ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
ขอเชิญร่วมสร้างมัสยิด
มูลนิธิอนุรักษ์มรดกอิสลาม
ขอเชิญท่านบริจาคสมทบทุน
โครงการก่อสร้างอาคาร
มัสยิดอนุรักษ์



โดยโอนเงินผ่านบัญชีธนาคาร

ชื่อบัญชี
มูลนิธิอนุรักษ์มรดกอิสลาม
ธนาคาร
กรุงไทย สาขาย่อยประเวศ
ประเภท กระแสรายวัน
เลขที่ 188 – 6 – 00316 – 5

>>>..ร่วมบริจาคคลิ๊ก!..<<<

ญะซากุมุ้ลลอฮุคอยร็อน


เมนูหลัก
 หน้าแรก(ข่าวสาร) :
 หน้าแรก
 ค้นหา
 หัวข้อเรื่องที่น่าสนใจ
 สำหรับสมาชิก :
 รายนามสมาชิก
 เข้าสู่ระบบ(สมัครสมาชิก!)
 ร่วมด้วยช่วยกัน :
 แนะนำบอกต่อ
 กระดานเสวนา
 
 สถิติของผู้เข้าชม :
 ยอดฮิตติดอันดับ
 แบบสำรวจ
 คู่มือและเอกสาร :
 ถาม-ตอบ
 วารสารประจำเวบ
 บริการอื่นๆ :
 ติดต่อลงโฆษณา
 ติดต่อเรา
 ห้องแสดงภาพ
 ดาวน์โหลด
 Mozaks_News

 เมนูทั่วไป :
เนตคุณแรงแค่ไหน!
ล้อเลียนการเมือง
เพิ่มเว็บนี้ใน Favourites !
เมล์ด่วนสายตรง
11:32:29
วัน : 19-03-2024
GMT : +0700

สาระวิชาการ
วิชาการ :
ศรัทธาและยึดมั่น
อัลฮะดีษ
จริยธรรมอิสลาม
ประเพณีและความเชื่อ
ประวัติศาสตร์อิสลาม
เหตุแห่งการประทานอัลกุรอาน
อุลูมุ้ลฮะดีษ
ตัฟซีรอัลกุรอาน
คอลัมน์ประจำ :
บทความทั่วไป
ตรรกวิทยา

ดาวน์โหลด

  1: ถาม-ตอบ
ดาวน์โหลด 297 ครั้ง

  2: ขุดโคตรชีอะ
ดาวน์โหลด 183 ครั้ง

  3: การทำแทน
ดาวน์โหลด 108 ครั้ง

  4: ศรัทธาแบบอิสลาม
ดาวน์โหลด 207 ครั้ง

  5: สัญญาณวันสิ้นโลก
ดาวน์โหลด 245 ครั้ง

  6: หลักยึดมั่น
ดาวน์โหลด 146 ครั้ง

..ดูทั้งหมด..

เว็บไซต์อนุรักษ์ซุนนะห์

เผยข้อเท็จจริงลัทธิชีอะห์:





แนวร่วมต่อต้านรอฟิเฏาะ

ภาษาอาหรับ

www.d-sunnah.net
www.fnoor.com
www.albrhan.com
www.wylsh.com
www.khominy.com
http://dhr12.com
www.albainah.net
www.ansar.org
www.almanhaj.com
www.almhdi.com

ภาษาอังกฤษ

www.ahlelbayt.com


หนังสือใหม่
ผลงานล่าสุด
ของ อ.ฟารีด เฟ็นดี้


รู้ทันชีอะฮ์



เผยกลลวงของชีอะห์ในการดึงมุสลิมออกจากอิสลาม
ตอบโต้ข้อกล่าวหา,ใส่ร้าย,ประณามศอฮาบะห์
ติดต่อและสั่งซื้อได้ที่
คุณยะอ์กู๊บ น้อยนงค์เยาว์
084 0004619


ข่าวสาร
หนังสือพิมพ์ไทย :
ไทยรัฐ
เดลินิวส์
กรุงเทพธุรกิจ
ข่าวสด
ผู้จัดการออนไลน์
มติชน
ประชาไทย
ไทยนิวส์
ศูนย์ข่าวอิศรา
หนังสือพิมพ์อาหรับ :
الاهرام
الجمهورية
الوطن
القبس
البيان
الاتحاد
الرأي العام
الشرق الأوسط
السياسة
دار الخليج
ตำราศาสนาภาษาอาหรับ :
almeshkat
almaktba
kribani
sahab
internet radio
จส.100
คลื่นประชาธิปไตย


บทความเรื่อง ฟิร๊อก กลุ่มแนวคิดบิดเบือน
ตอนชีอะห์อิหม่ามสิบสอง

อย่าให้กะลิมะห์ชะฮาดะห์ของผู้ใดมาล่อลวงเรา
อิสลามไม่มีนิกาย
ข้อแตกต่างด้านโครงสร้างศาสนาของซุนนะห์กับชีอะฮ์
อัลกุรอานและฮะดีษตามความเชื่อของชีอะฮ์
อายะห์อัลกุรอานที่ขาดหาย
"อะฮ์ลุ้ลบัยต์" ครอบครัวและวงศ์วานของท่านนบี
ภรรยาของนบีคือ"อะฮ์ลุ้ลบัยต์"
ฮะดีษซะก่อลัยน์ สิ่งหนักทั้งสอง
ใครคือ"อะฮ์ลุ้ลบัยต์" ที่ระบุในซูเราะห์อัลอะห์ซาบ อายะห์ที่ 33
ฮะดีษกิซาอ์
ท่านอาลีและครอบครัว จากซูเราะห์อัซชุอะรออ์ อายะห์ที่ 23
"อิมามะห์"การศรัทธาต่ออิหม่าม
คำสั่งแต่งตั้งอิหม่าม
หลักฐานแต่งตั้งอิหม่าม จากซูเราะห์อัลมาอิดะห์ อายะห์ 55
อายะห์"อัตตับลีฆ" ซูเราะห์อัลมาอิดะห์ อายะห์ 67
มุบาฮะละห์
ฮะดีษ "มันซีละห์" เปรียบท่านนบีกับอาลีดั่งมูซากับฮารูณ
ละครฉากนี้ที่ "ฆ่อดีรคุม"
คำตอบจากท่านอาลี
อาลีช่วยด้วย !!
อาลี หรือ เยซู
นครแห่งความรู้
ฮุเซนมาจากฉันและฉันก็มาจากฮุเซน
ศอฮาบะห์ในมุมมองของชีอะห์
"อัศฮาบีย์" ประชาชาติของฉัน
ชีอะห์ใส่ร้ายศอฮาบะห์ว่าเป็นมุนาฟิก
พฤหัสบดีวิปโยค
จุดยืนของท่านอาลีที่มีต่อท่านอบูบักร์และท่านอุมัร
เมื่อท่านอาลีประณามและสาปแช่งชีอะฮ์

รายงานความคืบหน้าการนัดสนทนาระหว่างซุนนะห์กับชีอะฮ์


Moradokislam.org FAQ (ถาม/ตอบ)



ประเภท: หน้าแรก ->

คำถาม
·  คำถามที่ 1 เราสามารถเข้าไปละหมาดในมัสยิดชีอะห์ได้หรือไม่ และจะได้ผลบุญเช่นเดียวกับมัสยิดทั่วไปไหม ?
·  คำถามที่ 2 ละหมาดรวมและย่อเป็นประจำถูกต้องไหม?
·  คำถามที่ 3 รับสลามในขณะละหมาด จะเสียละหมาดหรือไม่
·  คำถามที่ 4 การใส่หมวกและใส่กางเกงในขณะละหมาด
·  คำถามที่ 5 ผู้หญิงต้องอาบน้ำวันศุกร์ด้วยหรือไม่
·  คำถามที่ 6 เปื้อนฉี่ต้องอาบน้ำละหมาดใหม่หรือไม่ ?
·  คำถามที่ 7 ละหมาดซุบฮ์นอกเวลาได้ไหม
·  คำถามที่ 12 ฮัจญีอักบัรคืออะไร ซาอุดี้เลื่อนวันวุกูฟเพราะกลัวตรงกับฮัจญีอักบัรใช่ไหม
·  คำถามที่ 8 การเตาบะห์และการอาบน้ำเตาบะห์ทำอย่างไร
·  คำถามที่ 9 ผู้ที่อาบน้ำมัยยิตต้องอาบน้ำให้ตัวเองด้วยหรือไม่
·  คำถามที่ 10 อะกีเกาะฮ์
·  คำถามที่ 11 วันศุกร์ตรงกับวันอีดจะทำอย่างไร
·  คำถามที่ 13 มุศ็อลลา
·  คำถามที่ 14 ถอดรองเท้าโคฟเสียน้ำละหมาดไหม?
·  คำถามที่ 15 อาบน้ำซุนนะห์กับอาบน้ำวาญิบ
·  คำถามที่ 16 ที่มาของการถือศีลอด
·  คำถามที่ 17 ระยะทางในการละหมาดย่อ
·  คำถามที่ 18 ต้องออกซะกาตไหม
·  คำถามที่ 19 วันอะรอฟะห์และวันอีดิ้ลอัฏฮา
·  คำถามที่ 20 ทำไมละหมาดอีดก่อนซาอุดี้
·  คำถามที่ 21 ไม่อ่านได้ไหม
·  คำถามที่ 22 การเยี่ยมกุโบร์ และพิธีกรรมที่เกี่ยวข้อง
·  คำถามที่ 23 ขอดุอาอ์ให้กาเฟร
·  คำถามที่ 24 การใส่หมวดโพกสะระบั่นเป็นซุนนะห์หรือเปล่า
·  คำถามที่ 25 วัวที่จะทำกุรบานหายไปจะทำอย่างไร
·  คำถามที่ 26 รวมไม่ได้หรือ

คำตอบ
·  คำถามที่ 1 เราสามารถเข้าไปละหมาดในมัสยิดชีอะห์ได้หรือไม่ และจะได้ผลบุญเช่นเดียวกับมัสยิดทั่วไปไหม ?

คำตอบโดย อาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้

มัสยิดที่อิสลามสนับสนุนให้ไป และมีผลบุญแตกต่างจากมัสยิดอื่นในการปฏิบัติมี 3 ที่ด้วยกันคือ มัสยิดฮะรอม (อยู่ที่นครมักกะห์) มัสยิดอัลอักศอ (อยู่ที่กรุงเยรูซาเล็ม) และมัสยิดนบี (อยู่ที่นครมะดีนะห์) ส่วนมัสยิดอื่นๆ ที่นอกเหนือจากนี้มีผลบุญไม่ต่างกัน ยกเว้นมัสยิดของชาวชีอะห์ (อิหม่ามสิบสอง) ที่ไม่นับว่าเป็นมัสยิดตามข้อกำหนดของศาสนา และไม่อนุญาตให้เข้าไปละหมาดในมัสยิดดังกล่าว เพราะมิได้ถูกสร้างและใช้อิบาดะห์ตามบัญญัติของอิสลาม
พระองค์อัลลอฮ์ได้ทรงกล่าวว่า

مَا كَانَ لِلْمُشْرِكِيْنَ أنْ يَعْمُرُوا مَسَاجِدَ اللهِ شَاهِدِيْنَ عَلى أنْفُسِهِمْ بِالْكُفر


“ไม่ใช่หน้าที่ของบรรดามุชริกในการบูรณะบรรดามัสยิดของอัลลอฮ์ ทั้งที่พวกเขายืนยันด้วยตัวของพวกเขาเองแล้วด้วยการปฏิเสธศรัทธา” ซูเราะห์อัตเตาะห์ อายะห์ที่ 17

เมื่อย้อนกลับไปดูในยุคของท่านนบี มูฮัมหมัด ศ็อลล็อลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จะพบว่า มัสยิดในทำนองนี้ได้ถูกสร้างขึ้นด้วยฝีมือของชาวยะฮูดี เพื่อใช้บังหน้าในการทำลายมุสลิมและ อิสลาม พระองค์อัลลอฮ์ได้ทรงขนานนามมัสยิดนี้ว่า “มัสยิดดิรอร” หมายถึงมัสยิดที่เป็น ภัยอันตราย
พระองค์อัลลอฮ์ได้ทรงกล่าวว่า

وَالَدِيْنَ اتَخَدُوا مَسْجِداً ضِرَاراً وَكُفْراً وَتَفْرِيْقاً بَيْنَ الْمُؤْمِنِيْنَ وَاِرْصَاداً لِمَنْ حَارَب اللهَ وَرَسُوْلَهُ مِنْ قَبْلُ وَلَيَحْلِفُن اِنْ اَرَدْنَا اِلا الْحُسْنَى وَاللهُ يَشْهَدُ اِنهُمْ لَكَادِبُوْنَ


“และบรรดาผู้ที่ได้เอามัสยิดเพื่อก่ออันตรายและการปฏิเสธ และเพื่อการแตกแยกในหมู่ผู้ศรัทธา อีกทั้งยังเป็นที่ซ่องสุมของผู้ที่ทำสงครามกับอัลลอฮ์และรอซูลของพระองค์ก่อนหน้านั้น โดยที่พวกเขาได้สาบานว่าไม่ได้มีวัตถุประสงค์อื่นนอกจากสิ่งที่ดีเท่านั้น แต่อัลลอฮ์ทรงเป็นพยานยืนยันว่า พวกเขาเป็นผู้ที่โกหกจริงๆ” ซูเราะห์อัตเตาบะห์ อายะห์ที่ 107

لاَ تَقُمْ فِيْهِ أَبَداً لَمَسْجِدٌ أُسِسَ عَلى الْتَقْوَى مِنْ أَولِ يَوْمٍ أَحَقُ أَنْ تَقُوْمَ فِيْه


“เจ้าจงอย่าได้ยืนละหมาดในมัสยิดนั้นเป็นอันขาด หากแต่มัสยิดที่ถูกวางรากฐานบนความยำเกรงตั้งแต่วันแรกสมควรยิ่งกว่าที่เจ้าจะยืนละหมาดในมัสยิดนั้น” ซูเราะห์อัตเตาบะห์ อายะห์ที่ 108

หลังจากที่อัลกุรอานอายะห์ข้างต้นได้ถูกประทานลงมาท่านนบีจึงได้สั่งให้บรรดาศอฮาบะห์ทุบมัสยิดดิรอรทิ้ง หากแต่ในบ้านเมืองเราคงไม่สามารถที่จะทุบมัสยิดใดทิ้งได้เพราะติดข้อจำกัดทางกฏหมาย แต่ถ้าได้พิจารณาแล้วจะพบว่า นอกจากมัสยิดของชีอะห์ (อิหม่ามสิบสอง) แล้ว ยังมีอีกหลายมัสยิดที่ใช้เป็นแหล่งซ่องสุมในการทำซิริกต่ออัลลอฮ์ ใครรับผิดชอบหรือ ?

คณะผู้บริหารมัสยิดช่วยตอบที


[ กลับไปข้างบน ]

·  คำถามที่ 2 ละหมาดรวมและย่อเป็นประจำถูกต้องไหม?


