ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
อนุรักษ์มรดกอิสลาม :: ดูกระทู้ - ความเข้าใจเกี่ยวกับการถือศีลอด
อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก อนุรักษ์มรดกอิสลาม  
  เพื่อการอนุรักษ์มรดกอิสลาม      คำถามถามบ่อยของกระดานข่าว      ค้นหา      รายนามสมาชิก  
  · เข้าระบบ ข้อมูลส่วนตัว · เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ · กลุ่มผู้ใช้งาน  
ความเข้าใจเกี่ยวกับการถือศีลอด
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> เรื่องทั่วไป
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Wed Sep 10, 2008 1:07 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เช็คยะหยา บินอับดุรเราะหมานคอฏิบ กล่าวไว้ในหนังสือ อะหฺกามอัลมัรอะติลหามิล หน้า 15 เกี่ยวกับทัศนะของผู้ทีกล่าวว่า ต้องจ่ายฟิตยะฮอย่างเดียว โดยอาศัยหลักฐานที่ว่า :

: قوله تعالى: ﴿ وَعَلَى الَّذِينَ يُطِيقُونَهُ فِدْيَةٌ طَعَامُ مِسْكِينٍ﴾ [البقرة: من الآية184] والحامل والمرضع داخلتان في عموم الآية ( 2). لأنهما ممن يطيق الصيام، فوجب بظاهر الآية أن تلزمهما الفدية ( 1)، ويؤيده قول ابن عباس في الآية: "كانت رخصة للشيخ الكبير والمرأة الكبيرة وهما يطيقان الصيام، أن يفطرا ويطعما مكان كل يوم مسكينًا، والحبلى والمرضع إذا خافتا. قال أبو داود: - يعني على أولادهما – وأطعمتا" (3 ). وروي ذلك عن ابن عمر، ولا مخالف لهما في الصحابة( 4).
อัลลอฮ ผู้ทรงสูงส่งตรัสว่า (และหน้าที่ของบรรดาผู้ที่ ถือศีลอดด้วยความลำบากยิ่งนั้น คือการชดเชยอันได้แก่การให้อาหาร (มื้อหนึ่ง) แก่คนมิสกีนหนึ่งคน ) - อัลบะเกาะฮเราะฮ /184 และหญิงมีครรภ์ และหญิงให้นมบุตร นางทั้งสองเข้าอยู่ในความหมายโดยรวมของอายะฮนี้ เพราะนางทั้งสองเป็นส่วนหนึ่งจากผู้ที่มีความลำบากยิ่งต่อการถือศีลอด ดังนั้น ด้วยความหมายที่ปรากฏของอายะฮนี้ จำเป็นให้นางทั้งสองจ่ายฟิตยะฮ(จ่ายอาหารทดแทน) และ คำพูดของอิบนิอับบาส ใน(การอรรถาธิบาย)อายะฮนี้ ได้สนับมัน(ทัศนะดังกล่าว) โดยกล่าวว่า " มัน(อายะฮดังกล่าว) เป็นข้อผ่อนปรน แก่ชายชรา,หญิงชรา โดยที่ทั้งสองมีความลำบากต่อการถือศีลอด ก็ให้ทั้งสองละศีลอด และจ่ายอาหารแทนแก่คนขัดสนหนึ่งคนทุกวัน และ หญิงมีครรภ์และหญิงให้นมบุตร เมื่อนางทั้งสองกลัว (อบูดาวูด กล่าวว่า "หมายถึง กลัวจะเกิดอันตรายแก่บุตรของนางทั้งสอง - ก็ให้นางทั้งสองจ่ายอาหารแทน และมีรายงานดังกล่าวจากอิบนุอุมัร และไม่มีความเห็นขัดแย้งแก่เขาทั้งสอง(อิบุอับบาสและอิบนุอุมัร)ในหมู่เศาะหาบะฮ - ดู
..................
( 1) ابن قدامة، المغني: (3/140).
( 2) الماوردي، الحاوي: (3/437).
( 3) سنن أبي داود كتاب الصوم، باب من قال، هي مثبتة للشيخ والحبلى: (2/738، 739)، قال الألباني عن الحديث: شاذ. محمد ناصر الدين الألباني، ضعيف سنن أبي داود، المكتب الإسلامي، الطبعة الأولى – بيروت، (1991م).
( 4) ابن قدامة، المغني: (3/140).




