ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
อนุรักษ์มรดกอิสลาม :: ดูกระทู้ - รวบรวมสาระความรู้ที่โพสต์ในเฟสบุคของอะสัน หมัดอะดั้ม
อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก อนุรักษ์มรดกอิสลาม  
  เพื่อการอนุรักษ์มรดกอิสลาม      คำถามถามบ่อยของกระดานข่าว      ค้นหา      รายนามสมาชิก  
  · เข้าระบบ ข้อมูลส่วนตัว · เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ · กลุ่มผู้ใช้งาน  
รวบรวมสาระความรู้ที่โพสต์ในเฟสบุคของอะสัน หมัดอะดั้ม
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, 4 ... 17, 18, 19  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักความเชื่อ
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sat May 12, 2012 10:47 pm    ชื่อกระทู้: เขากล่าวหาว่าท่านเคาะลิฟะฮอุมัรทำบิดอะฮหะสะนะฮ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เขากล่าวหาว่าท่านเคาะลิฟะฮอุมัรทำบิดอะฮหะสะนะฮ


อะชาอเราะฮ Rayes Bilsoi ท้าวาฮาบีย์โดยถามว่า
5 คำถามที่วะฮาบีไม่กล้าตอบตรงๆ แต่จะแถไปทางอื่นแทนผมขอการชี้แจงจากพี่น้องวะฮาบีย์ เกี่ยวหลักฐานประเด็นเหล่านี้ว่า มีฮะดิษตรง ๆ เปะ ๆ มาระบุว่าให้กระทำได้หรือเปล่าครับ คือ
1. การรวมผู้คนตามอิมามคนเดียวในการทำละหมาดตะฮัจญุดหลังละหมาดตะรอวิห์ในมัสยิดฮะรอมมักกะฮ์และมะดีนะฮ์


http://www.facebook.com/groups/144706252259956/…
…….
หะดิษท่านอุมัรที่ท่านกล่าวว่า “نعمت البدعة هذه (นี้เป็นบิดอะฮที่ดี) เป็นหลักฐานเด็ดที่อะชาอีเราะฮเอามาอ้างทำบิดอะฮ ที่เขาคิดว่าดี อะไรๆก็เอาคำพูดอุมัรคำนี้มาอ้าง มันน่าละอายที่สุด ที่ไปอ้างว่า “คนระดับเคาะลิฟะฮอุมัรทำบิดอะฮ” นี่คือ ความไม่เข้าใจ หรือแกล้งไม่เข้าใจ ก็ไม่รู้ แต่ที่แน่ๆ คือ การบิดเบือนคำพูดท่านอุมัร ว่า ส่งเสริมเรื่องบิดอะฮ

ขอยืนยันว่าท่านอุมัร ไม่ได้ทำบิดอะฮ ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้


1. การละหมาดตะรอเวียะ โดยการตามคนเดียว ท่านนบี ศอลฯ เคยทำแบบอย่างไว้แล้ว ดังหะดิษอบีบีซัรริน ร.ฎ อีกครั้ง


صُمْنَا مَعَ رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ رَمَضَانَ ، فَلَمْ يَقُمْ بِنَا شَيْئًا مِنَ الشَّهْرِ حَتَّى بَقِيَ سَبْعٌ ، فَقَامَ بِنَا حَتَّى ذَهَبَ نَحْوٌ مِنْ ثُلُثِ اللَّيْلِ ، فَلَمَّا كَانَتِ اللَّيْلَةُ الثَّالِثَةُ لَمْ يَقُمْ ، فَلَمَّا كَانَتِ اللَّيْلَةُ الْخَامِسَةُ قَامَ بِنَا حَتَّى شَطْرِ اللَّيْلِ ، فَقُلْتُ : يَا رَسُولَ اللَّهِ ، لَوْ نَفَّلْتَنَا قِيَامَ هَذِهِ اللَّيْلَةِ ؟ قَالَ : فَقَالَ : إِنَّ الرَّجُلَ إِذَا قَامَ مَعَ الإِمَامِ حَتَّى يَنْصَرِفَ كُتِبَ لَهُ قِيَامُ لَيْلَتِهِ ، فَلَمَّا كَانَتِ اللَّيْلَةُ الرَّابِعَةُ لَمْ يَقُمْ ، فَلَمَّا كَانَ فِي اللَّيْلَةِ الثَّالِثَةِ جَمَعَ أَهْلَهُ وَنِسَاءَهُ ، فَقَامَ بِنَا حَتَّى خَشِينَا أَنْ يَفُوتَنَا الْفَلاحُ ، قُلْتُ : وَمَا الْفَلاحُ ؟ قَالَ : السَّحُورُ ، ثُمَّ لَمْ يَقُمْ بِنَا بَقِيَّةَ الشَّهْرِ


พวกเราได้ถือศีลอดเดือนเราะมะฎอน พร้อมกับท่านรซูลุลอฮ ศอลฯ แล้วท่านไม่ได้นำละหมาดพวกเราเลยสักคืน จากเดือน นั้น จนกระทั้ง เหลือเจ็ดคืน แล้วท่านได้นำละหมาดพวกเรา จนกระทั้งผ่านไปหนึ่งในสามของกลางคืน แล้วปรากฏว่าเมือเหลืออีกหกวัน ท่านไม่ได้นำละหมาดพวกเรา แล้วเมื่อเหลือห้าวัน ท่านได้นำละหมาดพวกเรา จนกระทั้งผ่านไปครึ่งคืน แล้วข้าพเจ้ากล่าวว่า”โอ้ศาสนทูตของอัลลอฮ ถ้าพวกเราอาสาจะลุกขึ้นละหมาดในคืนเหล่านี้(จะดีไหม)
แล้วท่านได้กล่าวตอบว่า “แท้จริงคนใดเมื่อเขาได้ละหมาดพร้อมกับอิหม่าม จนกระทั้งเสร็จ เขาจะได้รับการตอบแทนเท่ากับละหมาดทั้งคืน แล้วเมื่อเหลืออีกสี่คืน ท่านไม่ได้นำละหมาดพวกเรา แล้วเมื่อเหลืออีกสามคืน ท่านได้ชุมนุมครอบครัวของท่าน บรรดาภรรยาของท่านและบรรดาผู้คน แล้วท่านได้นำละหมาด พวกเรา จนกระทั้งพวกเราเกรงว่าจะชวดอัล-ฟัลลาห เขา(อบูซัร)กล่าวว่า ข้าพเจ้าได้กล่าวว่า “อัล-ฟัลลาหนั้นคือ อะไร ท่านได้ตอบว่า คือ การรับประทานสะหูร แล้วคืนที่เหลือในเดือนนั้น ท่านก็ไม่ได้ละหมาดนำพวกเรา – หะดิษเศาะเหียะ รายงานโดยเจ้าของสุนัน
...........................

แล้วเมื่อมีหลักฐานอย่างนี้ ท่านอุมัรจะหมายถึงบิดอะฮในทางศาสนาได้อย่างไร

2. การละหมาดตารอเวียะโดยมีอิหม่ามนำนั้น ท่านนบี ศอ็ลฯ ได้ส่งเสริมให้กระทำ ดังข้อความหะดิษอบีซัรรินที่ว่า

لَوْ نَفَّلْتَنَا قِيَامَ هَذِهِ اللَّيْلَةِ ؟ قَالَ : فَقَالَ : إِنَّ الرَّجُلَ إِذَا قَامَ مَعَ الإِمَامِ حَتَّى يَنْصَرِفَ كُتِبَ لَهُ قِيَامُ لَيْلَتِهِ

ข้าพเจ้ากล่าวว่า”โอ้ศาสนทูตของอัลลอฮ ถ้าพวกเราอาสาจะลุกขึ้นละหมาดในคืนเหล่านี้(จะดีไหม)

แล้วท่านได้กล่าวตอบว่า “แท้จริงคนใดเมื่อเขาได้ละหมาดพร้อมกับอิหม่าม จนกระทั้งเสร็จ เขาจะได้รับการตอบแทนเท่ากับละหมาดทั้งคืน –
........................

เพราะฉะนั้น สิ่งที่ท่านนบีส่งเสริม จะเป็นบิดอะฮได้อย่างไร

3. การละหมาดญะมาอะฮตะรอเวียะ โดยการตามอิหม่ามคนเดียว ได้เกิดขึ้นก่อนคำพูด ของท่านอุมัร ที่ว่า نعمت البدعة هذه (บิดอะฮที่ดี คือ สิ่งนี้) แล้ว ดังหะดิษ อับดุรเราะหมาน บิน อับดุลกอรีย์ (ร.ฎ)


خَرَجْتُ مَعَ عُمَرَ بْنِ الْخَطَّابِ رَضِي اللَّه عَنْهم لَيْلَةً فِي رَمَضَانَ إِلَى الْمَسْجِدِ. فَإِذَا النَّاسُ أَوْزَاعٌ مُتَفَرِّقُونَ يُصَلِّي الرَّجُلُ لِنَفْسِهِ وَيُصَلِّي الرَّجُلُ فَيُصَلِّي بِصَلاَتِهِ الرَّهْطُ. فَقَالَ عُمَرُ: إِنِّي أَرَى لَوْ جَمَعْتُ هَؤُلاَءِ عَلَى قَارِئٍ وَاحِدٍ لَكَانَ أَمْثَلَ ثُمَّ عَزَمَ فَجَمَعَهُمْ عَلَى أُبَيِّ بْنِ كَعْبٍ. ثُمَّ خَرَجْتُ مَعَهُ لَيْلَةً أُخْرَى وَالنَّاسُ يُصَلُّونَ بِصَلاَةِ قَارِئِهِمْ. قَالَ عُمَرُ: نِعْمَ الْبِدْعَةُ هَذِهِ وَالَّتِي يَنَامُونَ عَنْهَا أَفْضَلُ مِنِ الَّتِي يَقُومُونَ. يُرِيدُ آخِرَ اللَّيْلِ وَكَانَ النَّاسُ يَقُومُونَ أَوَّلَهُ.


คืนหนึ่งในเดือนเราะมะฎอน ข้าพเจ้าได้ออกไปพร้อมกับ อุมัร บิน อัลคอฏฏอ็บ ไปยังมัสยิด ได้พบว่าประชาชนได้แยกกันเป็นกลุ่ม ๆ คนหนึ่งละหมาดคนเดียวตามลำพัง และคนหนึ่ง ละหมาดแล้วคนกลุ่มหนึ่งละหมาดตามเขา ท่านอุมัรได้กล่าวขึ้นว่า ฉันเห็นว่า ถ้าหากฉันรวมพวกเขาเหล่านี้ ให้ตามอิหม่ามเพียงคนเดียวก็จะเป็นการดียิ่ง ต่อมาท่านอุมัรก็ได้รวมผู้คนให้ละหมาดตามอุบัยย์ บุตร กะอับ จากนั้นฉันได้ออกไปพร้อมกับเขาในอีกคืนหนึ่ง ประชาชนกำลังละหมาดตามอิหม่ามของเขา ท่านอุมัรกล่าวว่า "นี่เป็นบิอะฮที่ดี ช่วงเวลาที่พวกเขานอนกันนั้น ดีกว่าช่วงเวลาที่พวกเขาละหมาดกิยาม เขาหมายถึงช่วงเวลาท้ายคืน แต่ประชาชนจะละหมาดกยามในตอนหัวค่ำ"- เศาะเฮียะบุคอรี กิตาบุตตะรอเวียะ
………….

คำว่า “وَيُصَلِّي الرَّجُلُ فَيُصَلِّي بِصَلاَتِهِ الرَّهْطُ
และคนหนึ่ง ละหมาดแล้วคนกลุ่มหนึ่งละหมาดตามเขา

......

