ยินดีต้อนรับสู่ Moradokislam.org!
Homeหน้าแรก     Forumsกระดานข่าว     Your Accountสำหรับสมาชิก     Downloadsดาวน์โหลด     Submit Newsเผยแพร่ข่าวสาร     Topicsหัวข้อเรื่อง     Select Thai LangaugeThai Langauge   
อนุรักษ์มรดกอิสลาม :: ดูกระทู้ - รวบร่วม เรื่องที่เป็นบิดอะห์ในอิสลาม
อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก อนุรักษ์มรดกอิสลาม  
  เพื่อการอนุรักษ์มรดกอิสลาม      คำถามถามบ่อยของกระดานข่าว      ค้นหา      รายนามสมาชิก  
  · เข้าระบบ ข้อมูลส่วนตัว · เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ · กลุ่มผู้ใช้งาน  
รวบร่วม เรื่องที่เป็นบิดอะห์ในอิสลาม
ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   กระทู้นี้ถูกปิดคุณไม่สามารถแก้ไขคำตอบหรือตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> ประวัติศาสตร์อิสลาม
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kolis_mala
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/12/2010
ตอบ: 295


ตอบตอบ: Tue Jan 18, 2011 9:00 pm    ชื่อกระทู้: รวบร่วม เรื่องที่เป็นบิดอะห์ในอิสลาม ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การกล่าวคำเนียตสุนนะฮหรือบิดอะฮ
การกล่าวคำเนียต เป็นเนื้องอกชนิดหนึ่งที่เข้ามาปะปนและเพิ่มเติม ในคำสอนศาสนาโดยไม่มีคำสอนหรือ สุนนะฮจากท่านบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมและเหล่าสาวกของท่าน ดังรายละเอียดต่อไปนี้

ท่านเช็คอับดุลอะซีซ บิน บาซ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่านกล่าวว่า

التلفظ بالنية بدعة ، والجهر بذلك أشد في الإثم ، وإنما السنَّة النيَّة بالقلب ؛ لأن الله سبحانه وتعالى يعلم السرَّ وأخفى ، وهو القائل عز وجل : { قُلْ أَتُعَلِّمُونَ اللَّهَ بِدِينِكُمْ وَاللَّهُ يَعْلَمُ مَا فِي السَّمَاوَاتِ وَمَا فِي الْأَرْضِ } الحجرات / 16
ولم يثبت عن النبي صلى الله عليه وسلم ولا عن أحدٍ من أصحابه ولا عن الأئمة المتبوعين التلفظ بالنية ، فعلم بذلك أنه غير مشروع بل من البدع المحدَثة ، والله ولي التوفيق .

การกล่าวคำเนียตนั้น เป็นบิดอะฮ และการกล่าวคำดังกล่าวนั้นด้วยเสียงดัง ยิ่งมีความผิดมากขึ้น และความจริง ตามสุนนะฮ นั้น คือ การเนียตด้วยใจ เพราะอัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ทรงรู้ยิ่ง สิ่งที่ปิดบังและซ่อนเร้น โดยที่พระองค์ผู้ทรงสูงส่ง ทรงเลิศยิ่ง กล่าวว่า

قُلْ أَتُعَلِّمُونَ اللَّهَ بِدِينِكُمْ وَاللَّهُ يَعْلَمُ مَا فِي السَّمَاوَاتِ وَمَا فِي الْأَرْضِ وَاللَّهُ بِكُلِّ شَيْءٍ عَلِيمٌ

[49.16] จงกล่าวเถิดมุฮัมมัดว่า พวกท่านจะบอกอัลลอฮ์เกี่ยวกับศาสนาของพวกท่านกระนั้นหรือ? อัลลอฮ์นั้นทรงรอบรู้สิ่งที่อยู่ในชั้นฟ้าทั้งหลาย และแผ่นดิน และอัลลอฮ์นั้นทรงรอบรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง

และไม่ปรากฏรายงานที่ได้รับการรับรอง จากท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ,ไม่มีจากคนใดคนหนึ่งจากเหล่าเศาะฮาบะฮ ของท่านและไม่มีจากบรรดาอิหม่ามที่ได้รับการปฏิบัติตาม ว่า มีการกล่าวคำเนียต ด้วยเหตุนั้น จึงทราบได้ว่า มันไม่ได้เป็นสิ่งที่ถูกบัญญัติไว้ แต่ทว่า (มัน)เป็นส่วนหนึ่งจากบิดอะฮ ที่ถูกอุตริขึ้นมาใหม่ - ฟะตะวาอิสลามียะฮ 22/315

ท่านอิบนุตัยมียะฮ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)ได้กล่าวเกี่ยวกับประเด็นการกล่าวคำเนียตว่า