......................................

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sat Aug 22, 2009 5:31 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ฟัตวาเราะมะฎอน

1. ผู้ถือศีลอดลิ้มรสชาดอาหารได้ไหม

لا حرج في تذوق الإنسان للطعام في نهار الصيام عند الحاجة ، وصيامه صحيح إذا لم يتعمد ابتلاع شيء منه .

ในการที่ผู้คนลิ้มรสอาหารในตอนกลางวัน เมื่อมีความจำเป็นนั้น ไม่เป็นไร และการถือศีลอดของเขาใช้ได้ ตราบใดที่เขาไม่ได้เจตนากลืนส่วนหนึ่งส่วนใดจากมันเข้าไป(1)
...........................
(1) (فتاوى اللجنة الدائمة للبحوث العلمية والإفتاء فتوى (9845) الجزء العاشر ص (332) ).

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sat Aug 22, 2009 5:41 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

2. จำเป็นต้องจ่ายซะกาตฟิตเราะฮแทนทารกที่อยู่ในครรภ์มารดาหรือไม่

ตอบ

يستحب إخراجها عنه لفعل عثمان – رضي الله عنه – ، ولا تجب عليه لعدم الدليل على ذلك .

ชอบให้ออกซะกาตฟิตเราะฮแทนทารกที่อยู่ในครรภ์ เพราะท่านอุษมาน เราะฎิยัลลอฮุอันฮูได้กระทำ และ ไม่วาญิบ(ไม่เป็นข้อบังคับ)แก่เขา เพราะไม่มีหลักฐานแสดงบอกดังกล่าว (1)
.............
(1) (فتاوى اللجنة الدائمة للبحوث العلمية والإفتاء فتوى(1474) الجزء التاسع ص 366)

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sat Aug 22, 2009 7:35 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

3. การถือศีลอดของผู้ที่ทิ้งละหมาด

السؤال

ماذا تقولون فيمن يصر على شرب الخمر حتى اليوم الأخير من شعبان ثم يصوم رمضان وبانتهاء رمضان يرجع مرة أخرى لشرب الخمر، مع العلم بأنه لا يركع ركعة واحدة في شهر رمضان؟

ถาม
พวกท่านจะกล่าวว่าอย่างไร เกี่ยวกับผู้ที่ดื่มสุราเป็นประจำ จนกระทั่งถึงวันสุดท้ายของเดือนชะอฺบาน หลังจากนั้น เขาถือศีลอดเดือนเราะมะฎอน และเมือสิ้นสุดเดือนเราะมะฎอน เขาก็กลับไปดื่มสุราอีกครั้ง โดยที่ทราบว่า เขาผู้นี้ไม่เคยละหมาดแม้แต่เราะกาอัตเดียวในเดือนเราะมะฎอน ?
الفتوى
الحمد لله والصلاة والسلام على رسول الله وعلى آله وصحبه، أما بعـد:

فإن شرب الخمر كبيرة من الكبائر يجب البعد عنها واجتنابها، قال الله تعالى: يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ إِنَّمَا الْخَمْرُ وَالْمَيْسِرُ وَالأَنصَابُ وَالأَزْلاَمُ رِجْسٌ مِّنْ عَمَلِ الشَّيْطَانِ فَاجْتَنِبُوهُ لَعَلَّكُمْ تُفْلِحُونَ {المائدة:90}.

أما ترك الصلاة فإن العلماء اتفقوا على كفر من تركها جحوداً لوجوبها أو مستحلاً لتركها، واختلفوا فيمن تركها كسلاً فذهب أكثر السلف من الصحابة والتابعين كما قال ابن تيمية إلى كفر تارك الصلاة كسلا، وهذا القول هو ما دلت عليه النصوص الصحيحة وأقوال الصحابة، وذهب جمهور الفقهاء إلى عدم كفره، وقد تقدم تفصيل المسألة في الفتوى رقم: 1145.