ทำงานอยู่ที่ต่างจังหวัด (จ.ชลบุรี) ต้องเดินทางไปกลับทุกวันที่กรุงเทพ - ชลบุรี และได้ละหมาด ดุฮริ และ อัสริ ที่ทำงานละหมาดแบบเดินทาง 2 ร็อกอะฮ รวบ 2 เวลา ทำเช่นนี้ถูกต้องมั้ย และอยากทราบวิธีที่ถูกต้อง ช่วยตอบด้วยครับ จากคุณ rainbow สมาชิก www.moradokislam.net

คำตอบโดย...อาจารย์ฟาริด เฟ็นดี้

อิสลามได้กำหนดรูปแบบของการละหมาดฟัรดู(ที่ไม่ได้อยู่ระหว่างการทำศึก) ไว้ 3 ประเภทด้วยกันคือ

1 – ละหมาดของคนปกติ
2 – ละหมาดของคนมีอุปสรรค์
3 – ละหมาดของคนเดินทาง

สำหรับใครจะอยู่ในประเภทไหนก็ต้องขึ้นอยู่กับสภาพและสถานะของผู้นั้น
1 - ขอเว้นที่จะพูดถึงรูปแบบการละหมาดของคนที่อยู่ปกติในข้อที่ 1 เพราะเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้ว

2 - สำหรับผู้ที่อยู่ในสภาพมีอุปสรรค์ เช่น เจ็บป่วย หรือมีเหตุ อันอาจจะทำให้ไม่สามารถละหมาดได้ตรงตามเวลาที่ถูกกำหนดไว้ ก็สามารถที่จะรวมละหมาดได้ วิธีการก็คือ นำละหมาดซุฮ์ริ กับอัศริมารวมกัน โดยจะเอาซุฮ์ริมารวมในเวลาอัศริ หรือเอาอัศริมารวมในเวลาซุฮ์ริก็ได้ แต่ไม่ต้องย่อ และเอามัฆริบกับอีชามารวมกัน โดยจะเอามัฆริบมารวมในเวลาอีชา หรือเอาอีชามารวมในเวลามักริบก็ได้เช่นเดียวกัน แต่..ไม่ต้องย่อ
อบูซุบัยร์ได้รายงานจากสะอี๊ด บินญุบัยร์ โดยฟังมาจากอิบนิอับาสว่า ท่านรอซูลุลลอฮ์ ได้ละหมาดซุฮ์ริกับอัศริรวมกันที่มะดีนะห์ โดยที่ไม่ได้อยู่ในภาวะสงครามและไม่ได้เดินทาง อบูซุเบรกล่าวว่า ฉันถามสะอี๊ดว่า ทำใมจึงทำเช่นนั้น เขาตอบว่า ฉันก็เคยถามอิบนิอับบาสอย่างนี้เหมือนกัน เขาตอบว่า ท่านรอซูลไม่ต้องการให้เกิดความยากลำบากแก่ประชาชาติของท่าน” บันทึกโดย อิหม่ามมุสลิม ฮะดีษที่ 1147

3 - ส่วนผู้ที่อยู่ในสภาพของผู้เดินทางนั้น สามารถที่จะรวมและย่อละหมาดได้ด้วย วิธีการก็คือ นำละหมาดซุฮ์ริ กับอัศริมารวมกัน โดยละหมาดอย่างละ 2 ร็อกอะห์ (จะเอาซุฮ์ริมารวมในเวลาอัศริ หรือเอาอัศริมารวมในเวลาซุฮ์ริก็ได้ ) และเอามัฆริบกับอีชามารวมกัน โดยละหมาดมัฆริบ 3 ร็อกอะห์ เสร็จแล้วละหมาดอีชาอีก 2 ร็อกอะห์ (จะเอามัฆริบมารวมในเวลาอีชา หรือเอาอีชามารวมในเวลามักริบก็ได้เช่นเดียวกัน)

ในกรณีของคุณ rainbow ที่ทำงานอยู่จังหวัดชลบุรี และเดินทางไปกลับเป็นประจำทุกวัน จะอยู่ในข้อที่ 2 หรือ 3 ก็ขึ้นอยู่สภาพของคุณเอง และคุณคงให้คำตอบแก่ตัวเองได้ว่า คุณมีอุปสรรค์หรือเปล่า หรือคุณอยู่ในสภาพของผู้เดินทาง

แต่ที่สำคัญ... คุณต้องทราบว่าสถานที่ใดเป็นที่อาศัยที่เป็นหลักแหล่งของคุณ เพราะเมื่อคุณได้อยู่ในที่อาศัยที่เป็นหลักแหล่งของคุณแล้ว คุณก็หมดสภาพของผู้เดิน ไม่สามารถละหมาดรวมและย่อได้



........................................................................................................................

[ กลับไปข้างบน ]

·  คำถามที่ 3 รับสลามในขณะละหมาด จะเสียละหมาดหรือไม่

คำถามที่ 3 ถามว่าดิฉันละหมาดอยู่คนมาให้สลามซะเสียงดังอยู่ข้าง ๆ ทำให้ดิฉันตกใจบางครั้งก็รับสลามแต่รับอยู่ในใจ ถามว่าละหมาดนั้นใช้ได้หรือไม่? จากคุณ supatra สมาชิก moradokislam.net

คำตอบโดย อาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้

ในขณะที่เรากำลังละหมาด ร่างกายของเราก็อยู่ในท่าละหมาด ปากเราก็อ่านไปตามลำดับของการละหมาดตามความเคยชิน แต่หัวใจของเราอาจจะไปนึกคิดในสิ่งอื่นเป็นบางช่วงบางตอน หรือบางทีก็หันไปมองทางอื่นโดยไม่เจตนา ถ้าเป็นเช่นนี้ต้องรีบดึงหัวใจกลับมาให้อยู่กับการละหมาดทันที
อย่างในกรณีที่คุณ supatra ได้ประสบก็คือเผลอรับสลามในใจ โดยไม่เจตนานั้น แม้ว่าจะไม่ทำให้เสียละหมาด แต่ก็ทำให้ภาคผลของการละหมาดนั้นพร่องไป
ท่านหญิงอาอิชะห์ รอดิยัลลอฮุอันฮา รายงานว่า

“ฉันเคยถามท่านรอซูลุลลอฮ์ เกี่ยวกับการหันซ้ายหันขวาในละหมาด ท่านตอบว่ามันคือการฉกฉวย ซึ่งชัยตอนมันจะฉกเอาจากการละหมาดของบ่าว” บันทึกโดยิหม่ามบุคคอรี ฮะดีษที่ 709



........................................................................................................................

[ กลับไปข้างบน ]

·  คำถามที่ 4 การใส่หมวกและใส่กางเกงในขณะละหมาด

คำถาม ผมเป็นคนไม่ค่อยชอบใส่หมวก ดังนั้นเวลาละหมาดผมจึงไม่ใส่หมวก จะผิดไหมครับ เคยฟังอาจารย์บางท่านบอกว่าไม่เป็นไรใส่หรือไม่ใส่ก็ได้
และเวลาละหมาดใส่กางเกงในได้ไหมครับ ขอให้อาจารย์ช่วยตอบด้วยครับ

คำตอบโดย อาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้

ในละหมาดมีรุก่นและซุนนะห์
รุก่นหมายถึงสิ่งที่จำเป็นต้องกระทำ หากไม่ทำถือว่าการละหมาดใช้ไม่ได้ เช่นการรุกัวอ์ และสุญูด
ส่วนซุนนะห์นั้นหมายถึงสิ่งที่ไม่บังคับให้กระทำ แต่ถ้าทำก็มีผลบุญเพิ่ม เช่นการอ่านดุอาอ์อิฟติตาฮ์ เป็นต้น

การใส่หมวกหรือโพกสาระบั่นเป็นประเพณีนิยมของคนแต่ละท้องถิ่น ไม่ใช่ทั้งรุก่นและซุนนะห์ในละหมาด จะใส่หรือไม่ ก็ไม่ทำให้การละหมาดบกพร่องหรือมีผลบุญมากยิ่งขึ้น

ส่วนฮะดีษที่อ้างว่า “การโพกสาระบั่นในละหมาดประเสริฐกว่า การละหมาดโดยไม่โพกสาระบั่น 25 เท่า” นั้นเป็นฮะดีษฏออีฟ ไม่สามารถนำมาเป็นหลักฐานในเรื่องนี้ได้

การใส่กางเกงในขณะละหมาดก็เช่นเดียวกัน ไม่ได้ทำให้ผลบุญของการละหมาดมากยิ่งขึ้นหรือบกพร่องแต่ประการใด

แต่ถ้าใส่กางเกงในอย่างเดียวโดยไม่มีอาภรณ์อื่นปกปิด ละหมาดนั้นใช้ไม่ได้ครับ


[ กลับไปข้างบน ]

·  คำถามที่ 5 ผู้หญิงต้องอาบน้ำวันศุกร์ด้วยหรือไม่

คำถาม จำเป็นรึเปล่าที่ผู้หญิงจะต้องอาบน้ำยกฮะดัส ในทุกวันศุกร์
>>>>มีเพื่อนบ้านบอกมา ว่าให้อาบ >>>>>เลยไม่แน่ใจว่าถูกต้องรึเปล่า
คำตอบโดย อาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้

การอาบน้ำวันศุกร์นั้นไม่วาญิบ (ไม่จำเป็น) ทั้งชายและหญิง แต่เป็นซุนนะห์ ที่ศาสนาส่งเสริมให้กระทำ
ท่านนบีมูฮัมหมัด ศอ็ลลอ็ลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

الغسل يوم الجمعة واجب على كل محتلم


“การอาบน้ำวันศุกร์นั้นจำเป็นแก่ผู้บรรลุศาสนภาวะทุกคน” รายงานโดยอบูสะอี๊ด อัลคุดรีย์ บันทึกโดยอิหม่ามบุคคอรี ฮะดีษที่ 811

คำว่า วาญิบ ในฮะดีษข้างต้นนี้ อยู่ในขอบข่ายของการส่งสริมให้กระทำ ทั้งชายและหญิง ถึงแม้ว่าการละหมาดวันศุกร์จะจำเป็นสำหรับผู้ชายก็ตาม แต่หากผู้หญิงจะไปร่วมละหมาดวันศุกร์ด้วยก็มีซุนนะห์ให้อาบน้ำวันศุกร์ด้วยเช่นเดียวกัน


[ กลับไปข้างบน ]

·  คำถามที่ 6 เปื้อนฉี่ต้องอาบน้ำละหมาดใหม่หรือไม่ ?


คำถาม โดยคุณอันดา

อัสลามมุอะลัยกุ้ม วิทยากรและทีมงานทุกคน ขณะที่เราอุ้มลูกหรือเด็กๆ แล้วลูกเกิดฉี่หรืออึใส่เราและเราพาเขาไปล้างและตัวเราเองก็มีน้ำละหมาดแล้ว เราต้องอาบน้ำละหมาดใหม่หรือไม่ อยากให้อาจารย์ฟารีดหรือผู้รู้ช่วยตอบด้วยครับ

คำตอบโดย อาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้

ผู้ถามไม่ได้บอกด้วยว่า เด็กอายุกี่ขวบ แต่ถ้าอุ้มแล้วฉี่ใส่ ก็คงจะเป็นเด็กเล็กๆ และกว่าที่ผมจะตอบมาถึงคำถามนี้ เด็กคนนี้คงจะโตแล้วกระมัง ขอมะอัฟด้วยที่ตอบคำถามล่าช้า....

เด็กที่ยังเป็นทารกอยู่โดยกินนมมารดาเพียงอย่างเดียวนั้น ถ้าเขาฉี่รดก็ใช้น้ำพรมก็พอ แต่ถ้าเป็นฉี่ของเด็กที่กินอาหารอื่นนอกจากนมมารดาแล้วก็ต้องล้างบริเวณที่เปื้อน และล้างที่ตัวเราเองด้วย เพราะถือว่าเป็นนะยิส แต่ไม่ทำให้เราเสียน้ำละหมาด แค่ล้างเท่านั้น ไม่ต้องอาบน้ำละหมาดใหม่ นอกจากเราจะฉี่เอง อย่างนี้เสียแน่ๆ


………………………………………..........................................................................................


[ กลับไปข้างบน ]

·  คำถามที่ 7 ละหมาดซุบฮ์นอกเวลาได้ไหม

คำถามโดย เยาวชนเปรงสมอเซ

ถึงอาจารย์มรดกทุกท่าน....... ช่วยตอบหน่อยครับ..................ผมทำงานแบบเวียน 3 กะ หรือ 3 ทีมงาน และผมได้เข้าทำงานช่วงเวลาหนึ่ง เข้าทำงานประมาณ 22.30 ออกทำงานประมาณ 6.30 ผมมีเวลาพอจะละหมาดซุบฮิได้หรือไม่ ผมกลับมาถึงบ้าน 6.45 น. อัสลาม

คำตอบโดย อาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้

หนึ่งในหน้าที่หลักของมุสลิมคือรักษาการละหมาดฟัรดูให้ตรงเวลา ยกเว้นลืมหรือนอนหลับโดยไม่เจตนาที่จะให้เลยเวลาละหมาด ซึ่งในกรณีนี้ไม่มีโทษ แต่เมื่อตื่นนอนหรือนึกขึ้นได้ต้องรีบละหมาดไม่ว่าขณะนั้นจะอยู่ในเวลาใดก็ตาม เพราะการเข้าเวลาละหมาดสำหรับคนหลับเมื่อตื่น และคนลืมเมื่อนึกได้ ท่านอะนัส บินมาลิกรายงานว่า ท่านนบีได้กล่าวว่า

“ผู้ใดลืมละหมาดก็จงละหมาดเมื่อนึกขึ้นได้ ไม่มีการจ่ายใดๆทดแทนนอกจากการละหมาดเท่านั้น” บันทึกโดยอิหม่ามบุคคอรี ฮะดีษที่ 562

สำหรับกรณีของผู้ที่มีอุปสรรค์ เช่นพ่อครัวที่อยู่หน้าเตาไฟ หรือผู้ป่วย ก็สามารถที่จะรวมละหมาดได้ ( โดยไม่ย่อ ) วิธีการปฏิบัติคือ นำเวลาบ่ายกับอัศริมารวมกัน (จะเอาบ่ายไปรวมในเวลาอัศริหรือเอาอัศริมารวมในเวลาก็ได้) และนำเวลามักริบรวมกับอีชา (จะเอามักริบไปรวมกับอีชาหรือเอาอีชามารวมในเวลามักริบก็ได้) ท่านอิบนุอับบาสรายงานว่า

“ท่านรอซูลุลลอฮ์ ได้รวมละหมาดบ่ายกับอัศริ และละหมาดมัฆริบกับอีชา ณ.มะดีนะห์ โดยไม่มีเหตุของสงครามหรือฝนตก มีผู้ถามอิบนุอับบาสว่า แล้วท่านรอซูลทำเช่นนั้นเพราะอะไร อิบนุอับบาสตอบว่า เพื่อไม่ให้เกิดความยากลำบากแก่ประชาชาติของท่าน” บันทึกโดยมุสลิม ฮะดีษที่ 1151

ผู้ที่มีอุปสรรค์สามารถที่จะรวมละหมาดได้ แต่ต้องจับคู่ให้ถูกคือ เอาบ่ายรวมกับอัศริ หรือมักริบรวมกับอีชา แต่ปัญหาของผู้ถามคือเวลาซุบฮิซึ่งเป็นเวลาเดี่ยวรวมกับเวลาอื่นไม่ได้ หรือจะทำก่อนเข้าเวลาก็ไม่ได้ ฉะนั้นผู้ถามจึงต้องพยายามหาวิธีละหมาดให้ได้ตามเวลาก่อน นอกจากสุดวิสัยจริงๆ ก็ต้องละหมาดในเวลาที่สามารถทำได้นั่นแหละครับ


…………………………………………………………………………..