แสดงให้เห็นว่า การละหมาดตะรอเวียะ โดยการตามอิหม่ามคนเดียวก็มีมาก่อนคำพูดของท่านอุมัร ความจริงท่านอุมัร เป็นผู้ฟื้นฟูสุนนะฮที่ปรากฏในสมัยของท่านนบี ศอ็ลฯ ทั้งนี้เพราะในสมัยของเคาะลิฟะฮอบูบักร อัศเศาะดีก ท่านสาละวนอยู่กับ การปราบปรามขบถศาสนา จึงไม่มีเวลามาจัดระเบียบให้เป็นไปตามที่ท่านนบี ศอ็ล ฯเคยปฏิบัติ


4. การกระทำของอุมัรเป็นมติเห็นฟ้องของเหล่าเศาะหาบะฮ ดังหลักฐานต่อไปนี้

وَرَوَى أَسَدُ بْنُ عَمْرٍو عَنْ أَبِي يُوسُفَ قَالَ : سَأَلْتُ أَبَا حَنِيفَةَ عَنِ التَّرَاوِيحِ وَمَا فَعَلَهُ عُمَرُ ؟ فَقَالَ : التَّرَاوِيحُ سُنَّةٌ مُؤَكَّدَةٌ وَلَمْ يَتَخَرَّصْهُ عُمَرُ مِنْ تِلْقَاءِ نَفْسِهِ وَلَمْ يَكُنْ فِيهِ مُبْتَدِعًا ، وَلَمْ يَأْمُرْ بِهِ إِلَّا عَنْ أَصْلٍ لَدَيْهِ وَعَهْدٍ مِنْ رَسُولِ اللَّهِ - صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ - ، وَلَقَدْ سَنَّ عُمَرُ هَذَا وَجَمَعَ النَّاسَ عَلَى أُبَيِّ بْنِ كَعْبٍ فَصَلَّاهَا جَمَاعَةً وَالصَّحَابَةُ مُتَوَافِرُونَ : مِنْهُمْ عُثْمَانُ وَعَلِيٌّ وَابْنُ مَسْعُودٍ وَالْعَبَّاسُ وَابْنُهُ وَطَلْحَةُ وَالزُّبَيْرُ وَمُعَاذٌ وَأُبَيٌّ وَغَيْرُهُمْ مِنَ الْمُهَاجِرِينَ وَالْأَنْصَارِ ، وَمَا رَدَّ عَلَيْهِ وَاحِدٌ مِنْهُمُ ، بَلْ سَاعَدُوهُ وَوَافَقُوهُ وَأَمَرُوا بِذَلِكَ


และรายงานโดย อะสัด บุตร อัมริน จากอบี ยูซูบ กล่าวว่า “ข้าพเจ้าถามอบูหะนีฟะอ เกี่ยวกับตะรอเวียะ และสิ่งที่ ท่านอุมัร ได้กระทำ แล้วท่านกล่าวว่า “ ละหมาดตะรอเวียะ เป็นสุนนะฮมุอักกะดะฮ โดยที่ท่านอุมัรไม่ได้กุเรื่องเท็จขึ้นมาจากตัวท่านเอง ท่านไม่ได้เป็นผู้อุตริ(ผู้ทำบิดอะฮ)ในเรื่องนั้น และท่านไม่ได้ใช้ให้กระทำ นอกจากมี หลักฐาน ณ ที่ท่าน และ เป็นคำสั่งจากท่านรซูลลุลลอฮ ศ็อลลอ็ลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และแท้จริงท่านอุมัร ได้ทำแบบอย่างนี้ขึ้นมา โดยรวมผู้คน ให้ละหมาดภายใต้การเป็นอิหม่ามของท่านกะอับ แล้วได้ทำการละหมาดนั้น(ละหมาดตะรอเวียะ) ในรูปของการละหมาดญะมาอะฮ โดยที่บรรดาเศาะหาบะฮจำนวนมากมาย จากชาวมุฮาญิรีนและชาวอันศอรฺ และไม่มีคนใดจากพวกเขาคัดค้านท่าน(อุมัร)เลย ตรงกันข้าม พวกเขากลับสนับสนุนท่าน พวกเขาเห็นฟ้องกับท่านและ พวกเขาใช้ให้กระทำเรื่องดังกล่าว
- ดู อัลอิคติยารอต ลิตะอฺลีลิลมุคตัร ของอัลมูศิลีย์ อัลหะนะฟีย์ เล่ม 1 หน้า 94
............

สิ่งที่เป็นมติเห็นฟ้องของเหล่าเศาะหาบะฮ มันจะเป็นบิดอะฮได้อย่างไร

5. สุนนะฮของเคาะลิฟะฮอัรรอชิดีน ไม่ใช่บิดอะฮ แต่เป็นสุนนะฮที่นบี ศอลฯ สอนให้ปฏิบัติตาม
ดังหะดิษ

ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมเองที่กล่าวว่า ..

مَنْ يَعِشْ مِنْكُمْ فَسَيَرَى اخْتِلاَفاً كَثِيْرًا فعَلَيْكُمْ بِسُنَّتِىْ وَسُنَّةِ الْخُلَفَاءِ الرَّاشِدِيْنَ الْمَهْدِيِّيْنَ مِنْ بَعْدِىْ عَضُّوْا عَلَيْهَا بِالنَّوَاجِذِ ....

“พวกท่านคนใดที่ยังมีชีวิตอยู่ ต่อไปเขาก็จะได้เห็นความขัดแย้งเกิดขึ้นอย่างมากมาย ดังนั้น หน้าที่ของพวกท่านก็คือ การปฏิบัติตามซุนนะฮ์ของฉัน, และซุนนะฮ์ของคอลีฟะฮ์ผู้ปราดเปรื่องและทรงคุณธรรมหลังจากฉัน, จงกัดมัน (ซุนนะฮ์ของฉันและซุนนะฮ์ของคอลีฟะฮ์ของฉัน) ให้แน่นด้วยฟันกราม ..... ”
..................................
พวกท่านทำบิดอะฮ โดยจะเรียกให้สวยหรูอย่างไรก็ทำไป ไม่มีใครไปห้ามพวกท่านได้ แต่...อย่าเอาเคาะลิฟะฮอุมัร ผู้ทรงธรรม ไปอ้างทำบิดอะฮ เพราะนั้นคือ การหยามเกียรติของท่านอุมัร

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย asan เมื่อ Wed Jul 25, 2012 3:30 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sun May 13, 2012 10:08 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

25 เขาว่าการแบ่งเตาฮีดเป็นบิดอะฮของวะฮาบีย์

ประเด็นนี้ ก็เป็นประเด็นหลักที่อาชาอีเราะฮ นำมาโจมตีพี่น้องมุสลิมที่เขากล่าวหาว่า เป็นพวกวะฮบีย์ ตลอดเวลา ความจริงการสอนเตาฮีด 3 ประเภท คือ รุบูบียฮ อุลูฮียะฮ และ อัลมาอฺวัสสิฟาต ได้มีมาช้านานในเมืองไทย และปัจจุบันหลักสูตรในโรงเรียนราษฏรษ์สอนศาสนาอิสลาม และโรงเรียนของรัฐ ก็มีการสอนเตาฮีด 3 ประเภทนี้ ไม่รู้ผู้ที่โจมตีเรื่องนี้ ไปมุดหัวอยู่ที่ใหน ในเว็บซุนนะฮสะติวเด้นเขาโจมตี วาฮาบีย์ ดังข้อความต่อไปนี้
ในที่สุดพวกเขาก็ได้สูตรสำเร็จรูปในการค้นคิดบิดอะดอลาละตัวใหม่ขึ้นนั้นคือ..การแบ่งเตาฮีดออกเป็น3ประเภท

1.เตาฮีดอัล-รูบูบียะ
2.เตาฮีด อัล-อูลูฮียะ
3.เตาฮีดอัล-อัสมาวัตซีฟัต.
ซึงการแบ่งดังกล่าวนั้นถือว่า
เป็นบิดอะที่ลุ่มหลงของทัศนะวะฮาบีย์ที่ไม่เป็นที่รู้จักมาคุ้นของอุลามะในอดีตที่เป็นทั้ง ซอฮาบะ ตาบีอีน ตาบีอิตตาบีอีนและคนสลัฟ
http://www.sunnahstudent.com/forum/index.php?topic=15.30
………………………………………
เพราะฉะนั้นจึงไม่แปลกที่ นาย Rayes Bilsoi เจ้าเก่า ซึ่งเป็นยามเฝ้ากระดานบอร์ด เว็บซุนนะฮสะติวเด้น ถามว่า
5. การแบ่งเตาฮีดออกเป็น 3 ประเภท คือ เตาฮีดอุลูฮียะฮ์ , เตาฮีดรุบูบียะฮ์ , และเตาฮีดอัสมาอฺวะซีฟาต ซึ่งการแบ่งนี้ไม่มีระบุไว้ในฮะดิษนบี และบรรดาซอฮาบะฮ์ ตาบิอีน และตาบิอิตตาบิอีน ไม่ได้กล่าไว้เลย

............

ขอตอบว่า

ความจริง การกล่าวถึงชื่อเตาฮีดดังกล่าว ได้ปรากฏในยุคสะลัฟแล้ว ดังตัฟสีร อิบนุญะรีร
إِنَّ رَبَّكُمُ اللَّهُ الَّذِي خَلَقَ السَّمَاوَاتِ وَالْأَرْضَ فِي سِتَّةِ أَيَّامٍ ثُمَّ اسْتَوَى عَلَى الْعَرْشِ يُدَبِّرُ الْأَمْرَ مَا مِنْ شَفِيعٍ إِلَّا مِنْ بَعْدِ إِذْنِهِ ذَلِكُمُ اللَّهُ رَبُّكُمْ فَاعْبُدُوهُ أَفَلَا تَذَكَّرُونَ


แท้จริงพระเจ้าของพวกเจ้า คืออัลลอฮ์ผู้ทรงสร้างชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินในเวลา 6 วันแล้วพระองค์ทรงประทับบนบัลลังก์ทรงบริหารกิจการ ไม่มีผู้ให้ความช่วยเหลือคนใด เว้นแต่ต้องได้รับอนุมัติจากพระองค์ นั่นคืออัลลอฮ์พระเจ้าของพวกเจ้า พวกเจ้า จงเคารพภักดีต่อพระองค์เถิด พวกเจ้ามิได้ใคร่ครวญกันดอกหรือ? – ยูนูส/3


ท่านอิบนุญะรีร อัฏฏอ็บรีย์ ซึ่งเสียชีวิตในปี ฮิจเราะฮศักราชที่ 310 ได้อธิบายช่วงท้ายของอายะฮข้างต้นว่า


( ذَلِكُمُ اللَّهُ رَبُّكُمْ ) ، يَقُولُ جَلَّ جَلَالُهُ : هَذَا الَّذِي هَذِهِ صِفَتُهُ ، سَيِّدُكُمْ وَمَوْلَاكُمْ ، لَا مَنْ لَا يَسْمَعُ وَلَا يُبْصِرُ وَلَا يُدَبِّرُ وَلَا يَقْضِي مِنَ الْآلِهَةِ وَالْأَوْثَانِ ( فَاعْبُدُوهُ ) ، يَقُولُ : فَاعْبُدُوا رَبَّكُمُ الَّذِي هَذِهِ صِفَتُهُ ، وَأَخْلِصُوا لَهُ الْعِبَادَةَ ، وَأَفْرِدُوا لَهُ الْأُلُوهِيَّةَ وَالرُّبُوبِيَّةَ ، بِالذِّلَّةِ مِنْكُمْ لَهُ ، دُونَ أَوْثَانِكُمْ وَسَائِرِ مَا تُشْرِكُونَ مَعَهُ فِي الْعِبَادَةِ ( أَفَلَا تَذَكَّرُونَ ) ، يَقُولُ : أَفَلَا تَتَّعِظُونَ وَتَعْتَبِرُونَ بِهَذِهِ الْآيَاتِ وَالْحُجَجِ ، فَتُنِيبُونَ إِلَى الْإِذْعَانِ بِتَوْحِيدِ رَبِّكُمْ وَإِفْرَادِهِ بِالْعِبَادَةِ ، وَتَخْلَعُونَ الْأَنْدَادَ وَتَبْرَءُونَ مِنْهَا


(แท้จริงพระเจ้าของพวกเจ้า คืออัลลอฮ์) พระองค์ผู้ซึ่งความเกรียงไกรของพระองค์สูงส่งยิ่ง ตรัสว่า “นี้คือคุณลักษณะของพระองค์ นายของพวกเจ้า, ผู้ช่วยเหลือของพวกเจ้า ไม่ใช่(คุณลักลักษณะของ)ผู้ที่ไม่สามารถได้ยิน ,ไม่ใช่(คุณลักษณะของ)ผู้ที่ไม่สามารถเห็น ,ไม่ใช่(คุณลักษณะของ)ผู้ที่ไม่สามารถบริหารจัดการ และไม่ใช่(คุณลักษณะของ)ผู้ที่ไม่สามารถตัดสิน(อะไรได้)จากบรรดาพระเจ้า(จอมปลอม)และบรรดารูปเจว็จทั้งหลาย(พวกเจ้าจง เคารพภักดีต่อพระองค์เถิด) เขากลาวว่า (หมายถึง) พวกเจ้าจงเคารพภักดีต่อพระเจ้าของพวกเจ้าเถิด ผู้ซึ่งนี้คือ คุณลักษณะของพระองค์ ,พวกเจ้าจงบริสุทธิ์ใจในการเคารพภักดีต่อพระองค์ และ จงให้เอกภาพ(ความเป็นหนึ่งเดียว)แก่พระองค์ ใน ด้านอุลูฮียะฮและ รุบูบียะฮ ด้วยการ ยอมจำนนจากพวกเจ้า ต่อพระองค์ ไม่ใช่ ต่อบรรดารูปเจว็จและสิ่งอื่นๆที่พวกเจ้านำมาตั้งภาคีพร้อมกับพระองค์ในการเคารพภักดี(อิบาดะฮ) (พวกเจ้ามิได้ใคร่ครวญกันดอกหรือ) เขากล่าวว่า (หมายถึง) พวกเจ้าไม่เอาเป็นบทเรียน และไม่ได้พิจารณา บรรดาสัญญานและหลักฐาน เหล่านี้ดอกหรือ เพื่อพวกเจ้าจะได้กลับไปสูการยอมรับในความเป็นเอกภาพของพระเจ้าของเจ้าและ ให้ความเป็นหนึ่งเดียวแก่พระองค์ ด้วยการเคารพภักดี และเพื่อพวกเจ้าจะได้ถอนตัวจากบรรดาคู่เคียงต่างๆและพวกเจ้าจะได้เป็นอิสระจากมันเหล่านั้น – ดูตัฟสีรอัฏฏอ็บรีย์ เล่ม 15 หน้า 19