وعلى القول الراجح بأن تارك الصلاة كافر فإن صيام تارك الصلاة لا ينفعه، وعليه التوبة والإقلاع عن الخمر وترك الصلاة، كما يجب عليكم نصحه وتحذيره من غضب الله وعقابه، وعلى قول جمهور الفقهاء بعدم كفر تارك الصلاة فصيامه صحيح ويأثم بترك الصلاة إثماً كبيراً.

والله أعلم.

ตอบ

มวลการสรรเสริญเป็นของอัลลอฮ และขอความสันติสุขจงประสบแด่รซูลุลลอฮ ,บรรดาวงศ์วานและบรรดาสาวกของท่าน อนึ่ง…
แท้จริง การดื่มสุรานั้น เป็นบาปใหญ่ จากบรรดาบาปใหญ่ ที่จำเป็นจะต้องออกห่างและห่างใกลจากมัน ,อัลลอฮ ตะอาลา ตรัสว่า

يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ إِنَّمَا الْخَمْرُ وَالْمَيْسِرُ وَالأَنصَابُ وَالأَزْلاَمُ رِجْسٌ مِّنْ عَمَلِ الشَّيْطَانِ فَاجْتَنِبُوهُ لَعَلَّكُمْ تُفْلِحُونَ {المائدة:90

โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย ความจริง สุรา ,กาพนัน,การบูชายัญและการเสี่ยงติวนั้น เป็นสิ่งโสมม อันเกิดจากการกระทำของมารร้าย ดังนั้นพวกเจ้าจงห่างใกลจากมัน เพื่อพวกเจ้าจะได้รับความสำเร็จ- อัลมาอิดะฮ/๙๐
สำหรับการทิ้งละหมาดนั้น แท้จริงบรรดา นักวิชาการ เห็นฟ้องกันว่า เป็นกุฟุร ผู้ที่ทิ้งมันโดยการปฏิเสธ การเป็นวาญิบของมันหรืออ้างว่าอนุญาตให้ละทิ้งมันได้ และพวกเขา(พวกนักวิชาการ) มีความเห็นแตกต่างกันในกรณีของผู้ที่ละทิ้งมันเนื่องจากความเกียจคร้าน โดยที่นักวิชาการยุคสะลัฟส่วนมาก จากเหล่าเศาะหาบะฮและบรรดาตาบิอีน มีทัศนะว่า เป็นกุฟุร ผู้ที่ทิ้งละหมาดเนื่องจากความเกียจค้าน ตามที่อิบนุตัยมียะฮได้กล่าวไว้ และทัศนะนี้ คือ ทัศนะที่ มีบรรดาตัวบทที่ถูกต้องและบรรดาคำพูดของบรรดาเศาะหาบะฮได้ แสดงบอกเอาไว้ และบรรดานักนิติศาสตร์อิสลาม(อัลฟุเกาะฮาอ)ส่วนใหญ่ มีทัศนะว่า ผู้ที่ทิ้งละหมาดนั้นไม่เป็นกุฟุร และรายละเอียดของประเด็นปัญหานี้ ได้ถูกกล่าวมาก่อนหน้านี้แล้ว ในฟัตวาหมายเลข ๑๑๔๕
และตามทัศนะที่มีน้ำหนักนั้น ผู้ที่ทิ้งละหมาดนั้น เป็นกุฟูร ดังนั้น การถือศีลอดของผู้ที่ทิ้งละหมาดจะไม่เกิดประโยชน์ แก่เขา และหน้าที่ของเขาคือ การสารภาพผิด(เตาบะฮ)และถอนตัวจากการดื่มสุราและการทิ้งละหมาดเสีย และเช่นเดียวกัน หน้าที่เหนือพวกท่านจะต้องตักเตือนเขา และเตือนให้เขาระวัง ความกริ้วของอัลลอฮและการลงโทษของพระองค์ และตามทัศนะบรรดานักนิติศาสตร์อิสลาม(อัลฟุเกาะฮาอ)ส่วนใหญ่ มีทัศนะว่า ผู้ที่ทิ้งละหมาดไม่เป็นกุฟุร ดังนั้น การถือศีลอดของเขานั้นใช้ได้ และเขาได้ทำบาปใหญ่เนื่องจากทิ้งละหมาด – วัลลอฮุอะลัม
ผู้ตอบปัญหา : ศูนย์ฟัตาวา

