ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
อนุรักษ์มรดกอิสลาม :: ดูกระทู้ - วิภาษหลักฐานของเว็บซุนนะฮสะติวเด้น
อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก อนุรักษ์มรดกอิสลาม  
  เพื่อการอนุรักษ์มรดกอิสลาม      คำถามถามบ่อยของกระดานข่าว      ค้นหา      รายนามสมาชิก  
  · เข้าระบบ ข้อมูลส่วนตัว · เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ · กลุ่มผู้ใช้งาน  
วิภาษหลักฐานของเว็บซุนนะฮสะติวเด้น
ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> ปัญหาศาสนา
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sat Jan 03, 2009 11:03 pm    ชื่อกระทู้: วิภาษหลักฐานของเว็บซุนนะฮสะติวเด้น ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หะดิษที่โต๊ะครูซุนนะฮสะติวเด้นนำมาอ้างเป็นหลักฐานทำบุญครบรอบ 7 วันของการตาย
คือหะดิษที่ว่า
عن سفيان قال ، قال طاووس : إن الموتى يفتنون فى قبورهم سبعاَ وكانوا يستحبون أن يطعم عنهم تلك الأيام

" จากท่านซุฟยาน เขากล่าวว่า ท่านฏอวูส กล่าวว่า "ท่านซุฟยานกล่าวว่า ท่านฏอวูสกล่าวว่า แท้จริงบรรดาผู้ตายนั้น พวกเขากำลังถูกสอบถามในกุบูรของพวกเขา ถึง 7 วัน และบรรดาซอฮาบะฮ์มีความชอบที่จะทำการเลี้ยง(ให้)อาหารแทนจากพวกเขา ในเจ็ดวันดังกล่าว" ดู หนังสือ อัลหาวีย์ ฟี อัลฟะตาวา เล่ม 2 หน้า 216 ดารุลฟิกร์ ตีพิมพ์ 2004 - 1424 ฮ.ศ
..........

หะดิษข้างต้นมีจุดบกพร่อง ดังต่อไปนี้

1. สุฟยานรายงานแบบตะลีก (قال طاووس) ซึ่งการรายงานแบบตะลีกเป็นการรายงานแบบขาดตอน เป็นการตัดสายรายงานระหว่างผู้รายงานกับผู้ถูกพาดพิงออก ซึ่งบ่งบอกถึงความไม่ต่อเนื่องของสายรายงานอย่างชัดเจน

2. ฏอวูสเป็นชาวเยเมน ในขณะที่สุฟยานเป็นชาวกูฟะฮฺ ในกรณีนี้เราไม่สามารถจะยืนยันถึงความเป็นไปได้ที่ทั้งสองจะพบเจอกัน นอกจากว่าจะมีการยืนยันว่าฏอวูสเคยเดินทางไปยังกูฟะฮฺในช่วงอายุของสุฟยานดังกล่าวเท่านั้น ส่วนความเป็นไปได้ที่สุฟยานจะเดินทางไปยังเยเมนในช่วงอายุก่อน 10 ขวบนั้น คงไม่ต้องพูดถึง เพราะทั้งอบูนุอิม และท่านอื่น ๆ ต่างระบุว่าสุฟยานเริ่มเดินทางออกจากเมืองกูฟะฮฺเมื่อปี 150 ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากที่ฏอวูสได้เสียชีวิตไปแล้วถึง 40 กว่าปี

3. ท่านอัซซะฮะบีย์ ได้กล่าวถึง ครูที่ถ่ายทอดหะดิษให้แก่ท่านซุฟยาน อัษเษารีย์ ในหนังสือ ซิยาร อะอฺลามินนุบะลาอ์ เล่ม 7 หน้า 175-177 ก็ไม่ปรากฏรายชื่อของ ฏอวูสอยู่เลย โปรดดูข้างล่างนี้

الأسود بن قيس , وأشعث بن أبي الشعثاء , وأيوب السختياني , وبَهْزُ بن حكيم , وثور بن يزيد , وجامع بن شداد , وحبيب بن أبي ثابت وهو من كبار شيوخه , وحُميد الطويل , وخالد الحذّاء , ورَبيعة الرأي , وزياد بن عِلاقة وهو من كبار مشيخته , وأبو حازم : سلمة بن دينار , وسلمة بن كُهيل وهو من كبارهم , وسليمان الأعمش , وسليمان التيمي , وعاصم الأحول , وعبد الله بن سعيد المقبري , وعبد الله بن عون ، وعطاء بن السائب , وعكرمة بن عمار , وعمرو بن دينار , ومحمد بن المنكدر وهو من كبارهم , وهشام ابن عُروة , ويحيى بن سعيد الأنصاري , وأبو إسحاق السَّبيعي . ويقال إن عدد شيوخه ست مائة شيخ
........
เพราะฉะนั้น ท่านซุฟยาน ไม่ได้รับฟังหะดิษจากฏอวูสอย่างแน่นอน และฏอวูสเป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่ง แล้วท่านฎอวูสเป็นอาจารย์ลำดับที่เท่าไหร่ ไม่ปรากฏว่าได้ระบุไว้ แล้วมีหนังสือเล่มใหนบ้าง ที่ระบุว่า ฏอวูสได้ถ่ายทอดหะดิษแก่ท่านซูฟยาน ตัวต่อตัว ซึ่งปรากฏว่าไม่มี

4. อิมามอัสสะยูฏีย์ ก็ได้ยืนยันแล้วว่า
إلا أكثر روايته عنه بواسطة
"แต่ทว่าส่วนมากจากการรายงานของท่านซุฟยานจากท่านฏอวูสนั้นด้วยสื่อกลาง" ( ดู หนังสืออัลหาวีย์ ลิลฟะตาวา เล่ม 2 หน้า 216 )
เมื่อท่านซุฟยานไม่ได้พบกับฏอวูส และเป็นไปได้ว่า ท่านซุฟยานได้ยินจากการบอกเล่าอีกที แต่ท่านไม่ระบุชื่อ แล้วไประบุชื่อฏอวูส เลย แบบนี้ก็เป็นรายงานลักษณะตัดลิส (คื่อ การอำพรางตัวบุคคล)

5. ยิ่งกว่านั้นแม้แต่บรรดานักรายงานหะดีษที่ดังๆแห่งเมืองกูฟะฮฺเองที่เสียชีวิตหลังฏอวูสหลายท่าน ได้รับการยืนยันว่าสุฟยานไม่ได้รับรายงานหะดีษจากพวกเขาด้วย ดังคำยืนยันของอัลบุคอรีย์ต่อไปนี้
وقال البخاري سمعت بن المديني يقول سئل سفيان هل رأيت ابن أشوع قال: لا، قيل: فمحارب قال وأنا غلام رأيته يقضي في المسجد
อัลบุคอรีย์กล่าวว่า ฉันได้ยินอิบนุอัลมะดีนีย์เล่าว่า มีคนถามสุฟยานว่า ท่านเคยเห็นอิบนุอัชวะอฺหรือไม่? ท่านตอบว่า ไม่ มีคนถามอีกว่า แล้วมุหาริบละ ? ท่านตอบว่า ตอนที่ฉันยังเด็กๆ ฉันเห็นเขากำลังพิพากษาคดีความในมัสยิด – อัตตะฮซีบ เล่ม 4 หะดิษหมายเลข 199

6. สุฟยานเกิดปี 97 ขณะที่ฏอวูสเสียชีวิตปี 106 ตามทัศนะที่มีน้ำหนักและถูกต้องดังคำยืนยันของอัซซะฮะบีและอัลหาฟิซอิบนุหะญัร ซึ่งหมายความว่าโอกาสที่สุฟยานจะพบเจอกับฏอวูสนั้นอยู่ในช่วงอายุเพียง 9 ปีเท่านั้น ซึ่งโดยปกติ เด็กอายุช่วงนี้ยังไม่มีการรับรายงานหะดีษ

7. สายรายงานของท่านซุฟยานนี้ ก็ไม่มีสายรายงานมาสนับสนุนในการยืนยันว่า ถ้อยคำที่ชี้ถึงการได้ยินหะดิษนี้ของท่านซุฟยานจากท่านฏอวูส ซึ่งคำอ้างของอิมามสุยูฏีเป็นเพียงการคาดคะเนเท่านั้น และการคาดคะเนของท่านไม่น่าจะถูกต้อง

8. ไม่ปรากฏว่าอิหม่ามมุจญตะฮิด ทั้งสี่ ท่านใด เอาหะดิษนี้มาเป็นหลักฐาน ทำบุญ 3 วัน 7 วันให้แก่ผู้ตายที่อยู่ในหลุมศพ
..........
อินชาอัลลอฮ มีต่อ

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sat Jan 03, 2009 11:05 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

9. ฏอวูส บิน กีสาน อัลยะมานี อัลฮัมดานีย์ มีนามแฝงว่า “อบูอับดุรเราะหมาน ( ฮ.ศ. 33 – 106 และ ค.ศ. 654 – 725) มีเชื้อชาติเปอร์เซีย(มารดาเป็นชาวเปอร์เซีย) เกิดและโต ที่เยเมน ท่านเป็นชนชั้นนำ สมัยตาบิอีน ท่านเป็นศิษย์คนสำคัญของอิบนุอับบาส เราะฎิยัลลอฮุอันฮู เสียชีวิตที่นครมักกะฮ ในปี ฮ.ศ 106 ก่อนวันตัรวียะฮ(วันที่ 8 เดือนซุลฮิจญะฮ) หนึ่งวัน ในขณะที่กำลังครองเอียะรอมอยู่ โดยที่ ฮิชาม บิน อับดุลมุลกิ ได้ละหมาดญะนาซะฮให้แก่ท่าน
ส่วนซุฟยาน อัษเษารีย์ มี ชื่อเต็มว่า อบูอับดุลลอฮ ซุฟยาน บิน สะอีด บิน มัสรูก บิน หะบีบ อัษเษารีย์ อัรรอบบานีย์ อัตตัยมีย์ อัลมะเฎาะรีย์ (ฮ.ศ. 97 – 161 ท่านเป็นชาวเมืองกูฟะฮ ท่านเป็นอิหม่ามมุจญตะฮิด และเป็นนักหะดิษที่สำคัญ ท่านเสียชีวิตในปี ฮ.ศ 161
คำพูดของท่านซุฟยาน อัษเษารีย์ ที่เตือนให้ระวังบิดอะฮ
البدعة أحب الى ابليس من المعصية , المعصية يتاب منها والبدعة لا يتاب منها
" บิดอะฮ เป็นที่รักยิ่งแก่อิบลิส ยิ่งกว่า มะอซียะฮ(การฝ่าฝืนข้อห้าม) เพราะมะอซียะฮ จะได้รับการเตาบะฮจากมัน และบิดอะฮจะไม่ได้รับการเตาบะฮจากมัน(เพราะเข้าใจว่าดี ผู้ทำจึงไม่รู้สึกว่าตัวเองผิด) – ดู ชัรหุสสุนนะฮ เล่ม 1 หน้า 216
...........