...............
จากข้อความ “، وَأَفْرِدُوا لَهُ الْأُلُوهِيَّةَ وَالرُّبُوبِيَّةَ

จะเห็นได้ว่า ท่านอิบนุญะรีร ได้กล่าวถึง เตาฮีดรุบูบียะฮ และ เตาฮีดอุลูฮียะฮ ไว้ในคำอรรถาธิบายของท่าน แสดงว่า “การเรียกชื่อ เตาฮีดรุบูบียะฮ และเตาฮีดอุลูฮียะฮ ไม่ใช่สิ่งที่พวกวาฮาบีอุตริขึ้นมา ตามทีเหล่าอัชอารียะฮ แห่งเว็บสะติวเด้นเคยกล่าวหาแต่ประการใด เรื่องแบบนี้ คุยกันมานานพอสมควรแล้ว แต่ไม่จบเสียที

ท่านอิบนุอบีลอัซ อัลหะนะฟีย์ กล่าวว่า

التوحيد يتضمن ثلاث أنواع : أحدهما : الكلام في الصفات والثاني : توحيد الربوبية وبيان أن الله وحده خالق كل شيء والثالث : توحيد الألوهية ، وهو استحقاقه سبحانه وتعالى أن يُعبد وحده لا شريك له

เตาฮีด ประกอบด้วย 3 ประเภทคือ 1. คำพูดเกี่ยวกับสิฟาต 2. เตาฮีดอัรรุบูบียะฮ โดยที่ อธิบายว่าอัลลอฮองค์เดียวเท่านั้น คือ ผู้ทร้างทุกสิ่ง 3. เตาฮีดอัลอุลูฮียะฮ คือ การรับรอง พระองค์ ซุบฮานะฮูวะตาอาลา ว่า พระองค์พระองค์เดียวเท่านั้น สมควรถูกเคารพภักดี ไม่มีภาคีใดๆแก่พระองค์ – ดู- ชัรหุอะกีดะฮอัฏเฏาะหาวียะฮ หน้า 24
...................

การแบ่งเตาฮีด คือ การประมวลเนื่อหาที่ประกฎในอัลกุรอ่านและหะดิษ มาจัดเป็นหมวดหมู่ หรือประเภท เพื่อสะดวกในการศึกษา เหมือนกับการแบ่ง รุกนละหมาด เป็น 13 ประการ การแบ่งสิฟีต 20 เป็น สิฟัตนัฟสียะฮ สิฟัตสัลบียะฮ สิฟัตมะอานีย์ และ สิฟัตมะอฺนะวียะฮ จึงอยากถามกลับไปว่า สิ่งเหล่านี้ ท่านนบี ศอลฯ แบ่งไว้หรือเปล่า ความอคติ และจิตใจคับแคบ จนหน้ามืดตามัว จึงกล่าวหาคนอื่นโดยไร้เหตุผล ไร้ความรับผิดชอบ

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Tue May 15, 2012 10:45 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

26. อ่านซูเราะฮยาสีนให้คนตายเป็นหลักฐาน sure and sure หรือมั่วนิ่ม

มาดูหลักฐานดังกล่าว

عن معقل بن يسار قال : قال النبي صلى الله عليه وسلم : " اقرءوا يس على موتاكم " .
จากท่าน เมียะกอล บุตร ยะซัร กล่าวว่า ท่านบี กล่าวว่า พวกท่านจงอ่านยาซีนให้แก่เมาตาของพวกท่านเถิด
رواه أبو داود ( 3121 ) وابن ماجه ( 1448 )

أخرجه أحمد ( 5 / 26 و 27 ) ، والبخاري في " التاريخ الكبير " ( 8 / 57 ) ، وأبوداود ( 3 / 188 / 3121 ) ، وأبوعبيد في " فضائل القرآن " ( ص 136 ) ، وابن أبي شيبة ( 3 / 237 ) ، وابن ماجه ( 1 / 465 – 466 / 1448 ) ، والحاكم ( 1 / 565 ) ، والبيهقي ( 3 / 383 ) .
………………………………….

وأعله ابن القطان بالاضطراب وبالوقف وبجهالة حال أبي عثمان وأبيه المذكورين في السند. وقال الدارقطني هذا حديث ضعيف الإسناد مجهول المتن ولا يصح في الباب حديث

อิบนุลกอ็ฏฏอน ถือว่า หะดิษนี้มีข้อบกพร่อง เนื่องด้วย อฎฏิรอ็บ(สับสน คือ หะดิษที่เกิดการขัดแย้งในตัวบทหรือสายรายงาน) และ เนื่องด้วยสืบไม่ถึงนะบี และเนื่องด้วยไม่รู้สภาพที่แท้จริง ของอบีอุษมาน และบุตรของเขาที่ได้ถูกระบุไว้ใน สายสืบหะดิษ และอัดดารุ้ลกุฏนีย กล่าวว่า “ นี้คือ หะดิษที่สายรายงานบกพร่อง ตัวบทไม่เป็นที่รู้กัน และหะดิษ เกี่ยวกับเรื่องนี้ ไม่มีเศาะเหียะแม้แต่บทเดียว - ดูนัยลุ้ลเอาฏอร เล่ม 4 หน้า 20
และ ในหนังสือสุบุสสลาม เล่ม 2 หน้า 90-91

قال ابن حبان : أراد به من حضرته المنية لا أن الميت يقرأ عليه
อิบนุหิบบาน กล่าวว่า “ หะดิษนี้หมายถึง ผู้ที่ใกล้จะตาย ไม่ใช่อ่านให้ผู้ตาย - หนังสือสุบุสสลาม เล่ม 2 หน้า 90-91

قال الدارقطني
" هذا حديث ضعيف الإسناد ، مجهول المتن ، لا يصح في الباب حديث " .
وأعله ابن القطان بالاضطراب والوقف ، وبجهالة حال أبي عثمان

อัดดารุ้ลกุฏนีย กล่าวว่า “ นี้คือ หะดิษที่สายรายงานบกพร่อง ตัวบทไม่เป็นที่รู้กัน และหะดิษ เกี่ยวกับเรื่องนี้ ไม่มีเศาะเหียะแม้แต่บทเดียว - ดูตัลคิสสุลเคาะบีร เล่ม 2 หน้า 104

อิหม่ามนะวาวีย กล่าวว่า
إسناده ضعيف ؛ فيه مجهولان ، لكن لم يضعفه أبوداود

สายสืบ ของมัน เฎาะอีฟ ใน สายรายงาน มีบุคคล ที่ไม่มีใครรู้จักสองคน แต่ว่า อบูดาวูด ไม่ได้ระบุว่า เป็นหะดิษเฎาะอีฟ – ดู อัลอัซการ หน้า 117

อิบนุหะญัรกล่าวว่า :
" هذا حديث غريب " . (คือ เป็นหะดษที่แปลก มีผู้รายงานเพียงคนเดียว)
นี้คือ หะดิษเฆาะรีฟ
( الفتوحات الربانية 4 / 118 ) .
อิบนุ้ลมะดีนีย์ กล่าวว่า
" لم يروي عنه غير سليمان التيمي ، وهو مجهول " ( تهذيب التهذيب 6 / 407 ) .
ไม่มีใครรายงานจากเขา(อบีอุษมาน)อื่นจาก สุลัยมานอัตตัยมี และ เขาคือ ผู้ที่ไม่เป็นที่รู้จัก – ตะฮซีบุตตะฮซีบ 6/407

...............
ท่านนบี ศอลฯ สอนว่า "دع ما يريبك ، إلى ما لا يريبك

จงทิ้งสิ่งที่ทำให้ท่านคลุมเครือ ไปสู่สิ่งที่ไม่ทำให้ท่านคลุมเครือ (หมายถึงแน่ใจ) -รายงานโดยอัตติรมิซีย์

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Tue May 15, 2012 10:48 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

27. บิดอะฮเกี่ยวกับการตาย

1. الوصية باتخاذ الطعام والضيافة يوم موته أو بعده ، وباعطاء دراهم معدودة لمن يتلو القرآن لروحه أو يسبح له أو يهلل . ( الطريقة المحمدية 4 / 325 )

สั่งเสียให้เตรียมอาหารเลี้ยงแขก ในวันที่เขาตาย หรือ หลังจากนั้น และ ให้มอบเงินจำนวนหนึ่งที่ได้กำหนดไว้ให้แก่ผู้ที่อ่านอัลกุรอ่าน ตัสเบียะและตะฮลีล อุทิศให้แก่ดวงวิญญานผู้ตาย
- อัฎ-เฎาะรีเกาะฮมุหัมมะดียะฮ เล่ม 4 หน้า 325
2. الوصية بأن يبيت عند قبره رجال أربعين ليلة أو أكثر أو أقل
สั่งเสียให้บรรดาผู้คนพักแรมที่กุบูรผู้ตาย 40 คืน หรือมากกว่านั้น หรือ น้อยกว่านั้น
- อัฎ-เฎาะรีเกาะฮมุหัมมะดียะฮ เล่ม 4 หน้า 326
3.اتخاذ الضيافة من الطعام من أهل الميت .
ครอบครัวผู้ตายเลี้ยงอาหารแก่แขก
( تلبيس ابليس 341، فتح القدير لابن الهمام 1/ 473 ، المدخل 3/ 275 - 276، إصلاح المساجد 181،
4. اتخاذ الضيافة للميت في اليوم الاول والسابع والاربعين وتمام السنة
เลี้ยงแขกเนื่องจากการตาย ในวันที่ 1 วันที่ 7 วัน ที 40 และวันที่ครบรอบปี(ของการตาย)
.( الخادمي في شرح الطريق المحمدية 322 4، المدخل 2/ 114، 3/ 278 - 27
5. إجابة دعوة أهل الميت إلى الطعام

ตอบรับคำเชิญของครอบครัวผู้ตายให้ไปรับประทานอาหาร(ไปกินนูหรี)
.( الامام محمد البركوي في ( جلاء القلوب 77

واصطناع أهل الميت الطعام لأجل اجتماع الناس عليه بدعة مكروهة بل صح عن جرير رضى عنه ( كنا نعده من النياحة ) وهو ظاهر في التحريم

การที่ครอบครัวผู้ตายทำอาหาร เพื่อให้บรรดาผู้คนมารวมชุมนุมกัน ณ ที่นั้น เป็นบิดอะฮที่น่าเกลียด แต่ทว่า มีรายงานที่เศาะเฮียะจากญะรีร (ร.ฎ)ว่า (พวกเรานับว่า มันเป็นส่วนหนึ่งจากนิยาหะฮ) และมันเป็นที่ชัดเจน ในเรื่องการห้าม
- ที่มา تحفة الأحوذي شرح سنن الترمذي جزء أبواب الجنائز ص 54 – 55 باب ما فى الطعام يصنع لأهل الميت
......................
เพราะฉะนั้นประเด็นเรื่อง ครอบครัวผู้ตายทำบุญเลี้ยงอาหารเนื่องจากการตาย นั้น เป็นบิดอะฮ แบบเนื้อๆไม่ปนผัก

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย asan เมื่อ Tue May 15, 2012 11:47 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Tue May 15, 2012 12:12 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

27. การกล่าวคำเนียตสุนนะฮหรือบิดอะฮ

การกล่าวคำเนียต เป็นเนื้องอกชนิดหนึ่งที่เข้ามาปะปนและเพิ่มเติม ในคำสอนศาสนาโดยไม่มีคำสอนหรือ สุนนะฮจากท่านบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมและเหล่าสาวกของท่าน ดังรายละเอียดต่อไปนี้

ท่านเช็คอับดุลอะซีซ บิน บาซ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่านกล่าวว่า

التلفظ بالنية بدعة ، والجهر بذلك أشد في الإثم ، وإنما السنَّة النيَّة بالقلب ؛ لأن الله سبحانه وتعالى يعلم السرَّ وأخفى ، وهو القائل عز وجل : { قُلْ أَتُعَلِّمُونَ اللَّهَ بِدِينِكُمْ وَاللَّهُ يَعْلَمُ مَا فِي السَّمَاوَاتِ وَمَا فِي الْأَرْضِ } الحجرات / 16
ولم يثبت عن النبي صلى الله عليه وسلم ولا عن أحدٍ من أصحابه ولا عن الأئمة المتبوعين التلفظ بالنية ، فعلم بذلك أنه غير مشروع بل من البدع المحدَثة ، والله ولي التوفيق .