المفتـــي: مركز الفتوى
http://www.islamweb.net.qa/ver2/Fatwa/ShowFatwa.php?lang=A&Id=54829&Option=FatwaId

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sun Aug 23, 2009 10:02 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

4. การเนียตถือศีลอดและการกล่าวคำเนียต


السؤال هل يشترط أن تكون نية الصيام قبل الفجر من كل ليلة من رمضان أم تكفي نية واحدة كل الشهر. وما حكم من تلفظ بها في كل ليلة من ليالي شهر رمضان.
ถาม
การเนียตถือศีลอด มีเงื่อนไขว่า ต้องก่อนรุ่งอรุณจากทุกๆคืนของเดือนเราะมะฎอน ใช่ไหม? หรือว่า การเนียตครั้งเดียวใช้ได้ทั้งเดือน?

الجواب النية شرط من شروط صحة العبادة من صيام وغيره لقوله صلى الله عليه وسلم : ((إنما الأعمال بالنيات وإنما لكل امرئ ما نوى))([1]) فكل عبادة من العبادات لا تصح إلا بنية ومن ذلك الصيام فإنه لا يصح إلا بنية لقوله صلى الله عليه وسلم: ((لا صيام لمن لم يبيت النية من الليلة))([2]) فالنية للصيام مشترطة وصيام الفرض لابد أن ينويه من الليل قبل طلوع الفجر ويجب عليه أن ينوي لكل يوم نية جديدة لأن كل يوم عبادة مستقلة تحتاج إلى نية متجددة بتجدد الأيام لعموم قوله صلى الله عليه وسلم: ((إنما الأعمال بالنيات وإنما لكل امرئ ما نوى))([3
فإن قام من نومه وتسحر فهذا هو النية. وإن لم يستيقظ إلا بعد طلوع الفجر وكان ناويًا للصيام قبل نومه فإنه يمسك إذا استيقظ وصيامه صحيح لوجود النية من الليل.
ตอบ
การเนียตเป็นเงื่อนไขหนึ่ง จากบรรดาเงื่อนไข ของการที่ทำให้อิบาดะฮนั้นใช้ได้ จากการถือศีลอด หรือ อื่นจากมัน เพราะท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า (แท้จริง บรรดาการงานทั้งหลาย ขึ้นอยู่กับการเจตนา และความจริง ทุกคนจะได้รับการตอบแทน ตามที่เขาได้เจตนา(เนียต) (1) ดังนั้น ทุกๆอิบาดะฮ จากบรรดาอิบาดะฮต่างๆ จะใช้ไม่ได้ เว้นแต่ ด้วยการเจตนา และส่วนหนึ่งจากดังกล่าวนั้น คือ การถือศีลอด แท้จริงมันจะใช้ไม่ได้ นอกจากด้วยการเนียต(เจตนา) เพราะท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า (ไม่มีการถือศีลอด แก่ผู้ที่ไม่เนียตในตอนกลางคืน) (2) เพราะการเนียตของการถือศีลอดนั้น เป็นสิ่งที่ถูกกำหนดให้เป็นเงื่อนไข และการถือศีลอดที่เป็นข้อบังคับ(ฟัรดู)นั้น การเนียตของมันจะต้องเริ่มจากกลางคืน ก่อนรุ่งอรุนขึ้น และจำเป็นแก่เขา(ผู้ถือศีลอด) จะต้องเนียตใหม่ทุกวัน เพราะ ทุกๆวัน เป็นอิบาดะฮที่เป็นเอกเทศ ที่จำเป็นจะต้องเนียตใหม่ ด้วยบรรดาวันที่เริ่มขึ้นใหม่ เพราะความหมายกว้างๆของคำพูดท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม (แท้จริง บรรดาการงานทั้งหลาย ขึ้นอยู่กับการเจตนา และความจริง ทุกคนจะได้รับการตอบแทน ตามที่เขาได้เจตนา) (3) ดังนั้นหากเขาตื่นจากนอน และรับประทานสะหูร นี้แหละคือ การเนียต และถ้าหากเขาไม่ตื่น นอกจากหลังจากที่รุ่งอรุณได้ขึ้นแล้ว โดยที่เขาได้เนียตถือศีลอดแล้วก่อนการนอนของเขา ก็ให้เขาอิมซาก(งดเว้นสิ่งที่ทำให้เสียศีลอด) เมื่อเขาตื่นขึ้นมา และการถือศีลอดของเขานั้น ใช้ได้ เพราะได้มีการเนียต จากกลางคืนแล้ว