لا يستحب التلفظ بها لأن ذلك بدعة لم تنقل عن رسول الله ولا عن اصحابه ولا أمر النبى أحدا من أمته أن يتلفظ بالنية ولا عَلّم ذلك أحدا من المسلمين ولو كان هذا مشهورا مشروعا لم يهمله النبى وأصحابه مع أن الأمة مبتلاة به كل يوم وليلة بل التلفظ بالنية نقص فى العقل والدين

ไม่ชอบให้กล่าวคำเนียต ด้วยมัน เพราะว่า ดังกล่าวนั้น เป็นบิดอะฮ ไม่มีรายงานจากท่านรซูลุ้ลลอฮ และไม่มีรายงานจากเหล่าสาวกของท่าน และไม่มีคำสั่งของท่านนบี แก่คนหนึ่งคนใดจากอุมมะฮของท่าน ให้กล่าวคำเนียต และท่านนบีไม่ได้สอนสิ่งนั้นแก่คนหนึ่งคนใดจากบรรดามุสลิม และถ้าหากปรากฏว่า สิ่งนี้(การกล่วคำเนียต) เป็นสิ่งที่แพร่หลาย มีบัญญัติให้กระทำ แน่นอน ท่านนบีและบรรดาสาวกของท่านย่อมไม่เพิกเฉย ทั้งๆที่แท้จริงบรรดาอุมมะฮ เป็นผู้ที่เฝ้าระวังมันอยู่ทุกวัน ทุกคืน (ว่ามีสิ่งใดบ้างบัญญัติแก่พวกเขา) แต่ทว่า การกล่าวคำเนียต คือ ความบกพร่อง ในด้านสติปัญญาและศาสนา - มัจญมัวะอัลฟะตาวา 22/231
คำว่า “บกพร่องในด้านศาสนา เพราะมันเป็นบิดอะฮ และคำว่า “บกพร่องในด้านสติปัญญา เพราะ เขาอยู่ในฐานะเดียวกับผู้ที่ เมื่อ เขาต้องการทานอาหารแล้วเขากล่าวคำเนียตว่า “ข้าพเจ้าจะเอามือไปตักอาหาร..... - ดู ฟะตาวากุบรอ 2/218 - พฤติกรรมแบบนี้เขาเรียกว่าคนเสียสติ

และท่านได้กล่าวไว้อีกที่หนึ่งว่า

وجميع ما أحدثه الناس من التلفظ بالنية قبل التكبير وقبل التلبية وفى الطهارة وسائر العبادات فهى من البدع التى لم يشرعها رسول الله صلى الله عليه وسلم وكل ما يحدث فى العبادات المشروعة من الزيادات التى لم يشرعها رسول الله فهى بدعة بل كان صلى الله عليه وسلم يداوم في العبادات على تركها ، ففعلها والمداومة عليها بدعة وضلالة .

และทั้งหมดของสิ่งที่บรรดาผู้คน อุตริมันขึ้นมาใหม่ จากการกล่าวคำเนียต ก่อนที่จะกล่าวตักบีร (ในละหมาด),ก่อนกล่าวตัลบียะฮ(ในการทำหัจญ์) ,ในกรณีการทำความสะอาด และในบรรดาอิบาดะฮต่างๆ มันคือ ส่วนหนึ่ง จากบิดอะฮ ที่ท่านรซูลุ้ลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ไม่ได้บัญญัติมันไว้ และทุกสิ่งที่ถูกอุตริขึ้นใหม่ ในบรรดาอิบาดะฮที่ถูกบัญญัติไว้ จากบรรดาการเพิ่มเติม ที่ท่านรซูลุ้ลลอฮ ไม่ได้บัญญัติมันไว้ มันก็คือ “บิดอะฮ” ในทางตรงกันข้าม เมื่อ ปรากฏว่าท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ละทิ้งมันตลอดในอิบาดะฮต่างๆ ดังนั้น การกระทำมันและกระทำมันเป็นประจำ นั้น เป็นบิดอะฮ และเป็นการหลงผิด -มัจญมัวะฟะตาวา 22/223


และท่านอิบนุตัยมียะฮ ได้กล่าวอีกว่า

محل النية القلب دون اللسان باتفاق أئمة المسلمين في جميع العبادات : الصلاة والطهارة والزكاة والحج والصيام والعتق والجهاد وغير ذلك . ولو تكلم بلسانه بخلاف ما نوى في قلبه كان الاعتبار بما نوى بقلبه لا باللفظ ولو تكلم بلسانه ولم تحصل النية في قلبه لم يجزئ ذلك باتفاق أئمة المسلمين