การกล่าวคำเนียตนั้น เป็นบิดอะฮ และการกล่าวคำดังกล่าวนั้นด้วยเสียงดัง ยิ่งมีความผิดมากขึ้น และความจริง ตามสุนนะฮ นั้น คือ การเนียตด้วยใจ เพราะอัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ทรงรู้ยิ่ง สิ่งที่ปิดบังและซ่อนเร้น โดยที่พระองค์ผู้ทรงสูงส่ง ทรงเลิศยิ่ง กล่าวว่า

قُلْ أَتُعَلِّمُونَ اللَّهَ بِدِينِكُمْ وَاللَّهُ يَعْلَمُ مَا فِي السَّمَاوَاتِ وَمَا فِي الْأَرْضِ وَاللَّهُ بِكُلِّ شَيْءٍ عَلِيمٌ

[49.16] จงกล่าวเถิดมุฮัมมัดว่า พวกท่านจะบอกอัลลอฮ์เกี่ยวกับศาสนาของพวกท่านกระนั้นหรือ? อัลลอฮ์นั้นทรงรอบรู้สิ่งที่อยู่ในชั้นฟ้าทั้งหลาย และแผ่นดิน และอัลลอฮ์นั้นทรงรอบรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง

และไม่ปรากฏรายงานที่ได้รับการรับรอง จากท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ,ไม่มีจากคนใดคนหนึ่งจากเหล่าเศาะฮาบะฮ ของท่านและไม่มีจากบรรดาอิหม่ามที่ได้รับการปฏิบัติตาม ว่า มีการกล่าวคำเนียต ด้วยเหตุนั้น จึงทราบได้ว่า มันไม่ได้เป็นสิ่งที่ถูกบัญญัติไว้ แต่ทว่า (มัน)เป็นส่วนหนึ่งจากบิดอะฮ ที่ถูกอุตริขึ้นมาใหม่ - ฟะตะวาอิสลามียะฮ 22/315

ท่านอิบนุตัยมียะฮ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)ได้กล่าวเกี่ยวกับประเด็นการกล่าวคำเนียตว่า


لا يستحب التلفظ بها لأن ذلك بدعة لم تنقل عن رسول الله ولا عن اصحابه ولا أمر النبى أحدا من أمته أن يتلفظ بالنية ولا عَلّم ذلك أحدا من المسلمين ولو كان هذا مشهورا مشروعا لم يهمله النبى وأصحابه مع أن الأمة مبتلاة به كل يوم وليلة بل التلفظ بالنية نقص فى العقل والدين

ไม่ชอบให้กล่าวคำเนียต ด้วยมัน เพราะว่า ดังกล่าวนั้น เป็นบิดอะฮ ไม่มีรายงานจากท่านรซูลุ้ลลอฮ และไม่มีรายงานจากเหล่าสาวกของท่าน และไม่มีคำสั่งของท่านนบี แก่คนหนึ่งคนใดจากอุมมะฮของท่าน ให้กล่าวคำเนียต และท่านนบีไม่ได้สอนสิ่งนั้นแก่คนหนึ่งคนใดจากบรรดามุสลิม และถ้าหากปรากฏว่า สิ่งนี้(การกล่วคำเนียต) เป็นสิ่งที่แพร่หลาย มีบัญญัติให้กระทำ แน่นอน ท่านนบีและบรรดาสาวกของท่านย่อมไม่เพิกเฉย ทั้งๆที่แท้จริงบรรดาอุมมะฮ เป็นผู้ที่เฝ้าระวังมันอยู่ทุกวัน ทุกคืน (ว่ามีสิ่งใดบ้างบัญญัติแก่พวกเขา) แต่ทว่า การกล่าวคำเนียต คือ ความบกพร่อง ในด้านสติปัญญาและศาสนา - มัจญมัวะอัลฟะตาวา 22/231
คำว่า “บกพร่องในด้านศาสนา เพราะมันเป็นบิดอะฮ และคำว่า “บกพร่องในด้านสติปัญญา เพราะ เขาอยู่ในฐานะเดียวกับผู้ที่ เมื่อ เขาต้องการทานอาหารแล้วเขากล่าวคำเนียตว่า “ข้าพเจ้าจะเอามือไปตักอาหาร..... - ดู ฟะตาวากุบรอ 2/218 - พฤติกรรมแบบนี้เขาเรียกว่าคนเสียสติ

และท่านได้กล่าวไว้อีกที่หนึ่งว่า

وجميع ما أحدثه الناس من التلفظ بالنية قبل التكبير وقبل التلبية وفى الطهارة وسائر العبادات فهى من البدع التى لم يشرعها رسول الله صلى الله عليه وسلم وكل ما يحدث فى العبادات المشروعة من الزيادات التى لم يشرعها رسول الله فهى بدعة بل كان صلى الله عليه وسلم يداوم في العبادات على تركها ، ففعلها والمداومة عليها بدعة وضلالة .

และทั้งหมดของสิ่งที่บรรดาผู้คน อุตริมันขึ้นมาใหม่ จากการกล่าวคำเนียต ก่อนที่จะกล่าวตักบีร (ในละหมาด),ก่อนกล่าวตัลบียะฮ(ในการทำหัจญ์) ,ในกรณีการทำความสะอาด และในบรรดาอิบาดะฮต่างๆ มันคือ ส่วนหนึ่ง จากบิดอะฮ ที่ท่านรซูลุ้ลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ไม่ได้บัญญัติมันไว้ และทุกสิ่งที่ถูกอุตริขึ้นใหม่ ในบรรดาอิบาดะฮที่ถูกบัญญัติไว้ จากบรรดาการเพิ่มเติม ที่ท่านรซูลุ้ลลอฮ ไม่ได้บัญญัติมันไว้ มันก็คือ “บิดอะฮ” ในทางตรงกันข้าม เมื่อ ปรากฏว่าท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ละทิ้งมันตลอดในอิบาดะฮต่างๆ ดังนั้น การกระทำมันและกระทำมันเป็นประจำ นั้น เป็นบิดอะฮ และเป็นการหลงผิด -มัจญมัวะฟะตาวา 22/223


และท่านอิบนุตัยมียะฮ ได้กล่าวอีกว่า

محل النية القلب دون اللسان باتفاق أئمة المسلمين في جميع العبادات : الصلاة والطهارة والزكاة والحج والصيام والعتق والجهاد وغير ذلك . ولو تكلم بلسانه بخلاف ما نوى في قلبه كان الاعتبار بما نوى بقلبه لا باللفظ ولو تكلم بلسانه ولم تحصل النية في قلبه لم يجزئ ذلك باتفاق أئمة المسلمين

“ที่ของการเนียตคือ หัวใจ ไม่ใช่ลิ้น ด้วยมติของบรรดาผู้นำมุสลิม ในเรื่องทั้งหมดของอิบาดะฮ เช่น การละหมาด,การทำความสะอาด,การจ่ายซะกาต,การทำหัจญ์,การถือศีลอด,การปลดปล่อยทาส,การญิฮาด และอื่นจากนั้น และถ้าหากว่า เขาพูดด้วยวาจาของเขา ขัดแย้ง(ไม่ตรง) กับสิ่งที่ได้เนียต ในหัวใจของเขา การพิจารณา ก็เป็นไปตามสิ่งที่เขาได้เนียต ด้วยใจของเขา ไม่ใช่ด้วย คำกล่าว และแม้เขาจะกล่าวโดยวาจาของเขา โดยที่ไม่เกิดการเนียตในใจของเขา ดังกล่าวนั้น ย่อมใช้ไม่ได้ โดยมติของบรรดาอิหม่ามของบรรดามุสลิม – ดูมัจญมัวะ ฟะตาวา 22/ 218

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Tue May 15, 2012 9:52 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

28. อะชาอีเราะฮบอกว่า การตีความ "อิสติวาอฺ" ไปเป็น "อิสเตาลา" นั้น เป็นการบิดเบือน ตามทัศนะของวะฮาบีย์


เว็บอะชาอีเราะฮ เจ้าเก่า กล่าวว่า

ก่อนอื่นคุณต้องรู้จักแนวทางของอะชาอิเราะฮฺก่อน เพราะวะฮาบีย์พยายามที่จะยัดเยียดให้กลุ่มอะชาอิเราะฮฺ คือ กลุ่มที่ทำการตะวีลอย่างเดียว แต่หาใช่เช่นนั้นไม่ เพราะแนวทางของอะชาอิเราะฮฺมี 2 แนวทางที่เลื่องลือ และเป็นที่ทราบกันดีในบรรดาหมู่ปราชญ์อิสลาม คือ ปราชญ์ที่ทำการตะวีล (ตีความ) กับปราชญ์ที่ทำการตัฟวีฎ (มอบหมาย)
http://www.sunnahstudent.com/forum/index.php?topic=5385.0
http://www.facebook.com/groups/217086955045279/

..........................

คำชี้แจง

ความจริง แนวทางเกี่ยวกับเกี่ยวกับสิฟาต ของอะชาอีเราะฮที่บอกว่ 2 แนวทาง คือ 1. ตีความ(ตะวีล) 2. มอบหมาย(ตัฟวีฎ) เป็นข้อพิสูจน์ให้เห็นว่า อะชาอีเราะฮสับสนในเรื่องสีฟัต โดยตัดสินไม่ได้ว่าจะเลือกทางเดินอย่างไร ระหว่างตีความ กับ มอบหมาย จึงมีตัวเลือกสองทาง ทั้งนี้เพราะ การไปนึกคิดหรือจินตนาการ ในสิ่งที่ไม่สามารถจินตนาการได้
อะชาอีเราะอฺ อ้างว่า ตามแนวทางของอะชาอีเราะฮ ความจริง อิหม่ามอัลอัชอะรีย์ เขาไม่ได้มีสองแนวทางอย่างที่อะชาอีเราะฮอ้าง
ไม่มีหลักฐานใดๆที่เป็นคำพูดของอิหม่ามอัชอะรีย์ว่า ได้กำหนดสองแนวทางตามที่อะชาอีเราะฮปัจจุบันอ้าง

อิหม่ามอิบนุตัยมียะฮ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า


فَمَنْ قَالَ : إنَّ الْأَشْعَرِيَّ كَانَ يَنْفِيهَا وَأَنَّ لَهُ فِي تَأْوِيلِهَا قَوْلَيْنِ : فَقَدْ افْتَرَى عَلَيْهِ ؛ وَلَكِنْ هَذَا فِعْلُ طَائِفَةٍ مِنْ مُتَأَخِّرِي أَصْحَابِهِ كَأَبِي الْمَعَالِي وَنَحْوِهِ ؛ فَإِنَّ هَؤُلَاءِ أَدْخَلُوا فِي مَذْهَبِهِ أَشْيَاءَ مِنْ أُصُولِ الْمُعْتَزِلَةِ

ดังนั้นผู้ใดก็ตามกล่าวว่า แท้จริง (อบูหะซัน)อัลอัชอะรี เขาได้ปฏิเสธมัน( หมายถึงปฏิเสธสิฟัตเคาะบะรียะฮ เช่น คำว่ามือ เป็นต้น) และ (กล่าวว่า)ในการตะวีลมัน เขามีสองทัศนะ (คือ ตัฟวีฎ และตะวีล) แน่นอนเขาผู้นั้น กุความเท็จให้แก่เขา (แก่อบูหะซันอัลอัชอะรี) แต่ว่า สิ่งนี้ คือ การกระทำของคนกลุ่มหนึ่งจากบรรดาศานุศิษย์ของเขารุ่นหลัง เช่น อบีอัลมุอาลา เป็นต้น เพราะแท้จริงพวกเขา ได้นำเอาสิ่งต่างๆจากรากฐานอะกีดะฮมุอตะซิละฮ เข้าในมัซฮับของเขา(ของอบูหะซัน) – อัลฟะตาวา เล่ม 12 หน้า 203

อิบนุอะสากีรได้กล่าวถึง อบูหะซัน อัลอัชอะรีย์ว โดยกล่าวว่า

تصانيفه بين أهل العلم مشهورة معروفة ، وبالإجادة والإصابة للتحقيق عند المحققين موصوفة ، ومن وقف على كتابه المسمى بالإبانة عرف موضعه من العلم والديانة ، من أهل الإفك والبهتان