ตอนที่ท่านฎอวูส เสียชีวิต ท่านซุฟยานอัษเษารีย์ อายุ ประมาณ 9 ขวบ มันเป็นหะดิษที่เชื่อเถือได้อย่างไร ที่ท่านซุฟยานอัษเษารีย์ ได้ยินหะดิษข้างต้นจากปากของ ท่านฎอวูส คงเพราะเหตุนี้กระมัง ที่ไม่มีอิหม่ามมุจญตะฮิดคนใหนเอาหะดิษนี้มาเป็นหลักฐานทำบุญคนตาย แต่ก็มีคนพยายามขุดหะดิษนี้มาอ้างกับคนอาวาม

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sat Jan 03, 2009 11:14 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อีกหะดิษที่โต้ะครูซุนนะฮสะติวเด้นนำมาอ้างเป็นหลักฐานทำบุญคนตาย คือ

عن الأحنف بن قيس قال : كنت أسمع عمر يقول : لا يدخل أحد من قريش فى باب إلا دخل معه ناس ، فلا أدرى ما تأويل قوله حتى طعن عمر فأمر صهيبا أن يصلى بالناس ثلاثا ، وأمر أن يجعل للناس طعاما فلما رجعوا من الجنازة جاءوا وقد وضعت الموائد ، فأسك الناس عنها للحزن الذى هم فيه فجاء العباس بن عبد المطلب ، فقال : ياأيها الناس قد مات...الحديث

รายงานจากอะหฺนัฟ บิน กัยซฺ เขากล่าวว่า ฉันได้ยินท่านอุมัรกล่าวว่า "คนหนึ่งจากกุร๊อยช์ จะไม่เข้าในประตูหนึ่ง นอกจากว่า ต้องมีผู้คนเข้ามาพร้อมกับเขาด้วย" ดังนั้น ฉันจึงไม่รู้ถึงการตีความคำพูดของท่านอุมัร จนกระทั้ง ท่านอุมัรได้ถูกลอบแทง แล้วท่านอุมัรจึงใช้ให้ ท่านซุฮัยบ์ ทำการนำละหมาดสามวัน และท่านอุมัรก็ใช้ให้เขาทำอาหารให้แก่บรรดาผู้คน ดังนั้น ในขณะที่ผู้คนได้กลับมาจาก(ฝัง)ญะนะซะฮ์ พวกเขาก็กลับมา โดยมีบรรดสำหรับอาหารวางอยู่แล้ว แต่บรรดาผู้ตนก็งดที่จะรับประทานนั้น อันเนื่องจากความโศรกเศร้าที่พวกเขาเป็นอยู่ ดังนั้นท่าน อัลอับบาส บิน อบูฏอลิบ ก็มา แล้วกล่าวว่า โอ้บรรดาผู้คนทั้งหลาย แท้จริงท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)ได้เสียชีวิตไปแล้ว....." สายรายงาน "หะซัน" ดู หนังสือ อัลมะฏอลิบ อัลอาลิยะฮ์ บิ ซฺะวาอิด อัลษะมานียะฮ์ เล่ม 1 หน้า 198 หะดิษที่ 709
....................

หะดิษข้างต้นมีบันทึก ในหนังสือ อัลมะฏอลิบอัล-อาลียะฮ เล่ม 2 หน้า 534 เป็นหะดิษหมายเลขที่ 858 จากการพิมพ์ครั้งแรกของสำนักพิมพ์ ดารุ้ลกุฏุบ อัลอิลมียะฮ แห่งกรุงเบรุต ประเทศเลบานอน
สายรายงานของหะดิษบทนี้มีดังนี้
قال أحمد بن منيع حدثنا يزيد بن هارون ثناحماد بن سلمة عن علي بن زيد عن الحسن عن الأحناف بن قيس قال: كنت أسمع عمر...
บุคคลในสายรายงานหะดิษข้างต้น
1. อะหมัด บิน มะเนียะ
2. ยะซีด บิน ฮารูน
3. หัมหมาด บินสะลีมะฮ
4. อะลีย์ บิน ซัยด บิน ญุดอาน
5. หะซัน อัลบัศรีย์
6. อะหนาฟ บิน กอ็ยซ์
..........

โต๊ะครู ซุนนะฮสะติวเด้นระบุว่า หะดิษบทนี้ สายรายงานหะซัน(อยู่ในระดับที่ดี) ไม่ทราบว่า คัดลอกมาผิดหรือเปล่า เพราะ หะดิษนี้จริงๆแล้ว เฎาะอีฟจ๋า เพราะมีจุดบกพร่องต่อไปนี้คือ
1. ผู้รายงานอันดับที่สี่ คือ อะลีย์ บิน ซัยด บิน ญุดอาน (สิ้นชีวิตในปี ฮ. 131) เป็นผู้รายงานที่เฎาอีฟ ซึ่งท่าน- ท่านอัล-หาฟิซฺ อิบนุหะญัร อัลอัสเกาะลานีย์ เอง กล่าวไว้ใน หนังสือ อัตตักรีบ เล่มที่ 2 หน้า 37
นักวิชาการส่วนมากถือว่า ท่านอาลีย์ บิน ซัยด บิน ญุดอาน(علي بن زيد بن جدعان ) ผู้นี้ เป็นผู้รายงานหะดิษที่ขาดความเชื่อถือ แม้กระทั้งท่านบุคอรีย์ และท่านอบูหาติม ก็ยังวิจารณ์ว่า
لايحتج به
คือ จะอ้างเขาผู้นี้ มาเป็นหลักฐานไม่ได้ – ดูหนังสือ มีซาลเอียะติดาล เล่ม 3 หน้า 128
علي بن زيد بن جدعان، وهو ضعيف الحديث
อาลีย์ บิน ซัยด บิน ญุดอาน และ เขาคือ ผู้ที่เฏาะอีฟหะดิษ
ดูมุศอ็นนิฟ อิบนุอบีชัยบะฮ เล่ม 6 หน้า 497
2. ผู้รายงานหะดิษอันดับที่ 5 คือ อัลหะซัน อัลบัศรีย์ (สิ้นชีวิตปี ฮ 110) เป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องเป็นอย่างสูง แต่ มักจะรายงานหะดิษลักษณะ “ตัดลีซ” คือ อ้างว่าได้รายงานมาจากบุคคลหนึ่ง แต่จริงๆแล้ว ได้รับฟังมาจากบุคคลอื่น ซึ่งถือว่า เป็นจุดบกพร่องอย่างหนึ่ง
3. หะดิษข้างต้น รายงานในรูปแบบ عنعنة คือ ใช้สำนวนจากการรายงานว่า
عن علي بن زيد عن الحسن عن الأحناف بن قيس


จาก ...............จาก..............จาก.......... ทั้งที่ช่วงต้น ใช้สำนวนว่า
حدثنا يزيد بن هارون ثناحماد بن سلمة
ได้เล่าแก่เรา..................ได้เล่าแก่เรา......
หะดิษลักษณะนี้ เรียกว่า เป็น หะดิษมุดัลลัส คือ รายงานลักษณะมั่วนิ่ม อันเป็นหะดิษเฎาะอีฟประเภทหนึ่ง

4. เนื่องจากมีหะดิษบทนี้บทเดียวเท่านั้น ที่อ้างว่า ท่านอุมัร สั่งให้ทำอาหาร ส่วนหะดิษบทอื่นๆที่เศาะเฮียะเกี่ยวกับเรื่อง การฆาตกรรมอุมัร ไม่ปรากฏว่ามีข้อความว่า ท่านอุมัรสั่งให้ทำอาหารเลี้ยง
5. และที่สำคัญที่สุดคือ หะดิษข้างต้นต้นขัดแย้งกับหะดิษยะอฟัรและหะดิษญะรีร ซึ่งเศาะเฮียะและแพร่หลายในหมู่นักวิชาการ
หะดิษญะรีรคือ
عَنْ ‏ ‏جَرِيرِ بْنِ عَبْدِ اللَّهِ الْبَجَلِيِّ ‏ ‏قَالَ ‏
‏كُنَّا نَعُدُّ ‏ ‏الِاجْتِمَاعَ إِلَى أَهْلِ الْمَيِّتِ وَصَنِيعَةَ الطَّعَامِ بَعْدَ دَفْنِهِ مِنْ ‏ ‏النِّيَاحَةِ
رواه أحمد وصححه الألباني في أحكام الجنائز (ص167)

จากญะรีร บินอับดุลลอฮ อัล-บะญะลี กล่าวว่า “ พวกเรานับว่า การไปชุมนุมกันที่ครอบครัวผู้ตายและทำอาหารกินกัน หลังจากที่ฝังมัยยิต เป็นส่วนหนึ่งของการนิยาหะฮ- รายงานโดย อะหมัด อัลบานียได้ระบุว่า เป็นหะดิษเศาะเฮียะ ในหนังสือ อะหกามุ้ลญะนาอิซ หน้า 167

อิหม่ามอัชเชากานีย์ ได้อธิบาย หะดิษญะรีรข้างต้นว่า

قوله‏: ‏ ‏(‏كنا نعد الاجتماع إلى أهل الميت‏)‏ الخ يعني أنهم كانوا يعدون الاجتماع عند أهل الميت بعد دفنه وأكل الطعام عندهم نوعًا من النياحة لما في ذلك من التثقيل عليهم وشغلتهم مع ما هم فيه من شغلة الخاطر بموت الميت وما فيه من مخالفة السنة لأنهم مأمورون بأن يصنعوا لأهل الميت طعامًا فخالفوا ذلك وكلفوهم صنعة الطعام لغيرهم‏

คำพูดของญะรีรที่ว่า (พวกเรานับว่า การชุมนุมที่ครอบครอบผู้ตาย -จนจบ) หมายถึง พวกเขา (เศาะหาบะฮ) นับว่า การชุมนุมที่ครอบครัวผู้ตาย หลังจากฝังมัยยิต และรับประทานอาหารกัน ณ ที่พวกเขา (ครอบครัวมัยยิต) นั้น เป็นประเภทหนึ่ง ของการนิยาหะฮ (ที่ต้องห้าม) เพราะในการกระทำดังกล่าวนั้น เป็นการสร้างภาระให้แก่ครอบครัวมัยยิต และความยุ่งยากแก่พวกเขา พร้อมกับ ความโศกเศ้รา ที่พวกเขาประสบอยู่ เนื่องจากการตายของมัยยิต

และในการกระทำนั้น ขัดต่อสุนนะฮ เพราะพวกเขา ถูกใช้ให้ทำอาหารให้แก่ครอบครัวผู้ตาย แล้วพวกเขาก็ปฏิบัติขัดแย้ง ดังกล่าวนั้น และพวกเขากลับสร้างภาระให้แก่พวกนั้น(ครอบครัวผู้ตาย) ให้ทำอาหาร ให้ผู้อื่นจากพวกเขา (กินกัน) – ดูนัยลุ้ลเอาฏอร เล่มที่ 4 หน้า 110

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sat Jan 03, 2009 11:15 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เพิ่มเติม เกี่ยวกับผู้รายงานหะดิษอัลอะหนัฟ ข้างต้น

มาดู นักวิชาการเขาว่าอย่างไรเกี่ยวกับ ท่าน อาลี บิน ซัยด บิน ญิดอาน ซิครับจะได้ตาสว่าง

أن ابن سعدٍ قال عن زيد بن علي بن جدعان :
وكان كثير الحديث ، و فيه ضعف ، و لا يحتجّ به . اهــ (طبقات ابن سعد 7/252