“ที่ของการเนียตคือ หัวใจ ไม่ใช่ลิ้น ด้วยมติของบรรดาผู้นำมุสลิม ในเรื่องทั้งหมดของอิบาดะฮ เช่น การละหมาด,การทำความสะอาด,การจ่ายซะกาต,การทำหัจญ์,การถือศีลอด,การปลดปล่อยทาส,การญิฮาด และอื่นจากนั้น และถ้าหากว่า เขาพูดด้วยวาจาของเขา ขัดแย้ง(ไม่ตรง) กับสิ่งที่ได้เนียต ในหัวใจของเขา การพิจารณา ก็เป็นไปตามสิ่งที่เขาได้เนียต ด้วยใจของเขา ไม่ใช่ด้วย คำกล่าว และแม้เขาจะกล่าวโดยวาจาของเขา โดยที่ไม่เกิดการเนียตในใจของเขา ดังกล่าวนั้น ย่อมใช้ไม่ได้ โดยมติของบรรดาอิหม่ามของบรรดามุสลิม – ดูมัจญมัวะ ฟะตาวา 22/ 218

มีต่อ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
kolis_mala
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/12/2010
ตอบ: 295


ตอบตอบ: Tue Jan 18, 2011 9:01 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ผมผ่านเข้าไปในเว็บไซด์หนึ่ง ผู้ตอบปัญหาในเว็บกล่าวว่า

การกล่าวคำเหนียต ก่อนจากละหมาด หรือก่อนจากตักบีร่อตุลเอี๊ยะหฺรอม ถือว่าเป็นสุนัต ตามทัศนะของอุลามาอ์ส่วนมาก ท่านนบี(ซ.ล.) ได้กล่าวไว้ว่า
إنما الأعمال بالنيات
"แท้จริง บรรดาการปฏิบัตินั้น ด้วยการเหนียต"
http://www.sunnahstudent.com/forum/index.php?PHPSESSID=83f7e9ab4d4c2ca114890d6456cda9e0&topic=169.0

ก็รู้สึกแปลกใจว่า เป็นสุนัตได้อย่างไร ในเมื่อท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิสัลลัม ไม่ได้สอน ,ไม่ได้ทำแบบอย่างไว้ และบรรดาเคาะลิฟะฮอัรรอชิดีน ก็ไม่เคยทำแบบอย่างเอาไว้ มิหนำซ้ำหะดิษข้างต้น ก็ไม่ได้หมายถึงการกล่าวคำเนียต แต่กล่าวถึง การเจตนาการกระทำ และ เจตนาในการกระทำนั้นว่า ทำเพื่ออะไร

ท่านอิบนุตัยมียะฮกล่าวว่า

وسبب الحديث يدل على ذلك فإن سببه أن رجلا هاجر من مكة إلى المدينة ليتزوج امرأة يقال لها : أم قيس فسمي مهاجر أم قيس . فخطب النبي صلى الله عليه وسلم على المنبر وذكر هذا الحديث . وهذا كان نيته في قلبه

และสาเหตุของหะดิษ แสดงบอกดังกล่าวนั้น(หมายถึงเจตนา) เพราะสาเหตุของมัน มีอยู่ว่า ชายคนหนึ่ง ได้อพยพ(ฮิจญเราะฮ) จากนครมักกะฮ ไปยังนครมะดีนะฮ เพื่อที่จะแต่งงานกับผู้หญิงคนหนึ่ง ที่ชื่อว่า " อุมมุกอ็ยส" เลยเขาถูกขนานนามว่า "ผู้อพยพของอุมมุกอ็ยส" แล้วต่อมาท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้อ่านคุฏบะฮบนมิมบัร โดยกล่าวหะดิษนี้ และ กรณีนี้ ปราฏว่า การเนียตของเขานั้น อยู่ในใจของเขา - มัจญมัวะฟะตาวา 22/219
.................
ดังนั้นการนำหะดิษข้างต้นมาเป็นหลักฐานการกล่าวคำเนียตด้วยวาจานั้น ย่อมไม่มีน้ำหนักแม้แต่น้อย
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
kolis_mala
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/12/2010
ตอบ: 295


ตอบตอบ: Tue Jan 18, 2011 9:02 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ท่านอิบนุตัยมียะฮ(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)ได้กล่าวไว้อีกว่า

ومنهم من لم يستحب التلفظ بها كما قال ذلك من قاله من أصحاب مالك وأحمد وغيرهما . وهذا هو المنصوص عن مالك وأحمد سئل تقول قبل التكبير شيئا ؟ قال : لا
وهذا هو الصواب فإن النبي صلى الله عليه وسلم لم يكن يقول قبل التكبير شيئا ولم يكن يتلفظ بالنية لا في الطهارة ولا في الصلاة ولا في الصيام ولا في الحج . ولا غيرها من العبادات ولا خلفاؤه ولا أمر أحدا أن يتلفظ بالنية بل قال لمن علمه الصلاة : كبر ; كما في الصحيح عن عائشة - رضي الله عنها قالت : { كان رسول الله صلى الله عليه وسلم يستفتح الصلاة بالتكبير والقراءة بالحمد لله رب العالمين } ولم يتلفظ قبل التكبير بنية ولا غيرها ولا علم ذلك أحدا من المسلمين . ولو كان ذلك مستحبا لفعله النبي صلى الله عليه وسلم ولعظمه المسلمون