บรรดางานเขียนของเขา เป็นที่แพร่หลายและเป็นที่รู้กันในระหว่างนักวิชาการ และมีคุณลักษณะ ด้านความเป็นเลิศและความถูกต้อง เพราะได้รับการพิสูจน์ของนักวิชาการที่ได้รับการรับรองและผู้ใดค้นคว้า ตำราของเขา ที่ชื่อว่า อัลอิบานะฮ เขาก็ได้รู้เนื้อหาของมัน จากความรู้ และหลักความเชื่อ........... ดู หนังสือ ตับยีนกะซิบอัลมุฟตะรีย์ หน้า 28 พิมพ์ที่ดารุลกุตุบอัลอะเราะบีย์ เบรุต พิพพ์ครั้งที่สาม ปี ฮ.ศ 1404

ในหนังสือ อัลอิบานะฮ รับรองการอยู่เหนือบัลลังค์ของอัลลอฮ ดังเช่น

อิหม่ามอบูหาซัน อัลอัชอะรีย์ ได้อ้างหลักฐานแสดงถึงคุณลักษณะการอยู่เบื้องสูงของอัลลอฮดังที่พระองค์ตรัส ต่อไปนี้

يَخَافُونَ رَبَّهُم مِّن فَوْقِهِمْ وَيَفْعَلُونَ مَا يُؤْمَرُونَ
[16.50] พวกเขาจะกลัวพระเจ้าของพวกเขา ผู้ทรงอำนาจเหนือพวกเจ้า ปฏิบัติตามสิ่งที่พวกเขาถูกบัญชา

تَعْرُجُ الْمَلَائِكَةُ وَالرُّوحُ إِلَيْهِ فِي يَوْمٍ كَانَ مِقْدَارُهُ خَمْسِينَ أَلْفَ سَنَةٍ

[70.4] มลาอิกะฮ์และอัรรูหฺ (ญิบรีล) จะขึ้นไปหาพระองค์ในวันหนึ่งซึ่งกำหนดของมันเท่ากับห้าหมื่นปี (ของโลกดุนยานี้)

ثُمَّ اسْتَوَى إِلَى السَّمَاء وَهِيَ دُخَانٌ فَقَالَ لَهَا وَلِلْأَرْضِ اِئْتِيَا طَوْعاً أَوْ كَرْهاً قَالَتَا أَتَيْنَا طَائِعِينَ

[41.11] แล้วพระองค์ทรงมุ่งสู่ฟากฟ้าขณะที่มันเป็นไอหมอก พระองค์จึงตรัสแก่ชั้นฟ้าและแผ่นดินว่า เจ้าทั้งสองจงมาจะโดยเต็มใจหรือไม่เต็มใจก็ตาม มันทั้งสองกล่าวว่า ข้าพระองค์มาอย่างเต็มใจแล้ว


الَّذِي خَلَقَ السَّمَاوَاتِ وَالْأَرْضَ وَمَا بَيْنَهُمَا فِي سِتَّةِ أَيَّامٍ ثُمَّ اسْتَوَى عَلَى الْعَرْشِ الرَّحْمَنُ فَاسْأَلْ بِهِ خَبِيراً

[25.59] พระผู้ทรงสร้างชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินและสิ่งที่มีอยู่ในระหว่างทั้งสองนั้น ในระยะ 6 วัน แล้วพระองค์ทรงสถิตย์อยู่เหนือบัลลังก์ พระผู้ทรงกรุณาปรานี ดังนั้นจงถามผู้รู้เกี่ยวกับพระองค์

اللَّهُ الَّذِي خَلَقَ السَّمَاوَاتِ وَالْأَرْضَ وَمَا بَيْنَهُمَا فِي سِتَّةِ أَيَّامٍ ثُمَّ اسْتَوَى عَلَى الْعَرْشِ مَا لَكُم مِّن دُونِهِ مِن وَلِيٍّ وَلَا شَفِيعٍ أَفَلَا تَتَذَكَّرُونَ

[32.4] อัลลอฮ์คือผู้ทรงสร้างชั้นฟ้าทั้งหลาย และแผ่นดิน และสิ่งที่อยู่ในระหว่างทั้งสองในเวลา 6 วัน แล้วพระองค์ทรงสถิตอยู่เหนือบัลลังก์ สำหรับพวกเจ้านั้นไม่มีผู้คุ้มครองและผู้ช่วยเหลืออื่นจากพระองค์ แล้วพวกเจ้ามิได้ใคร่ครวญบ้างดอกหรือ ?

แล้วท่านอิหม่ามอบูหะซัน สรุปว่า

فكل ذلك يدل على أنه تعالى في السماء مستو على عرشه والسماء بإجماع الناس ليست الأرض فدل على أنه تعالى منفرد بوحدانيته مستو على عرشه استواء منزها عن الحلول والإتحاد

ทั้งหมดนั้น แสดงให้เห็นว่า แท้จริง อัลลอฮฺผู้ทรงสูงส่งนั้นทรงอยู่บน/เหนืออะรัช และเหนือชั้นฟ้า โดยมติของบรรดามนุษย์ (อุลามาอฺ)ไม่ใช่อยู่บนพื้นดินและแสดงให้เห็นว่า พระองค์ ผู้ทรงสูงส่ง ทรงเป็นหนึ่งเดียว ด้วยคุณลักษณะการเป็นเอกกะของพระองค์ ทรงสถิตอยู่เหนือบัลลังค์ของพระองค์ เป็นการสถิตอยู่ ที่บริสุทธิ์จากการตั้งถิ่นฐานและการใกล้ชิด - อัลอิบานะฮ เล่ม 1 หน้า 113
...............

อะชาอีเราะฮปัจจุบัน ได้ตีความ ว่า คำว่า ประทับบนอะรัช หมายถึง อำนาจการปกครอง ซึ่งตางจากทัศนะของอบูหะซันโดยสิ้นเชิง..........
ยิ่งไปกว่านั้น ยังอ้างเท็จว่า อิบนุญะรีรตีความ ดังที่เขากล่าวว่า
หลังจากนั้นอิบนุญะรีร อัฏเฏาะบะรีย์ ได้กล่าวว่า

وَمِنْهَا الِاحْتِيَاز وَالِاسْتِيلَاء كَقَوْلِهِمْ : اسْتَوَى فُلَان عَلَى الْمَمْلَكَة , بِمَعْنَى احْتَوَى عَلَيْهَا وَحَازَهَا

"ส่วนหนึ่งจากหนทางเหล่านั้น คือให้ความหมายว่า (อัลอิห์ติยาซฺ) การครอบครอง และความหมาย (อัลอิสตีลาอฺ) การปกครอง
เช่นคำกล่าวของคนอาหรับที่ว่า คนหนึ่งได้อิสติวาอฺเหนืออาณาจักร หมายถึง เขาได้เป็นเจ้าของเหนืออาณาจักร์หรือครอบครองอาณาจักร"
ตัฟซีรอัฏเฏาะบะรีย์ อธิบายซูเราะฮ์อัลบะกอเราะฮ์ อายะฮ์ 29 เล่ม 1 หน้า 192
นี้คือท่านอิบนุญะรีร ซึ่งเป็นหนึ่งในอุลามาอฺสะละฟุศศอลิห์ ได้ระบุว่า การอิสติวาอฺ มีความหมายว่า ปกครองก็คือหนึ่งในความหมายของภาษาอาหรับครับ
.............

ขอโต้แย้งว่า

ซึ่งความจริงที่อะชาอีเราะสะติวเด้นอ้างข้างต้น ไม่ใช่ทัศนะของอิบนุญะรีร แต่ที่เป็นทัศนะอิบนุญะรีร คือ
อิหม่ามฏอ็บรีย์ได้กล่าวว่า


وأوْلى المعاني بقول الله جل ثناؤه: " ثم استوى إلى السماء فسوَّاهن "، علا عليهن وارتفع، فدبرهنّ بقدرته، وخلقهنّ سبع سموات.


และบรรดาความหมายที่ดีที่สุด ด้วยคำตรัสของอัลลฮผู้ซึ่ง การสรรเสริญ พระองค์สูงส่งยิ่ง ที่ว่า ภายหลังได้ทรงมุ่งสู่ฟากฟ้า และได้ทำให้มันสมบูรณ์ขึ้น ) หมายถึง ทรงอยู่สูงเหนือมันและทรงขึ้น แล้วบริหารจัดการมันด้วยพลานุภาพของพระองค์ และทรงสร้างมัน เป็นเจ็ดชั้นฟ้า – ดู ดูตัฟสีรอัฏฏอบรีย์ อรรถาธิบายอายะฮที่ 29 ซูเราะฮอัลบะเกาะฮเราะฮ
...........

ดังนั้นการอ้างการตีความคำว่า “อิสติวาอฺ เป็น อิสเตาลาอฺ (การครอบครอง) ว่า เป็นทัศนะสะลัฟ จึงเป็นการบิดเบือนจริงๆไม่ใช่การกล่าวหาแน่นอน

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Thu May 17, 2012 10:41 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

29. คนบ้าและเด็กถูกสอบสวนในวันอาคีเราะไหม ?

อลีฟ ฮะซานี เคยได้ยินว่า กรณี (1) เสียสติ (2) เด็กไม่บรรลุศาสนภาวะ บาปบุณในโลกนี้จะไม่ถูกนำไปคิด แต่จะถูกทดสอบอีกครั้ง "ในวันกียามัต" ใช่รึป่าวครับ

……………………

เป็นประเด็นที่น่าสนใจ ขออนุญาตตอบคำถามดังนี้

ในประเด็นนี้ อิบนุกะษีรได้กล่าวว่า

هَاهُنَا مَسْأَلَةٌ قَدِ اخْتَلَفَ الْأَئِمَّةُ رَحِمَهُمُ اللَّهُ تَعَالَى فِيهَا ، قَدِيمًا وَحَدِيثًا ، وَهِيَ : الْوِلْدَانُ الَّذِينَ مَاتُوا وَهُمْ صِغَارٌ وَآبَاؤُهُمْ كُفَّارٌ ، مَاذَا حُكْمُهُمْ ؟ وَكَذَا الْمَجْنُونُ وَالْأَصَمُّ وَالشَّيْخُ الْخَرِفُ ، وَمَنْ مَاتَ فِي الْفَتْرَةِ وَلَمْ تَبْلُغْهُ الدَّعْوَةُ

บรรดานักวิชาการระดับแนวหน้า (ขออัลลอฮเมตตาพวกเขา)ในอดีตและปัจจุบัน ได้มีความเห็นต่างกัน ในมัน คือ เด็กๆที่เสียชีวิตในขณะที่พวกเขายังเล็กและบิดาของพวกเขาเป็นกาเฟร ว่าหุกุมพวกเขาเป็นอย่างไร? และในทำนองเดียวกัน คนบ้า ,คนหูหนวก ,คนชราทีหลงลืม(อันไซเมอร์) ,ผู้ตายในยุคฟิตเราะฮ โดยที่การเผยแพร่ไปไม่ถึงเขา – ดูตัฟสีรอิบนุกะษีร เล่ม 5 หน้า 57 ซูเราะอัลอิสรออฺ
และท่านอิบนุกะษีรได้ยกตัวอย่าง หลายหะดิษ และส่วนหนึ่งคือ

รายงาน จากอัลอัสวัด บิน สาเรียะว่า รายงานจากรซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมกล่าวว่า

" أَرْبَعَةٌ يَحْتَجُّونَ يَوْمَ الْقِيَامَةِ : رَجُلٌ أَصَمُّ ، وَرَجُلٌ أَحْمَقُ ، وَرَجُلٌ هَرِمٌ ، وَرَجُلٌ مَاتَ فِي الْفَتْرَةِ ، فَأَمَّا الأَصَمُّ فَيَقُولُ : رَبِّ لَقَدْ جَاءَ الإِسْلامُ وَلَمْ أَسْمَعْ شَيْئًا ، وَأَمَّا الأَحْمَقُ ، فَيَقُولُ : رَبِّ لَقَدْ جَاءَ الإِسْلامُ وَالصِّبْيَانُ يَحْذِفُونِي بِالْبَعْرِ ، وَأَمَّا الْهَرِمُ ، فَيَقُولُ : رَبِّ لَقَدْ جَاءَ الإِسْلامُ وَمَا أَعْقِلُ ، وَأَمَّا الَّذِي مَاتَ فِي الْفَتْرَةِ ، فَيَقُولُ : رَبِّ مَا أَتَانِي لَكَ رَسُولٌ ، فَيَأْخُذُ مَوَاثِيقَهُمْ لَيُطِيعَنَّهُ ، فَيُرْسِلُ إِلَيْهِمْ رَسُولا أَنِ ادْخُلُوا النَّارَ ، قَالَ : فَوَالَّذِي نَفْسِي بِيَدِهِ لَوْ دَخَلُوهَا كَانَتْ عَلَيْهِمْ بَرْدًا وَسَلامًا " . أَخْبَرَنَا مُعَاذُ بْنُ هِشَامٍ ، حَدَّثَنِي أَبِي ، عَنْ قَتَادَةَ ، عَنِ الْحَسَنِ ، عَنْ أَبِي رَافِعٍ ، عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ ، بِمِثْلِ هَذَا الْحَدِيثِ ، إِلا إِنَّهُ قَالَ : " فَمَنْ دَخَلَهَا كَانَتْ عَلَيْهِ بَرْدًا وَسَلامًا ، وَمَنْ لَمْ يَدْخُلْهَا يُسْحَبُ إِلَيْهَا

