ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
อนุรักษ์มรดกอิสลาม :: ดูกระทู้ - เรื่องจำนำ อนุณาติในอิสลามหรือไม่...??
อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก อนุรักษ์มรดกอิสลาม  
  เพื่อการอนุรักษ์มรดกอิสลาม      คำถามถามบ่อยของกระดานข่าว      ค้นหา      รายนามสมาชิก  
  · เข้าระบบ ข้อมูลส่วนตัว · เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ · กลุ่มผู้ใช้งาน  
เรื่องจำนำ อนุณาติในอิสลามหรือไม่...??

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักปฏิบัติ
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
panda
มือใหม่
มือใหม่


เข้าร่วมเมื่อ: 07/06/2006
ตอบ: 7


ตอบตอบ: Tue Aug 10, 2010 1:34 pm    ชื่อกระทู้: เรื่องจำนำ อนุณาติในอิสลามหรือไม่...?? ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อัสลามุอาลัยกุม วาเราะมาตุลลอฮ วาบารอกาตุฮ

มีคนเอาเสื้อวินมอเตอร์ไซด์มาจำนำผมในราคา20,000บาท
พอจำนำแล้วผมก็มีกรรมสิทธิในเสื้อวินตัวนี้ แล้วผมก็เอาเสื้อตัวนี้
เอากลับไปให้เจ้าของเช่า เก็บค่าเช่าในราคา2,000บาท ต่อเดือน
ถ้าเจ้าของมีเงิน20,000บาท มาคืนเมื่อไหร่ ก็เอาเสื้อวินคืนไป
แต่ถ้ายังไม่มี20,000บาท มาคืน ก็เก็บค่าเช่าเดือนละ2,000ไปเรื่อยๆๆ
โดยไม่มีระยะเวลากำหนด ถามว่า...เงิน2,000บาท นี้เป็นดอกเบี้ยหรือไม่
ช่วยตอบด้วยนะครับ ผมรับจำนำไว้ บางคนก็บอกว่าได้ บางคนก็บอกว่าไม่ได้
เลยรู้สึกไม่สบายใจ...ใครมีความรู้ช่วยเข้ามาตอบที
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
ชาริค
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/04/2007
ตอบ: 276


ตอบตอบ: Tue Aug 10, 2010 3:39 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

بسم الله الرحمن الرحيم
الحمد لله رب العالمين، والصلاة والسلام على سيدنا محمد خاتم الأنبياء والمرسلين، وعلى آله وأصحابه أجمعين، والتابعين، ومن تبع هداهم بإحسان إلى يوم الدين، وبعد:
فالرهن من عقود التوثيق وليس من عقود المعاوضات، ولهذا فلا يجوز للمرتهن الانتفاع بدار الرهن؛ لأنه مقرض، وكل قرض جر نفعا فهو ربا، إلا أن المرتهن إذا دفع للراهن أجرة تساوي أجرة المثل لا أقل منها، ولم يكن ذلك مشروطا في عقد الرهن، فلا مانع منه، ولا يجوز بأجرة رمزية أقل من أجر المثل، ولا أن يشرط ذلك في عقد الرهن.
والله تعالى أعلم.

ลองดูการเช่าบ้านเป็นตัวอย่างครับ

การจำนำเป็นการทำสัญญาเอกสาร(คือมีแค่เพียงเอกสารเท่านั้น) ไม่ใช่การทำสัญญาโดยมีของมีค่ามาประกันไว้ (เช่นกู้เงินหมื่นห้าโดยเอามอเตอไซร์มาประกันไว้) ฉนั้นจึงไม่อนุญาติไห้ผู้รับจำนำเอาประโยชน์จากบ้านที่เขารับจำนำมา เพราะเขาคือผู้ไห้กู้และทุกๆการกู้นำมาซึ่งประโยชน์มันก็คือดอกเบี้ย นอกจากว่าผู้รับจำนำจะจ่ายค่าเช่าไห้แก่ผู้ที่นำมาจำนำด้วยค่าเช่าที่เหมือนๆกันไม่มากกว่าและไม่น้อยกว่าไห้คนอื่นเช่า และห้ามนำไปไห้คนอื่นเช่าด้วย

นี่คือตัวอย่างการจำนองบ้าน ก็ลองนำมาเปรียบเทียบกับปัญหาของคุณดูครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
shabab
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 16/07/2008
ตอบ: 303


ตอบตอบ: Tue Aug 10, 2010 4:29 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อัสลามุอาลัยกุม วาเราะมาตุลลอฮ

ถามว่า การที่นำเสื้อไปเช่าต่อให้ เจ้าของเสื้อเดิมหรือใครก็ตามนั้น ก็ไม่อาจที่จะให้เช่าต่อได้ เพราะส่วนนั้นคือ ดอกเบี้ยนั่นเอง เพราะ ผู้รับจำนำไม่มีสิทธิในทรัพย์สินที่ผู้จำนำได้จำนำไว้
การที่เรารับจำนำเสื้อ เป็นแค่หลักประกันเท่านั้น แต่ไม่ใช่หาประโยชน์จากทรัพย์สินของสิ่งที่ถูกจำนำนะครับ. والله أعلم

มาดูถึงหลักการจำนำ จำนอง ในอิสลาม จะเห็นได้ว่า ไม่กล่าวถึงการที่ผู้รับจำนำนั้น สามารถนำทรัพย์สินที่ถูกจำนำไปเช่าได้เลย เว้นแต่เอาไปขาย กรณีที่ผู้จำนำไม่จ่ายเงินตามข้อตกลง