และส่วนหนึ่งจากพวกเขา(อุลามาอฺ) คือ ผู้ที่ไม่ชอบให้กล่าวคำเนียต ดังเช่น ผู้ที่กล่าวมันได้กล่าวไว้เช่นนั้น จากบรรดาสหายของมาลิก,อะหมัดและอื่นจากท่านทั้งสอง และนี้คือ สิ่งที่เป็นตัวบทระบุจากมาลิกและอะหมัด ซึ่งถูกถามว่า ท่านกล่าวสิ่งใดบ้างก่อนการตักบีร ? เขาตอบว่า "ไม่"
และนี้คือ ความถูกต้อง เพราะท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ไม่เคยกล่าวสิ่งใดเลยก่อนการกล่าวตักบีร และท่านนบีไม่ได้กล่าวคำเนียต ไม่ว่าจะใน การทำความสะอาด,การละหมาด,การถือศีลอดและในการทำหัจญ ก็ไม่ได้กล่าว และอื่นจากนั้น จากบรรดาอิบาดะฮ ต่างๆก็ไม่ได้กล่าว และบรรดาเคาะลิฟะฮของท่าน ก็ไม่ได้กล่าว และท่านไม่ได้ใช้ให้คนหนึ่งคนใด กล่าวคำเนียต แต่ทว่า ท่านได้กล่าวแก่ผู้ที่ท่านสอนการละหมาดให้แก่เขาว่า "จงกล่าวตักบีร" ดังปรากฏในอัศเศาะเฮียะ จากท่านหญิงอาอิฉะฮ (ร.ฎ) กล่าวว่า "ปรากฏว่า ท่านรซูลุ้ลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เริ่มต้นการละหมาดด้วยการ กล่าวตักบีร และอ่าน "อัลหัมดุลิ้ลลาฮิรอ็บบิลอาละมีน" โดยที่ไม่ได้กล่าวคำเนียตก่อนการกล่าวตักบีร และไม่ได้กล่าวอืนจากมัน และท่านไม่ได้สอนดังกล่าวนั้นแก่คนหนึ่งคนใดจากบรรดามุสลิม และถ้าหากว่า ดังกล่าวนั้นเป็น สิ่งที่ศาสนาชอบให้กระทำ(มุสตะหับบะฮ) แน่นอนท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็ต้องกระทำมัน และบรรดามุสลิมทั้งหลายก็จะให้ความสำคัญต่อมัน - มัจญมัวฟะตาวา 22/222

...............
อินชาอัลลอฮ มีต่อ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
kolis_mala
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/12/2010
ตอบ: 295


ตอบตอบ: Tue Jan 18, 2011 9:04 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การเนียตถือศีลอดและการกล่าวคำเนียต


السؤال هل يشترط أن تكون نية الصيام قبل الفجر من كل ليلة من رمضان أم تكفي نية واحدة كل الشهر. وما حكم من تلفظ بها في كل ليلة من ليالي شهر رمضان.

ถาม
การเนียตถือศีลอด มีเงื่อนไขว่า ต้องก่อนรุ่งอรุณจากทุกๆคืนของเดือนเราะมะฎอน ใช่ไหม? หรือว่า การเนียตครั้งเดียวใช้ได้ทั้งเดือน?


الجواب النية شرط من شروط صحة العبادة من صيام وغيره لقوله صلى الله عليه وسلم : ((إنما الأعمال بالنيات وإنما لكل امرئ ما نوى))([1]) فكل عبادة من العبادات لا تصح إلا بنية ومن ذلك الصيام فإنه لا يصح إلا بنية لقوله صلى الله عليه وسلم: ((لا صيام لمن لم يبيت النية من الليلة))([2]) فالنية للصيام مشترطة وصيام الفرض لابد أن ينويه من الليل قبل طلوع الفجر ويجب عليه أن ينوي لكل يوم نية جديدة لأن كل يوم عبادة مستقلة تحتاج إلى نية متجددة بتجدد الأيام لعموم قوله صلى الله عليه وسلم: ((إنما الأعمال بالنيات وإنما لكل امرئ ما نوى))([3
فإن قام من نومه وتسحر فهذا هو النية. وإن لم يستيقظ إلا بعد طلوع الفجر وكان ناويًا للصيام قبل نومه فإنه يمسك إذا استيقظ وصيامه صحيح لوجود النية من الليل.