[ กลับไปข้างบน ]

·  คำถามที่ 12 ฮัจญีอักบัรคืออะไร ซาอุดี้เลื่อนวันวุกูฟเพราะกลัวตรงกับฮัจญีอักบัรใช่ไหม


คำถามโดยคุณ rena

รบกวนอาจารย์หน่อยคะ
เขาพูดกันว่าปีนี้เป็นฮัจญีอักบัร ซาอุดี้เลื่อนวันวุกูฟเพราะกลัวตรงกับฮัจญีอักบัร ขอถามอาจารย์ว่า ฮัจญีอักบัรคืออะไร ซาอุดี้เลื่อนวันวุกูฟจริงไหม และทำไมต้องเลื่อนด้วย อยากให้ตอบด่วน ยะซากัลลอฮฺ

คำตอบโดย อาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้

คำว่าฮัจญีอักบัร แปลว่า ฮัจญ์ที่ยิ่งใหญ่ พวกเราในอดีตมักจะกล่าวกันว่า ถ้าปีไหนวันศุกร์ตรงกับวันวุกูฟ ปีนั้นจะเป็นฮัจญีอักบัร ใครที่ไปทำฮัจญ์ในปีนั้นจะได้ภาคผลเท่ากับทำฮัจญ์พร้อมท่านท่านนบี 70 ครั้ง

ความเข้าใจเช่นนี้เป็นที่โจษขานกันมาเนิ่นนาน แต่หาหลักฐานทางศาสนามายืนยันไม่ได้ การที่กล่าวอ้างว่า ทำอย่างนี้ได้เท่านั้น หรือทำอย่างนั้นได้เท่านี้ ไม่ใช่เรื่องที่เราจะมาทึกทักกันเอง และถ้าอ้างว่าท่านนบีเป็นคนกล่าว ก็ต้องหาตัวบทหลักฐานที่ศอเฮียะห์ (ฮะดีษศอเฮียะห์) มายืนยันให้ได้ หากไม่มีหรือหาไม่ได้ก็ต้องหยุดกล่าว ไม่เช่นนั้นก็จะเป็นการแอบอ้างโกหกมดเท็จต่อท่านนบี

จริงอยู่..แม้ว่าในปีที่นบีไปทำฮัจญ์ครั้งแรกและครั้งสุดท้ายนั้น วันวูกุฟของท่านจะตรงกับวันศุกร์ก็ตามแต่ก็มิใช่เป็นกรณีพิเศษ ท่านมิได้สั่งการหรือบอกกล่าวเรื่องนี้ไว้อย่างหนึ่งอย่างใดตามที่พวกเราเข้าใจ
ส่วนข้อความในอัลกุรอาน ซูเราะห์อัตเตาบะห์ อายะห์ที่ 3 ที่พระองค์อัลลอฮ์ได้กล่าวว่า

وَآذَانٌ مِنَ اللهِ وَرَسُوْلِهِ اِلىَ النَاسِ يَوْمَ الحَجِّ الأكبَرِ اِنَّ اللهَ بَرِئٌ مِنَ المُشْرِكِيْنَ وَرَسُوْلُهُ


“และนี่เป็นประกาศจากอัลลอฮ์และรอซูลของพระองค์ที่มีต่อมนุษยชาติ ณ วันฮัจญ์ที่ยิ่งใหญ่ แท้จริงอัลลอฮ์และรอซูลของพระองค์ได้พ้นจากข้อสัญญาที่มีต่อบรรดามุชรีกีน”


ผู้ที่กล่าวอ้างเรื่องฮัจญีอักบัรก็จะใช้อายะห์ข้างต้นนี้เป็นหลักฐาน แต่ข้อความในอายะห์ข้างต้นนี้ แม้จะมีคำว่า ฮัจญีอักบัร (ฮัจญ์ใหญ่) อยู่จริง แต่ก็ไม่ปรากฏรายละเอียดว่าเป็นเช่นไร จึงมีบางคนทึกทักเอาว่า น่าจะเป็นกรณีที่วันศุกร์ตรงกับวันวุกูฟมั้ง เพราะวันวุกูฟของท่านนบีตรงกับวันศุกร์ นี่เป็นการนำเอา 2 เรื่องมาประกบกันเอง และทึกทักกันเอาเอง

แต่ในหนังสือตัฟซีรทั้งหลายได้อรรถาธิบายคำว่า เยาว์มัลฮัจญิลอักบัร (วันฮัจญ์ใหญ่) ก็คือ วันอะรอฟะห์ หมายถึงวันวุกูฟที่ทุ่งอะรอฟะห์ และบางท่านก็อธิบายว่า คือวันนะฮัร หมายถึงวันเชือดวันแรกหรือวันอีดิ้ลอัฏฮานั่น ซึ่งไม่ได้เกี่ยวว่าวันอะรอฟะห์ หรือวันนะฮัร จะตรงกับวันศุกร์หรือไม่ ฉะนั้นฮัจญีอักบัรจึงหมายถึงการทำฮัจญ์ที่มีทุกปี ส่วนฮัจญ์เล็ก ก็คือการทำอุมเราะห์นั่นเอง

และเมื่อเราเข้าใจเรื่องนี้ผิดพลาด ก็จึงไปกล่าวหาซาอุดี้ว่าเลื่อนวันวุกูฟเพราะกลัวจะตรงกับวันศุกร์ เราผิดยังไม่พอ ยังต้องไปกล่าวหาผู้อื่นว่าผิดอีกด้วย

ที่สำคัญก็คือ บรรดาแซะห์ที่พาคนไปทำฮัจญ์มักจะเอาเรื่องฮัจญีอักบัร ตามนิยายปรัมปราเป็นจุดขาย แต่..

ท่านมีรายได้จากการขายศาสนา มันจะคุ้มกันหรือ?


........................................................................................................................


[ กลับไปข้างบน ]

·  คำถามที่ 8 การเตาบะห์และการอาบน้ำเตาบะห์ทำอย่างไร


คำถาม

การเตาบะห์คืออะไร เคยได้ยินมาว่า คนที่เตาบัตตัวต้องอาบน้ำเตาบัตด้วย อยากให้อาจารย์ช่วยแนะนำว่าทำอย่างไร ขออัลเลาะห์ตอบแทนอาจารย์และครอบครัวด้วย จากคนรู้น้อย

คำตอบโดย อาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้

เตาบะห์ หรือ เตาบัต คือการขอลุแก่โทษ สำนึกผิด ขออภัยโทษต่อพระองค์อัลลอฮ์เมื่อละเมิดหรือฝ่าฝืนบัญญัติของพระองค์
เมื่อมุสลิมสำนึกผิด กลับเนื้อกลับตัว เสียใจในความผิดที่เคยทำมา และตั้งใจจะไม่หวนกลับไปทำความผิดนั้นอีก เขาวิงวอนขออภัยโทษต่อพระองค์อัลลอฮ์ อย่างนี้เรียกว่า เตาบะห์นะซูฮา คือการขอลุแก่โทษต่อพระองค์อัลลอฮ์อย่างจริงๆ
พระองค์อัลลอฮ์ได้ทรงกล่าวว่า

يَأيْهَا الّذِيْنَ آمَنُوا تُوْبُوا اِلَى اللهِ تَوْبَةً نَصُوْحًا عَسَى رَبُّكُمْ أَنْ يُكًفِّرَ عَنْكُمْ سَيِّئَاتِكُم
وَيُدْخِلَكُمْ جَنَّاتٍ تَجْرِي مِنْ تَحْتِهَا الأنْهَارُ


“โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงขอลุแก่โทษต่อพระองค์อัลลอฮ์ ด้วยการสำนึกผิดอย่างจริงๆเถิด เพื่อว่าองค์อภิบาลของพวกเจ้าจะลบล้างความผิดของพวกเจ้า และจะให้พวกเจ้าได้เข้าสวรรค์ ซึ่งเบื้อล่างของสวรรค์นั้นมีลำธารน้ำหลากหลาย” ซูเราะห์อัตตะห์รีม อายะห์ที่ 8

การที่บ่าวสึกผิดจากที่เคยละเมิดข้อบัญญัตินี้ไม่จำเป็นต้องโพทะนาให้ใครทราบ และต้องขอลุแก่โทษต่อพระองค์อัลลอฮ์เท่านั้น มิใช่ขอลุแก่โทษแก่ท่านครู หรืออิหม่ามคนใด และการขอลุแก่โทษนี้ไม่จำเป็นต้องมีพยาน ซึ่งต่างจากคำสอนในศาสนาอื่นที่ต้องสารภาพผิดต่อบาทหลวง

ส่วนเรื่องการอาบน้ำอันเนื่องมาจากการเตาบะห์นั้น ไม่มีหลักฐานทางศาสนาให้ปฏิบัติ นอกจากกรณีที่มารับอิสลาม ซึ่งมีซุนนะห์ (สนับสนุนให้กระทำ) ดังเช่นท่านนบีได้ใช้ให้ กอยซ์ อิบนุ อาศิม ให้อาบน้ำชำระล้างร่างกาย เมื่อเขาเข้ารับอิสลาม


........................................................................................................................


[ กลับไปข้างบน ]

·  คำถามที่ 9 ผู้ที่อาบน้ำมัยยิตต้องอาบน้ำให้ตัวเองด้วยหรือไม่

คำถามโดยคุณ รอยยา สมาชิก moradokislam.org

ดิฉันได้ฟังอาจารย์ท่านหนึ่งบอกว่า ผู้ที่อาบน้ำให้กับมายัตนั้น จำเป็นต้องอาบน้ำให้กับตัวเองเหมือนกับอาบน้ำยกฮะดัษ แล้วให้อาบน้ำละหมาดด้วย อยากให้อาจารย์ช่วยอธิบายว่า ศาสนาสั่งอย่างไร ญะซากัลลอฮุคอยร็อน

คำตอบโดย อาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้

ก่อนที่จะตอบคำถาม ขอย้ำสักนิดว่า การอาบน้ำญะนาซะห์นั้นต้องปฏิบัติแก่ผู้ตายด้วยความนุ่มนวล แม้ว่าผู้ตายจะไม่ใช่ญาติของเขาก็ตาม และที่สำคัญก็คือ ผู้ที่อาบน้ำให้แก่ผู้ตายนั้น ต้องปกปิดข้อตำหนิที่เขาได้พบเห็นบนเรือนร่างของผู้ตายด้วย เพราะเท่าที่พบเห็นก็มีเจ้าหน้าที่ประจำมุเก่มบางท่านละเลยในเรื่องนี้

ส่วนที่ถามว่า ผู้ที่อาบน้ำมัยยิตต้องอาบน้ำให้กับตัวเองด้วยหรือไม่นั้น เรื่องนี้บรรดานักวิชาการเข้าใจตรงกันว่าเป็นซุนนะห์ จากคำสอนของท่านนบีดังนี้

" من غسَّل ميتاً فليغتسل ، ومن حمله فليتوضأ "


“ผู้ใดอาบน้ำให้แก่มัยยิต เขาก็จงอาบน้ำให้กับตัวเองด้วย และผู้ใดที่แบกมัยยิตก็จงอาบน้ำละหมาด” บันทึกโดยอบูดาวูด และติรมีซีย์

คำสั่งของท่านนบีข้างต้นนี้เป็นคำสั่งสนับสนุนให้กระทำ (ซุนนะห์) แต่ไม่ถึงขั้นจำเป็น (วาญิบ) ซึ่งเป็นความเข้าใจของเหล่าศอฮาบะห์ เช่น ท่านอิบนุอับบาส ท่านอิบนุอุมัร และท่านหญิงอาอิชะห์ เป็นต้น
ท่านอับดุลลอฮฺ อิบนุอุมัร รายงานว่า

" كنا نغسل الميت ، فمنَّا من يغتسل ومنَّا من لا يغتسل "


“พวกเราได้เคยอาบน้ำให้แก่มัยยิต หลังจากนั้นพวกเราบางคนก็อาบน้ำและบางคนก็ไม่ได้อาบน้ำ” บันทึกโดย อัลดารุกฏนีย์

สำหรับผู้ที่ทำหน้าที่อาบน้ำให้แก่ผู้ตาย หากมีเวลาเหลือก็สมควรที่จะอาบน้ำให้แก่ตัวเอง แต่หากไม่มีเวลาที่จะอาบน้ำ ท่านเพียงทำน้ำละหมาดแล้วก็ละหมาดญะนาซะห์ได้เลย


........................................................................................................................


[ กลับไปข้างบน ]

·  คำถามที่ 10 อะกีเกาะฮ์

คำถามโดยสมาชิก www.moradokislam.org

อยากถาม เรื่องการทำอากีเกาะสำหรับเด็กแรกเกิดต้องทำทุกคนหรือไม่ ถ้าไม่มีเงินพอที่จะทำจะเป็นอะไรหรือไม่

คำตอบโดย อาจารย์ฟรีด เฟ็นดี้

คนบ้านเรามักจะเรียกการทำอะกีเกาะห์ว่า “โกนผมไฟ” ที่จริงแล้วคำว่าผมไฟนี้หมายถึงผมของเด็กอ่อนที่มีขึ้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ส่วนคำว่า “อะกีเกาะห์” หมายถึงการเชือดสัตว์(ที่ถูกกำหนด)ให้ทารกในวันที่เจ็ดนับตั้งแต่วันคลอด ฉะนั้นการให้ความหมาย อะกีเกาะห์ ด้วยคำว่า โกนผมไฟ จึงไม่ตรงประเด็นนัก

ส่วนที่ถามว่าต้องทำอะกีเกาะห์ให้เด็กแรกเกิดทุกคนหรือไม่ ขอตอบว่า อิสลามมิได้บัญญัติเรื่องใดที่เกินความสามารถ หากไม่มีความสามารถที่จะกระทำก็ไม่เกิดโทษแต่อย่างใด
รายงานจากท่านซามุเราะห์ บุตรของญุนดุบว่า ท่านรอซูลุลลอฮ์ ได้กล่าวว่า

كُلُّ غُلاَمٍ رَهِيْنٌ بِعَقِيْقَتِهِ تُذْبَحُ عَنْهُ يَوْمَ سَابِعِهِ وَيُحْلَقُ رَأْسُهُ وَيُسَمَّى


“ทารกทุกคนได้รับการประกันด้วยอะกีเกาะห์ของเขาที่ถูกเชือดให้แก่เขาในวันที่เจ็ด และโกนศรีษะรวมทั้งตั้งชื่อด้วย” บันทึกโดยสุนันนะซาอีย์ ฮะดีษเลขที่ 4149

หากพ่อของเด็กไม่สามารถผู้เป็นญาติหรือคนใกล้ชิดจะทำแทนให้ก็ได้ เช่นเมื่อครั้งที่ท่านนบีได้หลาน ท่านก็ทำอะกีเกาะห์ให้แก่หลานซึ่งเป็นบุตรชายของท่านอาลีกับท่านหญิงฟาติมะห์ ที่ชื่อฮะซันและฮุเซน

ในวันที่เจ็ดนี้หากท่านไม่สามารถเชือดสัตว์ได้ ท่านก็สามารถจะโกนศรีษะของเด็กและตั้งชื่อให้เด็ก

ทำเท่าที่มีความสารถนี่คือคำสอนของอิสลาม


........................................................................................................................