وما أشار إليه السائل من النطق بالنية هل هو مشروع أو ليس بمشروع؟ فالنطق بالنية غير مشروع والتلفظ بها بدعة لأن النية من أعمال القلوب والمقاصد لا يعلمها إلا الله سبحانه وتعالى بدون تلفظ ولم يرد عن النبي صلى الله عليه وسلم أنه كان يتلفظ بالنية ويقول الله إني نويت أن أصوم أو نويت أن أصلي أو نويت كذا وكذا. إنما ورد هذا عند الإحرام بالحج أو العمرة أن يقوم المسلم لبيك عمرة أو لبيك حجًا([4]) وكذلك عند ذبح الهدي أو الأضحية ورد أنه يتلفظ عند ذبحها([5]) ويقول: اللهم هذه عني أو عن فلان فتقبل مني إنك أنت السميع العليم. أما ما عدا ذلك من العبادات فالتلفظ بالنية بدعة سواء كان في الصوم أو في الصلاة أو في غير ذلك لأنه لم يرد عن النبي صلى الله عليه وسلم أنه تلفظ في شيء من هذه الأحوال بالنية وقد قال عليه الصلاة والسلام: ((من عمل عملاً ليس عليه أمرنا فهو رد)) ([6

وقال عليه الصلاة والسلام: ((إياكم ومحدثات الأمور فإن كل محدثة بدعة))([7

فالتلفظ بالنية أمر محدث فهو بدعة
และสิ่งที่ผู้ถาม ได้แสดงบอกถึงมัน จากการกล่าวถ้อยคำเนียตว่า มัน เป็นสิ่งที่ถูกบัญญัติไว้หรือไม่ หรือว่า ไม่ได้ถูกบัญญัติไว้?
ดังนั้น การกล่าวถ้อยคำเนียตนั้น ไม่ได้เป็นสิ่งที่ถูกบัญญัติไว้ และการกล่าวถ้อยคำเนียตนั้น เป็นบิดอะฮ เพราะการเนียตนั้น เป็น บรรดางานของหัวใจ และเป็นความตั้งใจ(ของผู้กระทำ) ซึ่งไม่มีใครรู้มันได้นอกจากอัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา โดยไม่ต้องกล่าวเป็นถ้อยคำ และไม่มีรายงานจาก ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่า ท่านได้กล่าวถ้อยคำเนียต โดยกล่าวว่า “โอ้อัลลอฮ แท้จริงข้าพระองค์ได้เจตนาว่าจะถือศีลอด” หรือ “ข้าพระองค์ ได้เจตนาว่า ข้าพระองค์จะละหมาด “ หรือ ข้าพระองค์ได้เจตนา อย่างนั้น อย่างนี้.... “ ความจริง กรณีนี้ได้ปรากฏรายงาน ในขณะทำการเอียะรอมหัจญ์หรืออุมเราะฮ โดยการที่มุสลิมได้ยืนขึ้นแล้ว (แล้วกล่าวว่า) “ข้าพระองค์ตอบสนองคำเรียกร้องของพระองค์ ด้วยการทำอุมเราะฮ” หรือ ข้าพระองค์ตอบสนองคำเรียกร้องของพระองค์ ด้วยการทำหัจญ์” และในทำนองเดียวกัน ขณะที่เชือดสัตว์อัลฮัดย์ หรือ สัตว์อุฎฮียะฮ โดยมีรายงานว่า ท่านนบีได้กล่าวถ้อยคำขณะเชือดมัน(5)ว่า “ โอ้อัลลอฮ นี้ แทนตัวข้าพระองค์ หรือ แทนคนนั้น คนนี้ .. ดังนั้นได้โปรดตอบรับจากข้าพระองค์ด้วยเถิด, แท้จริงพระองค์ท่าน ทรงเป็นผู้ได้ยิน ทรงรอบรู้ยิ่ง “ สำหรับ สิ่งที่นอกเหนือจากดังกล่าว จากบรรดาอิบาดะฮต่างๆ การกล่าวคำเนียตนั้น เป็นบิดอะฮ ไม่ว่ามันจะปรากฏ ในการถือศีลอด, ในการละหมาด หรือ อื่นจากดังกล่าวนั้น ก็ตาม เพราะ มันไม่มีรายงานจากนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่าท่านได้กล่าวถ้อยคำเนียต ในสิ่งหนึ่งสิ่งใดจาก บรรดาเหตุการณ์เหล่านี้ และแท้จริงท่าน ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า (ผู้ใดประกอบการงานใด ที่ไม่ใช่กิจการ(ศาสนา)ของเราบนมัน มันถูกปฏิเสธ)(6)และนบี (ขอพรและความสันติจงประสบแด่ท่าน) กล่าวว่า (พวกท่านพึงระวังบรรดาสิ่งที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นใหม่ เพราะแท้จริงสิ่งที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นใหม่นั้น เป็นบิดอะฮ”(7)
ดังนั้น การกล่าวถ้อยคำเนียต เป็นสิ่งที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นใหม่ มันคือ บิดอะฮ”