ตอบ

การเนียตเป็นเงื่อนไขหนึ่ง จากบรรดาเงื่อนไข ของการที่ทำให้อิบาดะฮนั้นใช้ได้ จากการถือศีลอด หรือ อื่นจากมัน เพราะท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า (แท้จริง บรรดาการงานทั้งหลาย ขึ้นอยู่กับการเจตนา และความจริง ทุกคนจะได้รับการตอบแทน ตามที่เขาได้เจตนา(เนียต) (1) ดังนั้น ทุกๆอิบาดะฮ จากบรรดาอิบาดะฮต่างๆ จะใช้ไม่ได้ เว้นแต่ ด้วยการเจตนา และส่วนหนึ่งจากดังกล่าวนั้น คือ การถือศีลอด แท้จริงมันจะใช้ไม่ได้ นอกจากด้วยการเนียต(เจตนา) เพราะท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า (ไม่มีการถือศีลอด แก่ผู้ที่ไม่เนียตในตอนกลางคืน) (2) เพราะการเนียตของการถือศีลอดนั้น เป็นสิ่งที่ถูกกำหนดให้เป็นเงื่อนไข และการถือศีลอดที่เป็นข้อบังคับ(ฟัรดู)นั้น การเนียตของมันจะต้องเริ่มจากกลางคืน ก่อนรุ่งอรุนขึ้น และจำเป็นแก่เขา(ผู้ถือศีลอด) จะต้องเนียตใหม่ทุกวัน เพราะ ทุกๆวัน เป็นอิบาดะฮที่เป็นเอกเทศ ที่จำเป็นจะต้องเนียตใหม่ ด้วยบรรดาวันที่เริ่มขึ้นใหม่ เพราะความหมายกว้างๆของคำพูดท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม (แท้จริง บรรดาการงานทั้งหลาย ขึ้นอยู่กับการเจตนา และความจริง ทุกคนจะได้รับการตอบแทน ตามที่เขาได้เจตนา) (3) ดังนั้นหากเขาตื่นจากนอน และรับประทานสะหูร นี้แหละคือ การเนียต และถ้าหากเขาไม่ตื่น นอกจากหลังจากที่รุ่งอรุณได้ขึ้นแล้ว โดยที่เขาได้เนียตถือศีลอดแล้วก่อนการนอนของเขา ก็ให้เขาอิมซาก(งดเว้นสิ่งที่ทำให้เสียศีลอด) เมื่อเขาตื่นขึ้นมา และการถือศีลอดของเขานั้น ใช้ได้ เพราะได้มีการเนียต จากกลางคืนแล้ว



وما أشار إليه السائل من النطق بالنية هل هو مشروع أو ليس بمشروع؟ فالنطق بالنية غير مشروع والتلفظ بها بدعة لأن النية من أعمال القلوب والمقاصد لا يعلمها إلا الله سبحانه وتعالى بدون تلفظ ولم يرد عن النبي صلى الله عليه وسلم أنه كان يتلفظ بالنية ويقول الله إني نويت أن أصوم أو نويت أن أصلي أو نويت كذا وكذا. إنما ورد هذا عند الإحرام بالحج أو العمرة أن يقوم المسلم لبيك عمرة أو لبيك حجًا([4]) وكذلك عند ذبح الهدي أو الأضحية ورد أنه يتلفظ عند ذبحها([5]) ويقول: اللهم هذه عني أو عن فلان فتقبل مني إنك أنت السميع العليم. أما ما عدا ذلك من العبادات فالتلفظ بالنية بدعة سواء كان في الصوم أو في الصلاة أو في غير ذلك لأنه لم يرد عن النبي صلى الله عليه وسلم أنه تلفظ في شيء من هذه الأحوال بالنية وقد قال عليه الصلاة والسلام: ((من عمل عملاً ليس عليه أمرنا فهو رد)) ([6