แท้จริง อิบนุสะอดิน ได้กล่าวเกียวกับ บินอาลีย์ บิน ญิดอานว่า และปรากฏว่า เขามีหะดิษมากมาย และในตัวเขานั้น เฏาะอีฟ และจะนำเขามาเป็นหลักฐานไม่ได้ - เฏาะบะกอต อิบนุสะอฺดิ เล่ม 7 หน้า 252

قال ابن حجر العسقلاني في الإصابة 8/209 : وعلي بن زيد ـ أي ابن جدعان ـ متفق على سوء حفظه .اهـ

อิบนุหะญัร อัลอัสเกาะลานีย์ ได้กล่าวไว้ใน อัลอิศอบะฮ เล่ม 8 หน้า 209 ว่า “ และอาลีย์ บิน ซัยด์ หมาย อิบนุ ญิดอาน - นักวิชาการเห็นฟ้องกันว่า “ความจำของเขาไม่ดี”
................
ดังนั้น หะดิษนี้ จึงเฏาอีฟ เราไม่เอามาเป็นหลักฐานกินบุญคนตาย ด้วยประการฉะนี้แหละ แต่ก็มีท่านครูบางคนยังดันทุรังอ้างกับชาวบ้านว่า เป็นหลักฐานเด็ด จนชาวบ้านเชื่อ

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sat Jan 03, 2009 11:17 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

โต๊ะครูใหญ่แห่งซุนนะฮสะติวเด้น ได้ทำการโต้แย้งบทความของ อ. ปราโมทย์ เรื่อง การอ่านอัลกุรอ่านอุทิศผลบุญให้ผู้ตาย ดังต่อไปนี้
ท่านอัชชะอฺบีย์ ได้รายงานว่า

‏أَخْبَرَنِي مَنْ مَرَّ مَعَ النَّبِيِّ ‏ ‏صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ‏ ‏عَلَى قَبْرٍ ‏ ‏مَنْبُوذٍ ‏ ‏فَأَمَّهُمْ وَصَلَّوْا خَلْفَهُ

"ได้บอกเล่าให้ฉันทรบโดย(ท่านอิบนุอับบาส)ผู้ที่เดินพร้อมกับท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม บนกุบูรที่ถูกปล่อยทิ้งเอาไว้ ดังนั้นท่านนบีจึงเป็นอิมามเป็นอิหม่ามนำละหมาด(ญะนาซะฮ์)พวกเขา และพวกเขาก็ทำการละหมาดหลังท่านนบี" รายงานบุคอรีย์ (1250)
ฮะดีษนี้บ่งชี้ชัดเจนว่า ท่านนบีและซอฮาบะฮ์ได้ทำละหมาดญะนาซะฮ์ที่กุบูร ซึ่งการละหมาดนั้นเป็นเรื่องของอิบาดะฮ์ ยิ่งกว่านั้นในละหมาดญะนาซะฮ์ยังมีการอ่านอัลกุรอาน(อัลฟาติฮะฮ์) ซ่อลาวาต และดุอาแก่มัยยิดด้วย ดังนั้นการทำอิบาดะฮ์ในกุบูรที่มีเป้าหมายยังผลประโยชน์แก่มัยยิดนั้นจึงเป็นที่อนุญาตให้กระทำ ฉะนั้นการอ่านอัลกุรอาน ซิกรุลลอฮ์ แล้วการขอดุอาฮะดียะฮ์ให้แก่มัยยิดที่กุบูรย่อมกระทำได้เช่นเดียวกัน.

..............................

ผมขอกล่าวว่า

ท่านครูกำลังบิดเบือนข้อเท็จจริง เพราะอาจารย์ปราโมทย์ ไม่ได้คัดค้านเรื่อง การละหมาดญานะซะฮที่กุบูร เพราะการละหมาดญะนาซะฮที่กุบูรนั้น มีหลักฐาน แต่การอ่านซูเราะฮฟาติหะฮ, อ่านเศาะลาวาต และ อ่านดุอาให้แก่มัยยิตตามรูปแบบของการละหมาดตามสุนนะฮนั้น ไม่ใช่เป็นหลักฐานการอ่านอัลกุรอ่านอุทิศผลบุญ ให้คนตายในหลุมศพ ตามที่โต๊ะครูอ้าง และไม่มีเหล่าเศาะหาบะฮและอิหม่ามมุจญตะฮิดท่านใด นำหะดิษข้างต้นมาเป็นหลักฐานว่า อ่านอัลกุรอาน ซิกรุลลอฮ์ แล้วการขอดุอาฮะดียะฮ์(อุทิศ)ให้แก่มัยยิดที่กุบูรย่อมกระทำได้ ตามที่ท่านครูได้อ้าง
หะดิษบทนี้เต็มๆมีดังนี้
สุลัยมานอัชชัยบานีย์กล่าวว่า

‏ ‏ سَمِعْتُ ‏ ‏الشَّعْبِيَّ ‏ ‏قَالَ أَخْبَرَنِي ‏ ‏مَنْ مَرَّ ‏
‏مَعَ النَّبِيِّ ‏ ‏صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ‏ ‏عَلَى قَبْرٍ ‏ ‏مَنْبُوذٍ ‏ ‏فَأَمَّهُمْ وَصَفُّوا عَلَيْهِ فَقُلْتُ يَا ‏ ‏أَبَا عَمْرٍو ‏ ‏مَنْ حَدَّثَكَ فَقَالَ ‏ ‏ابْنُ عَبَّاسٍ

ข้าพเจ้าได้ยินอัชชะอฺบีย์ กล่าวว่า ผู้ที่เดินพร้อมกับท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม บนกุบูรที่ถูกปล่อยทิ้งเอาไว้ ได้บอกฉัน ว่า ท่านนบีเป็นได้นำละหมาด(ญะนาซะฮ์)พวกเขา และพวกเขาได้ตั้งแถวละหมาด(ตามหลัง)ท่าน" แล้วข้าพเจ้าถามว่า “โอ้อบูอัมริน ใครได้รายงานแก่ท่าน? แล้วเขากล่าวตอบว่า “อิบนุอับบาส” (1)

---------------------

(1) أخرجه البخاري في باب وضوء الصبيان ومتى يجب عليهم الغسل من كتاب الأذان، وباب الأذن بالجنازة، وباب صفوف الصبيان مع الرجال على الجنائز، وباب صلاة الصبيان مع الناس على الجنائز، وباب الصلاة على القبر بعدما يدفن من كتاب الجنائز. صحيح البخاري ، ج1/ص217، ج2/ص92، ص(109،110، 111، 112، 113).
......................

หะดิษข้างต้นเป็นหลักฐานแสดงบอกว่า อนุญาตให้ละหมาดญะนาซะฮที่กุบูรหลังจากฝังเสร็จเรียบร้อยแล้ว ไม่ใช่หลักฐานว่า อนุญาตให้อ่านอัลกุรอ่านอุทิศผลบุญให้มัยยิตในหลุม ตามที่ท่านครูอ้าง
والله أعلم بالصواب

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย asan เมื่อ Sat Jan 03, 2009 11:20 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sat Jan 03, 2009 11:19 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

โตะครูแห่งเว็บซุนนะฮสะติวเด็น กล่าวต่อไปว่า

ท่านอิมามอัตติรมีซีย์ ได้รายงานจากท่านอิบนุอับบาส ความว่า

‏مَرَّ رَسُولُ اللَّهِ ‏ ‏صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ‏ ‏بِقُبُورِ ‏ ‏الْمَدِينَةِ ‏ ‏فَأَقْبَلَ عَلَيْهِمْ بِوَجْهِهِ فَقَالَ ‏ ‏السَّلَامُ عَلَيْكُمْ يَا أَهْلَ الْقُبُورِ يَغْفِرُ اللَّهُ لَنَا وَلَكُمْ

"ท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้เดินผ่านกุบูรที่นครมะดีนะฮ์ แล้วท่านก็หันไปที่พวกเขา(ชาวกุบูร)ด้วยใบหน้าของท่าน แล้วกล่าวว่า อัสลามุอะลัยกุ้ม โอ้ชาวกุบูร ขอโปรดอัลเลาะฮ์ทรงอภัยโทษให้แก่และพวกท่านด้วยเถิด" สุนัน อัตติรมีซีย์ (1053)

ดังนั้น การขอดุอาถือว่าเป็นอิบาดะฮ์และเป็นซิกรุลลอฮ์ ซึ่งซุนนะฮ์ให้ทำที่กุบูรได้ ฉะนั้นการอ่านอัลกุรอานก็เป็นอิบาดะฮ์และเป็นซิกรุลลอฮ์ ก็อนุญาตให้ทำที่กุบูรได้เช่นกัน

..............................

ผมขอกล่าวว่า

โต๊ะครูกำลังบิดเบือนหะดิษข้างต้น เพราะหะดิษข้างต้น เป็นหลักฐานแสดงว่า มีสุนนะฮให้เยี่ยมเยียนกุบูร และมีสุนนะฮให้กล่าวสลามและดุอาแก่ชาวกุบูรว่า

‏السَّلَامُ عَلَيْكُمْ يَا أَهْلَ الْقُبُورِ يَغْفِرُ اللَّهُ لَنَا وَلَكُمْ
ขอความสันติสุขจงมีแด่พวกท่าน โอ้ชาวกุบูร ขออัลลอฮโปรดอภัยโทษพวกเราและพวกท่านด้วยเถิด"
...............

ไม่มีเหล่าเศาะหาบะฮและอิหม่ามมุจญตะฮิดท่านใด นำหะดิษบทนี้ไปเป็นหลักฐานอ่านอัลกุรอ่านอุทิศผลบุญให้มัยยิตในหลุมศพ ยกเว้น โต๊ะครูแห่งซุนนะฮสะติ้วเด้นเจ้าเดียวเท่านั้น

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sat Jan 03, 2009 11:22 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

โต๊ะครู ซุนนะฮสะติ้วเด้นได้อ้างว่า
ท่านอิบนุตัยมียะฮ์ได้กล่าวว่า

وَأَمَّا قِرَاءَةُ القُرْآنِ وَالصَّدَقَةِ وَغَيْرِهَا مِنْ أَعْمَالِ البٍرِّ فَلاَ نِزَاعَ بَيْنَ عُلَمَاءِ السُّنَّةِ وَالجَمَاعَةِ فِيْ وُصُوْلِ ثَوَابِ الْعِبَادَاتِ الْمَالِيَّةِ كاَلصَّدَقَةِ وَالْعِتْقِ كَمَا يَصِلُ إِلَيْهِ الدُّعَاءُ وَالاِسْتِغْفَارُ وَالصَّلاَةُ عَلَيْهِ صَلاةُ الجَنَازَةِ وَالدُّعَاءُ عِنْدَ قَبْرِهِ، وَتَنَازَعُوْا فِيْ وُصُوْلِ الأَعْمَالِ الْبَدَنِيَّةِ كَالصَّوْمِ وَالصَّلاَةِ وَالقِرَاءَةِ، واَلصَّواَبُ أَنَّ الجَمِيْعَ يَصِلُ إِلىَ المَيِّتِ وَهَذاَ مَذْهَبُ أَحْمَدَ وَأَبِيْ حَنِيْفَةَ وَطَائِفَةٍ مِنْ أَصْحَابِ مَالِكٍ وَالشَّافِعِيِّ، وَهُوْ يُنْتَفَعُ بِكُلِّ مَا يَصِلُ إِلَيْهِ مِنْ كُلِّ مُسْلِمٍ سَواَءٌ كَانَ مِنْ
أَقاَرِبهِ أوَ ْغَيْرِهِمْ

