ) خان الرسالة لان الله يقول ( اليوم أكملت لكم دينكم ) فما لم يكن يومئذ دينا فلا يكون اليوم دينا .

อิบนุ อัลมุบาญิชูน กล่าวว่า “ข้าพเจ้าได้ยิน มาลิก กล่าวว่า “ผู้ใด อุตริบิดอะฮขึ้นมาในอิสลาม แล้วเห็นว่ามันดี แน่นอนเขาเข้าใจว่า มุหัมหมัด ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ไม่ซื่อสัตย์ต่อสาส์น นี้ เพราะอัลลอฮตรัสว่า “(วันที่ข้าได้ให้ศาสนาของพวกเจ้าสมบูรณ์ แก่พวกเจ้าแล้ว) ดังนั้น สิ่งใดที่ไม่เป็นคำสอนศาสนาในวันนั้น ปัจจุบันนี้มันก็ไม่เป็นคำสอนศาสนา เช่นกัน – อัลเอียะติศอม ของ อิหม่ามชาฏิบีย์ เล่ม 1 หน้า 19 สำนักพิมพ์ อัตติญรียะฮอัลกุบรอ อิยิปต์

4. อิหม่ามชาฟิอีย์

ท่านอิหม่ามชาฟิอีย์ เกี่ยวกับ เรื่อง ความคิดเห็นว่า บิดอะฮดี
من استحسن فقد شرع
ผู้ใดคิดเห็นว่าดี แน่นอนเขาได้บัญญัติ (คำสอนศาสนาขึ้นใหม่) - ดูที่มาข้างล่าง

ـ شرح تنقيح الفصول للقرافي: 415 ـ 452، كتاب الحدود لأبي وليد الباجي: 65.
และอิหม่ามชาฟิอี กล่าวอีกว่า

أن حراماً على أحد أن يقول بالاستحسان إذا خالف الاستحسان الخبر

แท้จริง เป็นการหะรอมแก่คนใดคนหนึ่ง ต่อการที่เขาแสดงความคิดเห็นว่าดี เมื่อการแสดงความคิดเห็นว่าดีนั้น ขัดต่อหะดิษ – ดูที่มาข้างล่าง (2)
-- สรุปอิหม่ามชาฟิอีไม่เห็นด้วยกับบิดอะฮหะสะนะฮ
…………………………….
الأم 7: 373، شرح تنقيح الفصول للقرافي: 415، كتاب الحدود لأبي وليد الباجي: 65، كشف الأسرار 4: 1124.(2)

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sat Jun 16, 2012 1:10 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ฟัตวาเกี่ยวกับขนหมาและหมู

ชัยคุลอิสลาม อิบนุตัยมียะฮ กล่าวว่า

وَالْقَوْلُ الرَّاجِحُ هُوَ طَهَارَةُ الشُّعُورِ كُلِّهَا : شَعْرُ الْكَلْبِ وَالْخِنْزِيرِ وَغَيْرُهُمَا بِخِلَافِ الرِّيقِ وَعَلَى هَذَا فَإِذَا كَانَ شَعْرُ الْكَلْبِ رَطْبًا وَأَصَابَ ثَوْبَ الْإِنْسَانِ فَلَا شَيْءَ عَلَيْهِ كَمَا هُوَ مَذْهَبُ جُمْهُورِ الْفُقَهَاءِ : كَأَبِي حَنِيفَةَ وَمَالِكٍ وَأَحْمَد فِي إحْدَى الرِّوَايَتَيْنِ عَنْهُ : وَذَلِكَ لِأَنَّ الْأَصْلَ فِي الْأَعْيَانِ الطَّهَارَةُ فَلَا يَجُوزُ تَنْجِيسُ شَيْءٍ وَلَا تَحْرِيمُهُ إلَّا بِدَلِيلِ

และทัศนะที่มีน้ำหนัก คือ ขนของมัน(ของสัตว์)ทั้งหมด สะอาด : ไม่ว่าจะเป็นขนหมา,ขนหมู และอื่นจากทั้งสองนั้น ในขณะที่มีการเห็นต่างกันเกี่ยวกับน้ำลาย และเพราะเหตุนี้ เมื่อปรากฏว่า ขนหมาเปียก และถูกเสื่อผ้าผู้คน ก็ไม่เป็นไร ดังเช่นสิ่งที่มันเป็นทัศนะส่วนใหญ่ของบรรดาฟุเกาะฮาอฺ (บรรดานักกฎหมายอิสลาม) เช่น อบูหะนีฟะฮ,มาลิก,และอะหมัด ในรายงานหนึ่งจากสองรายงานจากเขา และดังกล่าวนั้น เพราะแท้จริงรากฐานในสิ่งต่างๆนั้น สะอาด ไม่อนุญาตให้ถือว่าสิ่งใดเป็นนะยิส และไม่อนุญาตให้ถือว่าสิ่งใดหะรอม นอกจากต้องมีหลักฐาน – ดูมัจญมัวะอัลฟะตาวา เล่ม 21 หน้า 617

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักความเชื่อ ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, 4, 5 ... 17, 18, 19  ถัดไป
หน้า 4 จากทั้งหมด 19

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


Powered by phpBB ฉ 2001, 2002 phpBB Group







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.29 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