[ กลับไปข้างบน ]

·  คำถามที่ 11 วันศุกร์ตรงกับวันอีดจะทำอย่างไร

คำถามโดยคุณ UMAR

ถามอาจารย์ฟารีดครับ
คนที่ละหมาดอีดไม่ต้องละหมาดวันศุกร์ ไม่ต้องละหมาดบ่ายด้วย เพื่อนบอกว่าอาจารย์เคยบรรยายไว้นานแล้ว เขาอัดเทปไว้แต่หาไม่เจอ อยากให้อาจารย์ชี้แจงหน่อย ละหมาดอีดเป็นสุนัตแต่วันศุกร์กับบ่ายเป็นฟัรดู แทนกันได้หรือครับ ขอหลักฐานด้วย

คำตอบโดย อาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้

เกี่ยวกับวันศุกร์ตรงกับวันอีดนั้น อิสลามได้ให้เราเลือกปฏิบัติได้ 3 กรณีด้วยกันคือ
1 – ละหมาดอีดและละหมาดวันศุกร์ด้วย
2 – ละหมาดอีดแล้วไม่ต้องละหมาดวันศุกร์แต่ละหมาดบ่าย
3 – ละหมาดอีดโดยไม่ละหมาดวันศุกร์และไม่ละหมาดบ่าย ไปละหมาดอัศริเลย

ทั้งสามกรณีนี้ ข้อที่ 1 และข้อที่ 2 มิใช่เป็นประเด็นสงสัยจึงขอยกยอดไป แต่สิ่งที่ยังคาใจอีกหลายคนก็คือ ข้อที่ 3 ที่บอกว่าละหมาดอีดโดยไม่ต้องละหมาดวันศุกร์และไม่ต้องละหมาดบ่ายกระทำได้หรือ เพราะละหมาดอีดเป็นซุนนะห์ ส่วนละหมาดวันศุกร์กับละหมาดบ่ายเป็นฟัรดู จะแทนกันได้หรือ

นี่คือการตั้งข้อสังเกตโดยที่ยังไม่รู้หลักฐาน เป็นการดีที่เราจะระวังรักษาฟัรดูของเราให้ครบถ้วน แต่เรื่องใดก็ตามที่มีตัวบทหลักฐานและมีแนวการปฏิบัติจากศอฮาบะห์ เราก็ต้องรับฟังด้วยเช่นกัน

قَالَ عَطَاءٌ اِجْتَمَعَ يَوْمُ جُمْعَةٍ وَيَوْمُ فِطْرٍ عَلىَ عَهْدِ ابْنِ الزُبَيْرِ فَقَالَ عِيْدَانِ اِجْتَمَعَا فِى يَوْمٍ وَاحِدٍ فَجَمَعَهُمَا جَمِيْعًا فَصَلاَّهُمَا رَكْعَتَيْنِ بُكْرَةً لَمْ يَزِدْ عَليْهِمَا حَتَّى صَلَّى العَصْرَ


อะฏออ์รายงานว่า “วันศุกร์กับวันอีดฟิตริตรงกันในสมัยของท่านอิบนุซุบัยร์ ท่านกล่าวว่า สองอีดมาบรรจบในวันเดียวกัน ฉะนั้นจึงได้รวมทั้งสองไว้ด้วยกัน โดยละหมาดอีดและละหมาดวันศุกร์ด้วยกัน 2 รอกอะห์ในเช้าตรู่ จากนั้นก็ไม่ได้ละหมาดอื่นใดอีกจนกระทั่งละหมาดอัศร์” บันทึกโดยอบูดาวู๊ด ฮะดีษที่ 906

عَنْ عَطَاءِ بْنِ أَبِى رَبَاحٍ قَالَ صَلىَ بِنَا اِبْنُ الزُبَيْرِ فِى يَوْمِ عِيْدٍ فِى يَوْم جُمُعَةٍ أَوَّلَ النَهَارِ ثُمَّ رُحْنَا اِلىَ الجُمُعَةِ فَلَمْ يَخْرُجْ اِلَيْنَا فَصَلَيْنَا وُحْدَانًا وَكاَنَ ابْنُ عَبَّاسٍ بِالطَائِفِ فَلَمَّا قَدِمَ ذَكَرْنَا ذَلِكَ لَهُ فَقَالَ أَصَابَ السُنَّةَ


รายงานจากอะฏออ์ อิบนิอบีรอบาฮ์ว่า “ท่านอิบนุซุบัยร์ได้นำเราละหมาดอีดซึ่งตรงกับวันศุกร์ในตอนเช้า และเมื่อเราได้ไปละหมาดวันศุกร์ ท่านก็ไม่ได้ออกมานำเราละหมาด พวกเราจึงต่างคนต่างละหมาด ขณะนั้นท่านอิบนุอับบาสอยู่ที่เมืองฏออิฟ เมื่อท่านกลับมาเราจึงเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นให้ฟัง ท่านกล่าวว่า ถูกต้องตรงตามซุนนะห์แล้ว” บันทึกโดยอบูดาวู๊ด ฮะดีษที่ 905

ฮะดีษทั้งสองบทข้างต้นนี้อยู่ในฐานะศอเฮียะห์ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในยุคของท่านอับดุลลอฮ์ อิบนุซุบัยร์ และท่านอับดุลลอฮ์ อิบนุอับบาส ทั้งสองท่านนี้เป็นศอฮาบะห์ของท่านรอซูล
บางท่านกล่าวว่า น้ำหนักของหลักฐานนี้เบามากเป็นแค่ฮะดีษเมากูฟ คือเป็นการกระทำของศอฮาบะห์เท่านั้น มิใช่ฮะดีษมัรฟัวอ์ หมายถึงฮะดีษที่อ้างถึงคำพูด,การกระทำ,และการยอมรับของท่านนบี
ขอทำความเข้าใจว่านี่เป็นคำพูดที่ไม่ถูกต้อง เพราะถ้าพิจารณาในตอนท้ายของฮะดีษ เราจะพบคำพูดของอิบนุอับบาสที่อ้างถึงท่านนบีด้วย โดยท่านกล่าวว่า ถูกต้องตรงตามซุนนะห์ อย่างนี้เขาเรียกว่า อะลาฮุกมิ้ลมัรฟัวอ์ คือ ฮะดีษที่มีฐานะเดียวกับฮะดีษมัรฟัวอ์ หมายถึงอ้างถึงท่านนบีด้วยเช่นกัน

ประการต่อมาก็คือ ข้อสงสัยที่บอกว่า ละหมาดอีดเป็นซุนนะห์ ส่วนละหมาดวันศุกร์และละหมาดบ่ายเป็นฟัรดู จะแทนกันได้หรือ หลักฐานที่บอกว่าได้ แสดงไว้แล้วข้างต้นแล้ว ส่วนการที่เข้าใจว่าละหมาดอีดเป็นซุนนะห์นั้น อันนี้เป็นความเข้าใจในทัศนะของมัซฮับซาฟีอี ส่วนในมัซฮับอื่นๆ เขาเข้าใจว่าละหมาดอีดเป็นฟัรดูด้วย และเหตุของความเข้าใจในฮุก่มที่ต่างกันนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาในคำสั่งของท่านรอซูล ซึ่งเข้าสู่ประเด็นของฟิกฮ์ ที่เขาถกเถียงกันยืดยาว

อย่างไรก็ตาม เมื่อมีตัวบทหลักฐานเช่นนี้ ท่านก็เลือกปฏิบัติ 1 ใน 3 ข้อข้างต้น และคงไม่ต้องทะเลาะกันจนต้องแยกสุเหร่าอีกนะครับ


........................................................................................................................


[ กลับไปข้างบน ]

·  คำถามที่ 13 มุศ็อลลา

คำถามโดยคุณ รอซีดีน

ไม่เข้าใจช่วยอธิบายหน่อย
ชุมชนมุสลิมทุกแห่งมีมัสยิด สร้างด้วยเงินหลายล้านแต่ไม่ยอมละหมาด ไปละหมาดกลางลาน บางที่ละหมาดกลางนา แล้วสุเหร่าที่ยังสร้างไม่เสร็จจะเรี่ยรายหาเงินสร้างต่อได้ยังไง ถ้าเสร็จแล้วก็ไม่ได้ใช้

คำตอบโดย อาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้

คงต้องขีดกรอบของปัญหากันก่อนนะครับ เกี่ยวกับเรื่องละหมาดที่มัสยิด และละหมาดที่มุศ็อลลา เพราะทั้งสองสถานที่นี้มีข้อจำกัดที่แตกต่างกัน

ตามปกติแล้วละหมาดฟัรดู 5 เวลานั้นอิสลามสนับสนุน ส่งเสริม รณรงค์ให้กระทำที่มัสยิด จนกระทั่งนักวิชาการบางท่านกล่าวว่า การละหมาดฟัรดู 5 เวลาที่มัสยิดวาญิบสำหรับผู้ชาย ส่วนผู้หญิงให้ละหมาดที่บ้านจะอัฟฏอลกว่า (ดีกว่า)

แต่การละหมาดอีดถูกจำกัดว่า ต้องที่มุศ็อลลา เพราะในชีวิตของท่านนบีนั้น ไม่เคยมีสักครั้งเดียวที่ท่านละหมาดอีดที่มัสยิด ส่วนที่อ้างฮะดีษว่า มีอยู่ครั้งหนึ่งนบีละหมาดอีดที่มัสยิดเนื่องมาจากฝนตก ฮะดีษบทนี้อยู่ในฐานะฏออีฟ (ฮะดีษอ่อน) ไม่ใช้เป็นข้ออ้างอิงในทางศาสนา

การละหมาดอีดเป็นอิบาดะห์ ฉะนั้นจึงต้องตรงตามคำสอนของท่านนบีคือ ถูกวัน ถูกที่ ถูกเวลา ถูกวิธี และตรงตามเป้าหมาย มิได้หมายความว่า จะละหมาดวันไหนก็ได้ เวลาใดก็ได้ ที่ใดก็ได้ หรือทำอย่างไรก็ได้ นั่นไม่ใช่เรื่องของอิบาดะห์

มุศ็อลลาของนบีอยู่ทางประตูเมืองด้านตะวันออก และเป็นทุ่งโล่ง จากเหตุนี้เองกระมังที่คนบ้านเราบางท่านให้ความหมายของ มุศ็อลลา ว่ากลางแจ้ง ฉะนั้นในบางที่จึงต้องตัดกิ่งไม้ออกเพราะกลัวว่าจะไม่ใช่กลางแจ้งจริงๆ ขอทำความเข้าใจว่า การให้ความหมาย มุศ็อลลา ว่า กลางแจ้งนั้นยังไม่ถูกต้องเสียทีเดียว เพราะคำว่า มุศ็อลลา คือสถานที่จัดเตียมไว้สำหรับละหมาดโดยเฉพาะ อาจจะมีร่มไม้บ้างก็ไม่จำเป็นต้องไปตัดกิ่งไม้ออก

บางท่านกล่าวว่า มุศ็อลลาของนบีอยู่ห่างจากมัสยิด แต่มุศ็อลลาของเราบางที่อยู่ข้างมัสยิด แล้วอย่างนี้จะใช้ได้หรือ ขอทำความเข้าใจว่า การที่เราได้พยามยามปฏิบัติตามคำสอนของท่านนบีนั้นถือว่าเราได้ใกล้ชิดกับซุนนะห์ของท่านนบีแล้ว และไม่มีความจำเป็นใดๆที่เราจะถอยห่างออกจากซุนนะห์โดยเข้าไปละหมาดอีดกันในมัสยิด เพียงแค่เหตุผลว่าสร้างมัสยิดราคาหลายล้านบาท

เราเคยศึกษากันมาว่า ละหมาดอีดไม่มีอะซาน ไม่มีกอมัต ไม่มีซุนนะห์ก่อนหรือหลัง และเราก็เคยศึกษากันมาว่า เมื่อเข้ามัสยิดนั้นก่อนที่จะนั่งให้ละหมาด 2 ร็อกอะห์ และเมื่อเราย้ายละหมาดอีดไปไว้ในมัสยิดจึงทำให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติคือ บางคนเมื่อไปถึงมัสยิดก็นั่งตักบีรเลยเพราะถือว่าไม่มีซุนนะห์ก่อนหรือหลัง และบางคนเมื่อถึงมัสยิดก็ละหมาดก่อน 2 รอ็กอะห์ เพราะถือคำสั่งเรื่องตะฮียะตุ้ลมัสยิด จึงก่อให้เกิดปัญหาและข้อถกเถียงไม่รู้จบ

เหตุเกิดจากเราไม่ปฏิบัติตามซุนนะห์โดยการย้ายที่ละหมาดนั่นเอง

........................................................................................................................


[ กลับไปข้างบน ]

·  คำถามที่ 14 ถอดรองเท้าโคฟเสียน้ำละหมาดไหม?

คำถามโดยคุณ rena

ขณะที่เราอาบน้ำละหมาดได้ลูบบนถุงเท้าเสร็จแล้วก็ไปละหมาด และเมื่อละหมาดเสร็จก็ได้ถอดถุงเท้าออก ขอเรียนถามว่า ทำอย่างนี้เสียน้ำละหมาดไหม ถ้าจะละหมาดอีกต้องอาบน้ำละหมาดใหม่หรือไม่ ญะซากัลลอฮฺ

คำตอบโดย อาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้

หลังจากที่ได้อาบน้ำละหมาดโดยลูบไปบนรองเท้าหรือถุงเท้า และต้องการถอดถุงเท้าหรือรองเท้านั้นออกจะทำให้เสียน้ำละหมาดหรือไม่ เป็นประเด็นของการทำความเข้าใจ ( ฟิกฮ์ ) ที่นักวิชาการมีมุมมองที่ต่างกันดังนี้

ส่วนหนึ่งเห็นว่า ขณะที่อาบน้ำละหมาดได้ลูบไปบนรองเท้า เมื่อจะละหมาดก็ต้องละหมาดทั้งรองเท้านั้นด้วย ถ้าถอดออกเมื่อไหร่ ก็ถือว่าเสียน้ำละหมาด เพราะขาดความต่อเนื่อง

นักวิชาการอีกส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะชาวสะลัฟ (ยุคต้น) เช่นท่านก่อตาดะห์,ท่านอัลฮะซัน อัลบัศรีย์ และอิบนุอบีลัยลา มีความเห็นว่า ไม่เสียน้ำละหมาดด้วยหลักดังต่อไปนี้

1 – การอาบน้ำละหมาดโดยลูบไปบนรองเท้านั้น มีหลักฐานทางศาสนาให้กระทำได้ และการที่จะบอกว่าเสียน้ำละหมาดก็ต้องมีตัวบทหลักฐานทางศาสนามาระบุเช่นเดียวกัน แต่ปรากฏว่าไม่มีหลักฐานที่ยืนยันว่าเสีย
2 – น้ำละหมาดจะเสียก็ต่อเมื่อมีฮะดัษใหญ่ และฮะดัษเล็ก แต่การถอดรองเท้าออกในกรณีนี้ไม่ถือว่าเป็นฮะดัษใหญ่และฮะดัษเล็ก
3 – ประเด็นเปรียบเทียบของกรณีนี้คือ เมื่อมีน้ำละหมาดอยู่ก็สามารถตัดผมได้โดยไม่เสียน้ำละหมาด ทั้งที่ขณะอาบน้ำละหมาดก็ได้เช็ดศีรษะ หรือสามารถตัดเล็บได้โดยไม่เสียน้ำละหมาดทั้งที่ขณะอาบน้ำละหมาดได้ลางมือโดยมีเล็บนั้นอยู่ด้วย เช่นเดียวกับการถอดรองเท้าหรือถุงเท้าออก ก็ไม่ทำให้เสียน้ำละหมาดเช่นเดียวกัน

ทั้งหมดนี้เป็นประเด็นของความเห็นที่แตกต่างกัน ถ้าจะถามว่าอันถูกต้องที่สุด ผมก็ต้องตอบด้วยคำว่า วัลลอฮุอะอ์ลัม แต่ถ้าท่านต้องการปฏิบัติศาสนาโดยหลีกเลี่ยงข้อขัดแย้งก็ไม่ต้องถอด ท่านสามารถที่จะละหมาดทั้งรองเท้าหรือถุงเท้านั่นแหละ ถ้าจะละหมาดบนพื้นดินทั่วไปก็ทำได้ ไม่มีข้อขัดแย้ง แต่ถ้าจะเข้าไปละหมาดที่มัสยิดใดละก็ ดูให้ดีก่อนนะครับ ถ้าคิดจะใส่รองเท้าลุยเข้าไปในมัสยิด แล้วโดนอิหม่ามเอาไม้ตีหน้าแข้ง

ผมไม่รับผิดชอบด้วยนะ



........................................................................................................................