"สำหรับการอ่านอัลกุรอาน , การบริจาคทาน และอื่น ๆ เป็นบรรดาอะมัลที่ดีงาม โดยไม่มีการขัดแย้งกันในหมู่นักปราชญ์อะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ เกี่ยวกับเรื่องผลบุญอิบาดะฮ์ในเชิงทรัพย์สินนั้นถึงมัยยิด เช่นการศ่อดะเกาะฮ์และการปล่อยทาสนั้นถึงผู้ตาย เช่นเดียวกัน ผลบุญจะถึงยังผู้ตายโดยการขอดุอาอ์ , อิสติฆฟาร , การละหมาดญะนาซะฮ์ให้แก่เขา , และการขอดุอาอ์ที่กุบูรของผู้ตาย และบรรดานักปราชญ์อะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ได้ขัดแย้งกันในเรื่องผลบุญถึงผู้ตายจากอะมัลที่กระทำในเชิงร่างกาย เช่น การถือศีลอด , การละหมาด , การอ่านอัลกุรอาน และที่ถูกต้องนั้น คือ ทั้งหมด(จากการถือศีลอด , การละหมาด(ฮะดียะฮ์ผลบุญไปให้) , การอ่านอัลกุรอาน)นั้น ผลบุญจะถึงไปยังผู้ตาย นี้คือ มัซฮับของอิมามอะห์มัด , อบูหะนีฟะฮ์ และปราชญ์กลุ่มหนึ่งจากสานุศิษย์ของอิมามมาลิกและอิมามชาฟิอีย์ ซึ่งเป็นมัซฮับที่ผู้ตายจะได้รับประโยชน์จากทุก ๆ สิ่งที่มุสลิมทุกคนไม่ว่าจะเป็นเครือญาติหรือไม่ใช่เครือญาติก็ตาม(ผลบุญฮะดียะฮ์ของพวกเขาจะถึง)ไปยังผู้ตาย" มัจญ์มั๊วะอัลฟะตาวา 24/366

……………………………..

ผมขอกล่าวว่า

โต๊ะครูอ้างคำพูดของอิบนุตัยมียะฮ ที่ตนเองเคยกล่าวหาหลายเรื่อง โดยเฉพาะเรื่อง อะกีดะฮว่า เป็นอะกีดะฮที่หลุ่มหลง มาเป็นหลักฐาน เขาทำนอง “เกลียดตัวกินไข่ เกลียดปลาใหล แต่กินน้ำแกง” อย่างไรก็ตาม ข้างต้นคือ ความเห็นของท่านอิบนุตัยมียะฮ ซึ่งท่านไม่ได้ยกหลักฐานมายืนยัน แต่ต่อมาท่านอิบนุตัยมียะฮเอง ได้กล่าวว่า

ولم يكن من عادة السلف إذا صلوا تطوعاً أو صاموا تطوعاً أو حجوا تطوعاً أو قرؤوا القرآن ؛ يهدون ثواب ذلك إلى أموات المسلمين ، فلا ينبغي العدول عن طريق السلف فإنه أفضل وأكمل

และไม่ได้เป็นประเพณี(อาดัต)ของชาวสะลัฟ เมื่อพวกเขาละหมาดอาสา(สุนัต),ถือศีลอด ,ประกอบพิธีหัจญ์ หรือ อ่านอัลกุรอ่าน แล้วอุทิศผลบุญดังกล่าวแก่บรรดาผู้ตายที่เป็นมุสลิม ดังนั้น จึงไม่สมควรหันเหออกจากแนวทางของสะลัฟ(บรรพชนผู้ทรงธรรมยุคก่อน) เพราะแท้จริง มันประเสริฐกว่าและสมบูรณ์กว่า – ดู อัลอิคติยารอตอัลอิลมียะฮ หน้า 54

และยิ่งไปกว่านั้น ในสังคมมุสลิมในปัจจุนบัน จะมีการว่าจ้างโต๊ะละบัย ให้อ่านอัลกุรอ่านอุทิศผลบุญให้ผู้ตายในกุบูร ซึ่งที่อิบนุตัยมียะฮ(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)ได้กล่าวว่า

وأما إذا كان لا يقرأ القرآن إلا لأجل العروض فلا ثواب لهم على ذلك ، وإذا لم يكن في ذلك ثواب ، فلا يصل إلى الميت شيء ; لأنه إنما يصل إلى الميت ثواب العمل لا نفس العمل

และเมื่อปรากฏว่าเขาไม่ได้อ่านอัลกุรอ่าน นอกจาก (เขาอ่าน)เพื่อ ทรัพย์สิน พวกเขาก็ไม่ได้รับผลบุญ บนการอ่านดังกล่าว และเมื่อปรากฏว่าเขาไม่มีในผลบุญดังกล่าว ก็ไม่มีสิ่งใดถึงไปยังผู้ตาย เพราะว่า ที่ถึงไปยังผู้ตายนั้น คือ ผลบุญของอะมัล(การกระทำนั้น) ไม่ใช่ตัวของอะมัล(ของการกระทำนั้น) – ฟะตาวา อิบนุตัยมียะฮ เล่ม 24 หน้า 316

...............................

จึงสรุปจากที่กล่าวมาทั้งหมดว่า การที่โตะครู้อ้างคำพูดอิบนุตัยมายะฮมาเป็นหลักฐานนั้น เท่ากับสะดุดขาตัวเอง ไม่ได้ทำให้คำพูดของโต๊ะครูแห่งเว็บสุนนะฮสะติ้วเด้นที่ส่งเสริมการอ่านอัลกุรอ่านที่กุบูร อุทิศผลบุญให้แก่ผู้ตาย ให้มีน้ำหนักแม้แต่น้อย

والله أعلم بالصواب

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sun Jan 04, 2009 1:25 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

โต๊ะครูแห่งเว็บซุนนะฮสะติวเด้น วิจารณ์ อาจารย์ปราโมทย์ว่า
ดังนั้น อ.ปราโมทย์ มิได้ต้องการจะวิเคราะห์เรื่องตัวบทฮะดีษเท่านั้น แต่ท่านพยายามวินิจฉัยสอดใส่ฮุกุ่มตัดสินว่าการอ่านอัลกุรอานที่กุบูรฮะรอมเข้ามาด้วย ซึ่งไม่มีปราชญ์สะละฟุศศอลิห์ท่านใดตัดสินว่าฮะรอมเลย ยิ่งกว่านั้นปวงปราชญ์ส่วนมากหรือได้ลงมุติ(อิจญ์มาอฺ) ว่าการอ่านอัลกุรอานที่กุบูรนั้นเป็นสิ่งที่มุสตะฮับ(ชอบให้กระทำ) ดังที่ผมจะกล่าวต่อไป ดังนั้นผมจึงไม่ทราบว่า อ.ปราโมทย์ตั้งตนเป็น "มัจญฺฮิด" ขึ้นมาเองหรือไม่ครับ?

…………………

ผมขอกล่าวว่า

อ. ปราโมทย์ ไม่ได้ตั้งตนเป็นมุจญ์ตะฮิด แต่ท่านสรุปจากความหมายคำว่า “มักรูฮะฮ” จากคำพูดของท่านหาฟิซอิบนุหะญัร ที่ว่า

إِسْتَنْبَطَ مِنْ قَوْلِهِ "وَلاَ تَتَّخِذُوْهَا قُبُوْرًا" أَنَّ الْقُبُوْرَ لَيْسَتْ بِمَحَلٍّ لِلْعِبَادَةِ! فَتَكُوْنُ الصَّلاَةُ فِيْهَا مَكْرُوْهَةً

ท่านบุคอรีย์ได้วิเคราะห์จากข้อความของหะดีษที่ว่า .. “และพวกท่านจงอย่าทำมัน (บ้าน) ให้เป็นกุบูรฺ” .. ว่า แท้จริงกุบูรฺนั้น มิใช่เป็นสถานที่สำหรับทำอิบาดะฮ์! ดังนั้น การนมาซในกุบูร จึงเป็นเรื่องน่ารังเกียจ ...
(จากหนังสือ “ฟัตหุ้ลบารีย์” เล่มที่ 1 หน้า 529) ...

เพราะการละหมาด(นอกจากละหมาดญะนาซะฮ)ในสถานที่ฝังศพหรือ กุบูรนั้น เป็นสิ่งต้องห้าม
ดังที่อิบนุอันมันซีร กล่าวว่า

ففي قوله ( ولا تتَّخذوها قبورًا ) دليل على أن المقبرة ليست بموضع صلاة؛ لأن في قوله: (;اجعلوا في بيوتكم من صلاتكم) حثٌّ على الصلوات في البيوت، وقوله: ( ;ولا تجعلوها قبورً) يدل على أن الصلاة غير جائزة في المقبرة

ในคำพูดของท่านนบีที่ว่า (พวกท่านอย่าทำมันให้เป็นกุบูร) แสดงบอกว่า สถานที่ฝังศพ นั้น ไม่ใช่สถานที่ละหมาด เพราะในคำพูดของท่านนบีที่ว่า (พวกท่านทำละหมาดของพวกท่านให้อยู่ในบ้านของพวกท่าน) เป็นการส่งเสริมให้ละหมาดในบ้าน และคำพูดของท่านนบีที่ว่า(และพวกท่านอย่าทำมันให้เป็นกุบูร) แสดงบอกว่า การละหมาดในสถานที่สำหรับฝังศพ(กุบูร)นั้น ไม่อนุญาต – ดู อัลเอาสัฏ เล่ม 2 หน้า 183

และมีรายงานจากท่านอะนัส บิน มาลิก ว่า

أنّ النبي صلى الله عليه وسلم نهى عن الصلاة بين القبور
แท้จริงนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ห้ามไม่ให้ละหมาดระหว่างหลุมศพ –(1)

--------------------------

(1) أخرجه ابن حبان في صحيحه (6/88) رقم (2315)، وأبو يعلى (5/175) رقم (2788) والبزار - كما في مختصر زوائد مسند البزار (1/219-220) رقم (282) -.
وأخرجه البزار رقم (281) (283)، والطبراني في الأوسط (6/6) رقم (5631) من طرق أخرى عن أنس. ولذلك صححه الألباني في صحيح الجامع (2/1154) رقم (6834)،واعتمده في أحكام الجنائز (ص/270)

...................................

อัลคอ็ฏฏอบีย์(ขออัลลอฮ)เมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า
فيه دليل على أن الصلاة لا تجوز في المقابر

ในมัน(ในหะดิษดังกล่าว) แสดงว่า แท้จริงการละหมาดไม่อนุญาตให้ปฏิบัติในสุสาน(สถานที่ฝังศพ) – ดู อะอฺลามุลหะดิษ เล่ม 1 หน้า 393

และยังมีรายงานจากอิบนุอับบาส เราะฏิยัลลอฮุอันฮู กล่าวไว้ว่า

«لا تُصلينَّ إلى حُش، ولا في حمام، ولا في المقبرة

พวกท่านอย่าละหมาดหันไปทาง ห้องส้วมและอย่าละหมาดในห้องน้ำและอย่าละหมาดในสถานที่ฝังศพ (2)

----------------------

(2) أخرجه عبدالرزاق في المصنف كتاب الصلاة، باب: الصلاة على القبور (1/405) رقم
(1585)، وابن المنذر في الأوسط كتاب طهارات الأبدان والثياب، باب: ذكر النهي عن الصلاة في المقبرة والحمام (2/183) رقم (761
......................