บุคคลสี่จำพวกได้อ้างเหตุผลในวันกิยามะฮ คือ คนหูหนวก ,คนปัญญาอ่อน ,คนชรา และคนที่ตายในยุคฟิตเราะฮ แล้วสำหรับคนหูหนวก เขาจะกล่าวว่า “โอ้พระเจ้าของข้าพระองค์ อิสลามได้มา โดยที่ข้าพระองค์ไม่ได้ยินสิ่งใดเลย , สำหรับคนปัญญาอ่อน กล่าวว่า “โอ้พระเจ้าของข้าพระองค์ อิสลามได้มา โดยที่บรรดาเด็ก ได้เอามูลสัตว์ขว้างปาข้าพระองค์ และสำหรับคนชรา เขาจะกล่าวว่า “โอ้พระเจ้าของข้าพระองค์ อิสลามได้มา โดยที่ข้าพระองค์ ไม่เข้าใจอะไรเลย และสำหรับ ผู้ที่ตายในยุคฟิตเราะฮ เขาจะกล่าวว่า “โอ้พระเจ้าของข้าพระองค์ ไม่มีรอซูลคนใดมายังข้าพระองค์ แล้วเขาจะได้เอาคำมั่นสัญญา ของพวกเขา เพื่อพวกเขาจะได้เชื่อฟังปฏิบัติตามเขา(รอซูล)ผู้นั้น แล้วเขาถูกส่งให้เป็นรอซุลมายังพวกเขา (แล้วบอกพวกเขา)ถึงการที่พวกเขาเข้านรก” ท่านรซูลุลลอฮ กล่าวว่า “ขอสาบานต่อผู้ซึ่งชีวิตของฉันอยู่ด้วยพระหัตถ์ของพระองค์ ถ้าหากพวกเขาได้เข้ามัน(หมายถึงเข้านรก) พวกเขาก็จะได้รับความเย็นและความสุขสบาย –

الراوي
الأسود بن سريع المحدث: ابن القيم - المصدر: أحكام أهل الذمة - الصفحة أو الرقم: 1139/2
خلاصة حكم المحدث: إسناده صحيح متصل

แต่ก็มีนักวิชาการที่ค้านหะดิษข้างต้นคือ

شيخ الإسلام أبو عمر ، يوسف بن عبد الله بن
محمد بن عبد البر بن عاصم النمري الأندلسي ، القرطبي ، المالكي

โดยท่านอิบนุกะษีรได้ระบุคำพูดของเขาในตัฟสีรของท่านว่า

وَأَحَادِيثُ هَذَا الْبَابِ لَيْسَتْ قَوِيَّةً ، وَلَا تَقُومُ بِهَا حُجَّةٌ وَأَهْلُ الْعِلْمِ يُنْكِرُونَهَا ؛ لِأَنَّ الْآخِرَةَ دَارُ جَزَاءٍ وَلَيْسَتْ دَارَ عَمَلٍ وَلَا ابْتِلَاءٍ ، فَكَيْفَ يُكَلَّفُونَ دُخُولَ النَّارِ وَلَيْسَ ذَلِكَ فِي وُسْعِ الْمَخْلُوقِينَ ، وَاللَّهُ لَا يُكَلِّفُ نَفْسًا إِلَّا وُسْعَهَا ؟

บรรดาหะดิษในเรื่องนี้ ไม่แข็งแรง และเอามาเป็นหลักฐานอ้างอิงไม่ได้ และนักวิชาการ พวกเขาได้ปฏิเสธมัน เนื่องจากวันอาคีเราะฮนั้น เป็นเมืองแห่งการตอบแทน ไม่ใช่เมืองแห่งการปฏิบัติและการทดสอบ พวกเขาจะถูกบังคับให้เข้านรกได้อย่างไร โดยที่ดังกล่าวนั้น ไม่ใด้อยู่ในความสามารถของมัคลูคที่จะทำได้ และ “อัลลอฮ์ไม่ทรงวางภาระให้แก่ชีวิตใด นอกจาก สิ่งที่อยู่ในความสามารถของเขา…” – ดู ดูตัฟสีรอิบนุกะษีร เล่ม 5 หน้า 57 ซูเราะอัลอิสรออฺ
………..


เพิ่มเติม



وَمَا كُنَّا مُعَذِّبِينَ حَتَّى نَبْعَثَ رَسُولاً ) الإسراء/من الآية 15

และเรามิเคยลงโทษผู้ใด จนกว่าเราจะแต่งตั้งร่อซูลมา

عن عائشة عن النبي صلى الله عليه وسلم قال : رفع القلم عن ثلاث عن النائم حتى يستيقظ وعن الصغير حتى يكبر وعن المجنون حتى يعقل أو يفيق
قال الشيخ الألباني : صحيح

รายงานจากท่านหญิงอาอีฉะฮ จากนบี กล่าวว่า " ปากกาถูกยก(หมายถึงจะไม่ถูกบันทึกความผิด)จากบุคคลสามจำพวกคือ คนนอนหลับจนกว่าเขาจะตื่น,เด็กเล็กจนกว่าเขาจะเป็นผู้ใหญ่ และ คนบ้า จนกว่าเขาจะมีสติกลับคืนมา - เช็คอัลบานีย์กล่าวว่า เป็นหะดิษเศาะเฮียะ

والله أعلم بالصواب
อะสัน หมัดอะดั้ม

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย asan เมื่อ Thu May 17, 2012 10:58 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Thu May 17, 2012 10:55 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

30. ท่านรักอัลลอฮจริงไหม?

การที่เรานับถือศาสนา โดยมีเป้าสูงสุดในชีวิต คือ ความโปรดปรานจากอัลลอฮ ในโลกนี้และโลกหน้า เราไม่ได้นับถือศาสนาเพื่อตามอารมณ์ตนเอง หรือ อารมณ์ของความหลากหลายของคนในดุนยา หรือ เพื่อพวกฟ้องและมัซฮับ เพราะฉะนั้น การแสวงหาความโปรดปรานของอัลลอฮ นั้น เราต้องพยายามแสวงหาแนวทางที่จะทำให้ใกล้ชิดต่อพระองค์ นั้น คือ การปฏิบัติตามสิ่งใดก็ตามที่เป็นสุนนะฮของท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม

قُلْ إِنْ كُنْتُمْ تُحِبُّونَ اللَّهَ فَاتَّبِعُونِي يُحْبِبْكُمُ اللَّهُ وَيَغْفِرْ لَكُمْ ذُنُوبَكُمْ وَاللَّهُ غَفُورٌ رَحِيمٌ

จงประกาศเถิด(โอ้มุหัมหมัด) ว่า “หากพวกท่านรักอัลลอฮ จงปฏิบัติตามฉัน อัลลอฮก็จะรักพวกท่านและอภัยความผิดของพวกท่าน ให้แก่พวกท่าน และอัลลอฮ คือ ผู้ทรงอภัยและเมตตายิ่ง – อาลิอิมรอน/31
ท่านอิบนุกะษีร อธิบายว่า

هَذِهِ الْآيَةُ الْكَرِيمَةُ حَاكِمَةٌ عَلَى كُلِّ مَنِ ادَّعَى مَحَبَّةَ اللَّهِ ، وَلَيْسَ هُوَ عَلَى الطَّرِيقَةِ الْمُحَمَّدِيَّةِ فَإِنَّهُ كَاذِبٌ فِي دَعْوَاهُ فِي نَفْسِ الْأَمْرِ ، حَتَّى يَتَّبِعَ الشَّرْعَ الْمُحَمَّدِيَّ وَالدِّينَ النَّبَوِيَّ فِي جَمِيعِ أَقْوَالِهِ وَأَحْوَالِهِ ، كَمَا ثَبَتَ فِي الصَّحِيحِ عَنْ رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَنَّهُ قَالَ : " مَنْ عَمِلَ عَمَلًا لَيْسَ عَلَيْهِ أَمْرُنَا فَهُوَ رَدٌّ

อายะฮอันทรงเกียรตินี้ คือ ผู้ตัดสิน (เอาผิด)บน ทุกๆคน ที่อ้างว่ารักอัลลอฮ โดยที่เขาไม่ได้อยู่บนแนวทางของมุหัมหมัด ,ในความเป็นจริง เขาคือ ผู้กล่าวเท็จในการอ้างของเขา จนกว่า เขาจะเจริญรอยตามบัญญัติแห่งมุหัมหมัด และศาสนาแห่งนบี ในบรรดาคำพูดและการกระทำของเขาทั้งหมด ดังหะดิษที่ยืนยันไว้ในอัศเศาะเฮียะ จากท่านรซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “ผู้ใดประกอบการงาน(อะมั้ลอิบาดะฉ)ใด ที่ไม่ใช่กิจการของเราบนมัน มันถูกปฏิเสธ”
- ดู ตัฟสีรอิบนุกะษีร เล่ม 2 หน้า 33

عَنِ ابْنِ جُرَيْجٍ قَوْلَهُ : " إِنْ كُنْتُمْ تُحِبُّونَ اللَّهَ فَاتَّبِعُونِي يُحْبِبْكُمُ اللَّهُ ، قَالَ : كَانَ قَوْمٌ يَزْعُمُونَ أَنَّهُمْ يُحِبُّونَ اللَّهَ ، يَقُولُونَ : إِنَّا نَحْبُ رَبَّنَا ! فَأَمَرَهُمُ اللَّهُ أَنْ يَتْبَعُوا مُحَمَّدًا - صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ - ، وَجَعَلَ اتِّبَاعَ مُحَمَّدٍ عَلَمًا لِحُبِّهِ .

จากอิบนุญุรัยญฺ เกี่ยวกับคำตรัสที่ว่า “จงประกาศเถิด(โอ้มุหัมหมัด) ว่า “หากพวกท่านรักอัลลอฮ จงปฏิบัติตามฉัน อัลลอฮก็จะรักพวกท่าน” เขาได้กล่าวว่า “ คนกลุ่มหนึ่ง เข้าใจว่า พวกเขารักอัลลอฮ โดยกล่าวว่า “พวกเรารักพระเจ้าของเรา” ดังนั้นอัลลอฮจึงสั่งให้พวกเขาปฏิบัติตามมุหัมหมัด ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และให้การปฏิบัติตามมุหัมหมัด เป็นเครื่องหมายพิสูจน์ว่า รักพระองค์ – ดู ตัฟสีร อัฏฏอ็บรีย์ เล่ม 6 หน้า 322
...........
จากตัวอย่างข้างต้น เราพยายามที่จะแสวงหาสัจธรรม โดยใช้บรรดาผู้รู้ทั้งยุคก่อนและยุคหลัง เป็นสะพานเชื่อมไปปสู่เป้าคือ ทางนำของอัลลอฮและรอซูล แต่ถ้าเรา ยังยึดติดอยู่กับ คนนั้น คนนี้ มัซฮับนั้น มัซฮับนี้ โดยไม่เปิดให้สติปัญญาได้ตริตรอง เราจะพ บแก่นของศาสนาได้อย่างไร
والله أعلم بالصواب

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sat May 19, 2012 12:34 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

31. อันตรายการเรียนรู้ด้วยการตักลิด


فَقَالَ الشَّافِعِيُّ : مَثَلُ الَّذِي يَطْلُبُ الْعِلْمَ بِلَا حُجَّةٍ كَمَثَلِ حَاطِبِ لَيْلٍ ، يَحْمِلُ حُزْمَةَ حَطَبٍ وَفِيهِ أَفْعَى تَلْدَغُهُ وَهُوَ لَا يَدْرِي

อิหม่ามชาฟิอี กล่าวว่า “อุปมา ผู้ที่แสวงหาความรู้ โดยไม่มีหลักฐานนั้น อุปมัยดังเช่น คนหาไม้ฝืนในยามค่ำคืน แล้วแบกมัดไม้ฟืน โดยที่ในไม้ฟื้นนั้น มีงูพิษจะกัดเขาอยู่โดยที่เขาไม่รู้ – อัลเอียะลาม เล่ม 2 หน้า 138
..........