[ กลับไปข้างบน ]

·  คำถามที่ 15 อาบน้ำซุนนะห์กับอาบน้ำวาญิบ

คำถาม

ผมอยากจะรบกวนถามหน่อยน่ะครับว่า การอาบน้ำยกหะดัษใหญ่ กับการอาบน้ำสุนนะห์ต่างหรือว่า เหมือนกันอย่างไรครับ และมีวิธีการอาบอย่างไรครับ ขอบคุณครับ

คำตอบโดย อาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้

การอาบน้ำญะนาบะห์ หรือที่เรียกว่า اَلْغُسْلُ ( อัลฆุสลุ ) เป็นการอาบน้ำตามข้อบัญญัติของศาสนาเนื่องจากเหตุดังต่อไปนี้คือ

1 – เหตุที่เป็นวาญิบ อันได้แก่ การหลั่งอสุจิ, การมีเพศสัมพันธ์, หมดประจำเดือน, หมดน้ำคาวปลา เพราะเมื่อมีเหตุดังกล่าวเกิดขึ้นก็ไม่สามารถ ละหมาด,ฎอวาฟ, เอียะติกาฟ อ่านอัลกุรอ่านได้ เพราะฉะนั้นบางคนจึงเรียกการอาบน้ำเนื่องจากเหตุดังกล่าวว่า การอาบน้ำวาญิบ

2 – เหตุที่เป็นซุนนะห์ อันได้แก่ ก่อนละหมาดวันศุกร์, ก่อนละหมาดอีดทั้งสอง, ก่อนการครองเอียะห์ราม, หลังการมีเพศสัมพันธ์ทุกครั้ง,หลังจากอาบน้ำมัยยิต,หลังการเข้ารับอิสลาม และหลังจากเป็นลมหมดสติ ซึ่งเรามักจะเรียกการอาบน้ำจากเหตุดังกล่าวนี้ว่า การอาบน้ำซุนนะห์

และไม่ว่าการอาบน้ำนี้จะมีเหตุมาจากวาญิบ หรือซุนนะห์ ก็ตาม แต่ก็เป็นการอาบตามคำสั่งใช้และคำสั่งสนับสนุนของศาสนา ดังนั้นจึงมีวิธีการอาบโดยเฉพาะ

วิธีการอาบน้ำญะนาบะห์

1 – กล่าว บิสมิ้ลลาห์ และล้างมือทั้งสองข้าง
2 – ใช้มือซ้ายล้างอวัยวะเพศให้เกลี้ยง
3 – อาบน้ำละหมาดโดยยังไม่ต้องล้างเท้า
4 – เอาน้ำราดศีรษะ 3 ครั้ง และขยี้ให้ทั่วถึงรากผม
5 – เอาน้ำราดตัวโดยเริ่มจากทางขวาก่อนต่อมาเอาน้ำราดตัวทางด้านซ้าย
6 – ชำระล้างร่างกายให้ทั่วโดยเพราะตามซอก เช่น ใบหู,สะดือ,ซอกนิ้วมือนิ้วเท้า
7 – ขยับออกจากที่เดิมเล็กน้อย ล้างเท้าขวา 3 ครั้ง และล้างเท้าซ้าย 3 ครั้ง

การอาบน้ำวาญิบหรืออาบน้ำซุนนะห์ มีวิธีอาบเหมือนกัน แต่เหตุของการอาบต่างกันเท่านั้นเอง และเมื่อเสร็จสิ้นการอาบน้ำญะนาบะห์แล้วก็ไม่จำเป็นต้องอาบน้ำละหมาดอีก ถือว่าเขามีน้ำละหมาดแล้ว ดังมีรายงานจากท่านหญิงอาอิชะห์ว่า

كَانَ رَسُوْلُ اللهِ صَلىَ اللهُ عَليْهِ وَسَلَّمَ لاَ يَتَوَضَّأُ بَعْدَ الْغُسْل


“ท่านรอซูลไม่ได้อาบน้ำละหมาดอีกหลังจากอาบน้ำญะนาบะห์” บันทึกโดยอิหม่ามมุสลิม



........................................................................................................................

[ กลับไปข้างบน ]

·  คำถามที่ 16 ที่มาของการถือศีลอด

คำถามโดยคุณ มณฑิตา

ขอถามว่าที่มาของการถือศีลอด ทำเพื่ออะไร

คำตอบโดยอาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้

หากเราได้ศึกษาอัลกุรอานแล้วจะพบว่า คำสั่งใช้และคำสั่งห้ามในศาสนานั้น เป็นคำสั่งที่ใช้ให้ผู้ศรัทธาปฏิบัติและห้ามผู้ศรัทธามิให้ปฏิบัติ ฉะนั้นเมื่อเราอ่านอัลกุรอานและพบคำว่า

يَأيُّهَا الَّذِيْنَ آمَنُوا


“โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย”


คำสั่งถัดมาไม่เป็นคำสั่งใช้ก็จะเป็นคำสั่งห้าม เช่นเรื่องสั่งใช้ให้ผู้ศรัทธาถือศีลอด ดั่งอายะห์ต่อไปนี้

يَأيُّهَا الَّذِيْنَ آمَنُوا كُتِبَ عَلَيْكُمُ الصِيَامُ كَمَا كُتِبَ عَلىَ الَّذِيْنَ مِنْ قَبْلِكُمْ لَعَلَّكُمْ تَتَّقُوْن


“โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย การถือศีลอดได้ถูกบัญญัติแก่พวกเจ้า ดังที่เคยบัญญัติให้แก่ชนก่อนหน้าพวกเจ้า เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้ยำเกรง”
ซูเราะห์อัลบะกอเราะห์ อายะห์ที่ 183

ในอายะห์อัลกุรอานข้างต้นนี้ได้บอกถึงเป้าหมายของการถือศีลอดด้วยว่า การถือศีลอดนั้นเพื่อก่อเกิดการสำรวมตนต่ออัลลอฮ์ หรืออย่างเช่นฮะดีษที่ท่านนบีได้บอกว่า

فَاِنَّهُ لَهُ وِجَاء


“เพราะการถือศีลอดนั้นเป็นเกราะป้องกันในการถลำไปในความชั่ว”
ศอเฮียะห์บุคคอรี ฮะดีษเลขที่ 1772

เราจะเห็นได้ว่าบรรดาผู้ศรัทธานั้น ไม่ว่าพระองค์อัลลอฮ์จะทรงบัญญัติให้เขากระทำสิ่งใดก็ตาม เขาจะกระวีกระหวาดมุ่งมั่นทำด้วยความตั้งใจ ด้วยหัวใจที่จงรักภักดี ถึงแม้บางเรื่องเขาจะไม่ทราบว่า สิ่งที่เขาทำนั้นจะมีผลดีแก่เขาในดุนยาเช่นไร ดังแบบอย่างของบรรพชนของเราในอดีต

แต่แน่นอนว่า สิ่งใดที่พระองค์อัลลอฮ์ได้สั่งแก่ผู้ศรัทธากระทำนั้นย่อมเกิดผลดีต่อผู้ศรัทธาเองทั้งดุนยาและอาคิเราะห์ ดังนั้นคนในยุคหลังๆ จึงจับประเด็นวิเคราะห์ถึงผลดีของการอดหารทั้งในด้านการแพทย์ และอื่นๆ ซึ่งในปัจจุบันมีการเข้าครอสอดอาหารเพื่อสุขภาพเป็นต้น แต่คนที่ไม่ศรัทธาเขาอดอาหารเพื่อสุขภาพ หรือเพื่อรักษาโรค เขาได้รับประโยชน์ของการอดเพียงแค่นั้นจริงๆ ต่างจากผู้ศรัทธาที่อดตามคำสั่งของพระเจ้า นอกจากเขาจะได้รับประโยชน์ของการอดในดุนยาแล้ว เขายังได้รับผลจากการอดของเขาในอาคิเราะห์อีกด้วย



……………………………………………………………..........................................................................

[ กลับไปข้างบน ]

·  คำถามที่ 17 ระยะทางในการละหมาดย่อ

คำถามโดย คุณ fais

เรื่องการละหมาดย่อและละหมาดรวมผมเคยได้ยินมาว่า ระยะทางในการละหมาดย่อและละหมาดรวมนั้นต้องเกินกว่า80 km แต่ก็มีผู้ที่กล่าวว่ามีหลักฐานที่อนุญาตกระทำได้ที่ระยะทางน้อยกว่านั้น หลักฐานนี้มีอยู่จริง ซอเฮียะ หรือเปล่าครับ
ขอคุณครับ วัสสาลาม

คำตอบโดย อาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้

ขอทำความเข้าใจเกี่ยวกับระยะทางก่อนครับว่า อัลอิสลามมิได้กำหนดระยะทางในการละหมาดย่อและรวมไว้ตายตัว หมายถึงไม่มีตัวบทหลักฐานจากอัลกุรอานและฮะดีษกำกับไว้ เมื่อเป็นเช่นนี้บรรดานักฟิกฮ์จึงได้มองในมุมที่ต่างกัน บ้างก็ว่าน่าจะเท่านั้นเท่านี้กิโล และผมเองก็ไม่สามารถที่จะชี้ได้ว่า ข้อเสนอแนะของนักฟิกฮ์ท่านใด หรือมัซฮับไหนมีความถูกต้องมากกว่ากัน แต่ผู้ถามได้ถามว่ามีตัวบทหลักฐานที่ซอเฮียะห์หรือไม่ว่า อนุญาตให้ทำได้ในระยะทางที่น้อยกว่า 80 km

ในบันทึกฮะดีษของท่านอิหม่ามมุสลิม,อิหม่ามอะห์หมัด, อบูดาวูด และอัลบัยฮะกีย์ เป็นฮะดีษที่รายงานโดย ยะห์ยา บินยะซีด อัลฮุนาอีย์ว่า ฉันได้ถามท่านอนัส บินมาลิก เกี่ยวกับการละหมาดย่อ ท่านตอบว่า

كَانَ رَسُوْلُ اللهِ صَلىَ اللهُ عَلِيْهِ وَسَلَّمَ اِدَا خَرَجَ مَسِيْرَةَ ثَلاثَةِ أمْيَالٍ أَوْ فَرَاسِخَ يُصَلِّي رَكْعَتَيْنِ


"ปรากฏว่าท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม เมื่อท่านได้ออกไปเป็นระยะทาง 3 ไมล์ หรือฟัรซัค ท่านจะละหมาด 2 ร่อกอะห์"
บันทึกโดยอิหม่ามมุสลิม ฮะดีษเลขที่ 1116

หมายเหตุ : 3 ไมล์เท่ากับ 5.25 กิโลเมตร

การเดินทางของผู้คนในอดีตจะใช้วิธีการเดินเท้า หรือไม่ก็ใช้ม้าหรืออูฐเป็นพาหนะ แต่ในปัจจุบันมียาพาหนะที่สามารถนำสู่ปลายทางได้โดยไม่เกิดความยากลำบากเลย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ข้อบัญญัติในเรื่องการละหมาดย่อจะถูกยกเลิกไป แต่อยากให้ท่านพิจารณาว่า ภาวะของท่านที่ประสบอยู่คือการเดินทางหรือไม่ ถ้าใช่ก็สามารถละหมาดย่อและรวมได้ แต่ถ้าไม่ใช่ ก็ละหมาดตามปกติเถอะครับ


.......................................................................................................................


[ กลับไปข้างบน ]

·  คำถามที่ 18 ต้องออกซะกาตไหม

คำถามโดย คุณเจ้าหนี้

มีคนขอยืมเงินไป 100,000.- บาท นานเกือบ 3 ปียังไม่เอามาคืน อย่างนี้ต้องออกซะกาตด้วยไหม

คำตอบโดย อาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้

ขอทวนคำถามสักนิดครับ มีคนขอยืมเงินไป 100,000.- บาทเป็นระยะเวลาเกือบ 3 ปี เงินนี้ต้องออกซะกาตไหม และถ้าต้องจ่ายซะกาต ใครจะเป็นผู้จ่าย ระหว่างคนขอยืม (ลูกหนี้) และคนให้ขอยืม (เจ้าหนี้) ไม่ทราบว่าผมจะเข้าใจคำถามผิดหรือเปล่า ถ้าไม่ใช่กรุณาถามอีกครั้ง แต่ผมจะตอบตามที่เข้าใจจากคำถามดังนี้

ข้อกำหนดของการจ่ายซะกาตมีเงื่อนไขหลักคือ ทรัพย์ที่จ่ายนั้นต้องครบจำนวน และครบรอบปี และเป็นกรรมสิทธิ์อยู่ในครอบครอง ในกรณีที่ทรัพย์นั้นครบจำนวน และครบรอบปีแล้วตามที่ถาม แต่ไม่ได้อยู่ในครอบครอง อย่างนี้ยังไม่ต้องจ่าย จนกว่าจะได้รับทรัพย์นั้นคืนมาก่อน จึงจำเป็นต้องจ่าย 2.5 % ถ้าจำนวนเงิน 100,000.- บาทตามข้อมูลข้างต้น ก็ต้องจ่ายซะกาตเป็นจำนวน 2,500.- บาท แต่ถ้าทรัพย์นั้นกลายเป็นหนี้สูญก็ไม่จำเป็นต้องจ่าย วัลลอฮุอะอ์ลัม


-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


[ กลับไปข้างบน ]

·  คำถามที่ 19 วันอะรอฟะห์และวันอีดิ้ลอัฏฮา

คำถามโดย ช่วยตอบหน่อย

วันอะรอฟะห์และวันอีดิ้ลอัฏฮาในปีนั้นตรงกับวันไหนแน่ เพราะทางสำนักจุฬาได้เคยประกาศว่าวันเสาร์ที่ 30 ธันวาคม 2549 แต่ตอนนี้ประกาศกลับลำใหม่เป็นวันอาทิตย์ที่ 31 ธันวาคม 2549 ช่วยตอบชัดๆหน่อย

คำตอบโดย อาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้

วันนี้ทั้งวัน ผมเกือบจะไม่ได้ทำอะไร เพราะต้องคอยตอบคำถามเช่นนี้อยู่ตลอดเวลา แต่ไม่ใช่ว่าจะเบื่อที่จะตอบคำถามนะครับ เพียงแต่มึนครับ ยอมรับว่ามึนจริงๆ กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระยะเวลาไม่กี่วันที่ผ่านมา

ประเด็นของทางสำนักจุฬาราชมนตรีที่หลายท่านถามว่า ทำไมๆๆๆๆ ผมขอละไว้ หากท่านอยากรู้ว่าทำไมๆๆ..ก็ต้องถามที่สำนักฯ เอง เพราะเป็นการประชุมภายในของสำนักฯ ผมทราบแต่เพียงว่า จุฬาราชมนตรีมีหน้าที่กำหนดและประกาศวันสำคัญทางศาสนา ตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติอิสลามฉบับที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน และเมื่อเรื่องนี้ถูกกำหนดให้เป็นหน้าที่ของท่านจุฬา ก็เป็นสิทธิ์ของท่านตามข้อกำหนดแห่ง พรบ นั้น เราคงไม่ละเมิดสิทธิ์ที่จะกำหนดและประกาศแข่งกับท่านแน่นอน ส่วนผู้ปฏิบัติจะถือตามหรือไม่ก็เป็นสิทธิ์ของผู้ปฏิบัติเช่นเดียวกัน

ที่ถามว่าวันวุกูฟและวันอีดิ้ลอัฏฮาเป็นวันไหนกันแน่ ?