เพราะฉะนั้น ที่ท่านอาจารย์ปราโมทย์ กล่าวว่า “หะรอม”นั้น ท่านได้พิจารณาจากหลักฐาน ไม่ใช่การตั้งตนเป็นมุจญตะฮิด ดังที่โต๊ะครูแห่งเว็บไซด์สุนนะฮสะติวเด้นกล่าวหา

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sun Jan 04, 2009 2:05 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เพิ่มเติม
ที่โต๊ะครูซุนนะฮสะติวเด้นอ้างว่า
ยิ่งกว่านั้นปวงปราชญ์ส่วนมากหรือได้ลงมุติ(อิจญ์มาอฺ) ว่าการอ่านอัลกุรอานที่กุบูรนั้นเป็นสิ่งที่มุสตะฮับ(ชอบให้กระทำ)
........................

ผมขอกล่าวว่า

ข้ออ้างนี้ไม่เป็นความจริง เพราะมีนักวิชาการที่กล่าวว่า การอ่านอัลกุรอ่านอุทิศผลบุญไม่ถึงผู้ตาย เช่น
1. อิหม่ามชาฟิอี (ขออัลลฮเมตตาต่อท่าน)
ดังที่อิบนิกะษีรระบุไว้ในการอธิบายอายะฮข้างล่างนี้
อัลลอฮ ตะอาลาตรัสว่า

وأن ليس للإنسان إلا ما سعى

และแท้จริง มนุษย์จะไม่ได้รับการตอบแทน นอกจากสิ่งที่เขาได้พากเพียรไว้" )
............
ท่านอิหม่ามอิบนุกะษีร(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)ได้อธิบายว่า


ومن هذه الأية الكريمة استنبط الشافعي رحمه الله ومن اتبعه أن القراءة لا يصل إهداء ثوابها إلى الموتى لأنه ليس من عملهم ولا كسبهم ولهذا لم يندب إليه رسول الله صلى الله عليه وسلم أمته ولا حثهم عليه ولا أرشدهم إليه بنص ولا ايماء ولم ينقل ذلك عن أحد الصحابة رضي الله عنهم ولو كان خيراً لسبقونا إليه وباب القربات يقتصر فيه على النصوص ولا يتصرف فيه بانواع الأقسية والآراء فأما الدعاء والصدقة فذاك مجمع على وصولهما ومنصوص من الشارع عليهما.


จากอายะฮอันทรงเกียรตินี้ อิหม่ามชาฟิอี(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) และบรรดาผู้ที่เจริญรอยตามท่าน ได้วิเคราะห์ออกมาว่า การอ่านอัลกุรอ่าน อุทิศผลบุญของมันนั้น ไม่ถึงผู้ตาย เพราะไม่ใช่การกระทำและการพากเพียรของเขา และเพราะเหตุนี้ ท่านรซูลุ้ลลอฮ ไม่ได้ส่งเสริม อุมมะฮของท่าน ,อีกทั้งไม่ได้กำชับและแนะนำพวกเขา ในเรื่องนี้ ไม่ว่าจะด้วยทางตรงหรือทางอ้อม และไม่มีการรายงานดังกล่าวมาจากคนใดจากบรรดาเศาะหาบะฮ (ร.ฎ) และถ้าหากว่า มันเป็นสิ่งที่ดี แน่นอนพวกเขาจะทำล่วงหน้ามาก่อนพวกเราแล้ว และเรื่องของการอิบาดะฮนั้น มันจะถูกจำกัดอยู่บนตัวบท(คือ อัลกุรอ่านและอัสสุนนะฮ) และจะหันไปเอาประเภทของการกิยาส(เทียบ)และบรรดาความเห็นในมันไม่ได้ สำหรับดุอาและเศาะดะเกาะฮ ดังกล่าวนั้นได้มีมติว่าทั้งสองถึง(ผู้ตาย )และมีตัวบท(หลักฐาน)จากผูบัญญัติศาสนบัญญัติ บนมันทั้งสอง- ดู ตัฟสีร อิบนิกะษีร 4/276
2. เช็คอาลี มะฮฟูซ(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) ได้กล่าวว่า

ومن هذ االاصل العظيم تعلم أن أكثر أفعال الناس اليوم من البدع المذمومة كقراءة القرأن الكريم على القبور رحمة بالميت تركه النبي صلى الله عليه وسلم وتركه الصحابة مع قيام المقتضى للفعل وهوالشفقة للميت وعدم المانع منه فعلى هذا الأصل المذكور يكون تركه هو السنة وفعله بدعة مذمومة

และจากพื้นฐาน(กฏเกณฑ์ของหลักนิติศาสตร์อิสลาม)ที่สำคัญนี้ ท่านจะรู้ว่า แท้จริง การกระทำของผู้คนส่วนมากในปัจจุบัน ที่เป็นส่วนหนึ่งจากบิดอะฮ ที่น่าตำหนิ เช่น การอ่านอัลกุรอ่าน ที่กุบูร เพื่อแผ่เมตตาแก่มัยยิต(ผู้ตาย) เป็นต้น, ท่านรซูลุ้ลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และบรรดาเศาะหาบะฮ ไม่เคยทำสิ่งนี้ ทั้งๆที่ มีประเด็นที่ส่งเสริมให้กระทำ นั้นคือ ความห่วงใยต่อมัยยิต และไม่มีอุปสรรคใดๆมาขัดขวางมิให้กระทำสิ่งนั้น ดังนั้น ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวนี้ (สรุปได้ว่า) การทิ้งมัน(ไม่อ่านอัลกุรอ่านที่กุบูร) นั้น เป็นสุนนะฮ และการกระทำมัน(อ่านอัลกุรอ่านที่กุบูร)นั้น เป็นบิดอะฮ ที่ถูกตำหนิ – ดูหนังสือ อัลอิบดาอฺ หน้า 44

3. อิบนุกอ็ยยิม(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) กล่าวว่า

ولم يكن من هديه أن يجتمع للغداء، ويقرأ له القرآن، لا عند قبره ولا غيره، وكل هذا بدعة حادثة مكروهة

และไม่ได้เป็นทางนำของท่านรซูล โดยการ ชุมนุมกันเพื่อรับประทานอาหาร และอ่านอัลกุรอ่านให้แก่เขา(มัยยิต) ไม่ว่าจะกระทำที่กุบูรของเขาหรืออื่นจากนั้นก็ตาม และทั้งหมดนี้ เป็นบิดอะฮ ที่เกิดขึ้นใหม่ ที่น่ารังเกียจ – ดูหนังสือ ซาดุ้ลมะอาด เล่ม 1 หน้า 523

............

เมื่อนักวิชาการมีความเห็นขัดแย้งกัน การอ้างว่า เป็นอิจญมาอฺ ฟังไม่ขึ้นหรอกครับท่าน

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sun Jan 04, 2009 2:31 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การวิภาษหลักฐานยังมีต่ออินชาอัลลอฮ ในระหว่างที่รอฝ่ายซุนนะฮสะติ้วเด้นนำหลักฐานมาอ้างเพื่อโต้แย้ง บทความ อ. ปราโมทย์ ขอกั้นรายการด้วยฟัตวา ของเช็ค อิบนุอุษัยมีน ดังนี้

اجتماع الناس في البيوت للقراءة على روح الميت لا أصل له، وما كان السلف الصالح -رضي الله عنهم- يفعلونه.. والاجتماع عند أهل الميت وقراءة القرآن ووضع الطعام وما شابه ذلك فكلها من البدع
การที่ผู้คนชุมนุมกันที่บ้าน เพื่ออ่านอัลกุรอ่านอุทิศให้ดวงวิญญานผู้ตายนั้น ไม่มีที่มา และ ชาวสะลัฟผู้ทรงธรรม พวกเขาไม่ได้กระทำมัน... และการชุมนุมกันที่บ้านผู้ตาย,อ่านอัลกุรอ่านและยกอาหารมารับประทานกัน และในทำนองดังกล่าวนั้น ทั้งหมดนั้น เป็นส่วนหนึ่งจากบิดอะฮ - ฟะตาวาอิสลามียะฮ เล่ม 2 หน้า 54

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sun Jan 04, 2009 10:05 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

โต้ะครูซุนนะฮสะติ้วเด้นกล่าวว่า
ทัศนะของสะลัฟต่อฮุกุ่มการละหมาดที่กุบูรนั้น คือ "ส่วนหนึ่งจากผู้ที่รายงานจากเขาว่ามักโระฮ์ละหมาดในกุบูร คือ ท่านอะลี , ท่านอิบนุอับบาส , ท่านอิบนุอุมัร , ท่านอะฏออฺ , ท่านอันนะคะอีย์ , และผู้มีทัศนะไม่มักโระฮ์ละหมาดในกุบูรคือ ท่านอะบูฮุร็อยเราะฮ์ , ท่านวาษิละฮ์ บิน อัลอัสเกาะอฺ , และท่านอัลฮะซัน อับบะซอรีย์" ทบทวนจากหนังสือ อัลมั๊วะญัม อัลเอาซัฏ 2/083
สิ่งดังกล่าวนี้ บ่งชัดเจนว่ามักโระฮ์ดังกล่าวมิใช่มักโระฮ์ฮะรอมตามที่ อ.ปราโมทย์กล่าวไว้ แต่สะลัฟส่วนมากมีทัศนะเพียงแค่มักโระฮ์ธรรมดาเท่านั้นเอง ยิ่งกว่านั้น ยังมีซอฮาบะฮ์และสะละฟุศศอลิห์บางส่วน มีทัศนะว่าไม่ถือว่ามักโระฮ์ แต่เป็นที่อนุญาตให้ละหมาดที่กุบูรได้
……………..

ขอกล่าวว่า

ที่โต้ะครูพูดเป็นการอ้างที่ไม่ถูกต้อง เพราะมีบรรดานักวิชาการและเหล่าเศาะหาบะฮหลายท่านระบุว่า การละหมาดที่กุบูรนั้น เป็น หะรอม เช่น
อิบนุอันมันซีร กล่าวว่า

ففي قوله ( ولا تتَّخذوها قبورًا ) دليل على أن المقبرة ليست بموضع صلاة؛ لأن في قوله: (;اجعلوا في بيوتكم من صلاتكم) حثٌّ على الصلوات في البيوت، وقوله: ( ;ولا تجعلوها قبورً) يدل على أن الصلاة غير جائزة في المقبرة

ในคำพูดของท่านนบีที่ว่า (พวกท่านอย่าทำมันให้เป็นกุบูร) แสดงบอกว่า สถานที่ฝังศพ นั้น ไม่ใช่สถานที่ละหมาด เพราะในคำพูดของท่านนบีที่ว่า (พวกท่านทำละหมาดของพวกท่านให้อยู่ในบ้านของพวกท่าน) เป็นการส่งเสริมให้ละหมาดในบ้าน และคำพูดของท่านนบีที่ว่า(และพวกท่านอย่าทำมันให้เป็นกุบูร) แสดงบอกว่า การละหมาดในสถานที่สำหรับฝังศพ(กุบูร)นั้น ไม่อนุญาต – ดู อัลเอาสัฏ เล่ม 2 หน้า 183

และมีรายงานจากท่านอะนัส บิน มาลิก ว่า

أنّ النبي صلى الله عليه وسلم نهى عن الصلاة بين القبور
แท้จริงนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ห้ามไม่ให้ละหมาดระหว่างหลุมศพ –(1)

--------------------------

(1) أخرجه ابن حبان في صحيحه (6/88) رقم (2315)، وأبو يعلى (5/175) رقم (2788) والبزار - كما في مختصر زوائد مسند البزار (1/219-220) رقم (282) -.
وأخرجه البزار رقم (281) (283)، والطبراني في الأوسط (6/6) رقم (5631) من طرق أخرى عن أنس. ولذلك صححه الألباني في صحيح الجامع (2/1154) رقم (6834)،واعتمده في أحكام الجنائز (ص/270)

...................................