เพราะจะนั้นการเรียนรู้แบบตักลิด โดยไม่ศึกษาหลักฐาน บางทีความรู้นั้นเป็นอันตรายแก่ตัวเอง เพราะเป็นความรู้ที่หลงทาง เนื่องจากไม่ตรงกับอัลกุรอ่านและสุนนะฮ

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sat May 19, 2012 12:52 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

32. หุกุมคนที่ออกจากศาสนาแล้วเตาบะฮ จะแต่งงานกับภรรยาเดิมที่เป็นมุสลิมได้ไหม

เลิศ ชัยคำ สามี ออกจากอิสลามมาหลายปีแล้ว..และก็มีลูกด้วยกัน..การเตาบะและรับอิสลามคงไม่ใช่ปัญหาหลักของคนกลุ่มนี้ แต่การนิกะโดยอาศัยการเข้ารับอิสลามใหม่จะเป็นช่องทางให้ได้หรือไม่ ..เรื่องราวทางสังคมที่เกิดปัญหาแล้วมาให้แก้ทีหลังเยอะมากครับ..ฝากเรื่องนี้ด้วย เพราะเกิดขึ้นในสังคมเราจริงๆตอนนี้..

ตอบ

ความจริง ปัญหาที่ถามเป็นปัญหาร่วมสมัย ที่ไม่มีกรณีตัวอย่างในสมัยนบี สอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เพราะกรณีตัวอย่างสมัยนบี เป็นกรณีสามีภรรยาที่อยู่ในยุคก่อนอิสลาม หากทั้งคู่รับอิสลามพร้อมกัน ก็ไม่ต้องทำพิธีนิกะห์ใหม่ และเมื่อคนหนึ่งคนใด รับอิสลาม ก็ถือว่า ต้องยกเลิกจากการเป็นสามีภรรยากัน หากอีกคนรับอิสลาม ก่อนภรรยาพ้นสภาพอิดดะฮ ก็ไม่ต้องแต่งงานใหม่ หรือพ้นสภาพอิดดะฮไปแล้วก็ตาม ยกเว้นกรณีได้สามีใหม่แล้วกรณีนี้ ต้องทำพิธีนิกะหใหม่ ดังหะดิษ

وَعَن ابْنِ عَبَّاسٍ قَالَ: رَدَّ النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ابْنَتَهُ زَيْنَبَ عَلَى أَبِي الْعَاصِ بْنِ الرَّبِيعِ بَعْدَ سِتِّ سِنِينَ بِالنِّكَاحِ الأَوَّلِ، وَلَمْ يُحْدِثْ نِكَاحاً.

รายงานจากอิบนุอับบาสว่า เขากล่าวว่า “นบี ศอ็ลฯ ได้ให้บุตรสาวของท่านคือ ซัยหนับ กลับคืนให้แก่อบีอัลอาศ บิน อัรรอเบียะ หลังจากระยะเวลาผ่านไปหกปี ด้วยการนิกะหฺครั้งแรก และท่านไม่ได้จัดการทำพิธีนิกะหฺใหม่-

رَوَاهُ أَحْمَدُ وَالأَرْبَعَةُ إلاَّ النَّسَائِيَّ، وَصَحَّحَهُ أَحْمَدُ وَالْحَاكِمُ

แต่กรณีที่ถามไม่มีกรณีตัวอย่าง เพราะการเป็นมุรตัด ถือ เป็นการขบถต่อศาสนา หากไม่สำนึผิดและกลับตัวโทษคือ การประหาร ปัญหาสาสนาด้านสังคม(มุอามาลาต) มันจะเกิดขึ้นตลอดเวลา แตกต่างกันไปตามสภาพสังคมและยุคสมัย หากไม่มีตัวบท ก็อาศัยการวินิจฉัย(อิจญติฮาด)ของนักวิชาการ ซึ่งต่างจากเรื่องอิบาดะฮ เพราะเรื่องอิบาดะฮ รูปแบบได้ถูกกำหนดตายตัวไว้แล้ว

มาดูการวินิจฉัยของอิหม่ามมุจญตะฮิด

1. อิหม่ามชาฟิอีกล่าวว่า

وَإِذَا ارْتَدَّ الرَّجُلُ عَنْ الْإِسْلَامِ وَلَهُ زَوْجَةٌ ، أَوْ امْرَأَةٌ عَنْ الْإِسْلَامِ وَلَهَا زَوْجٌ.................. لَا تَقَعُ الْفُرْقَةُ بَيْنَهُمَا حَتَّى تَمْضِيَ عِدَّةُ الزَّوْجَةِ قَبْلَ يَتُوبُ وَيَرْجِعُ إلَى الْإِسْلَامِ فَإِذَا انْقَضَتْ عِدَّتُهَا قَبْلَ يَتُوبُ فَقَدْ بَانَتْ مِنْهُ وَلَا سَبِيلَ لَهُ عَلَيْهَا وَبَيْنُونَتُهَا مِنْهُ فَسْخٌ بِلَا طَلَاقٍ

เมื่อชายคนนั้น สิ้นสภาพจากอิสลาม และเขามีภรรยา หรือ ผู้หญิง คนหนึ่ง สิ้นสภาพจากอิสลาม และนางมีสามี..... การแยกกันอยู่จะไม่เกิดขึ้น จนกว่า อิดดะฮของภรรยาผ่านไป ก่อนเขาเตาบะฮและกลับเข้าสู่อิสลาม ดังนั้นเมื่อ อิดดะฮของนางผ่านไป ก่อนเขา(สามี)จะเตาบัต แน่นอน นางก็ได้พ้นสภาพการเป็นภรรยาจากเขา (หมายถึงได้พ้นสภาพการเป็นสามีภรรยากัน) และไม่มีหนทางใดแก่เขา บนตัวนาง และการพ้นสภาพการเป็นภรรยาจากเขานั้น คือ การยกเลิกการเป็นสามีภรรยา โดยไม่ต้องหย่า - อัลอุม เล่ม 6 หน้า 160 บาบุอัลมุรตัดอัลกะบีร

فمذهب الشافعية والصحيح عند الحنابلة أنه إن عاد إلى الإسلام قبل انقضاء عدة زوجته فنكاحه باقٍ كما هو ، وإن انقضت العدة قبل رجوعه للإسلام وقعت الفرقة ، وليس له أن يرجع إلى زوجته إلا بعقد جديد .
ومذهب الحنفية والمالكية أن الردة توجب الفرقة في الحال ، ولو كان ذلك بعد الدخول .

มัซฮับชาฟิอียะฮ และที่ถูกต้องในทัศนะนักวิชาการหะนาบะละฮ ว่า แท้จริงหากเขากลับเข้าสู่
อิสลาม กอ่นการสิ้นสภาพอิดดะฮของภรรยา สภาพการนิกะฮของเขายังคงอยู่ ดังเช่น กรณีหากพ้นสภาพอิดดะฮ ก่อนเขากลับมาสู่อิสลาม การแยกกันก็จะเกิดขึ้นทันที ไม่อนุญาตให้เขาคืนดี(รุญัวะ)กับภรรยาของเขา นอกจากต้องทำพิธีนิกะหฺใหม่ และมัซฮับ หะนะฟียะฮและมาลิกียะฮ นั้น การเป็นริดดะฮ นำไปสู่การแยกจากการเป็นสามีภรรยากันโดยทันที แม้ว่า ดังกล่าวนั้นปรากฏหลังจากได้ร่วมหลับนอนกันแล้วก็ตาม

وينظر : "المغني" (7/133) ، "الموسوعة الفقهية" (22/198) ، "الإنصاف" (8/216) ، "كشاف القناع" (5/121) ، "تحفة المحتاج" (7/328 ) ، "الفتاوى الهندية" (1/339) ، "حاشية الدسوقي" (2/270) .
http://islamqa.info/ar/ref/134339

สรุป

เมื่อสามี หรือ ภรรยา สิ้นสภาพการเป็นมุสลิม (ริดดะฮ) ก็ให้ทั้งสองแยกกันอยู่ และรอจนกว่าภรรยาพ้นสภาพอิดดะฮ คือ การมีประจำเดือนสามครั้ง เมื่อประจำเดือนครบสามครั้งถือว่า เป็นตกเฏาะลาก (หมายถึงถือเป็นการหย่าตามกฎหมาย) แต่ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เตาบะฮ และกลับเข้าสู่อิสลาม ก่อนพ้นสภาพอิดดะฮ เขาทั้งสองสามารถอยู่ร่วมเป็นสามีภรรยากันได้โดยไม่ต้องแต่งงาน(นิกะห)ใหม่ หากพ้นสภาพอิดดะฮไปแล้ว ก็ให้แต่งงานกันใหม่ ท้งนี้ขึ้นอยู่กับการยินยอมของภรรยาด้วย

والله أعلم بالصواب

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sun May 20, 2012 12:47 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

33. Umaira Islam
มีคำถามค่ะ ... มีคู่รักคู่หนึ่ง เป็นคนกาเฟรทั้งคู่ ต่อมาภายหลังเขาเข้ารับอิสลามทั้งคู่ พวกเขาต้องแต่งงานใหม่ไหมค่ะ งงค่ะ อยากทราบ ตอบด้วยค่ะ ... ย่าซ่กั้ลลอฮุคอยรอน ...

หนูไม่เอาคำตอบจากกลุ่มคณะใหม่นะค่ะ กลัวไม่ถูกอะ

ตอบ

ขอตอบดังนี้

إذا أسلم الزوج ثم أسلمت الزوجة فإنهما يبقيان على عقد الزواج السابق، ولا يحتاج إلى تجديد‏.‏

เมื่อสามีเข้ารับอิสลาม หลังจากนั้น ภรรยาเข้ารับอิสลาม แท้จริงทั้งสองคนนั้นยังคงอยู่บนการอะกัดนิกะหฺที่มีมาก่อนและไม่จำเป็นจะต้องทำพิธีนิกะหฺใหม่

اللجنة الدائمة للبحوث العلمية والإفتاء

http://islamancient.com/play.php?catsmktba=30401

عَنْ ابْنِ عَبَّاسٍ ، قَالَ : " رَدَّ النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ابْنَتَهُ زَيْنَبَ عَلَى أَبِي الْعَاصِي بْنِ الرَّبِيعِ ، بَعْدَ سِتِّ سِنِينَ بِالنِّكَاحِ الْأَوَّلِ وَلَمْ يُحْدِثْ نِكَاحًا "

รายงานจากอิบนุอับบาส กล่าวว่า “ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ส่งบุตรสาวของท่าน คือ ซัยหนับ กลับคืนให้แก่ (สามี)อบีอัลอัลอาศ บิน อัรเราะเบียะ หลังจากฝ่านไปหกปี ด้วยนิกะหครั้งแรก และท่านนบีไม่ได้จัดให้มีการนิกะห์ใหม่
- รายงานโดย อัตติรมิซีย์ เป็นหะดิษที่อยู่ในระดับที่ดี

(1) عبد الله بن عباس
| (2) عكرمة
| | (3) داود بن الحصين
| | | (4) محمد بن إسحاق
| | | | (5) يونس بن بكير
| | | | | (6) هناد بن السرى
| | | | | | (7) محمد بن عيسى
| | | | | | | (8) الكتاب: جامع الترمذي [الحكم: إسناده حسن]
والله أعلم بالصواب
.......
ความจริงน้องคนนี้ไม่เอาคำตอบของคณะใหม่ ความจริงเราไม่ใช่คณะใหม่

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sun May 20, 2012 11:50 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

34. ผมมีคำถามนะครับว่า การใช้สื่อนำเสนอเรื่องราวของอัลอิสลาม เผยเเพร่ข้อมูลเช่นโพสหะดีษ โพสอัล กุรอ่าน ให้คนอ่าน ทำวิธีไหนก็ได้ที่ให้ข้อมูลทางศาสนาเผยเเพร่ถึงคนที่ได้รับรู้ ได้เห็นได้อ่าน คนที่นำเสนอได้รับผลบุ
ญมากน้อยเเค่ไหนครับ

http://www.facebook.com/groups/144706252259956/355993084464604/?notif_t=group_activity

ตอบ

ท่านนบี Solallah กล่าวว่า

مَنْ دَعَا إِلَى هُدًى كَانَ لَهُ مِنَ الْأَجْرِ مِثْلُ أُجُورِ مَنْ تَبِعَهُ لَا يَنْقُصُ ذَلِكَ مِنْ أُجُورِهِمْ شَيْئًا

