ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
อนุรักษ์มรดกอิสลาม :: ดูกระทู้ - วิภาษหลักฐานของเว็บซุนนะฮสะติวเด้น
อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก อนุรักษ์มรดกอิสลาม  
  เพื่อการอนุรักษ์มรดกอิสลาม      คำถามถามบ่อยของกระดานข่าว      ค้นหา      รายนามสมาชิก  
  · เข้าระบบ ข้อมูลส่วนตัว · เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ · กลุ่มผู้ใช้งาน  
วิภาษหลักฐานของเว็บซุนนะฮสะติวเด้น
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, 4  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> ปัญหาศาสนา
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sun Jan 04, 2009 3:53 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

โต๊ะครูศุนนะฮสะติวเด้นกล่าวว่า
ดังนั้นสิ่งใดที่ท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้นำมาหรือสั่งใช้ ไม่ว่าจะสั่งใช้แบบเฉพาะหรือแบบกว้าง ๆ ก็จงกระทำให้สุดเท่าที่เรามีความสามารถ แต่สิ่งใดที่ท่านร่อซูลุลลอฮ์ได้ห้ามไว้หรือขัดแย้งกับหลักการของศาสนา ก็จงห่างไกล มิใช่หมายความว่าสิ่งที่นบีทิ้งไม่ได้กระทำแล้วห่างไกล เพราะซุนนะฮ์ของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม มิได้หมายถึงแค่การกระทำของท่านนบีเพียงเท่านั้น แต่รวมถึงคำพูดของท่านในรูปแบบเฉพาะเจาะจงและคำพูดของท่านนบีในรูปแบบกว้าง ๆ ด้วยเช่นกัน อาทิเช่น

ตัวอย่างที่หนึ่ง

บรรดาคำตรัสของอัลเลาะฮ์ตะอาลาที่ใช้ให้ขอดุอา เช่น

وَقَالَ رَبُّكُمُ ادْعُونِي أَسْتَجِبْ لَكُمْ

"ผู้อภิบาลของพวกเจ้าตรัสว่า พวกเจ้าจงขอ(ดุอา)ต่อข้าเถิด แล้วข้าจะตอบรับให้แก่พวกเจ้า" ฆอฟิร 60

.............

มาชาอัลลอฮ โต๊ะครูคิดได้อย่างไร อายะฮข้างต้นอัลลอฮ สอนให้เราขอดุอา ต่อพระองค์ แล้วพระองค์ก็จะตอบรับ นี้คือ อายะฮที่กล่าวไว้โดยกว้างๆ ไม่ได้เฉพาะเจาะจง แต่ ท่านครูใช้เป็นหลักฐานในการ อ่านอัลกุรอ่านที่กุบูรแล้วขอดุอาฮะดียะฮ(อุทิศ)ผลบุญให้ผู้ตาย แล้วมีหะดิษบทใหนหรือครับ มาเจาะจง(ตัคศีศ)อายะฮนี้ เปล่าเลย ไม่มีเลย

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
dabdulla
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 15/06/2005
ตอบ: 437


ตอบตอบ: Sun Jan 04, 2009 9:06 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อัสลามุอลัยกุม

ขออัลลอฮทรงตอบแทนครับ ครูอะซัน

น้องบ่าวช็อตไม่รู้ไปใหน พี่หลวงรอน้องบ่าวอยู่
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Mon Jan 05, 2009 12:31 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

โต๊ะครูซุนนะฮสะติวเด้นกล่าวว่า
ตัวอย่างที่สอง
อัลเลาะฮ์ทรงตรัสความว่า

أُذْكُرُوْا اللهَ ذِكْراً كَثِيْراً

"พวกเจ้าจงซิกรุลลอฮ์(รำลึกพระองค์)ให้มาก ๆ เถิด" อัลอะห์ซาบ 41

ท่านอิมามมุสลิม ได้รายงานว่า ได้เล่าให้เราทราบ โดยมุหัมมัด บิน หาติม บิน มัยมูน ได้เล่าให้เราทราบ โดยบะฮฺซฺ ได้กล่าวแก่เราโดยวุฮัยบฺ ได้เล่าแก่เราโดยซุฮัยล์ จากบิดาของเขา จากท่านอบูฮุรอยเราะฮ์ ซึ่งได้เล่าจากท่านนบี(ซ.ล.) ท่านกล่าวว่า

‏إِنَّ لِلَّهِ تَبَارَكَ وَتَعَالَى مَلَائِكَةً ‏ ‏ سَيَّارَةً ‏ ‏فُضُلًا ‏ ‏يَتَتَبَّعُونَ ‏ ‏مَجَالِسَ الذِّكْرِ فَإِذَا وَجَدُوا مَجْلِسًا فِيهِ ذِكْرٌ قَعَدُوا مَعَهُمْ وَحَفَّ بَعْضُهُمْ بَعْضًا بِأَجْنِحَتِهِمْ حَتَّى يَمْلَئُوا مَا بَيْنَهُمْ وَبَيْنَ السَّمَاءِ الدُّنْيَا فَإِذَا تَفَرَّقُوا عَرَجُوا وَصَعِدُوا إِلَى السَّمَاءِ قَالَ فَيَسْأَلُهُمْ اللَّهُ عَزَّ وَجَلَّ وَهُوَ أَعْلَمُ بِهِمْ مِنْ أَيْنَ جِئْتُمْ فَيَقُولُونَ جِئْنَا مِنْ عِنْدِ عِبَادٍ لَكَ فِي الْأَرْضِ يُسَبِّحُونَكَ وَيُكَبِّرُونَكَ وَيُهَلِّلُونَكَ وَيَحْمَدُونَكَ وَيَسْأَلُونَكَ قَالَ وَمَاذَا يَسْأَلُونِي قَالُوا يَسْأَلُونَكَ جَنَّتَكَ قَالَ وَهَلْ رَأَوْا جَنَّتِي قَالُوا لَا أَيْ رَبِّ قَالَ فَكَيْفَ لَوْ رَأَوْا جَنَّتِي قَالُوا ‏ ‏وَيَسْتَجِيرُونَكَ ‏ ‏قَالَ وَمِمَّ ‏ ‏يَسْتَجِيرُونَنِي ‏ ‏قَالُوا مِنْ نَارِكَ يَا رَبِّ قَالَ وَهَلْ رَأَوْا نَارِي قَالُوا لَا قَالَ فَكَيْفَ لَوْ رَأَوْا نَارِي قَالُوا وَيَسْتَغْفِرُونَكَ قَالَ فَيَقُولُ قَدْ غَفَرْتُ لَهُمْ فَأَعْطَيْتُهُمْ مَا سَأَلُوا ‏ ‏وَأَجَرْتُهُمْ ‏ ‏مِمَّا ‏ ‏اسْتَجَارُوا ‏ ‏قَالَ فَيَقُولُونَ رَبِّ فِيهِمْ فُلَانٌ عَبْدٌ خَطَّاءٌ إِنَّمَا مَرَّ فَجَلَسَ مَعَهُمْ قَالَ فَيَقُولُ وَلَهُ غَفَرْتُ هُمْ الْقَوْمُ لَا يَشْقَى بِهِمْ جَلِيسُهُمْ

"แท้จริง อัลเลาะฮ์(ตะบาร่อกะวะตะอาลา) ทรงมีบรรดามะลาอิเกาะฮ์ที่ท่องไปในผืนแผ่นเดิน เป็นมะลาอิกะฮ์ที่เพิ่มขึ้นมา(นอกเหนือจากบรรดามะลาอิกะฮ์หะฟะเซฺาะฮ์ที่ทำ หน้าที่ปกปักษ์รักษา) ได้ทำการสืบเสาะแสวงหา สถานที่ต่าง ๆ ที่มีการซิกิร ดังนั้น เมื่อพวกเขาได้เจอสถานที่หนึ่ง ที่มีการซิกิร พวกเขาก็จะนั่งร่วมพร้อมกับพวกเขา (คือบรรดาผู้ที่ทำการซิกรุลเลาะฮ์) และบรรดามะลาอิกะฮ์ต่างทำการห้อมล้อมด้วยปีกของพวกเขา จนกระทั้งพวกเขาเต็ม(เพิ่มขึ้น)ในระหว่างพวกเขาและถึงท้องฟ้า ดังนั้น เมื่อบรรดาผู้ทำการรซิกรุลเลาะฮ์ได้แยกย้าย บรรดามะลาอิกะฮ์จึงเดินทางขึ้นสู่ฟ้ากฟ้า" ท่านนบี(ซ.ล.) ได้กล่าวว่า"แล้วอัลเลาะฮ์ได้ถามพวกเขา- โดยที่พระองค์ทรงรู้ดียิ่งเกี่ยวกับพวกเขา- ว่า พวกเจ้ามาจากใหนกัน? บรรดามะลาอิกะฮ์กล่าวว่า เราได้มาจาก ณ ที่บรรดาบ่าวของพระองค์ ที่อยู่ในผืนแผ่นดิน ซึ่งที่พวกเขาได้ทำการกล่าวตัสบีหฺ(กล่าวซุบหานัลเลาะฮ์) กล่าวตักบีร(อัลเลาะฮ์อักบัร) กล่าวตะฮ์ลีล(ลาอิลาฮ่าอิลลัลลอฮ์) กล่าวตะหฺมีด(อัลหัมดุลิลลาฮ์) และทำการวอนขอต่อพระองค์" อัลเลาะฮ์ทรงตรัสถามว่า"แล้วอะไรที่พวกเขาได้วอนขอกับข้า? " บรรดามะลาอิกะฮ์ตอบว่า"พวกเขาได้ขอพระองค์ สรวงสวรรค์ของพระองค์" อัลเลาะฮ์ทรงตรัสถามว่า"แล้วพวกเขาเคยเห็นสรวงสวรรค์ของข้าหรือไม่ล่ะ?" มะลาอิกะฮ์ตอบว่า ไม่เคย โอ้ผู้อภิบาลแห่งเรา! " อัลเลาะฮ์ทรงตรัสถามต่อว่า "แล้วอย่างไรเล่า หากพวกเขาได้เห็นสรวงสวรรค์ของข้า?" มะลาอิกะฮ์กล่าวว่า"และพวกเขาก็ทำการขอความคุ้มครองกับพระองค์" พระองค์ทรงตรัสถามว่า"พวกเขาขอความคุ้มครองข้าจากอะไร? มะลาอิกะฮ์กล่าวว่า"จากไฟนรกของพระองค์ โอ้ผู้อภิบาลแห่งเรา!" อัลเลาะฮ์ทรงตรัสถามว่า"แล้วพวกเขาเคยเห็นไฟนรกของข้าหรือไม่ล่ะ?" มะลาอิกะฮ์ตอบว่า ไม่เคย" อัลเลาะฮ์ทรงตรัสถามต่อว่า "แล้วอย่างไรเล่า หากพวกเขาได้เห็นไฟนรกของข้า?" มะลาอิกะฮ์ตอบว่า"พวกเขาได้ทำการอิสติฆฟารต่อพระองค์" อัลเลาะฮ์ทรงตรัสว่า"ข้าได้อภัยแก่พวกเขาแล้ว และข้าได้ให้สิ่งที่พวกเขาได้ขอ และจะปกป้องสิ่งที่พวกเขาได้ขอความคุ้มครอง" ท่านนบี(ซ.ล.)กล่าวว่า"แล้วมะลาอิกะฮ์ได้กล่าวว่า โอ้ผู้อภิบาลแห่งเรา ในพวกเขา(ที่ทำการซิกิรุลเลาะฮ์)นั้น มีคนหนึ่งที่เป็นบ่าวผู้กระทำผิด โดยที่เขาได้เดินผ่านมา แล้วก็นั่งร่วมกับพวกเขา" ท่านนบี(ซ.ล.)กล่าวต่อว่า"แล้วพระองค์ทรงตรัสว่า ข้าอภัยให้แก่เขาแล้ว โดยที่บรรดาพวกที่ทำการซิกิรนั้น ผู้ที่นั่งร่วมด้วยก็จะไม่อับโชคด้วยเหตุพวกเขา(ที่ทำการนั่งซิกิร) " ดู ซอฮิหฺมุสลิม (2689)