ประการแรก ต้องหาวันวุกูฟหรือวันอะรอฟะห์ให้เจอก่อน ถึงจะทราบว่าวันอีดิ้ลอัฏฮาเป็นวันไหน
คำว่า “อะรอฟะห์” คือชื่อสถานที่ในการ “วูกูฟ” ขณะทำพิธีฮัจญ์ (ปัจจุบันอยู่ในประเทศซาอุดิอาราเบีย) ด้วยเหตุนี้บางคนจึงเรียกวันนี้ว่า วันอะรอฟะฮ์ และบางคนก็เรียกว่า วันวูกูฟ แต่จะเรียกชื่อใดก็ตามมันคือวันเดียวกัน และวันนี้ถือเป็นวันสำคัญของประชาชาติอิสลามทั้งมวล เพราะเป็นวันที่คนทำฮัจญ์ได้ทำการวุกูฟที่ทุ่งอะรอฟะห์ ส่วนผู้ที่ไม่ได้ทำฮัจญ์ก็มีซุนนะห์ให้ถือศีลอด จากฮะดีษที่รายงานโดย อบีกอตาดะห์ อัลอันศอรีย์ ว่า

سُئِلَ رَسُوْلُ اللهِ صَلى اللهُ عَليْهِ وَسَلَّمَ عَنْ صَوْمِ يَوْمِ عَرَفَةَ فَقَالَ يُكَفِّرُ السَنَةَ المَاضِيَّةَ وَالبَاقِيَّةَ


“ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ถูกถามเกี่ยวกับการถือศีลอดวันอะรอฟะห์ ท่านตอบว่า จะได้รับการอภัยโทษในปีที่ผ่านมาและปีถัดไป”
บันทึกโดยอิหม่ามมุสลิม ฮะดีษเลขที่ 1977

ฮะดีษข้างต้นนี้ระบุถึงการถือศีลอดวันอะรอฟะห์ มิใช่กล่าวว่าให้ถือศีลอดวันที่ 9 ของเดือนซุ้ลฮิจญะห์เท่านั้น
ขณะนี้มุสลิมในหลายพื้นที่อาจจะเข้าเดือน ซูลฮิจญะห์ ต่างกัน และแน่นอนว่าเมื่อเริ่มนับวันที่ 1 ต่างกัน ฉะนั้นวันที่ 9 ก็ย่อมต่างกันไปด้วยคือ มีทั้งวันที่ 9 ที่มีอะรอฟะห์และวุกูฟ กับวันที่ 9 ที่ไม่มีการวุกูฟที่อะรอฟะห์ ปัญหาก็คือ เราจะทำการถือศีลอดในวันที่ 9 ซุลฮิจญะห์ของใครของมันโดยไม่คำนึงถึงวันวุกูฟได้หรือไม่

คำตอบในเรื่องนี้ก็คือ หากคำสั่งของท่านนบีสั่งให้ถือศีลอดในวันที่ 9 อย่างเดียวโดยไม่พูดถึงเรื่องการวุกูฟเลยก็ไม่น่าจะมีปัญหาในทางปฏิบัติ อย่างเช่นการถือศีลอดในวันที่ 9 และ 10 ของเดือนมุฮัรรอม ที่ท่านอิบนุอับบาสได้กล่าวว่า

اِذَا رَأيْتَ هِلاَلَ المُحَرَّم فَاعْدُدْ وَأصْبِحْ يَوْمَ التَاسِعِ صَائِمًا قُلْتُ هَكذَا كَانَ رَسُوْلُ اللهِ صَلى اللهُ عَليْهِ وَسَلَّمَ يَصُوْمُهُ قَالَ نَعَمْ


“เมื่อพวกท่านทั้งหลายเห็นเดือนเสี้ยวข้างขึ้นของเดือนมุฮัรรอม จงนับมัน และจงตื่นขึ้นมาในวันที่เก้าของผู้ที่ถือศีลอด ฉัน
(ผู้รายงาน) ได้ถามว่า ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ได้ถือศีลอดในวันนี้หรือ ท่านตอบว่า ใช่” บันทึกโดยอิหม่ามมุสลิม ฮะดีษเลขที่ 1916

ส่วนอีกรายงานหนึ่งจากอิบนุอับบาสเช่นเดียวกันว่า “ท่านรอซูลได้ถือศีลอดในวันที่ 10 (มุฮัรรอม) และใช้ให้ผู้อื่นถือศีลอดด้วย บรรดาศอฮาบะห์กล่าวว่า โอ้ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ วันนี้เป็นวันที่ชาวยะฮุดและนะศอรอให้ความสำคัญ ท่านรอซูลตอบว่า ถ้าถึงปีถัดไป เราจะถือศีลอดวันที่ 9 ด้วย อินชาอัลลอฮ์ อิบนุอับบาสกล่าวว่า แต่ยังไม่ทันถึงปีถัดไปท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ก็ได้เสียชีวิตไปก่อน” บันทึกโดยอิหม่ามมุสลิม ฮะดีษเลขที่ 1916

ผมได้นำเอาฮะดีษที่ใช้ให้ถือศีลอดในวันที่ 9 มาแสดงให้ดู แต่เป็นวันที่ 9 ของเดือนมุฮัรรอม และวันที่ 10 เดือนเดียวกันที่ถูกเรียกว่าวัน “อาชูรอ” ซึ่งต่างกับคำสั่งที่ใช้ให้ถือศีลอดวันอะรอฟะห์ เพราะท่านนบีไม่ได้สั่งให้ถือศีลอดวันที่ 9 ของเดือนซุลฮิจญะห์ แต่ถูกกำกับไว้ด้วยคำว่า อะรอฟะห์ เพราะฉะนั้นหากวันที่ 9 ของท่านไม่มีวูกูฟ,ไม่มีอะรอฟะห์ ก็ไม่มีคำสั่งให้ถือศีลอด

แล้ววันที่ 9 เดือนซุลฮิจญะห์ที่มีวูกูฟที่อะรอฟะห์ ตรงกับวันไหน ?

ในอดีตกว่าที่ผู้คนบ้านเราจะรู้ว่าวันอะรอฟะห์เป็นวันไหน ก็ต้องรอคนที่เดินทางกลับจากฮัจญ์มาบอกนั่นแหละ เพราะฉะนั้นคนในอดีตเขาอาจจะถือศีลอดไม่ตรงกับวันอะรอฟะห์ในบางปี แต่การถือศีลอดของเขาและความเพียรพยายามของเขาได้ถูกบันทึกความดีไปแล้ว (ขออัลลอฮ์ทรงเมตตาพวกเขาด้วย) แต่ปัจจุบัน เราทราบหรือไม่ว่า วันวุกูฟหรือวันอะรอฟะห์ตรงกับไหน ถ้าไม่รู้หรือไม่มีโอกาสรับรู้ ก็ขออัลลอฮ์ทรงเมตตาท่านด้วย

ในปีนี้สภาตุลาการแห่งราชอณาจักรซาอุดิอาราเบีย ได้ประกาศอย่างเป็นทางการไปแล้วว่า วันพฤหัสบดีที่ 21 ธันวาคม 2549 ตรงกับวันที่ 1 ของเดือนซุ้ลฮิจญะห์ และวันวุกูฟหรือวันอะรอฟะห์ ตรงกับวันศุกร์ที่ 29 ธันวาคม 2549 ซึ่งเราได้ทราบวันวูกุฟที่อะรอฟะห์จากคำประกาศนี้หลายวันแล้ว

ผมจำได้ว่าเมือปีที่แล้วมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์กล่าวหาซาอุดี้ว่า เลื่อนวันวุกูฟเพราะกลัวว่าจะไปตรงกับวันศุกร์ แต่พอมาปีนี้ซาอุดี้ประกาศให้วันวูกุฟเป็นวันศุกร์ เราก็วิ่งหนีด้วยการประกาศย้ายวันที่ซะอย่างนั้นแหละ แล้ววันที่ 9 อย่างไทยๆ ไม่มีวุกูฟ ไม่มีอะรอฟะห์ จะทำอย่างไรดี

และเมื่อทราบผลแล้วว่า วันวุกูฟหรือวันอะรอฟะห์ตรงกับวันศุกร์ที่ 29 ธันวาคม 2549 ฉะนั้นวันเสาร์ที่ 30 ธันวาคม 2549 จึงเป็นวันอีดิ้ลอัฏฮาโดยปริยาย (ตามที่สภาตุลาการซาอุดี้ได้ประกาศ)
แต่ถ้าเราจะถือศีลอดวันวุกูฟหรือวันอะรอฟะห์ในวันศุกร์ที่ 29 ธันวาคมที่จะถึงนี้เพื่อให้ตรงกับคำสั่งของศาสนา และไปออกอีดวันอาทิตย์ 31 ธันวามคม ถามว่าวันเสาร์ที่ 30 ธันวาคม จะหยุดไปทำอะไร
หรือจะถือศีลอดในวันที่ 9 ที่ไม่มีวุกูฟ,ไม่มีอะรอฟะห์ และเป็นวันอีดิ้ลอัฏฮาของพี่น้องมุสลิม
ท่านอบูฮุรอยเราะห์ ได้รายงานว่า

أَنَّ رَسُوْلَ اللهِ صَلى اللهُ عَليْهِ وَسَلَّمَ نَهَى عَنْ صِيَامِ يَوْمَيْنِ يَوْمِ الأضْحَى وَيَوْمِ الفِطْرِ


“แท้จริงท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ห้ามถือศีลอดสองวันนี้คือ วันอีดิ้ลอัฏฮา และวันอีดิ้ลฟิตร์”
บันทึกโดยอิหม่ามมุสลิม ฮะดีษเลขที่ 1921


-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


[ กลับไปข้างบน ]

·  คำถามที่ 20 ทำไมละหมาดอีดก่อนซาอุดี้

คำถามโดย ตามจิงอะป่าว

เวลาประเทศไทยไวกว่าสาอุดี้ 4 ชั่วโมง ถ้าพวกคุณจะตามประเทศสาอุดี้ ทำไมละหมาดอีดก่อนเขาทำไม

คำตอบโดย อาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้

เรื่องศาสนาไม่ใช่เรื่องของชาตินิยม ที่จะถือว่าประเทศใครประเทศมัน เพราะเรื่องประเทศและขอบเขตของประเทศนั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากคำสอนของศาสนาตั้งเนิ่นนาน ชนชาติไทยก็ถอยร่นมาจากลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง รวมเชื้อชาติเผ่าพันธุ์เป็นสยามก่อนที่จะเปลี่ยนชื่อเป็นไทยเมื่อไม่นานมานี้เอง ทั้งไทยและซาอุดี้ได้ตั้งเป็นประเทศหลังจากที่นบีจากไปตั้งไม่รู้กี่ปี ฉะนั้นจึงไม่มีหลักฐานให้เราถือศาสนาตามประเทศหนึ่งประเทศใด

วันนี้การที่มุสลิมหันหน้าไปทางที่ตั้งของกะอ์บะห์ในขณะละหมาด ก็ไม่ได้หมายความว่าเขาตามซาอุดิอาราเบีย หรือการรับข่าวการวุกูฟที่ทุ่งอะรอฟะห์และทำการถือศีลอดนั้น ก็ไม่ใช่เป็นการตามซาอุดิอาราเบียอย่างที่หลายคนกล่าวอ้าง แต่เป็นการปฏิบัติตามคำสั่งของศาสนา

หากวันข้างหน้าราชอณาจักรซาอุดิอาราเบียล่มสลาย มุสลิมมุสลิมจะย้ายกิบลัตหรือ
หรือว่าคนทำฮัจญ์ต้องเปลี่ยนที่วุกูฟกันใหม่
วันนี้เขตแดนของแต่ละประเทศมันกีดกั้นไม่ให้มุสลิมปฏิบัติศาสนกิจโดยพร้อมเพรียงกันหรือ
เขตแดนมันปิดกั้นความเป็นพี่น้องมุสลิมด้วยหรือ
วันนี้มุสลิมจะมีเอกภาพเฉพาะประเทศใครประเทศมัน หรือจะมีเอกภาพบนคำสอนของศาสนา

เมื่อศาสนาสั่งใช้ให้มุสลิมละหมาดวันศุกร์ ก็ไม่เห็นมีมุสลิมที่ไหนโวยวายว่า เราละหมาดวันศุกร์ไม่ได้เพราะก่อนเขาตั้ง 4 ชั่วโมง ต้องย้ายไปละหมาดวันเสาร์แทน ไม่เห็นมีใครออกมาฟัตวาเช่นนี้เลย แต่พอคำสั่งให้ถือศีลอดวันวุกูฟอะรอฟะห์ เรากลับพูดว่า เวลาห่างกัน 4 ชั่วโมง เขาวันศุกร์ของเราจึงกลายเป็นวันเสาร์ เป็นไปได้อย่างไร

ถ้าเราอยู่ในวันเดียวกันตามที่ศาสนาสั่ง จะไปกังวลเรื่องเวลาทำไมละครับ ตราบใดที่เรายังละหมาดวันศุกร์ในวันศุกร์ เราก็ยังคงถือศีลอดตรงกับวันวุกูฟที่ทุ่งอะรอฟะห์ และเมื่อเราถือศีลอดวันวุฏุฟอะรอฟะห์ตรงกัน แต่พอรุ่งขึ้นกลับบอกว่ายังละหมาดอีดไม่ได้เวลาต่างกัน อะไรกันนักกันหนา


-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


[ กลับไปข้างบน ]

·  คำถามที่ 21 ไม่อ่านได้ไหม

คำถามโดย คุณวรยุทธ

การละหมาดสุหนัตต่างๆถ้าไม่อ่านซูเราะห์หลังฟาติฮะห์ ใช้ได้มั้ยครับ

คำตอบโดย อาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้

ละหมาดทุกประเภทจะมีสิ่งที่เป็นวาญิบ (รุก่น) และสิ่งที่เป็นสุนัต (ซุนนะห์)
ละหมาดใดก็ตามที่ขาดรุก่น การละหมาดนั้นถือว่าใช้ไม่ได้ เช่นการอ่านฟาติฮะห์ (ในกรณีที่ละหมาดคนเดียวหรือเป็นมะอ์มูมแต่ไม่ได้ยินอิหม่ามอ่าน)
ส่วนการอ่านซูเราะห์หลังจากฟาติฮะห์ในละหมาดฟัรดูหรือละหมาดซุนนะห์อื่นๆนั้นถือเป็นสุนัด (ซุนนะห์) โดยจะอ่านหรือไม่อ่านก็ไม่ได้ให้ละหมาดนั้นเสียแต่อย่างใด ไม่ว่าจะละหมาดคนเดียว,เป็นอิหม่ามหรือเป็นมะอ์มูมก็ตาม แต่จะขาดผลบุญจากการอ่านเพราะเป็นสิ่งที่ศาสนาสนับสนุนให้กระทำ
มีข้อเสนอแนะประการหนึ่ง...เกี่ยวกับการอ่านซูเราะห์หลังจากฟาติฮะห์นั้น ในกรณีที่เป็นอิหม่ามก็ควรอ่านซูเราะห์ที่อ่านได้คล่องอยู่แล้ว ซึ่งท่านนบีมูฮัมหมัด ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัมได้กล่าวว่า

اقْرَأ مَا تَيَسَّرَ مَعَكَ مِنَ القُرْآنِ

“จงอ่านที่อ่านได้ง่ายๆ จากอัลกุรอาน”
บันทึกโดยอิหม่ามบุคตคอรี ฮะดีษเลขที่ 715

ที่เสนอแนะข้างต้นนี้ก็เพราะ บางครั้งได้ละหมาดหลังอิหม่ามที่เพิ่งจะท่องและยังไม่ค่อยจะจำ ก็เลยอ่านถอยหน้าถอยหลัง มะอ์มูมก็คอยเตือนเกือบทุกอายะห์ คนละหมาดข้างหลังแทนที่จะมีสมาธิกลับคอบลุ้นว่า อิหม่ามจะอ่านได้จบไหมเนี่ย

------------------------------------------------------------------------------------


[ กลับไปข้างบน ]

·  คำถามที่ 22 การเยี่ยมกุโบร์ และพิธีกรรมที่เกี่ยวข้อง

คำถามโดย taofeeqh 

                ไม่รู้ว่าอาจารย์เคยตอบคำถามไปแล้วหรือยังนะ แต่ช่วยตอบอีกทีละกันนะครับ เพราะว่าผมอยากรู้จริงๆและอยากที่จะนำไปปฎิบัติและบอกต่อได้อย่างเต็มปากเต็มคำว่าเรื่องจริงที่ถูกต้องตามแบบฉบับของซุนนะห์นบีนะจริงๆเค้าเป็นยังไงนะ

                การเยี่ยมกุโบร์และมารยาทในการเยี่ยมกุโบร์ที่ศาสนาอนุญาตให้กระทำมีอะไรบ้าง? การกระทำที่เห็นอยู่ในบางที่ของสังคมมุสลิมในบ้านเราขณะเยี่ยมกุโบร์ เช่น การซิกิร การอ่านอัลกุรอ่าน (ในบางซูเราะห์ เช่น ซูเราะห์ยาซีน อัล-อิคฮลัส หรือซูเราะห์อื่นๆ)
                การเฝ้ากุโปร์ของผู้ตายใหม่ๆที่บางที่กระทำโดยอยู่กัน 7 วันพร้อมกับการอ่านอัลกุรอ่านไปด้วยจนจบเล่ม
                สิ่งเหล่านี้หรือคล้ายๆกันนี้ศาสนาอนุญาตให้กระทำหรือไม่ครับ
                ขอถามอีกน่ะครับ การทำบุญเมื่อครบ 7 วัน 40 วัน 100 วันโดยการเลี้ยงอาหารแล้วขอดุอาอฺให้กับผู้ตายกระทำหรือไม่ครับ ขอบคุณมากครับ