وقال عليه الصلاة والسلام: ((إياكم ومحدثات الأمور فإن كل محدثة بدعة))([7

فالتلفظ بالنية أمر محدث فهو بدعة

และสิ่งที่ผู้ถาม ได้แสดงบอกถึงมัน จากการกล่าวถ้อยคำเนียตว่า มัน เป็นสิ่งที่ถูกบัญญัติไว้หรือไม่ หรือว่า ไม่ได้ถูกบัญญัติไว้?
ดังนั้น การกล่าวถ้อยคำเนียตนั้น ไม่ได้เป็นสิ่งที่ถูกบัญญัติไว้ และการกล่าวถ้อยคำเนียตนั้น เป็นบิดอะฮ เพราะการเนียตนั้น เป็น บรรดางานของหัวใจ และเป็นความตั้งใจ(ของผู้กระทำ) ซึ่งไม่มีใครรู้มันได้นอกจากอัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา โดยไม่ต้องกล่าวเป็นถ้อยคำ และไม่มีรายงานจาก ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่า ท่านได้กล่าวถ้อยคำเนียต โดยกล่าวว่า “โอ้อัลลอฮ แท้จริงข้าพระองค์ได้เจตนาว่าจะถือศีลอด” หรือ “ข้าพระองค์ ได้เจตนาว่า ข้าพระองค์จะละหมาด “ หรือ ข้าพระองค์ได้เจตนา อย่างนั้น อย่างนี้.... “ ความจริง กรณีนี้ได้ปรากฏรายงาน ในขณะทำการเอียะรอมหัจญ์หรืออุมเราะฮ โดยการที่มุสลิมได้ยืนขึ้นแล้ว (แล้วกล่าวว่า) “ข้าพระองค์ตอบสนองคำเรียกร้องของพระองค์ ด้วยการทำอุมเราะฮ” หรือ ข้าพระองค์ตอบสนองคำเรียกร้องของพระองค์ ด้วยการทำหัจญ์” และในทำนองเดียวกัน ขณะที่เชือดสัตว์อัลฮัดย์ หรือ สัตว์อุฎฮียะฮ โดยมีรายงานว่า ท่านนบีได้กล่าวถ้อยคำขณะเชือดมัน(5)ว่า “ โอ้อัลลอฮ นี้ แทนตัวข้าพระองค์ หรือ แทนคนนั้น คนนี้ .. ดังนั้นได้โปรดตอบรับจากข้าพระองค์ด้วยเถิด, แท้จริงพระองค์ท่าน ทรงเป็นผู้ได้ยิน ทรงรอบรู้ยิ่ง “ สำหรับ สิ่งที่นอกเหนือจากดังกล่าว จากบรรดาอิบาดะฮต่างๆ การกล่าวคำเนียตนั้น เป็นบิดอะฮ ไม่ว่ามันจะปรากฏ ในการถือศีลอด, ในการละหมาด หรือ อื่นจากดังกล่าวนั้น ก็ตาม เพราะ มันไม่มีรายงานจากนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่าท่านได้กล่าวถ้อยคำเนียต ในสิ่งหนึ่งสิ่งใดจาก บรรดาเหตุการณ์เหล่านี้ และแท้จริงท่าน ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า (ผู้ใดประกอบการงานใด ที่ไม่ใช่กิจการ(ศาสนา)ของเราบนมัน มันถูกปฏิเสธ)(6)และนบี (ขอพรและความสันติจงประสบแด่ท่าน) กล่าวว่า (พวกท่านพึงระวังบรรดาสิ่งที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นใหม่ เพราะแท้จริงสิ่งที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นใหม่นั้น เป็นบิดอะฮ”(7)
ดังนั้น การกล่าวถ้อยคำเนียต เป็นสิ่งที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นใหม่ มันคือ บิดอะฮ”

................

([1]) رواه البخاري في صحيحه جـ1 ص2 من حديث عمر بن الخطاب رضي الله عنه.

([2]) رواه الإمام مالك في الموطأ جـ1 ص288 من حديث عبد الله بن عمر موقوفًا. ورواه الإمام أحمد في مسنده جـ6 ص287 ورواه أبو داود في سننه جـ2 ص341، 342، ورواه النسائي في سننه جـ4 ص196، 197، ورواه ابن ماجه في سننه جـ1 ص542، ورواه الدارمي في سننه جـ2 ص12، ورواه البيهقي في السنن الكبرى جـ4 ص202، 203، ورواه ابن خزيمة في صحيحه جـ3 ص212، ورواه ابن أبي شيبة عن مصنفه جـ2 ص292، ورواه ابن حزم في المحلى جـ6 ص162، ورواه الخطيب البغدادي في تاريخ بغداد جـ3 ص93، 93، وذكره الزيلعي في نصب الراية جـ2 ص433 ـ 435 كلهم م حديث حفصة رضي الله عنها بنحوه.

([3]) رواه البخاري في صحيحه جـ1 ص2 من حديث عمر بن الخطاب رضي الله عنه.

([4]) انظر: صحيح الإمام مسلم جـ2 ص915 عن حديث أنس رضي الله عنه.

([5]) انظر: مسند الإمام أحمد جـ6 ص8 من حديث أبي رافع. وسنن أبي داود جـ3 ص98، 99 من حديث جابر بن عبد الله، وسنن الترمذي جـ5 ص236، 237 من حديث جابر بن عبد الله رضي الله عنه، وسنن ابن ماجه جـ2 ص1043، 1044 من حديث أنس بن مالك وجابر بن عبد الله وأبي هريرة. ومجمع الزوائد ومنبع الفوائد جـ4 ص22، 23.