บรรดาตัวบทอัลกุรอานและฮะดีษนี้ ได้ระบุให้ทำการซิกรุลลอฮ์ในรูปแบบกว้าง ๆ (มุฏลัก) หรือแบบครอบคลุม (อาม) โดยไม่มีหลักฐานใดมาจำกัด(มุก็อยยัด)หรือมาทอนความหมาย(ค็อซ) ว่าห้ามหรือมักโระฮ์ในการซิกรุลลอฮ์และขอดุอาต่ออัลเลาะฮ์ที่กุบูรหรืออื่นจากกุบูร เช่น ซิกรุลลอฮ์ที่บ้านหรือซิกรุลลอฮ์หลังละหมาด เป็นต้น ดังนั้นจึงจำเป็นต้องทำให้ตัวบทยังคงมีข้อบ่งชี้แบบกว้าง ๆ หรือมีความหมายแบบครอบคลุมอยู่เช่นนั้นและทำการปฏิบัติตามนัยยะของหลักฐานแบบกว้าง ๆ หรือครอบคลุมดังกล่าว โดยไม่ขัดกับหลักการของศาสนา จนกว่ามีหลักฐานมาระบุเจาะจงในการห้ามซิกรุลลอฮ์ในสถานที่นั้น ๆ หรือห้ามซิกรุลลอฮ์อย่างนั้นอย่างนี้ เช่นไม่ควรซิกรุลลอฮ์ในห้องส้วม , ซิกรุลลอฮ์แทนอัลฟาติฮะฮ์ขณะที่มีความสามารถ เพราะไปขัดกับหลักการ

ดังนั้นผู้ใดที่คัดค้านว่า การซิกรุลลอฮ์ในสถานที่นั้นสถานที่นี้ฮะรอม หรือซิกรุลลอฮ์จำนวนเท่านั้นเท่านี้ฮะรอม ก็จำเป็นบนเขาต้องเปิดเผยหรือนำหลักฐานที่มาทอนความหมายข้อบ่งชี้ของหลักฐานที่ครอบคลุมนี้ หรือต้องนำหลักฐานห้ามมาจำกัดหลักฐานที่มีข้อบ่งชี้แบบกว้าง ๆ นี้ หากมิเช่นนั้นแล้ว เขาคือผู้ที่อุตริกรรม(กระทำบิดอะฮ์)ในการอุปโลกน์ฮุกุ่มขึ้นมาในศาสนาของอัลเลาะฮ์ด้วยสติปัญญาและอารมณ์ของเขานั่นเอง วัลอิยาซุบิลลาฮ์!

...............

ผมขอกล่าวว่า

โต๊ะครู กำลังมึนแล้วละครับ หะดิษข้างต้นไม่มีใครปฏิเสธ หรอกครับท่านครู และตัวบทหะดิษได้ระบุการซิกีรเอาไว้กว้างๆ แล้วเมื่อระบุเอาไว้กว้างๆ ทำไม่โต๊ะครูนำมาอ้างเป็นหลักฐานอ่านอัลกุรอ่านในกุบูร เพื่ออุทิศผลบุญให้ผู้ตายในหลุมละครับ แบบนี้ เป็นการเจาะจง(تخصيص )ในสิ่งที่ศาสนาไม่ได้กล่าวเฉพาะเจาะจงเอาไว้ ถือเป็นการล้ำหน้าอัลลอฮและรอซุล นะครับ

อิบนุกอ็ยยิม(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า

و من الأدب مع الرسول صلى الله عليه وسلم أن لا يتقدم بين يديه بأمر و لا نهي و لا إذن و لا تصرّف حتّى يأمر هو وينهى و يأذن,وهذا باق إلى يوم القيامة و لم ينسخ, فالتقدم بين يدي سنّته بعد وفاته كالتقدم بين يديه في حياته, و لا فرق بينهما عند كل ذي عقل سليم

“และส่วนหนึ่งจากมารยาทต่อท่านรอซูล ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัล คือ การไม่ล้ำหน้าท่านด้วยการสั่งใช้,และไม่ล้ำหน้าด้วยการสั่งห้ามและไม่อนุญาตและไม่ดำเนินการใดๆจนกว่าท่านนบีเองสั่งใช้,จนกว่าท่านสั่งห้ามและจนกว่าท่านอนุญาต และกรณีนี้ จะดำรงอยู่ตราบจนถึงวันกิยามะฮ และจะไม่ถูกยกเลิก

ดังนั้น การล้ำหน้าสุนนะฮของท่านนบีหลังจากการเสียชีวิตของท่าน จึงเหมือนกับการล้ำหน้าท่านนบีในขณะที่ท่านมีชีวิตอยู่ และไม่มีข้อแตกต่างกัน ตามทัศนะของทุกๆผู้ที่มีสติปัญญาที่สมบูรณ์”
– มะดาริญุสสาลิกีน เล่ม 2 หน้า 405
.........

โต๊ะครูกำลังบอกว่า การอ่านอัลกุรอ่านในกุบูร เพื่ออุทิศผลบุญให้ผู้ตายเป็นสุนัต เป็นมุสตะหับบะฮ ทั้งๆที่รูปแบบการกระทำอย่างนี้ไม่ปรากฏรายงานที่เศาะเฮียะว่าท่านนบี Solallah เคยส่งเสริมให้เศาะหาบะฮกระทำ การมาจำกัดสถานที่และรูปแบบอิบาดะฮ ขึ้นใหม่ โดยที่ศาสนาไม่ได้เจาะจงเอาไว้ถือเป็นบิดอะฮ ดังที่อิหม่ามอัชชาฏิบีย์กล่าวว่า

فالبدعة إذن عبارة عن طريقة في الدين مخترعة ، تضاهي الشرعية ، يقصد بالسلوك عليها المبالغة في التعبد لله سبحانه

ومنها : التزام الكيفيات والهيئات المعينة ، كالذكر بهيئة الاجتماع على صوت واحد ، واتخاذ يوم ولادة النبي صلى الله عليه وسلم عيدا ، وما أشبه ذلك
ومنها : التزام العبادات المعينة ، في أوقات معينة ، لم يوجد لها ذلك التعيين في الشريعة ، كالتزام صيام يوم النصف من شعبان ، وقيام ليلته

ดังนั้นบิดอะฮ หมายถึง แนวทางที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นทางศาสนาที่คล้ายคลึงกับบัญญัติศาสนา โดยมีจุดมุ่งหมายในการปฏิบัติเพื่อให้มากยิ่งขึ้นในการปฏิบัติอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺ” ซุบฮานะฮูวะตะอาลา
และส่วนหนึ่งจากมัน(จากบิดอะฮ)คือ การยึดติดกับวิธีการและรูปแบบที่เฉพาะ เช่น การซิกิร พร้อมกัน ด้วยเสียงเดียวกัน ,การยึดเอาวันเกิดนบี Solallah เป็นวันตรุษ เป็นต้น
และส่วนหนึ่งจากนั้น คือ การยึดติดกับอิบาดาตที่เฉพาะ ในบรรดาเวลาที่เฉพาะ ซึ่ง การเฉพาะดังกล่าวนั้น ไม่มีในศาสนบัญญัติ เช่น การยึดติดกับถือศีลอดนิสฟุชะอฺบาน และคืนนิสฟุชะอฺบานเป็นต้น - ดู อัลเอียะติซอม เล่ม 1 หน้า 37
............
ท่านครูเอาหะดิษเศาะเฮียะมาอ้างผิดที่ ผิดฝา เพราะหะดิษข้างต้น ไม่มีสะลัฟท่านใดเอามาเป็นหลักฐานอ่านอัลกุรอ่านให้คนตายเลยนะครับ เพราะผิดหลักนิติศาสตร์อิสลามที่กล่าวแล้วข้างต้น

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Mon Jan 05, 2009 8:14 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

โต๊ะครูซุนนะฮสะติวเด้น อ้างหะดิษต่อไปนี้รับรองการอ่านอัลกุรอ่านในกูบูร อุทิศผลบุญให้คนตาย คือ
ท่าน อบู นุอัยม์ ได้รายงานไว้ว่า

وَكَانَ لِأَبِىْ هُرَيْرَةَ رَضِىَ اللهُ عَنْهُ خَيْطٌ فِيْهِ أَلْفُ عُقْدَةٍ لاَ يَنَامُ حَتَّى يُسَبِّحُ بِهِ

"ท่านอบูหุรอยเราะฮ์(ร.ฏ.) มีเชื่อกที่มีหนึ่งพันปุ่ม เขาจะไม่นอน จนกว่าจะทำการตัสบีห์ด้วยกับมัน(พันครั้ง)" ดู หนังสือ อัลหุลยะฮ์ เล่ม 1 หน้า 383

แล้วโต๊ะครูอธิบายว่า

การตัสบีห์นั้นมีหลักฐานของศาสนาแบบกว้าง ๆ ได้รับรองไว้ แต่จะทำการตัสบีห์ 1000 พันครั้งเป็นรูปแบบกว้าง ๆ ที่ไม่ขัดกับหลักศาสนา แม้ว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ไม่เคยกำหนดเจาะไว้ก็ตาม................