 คำตอบโดย อาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้

           การเยี่ยมกุโบร์ในระยะเริ่มแรกของอิสลามนั้นเป็นที่ต้องห้าม แต่หลังจากเหตุการณ์ที่ท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ไปเยี่มกุโบร์แม่ ท่านก็ได้แจ้งข้อบัญญัติให้ทราบว่า

 قَدْ نَهَيْتُكُمْ عَنْ زِيَارَةِ القُبُوْرِ فَقَدْ أُذِنَ لِمُحَمَّدٍ فِي زِيَارَةِ قَبْرِ أُمِّهِ فَزُوْرُوْهَا فَإنَّهَا تُذَكِّرُالآخِرَةِ

 ฉันเคยห้ามพวกเจ้าเกี่ยวกับการเยี่ยมกุโบร์ แต่ขณะนี้ได้เป็นที่อนุมัติแก่มูฮัมหมัดในการเยี่ยมกุโบร์แม่ของเขา ดังนั้นพวกเจ้าทั้งหลายจงเยี่ยมกุโบร์กันเถิด เพราะการเยี่ยมกุโบร์นั้นทำให้รำลึกถึงอาคิเราะห์ สุนันอัตติรมีซีย์ ฮะดีษเลขที่ 974

                 ด้วยเหตุนี้ การเยี่ยมกุโบร์จึงเป็นสิ่งที่ศาสนาสนับสนุนส่งเสริมให้กระทำ เพราะจะทำให้รำลึกถึงอาคิเราะห์ แต่การนำเอาพิธีกรรมมาควบรวมไว้ในการเยี่ยมด้วยดั่งตัวอย่างที่ผู้ถามกล่าวมานั้น เช่นการซิกิร การอ่านอัลกุรอ่าน (ในบางซูเราะห์ เช่น ซูเราะห์ยาซีน อัล-อิคฮลัส หรือซูเราะห์อื่นๆ) เป็นการกระทำที่เลยเถิด เนื่องจากไม่มีข้อบัญญัติใช้หรือสนับสนุนให้กระทำเช่นนั้น
                ส่วนการที่มีผู้อ้างว่า ท่านนบีก็อ่านอัลกุรอานในกุโบร์ โดยยกหลักฐานจากเหตุการณ์ที่ท่านนบีอ่านฟาติฮะห์ในละหมาดฆออิบให้กับหญิงดำที่ในกุโบร์นั้น เป็นคนละเรื่องกัน เพราะการอ่านฟาติฮะห์ในละหมาดของท่านนบี กับการอ่านเป็นพิธีกรรมในกุโบร์อย่างที่เราทำ นำมาเปรียบกันไม่ได้เลย  หรือพูดง่ายๆ ว่า อ้างนบี แต่ทำไม่เหมือนนบี อย่างนี้คือการทุจริตทางวิชาการ
                สำหรับการเยี่ยมกุโบร์นั้น มีหลักฐานศาสนาสนับสนุนให้กล่าวสลามแก่ชาวกุโบร์ ดั่งฮะดีษที่ท่านอบีฮุรอยเราะห์รายงานว่า

 أنَّ رَسُوْلَ اللهِ صَلَّى اللهُ عَليْهِ وَسَلَّمَ خَرَجَ اِلَى المَقْبُرَةِ فَقَالَ السَلامُ عَليْكُمْ دَارَ قَوْمٍ مُؤْمِنِيْنَ وَإنَّا إنْشَاءَ اللهُ بِكُمْ لاحِقُوْنَ 

แท้จริงท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้ออกไปที่หลุมศพ แล้วกล่าวว่า อัสสลามมุอลัยกุ้ม ดาร่อเกาว์มินมุอ์มีนีน ว่าอินนาอินชาอัลลอฮุบิกุ้มลาฮีกูน
  ศอเฮียะห์มุสลิม ฮะดีษเลขที่ 367

                 ใสสำนวนคำรายงานอื่นใช้คำว่า ล่าลาฮีกูน  ในตอนท้าย ซึ่งคำรายงานทั้งสองนี้ถูกต้องทั้งคู่ อย่างไรก็ตาม มีบางท่านได้นำฮะดีษบทนี้ไปอ้างว่า ผู้ตายสามารถได้ยินเสียงของผู้ที่เข้าไปในกุโบร์ ดังนั้นการทำพิธีกรรมที่คนบ้านเรากระทำกันอยู่นี้ก็น่าจะเป็นประโยชน์แก่คนตาย ซึ่งเรื่องนี้เป็นการทึกทักกันเอาเอง และกำหนดพิธีกรรมกันเอาเองดั่งเป็นผู้บัญญัติศาสนา เพราะถ้าหากเป็นเรื่องศาสนานั้นต้องทำเพราะมีคำสั่งใช้ ไม่ใช่ทำเพราะสันนิฐานว่าคนตายได้ยินหรือไม่ได้ยิน
                ส่วนคำถามเกี่ยวกับการเฝ้ากุโบร์นั้น คงต้องพิจารณาก่อนว่า เฝ้าด้วยเหตุใด ถ้าเฝ้าด้วยเหตุที่เกรงว่าศพจะถูกขโมย หรือถูกสัตว์ขุดคุ้ยเพื่อแทะซากศพ หรือเกรงว่าจะมีการขโมยขุดศพขึ้นมาทำลายหลักฐานการฆาตกรรม หรือด้วยเหตุจำเป็นอื่นๆ ก็ไม่เป็นที่ต้องห้าม และที่กล่าวมานี้ก็ไม่เกี่ยวกับมูลเหตุของการเฝ้าตามที่คนบ้านเรากระทำ เนื่องจากคนบ้านเราเฝ้ากุโบร์โดยเข้าใจว่าเป็นคำสั่งสอนของศาสนา และมีพิธีกรรมควบรวมในการเฝ้าด้วย เช่นการอ่านอัลกุรอานหรือซิกรุ้ลลอฮ์กันอย่างต่อเนื่อง  ทั้งๆ ที่การกระทำเช่นนี้ไม่หลักฐานทางศาสนา แต่ก็ยังมีคนอ้างศาสนาเพื่อหากิน ดังนั้นในบางที่จึงมีขบวนการการรับจ้างเฝ้า โดยจะจัดกันเป็นทีมแบ่งหน้าที่สลับสับเปลี่ยนกัน และไม่เพียงเฝ้าแค่ 7 วันตามที่ถามเท่านั้น ในบางท้องที่เฝ้ากันเป็นเดือนเลยก็มี
                ส่วนการทำบุญครบรอบวันตาย 7 วัน 40 หรือครบ 100 วันนั้น หาหลักฐานทางศาสนาอิสลามสนับสนุนไม่ได้เลย ในทางตรงกันข้าม การกระทำเช่นนี้เป็นเรื่องต้องห้ามในอิสลาม

 عَنْ جَرِيْرِ بْنِ عَبْدِ اللهِ البَجَلِيِّ قَالَ كُنَّا نَرَى الإجْتِمَاعَ اِلَى أهْلِ المَيِّتِ وَصَنْعَةَ الطَعَامِ مِنَ النِيَاحَةِ 

ญะรีร บุตรของ อับดุลลอฮ์ อัลบะญะลีย์ รายงานว่า พวกเรา (เหล่าศอฮาบะห์) เห็นว่าการไปรวมกันที่บ้านผู้ตายและทำอาหารนั้นเป็นส่วนหนึ่งจากนิยาฮะห์ สุนันอิบนิมาญะห์ ฮะดีษเลขที่ 1601
               

                คำว่า นิยาฮะห์ คือการไว้ทุกข์แบบญาฮิลียะห์

               ในขณะที่เราเชื่อว่าญาติพี่น้องของเราที่เสียชีวิตไปนั้น เขาตายในสภาพที่เป็นมุสลิม แต่เรากลับเอาพิธีกรรมญาฮิลียะห์ หยิบยื่นไปให้เขา  โดยเราคิดว่าสิ่งที่เราทำนั้นจะได้บุญ แต่มันกลับเป็นสิ่งต้องห้ามในอิสลาม
               อุมมุอะฏียะห์ รายงานว่า

 اِنَّ رَسُوْلَ اللهِ صَلَّى اللهُ عَليْهِ وَسَلَّمَ نَهَانَا عَنِ النِيَاحَةِ 

แท้จริงท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ห้ามพวกเราเกี่ยวกับนิยาฮะห์ สุนันอบีดาวูด ฮะดีษเลขที่ 2720 

..........................................................................................................


[ กลับไปข้างบน ]

·  คำถามที่ 23 ขอดุอาอ์ให้กาเฟร

คำถามโดย รักศาสนา

                 เนื่องจากผู้ถามได้ใช้ภาษาและศัพท์ในการถามไม่ถูกต้อง จึงขออนุญาตสรุปและเรียงคำถามให้ใหม่ดังนี้
               มุสลิมจะขอดุอาอ์ต่ออัลลอฮ์ให้อภัยโทษแก่คนที่ไม่ใช่มุสลิมที่เสียชีวิตไปแล้วได้หรือไม่

 คำตอบโดย อาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้

                 เป็นที่ทราบกันดีว่าท่านนบีมูฮัมหมัด ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัมนั้น เคยเป็นเด็กกำพร้า โดยพ่อของท่านเสียชีวิตตั้งแต่ยังอยู่ในครรภ์ของมารดา และแม่ก็เสียชีวิตตั้งแต่ท่านยังเยาว์วัย ท่านจึงได้รับการเลี้ยงดูจาก อับดุลมุตฏอลิบ ผู้เป็นปู่ และหลังจากปู่เสียชีวิต ท่านก็ได้รับการเลี้ยงดูจากลุงที่ชื่อ อบูตอลิบ แต่ทั้งพ่อ,แม่และปู่ของท่านได้เสียชีวิตไปก่อนที่ท่านจะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนบีทั้งสิ้น นอกจากลุงของท่านที่ชื่ออบูตอลิบ ได้เสียชีวิตในช่วงที่ท่านนบีประกาศอิสลาม
                เหตุการณ์ที่ท่านนบีได้ไปเยี่ยมหลุมศพของแม่หลังจากได้รับการแต่งตั้งให้ประกาศอิสลามแล้ว เป็นหลักฐานที่บ่งชี้ถึงเรื่องนี้ได้ดี ซึ่งท่านอบูฮุรอยเราะห์ได้รายงานว่า ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

 إستأذنت ربي أن أستغفر لأمي فلم يأذن لي وإستأذنته أن أزور قبرها فأذن لي 

ฉันขออนุมัติต่อองค์อภิบาลของฉันที่จะขออภัยโทษให้กับแม่ของฉัน แต่พระองค์ไม่ทรงอนุมัติ แต่เมื่อฉันขออนุมัติต่อพระองค์ที่จะเยี่ยมหลุมศพของแม่ พระองค์ก็ทรงอนุมัติแก่ฉัน ศอเฮียะห์มุสลิม ฮะดีษเลขที่ 1621

                 และในเหตุการณ์ที่ท่านนบีตั้งใจขออภัยโทษให้แก่อบูตอลิบ ผู้เป็นลุงของท่าน พระองค์อัลลอฮ์ก็ทรงห้ามท่านไม่ให้กระทำเช่นนั้น ซึ่งท่านมุซัยยับ อิบนุ ฮัซนิน ได้รายงานว่า

 لما حضرت أبا طالب الوفاة جاءه رسول الله صلى الله عليه وسلم فوجد عنده أبا جهل بن هشام وعبد الله بن أبي أمية بن المغيرة قال رسول الله صلى الله عليه وسلم لإبي طالب : يا عم قل لا إله الا الله  كلمة أشهد لك بها عند الله فقال أبو جهل وعبد الله بن أبي أمية يا أبا طالب أترغب عن ملة عبد المطلب ؟ فلم يزل رسول الله صلى الله عليه وسلم يعرضها عليه ، ويعودان بتلك المقالة حتى قال أبو طالب ، آخرما كلمهم ، هو على ملة عبد المطلب ، وأبى أن يقول لا اله الا الله فقال رسول الله صلى الله عليه وسلم : أما والله لأستغفرن لك مالم أنه عنك فأنزل الله تعالى فيه – ماكان للنبي والذين آمنوا- الآية 
 
                
                เมื่อครั้งที่อบูตอลิบ เจ็บหนัก ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้เข้าไปเยี่ยมและพบว่า ณ.ที่นั้นมี อบูญะฮล์ บินฮิชาม และ อับดุลลอฮ์ อิบนิ อบีอุมัยยะห์ อิบนิมุฆีเราะห์ ร่วมอยู่ด้วย ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวกับอบีตอลิบว่า โอ้ลุงเอ๋ย จงกล่าว ลาอิลาฮ่าอิ้ลลัลลอฮ์ ฉันจะได้นำคำนี้ไปยืนยันให้แก่ท่าน ณ.ที่อัลลอฮ์ แต่อบูญะฮล์ และอับดุลลอฮ์ อิบนิอบีอุมัยยะห์ ได้ทักท้วงว่า โอ้อบูตอลิบเอ๋ย ท่านจะผินหลังให้กับศาสนาของอับดุลมุฏตอลิบกระนั้นหรือ ? แต่ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ก็ยังคงเสนอให้อบูตอลิบกล่าวคำปฏิญาณโดยที่ทั้งสองนั้นก็คอยทักท้วงอยู่ตลอดเวลา จนกระทั่งคำสุดท้ายของอบูตลิบได้กล่าวเหมือนดั่งที่พวกเขากล่าวกัน นั่นคืออยู่บนศาสนาของอับดุลมุฏตอลิบ และปฏิเสธที่จะกล่าว ลาอิลาฮ่าอิ้ลลัลลอฮ์  ดังนั้นท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม จึงกล่าวว่า ขอสาบานต่ออัลลอฮ์ว่า ฉันจะขออภัยโทษให้แก่ท่านอย่างแน่นอนตราบใดที่ฉันไม่ถูกห้าม ดังนั้นพระองค์อัลลอฮ์ จึงได้ประทานอายะห์นี้มาว่า “ไม่ใช่หน้าที่ของนบีและบรรดาผู้ศรัทธาในการขออภัยโทษให้แก่บรรดาผุ้ตั้งภาคี แม้ว่าพวกเขาจะเป็นญาติใกล้ชิดกันก็ตาม มุตตะฟะกุนอลัยฮิ ตัวบทจากศอเฮียะห์บุคคอรี ฮะดีษเลขที่ 1272 ส่วนข้อความของอัลกุรอานนั้น จากซูเราะห์อัตเตาบะห์ อายะห์ที่ 113

                 หลักฐานข้างต้นนี้เป็นข้อชี้ขาดว่า ไม่อนุญาตในการขออภัยโทษให้แก่คนที่ไม่ใช่มุสลิมที่เสียชีวิตไปแล้ว และเช่นเดียวกัน สำหรับคนที่ปากของเขายืนยันในการเป็นมุสลิม แต่พฤติกรรมของเขาเป็นผู้ปฏิเสธการศรัทธาก็เป็นที่ต้องห้ามด้วย พระองค์อัลลอฮ์ได้ทรงกล่าวว่า

 وَلاَ تُصَلِّ عَلَى أَحَدٍ مِنْهُمْ مَاتَ أَبَداً وَلاَ تَقُمْ عَلَى قَبْرِهِ إنَّهُمْ كَفَرُوا بِاللهِ وَرَسُوْلِهِ وَمَاتُوا وَهُمْ فَاسِقُوْنَ 

และเจ้า (มูฮัมหมัด) อย่าได้ละหมาด (ญะนาซะห์) ให้แก่คนใดในหมู่พวกเขาที่ตายเป็นอันขาด และอย่าได้ยืนบนหลุมศพของพวกเขา (เพื่อขอดุอาอ์) แท้จริงพวกเขาปฏิเสธการศรัทธาต่ออัลลอฮ์ และรอซูลของพระองค์ และพวกเขาตายไปในขณะที่พวกเขาเป็นผู้ฝ่าฝืน ซูเราะห์อัตเตาบะห์ อายะห์ที่ 84

..........................................................................................................