ผู้ใดเชิญชวนไปสู่ทางนำ เขาก็ได้รับผลตอบแทน เหมือนกับผลตอบแทนผู้ที่ปฏิบัติตามเขา ดังกล่าวนั้นไม่ได้น้อยไปกว่าผลตอบแทนของพวกเขา(คือพวกที่ปฏิบัติตาม) แม้แต่น้อย – บุคอรี
...........
เพราะฉะนั้นได้บุญมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับผู้ที่นำไปปฏิบัติ


ในทางกลับกัน ถ้าเอาคำสอนที่ผิด มาสอน ก็จะได้รับบาปไม่น้อยกว่าคนตามเช่นกันดังหะดิษ

وَمَنْ دَعَا إِلَى ضَلَالَةٍ كَانَ عَلَيْهِ مِنَ الْإِثْمِ مِثْلُ آثَامِ مَنْ تَبِعَهُ لَا يَنْقُصُ ذَلِكَ مِنْ آثَامِهِمْ شَيْئًا

ผู้ใดเชิญชวนไปสู่ทางหลงผิด เขาก็ได้รับบาป เหมือนกับบาปผู้ที่ปฏิบัติตามเขา ดังกล่าวนั้นไม่ได้น้อยไปกว่าบาปของพวกเขา(คือพวกที่ปฏิบัติตาม) แม้แต่น้อย – บุคอรี
...............
เพราะฉะนั้น การเล่นเฟสคงไม่สนุกหนักถ้าคิดจะเอาชนะอย่างเดียวโดยไม่คำนึงว่าถูกหรือผิด

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Wed May 23, 2012 1:21 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

35. เขาถามว่า

อาจารย์อะสันการสังกัดมัซฮับนั้นเป็นเรื่องที่ฮะรอมหรือครับ

ตอบ

ไม่มีตรงใหนเลยนะที่ผมบอกว่าหะรอม แต่ผมว่า การตามมัซฮับนั้น ต้องตามแบบไม่ผูกขาดคนหนึ่งคนใดแบบเฉพาะ
เพราะมัซฮับ ไม่ใช่นิกาย ไม่ใช่ลัทธิ แต่เป็นแนวคิดที่ได้จากการวินิจฉัยของอุลามาอฺมุจญตะฮิด ซึ่งอาจมีผิดมีถูก เพราะฉะนั้น การตะอัศศุบหรือยึดติด หรือผูกขาดเป็นการสังกัดที่ผิดวัตถุประสงค์ของอิหม่ามทั้งสี่

เช่น อิหม่ามชาฟิอี กล่าวว่า

إذا صح الحديث خلاف قولي فاعملوا بالحديث واتركوا قولي، أو قال: فهو مذهبي

เมื่อหะดิษเศาะเฮียะ ขัดแย้งกับคำพูดของข้าพเจ้า ดังนั้น พวกท่านจงปฏิบัติตามหะดิษ และจงทิ้งคำพูดของข้าพเจ้า - อัลมัจญมัวะ 1/673

ท่านอิบนุหัซมินกล่าวว่า

لتمذهب بالمذاهب الخاصة، والتعصّب لها ولو بالباطل، وهذا (بدعة) لا شك فيه ولا شبهة، وكل بدعة تُعتَقد دِيناً وثواباً فهي ضلالة

เพราะว่า การสังกัดมัซฮับ ด้วยบรรดามัซฮับที่เฉพาะ และ ยึดมั่นกับมัซฮับนั้น และนี้คือ บิดอะฮ ไม่มีการสงสัยและไม่มีการคลุมเครือใดๆในนั้น และทุกบิดอะฮ ที่เชื่อมั่นว่า เป็นศาสนาและ เข้าใจว่าได้บุญนั้น คือ ความงมงาย – ฮะดียะตุลสุลฏอน หน้า 47
.........

คนที่สังกัดมัซฮับชาฟิอี หรือแนวคิดชาฟีอี ไม่ใช่สำนักกฎหมายชาฟิอี ตามที่บางคนแปล เพราะท่านอิหม่ามชาฟิอีไม่ได้ประกาศตั้งสำนักให้ใครมาสังกัดแบบพรรคการเมือง คนอาวามทั่วไปไม่มีใครตำหนิการสังกัดมัซฮับ แต่ไม่ได้หมายถึง ปฏิบัติตามหะดิษเศาะเฮียะที่ขัดแย้งกับมัซฮับที่ตนสังกัดไม่ได้ ทุกวันนี้คนที่สังกัดมัซฮับชาฟิอี เอาเข้าจริงบางที่ไม่ได้ตามแนวคำสอนชาฟิอีก็มี

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Thu May 24, 2012 3:33 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

36. การตะยัมมุมด้วยการตบดินสองครั้งและลูบถึงข้อศอก

อัลมุบาเราะกะฟูรีย์ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวไว้ในคำอธิบายหะดิษติรมิซีย์ของเขาว่า

قُلْتُ : أَحَادِيثُ الضَّرْبَتَيْنِ وَالْمِرْفَقَيْنِ ضَعِيفَةٌ أَوْ مُخْتَلِفَةٌ فِي الرَّفْعِ وَالْوَقْفِ ، وَالرَّاجِحُ هُوَ الْوَقْفُ ، وَلَمْ يَصِحَّ مِنْ أَحَادِيثِ الْبَابِ سِوَى حَدِيثَيْنِ أَحَدُهُمَا حَدِيثُ أَبِي جُهَيْمٍ بِذِكْرِ الْيَدَيْنِ مُجْمَلًا ، وَثَانِيهمَا حَدِيثُ عَمَّارٍ بِذِكْرِ ضَرْبَةٍ وَاحِدَةٍ لِلْوَجْهِ وَالْكَفَّيْنِ وَهُمَا حَدِيثَانِ صَحِيحَانِ مُتَّفَقٌ عَلَيْهِمَا كَمَا عَرَفْتَ

ข้าพเจ้าขอกล่าวว่า “ บรรดาหะดิษ ที่ระบุให้ตบดินสองครั้งและลูบถึงข้อศอกนั้น เป็นหะดิษเฎาะอีฟ หรือไม่ก็เป็นหะดิษที่มีประเด็นขัดแย้งการสืบไปถึงท่านนบี(หะดิษมัรฟัวะ)และหะดิษเมากูฟ(หมายถึงเป็นหะดิษที่เป็นคำพูดเศาะหาบะฮ) และที่มีน้ำหนักคือ เป็นหะดิษเมากูฟ และบรรดาหะดิษในเรื่องนี้ นอกเหนือหะดิษสองบท คือ (1) หะดิษอบีญุฮัย ที่ระบุคำว่าสองมือโดยสรุป และ (
2) หะดิษอัมมัรที่ระบุว่า ตบดินครั้งเดียว สำหรับลูบหน้าและสองมือ โดยที่ทั้งสอง เป็นหะดิษเศาะเฮียะ มุตตะฟักอะลัยฮ(หมายถึงรายงานโดยบุคอรีและมุสลิม ในสายรายงานเดียวกัน) ดังที่ท่านทราบแล้ว – ดูตัวะฟะตุลอัลอะหวะซีย์ เรื่องตะยัมมุม หะดิษหมายเลข 144 หน้า 386
.........
ท่านอัลมุบาเราะกาฟูรีย์ สรุปว่า หะดิษที่ให้ตบดินสองครั้ง และลูบถึงข้อศอกนั้นเป็นหะดิษเฏาะอีฟ


บางคนอ้างว่า เป็นการกิยาสกับการอาบน้ำละหมาด

ขอกล่าวว่า


กรณีดังกล่าวเป็นการผิดหลักกิยาส

ดังอิหม่ามเชากานีย์กล่าวว่า

وَاحْتَجُّوا بِالْقِيَاسِ عَلَى الْوُضُوءِ وَهُوَ فَاسِدٌ الِاعْتِبَارِ

พวกเขาอ้างเหตุผลด้วยการกิยาส บนการอาบน้ำวุฏุ และมันคือ การพิจารณาที่ผิด – ดูนัยลุลเอาฏอร เล่ม 1 หน้า 638

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Thu May 24, 2012 3:43 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

قَالَ الْحَافِظُ فِي الْفَتْحِ : وَمَا أَحْسَنَ مَا قَالَ : إنَّ الْأَحَادِيثَ الْوَارِدَةَ فِي صِفَةِ التَّيَمُّمِ لَمْ يَصِحَّ مِنْهَا سِوَى حَدِيثِ أَبِي جُهَيْمٍ وَعَمَّارٍ وَمَا عَدَاهُمْ فَضَعِيفٌ أَوْ مُخْتَلَفٌ فِي رَفْعِهِ وَوَقْفِهِ ، وَالرَّاجِحُ عَدَمُ رَفْعِهِ

อัลหาฟิซได้กล่าวไว้ในอัลฟัตหฺ ว่า บรรดาหะดิษที่ปรากฏในเรืองรูปแบบการตะยัมมุม นั้น ไม่เศาะเฮียะ นอกจาก หะดิษอบีญุฮัยมินและอัมมาร และอื่นจากพวกเขานั้น เป็นหะดิษเฎาะอีฟ หรือไม่ก็มีการเห็นต่างกันในการสืบไปถึงนบี(มัรฟัวะ) และ หยุดอยู่ที่เศาะหาบะฮ(เมากูฟ) และที่มีน้ำหนัก นั้น ไม่ได้เป็นหะดิษมัรฟัวะ(คือไม่ได้เป็นหะดิษที่สืบไปถึงนบี) - ดูนัยลุลเอาฏอร เล่ม 1 หน้า 638

ความจริงการปฏิบัติตามหะดิษที่มีรายงานที่ถูกต้องนั้น คือ การปฏิบัติที่สอดคล้องกับอัลกุรอ่านมากที่สุด เพราะอัลลอฮส่งนบีมุหัมหมัดศอัลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม มาทำหน้าที่อธิบายเจตนารมณ์ของอัลกุรอ่าน
ดังอายะฮที่ว่า

وَأَنْزَلْنَا إِلَيْكَ الذِّكْرَ لِتُبَيِّنَ لِلنَّاسِ مَا نُزِّلَ إِلَيْهِمْ وَلَعَلَّهُمْ يَتَفَكَّرُونَ

และเราได้ประทานอัลกุรอ่านลงมายังเจ้า เพื่อเจ้าจะได้อธิบายแก่มนุษย์สิ่งซึ่งถูกประทานลงมาแก่พวกเขา เพื่อพวกเขาจะได้ใคร่ครวญ

( لِتُبَيِّنَ لِلنَّاسِ مَا نُزِّلَ إِلَيْهِمْ ) مِنْ رَبِّهِمْ أَيْ : لِعِلْمِكَ بِمَعْنَى مَا أُنْزِلَ عَلَيْكَ

เพื่อเจ้าจะได้อธิบายแก่มนุษย์สิ่งซึ่งถูกประทานลงมาแก่พวกเขา) จากพระผู้อภิบาลของเขา หมายถึง เพราะเจ้ารู้ความหมายของสิ่งที่ถูกประทานลงมาแก่เจ้า – ตัฟสีรอิบนุกะษีร เล่ม ๔ หน้า ๕๔๗

และคำพูดของท่านนบี ศอ็ล ที่อธิบายวิธีการหรือรูปแบบการทำตะยัมมุมนั้น เป็นวะหยูจากอัลลอฮ ดังอัลกุรอ่านระบุว่า

وَمَا يَنطِقُ عَنِ الْهَوَى* إِنْ هُوَ إِلَّا وَحْيٌ يُوحَى" النجم : 3-

และเขาไม่ได้พูดจากอารมณ์ มันไม่ใช่อื่นใด อัลกุรอานมิใช่อื่นใดนอกจากเป็นวะฮีย.ที่ถูกประทานลงมา
คือ อัลกุรอานเป็นวะฮีย.ที่ถูกประทานลงมาให้แก่มุฮัมมัด ดังนั้นสิ่งที่เขาพูดและเรียกร้องเชิญชวนและสิ่งที่เขาปฏิบัตินั้นเป็นวะฮีย.ที่ถูกประทานลงมาให้แก่เขา

ท่านอิหม่ามชาฟิอีเองก็กล่าวว่า

وسنة رسول الله صلى الله عليه وسلم مُبَيِّنَةٌ عن الله معنى ما أراد، دليلا على خاصِّه وعامِّه،

และสุนนะฮรซูลุลลออ สอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เป็นผุ้อธิบายจากอัลลออ ซึ่งความหมายของสิ่งที่พระองค์ต้องการ ทั้งที่เป็นหลักฐานเฉพาะและหลักฐานกว้างๆ – อัรริสาละฮ หน้า ๘๗

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักความเชื่อ ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, 4 ... 17, 18, 19  ถัดไป
หน้า 3 จากทั้งหมด 19

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


Powered by phpBB ฉ 2001, 2002 phpBB Group







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.32 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