ผมขอกล่าวว่า

โต้ะครูซุนนะฮสะติวเด้นพยายามนำอายะฮอัลกุรอ่านและหะดิษ ที่มีความหมายกว้างๆ หรือมีความหมายโดยรวม(อุมูม) เพื่อมาอ้างรับรองแนวคิดที่ว่า แม้นบี ไม่ได้ใช้แบบเฉพาะเจาะจง ก็สามารถอ่านอัลกุรอ่านที่กุบูรอุทิศผลบุญให้คนตายได้ นี้คือ การนำเอาหลักการใช้เหตุผล และวิชากะลาม ที่โต๊ะครูใช้อ้างในการตีความอัลกุรอ่านและหะดิษเกี่ยวกับสิฟัตอัลลอฮ มาใช้ในเรื่อง การวิเคราะห์อัลกุรอ่านและและหะดิษ เพื่อกำหนดรูปแบบอิบาดะฮขึ้นมาใหม่ ที่ตนเห็นว่าดี โดยอ้างความหมายกว้างๆ(อุมมุม)ของอัลกุรอ่านและหะดิษต่าง นี้แหละคือ การทำลายสุนนะฮ โดยการกำหนดบิดอะฮต่างๆในเรื่องอิบาดะฮ โดยอาศัยหลักเหตุผล (ตรรกวิทยา) และวิภาษวิทยา(อัลมุลกะลาม) นะอูซุบิลละฮ
และยิ่งไปกว่านั้น หะดิษข้างต้นที่โต๊ะครู นำมาอ้าง ก็เป็นหะดิษเฏาะอีฟอีกด้วย ดังรายละเอียดดังต่อไปนี้
ศาสตราจารย์ ดอ็กเตอร์ บักรฺ บิน อับดุลลอฮ อบูเซด(بكر بن عبد الله أبو زيد) ได้กล่าวว่า

وأما الأثر عن أبي هريرة – رضي الله عنه الذي أسنده عبد الله بن الإِمام أحمد في ((زوائد الزهد)) ومن طريق أبو نعيم في: ((الحلية)), وكلاهما: من طريق نعيم بن محرر بن أبي هريرة,عن جده أبي هريرة: ((أنه كان له خيط فيه ألفا عقدة فلا ينام حتى يُسبح به)). فنعيم مجهول, لذا فلا يصح

และสำหรับหะดิษรายงานจากอบีฮุรัยเราะฮ เราะฏิยัลลอฮุอันฮู ซึ่ง อับดุลลอฮ บิน อิหม่ามอะหมัดได้อ้างอิง ใน(ซะวาอิดุดซะฮดิ) และจากสายรายงานของอบูนะอีม ใน(อัลหุลลียะฮ ) โดยที่ทังสองหะดิษ มาจากสายรายงานของนะอีม บิน มะหัรเราะริน บิน อบีฮุรัยเราะฮ จากปู่ของเขา คือ อบูฮุรัยเราะฮ ระบุว่า (เขา(ท่านอบูหุรอยเราะฮ์(ร.ฏ.)) มีเชื่อกที่มีหนึ่งพันปุ่ม เขาจะไม่นอน จนกว่าจะทำการตัสบีห์ด้วยกับมัน ) เพราะว่า นะอีม (นะอีม บิน มะหัรเราะริน ) นั้น มัจญฮูล(ไม่มีใครรู้จักประวัติความเป็นมาของเขา) เพราะเหตุนี้ จึงไม่ถูกต้อง (เศาะเฮียะ) –ดู ซุบหะฮ ตาริคุฮา วาหุกมุฮา หน้า 26

...............

นี้แหละครับท่านผู้อ่าน พวกท่านจะเห็นมูลเหตุแล้วใช่ไหมว่า ทำไมจึงมีบิดอะฮมากมายในศาสนา จนมันเข้ามาครอบงำสุนนะฮนบี Solallah ทำให้ชาวบ้านไม่รู้จักว่า สุนนะฮนบีคืออะไร และเข้าใจว่า บิดอะฮคือสุนนะฮนบี Solallah วัลอิยาซุบิลละฮ

......
อินชาอัลลอฮมีต่อ

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Mon Jan 05, 2009 8:36 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

โต๊ะครูซุนนะฮสะติวเด้น อ้างการกระทำของอิหม่ามอะหมัด ในเรื่อง ละหมาดสุนัต มาสนับสนุนการอ่านอัลกุรอ่านที่กุบูร เพื่ออุทิศผลบุญให้คนตาย โดยอ้างว่า
ท่านอัซซะฮะบีย์ กล่าวไว้ใน หนังสือ ซิยัร อะลาม อันนุบะลาอ์ว่า

قَالَ عَبْدُ اللهِ بْنُ الِإمَامِ أَحْمَدَ بْنِ حَنْبَلَ : كَانَ أَبِىْ يُصَلِّىْ كُلَّ يَوْمٍ ثَلَاثِمِائَةِ رَكَعَةٍ ، فَلَمَّا مَرِضَ مِنْ تِلْكَ الأَسْوَاطِ أَضْعَفَتْهُ فَكَانَ يُصَلِّىْ كُلَّ يَوْمٍ وَلَيْلَةٍ مِئَةً وَخَمْسِيْنَ رَكَعَةً

"ท่านอับดุลเลาะฮ์ บุตร ท่านอิมามอะหฺมัดบินหัมบัล กล่าวว่า บิดาของฉันเคยละหมาด 300 ร่อกะอัต ในทุกวัน แต่เมื่อขณะที่ท่านป่วยจากการถูกโบยดังกล่าวนั้น ทำให้ท่านสุขภาพอ่อนแอลง ดังนั้นท่านจึงทำการละหมาดเพียง 150 ร่อกะอัต ในหนึ่งวันและหนึ่งคืน " ดู ซิยัร อะลาม อันนุบะลาอ์ เล่ม 11 หน้า 212

การละหมาดสุนัตมีหลักฐานจากศาสนามารับรองแบบกว้าง ๆ แต่รูปแบบการละหมาดโดยกำหนด 300 ร่อกะอัต หรือ 150 ร่อกะอัตนั้น เป็นรูปแบบที่ไม่ขัดกับหลักศาสนา แม้ว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ไม่ได้เคยระบุเจาะจงไว้ก็ตาม


...............

ผมขอกล่าวว่า

ไม่น่าเชื่อว่า โต๊ะครู ไม่เข้าใจคำว่า “นัฟลุลมุฏลัก” ดังนั้นผม ขอเรียนโต๊ะครูว่า ละหมาดสุนัต นอกจากละหมาดสุนัตที่ควบคู่ไปกับละหมาดฟัรดู หรือ ที่เรียกว่า “รอวาติบ”เช่น ละหมาดสุนัตก่อน-หลังละหมาดฟัรดู แล้ว ก็มีละหมาดสุนัต ถูกจำกัดเวลาและสาเหตุ เช่น ละหมาดอีด ละหมาดขอฝน เป็นต้น และมีสุนัตอีกประเภทหนึ่ง เรียกกันว่า สุนัตมุฏลัก หรือ นัฟลุ้ลมุฏลัก คือ การละหมาดสุนัต ที่ไม่ได้จำกัดจำนวนและเวลา ยกเว้น ห้ามทำในเวลาที่ต้องห้าม เราจะทำจำนวนเท่าไหร่ก็ได้ โดยไม่ผูกมัดตัวเองและ จำกัดเวลา ในโอกาสนั้น โอกาสนี้ ดังนิยามว่า

النفل المطلق وهو النفل الذي يقوم صاحبه ليتطوع به فقط

นัฟลุ้ลมุฏลัก คือ นัฟลุ้ลที่ เจ้าของของมัน กระทำขึ้น เพื่อให้เป็นความ สมัครใจ ด้วยมันเท่านั้น มาดูหะดิษเกี่ยวกับเรื่องนี้
ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมกล่าวว่า

( الصلاة خير موضوع ، فمن استطاع أن يستكثر فليستكثر )

การละหมาด เป็นสิ่งที่ถูกวางไว้ที่ดี ดังนั้น ผู้ใดสามารถเพิ่มให้มากได้ ก็จงเพิ่มให้มากเถิด – รายงานโดย อัฏฏอ็บรอนีย์ และอัลบานีย์ ระบุไว้ใน เศาะเหียะญามุอัศเศาะฆัยร หะดิษหมายเลข 3870 ว่า เป็นหะดิษหะซัน

ورواه أيضا الطبراني عن أبي ذر بلفظ الصلاة خير موضوع من شاء أقل، ومن شاء أكثر،
ورواه أحمد وابن حبان والحاكم وصححه عن أبي ذر‏

และอัฏฏอ็บรอนีย์ ได้รายงานจากอบีซัรรินอีก ด้วนสำนวน ที่ว่า “การละหมาด เป็นสิ่งที่ถูกวางไว้ที่ดี ผู้ใดประสงค์จะทำน้อยก็ได้ ผู้ใดประสงค์จะทำมากก็ได้ – รายงานโดยอะหมัด อิบนุหิบบาน และอัลหากิม และเขาระบุว่า เป็นหะดิษเศาะเฮียะ จาก อบีซัรริน
..............

ท่านอิหม่ามอะหมัด ละหมาดสุนัตมุฏลักด้วยความสมัครใจ ท่านจะทำมากน้อยเท่าไหร่ก็ได้ และท่านไม่ได้สอนคนอื่นว่า ต้องจำกัดเท่านั้น เท่านี้ น่าหนักใจครับ อะไรๆ ก็เอามาอ้างเป็นหลักฐานอ่านอัลกุรอ่านในกุบูร เพื่ออุทิศผลบุญให้คนตาย ทั้งที่ การอ่านอัลกุรอ่านในกุบูร เพื่ออุทิศผลบุญให้คนตาย ไม่มีในสุนนะฮนบี Solallah ท่านไม่เคยทำ และไม่เคยส่งเสริมสาวกของท่าน

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Tue Jan 06, 2009 6:49 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

โต๊ะครูแห่งซุนนะฮ สะติวเด้น อ้างคำพูดอิบนิตัยมียะฮเพื่อมาสนับสนุน เรื่อง การอ่านอัลกุรอ่านในกุบูร เพื่ออุทิศผลบุญให้ผู้ตายดังนี้
ท่านอิบนุตัยมียะฮ์ฟัตวาไว้ว่า

إِذَا هَلَّلَ الإِنْسَانُ هَكَذَا : سَبْعُوْنَ اَلْفاً، أَوْ أَقَلَّ أَوْ أَكْثَرَ وَأُهْدِيَتْ إِلِيْهِ نَفَعَهُ اللهُ بِذَلِكَ، وَلَيْسَ هَذَا حَدِيْثاً صَحِيْحاً وَلَا ضَعِيْفاً

"เมื่อคนหนึ่งได้ทำการกล่าว ตะฮ์ลีล(ลาอิลาฮะอิลลัลเลาะฮ์) เช่นนี้70000 ครั้ง หรือน้อยกว่านั้น หรือมากกว่านั้น แล้ว(การตะลีล)ดังกล่าวก็ถูกฮะดียะฮ์ให้แก่มัยยิด แน่นอนอัลเลาะฮ์จะทรงให้(ผลบุญการตะฮ์ลีล)ดังกล่าวมีผลประโยชน์แก่มัยยิด และหะดิษดังกล่าว(ที่มาระบุเจาะจงให้ตะฮ์ลีลเจ็ดหมื่นครั้ง)นั้น ไม่ใช่หะดิษที่ซอฮิหฺ และฏออีฟ" ดู ฟาตาวา อิบนุตัยมียะฮ์ เล่ม24 หน้า 301

การที่บุคคลหนึ่งกล่าวลาอิลาฮะอิลลัลลอฮ์นั้น มีหลักฐานมารับรองแบบกว้าง ๆ ส่วนจะกล่าวกี่ครั้งนั้นเป็นรูปแบบกว้าง ๆ ที่จะกล่าวเจ็ดหมื่นครั้ง มากกว่านั้นหรือน้อยกว่านั้น ก็ถือว่าไม่ขัดกับหลักศาสนา แม้ไม่มีตัวบทมารับรองเจาะจงก็ตาม ดังนั้นสิ่งที่ไม่ขัดกับหลักศาสนาหรือตัวบท ย่อมมิใช่เป็นสิ่งต้องห้ามแต่ประการใด

...........................