([6]) رواه الإمام البخاري في صحيحه جـ8 ص156. معلقًا

المنتقى من فتاوى فضيلة الشيخ صالح بن فوزان بن عبد الله الفوزان - (ج 4/ ص 84) [ رقم الفتوى في مصدرها: 87
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
kolis_mala
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/12/2010
ตอบ: 295


ตอบตอบ: Tue Jan 18, 2011 9:06 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การทำบุญ 3 วัน,7วันและ 100 วัน ศาสนาอนุญาตหรือไม่

ตอบ

การทำบุญ สามวันเจ็ดวัน ไม่เป็นที่อนุมัติในอิสลาม เพราะ
1. เป็นการเลียนแบบศาสนาอื่น เช่น
..ทักษิณานุปทานคืออะไร..
ตามประเพณีนิยมเมื่อเผาศพ จะต้องทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้แก่ผู้ล่วงลับ พิธีนี้เรียกว่า “ทักษิณานุประทาน” หรือที่เรียกว่า ทำบุญ 7 วัน (สัตตมวาร) ทำบุญ 50 วัน (ปัญญาสมวาร) ทำบุญ 100 วัน (สตมวาร)
http://www.watpthai.com/mcontents/marticle.php?headtitle=mcontents&id=52579&Ntype=3
ท่านนบี
من تشبه بقوم فهو منهم
ผู้ใดเลียนแบบกลุ่มชนใด เขาก็เป็นส่วนหนึ่งจากกลุ่มชนนั้น"
2. เป็นบิดอะฮ ที่ศาสนาห้าม
เช็คสอลิห อัลฟูซาน กล่าวว่า
ما يفعله بعض الناس اليوم من أن أهل الميت يهيئون مكاناً لاجتماع الناس عندهم ،
و يصنعون الطعام ، ويستأجرون المقرئين لتلاوة القرآن ، ويتحملون في ذلك تكاليف
مالية ، فهذا من المآتم المحرمة المبتدعة ؛ لما روى الإمام احمد عن جرير بن عبد الله
؛ قال : " كنا نعد الاجتماع إلى أَهل الميِت وصنعة الطعام بعد دفنه من النياحة " ،
وإسناده ثقات ...
สิ่งที่ผู้คนบางส่วนทำกันในปัจจุบัน จากการที่ ครอบครัวผู้ตาย เตรียมสถานที่ เพื่อให้ผู้คนมาชุมนุมกัน ณ ที่พวกเขา และพวกเขาทำอาหารกัน และ พวกเขาว่าจ้างให้บรรดากอรี อ่านอัลกุรอ่าน และพวกเขาจะแบกรับภาระค่าใช้จ่าย ในเรื่องดังกล่าว ดังนั้นนี้คือ ส่วนหนึ่งของการชุมนุมกัน ที่ต้องห้ามที่เป็นบิดอะฮ เพราะมีหะดิษรายงานโดย อิหม่ามอะหมัด จาก ญะรีร บุตร อับดุลลอฮ กล่าวว่า “พวกเรานับว่า การชุมนุมกันที่ครอบครัวผู้ตาย และทำอาหารกินกัน หลังจากฝังมัยยิตแล้วนั้น เป็นส่วนหนึ่งจากนิยาหะฮ(ที่ต้องห้าม) – และสายสืบของหะดิษนี้ เชื่อถือได้ - الملخص الفقهي " ( 1 / 216 )
................
ส่วนหน่งจากบิดอะฮเกี่ยวกับการตายคือ
- اتخاذ الضيافة للميت في اليوم الاول والسابع والاربعين وتمام السنة
การจัดเลื้ยงอาหาร เพื่ออุทิศผลบุญแก่มัยยิต ในวันแรก,ครบรอบ 7 วัน,ครบรอบ 40 วันและครบรอบ ปี(ของการตาย) - ดู ( الخادمي في شرح الطريق المحمدية 322 4، المدخل 2/ 114، 3/ 278 - 279
- อะหกามุ้ลญะนาอิซ ของ เช็คอัลบานีย์ หน้า 128
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
kolis_mala
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/12/2010
ตอบ: 295


ตอบตอบ: Tue Jan 18, 2011 9:09 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