อัลคอ็ฏฏอบีย์(ขออัลลอฮ)เมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า
فيه دليل على أن الصلاة لا تجوز في المقابر

ในมัน(ในหะดิษดังกล่าว) แสดงว่า แท้จริงการละหมาดไม่อนุญาตให้ปฏิบัติในสุสาน(สถานที่ฝังศพ) – ดู อะอฺลามุลหะดิษ เล่ม 1 หน้า 393

และยังมีรายงานจากอิบนุอับบาส เราะฏิยัลลอฮุอันฮู กล่าวไว้ว่า

;لا تُصلينَّ إلى حُش، ولا في حمام، ولا في المقبرة

พวกท่านอย่าละหมาดหันไปทาง ห้องส้วมและอย่าละหมาดในห้องน้ำและอย่าละหมาดในสถานที่ฝังศพ (2)

----------------------

(2) أخرجه عبدالرزاق في المصنف كتاب الصلاة، باب: الصلاة على القبور (1/405) رقم
(1585)، وابن المنذر في الأوسط كتاب طهارات الأبدان والثياب، باب: ذكر النهي عن الصلاة في المقبرة والحمام (2/183) رقم (761
......................

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sun Jan 04, 2009 12:53 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

โต๊ะครูซุนนะฮสะติ้วเด้น กล่าวว่า
2.1 อ.ปราโมทย์ ถ้วงติงหลักการที่ว่า "ไม่มีหลักฐานห้าม" เป็นทัศนะที่ผิด ๆ ของ อ.กอเซ็ม ซึ่งความจริงแล้ว คำพูดของ อ.กอเซ็มที่ว่า "ไม่มีหลักฐานห้าม" นั้น อ.ปราโมทย์ ไม่เข้าใจคำพูดของ อ.กอเซ็ม เอง เนื่องจากเป้าหมายคำพูดของ อ.กอเซ็ม ก็คือ มีหลักฐานแบบกว้าง ๆ หรือแบบครอบคลุมมาระบุรับรองไว้แล้ว , (ผมขอกล่าวเสริมว่า) พร้อมกันนั้นก็ไม่มีหลักฐานมาระบุจำกัดหรือเจาะจงห้าม , และรูปแบบการกระทำต้องไม่ขัดกับหลักศาสนา

หลักการดังกล่าวคือคำตรัสของอัลเลาะฮ์ตะอาลาที่ว่า

وَمَا أَتَاكُمُ الرَّسُوْلُ فَخُذُوْهُ وَمَا نَهَاكُمْ عَنْهُ فَأنْتَهُوْا

"สิ่งใดที่รอซูลนำมาให้กับพวกท่านนั้นพวกท่านจงยึดมันและสิ่งใดที่ร่อซูลห้ามพวกท่านจากสิ่งนั้นพวกท่านจงก็ยุติ"อัลหัชรฺ 7
………….
ผมขอกล่าวว่า

หลักฐานข้างต้น ไม่ใช่หลักฐานแบบอุมุม(แบบกว้างๆ)ที่แสดงบอกว่า รูปแบบอิบาดะฮใดก็ตาม ที่นบีไม่ได้เจาะจงห้ามเอาไว้ แล้วสิ่งนั้น เป็นที่อนุญาตให้กระทำได้
อิหม่ามอัชเชากานีย์ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)ได้กล่าวว่า

وقال ابن جريج: ما آتاكم من طاعتي فافعلوا، وما نهاكم عنه من معصيتي فاجتنبوه. والحقّ أن هذه الآية عامة في كل شيء يأتي به رسول الله صلى الله عليه وسلم من أمر أو نهي، أو قول أو فعل، وإن كان السبب خاصاً، فالاعتبار بعموم اللفظ لا بخصوص السبب، وكل شيء أتانا به من الشرع، فقد أعطانا إياه، وأوصله إلينا،

และอิบนุญุรัยญ์ กล่าวอธิบายว่า “ สิ่งใดก็ตามที่เขานำมาให้พวกเจ้า จากการภักดีต่อข้า พวกเจ้าจงกระทำ และสิ่งใดก็ตามที่เขา(รอซูล)ได้ห้ามพวกเจ้า จากมัน จากการฝ่าฝืนข้า พวกเจ้าจงห่างใกลมัน และ ความจริง อายะฮนี้ กล่าวโดยกว้างๆ(อาม) ในทุกสิ่งที่รซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้นำมันมา จาก คำสั่งใช้ หรือ คำสั่งห้าม หรือ คำพูด หรือ การกระทำ และแม้ว่า สาเหตุ(การลงอายะฮนี้) เป็นกรณีเฉพาะ ก็ตาม เพราะ การพิจารณา(เอามาเป็นแนวปฏิบัตินั้น) ด้วยถ้อยคำที่กล่าวไว้โดยกว้างๆ (อุมูม) ไม่ใช่พิจารณาที่เฉพาะของสาเหตุ(การประทานอายะฮ) และทุกสิ่งที่จากบทบัญญัติที่เขา(รอซูล)นำมาให้พวกเรา แน่นอน เขาได้มอบมันให้แก่พวกเรา และ เขาได้ส่งมันมาถึงพวกเรา - ตัฟสีรฟัตหุลเกาะดีร อรรถาธิบาย อายะฮที่ 7 ซูเราะฮอัลหัชรุ

....................
จากอายะฮ ข้างต้น และคำอรรถาธิบาย จึงมีประเด็นคำถามว่า

1. การอ่านอัลกุรอ่านที่กูบูร เพื่ออุทิศผลบุญให้ผู้ตายนั้น มีคำสั่งจากรอซูลหรือไม่ แน่นอน ไม่มี

2. จากอุมูม(สำนวนที่กล่าวโดยรวมหรือกล่าวโดยกว้างๆ)นั้น มีเคาะลิฟะฮอัรรอชิดีน ,เหล่าเศาะหาบะฮ และ สะลัฟท่านใดเอาอายะฮนี้มาอ้างเป็นหลักฐานการอ่านอัลกุรอ่านที่กูบูร เพื่ออุทิศผลบุญให้ผู้ตาย ไหม? ปรากฏว่าไม่มีหลักฐานที่เศาะเฮียะระบุไว้

3. เรื่อง การอ่านอัลกุรอ่านที่กูบูร เพื่ออุทิศผลบุญให้ผู้ตายนั้น มีบัญญัติห้ามไว้หรือไม่ ? ขอตอบว่า มี เพราะ เมื่อรูปแบบอิบาดะฮนั้นไม่มีมาจากสุนนะฮ มันก็คือ บิดอะฮ และสิ่งที่เป็นบิดอะฮนั้น ท่านนบี ได้ห้ามเอาไว้อย่างชัดเจน

เช่น
เพราะท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

"من عمل عملاً ليس عليه أمرنا فهو رد" [رواه الإمام مسلم في "صحيحه" (ج3 ص1343 ـ 1344

ผู้ใดประกอบการงาน(อะมั้ลอิบาดะฮ)โดยไม่มีคำสั่งของเราบนสิ่งนั้น มันถูกปฏิเสธ - รายงานโดย มุสลิม

และหลักนิติศาสตร์อิสลามที่ว่า


الأصل في العبادات الحظر إلا ما ورد عن الشارع تشريعه والأصل في العادات الإباحة إلا ما ورد عن الشارع تحريمه

หลักการในเรื่อง อิบาดาตนั้น คือ การห้าม เว้นแต่ สิ่งที่มีรายงานว่าได้มีการบัญญัติมัน จากผู้บัญญัติศาสนบัญญัติ และ หลักการในเรื่อง อาดาต (เรื่อง ปกติวิสัยหรือ ธรรมเนียมทางด้านการดำรงชีวิตของมนุษย์) นั้นอนุญาต เว้นแต่ ได้มีการบัญญัติมัน จากผู้บัญญัติศาสนบัญญัติ ว่าห้าม
- رسالة لطيفة في أصول الفقه شرح الشيخ عبد الله بن صالح الفوزان

.................

จึงสรุปว่า ข้ออ้างของโต้ะครูนั้น เป็นการอ้างแบบเข้าข้างตัวเอง โดยปราศจากหลักฐานสนับสนุน

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย asan เมื่อ Sun Jan 04, 2009 2:43 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sun Jan 04, 2009 2:42 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อีกหะดิษหนึ่ง ที่โต๊ะครูซุนนะฮสะติวเด้น อ้างว่า เป็นหะดิษที่มีความหมายโดยกว้าง ๆ ไม่เฉพาะเจาะจงการใช้ การห้าม เพื่อเป็นหลักฐานว่า “ การอ่านอัลกุรอ่านให้คนตายในกุบูรนั้นสามารถกระทำได้ หะดิษดังกล่าวคือ
ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
فَإِذَا نَهَيْتُكُمْ عَنْ شَيْءٍ فَأجْتَنِبُوْهُ ، وَإِذَا أَمَرْتُكُمْ بِأَمْرٍ فَأْتُوْا مِنْهُ مَا أسْتَطَعْتُمْ
"ดังนั้นเมื่อฉันห้ามพวกท่านจากสิ่งหนึ่งพวกท่านก็จงห่างไกลมัน(มิใช่สิ่งใดที่ฉันทิ้งหรือไม่ได้กระทำแล้วจงห่างไกล)และเมื่อฉันใช้พวกท่านด้วยกับสิ่งหนึ่งพวกท่านก็จงทำมันเท่าที่พวกท่านสามารถ"รายงานโดยบุคคอรีย์และมุสลิม