ผมขอกล่าวว่า

โต๊ะครูพยายามอ้างคำพูดของอิบนุตัยมียะฮมาสนับสนุนแนวคิดเรื่อง การอ่านอัลกุรอ่านในกุบูร เพื่ออุทิศผลบุญให้ผู้ตาย ว่าไม่ขัดต่อศาสนา โปรดมาดู ที่มาของคำตอบของอิบนุตัยมียะฮคือ

وسئل عمن هلل سبعين ألف مرة، وأهداه للميت يكون براءة للميت من النار، حديث صحيح أم لا وإذا هلل الإنسان وأهداه إلى الميت يصل إليه ثوابه أم لا؟
فأجاب: إذا هلل الإنسان هكذا سبعون ألفا أو أقل أو أكثر وأهديت إليه نفعه الله بذلك وليس هذا حديثا صحيحا ولا ضعيفا والله أعلم
“และมีผู้ถามเกี่ยวกับผู้ที่กล่าว ตะฮ์ลีล(ลาอิลาฮะอิลลัลเลาะฮ์) 7,000 ครั้ง และอุทิศผลบุญของมันให้ผู้ตาย มันจะทำให้ผู้ตายหลุดพ้นจากไฟนรก นั้น มีหะดิษเศาะเฮียะ หรือไม่มี ? และ เมื่อผู้คนกล่าว ตะฮ์ลีล(ลาอิลาฮะอิลลัลเลาะฮ์) และอุทิศผลบุญของมันให้แก่ผู้ตาย ผลบุญของมันจะถึงผู้ตาย หรือไม่ ?
ข้าพเจ้าตอบว่า “ เมื่อ"เมื่อคนหนึ่งได้ทำการกล่าว ตะฮ์ลีล(ลาอิลาฮะอิลลัลเลาะฮ์) เช่นนี้70000 ครั้ง หรือน้อยกว่านั้น หรือมากกว่านั้น แล้ว(การตะลีล)ดังกล่าวก็ถูกฮะดียะฮ์ให้แก่มัยยิด อัลเลาะฮ์จะทรงให้(ผลบุญการตะฮ์ลีล)ดังกล่าวมีผลประโยชน์แก่ผู้ตาย และ กรณีนี้ไม่มี หะดิษที่ซอฮิหฺ และฏออีฟ" วัลลอฮุอะลัม ดู ฟาตาวา อิบนุตัยมียะฮ์ เล่ม24 หน้า 323
........................
ข้างต้น ท่านอิหม่ามอิบนุตัยมียะฮ ยืนยัน ว่า ไม่มีหะดิษเศาะเฮียะ และหะดิษเฎาะอีฟ ที่แสดงบอกว่า ให้กล่าว ตะฮ์ลีล(ลาอิลาฮะอิลลัลเลาะฮ์) 7,000 ครั้ง และอุทิศผลบุญของมันให้ผู้ตาย ก็แสดงว่า คำว่า “ให้ประโยชน์กับผู้ตายเป็นเพียงความเห็นของท่าน ไม่มีในสุนนะฮนบี ในเรื่องของความเห็น เอามาเป็นหลักฐานไม่ได้

มาดูฟัตวาที่ยืนยันว่า การอ่านอัลกุรอ่านอุทิศผลบุญให้ผู้ตาย ไม่ใช่สุนนะฮนบี ข้างล่างนี้


فقراءة القرآن على الميت قبل دفنه أو بعده، وذبح شاة مثلاً لإصلاح طعام لمن حضر لتشيع الجنازة، وتشيع الجنازة بالتهليل، وتلقين الميت عند القبر وحلقة الذكر الجماعي ووضع المبخرة فيها من البدع التي أحدثها الناس، فإنها لم تثبت عن النبي صلى الله عليه وسلم قولاً أو فعلاً أو تقريراً، ولم تثبت عن صحابته رضي الله عنهم ولا عن أئمة السلف الصالح رحمهم الله، فهذه من المعاصي والإصرار عليها يجعلها كبيرة وليست بكفر،

การอ่านอัลกุรอ่านให้แก่มัยยิต ก่อนและหลังจากฝังมัยยิต และเชือดแพะ เป็นต้น เพื่อจัดเตรียมเป็นอาหารให้แก่ผู้ที่มาร่วมพิธีศพ และร่วมพิธีศพด้วยการกล่าวตะฮลี้ล(กล่าวคำว่า”ลาอิลาฮะอิลลัลลออ) และตัลกีนมัยยิต ที่กุบูร และล้อมวงซิกริลละฮเป็นหมู่คณะ และวาง เครื่องหอม ในที่ศพ เป็นส่วนหนึ่ง จากบิดอะฮ ที่บรรดาผู้คนประดิษฐ์มันขึ้นมาใหม่ เพราะแท้จริงมันไม่ปรากฏยืนยันจากนบี Solallah ไม่ว่า จะเป็นคำพูด,การกระทำและการยอมรับ ก็ไม่มี และไม่ปรากฏยืนยันจากบรรดาสาวกของท่าน (ร.ฎ) และไม่ปรากฏยืนยันจากบรรดาอิหม่ามยุคสะลัฟผู้ทรงธรรม (ขออัลลอฮเมตตาต่อพวกเขา) ดังนั้น นี้คือ ส่วนหนึ่งจากบรรดามะศียะฮ(สิ่งที่ฝ่าฝืนต่อคำสอนศาสนา) และการปฎิบัติบนมันเป็นประจำ มันก็จะทำให้กลายเป็นบาปใหญ่ และ ไม่ได้ทำให้เป็นกุฟูร... – ดู ฟัตวาคณะกรรมการถาวรฯของประเทศซะอุดีอาราเบีย เล่ม 24 เรื่อง อะกีดะฮ
http://www.islamway.com/?iw_s=Fatawa&iw_a=view&fatwa_id=11286

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Wed Jan 07, 2009 12:06 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

โต๊ะครูแห่งซุนนะฮ สะติวเด้น อ้างคำพูดอิบนุกอ็ยยิมเพื่อมาสนับสนุน เรื่อง การอ่านอัลกุรอ่านในกุบูร เพื่ออุทิศผลบุญให้ผู้ตาย โดยอ้างว่า
ท่านอิบนุก็อยยิม ศิษย์เอกของท่านอิบนุตัยมียะฮ์ ได้กล่าวว่า

وَاخْتَلَفُوْا فِي العِبَادَةِ البَدَنِيَّةِ كَالصَّوْمِ وَالصَّلاَةِ وَقِرَاءَةِ القُرْآنِ وَالذِّكْرِ فَمَذْهَبُ الإِمَامِ أَحْمَدَ وَجُمْهُوْرِ السَّلَفِ وُصُوْلُهَا وَهُوَ قَوْلُ بَعْضِ أَصْحَابِ أَبِى حَنِيْفَةِ نَصَّ عَلىَ هَذَا الِإمَامُ أَحْمَدُ فِيْ رِوَايَةِ مُحَمَّدِ بْنِ يَحْيىَ الْكَحَّالِ قَالَ قِيْلَ لِأَبِىْ عَبْدِ اللهِ الرَّجُلُ يَعْمَلُ الشَّيْءَ مِنَ الخَيْرِ مِنْ صَلاَةٍ أَوْ صَدَقَةٍ أَوْ غَيْرِ ذَلِكَ فَيَجْعَلُ نِصْفَهُ لِأَبِيْهِ أَوْ لِأُمِّهِ قَالَ أَرْجُوْ أَوْ قَالَ الْمَيِّتُ يَصِلُ إِلِيْهِ كُلُّ شَيْءٍ مِنْ صَدَقَةٍ أَوْ غَيْرِهَا وَقَالَ أَيْضاً اِقْرَأْ آَيَةَ الْكُرْسِيِّ ثَلاَثَ مَرَّاتٍ وَقُلْ هُوَ اللهُ أَحَدٌ وَقُلِ اللَّهُمَّ إِنْ فَضْلَهُ لِأَهْلِ المَقَابِرِ

ท่าน อิบนุก๊อยยิม ได้กล่าวไว้เช่นกันว่า "บรรดานักปราชญ์ได้ขัดแย้งเกี่ยวกับอิบาดะฮ์ที่กระทำด้วยร่างกาย เช่น การถือศีลอด การละหมาด การอ่านอัลกุรอาน และการซิกรุลลอฮ์ ท่านอิมามอะห์มัด และปราชญ์สะลัฟส่วนมาก มีทัศนะว่า ผลบุญการถือศีลอด การละหมาด การอ่านอัลกุรอาน การซิกรุลลอฮ์ ถึงผู้ตาย และมันยังเป็นทัศนะของกล่าวบางส่วนของสานุศิษย์อิมามอบูหะนีฟะฮ์ และท่านอิมามอะห์มัดได้กล่าวระบุไว้ในสายรายงานของมุฮัมมัด บิน อะห์มัด อัลกะห์ฮาล เขากล่าวว่า "ได้กล่าวถามแก่ท่านอบีอับดิลลาฮ์ (คือท่านอิมามอะห์มัด) ว่า ชายคนหนึ่งได้กระทำความดี จากการละหมาด การซอดาเกาะฮ์ และอื่น ๆ แล้วมอบผลบุญครึ่งหนึ่งให้แก่บิดาหรือมารดาของเขา ท่านอิมามอะห์มัดตอบว่า "ฉันหวัง(ว่าผลบุญนั้นถึง)" หรือท่านอิมามอะห์มัดกล่าวว่า "ทุก ๆ สิ่งจากการซอดาเกาะฮ์และอื่น ๆ นั้น ผลบุญจะถึงแก่มัยยิด" และท่านอิมามอะห์มัดกล่าวเช่นเดียวกันว่า "ท่านจงอ่านอายะฮ์กุรซีย์ 3 ครั้ง ท่านกุลฮุวัลลอฮุอะฮัด และท่านจงกล่าวว่า "โอ้ผู้อภิบาลแห่งข้า ความดีงามของมันนั้น มอบแด่บรรดาชาวกุบูร" หนังสือ อัรรั๊วะห์ ของท่านอิบนุก๊อยยิม 1/117
.................