................

([1]) رواه البخاري في صحيحه جـ1 ص2 من حديث عمر بن الخطاب رضي الله عنه.

([2]) رواه الإمام مالك في الموطأ جـ1 ص288 من حديث عبد الله بن عمر موقوفًا. ورواه الإمام أحمد في مسنده جـ6 ص287 ورواه أبو داود في سننه جـ2 ص341، 342، ورواه النسائي في سننه جـ4 ص196، 197، ورواه ابن ماجه في سننه جـ1 ص542، ورواه الدارمي في سننه جـ2 ص12، ورواه البيهقي في السنن الكبرى جـ4 ص202، 203، ورواه ابن خزيمة في صحيحه جـ3 ص212، ورواه ابن أبي شيبة عن مصنفه جـ2 ص292، ورواه ابن حزم في المحلى جـ6 ص162، ورواه الخطيب البغدادي في تاريخ بغداد جـ3 ص93، 93، وذكره الزيلعي في نصب الراية جـ2 ص433 ـ 435 كلهم م حديث حفصة رضي الله عنها بنحوه.

([3]) رواه البخاري في صحيحه جـ1 ص2 من حديث عمر بن الخطاب رضي الله عنه.

([4]) انظر: صحيح الإمام مسلم جـ2 ص915 عن حديث أنس رضي الله عنه.

([5]) انظر: مسند الإمام أحمد جـ6 ص8 من حديث أبي رافع. وسنن أبي داود جـ3 ص98، 99 من حديث جابر بن عبد الله، وسنن الترمذي جـ5 ص236، 237 من حديث جابر بن عبد الله رضي الله عنه، وسنن ابن ماجه جـ2 ص1043، 1044 من حديث أنس بن مالك وجابر بن عبد الله وأبي هريرة. ومجمع الزوائد ومنبع الفوائد جـ4 ص22، 23.

([6]) رواه الإمام البخاري في صحيحه جـ8 ص156. معلقًا

المنتقى من فتاوى فضيلة الشيخ صالح بن فوزان بن عبد الله الفوزان - (ج 4/ ص 84) [ رقم الفتوى في مصدرها: 87]

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> เรื่องทั่วไป ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2
หน้า 2 จากทั้งหมด 2

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


Powered by phpBB ฉ 2001, 2002 phpBB Group







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.07 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