                  

[ กลับไปข้างบน ]

·  คำถามที่ 24 การใส่หมวดโพกสะระบั่นเป็นซุนนะห์หรือเปล่า

คำถามโดย คนกันเอง
 

                อาจารย์คะ การใส่หมวกหรือโพกสะระบั่นเป็นซุนนะห์นบีหรือเปล่า เคยฟังมาเมื่อก่อนว่าไม่ใช่ซุนนะห์ แต่ตอนนี้อาจารย์ซุนนะห์บางท่านบอกว่า เป็นซุนนะห์นบีและยังบอกอีกว่านบีไม่เคยถอดหมวกละหมาดเลย อยากถามความเห็นของอาจารย์ว่า ที่ถูกต้องเป็นอย่างไร

 คำตอบโดย อาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้
 

                ผู้ถามใช้นามว่า คนกันเอง ได้ถามความคิดเห็นของผมเกี่ยวกับเรื่องการใส่หมวกและโพกสะระบั่นว่าเป็นซุนนะห์ของท่านนบีหรือเปล่า ต้องขอมะอัฟ ที่ผมไม่สามารถตอบคำถามนี้ด้วยความคิดเห็นของผมเอง เพราะความเห็นของผมไม่ใช่ที่ปรับของศาสนา ดังนั้นคำตอบของเรื่องนี้จึงขึ้นอยู่กับหลักฐานที่ถูกต้องเพื่อให้ทราบถึงฮุกุ่ม (ข้อบัญญัติ) ซึ่งเรียงลำดับให้ท่านทราบดังนี้

                ประการที่หนึ่ง คำว่า ซุนนะห์  ในแวดวงของนักวิชาการฮะดีษนั้นหมายถึง คำพูด,การกระทำ,การยอมรับ,คุณลักษณะ,อุปนิสัย ซึ่งทุกเรื่องที่ถูกรายงานมาจากท่านรอซูลจะถูกเรียกว่า ซุนนะห์ หรือฮะดีษ โดยมิได้จำแนกว่า เรื่องนั้นจะเกี่ยวข้องกับศาสนาหรือไม่ เช่นลักษณะวิธีการละหมาดก็เป็นซุนนะห์ (เกี่ยวกับเรื่องศาสนา) หรือท่านนบีชอบกินเนื้อแกะตรงส่วนสะโพกก็เป็นซุนนะห์ (ไม่เกี่ยวกับเรื่องของศาสนา)  นอกจากนั้นการบันทึกสิ่งที่ถูกรายงานมาจากท่านนบีก็ไม่ได้จำแนกว่าเรื่องนั้นประชาชาติอิสลามจะนำมาถือปฏิบัติต่อได้หรือไม่หรือเป็นเรื่องเฉพาะท่านนบี เช่นการที่ท่านนบีมีภรรยามากกว่าสี่คนก็เป็นซุนนะห์ (เฉพาะท่านบี) หรือการอิสรออ์และเมียะอ์รอจญ์ก็เป็นซุนนะห์ (เฉพาะท่านนบี)

                ประการที่สอง คำว่า ซุนนะห์ ในแวดวงของนักวิชาการด้านอุศูลฯ มีความหมายว่า สิ่งที่ทำแล้วได้บุญ,ทิ้งก็ไม่เป็นบาปแต่ประการใด ซึ่งที่มาของฮุก่มนี้ก็คือ มีตัวบทหลักฐานมาสนับสนุนให้กระทำ

                ผู้ถามได้ถามเกี่ยวกับการใส่หมวกและโผกสะระบั่นว่าเป็นซุนนะห์หรือไม่ ถ้าจะตอบในประเด็นของการรายงานตามวิชาฮะดีษก็ต้องบอกว่า เป็นซุนนะห์แน่นอน เพราะมีตัวบทหลักฐานยืนยันการกระทำของท่านนบี เช่น ท่านญาบิร บินอับดิลาฮ์ รายงานว่า

 أَنَّ النَبِيَّ صَلى اللهُ عَليْهِ وَسَلَّمَ دَخَلَ يَوْمَ فَتْحِ مَكَّةَ وَعَليْهِ عِمَامَةٌ سُوْدَاءُ
 

แท้จริงท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้เข้ามาในวันพิชิตมักกะห์ โดยท่านโพกสะระบั่นสีดำ” ศอเฮียะห์มุสลิม ฮะดีษเลขที่ 2419


                ฮุรอยซ์ บินอัมร์ รายงานว่า

 رَأيْتُ رَسُوْلَ اللهِ صَلى اللهُ عَليْهِ وَسَلَّمَ عَلى المِنْبَرِ وَعَليْهِ عِمَامَةٌ سَوْدَاءُ قَدْ أرْخَى طَرَفَهَا بَيْنَ كَتِفَيْهِ
 ฉันเคยเห็นท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม บนมิมบัรซึ่งท่านโพกสะระบั่นสีดำโดยปล่อยชายผ้าระหว่างบ่าทั้งสองของท่าน” สุนันอบีดาวูด ฮะดีษเลขที่ 3555
 

                ยังมีตัวบทฮะดีษอีกมายที่แสดงว่าท่านรอซูลได้โพกสะระบั่นในหลายอิริยาบถ แต่การกระทำของท่านจะเป็นซุนนะห์ที่เกี่ยวกับศาสนาหรือไม่, หรือว่าเป็นซุนนะห์เฉพาะท่านนบีเท่านั้น, และเป็นซุนนะห์ที่มีผลต่อการปฏิบัติต่อประชาชาติอิสลามหรือไม่ ต้องพิจารณาในประการที่สองคือ มีตัวบทหลักฐานใช้หรือสนับสนุนให้กระทำหรือเปล่า

                สำหรับผู้ที่ไม่มีพื้นฐานไม่สามารถจำแนกได้ ผมเสนอข้อสังเกตประกอบการพิจารณาไว้ดังนี้

                1 – ก่อนที่จะได้รับการแต่งตั้งให้ประกาศอิสลามนั้นท่านนบีได้ใส่หมวกหรือโพกสะระบั่นมาก่อนหรือไม่ หรือว่าท่านเพิ่งมาใส่ตอนที่ได้รับวะฮีย์แล้ว

                2 – หลังจากที่ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนบีแล้ว ท่านได้สั่งใช้หรือสนับสนุนให้กระทำในเรื่องนี้เป็นการเฉพาะหรือเปล่า

                ข้อสังเกตเพื่อการพิจารณาทั้งสองประการนี้ เป็นคำเฉลยของปัญหานี้ว่า การใส่หมวกโพกสะระบั่นนั้นเป็นซุนนะห์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องศาสนาแต่ประการใด เนื่องจากไม่มีตัวบทหลักฐานใช้หรือสนับสนุนให้ประชาชาติอิสลามได้ถือปฏิบัติ ไม่ใช่เรื่องที่ทำแล้วได้บุญทิ้งไม่เป็นบาป

                ส่วนประเด็นที่ถามเกี่ยวกับการใส่หมวกหรือโพกสะระบั่นในขณะละหมาดนั้น ขอให้ท่านพิจารณาว่า ท่านนบีใส่เฉพาะขณะที่ละหมาดอย่างเดียวหรือนอกละหมาดท่านก็ใส่ด้วย และถ้าหากจะถือว่าการใส่เป็นส่วนหนึ่งของการละหมาด ก็จะต้องแจ้งฮุก่มของมันให้ได้ว่าเป็นวาญิบหรือซุนนะห์ในละหมาด ซึ่งที่มาของฮุก่มก็คือ

                หากเป็นวาญิบ ต้องมีหลักฐานมาบังคับใช้ และมีผลคือ ถ้าไม่ใส่แล้วเกิดโทษหรือทำให้ละหมาดใช้ไม่ได้

หากเป็นซุนนะห์ ต้องมีหลักฐานมาสนับสนุนให้กระทำ และมีผลคือ ถ้าใส่แล้วได้บุญ แต่ถ้าไม่ใส่ก็ไม่เกิดโทษและไม่ทำให้เสียละหมาด

                แต่ปรากฏว่าไม่มีทั้งหลักฐานบังคับใช้หรือสนับสนุนให้กระทำ ด้วยเหตุนี้บรรดานักวิชาการจึงไม่นับว่า การใส่หมวกหรือโพกสะระบั่นขณะละหมาดนั้นเป็นวาญิบหรือซุนนะห์  แต่หากจะมีผู้อ้างว่ามีตัวบทหลักฐานสนับสนุนในเรื่องนี้คือฮะดีษที่ว่า การใส่หมวกหรือโพกสะระบั่นในละหมาดได้ผลบุญมากกว่าไม่ใส่หมวกหรือโพกสะระบั่น 25 เท่า” ในบางรายงานบอกว่า 27 เท่า ซึ่งฮะดีษที่รายงานเกี่ยวกับเรื่องผลบุญของการใส่หมวกโพกสะระบั่นในละหมาดทั้งหมดเป็นฮะดีษฏออีฟ (อ่อน) หรือฮะดีษเมาดัวอ์ (เก้) จึงไม่สามารถนำมาอ้างเป็นฮุก่มศาสนาได้
.............................................................................................................................................

[ กลับไปข้างบน ]

·  คำถามที่ 25 วัวที่จะทำกุรบานหายไปจะทำอย่างไร

คำถามโดย ผู้ใช้นามว่าด่วนมาก

สลามครับอาจารย์ พวกกระผมลงหุ้นวัวทำกุรบาน กะว่าละหมาดอีดแล้วจะเชือด แต่วัวหายจนเดี๋ยวนี้ก็หาไม่เจอ มันเปรียวมาก นี่ก็ใกล้หมดวันทำกุรบานแล้ว พวกกระผมจะทำอย่างไรดี ตอบด่วนครับอาจารย์

คำตอบโดย อาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้

ปัญหานี้เคยเกิดขึ้นกับผมเมื่อหลายปีมาแล้วคือ วัวที่จะเชือดกุรบานหลุด วิ่งหนีไปต่อหน้าต่อตา แต่ตามเจอก่อนหมดเวลาเชือด อัลฮัมดุลิ้ลลาฮ์

ปัญหาของผู้ถามนี้ก็คล้ายกัน แต่ผู้ถามเกรงว่าจะตามตัวมันไม่ทันเวลาเชือด (เนื่องจากวันเวลาที่ศาสนาอนุมัติให้เชื่อดอุฏฮิยะห์ได้คือ วันอีดิ้ลอัฏฮา เริ่มจากหลังละหมาดอีด และไปหมดเวลาก่อนตะวันลับขอบฟ้าในวันสุดท้ายของวันตัชรีก คือหลังจากวันอีดอีกสามวัน)

หากยังอยู่ในวันและเวลาที่ศาสนากำหนด และท่านมีความสามารถที่จะหาวัวตัวอื่นมาเชือดแทนได้ ก็ควรจะทำก่อนที่วันและเวลาจะผ่านพ้นไป แต่หากไม่มีความสามารถที่จะหาวัวตัวอื่นหรือสัตว์ประเภทอื่นที่ศาสนากำหนดมาทดแทนได้ ก็ถือว่าเจตนาและความพยายามของท่านได้บรรลุผลแล้ว

และหากพบวัวตัวดังกล่าวหลังจากหมดเวลาไปแล้ว ก็ขอให้ท่านนำมันมาเชือด แม้ว่าจะไม่ใช่วันและเวลาที่ศาสนากำหนดก็ตาม โดยท่านอิบนุ อัซัยมีน ได้ฟัตวาประเด็นนี้ไว้อย่างน่าฟังทีเดียวว่า

لو حصل له عذر بالتأخير عن أيام التشريق مثل أن تهرب الأضحية بغير تفريط منه فلم يجدها إلا بعد فوات الوقت ، أو يوكل من يذبحها فينسى الوكيل حتى يخرج الوقت ، فلا بأس أن تذبح بعد خروج الوقت للعذر ، وقياساً على من نام عن صلاة أو نسيها فإنه يصليها إذا استيقظ أو ذكرها

“หากเขามีอุปสรรค์ที่ทำให้ต้องล่าช้าเกินวันตัชรีกไปแล้ว เช่น สัตว์ที่จะเชือดหนีไปโดยพยายามอย่างเต็มที่แล้ว แต่ก็ไม่พบ นอกจากหลังเวลาเชือดได้ผ่านพ้นไปแล้ว หรือได้มอบหมายให้ผู้อื่นเชือดแทน แต่ผู้ที่รับมอบได้ลืมจนเลยเวลา ถ้าเช่นนั้นก็ไม่เป็นไรในการเชือดนอกเวลาที่กำหนดเนื่องจากมีอุปสรรค์ ทั้งนี้โดยการกิยาส (เปรียบเทียบกับเรื่องอื่นที่มีตัวบท) คือผู้ที่นอนหลับสนิทจนเลยเวลาละหมาด หรือลืมการละหมาด ดังนั้นเขาจึงต้องละหมาดเมื่อตื่นนอนหรือเมื่อนึกขึ้นได้”
อะห์กามุ้ลอุฏฮียะห์ โดยเชค อิบนุ อุซัยมีน

ขออัลลอฮ์ทรงตอบรับเจตนาบริสุทธิ์และความพยายามอย่างยิ่งยวดของท่านด้วยเถิด

[ กลับไปข้างบน ]

·  คำถามที่ 26 รวมไม่ได้หรือ

คำถาม โดยคุณสมหวัง

ได้ยินมาว่า ถ้าเราเดินทางจากกรุงเทพไปบ้านภรรยาที่เชียงใหม่ ก็ไม่สามารถละหมาดย่อและรวมได้ เนื่องจากสามีภรรยาถือเป็นคนเดียวกัน

คำตอบโดย อาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้

ข้อบัญญัติของอิสลามอนุมัติให้ผู้เดินทางละหมาดย่อและรวมซึ่งเรื่องนี้เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้ว แต่เหตุผลที่นำมากล่าวอ้างว่า สามีกับภรรยาถือเป็นคนเดียวกันทำให้บัญญัติการละหมาดสำหรับผู้เดินทางเปลี่ยนไป เรื่องนี้เป็นความเข้าใจผิด เนื่องจาก
บัญญัติการละหมาดฟัรดู 5 เวลานั้นกำหนดไว้เป็นฟัรดูอีน หรือ ข้อบังคับรายบุคคล โดยต่างคนต่างปฏิบัติตามสถานะของตนเอง ยกตัวอย่างเช่น

1 – เมื่อภรรยามีเลือดประจำเดือนไม่สามารถละหมาดฟัรดูได้ สามียังต้องละหมาดฟัรดูตามเวลาปกติ จะเอาข้อบังคับที่ใช้กับภรรยาไปบังคับใช้กับสามีไม่ได้
2 – เมื่อสามีเดินทางโดยละหมาดย่อและรวม ส่วนภรรยาอยู่ที่บ้านไม่ได้เดินทางก็ต้องละหมาดฟัรดูตามเวลาปกติ โดยไม่สามารถนำเอาวิธีการละหมาดของผู้เดินทางมาปฏิบัติได้
ดังนั้นคำพูดที่ว่า สามีภรรยาเป็นคนเดียวกันโดยจะเอาข้อบัญญัติของคนหนึ่งคนใดไปบังคับใช้กับอีกคนหนึ่งจึงเป็นความเข้าใจไม่ถูกต้อง

ในกรณีที่สามีเดินทางจากกรุงเทพไปบ้านภรรยาที่เชียงใหม่ ก็ไม่ได้พิจารณาว่าบ้านหลังนั้นเป็นบ้านใคร แต่พิจารณาว่าเดินทางหรือไม่ ถ้าหากว่าเป็นการเดินทางก็มีบัญญัติให้ละหมาดย่อและรวม วัลลอฮุอะอ์ลัม


...............................................................................................................................

[ กลับไปข้างบน ]










ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.83 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