ผมขอกล่าวว่า

โต๊ะครู สังกัดมัซฮับชาฟิอี ไม่เห็นโต๊ะครูอ้างคำพูดอิหม่ามชาฟิอี หรือทัศนะของอิหม่ามชาฟิอีในเรื่องนี้เลย อ้างแต่กลับมาอ้างคำพูดอิบนิตัยมียะฮและอิบนุกอ็ยยิม ที่โต๊ะครูบอกว่า เป็นวะฮบีย์
แต่อย่างก็ตามกลับปรากฏว่า ในหนังสือ ซาดุ้ลมะอาด เล่ม 1 หน้า 523 ท่านอิบนุกอ็ยยิมกล่าวว่า

ولم يكن من هديه أن يجتمع للغداء، ويقرأ له القرآن، لا عند قبره ولا غيره، وكل هذا بدعة حادثة مكروهة

และไม่ได้เป็นทางนำของท่านรซูล โดยการ ชุมนุมกันเพื่อรับประทานอาหาร และอ่านอัลกุรอ่านให้แก่เขา(มัยยิต) ไม่ว่าจะกระทำที่กุบูรของเขาหรืออื่นจากนั้นก็ตาม และทั้งหมดนี้ เป็นบิดอะฮ ที่เกิดขึ้นใหม่ ที่น่ารังเกียจ

............

ดังนั้น การอ้างคำพูดและความเห็น นั้น หาข้อสรุปไม่ได้ แต่ต้องเอาความเห็นมาชั่งกับอัลกุรอ่านและอัสสุนนะฮ ถ้าไม่ปรากฏในอัลกุรอ่านและอัสสุนนะฮ ความเห็นก็ตกไป เพราะศาสนานั้น ต้องมาจากคำสอนของอัลลอฮและรอซูล Solallah

มาดูฟัตวา ที่ยึดอัลกุรอ่านและอัสสุนนะฮ เป็นหลักในการพิจารณาหุกุม


มีผู้ถามคณะกรรมการถาวรเพื่อการตอบปัญหาศาสนา ว่า

هل يجوز قراءة الفاتحة أو شيء من القرآن للميت عند زيارة قبره ، وهل ينفعه ذلك ؟

อนุญาตให้อ่านซูเราะฮอัลฟาติหะฮ หรือ สิ่งหนึ่งสิ่งใดจากอัลกุรอ่านให้แก่มัยยิต เมื่อเยียมเยียนกุบูรของเขา ได้หรือไม่ และดังกล่าวนั้นมีประโยชน์ต่อเขา(มัยยิต)หรือไม่

فأجابت :
ثبت عن النبي صلى الله عليه وسلم أنه كان يزور القبور ، ويدعو للأموات بأدعية علمها أصحابه ، وتعلموها منه ، من ذلك : ( السلام عليكم أهل الديار من المؤمنين والمسلمين ، وإنا إن شاء الله بكم لاحقون ، نسأل الله لنا ولكم العافية ) ، ولم يثبت عنه صلى الله عليه وسلم أنه قرأ سورة من القرآن أو آيات منه للأموات مع كثرة زيارته لقبورهم ، ولو كان ذلك مشروعاً لفعله ، وبينه لأصحابه ؛ رغبةً في الثواب ، ورحمةً بالأمة ، وأداءً لواجب البلاغ ، فإنه كما وصفه تعالى بقوله : ( لَقَدْ جَاءَكُمْ رَسُولٌ مِنْ أَنفُسِكُمْ عَزِيزٌ عَلَيْهِ مَا عَنِتُّمْ حَرِيصٌ عَلَيْكُمْ بِالْمُؤْمِنِينَ رَءُوفٌ رَحِيمٌ )التوبة/128.
فلما لم يفعل ذلك مع وجود أسبابه دل على أنه غير مشروع ، وقد عرف ذلك أصحابه رضي الله عنهم فاقتفوا أثره ، واكتفوا بالعبرة والدعاء للأموات عند زيارتهم ، ولم يثبت عنهم أنهم قرأوا قرآناً للأموات ، فكانت القراءة لهم بدعة محدثة ، وقد ثبت عنه صلى الله عليه وسلم أنه قال : ( من أحدث في أمرنا هذا ما ليس منه فهو رد ) متفق عليه

ตอบ

ได้ปรากฏรายงานที่แน่นอน จากนบี Solallah ว่า ท่านได้เยียมเยียนกุบูร และท่านได้อ่านดุอาด้วยดุอาต่างๆให้แก่บรรดามัยยิต ซึ่งท่านได้สอนบรรดาสาวกของท่าน และพวกเขาก็ได้เรียนมันจากท่านนบี ส่วนหนึ่งจากดังกล่าวนั้นคือ

السلام عليكم أهل الديار من المؤمنين والمسلمين ، وإنا إن شاء الله بكم لاحقون ، نسأل الله لنا ولكم العافية

ขอความสัติสุขจงประสบแด่ ชาวบ้านนี้ จากบรรดาผู้ศรัทธและบรรดามุสลิม และ อินชาอัลลอฮ เรา ก็จะเป็นผู้ติดตาม พวกท่าน ,เราขอต่ออัลลอฮ ได้โปรดประท่าน ความสุขให้แก่พวกเราและพวกท่าน”)
และไม่ปรากฏรายงานที่แน่นอนจาก ท่านนบี Solallah ว่าท่านได้อ่านซูเราะฮอัลบะเกาะฮเราะฮ หรือ บรรดาอายะฮอัลกุรอ่าน ให้แก่บรรดาผู้ตาย ทั้งๆที่ท่านได้เยียมเยียนกุบูร พวกเขา หลายครั้ง และถ้าปรากฏว่าดังกล่าวนั้น เป็นสิ่งที่ถูกบัญญัติไว้ แน่นอนท่านนบี Solallah ต้องกระทำมัน และท่านต้องอธิบายมัน แก่บรรดาสาวกของท่าน เพราะท่านชอบในเรื่องผลบุญ และ เป็นความเมตตาแก่อุมมะฮ และ เป็นการปฏิบัติหน้าที่เผยแผ่ศาสนา เพราะอัลลอฮ ตะอาลาได้ทรงพรรณนาคุณลักษณะ ของรอซูล ด้วยคำตรัสของพระองค์ที่ว่า

( لَقَدْ جَاءَكُمْ رَسُولٌ مِنْ أَنفُسِكُمْ عَزِيزٌ عَلَيْهِ مَا عَنِتُّمْ حَرِيصٌ عَلَيْكُمْ بِالْمُؤْمِنِينَ رَءُوفٌ رَحِيمٌ )التوبة/128.

แท้จริงมีร่อซูลคนหนึ่งจากพวกท่านเองได้มาหาพวกท่านแล้ว เป็นที่ลำบากใจแก่เขาในสิ่งที่พวกท่านได้รับความทุกข์ยาก เป็นผู้ห่วงใย เป็นผุ้เมตตา ผู้กรุณาสงสาร ต่อบรรดาผู้ศรัทธา – เตาบะฮ /128
ท่านนบีไม่ได้กระทำดังกล่าวทั้งๆที่มีบรรดาสาเหตุ(ที่จูงใจให้ทำ ) จึงแสดงให้เห็นว่า มันไม่เป็นสิ่งที่ถูกบัญญัติให้กระทำ และแท้จริงบรรดาสาวก(เศาะหาบะฮ)ของท่าน (ร.ฎ) รู้ เรื่องดังกล่าว พวกเขาได้ติดตามร่องรอยของท่านนบี Solallah และพอเพียง ด้วยการพิจารณาข้อคิด และ ขอดุอาให้แก่บรรดาผู้ตาย เมื่อเยี่ยมเยียน พวกเขา และ ไม่ปรากฏรายงานยืนยันที่แน่นอนว่า ท่านนบี Solallah อ่านอัลกุรอ่านให้แก่บรรดาผู้ตาย ดังนั้น การอ่านอัลกุรอ่านอุทิศให้แก่ผู้ตายนั้น เป็นบิดอะฮ ที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นใหม่ และแท้จริง ได้มีรายงานยืนยันที่แน่นอนจากท่านนบีว่า ท่านได้กล่าวว่า “ผู้ใด ประดิษฐ์สิ่งใหม่ขึ้นมาในกิจการศาสนาของเรานี้ สิ่งซึ่ง ไม่ได้มาจากมัน มันถูกปฏิเสธ”- มุตตะฟะกุนอะลัยฮิ
- ฟัตวา คณะกรรมการถาวรฯ เล่ม 9 หน้า 38

.............................................