อัร-เราะฮฺนุ (การจำนำจำนอง)
﴿الرهن﴾
] ไทย – Thai – تايلاندي [

มุหัมมัด อิบรอฮีม อัต-ตุวัยญิรีย์

แปลโดย : อิสมาน จารง
ผู้ตรวจทาน : อัสรัน นิยมเดชา 2009 - 1430

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

อัร-เราะฮฺนุ (การจำนำจำนอง)

สัญญามีสามประเภท
1.สัญญาที่ผูกมัดทั้งสองฝ่าย(ไม่สามารถยกเลิกได้) เช่น การซื้อขาย การเช่าจ้าง เป็นต้น
2.สัญญาที่ไม่ผูกมัดแก่ทั้งสองฝ่าย โดยที่ทั้งสองฝ่ายมีสิทธิยกเลิกข้อตกลงนั้น เช่น การมอบอำนาจ เป็นต้น
3.สัญญาที่ผูกมัดเพียงฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเท่านั้น เช่น อัรเราะห์นุ (การจำนำ-จำนอง) ถือว่าไม่ผูกมัดแก่ผู้รับจำนำจำนอง แต่ผูกมัดฝ่ายผู้จำนำจำนอง และทุกข้อตกลงในลักษณะเช่นเดียวกันนี้ที่สิทธิเป็นของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น

อัร-เราะฮฺนุ คือ การค้ำประกันหนี้โดยใช้วัตถุที่สามารถนำมาชดใช้หนี้ได้โดยตัวมันเอง หรือโดยราคาของมัน ในกรณีที่ตัวลูกหนี้ไม่สามรถชดใช้หนี้นั้นได้

เคล็ดลับ(หิกมะฮฺ)ในการบัญญัติการจำนำจำนอง
การจำนำจำนองถูกบัญญัติขึ้นเพื่อรักษาทรัพย์สิน มิให้สิทธิของเจ้าหนี้สูญหายไป เมื่อครบกำหนดชำระหนี้ ผู้จำนำจำเป็นต้องชดใช้หนี้ หากเขาปฏิเสธการชดใช้และเขาได้อนุญาตให้ผู้รับจำนำขายทรัพย์จำนำได้ ผู้รับจำนำก็ทำการขายมันไปเองแล้วมาชดใช้หนี้ หากไม่เช่นนั้นแล้ว(ผู้จำนำไม่อนุญาต) ศาลก็จะบังคับให้ผู้จำนำชดใช้หนี้หรือทำการขายสิ่งจำนำ(เอามาชดใช้) หากเขา(ผู้จำนำ)ไม่ยอมขาย ศาลก็จะทำการขายทรัพย์จำนำนั้นเองแล้วนำราคาของมันมาชดใช้หนี้แก่เจ้าหนี้(ผู้รับจำนำ)
1- อัลลอฮฺตะอาลาตรัสว่า
( ﭒ ﭓ ﭔ ﭕ ﭖ ﭗ ﭘ ﭙ ﭚ ﭛ) [البقرة/283]
ความว่า “และถ้าหากว่าพวกเจ้าอยู่ในระหว่างการเดินทาง และพวกเจ้าไม่มีผู้ที่ทำการจดบันทึก ก็จงให้ทรัพย์สินเป็นการประกัน” (อัลบะเกาะเราะฮฺ อายะฮฺที่ 283)

2- รายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุฮันฮา ว่า
«أَنَّ النَّبِيَّ صَلَّى اللهُ عَلَيهِ وَسَلَّم اشْتَرَى طَعَاماً مِنْ يَـهُودِيٍّ إلَى أَجَلٍ وَرَهَنَـهُ دِرْعاً مِنْ حَدِيدٍ». متفق عليه
ความว่า “แท้จริงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ซื้อเชื่ออาหารจากชาวยิวคนหนึ่ง และท่านได้จำนำเสื้อเกราะเหล็กไว้กับเขาผู้นั้น” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลข 2068 และรายงานโดยมุสลิม หมายเลข1603)

- การจำนำจำนองเป็นอะมานะฮฺในมือของผู้รับจำนำเองหรือตัวแทนของเขา ถือว่าเขาไม่ต้องชดใช้หากเสียหายยกเว้นเขาจะละเมิด(เจตนาทำให้เสียหาย)หรือละเลย(ไม่ดูแลให้ดี)


ใครคือผู้ที่มีหน้าที่ออกค่าดูแลรักษาของทรัพย์สินที่จำนำไว้

ค่าดูแลรักษาทรัพย์จำนำเป็นหน้าที่ของผู้จำนำ สำหรับทรัพย์ที่จะต้องดูแลผู้รับจำนำสามารถขับขี่มันได้ หากเป็นสัตว์ที่ใช้ขับขี่ และรีดนมกินหากเป็นสัตว์ที่ใช้รีดนม ทั้งนี้หากเขา(ผู้รับจำนำ)เป็นผู้ให้อาหารมัน โดยใช้ประโยชน์ตามจำนวนอาหารที่เขาให้

หุก่มการขายทรัพย์สินที่จำนำไว้
ไม่อนุญาตให้ผู้รับจำนำขายทรัพย์จำนำนอกจากจะได้รับอนุญาตจากผู้จำนำเสียก่อน ถ้าหากเขาขายมันก่อนแล้วต่อมาผู้จำนำยอมรับก็ถือว่าการซื้อขายนั้นใช้ได้ แต่ถ้าหากเขาไม่ยินยอมถือว่าการซื้อขายนั้นเป็นโมฆะ

-----------------------------------


วัสลามุอาลัยกุม วาเราะมาตุลลอฮ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> หลักปฏิบัติ ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


Powered by phpBB ฉ 2001, 2002 phpBB Group







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.07 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