ผมขอกล่าวว่า

หะดิษบทนี้อยู่ภายใต้หลักเกณคำสั่งของอัลลอฮฺที่ว่า ทุกอย่างล้วนตั้งอยู่บนความสะดวก ความง่าย ดังนั้นบ่าวของอัลลอฮฺจึงมีหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่งต่างๆเท่าที่สามารถจะปฏิบัติได้และหลีกเลี่ยงจากข้อห้ามต่างๆให้ถึงที่สุด
1- อัลลอฮฺตะอาลาได้กล่าวว่า
فَاتَّقُوا اللَّهَ مَا اسْتَطَعْتُمْ وَاسْمَعُوا وَأَطِيعُوا وَأَنْفِقُوا خَيْراً لِأَنْفُسِكُمْ
ความว่า “ดังนั้นพวกเจ้าจงยำเกรงต่ออัลลอฮฺ เท่าที่พวกเจ้ามีความสามารถและจงเชื่อฟังและปฏิบัติตามและบริจาดทาน เพราะเป็นการดียิ่งสำหรับตัวพวกเจ้า” [อัตตะฆอบุน :16]
หมายถึง ให้ปฏิบัติตามคำสั่งในเรื่องศาสนา เท่าที่สามารถทำได้ ส่วนสิ่งใดที่เกินความสามารถ ก็ได้รับการผ่อนปรน
ไม่ใช่ หมายถึง อนุญาตให้อุตริคำสอนศาสนาขึ้นมาใหม่ โดยอ้างว่า ศาสนาไม่ได้ห้าม
ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

إنه ليس شيء يقربكم إلى الجنة إلا قد أمرتكم به وليس شيء يقربكم إلى النار إلا قد نهيتكم عنه ) انظر الصحيحة [2866
แท้จริง ไม่มีสิ่งใดที่ทำให้พวกท่านเข้าใกล้สวรรค์ นอกจาก ฉันได้ใช้พวกท่านด้วยมันแล้ว และ ไม่มีสิ่งใด ที่ทำให้พวกท่านเข้าใกล้นรก นอกจากฉันได้ห้ามพวกท่านไว้แล้ว” – ดู อัศเศาะฮีหะฮ หะดิษหมายเลข 2866

ลอฮุอะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า
إنه لم يكن نبي قبلي إلا كان حقاً عليه أن يدل أمته على خير ما يعلمه لهم وينذرهم شر ما يعلمه لهم
'แท้จริง ไม่ปรากฏว่ามีนบีท่านใดที่มาก่อนฉัน นอกจาก เป็นหน้าที่เหนือเขา จะต้องแนะนำอุมมะฮของเขา ซึ่ง ความดีงามของสิ่งทีเขาได้รู้มันแก่พวกเขา และ เขาจะต้อง เตือนอุมมะฮของเขา ซึ่งความชั่วของสิ่งที่เขาได้รู้มันแก่พวกเขา" – รายงานโดย มุสลิม
نقل ابن الماجشون عن مالك - رحمه الله - أنه قال: من ابتدع في الإسلام بدعة يراها حسنة، فقد زعم أن محمداًصلى الله عليه وسلم خان الرسالة، لأن الله تعالى يقول: -اليوم أكملت لكم دينكم- فما لم يكن يومئذ ديناً فلا يكون اليوم ديناً -الاعتصام للشاطبي 1/111

อัล-มาญิชูน ได้รายงานจาก มาลิก (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) ว่าแท้จริง เขาได้กล่าวว่า “ผู้ใดอุตริบิดอะฮในอิสลาม โดย เห็นว่าดี แน่นอน เขาเข้าใจผิดว่า มุฮำหมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ไม่ซื่อสัตย์ต่อสาส์นของพระเจ้า เพราะว่า แท้จริง อัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลาตรัสว่า (วันนี้ เราได้ให้ศาสนาของพวกเจ้าสมบูรณ์สำหรับพวกเจ้าแล้ว) ดังนั้น สิ่งใดที่ไม่ใช่ศาสนาในวันนั้น ในวันนี้ มันก็ไม่ใช่ศาสนา – อัลเอียะติศอม ของอัชชาฏิบีย์ เล่ม 1 หน้า 111
เพราะฉะนั้น อะไรดี อะไร ไม่ดี ท่านนบีได้สอนไว้แล้ว ท่านไม่ได้ปล่อยไว้ให้อุมมะฮมาคิดบัญญัติขึ้นเอง
การกล่าวว่า “การอ่านอัลกุรอ่านในกุบูร อุทิศผลบุญให้ผู้ตาย เป็นสุนัต” อยากทราบว่า หุกุมข้อนี อัลลอฮ และรอซูลได้บัญญัติใช้ไว้ไหม เพราะมันมีหุกุมสุนัต เปล่าเลย ก็แสดงว่า เป็นสุนัตนอกบัญญัติ แล้วใครรับผิดชอบเรื่องบุญครับ ท่านครู และหะดิษที่โต๊ะครูอ้าง ไม่ใช่หะดิษที่ส่งเสริมให้คิดบิดอะฮขึ้นมาใหม่

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย asan เมื่อ Thu Nov 12, 2015 10:30 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sun Jan 04, 2009 3:14 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อีกหะดิษ ที่โต๊ะครูซุนนะฮสะติวเด้น อ้างว่า เป็นหะดิษที่มีความหมายโดยกว้าง ๆ ใครคิดแบบอย่างที่ดีขึ้นมา ก็ถือว่า ศาสนาอนุญาต เพื่อเป็นหลักฐานว่า “ การอ่านอัลกุรอ่านให้คนตายในกุบูรนั้นสามารถกระทำได้ หะดิษดังกล่าวคือ
ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวเช่นกันว่า

من مَنْ سَنَّ فِي الْإِسْلَامِ سُنَّةً حَسَنَةً فَعُمِلَ بِهَا بَعْدَهُ كُتِبَ لَهُ مِثْلُ أَجْرِ مَنْ عَمِلَ بِهَا وَلَا يَنْقُصُ مِنْ أُجُورِهِمْ شَيْءٌ وَمَنْ سَنَّ فِي الْإِسْلَامِ سُنَّةً سَيِّئَةً فَعُمِلَ بِهَا بَعْدَهُ كُتِبَ عَلَيْهِ مِثْلُ وِزْرِ مَنْ عَمِلَ بِهَا وَلَا يَنْقُصُ مِنْ أَوْزَارِهِمْ شَيْءٌ

" ผู้ใดที่ได้ริเริ่มกระทำ(รูปแบบหนึ่ง)ขึ้นมา ในศาสนาอิสลามซึ่งแนวทางที่ดี(ที่มีพื้นฐานของศาสนามารองรับ) แน่นอนเขาจะได้รับผลบุญและได้รับผลบุญของผู้ที่ได้ปฏิบัติตามหลังจากเขาได้(เสีย ชีวิตไปแล้ว) โดยไม่มีสิ่งบกพร่องจากผลบุญตอบแทนของพวกเขาเลย และผู้ใดทีได้ริเริ่มกระทำ(รูปแบบหนึ่ง)ขึ้นมาในอิสลามซึ่งหนทางที่เลว(ที่ไม่มีพื้นฐานศาสนามารับรอง) แน่นอนบาปของมันก็ตกบนเขาและบาปของผู้ที่ปฏิบัติมันหลังจากเขา(เสียชีวิตไปแล้วก็ตกบนเขา) โดยไม่มีสิ่งใดบกพร่องลงไปจากบรรดาบาปของพวกเขา" รายงานโดยมุสลิม(1017)
………….
ผมขอกล่าวว่า

หะดิษนี้ ไม่ใช่หลักฐาน ที่แสดงบอกว่า เมื่อคิดแบบอย่างที่ตนเห็นว่าดี แล้วผู้อื่นเอาเยี่ยงอย่าง หรือ ปฏิบัติตาม แล้วได้บุญ แต่หะดิษนี้ ต้นเรื่องของ มัน คือ การปฏิบัติสิ่งที่มีบัญญัติไว้แล้ว และเมื่อผู้อื่นเอาเป็นตัวอย่าง แล้วนำไปปฏิบัติด้วย ไม่ใช่คิดเรื่องบิดอะฮ ที่ดี ตามความเข้าใจของท่านครู ท่านครูแปลว่า (ผู้ใดที่ได้ริเริ่มกระทำ(รูปแบบหนึ่ง)ขึ้นมา” ) เพื่อให้เข้าใจว่า เราคิดแบบอย่างขึ้นเอง ซึ่งจริงไม่ใช่เช่นนั้น มาดู ที่ผมเคยอธิบายไว้ ในเว็บอัสสุนนะฮดังนี้
วิจารณ์

หะดิษนี้ไม่ได้หมายถึง การอุตริบิดอะฮฺที่ดีในอิสลาม แต่หมายถึง การฟื้นฟูสุนนะฮฺและการเป็นแบบอย่าง ในการทำดี ที่ศาสนามีบัญญัติไว้ เพราะ
ที่มาของคำพูดของท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ข้างต้นเนื่องจากมีเศาะหาบะฮท่านหนึ่ง ซึ่งเป็นชาวอันศอร ได้ทำการเศาะดะฮเกาะฮฺ
ในยามวิกฤต แล้วคนอื่นๆก็เอาเยี่ยงอย่าง

และที่จริงความหมายของคำว่า “من سن “ ในหะดิษคือ من أحيا ซึ่งแปลว่า “ ฟื้นฟูขึ้นใหม่” คือ เรื่องเดิมมีอยู่แล้วแต่ไม่มีใครทำ ไม่มีใครปฏิบัติ
เมื่อมีผู้มาฟื้นฟูขึ้น แล้วมีผู้ปฏิบัติตาม ซึ่งเป็นสิ่งที่ศาสนาได้บัญญัติไว้แล้ว โปรดดูต้นเหตุ(สะบับ)ของหะดิษนี้ ซึ่งปรากฏในหนังสืออธิบายหะดิษมุสลิม
ของอันนะวาวีย์ ดังนี้

มีคนยากจนจำนวนหนึ่งมาหาท่านร่อซูลุ้ลลอฮ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ด้วยเครื่งแต่งกายขาดกะรุ่งกะริ่ง เมื่อท่านร่อซูลุ้ลลอฮ
ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เห็นดังนั้น ใบหน้าของท่านซีดเผือด ท่านจึงเข้าไปในบ้านและออกมาสั่งให้ท่านบิลาลอะซาน แล้วท่านจึงทำการละหมาด
เสร็จแล้วท่านจึงขึ้นอ่านคุฏบะฮ โดยอ่านอายะฮดังต่อไปนี้

{ يَا أَيُّهَا النَّاسُ اتَّقُوا رَبَّكُمُ الَّذِي خَلَقَكُمْ مِنْ نَفْسٍ وَاحِدَةٍ} إلى آخر الآية {إِنَّ اللَّهَ كَانَ عَلَيْكُمْ رَقِيباً

"สูเจ้าทั้งหลายจงสำรวมตนต่ออัลลอฮ พระผู้อภิบาลของพวกเจ้า ผู้ทรงสร้างพวกเจ้าจากชีวิตหนึ่ง....จนถึงท้ายของอายะฮที่ว่า “แท้จริงอัลลอฮฺ
ทรงเฝ้าดูแลพวกเจ้า” และท่านรซูลได้อ่านโองการต่อไปนี้

يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا اتَّقُوا اللَّهَ وَلْتَنظُرْ نَفْسٌ مَّا قَدَّمَتْ لِغَدٍ وَاتَّقُوا اللَّهَ إِنَّ اللَّهَ خَبِيرٌ بِمَا تَعْمَلُونَ

[59.18] "โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย พวกเจ้าจงยำเกรงอัลลอฮ์เถิด และทุกชีวิตจงพิจารณาดูว่า อะไรบ้างที่ตนได้เตรียมไว้สำหรับวันพรุ่งนี้ (วันกิยามะฮ์)
และจงยำเกรงอัลลอฮ์เถิด แท้จริงอัลลอฮ์นั้นทรงรู้ดียิ่งในสิ่งที่พวกเจ้ากระทำ"

ทันใดนั้นก็มี เศาะหาบะฮบางคนก็บริจาคเหรียญทอง - เหรียญเงิน บางคนบริจาคเสื้อผ้า – ข้าสาลี-อินทผาลัม ต่อมามีชาวอันศอรฺคนหนึ่ง นำห่อ
สิ่งของมาให้ มือของเขาเกือบถือไม่หมด คนอื่นๆต่างก็หลั่งไหลกันมาบริจาค (ผู้รายงานหะดิษบอกว่า) จนกระทั้งฉันเห็นอาหารและเสื้อผ้า กองใหญ่
สองกอง และฉันเห็นสีหน้าของท่านร่อซูลุ้ลลอฮ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ยิ้มแย้ม แจ่มใสด้วยความดีใจ ท่านจึงกล่าวว่า

من سن في الإسلام سنة حسنة فله أجرها وأجر من عمل بها بعده من غير أن ينقص من أجورهم شيء ، ومن سن في الإسلام سنة سيئة كان عليه وزرها ووزر من عمل بها من بعده من غير أن ينقص من أوزارهم شيء .