การตามอุลามาอฺ นั้น เขาไม่ได้พิจารณากันที่รุ่นเก่า หรือ รุ่นใหม่ แต่จะพิจารณาที่ หลักฐาน ดังนั้น ฟัตวาข้างต้นแม้จะเป็นของอุลามาอฺยุคหลัง แต่จุดยืนของเขาในการพิจารณาหุกุม เขายึดมาตรฐานอัลกุรอ่านและอัสสุนนะฮ อย่างเคร่งครัด

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Wed Jan 07, 2009 1:28 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

โต๊ะครูซุนนะฮสะติวเด้นกล่าวว่า
ท่านอิมามอัชชะรีฟ อัลญุรญานีย์ ได้ให้คำนิยามคำว่าอัษษะว้าบ الثَّوَابُ "ผลบุญ" ตามหลักการของศาสนาความว่า
مَا يُسْتَحَقُّ بِهِ الرَّحْمَةُ وَالْمَغْفِرَةُ مِنَ اللهِ تَعَالىَ، وَالشَّفَاعَةُ مِنَ الرَّسُوْلِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ

"สิ่งที่เหมาะสมยิ่งที่จะได้รับความเมตตาและการอภัยโทษจากอัลเลาะฮ์ตะอาลาและการช่วยเหลือ(ชะฟาอัต)จากท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม" หนังสือ อัตตะรีฟาต หมวด อัษษะว้าบ
กล่าวคือ ผลบุญนั้น คือการปฏิบัติความดีงามที่จะได้รับซึ่งผลตอบแทนในรูปแบบของความเมตตา การอภัยโทษของอัลเลาะฮ์ตะอาลา และการชะฟาอัตของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ที่อัลเลาะฮ์ตะอาลาจงทรงมอบสิทธิ์พิเศษให้ในวันกิยามะฮ์ ดังนั้นหากเราทำอิบาดะฮ์มาก ๆ ผลบุญก็จะมาก
……………

ผมขอกล่าวว่า

หน้าที่ของมนุษย์คือ ปฏิบัติตาม สิ่งที่อัลลอฮ และรอซูลของพระองค์ ใช้และละทิ้งสิ่งที่อัลลอฮและรอซูลของพระองค์ห้าม ดังที่อัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลาตรัสว่า

وَلَوْ أَنَّهُمْ آمَنُوا وَاتَّقَوْا لَمَثُوبَةٌ مِنْ عِنْدِ اللَّهِ خَيْرٌ لَوْ كَانُوا يَعْلَمُونَ

และหากว่า เขาเหล่านั้นศรัทธา และเกรงกลัวแล้ว แน่นอน ผลบุญ(ษะวาบ) ณ ที่อัลลอฮ์นั้นย่อมดีกว่า หากพวกเขารู้ – อัลบะเกาะฮเราะฮ/103
อิบนิกะษีร (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) อธิบายว่า

أَيْ وَلَوْ أَنَّهُمْ آمَنُوا بِاَللَّهِ وَرُسُله وَاتَّقُوا الْمَحَارِم لَكَانَ مَثُوبَة اللَّه عَلَى ذَلِكَ خَيْرًا لَهُمْ مِمَّا اِسْتَخَارُوا لِأَنْفُسِهِمْ وَرَضُوا بِهِ

กล่าวคือ และถ้าพวกเขาศรัทธาต่ออัลลอฮและบรรดารอซูลของพระองค์ และป้องกันบรรดาสิ่งต้องห้าม แน่นอน ผลบุญของอัลลอฮ บนสิ่งดังกล่าวนั้น ย่อม มีผลดีสำหรับพวกเขา ยิ่งกว่า สิ่งที่พวกเขาเลือกให้แก่ตัวของพวกเขาและพอใจกับมัน – ดู ตัฟสีรอิบนุอะษีร อรรถาธิบาย ฃูเราะฮ อัลบะเกาะฮเราะฮ/103

…………

ท่านครูครับ ท่านจำคำสอนอิหม่ามชาฟิอี (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวไหมที่ท่านกล่าวไว้ว่า

آمنت بالله وبما جاء عن الله على مراد الله ، وآمنت برسول الله وبما جاء عن رسول الله على مراد رسول الله

“ฉันศรัทธาต่ออัลลอฮ และศรัทธาต่อสิ่งที่มาจากอัลลอฮ ตาม ความความหมายที่อัลลอฮประสงค์ และฉันศัทธาต่อรซูลุลลฮ และศรัทธาต่อสิ่งที่มาจากรซูลุลลอฮ ตามความหมายที่รซูลุลลอฮประสงค์ – ดู อัลอิรชาด ชัรหุลุมอะฮอัลเอียะติกอด หน้า 89

.........
ไม่ว่าในเรื่อง อะกีดะฮ และ เรื่อง อิบาดะฮ จะต้องศรัทธาและปฏิบัติตาม คำสอนมาจากอัลลอฮและรอซูล จึงจะได้บุญ เพราะเจ้าของบุญคืออัลลอฮ และ ถ้าคิดสรรหารูปแบบอิบาดะฮเอาเอง ไม่ได้มาจากคำสอน ของอัลลอฮและรอซูล ใครเป็นผู้รับรองจะให้บุญละครับ

โตะครูบอกว่า

หากเราทำอิบาดะฮ์มาก ๆ ผลบุญก็จะมาก

ผมขอกล่าวว่า

แม้ทำมาก แต่ไม่ปฏิบัติตามสุนนะฮ ก็เหมือนตักน้ำใส่กะละมังรั่ว ย่อมไม่มีอะไรเหลือให้ท่านเอาไปชั่งในวันกิยามะฮครับท่านครู

ดังที่ท่านฟาฎีล บอน อิยาฎ กล่าวว่า

إن العمل إذا كان صوابا ولم يكن خالصا لم يقبل، وإذا كان خالصا ولم يكن صوابا لم يقبل، حتى يكون خالصا صوابا، والخالص أن يكون لله، والصواب أن يكون على السنة

การงานนั้นเมื่อถูกต้องและไม่บริสุทธิ์ใจ มันก็จะไม่ถูกรับรอง และเมื่อบริสุทธิ์ใจและไม่ถูกต้อง ก็ไม่ถูกรับรอง จนกว่าจะบริสุทธิ์ใจและถูกต้อง และ บริสุทธิ์ใจ คือ การกระทำนั้นเพื่ออัลลอฮ และ ถูกต้องนั้น คือ การกระทำนั้นเป็นไปตามอัสสุนนะฮ(แบบอย่างของท่านรซูล)
............

ขอย้ำาว่า ถ้าทำอิบาดะฮบิดอะฮ ย่อมไร้ผล แม้จะมากเพียงใหนก็ตาม
พี่น้องสุนใจ อ่านหนังสือเรื่อง “อันนียะฮ วัลอิคลาศ ของ ดร.ยุซูบ อัลกอรฎอวีย์ ข้างล่างครับ

http://www.qaradawi.net/site/topics/article.asp?cu_no=2&item_no=709&version=1&template_id=61&parent_id=12

والله أعلم بالصواب

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Thu Jan 08, 2009 1:09 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

โต๊ะครูแห่งซุนนะฮ สะติวเด้น อ้างอายะฮอัลกุรอ่านเพื่อมาสนับสนุน เรื่อง การอ่านอัลกุรอ่านในกุบูร เพื่ออุทิศผลบุญให้ผู้ตายดังนี้

อัลเลาะฮ์ตะอาลาทรงตรัสว่า

وَقَالَ رَبُّكُمُ ادْعُونِي أَسْتَجِبْ لَكُمْ

"ผู้อภิบาลของพวกเจ้าตรัสว่า พวกเจ้าจงขอ(ดุอา)ต่อข้าเถิด แล้วข้าจะตอบรับให้แก่พวกเจ้า" ฆอฟิร 60

อัลเลาะฮ์ทรงตรัสว่า

فَاعْلَمْ أَنَّهُ لَا إِلَهَ إِلَّا اللَّهُ وَاسْتَغْفِرْ لِذَنبِكَ وَلِلْمُؤْمِنِينَ وَالْمُؤْمِنَاتِ

" และเจ้าจงรู้เถิดว่า แท้จริงพระองค์นั้น ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลเลาะฮ์ และเจ้าจงอิสติฆฟาร(ขออภัยโทษให้มี)แก่บาปของเจ้า และ(จงขออภัยโทษให้มี)แก่บรรดาผู้ศรัทธาชนทั้งชายและหญิง" มุฮัมมัด : 19

พระองค์ทรงตรัสเช่นกันว่า

وَالَّذِينَ جَاؤُوا مِن بَعْدِهِمْ يَقُولُونَ رَبَّنَا اغْفِرْ لَنَا وَلِإِخْوَانِنَا الَّذِينَ سَبَقُونَا بِالْإِيمَانِ

" และบรรดา (คนมุสลิม) ที่มาภายหลังจากพวกนั้นกล่าว(ขออภัยโทษให้มีแก่ผู้ศรัทธา)ว่า "โอ้องค์อภิบาลของเรา ได้โปรดอภัยโทษแก่เรา และแก่บรรดาพี่น้อง(มุสลิม)ของเรา ที่ได้ล่วงหน้าเราไปแล้วในการศรัทธา" อัลฮัชรุ 10

ท่านอิบนุก็อยยิม กล่าวว่า

فَأَثْنَى اللهُ سُبْحَانَهُ عَلَيْهِمْ بِاِسْتِغْفَارِهِمْ لِلْمُؤْمِنِيْنَ قَبْلَهُمْ فَدَلَّ عَلىَ اِنْتِفَاعِهِمْ بِاِسْتِغْفَارِ الأَحْيَاءِ

" ดังนั้น อัลเลาะฮ์ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ได้ทรงยกย่องสรรเสริญต่อผู้ที่ทำการอิสติฆฟาร(ขออภัยโทษให้มี)แก่บรรดามุสลิมีนที่อยู่ ก่อนหน้าพวกเขามาแล้ว ดังนั้นหลักฐานอัลกุรอานอายะฮ์นี้ จึงชี้ให้เห็นว่า บรรดาคนตายจะได้รับประโยชน์ด้วยการอิสติฆฟารการขออภัยโทษต่ออัลเลาะฮ์จากคน ที่มีชีวิตอยู่" หนังสือ อัรรั๊วะห์ 1/118

ดังนั้น การที่เราได้มอบผลบุญให้แก่คนตาย ก็คือ การที่เราได้ขอภัยโทษจากอัลเลาะฮ์ให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว หรือพูดอีกสำนวนหนึ่งว่า เราได้ขอต่ออัลเลาะฮ์ให้ประทานความเมตตา , มีการอภัยโทษของพระองค์ , และการชะฟาอัตของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ให้มีอยู่ที่พี่น้องมุสลิมที่ล่วงลับไปแล้วมาก ๆ นั่นเองครับ
....................

ผมขอกล่าวว่า

อายะฮอัลกุรอ่าน ทั้ง 3 อายะฮข้างต้น กล่าวถึงการขอดุอาและการขออภัยโทษแก่ผู้ศรัทธา ไม่มีนักตัฟสีรคนใดอธิบายว่า อายะฮข้างต้น เป็นหลักฐานอ่านอัลกุรอ่านให้คนตาย และไม่ปรากฏว่า ท่านรซูลุลลอฮ Solallah และเหล่าสาวกของท่านนำมาเป็นหลักฐาน การอุทิศผลบุญให้คนตาย
ขอยกตัวอย่างตัฟสีรอายะฮอัลกุรอ่านข้างต้น สัก 1 อายะฮ ดังนี้

พระองค์ทรงตรัสเช่นกันว่า

وَالَّذِينَ جَاؤُوا مِن بَعْدِهِمْ يَقُولُونَ رَبَّنَا اغْفِرْ لَنَا وَلِإِخْوَانِنَا الَّذِينَ سَبَقُونَا بِالْإِيمَانِ

" และบรรดา ผู้ที่มาภายหลังจากพวกนั้นกล่าวว่า "โอ้องค์อภิบาลของเรา ได้โปรดอภัยโทษแก่เรา และแก่บรรดาพี่น้องของเรา ที่ได้ล่วงหน้าเราไปแล้วด้วยการศรัทธา" อัลฮัชรุ 10

อิบนุญะรีร อธิบายว่า

وَعُنِيَ بِاَلَّذِينَ جَاءَا مِنْ بَعْدهمْ الْمُهَاجِرُونَ أَنَّهُمْ يَسْتَغْفِرُونَ لِإِخْوَانِهِمْ مِنْ الْأَنْصَار

และ และบรรดาผู้ที่มาหลังจากพวกเขา หมายถึง ชาวมุฮาญิรีน พวกเขาขออภัยโทษให้แก่พี่น้องของเขาที่เป็นชาวอันศอร - ดู ตัฟสีรอัฏฏอ็บรีย์ อรรถาธิบาย ซูเราะฮ อัลฮัชรุ /10
.........

ไม่ปรากฏกฏว่า ชาวมุฮาญิรีน ไปอ่านอัลกุรอ่านที่หลุมศพชาวอันศอร แล้วอุทิศผลบุญให้ชาวอันศอรเลย เพราะฉะนั้น โต๊ะครูคิดเอง เออเองทั้งนั้น คนที่น่าเป็นห่วงคือคนอาวาม เพราะพวกเขาเข้าใจว่า อัลลอฮสั่งให้อ่านอัลกุรอ่านในกุบูร เพื่ออุทิศผลบุญให้ผู้ตาย ทั้งๆที่อายะฮข้างต้นสอนให้เราของอภัยโทษให้แก่พี่น้องมุสลิมที่ตายเท่านั้น
........
ขอเรียนท่านผู้อ่านว่า ผมจะเอาเฉพาะหลักฐานที่โต๊ะครูซุนนะฮสะติวเด้นนำมาอ้างเท่านั้น มาวิจารณ์โต้แย้ง ส่วนความเห็นแบบเพียวๆของท่านครู ผมไม่อยากเสียเวลามาวิจารณ์ เพราะไม่มีน้ำหนักตั้งแต่ต้นแล้ว

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Thu Jan 08, 2009 1:36 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เพิ่มเติม
อัลเลาะฮ์ทรงตรัสว่า

فَاعْلَمْ أَنَّهُ لَا إِلَهَ إِلَّا اللَّهُ وَاسْتَغْفِرْ لِذَنبِكَ وَلِلْمُؤْمِنِينَ وَالْمُؤْمِنَاتِ

" และเจ้าจงรู้เถิดว่า แท้จริงพระองค์นั้น ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลเลาะฮ์ และเจ้าจงขออภัยโทษให้แก่เจ้า และให้แก่บรรดาผู้ศรัทธาชนทั้งชายและหญิง" มุฮัมมัด : 19
.........
จากอายะฮข้างต้น ท่านอิบนุกะษีร ได้ยกตัวอย่าง หะดิษรายงานโดยอิหม่ามอะหมัด ดังนี้

عَنْ عَاصِم الْأَحْوَل قَالَ سَمِعْت عَبْد اللَّه بْن سَرْخَس قَالَ أَتَيْت رَسُول اللَّه صَلَّى اللَّه عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فَأَكَلْت مَعَهُ مِنْ طَعَامه فَقُلْت غَفَرَ اللَّه لَك يَا رَسُول اللَّه فَقَالَ صَلَّى اللَّه عَلَيْهِ وَسَلَّمَ" وَلَك " فَقُلْت أَسْتَغْفِر لَك ؟ فَقَالَ رَسُول اللَّه صَلَّى اللَّه عَلَيْهِ وَسَلَّمَ " نَعَمْ وَلَكُمْ " وَقَرَأَ " وَاسْتَغْفِرْ لِذَنْبِك وَلِلْمُؤْمِنِينَ وَالْمُؤْمِنَات

รายงานจากอาศิมอัลอะหวัล กล่าวว่า "ข้าพเจ้าได้ยิน อับดุลลอฮ บิน สัรคอส กล่าวว่า "ฉันได้ไปยังรซูลุลลอฮ Solallah แล้วฉันได้ร่วมรับประทานอาหารพร้อมกับท่านรซูลุลลอฮ จากอาหารของท่านรซูลุลลอฮ แล้วฉันได้กล่าวว่า "ขออัลลอฮได้โปรดอภัยโทษให้แก่ท่านด้วยเถิดโอ้รซูลุลลอฮ" แล้วรซูลุลลอฮ Solallah กล่าวว่า "และให้แก่ท่านด้วย" แล้วฉันกล่าวว่า " ก็ฉันขออภัยโทษให้แก่ท่านมิใช่หรือ? แล้วรซูลุลลอฮ Solallah กล่าวว่า "ใช่ "และ ให้แก่พวกท่านด้วย" และท่านรซูลได้อ่าน

وَاسْتَغْفِرْ لِذَنْبِك وَلِلْمُؤْمِنِينَ وَالْمُؤْمِنَات

และเจ้าจงขออภัยโทษให้แก่เจ้าและแก่บรรดาผู้ศรัทธาชนทั้งชายและหญิง
- ดู ตัฟสีรอิบนิกะษีร อรรถาธิบาย อายธฮที่ 19 ซูเราะฮมุหัมหมัด
.............
อายะฮข้างต้นสอนให้ขออภัยโทษให้แก่ตัวเองและให้แก่พี่น้องมุสลิม แต่..โต๊ะครูซุนนะฮสะติวเด้นกลับนำมาเป็นหลักฐานสนับสนุนการอ่านอัลกุรอ่านที่กุบูร เพื่ออุทิศผลบุญแก่ผู้ตาย - นะอูซุบิลลฮ ขออัลลอฮชี้นำท่านด้วย

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Thu Jan 08, 2009 8:39 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

โต๊ะครูซุนนะฮ บอกว่าหะดิษข้างล่างเชื่อถือได้

حمد نهى ضريرا أن يقرأ عند القبر، وقال له : إن القرأءة عند القبر بدعة ، فقال له محمد بن قدامة الجوهرى : يا أبا عبد الله ما تقول فى مبشر الحلبى ؟ قال : ثقة ، قال : فأخبرنى مبشر ، عن عبد الرحمن بن العلاء بن اللجلاج، عن أبيه : أنه أوصى إذا دفن أن يقرأ عنده بفاتحة البقرة وخاتمتها، وقال : سمعت ابن عمر يوصى بذلك ، فقال له أحمد : فارجع وقل للرجل يقرأ

"แท้จริง ท่านอะหฺมัด ได้ห้ามชายตาบอด ทำการอ่านอัลกุรอานที่กุบูร โดยที่ท่านอะหฺมัดกล่าวแก่เขาว่า การอ่านอัลกุรอานที่กุบูรนั้นเป็นบิดอะฮ์ ดังนั้น มุหัมมัด บิน กุดามะฮ์ อัลเญาฮะรีย์ กล่าวกับท่านอะหฺมัดว่า โอ้ อบูอับดุลเลาะฮ์ (คือท่านอิมามอะหฺมัด) ท่านจะว่าอย่างไรเกี่ยวกับท่านมุบัชชิร อัลหะละบีย์ ? ท่านอะหฺมัดกล่าวว่า เขานั้นเชื่อถือได้ มุหัมมัด บิน กุดามะฮ์กล่าวว่า ท่านมุบัชชิรได้เล่าให้ฉันฟังโดยเอามา จากท่านอับดุรเราะห์มาน บิน อัลอะลาอ์ บิน อัลลัจลาจญฺ จากบิดาของเขาว่า แท้จริง บิดาของเขาได้ทำการสั่งเสียว่า เมื่อเขาได้ถูกฝังไปแล้ว ก็ให้ทำการอ่านช่วงแรกของซูเราะฮ์อัลบะเกาะเราะฮ์ และช่วงท้ายของมันที่สุสารของเขา และบิดาของเขากล่าวว่า ฉันได้ยินท่านอิบนุอุมัรได้ทำการสั่งเสียเรื่องดังกล่าวไว้ ดังนั้น ท่านอิมามอะหฺมัดจึงกล่าวแก่เขาว่า ท่านจงกลับไปบอกชาย(ตาบอด)ผู้นั้น ให้ทำการอ่านอัลกุรอาน(ที่กุบูร)ได้"
...................

ขอวิจารณ์ ว่า

หะดิษข้างต้น มีผู้รายงานคนหนึ่ง ชื่อว่า محمد بن قدامة الجوهري มุหัมหมัด บิน กุดามะฮ อัลเญาฮะรีย์ มีผู้วิจารณ์เกี่ยวเขาดังนี้
أبو محرز عن ابن معين: ليس بشيء. وقال الآجري عن أبي داود: ضعيف لم أكتب عنه شيئا
อบูมะหรอซ รายงานจาก อิบนุมุอีนว่า “ ไม่มีสิ่งใดๆเลย (หมายถึงเชื่อถือไม่ได้) และ อัลอาญะรอรายงาน จาก อบีดาวูด
ว่า เขาเฎาะอีฟ ฉันไม่เคยบันทึกสิ่งใดจากเขาเลย - ดู ดูมีซานุลเอียะอ์ติดาล เล่มที่ 4 หน้าที่ 15 ลำดับที่ 8083)และ อัตตะฮซีบุตตะฮซีบ เล่ม 9 หน้า 354 ลำดับที่ 6524

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย asan เมื่อ Thu Jan 08, 2009 8:40 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Thu Jan 08, 2009 8:49 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อีกหะดิษหนึ่ง ทีโตะครูซุนนะฮสะติวเด้นเอามาอ้างในเว็บของตนว่า เป็นหลักฐานอ่านให้คนตายที่กุบูรคือ
فأخبرنى مبشر ، عن عبد الرحمن بن العلاء بن اللجلاج، عن أبيه : أنه أوصى إذا دفن أن يقرأ عنده بفاتحة البقرة وخاتمتها، وقال : سمعت ابن عمر يوصى بذلك
ท่านมุบัชชิรได้เล่าให้ฉันฟังโดยเอามา จากท่านอับดุรเราะห์มาน บิน อัลอะลาอ์ บิน อัลลัจลาจญฺ จากบิดาของเขาว่า แท้จริง บิดาของเขาได้ทำการสั่งเสียว่า เมื่อเขาได้ถูกฝังไปแล้ว ก็ให้ทำการอ่านช่วงแรกของซูเราะฮ์อัลบะเกาะเราะฮ์ และช่วงท้ายของมันที่สุสารของเขา และบิดาของเขากล่าวว่า ฉันได้ยินท่านอิบนุอุมัรได้ทำการสั่งเสียเรื่องดังกล่าวไว้