"ผู้ใดทำแบบอย่างที่ดีในอิสลาม เขาจะได้รับการตอบแทนของเขา และการตอบแทนของผู้ที่ปฏิบัติตามนั้น หลังจากเขา โดยไม่ถูกลดหย่อน
ไปจากการตอบแทนของพวกเขาแม้แต่น้อย และผู้ผู้ใดทำแบบอย่างที่ชั่วในอิสลาม เขาจะแบกภาระความผิดของเขา และความผิดของผู้ที่ปฏิบัติตามนั้น
หลังจากเขา โดยไม่ถูกลดย่อนไปจากความผิดของพวกเขาแม้แต่น้อย
- รายงานโดยมุสลิม จากญะรีร บุตร อับดุลลอฮ
..........................................................

นี้คือ เป้าหมายของหะดิษนี้ และอีกประการหนึ่งคือ คำว่า في الاسلام (ในอิสลาม) นี้ก็ชัดเจนอยู่แล้วว่า สิ่งนั้นมีอยู่ในคำสอนอิสลามไม่ใช่นอก
อิสลามไม่ใช่บิดอะฮ เพราะบิดอะฮ คือ สิ่งที่คิดขึ้นใหม่ ผมใช้คำว่า ”บิดอะฮ” โดยไม่แยกว่า “ บิดอะฮฺหะสะนะ และบิดอะเฎาะลาละฮ “ ก็เนื่องจาก
ทุกบิดอะฮในเรื่องของศาสนา นั้น เฎาะลาละฮ(หลงผิด)

ท่านมุหัมหมัด ฆอซาลี กล่าวไว้ในหนังสือ ลัยสะมีนัลอิสลาม หน้า 96 ว่า

والحديث من رواية مسلم وهو لا يفيد بتاتا أن الاختراع في الدين جائز

“ และหะดิษ ที่รายงานโดยมุสลิม(มันสันนะ...) ไม่ได้หมายความว่า อนุญาตให้คิดอุตริสิ่งใดขึ้นมาในศาสนาเลย”

เชคศอลิหิอัลฟูซาน ได้โต้ตอบพวกที่เอาหะดิษนี้มาอ้างทำบิดอะฮ ว่า

أما قوله صلى الله عليه وسلم : "من سن في الإسلام سنة حسنة؛ فله أجرها وأجر من عمل بها" [رواه الإمام مسلم في "صحيحه" (2/704، 705) من حديث جرير بن عبد الله رضي الله عنه]؛ فهذا لا يدل على ما يقوله هؤلاء؛ لأن الرسول لم يقل من ابتدع بدعة حسنة، وإنما قال: "من سن سنة حسنة"، والسنة غير البدعة، السنة هي ما كان موافقًا للكتاب والسنة، موافقًا للدليل، هذا هو السنة؛ فمن عمل بالسنة التي دل عليها الكتاب والسنة؛ يكون له أجرها وأجر من عمل بها إلى يوم القيامة؛ يعني: من أحيا هذه السنة وعلمها للناس وبينها للناس وعملوا بها اقتداءً به؛ فإنه يكون له من الأجر مثل أجورهم،

สำหรับคำพูดของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า


"من سن في الإسلام سنة حسنة؛ فله أجرها وأجر من عمل بها" [رواه الإمام مسلم في "صحيحه" (2/704، 705) من حديث جرير بن عبد الله رضي الله عنه]؛

หะดิษนี้ไม่ได้แสดงบอก ตามสิ่งที่พวกเขาเหล่านั้นพูดกัน เพราะท่านร่อซูล ไม่ได้กล่าวว่า “ من ابتدع بدعة حسن”(ผู้ใดอุตริบิดอะฮที่ดี)
แต่ตรงกันข้าม ท่านกล่าวว่า "من سن سنة حسنة" (ผู้ใดทำแบบอย่างที่ดี) และอัสสุนนะฮนั้น ไม่ใช่ บิดอะฮ อัสสุนนะฮคือสิ่งที่สอดคล้องกับ
อัลกิตาบ(อัลกุรอ่าน) และอัสสุนนะฮ สอดคล้องกับหลักฐาน นี่คือ อัสสุนนะฮ

ดังนั้นผู้ใด ปฏิบัติตามสุนนะฮ ที่อัลกุรอ่านและอัสสุนนะฮ แสดงบอกเอาไว้ เขาก็จะได้รับผลตอบแทน ของตนและของผู้ที่ปฏิบัติตามนั้น จนถึง
วันกิยามะฮ หมายถึง ผู้ใดฟื้นฟูสุนนะฮ และเขาปฏิบัติมัน เพื่อเป็นแบบอย่างแก่มนุษย์ และ อธิบายมันแก่มนุษย์ แล้วพวกเขาปฏิบัติตามนั้น ดังนั้น
เขาจะได้ผลการตอบแทน เท่ากับผลการตอบแทนที่พวกเขา(ผู้ปฏิบัติตามเขา)ได้รับ

المنتقى من فتاوى فضيلة الشيخ صالح بن فوزان بن عبد الله الفوزان، 1/173، رقم الفتوى في مصدرها: 96

แล้วท่านอิบนิตัยมียะฮกล่าวอีกว่า

ومعلوم أنّ كل ما لم يسنه ولا استحبه رسول الله صلى الله عليه وسلم ولا أحد من هؤلاء الذين يقتدي بهم المسلمون في دينهم فإنه يكون من البدع المنكرات، ولا يقول أحد في مثل هذا أنّه بدعة حسنة" مجموع الفتاوى (27/152)

และเป็นที่รู้กันว่า ทุกสิ่งที่ท่านร่อซูลุลลอฮ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ไม่ได้ทำแบบอย่างเอาไว้และไม่ได้ส่งเสริมมัน และไม่มีคนหนึ่งคนใดจาก
พวกเขา (หมายถึงเหล่าเคาะลิฟะฮอัรรอชิดีน)ที่บรรดามวลมุสลิมปฏิบัติตามพวกเขา ในเรื่องศาสนาของพวกเขา (ได้ทำแบบอย่างและส่งเสริมให้กระทำ)
ดังนั้นแท้จริงมันเป็นส่วนหนึ่งจากบิดอะฮที่ต้องห้าม และไม่มีคนใดกล่าว ในกรณีแบบนี้ว่า เป็น “บิดอะฮหะสะนะฮฺ”

มัจญมัวะอัลฟะตาวา เล่ม 27 หน้า 152 ท่านอิบนิกะษีร (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) กล่าวว่า

قال علي بن أبي طلحة، عن ابن عباس قوله: ( الْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ ) وهو الإسلام، أخبر الله نبيه صلى الله عليه وسلم والمؤمنين أنه أكمل لهم الإيمان، فلا يحتاجون إلى زيادة أبدا، وقد أتمه الله فلا ينقصه أبدا، وقد رضيه الله فلا يَسْخَطُه أبدا

อะลี บุตร อบีฏ็อลหะฮ รายงานจากอิบนิอับบัส ท่านได้กล่าวไว้ว่า (วันนี้ข้าได้ให้สมบูรณ์แก่พวกเจ้าแล้ว ซึ่งศาสนาของพวกเจ้า) มันคืออัลอิสลาม
อัลลอฮ ได้ทรงบอกแก่นบีของพระองค์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และบรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลายว่า พระองค์ทรงให้การศรัทธาสมบูรณ์สำหรับพวกเขาแล้ว ดังนั้นไม่จำเป็นจะต้องไปเพิ่มเติมมันตลอดไป

และแท้จริงอัลลอฮทรงให้มันครบถ้วนแล้ว แล้วพระองค์จะไม่ให้มันบกพร่องตลอดไป และแท้จริง อัลลอฮ ทรงยินยอมมันแล้ว ดังนั้น พระองค์จะมิทรงกริ้วมันตลอดไป ดูตัฟสิรอิบนิกะษีร อรรถาธิบาย อายะฮที่ 3 ซูเราะฮอัล-มาอิดะฮ

......................

والله أعلم بالصواب

http://www.azsunnah.com/modules.php?name=News&file=article&sid=56

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย asan เมื่อ Thu Nov 12, 2015 10:02 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
asan
ผู้ดูแลกระดานเสวนา
ผู้ดูแลกระดานเสวนา


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2005
ตอบ: 3165


ตอบตอบ: Sun Jan 04, 2009 3:35 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เพิ่มเติม
ความหมายของคำว่า "من سن في الإسلام سنة حسنة ....
ท่านอัลมุบาเราะกาฟูรีย กล่าวว่า
قوله من سن سنة خير وفي رواية مسلم من سن في الإسلام سنة حسنة أي أتى بطريقة مرضية يشهد لها أصل من أصول الدين فاتبع فله أجره وأجر أجر من عمل بتلك السنة غير منقوص من أجورهم شيئا

คำพูดของท่านนบี Solallah ที่ว่า "ผู้ใดทำแบบอย่างที่ดี" และในรายงานของมุสลิม ระบุว่า "ผู้ใดทำแบบอย่างที่ดีในอิสลาม" หมายถึง ปฏิบัติตามแนวทางที่ได้รับความโปรดปราณ(จากอัลลอฮ) โดยมีรากฐานมาจากศาสนาให้การรับรอง แล้วเขาปฏิบัติตาม เขาก็จะได้รับผลตอบแทนของเขาและผลตอบแทนของการตอบแทนผู้ที่ปฏิบัติ สุนนะฮ(แบบอย่าง)นั้น โดยไม่ได้ลดย่อนไปกว่าการตอบแทนของพวกเขาแม้แต่น้อย - ตุคฟะตุลอะหฺวะซีย เล่ม 7 หน้า 365
..............
จะเห็นได้ว่า หะดิษหมายถึง การทำแบบอย่างที่มีรากฐานหรือที่มาจากคำสอนศาสนา ไม่ใช่คิดแบบอย่างเอาเองแล้วให้ผู้อื่นตามโดยบอกว่า เป็นสุนัต

_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> ปัญหาศาสนา ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ถัดไป
หน้า 1 จากทั้งหมด 4

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


Powered by phpBB ฉ 2001, 2002 phpBB Group







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.32 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