วิจารณ์

หะดิษข้างต้น เป็นหะดิษเฏาะอีฟ เพราะ ในหะดิษ มีผู้รายงานคนหนึ่ง ชื่อ

عبد الرحمن بن العلاء بن اللجلاج
มีผู้วิจารณ์ดังนี้
1. ท่านฮาฟิซ อัสซะฮะบีย์ ได้กล่าวว่า

عبد الرحمان بن العلاء بن اللجلاج شامي عن أبيه ما روي عنه سوى مبشر بن إسماعيل الحلبي

“อับดุลเราะห์มาน อิบนุลอะลาอ์ อิบนุลลัจญ์ลาจญ์ รายงานจากพ่อของเขา (อะลาอ์) ไม่มีผู้ใดรับรายงานจากเขาเลยนอกจาก มุบัชชิร บินอิสมาอีล อัลฮะละบีย์ เท่านั้น
- ” มีซานุ้ลเอียะอ์ติดาล เล่มที่ 2 หน้าที่ 579 ลำดับที่ 4925

2. อัลบานีย์กล่าวใน อะหกามุลญะนาอิซ ว่า

عبد الرحمن ابن العلاء بن اللجلاج معدود في المجهولين

อับดุลเราะห์มาน อิบนุลอะลาอ์ อิบนุลลัจญ์ลาจญ์ ถูกนับอยู่ในบรรดาผู้ที่มัจญฮูล (ไม่มีใครรู้จัก

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Thu Jan 08, 2009 8:54 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เพิ่มเติม

ดร หุซามุดดีน อะฟานะฮ กล่าวว่า

أن السند بهذا الأثر لا يصح عن ابن عمر ولو فرض ثبوته عند أحمد وذلك لأن عبد الرحمن بن العلاء بن اللجلاج معدود في المجهولين، كما يشعر بذلك قول الذهبي في ترجمته من الميزان : ما روى عنه سوى مبشر هذا ، ومن طريقه رواه ابن عساكر ... وأما توثيق ابن حبان إياه فمما لا يعتد به لما اشتهر به من التساهل في التوثيق

แท้จริง สายรายงานหะดิษนี้ ไม่เศาะเฮียะ จากอิบนุอุมัร ถ้าสมมุติว่า มันได้ปรากฏยืนยันตามทัศนะของอะหมัดก็ตาม และดังกล่าวนั้น เพราะ ว่า อับดุรเราะห์มาน บิน อัลอะลาอ์ บิน อัลลัจลาจญฺ ถูกนับว่า อยู่ในบรรดาผู้ที่ไม่เป็นที่รู้จัก(มัจญฮูล) ดังที่คำพูดของอัซซะฮะบีย์ ได้บอกให้รู้ ด้วยดังกล่าว ในคำอธิบายของท่าน จาก อัลมีซาล ว่า ไม่มีผู้ใดรายงานจากเขาอื่นจาก มุบัชชิรคนนี้ และส่วนหนึงจากสายรายงานของเขา อิบนุอะสากีร ได้รายงานมัน.. .. และสำหรับการที่อิบนุหิบบานให้การการรับรองว่ามันเชื่อถือได้นั้น ก็เป็นส่วนหนึ่งจากสิ่งที่ไม่ได้รับการยอมรับ เพราะเป็นสิ่งที่ปรากฏอย่างแพร่หลายว่า เขาเป็นส่วนหนึ่งจากอัลมุตาสาฮีล(คนที่ไม่มีความรอบคอบ)ในการให้น้ำหนักว่าหะดิษเชื่อได้ - กอวิดวะอะสัส ฟิสสุนนะฮวัลบิดอะฮ ของ ดร หุซามุดดีน อะฟานะฮ เล่ม 1 หน้า 136

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Fri Jan 09, 2009 6:45 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เพิ่มเติม
การอ่านอัลกุรอ่านในสุสาน(กุบูร) เพื่ออุทิศผลบุญให้คนตายนั้น ไม่มีคำสั่งจากอัลลอฮและรซูลุลลอฮ แต่ที่อ้างกันว่า ทำได้ ก็โดยการนำหะดิษเฎาะอีฟมาอ้าง โดยโตะครูซุนนะฮสะติวเด้นได้อ้างว่า
ท่านอิมามอันนะวาวีย์จึงกล่าวไว้ในหนังสือ อัลอัษการ ของท่านว่า

وَ ذَكَرَ الفُقَهَاءُ وَ المُحَدَّثُوْنَ أَنَّهُ يَجُوْزُ وَ يُسْتَحَبُّ الْعَمَلُ فِى الفَضَائِلِ وَالتَّرْغِيْبِ وَالتَّرْهِيْبِ بِالحَدِيْثِ الضَّعِيْفِ مَا لَمْ يَكُنْ مَوْضُوْعاً

"บรรดานักปราชญ์นิติศาสตร์ อิสลามและนักปราชญ์หะดิษกล่าวว่า แท้จริง อนุญาตและสุนัตกับการปฏิบัติคุณงามความดี , ส่งเสริมให้ชอบกระทำความดี และเตือนให้เกรงกลัวด้วยกับหะดิษฏออีฟ ตราบใดที่มันไม่เมาฏั๊วะ" ดู หนังสือ อัลฟุตูฮาต อัรร๊อบบานียะฮ์ อธิบาย อัลอัษการอันนะวาวียะฮ์ ของท่าน อิบนุอะลาน เล่ม 1 หน้า 82
........

ขอกล่าวว่า
นักวิชาการที่เขาอ้างการนำหะดิษเฎาะอีฟมาใช้เป็นหลักฐานนั้น

ท่านฮาฟิซอิบนุหะญัร ได้อธิบายถึงเงื่อนไขของการอนุญาตการนำหะดิษเฏาะอีฟมาใช้ว่า

1- أن يكون الضعف غير شديد ، فلا يعمل بحديث انفرد به أحدٌ من الكذابين أو المتهمين بالكذب أو من فحش غلطه

2- أن يندرج تحت أصل معمول به .

3- ألا يعتقد عند العمل به ثبوته ، بل يعتقد الاحتياط .

1. ไม่เฎาะอีฟจนเกินไป ดังนั้น ไม่ปฎิบัติตามหะดิษ ที่คนคนเดียวรายงาน จากบรรดาผู้ที่โกหก หรือถูกกล่าวหาว่าโกหกหรือมีความผิดพลาด
อย่างน่าเกลียดของเขา
2. (หะดิษเฎาะอีฟนั้น)อยู่ภายใต้หะดิษหลักที่ถูกนำมาปฏิบัติอยู่แล้ว
3. ในขณะปฏิบัติ เขาจะไม่เชื่อ ถึงความแน่นอนของหะดิษ แต่ให้เชื่อในลักษณะเผื่อไว้เท่านั้น(หรือป้องกันไว้ก่อน )
...........

คำว่า ". (หะดิษเฎาะอีฟนั้น)อยู่ภายใต้หะดิษหลักที่ถูกนำมาปฏิบัติอยู่แล้ว "
หมายถึง มีหะดิษเศาะเฮียะยืนยันในการกระทำนั้น ว่า เป็นวาญิบ หรือ เป็นสุนัต ต่อมาก็นำหะดิษ เฎาะอีฟที่ระบุถึงคุณค่า หรือความประเสริฐของสิ่งนั้นมาสนับสนุน จึงอยากจะถามว่า แล้วการอ่านอัลกุรอ่านอุทิศผลบุญให้คนตายในกุบูร ที่โตะครูบอกว่า เป็นสุนัต ซึ่งเป็นหุกุมนั้น หะดิษเศาะเฮียะ ที่ระบุถึงการใช้ให้ทำมีไหม... แน่นอนย่อมไม่มี ดังนั้น การเอาหะดิษเฎาะอีฟมาอ้าง โดยไม่มีหะดิษเศาะเฮียะมาเป็นฐานรองรับนั้น ย่อมไม่มีผล เพราะขาดเงื่อนไขข้อ 2

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Fri Jan 09, 2009 6:56 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เพิ่มเติม
การนำหะดิษเฎาะอีฟมาเป็นหลักฐานนั้น ยังมีนักวิชาการที่ไม่เห็นด้วย เช่น
ท่านอัลลามะฮ อะหมัด ชากิร กล่าวว่า

لا فرقَ بين الأحكام وبين فضائل الأعمال ونحوها في عدم الأخذ بالرواية الضعيفة ، بل لا حجةَ لأحدٍ إلا بما صحَّ عن رسول الله صلى الله عليه وسلم من حديث صحيحٍ أو حسنٍ .

"ไม่มีการแบ่งแยก ระหว่างเรื่องหุกุม (ว่าด้วยกฎข้อบังคับของศาสนา) และ ระหว่าง เรื่อง ความประเสริฐ ของบรรดาการงาน (ฟะฏออิลุ้ลอะอฺม้าล)
และในทำนองนั้น ในการที่ไม่อนุญาตให้ยึดเอารายงานที่เฏาะอีฟ (มาอ้างอิงเป็นหลักฐาน) แต่ตรงกันข้ามไม่มีหลักฐานสำหรับบุคคลใด นอกจากด้วย สิ่งที่เศาะเฮียะ จากท่าน
ร่อซูลุ้ลลอฮ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จากหะดิษเศาะเฮียะ หรือ หะดิษหะซัน

- อัลบาอิษุลหะษีษ เล่ม 1 หน้า 278

อัล-เกาษะรีย์ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) กล่าวว่า
والمنعُ من الأخذ بالضعيف على الإطلاق: مذهبُ البخاري، ‏ومسلم، وابن العربي شيخ المالكية في عصره، وأبي شامة المقدسي كبير الشافعية في زمنه، وابن حزم ‏الظاهري، والشوكاني. ولهم بيانٌ قويٌّ في المسألة لا يُهمل

และการห้ามไม่ให้เอาหะดิษเฎาะอีฟ(มาอ้างเป็นหลักฐาน)โดยสิ้นเชิงนั้น คือ แนวทางของอัลบุคอรี,มุสลิม,อิบนุลอะเราบีย์ ผู้อวุโสมัซฮับมาลิกียะฮ ในสมัยของเขา,อบีชามะฮอัลมุกอ็ดดิสีย์ ผู้อวุโสมัซฮับชาฟิอีในสมัยของเขา,อิบนุหัซมินอัซซอฮิรีย์ และอัชเชากานีย์ และพวกเขามีหลักฐานที่แข็งแรงในประเด็นปัญหานี้ ที่ไม่ควรจะมองข้าม"- อัลมะกอลาต หน้า 45

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> ปัญหาศาสนา ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, 4  ถัดไป
หน้า 2 จากทั้งหมด 4

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


Powered by phpBB ฉ 2001, 2002 phpBB Group







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.10 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