เลี้ยงฉลองวันเกิด
الوليمة عند ولادة المولود
السؤال الرابع من الفتوى رقم ‏(‏181‏)‏
س4‏ هل يصح لمن ولد له مولود من المسلمين أن يطبخ طعاماً ويدعو إخوانه المسلمين إليه‏؟‏
ج 4‏ شرع رسول الله صلى الله عليه وسلم العقيقة عن الذكر شاتين، وعن الأنثى شاة واحدة، كما شرع الأكل والإهداء والتصدق منها، فإذا صنع من ولد له المولود طعاماً ودعا بعض إخوانه المسلمين إليه وجعل مع هذا الطعام شيئاً من لحمها فليس في ذلك شيء، بل هو من باب الإحسان، وأما ما يفعله بعض الناس من طبخ الطعام يوم ولادة المولود، ويسمونه عيد الميلاد، ويتكرر هذا على حسب رغبة من ولد له المولود أو رغبة غيره أو رغبة المولود إذا كبر فهذا ليس من الشرع، بل هو بدعة، قال صلى الله عليه وسلم من عمل عملاً ليس عليه أمرنا فهو رد، وقال صلى الله عليه وسلم من أحدث في أمرنا هذا ماليس منه فهو رد.‏
คำถามที่ 4 ฟัตวาหมายเลข 181
ถาม
การปรุงอาหาร ของบิดามุสลิม ผู้ให้กำเนิดบุตร และเชิญบรรดาพี่น้องของเขาที่เป็นมุสลิม มารับประทาน ใช้ได้หรือไม่?
ตอบ
รซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้บัญญัติให้ทำอะกีเกาะฮ แพะสองตัวสำหรับผู้ชายและแพะหนึ่งตัวสำหรับผู้หญิง ดังเช่นที่ได้บัญญัติให้ รับประทาน,มอบเป็นของกำนัลและบริจาคจากมัน(จากเนื้ออะกีเกาะฮ) ดังนั้น เมื่อบิดาของบุตร ได้ทำอาหารและเชิญบรรดาพี่น้องของเขาที่เป็นมุสลิมมารับประทาน โดยจัดให้บางส่วนจากเนื้ออะกีเกาะฮ พร้อมกับอาหารนี้ ก็ไม่เป็นไร ,ในทางกลับกัน มันเป็นส่วนหนึ่งจากการทำความดี และสำหรับสิ่งที่ผู้คนบางส่วนได้ทำกัน จากการปรุงอาหารในวันเกิดของเด็ก และพวกเขาเรียกว่า" การฉลองวันเกิด" และทำสิ่งนี้ซ้ำๆกัน ตามปรารถนาของผู้เป็นบิดา หรือ อื่นจากบิดา หรือเกิดจากความปรารถนาของเด็กเมื่อเขาโตขึ้น กรณีนี้ไม่มีในบทบัญญัติ แต่ทว่ามันเป็นบิดอะฮ ,ท่านนบีศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า "ผู้ใดประกอบการงานใด ที่ไม่ใช่คำสั่งของเราบนมัน มันก็ถูกปฏิเสธ"และ ท่านนบีศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า" ผู้ใดประดิษฐ์สิ่งใหม่ขึ้นมาในกิจการ(ศาสนา)ของเรานี้ สิ่งซึ่งไม่ได้มาจากมัน มันถูกปฏิเสธ"
وبالله التوفيق وصلى الله على نبينا محمد وآله وصحبه وسلم ‏.‏
اللجنة الدائمة للبحوث العلمية والإفتاء
คณะกรรมการถาวรเพื่อการวิจัยวิชาการและตอบปัญหาศาสนา(แห่งประเทศสะอุดีอารเบีย)
عضو/ عبدالله بن منيع
อับดุลลอฮ บิน มะเนียะ/คณะกรรมการ
عضو/ عبدالله بن غديان
อับดุลลอฮ บิน ฆอ็ดยาน/ คณะกรรมการ
نائب رئيس اللجنة/ عبدالرزاق عفيفي
อับดุรรอซซาก อะฟีฟีย์/รองประธานคณะกรรมการ
فتاوى اللجنة الدائمة " ( 11 / 436
http://www.saaid.net/Doat/ehsan/113.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
kolis_mala
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/12/2010
ตอบ: 295


ตอบตอบ: Tue Jan 18, 2011 9:10 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อุทิศผลบุญละหมาดให้แก่ผู้ตายได้หรือไม่?

س1‏ هل يصح أن أصلي عددًا من الركعات في أي وقت، ثم أهدي ثوابها إلى الميت، وهل يصل ثوابها إليه أو لا‏؟‏
ج1‏ لا يجوز أن تهب ثواب ما صليت للميت، بل هو بدعة لأنه لم يثبت عن ا لنبي ـ صلى الله عليه وسلم ـ ولا عن الصحابة ـ رضي الله عنهم ـ، وقد قال النبي ـ صلى الله عليه وسلم ـ‏(‏من أحدث في أمرنا هذا ما ليس منه فهو رد‏)‏ رواه البخاري ومسلم ‏

ถาม
กระผมจะละหมาดจำนวนหนึ่งจากบรรดาเราะกาอัตและในเวลาใหนก็ตาม แล้วกระผมอุทิศผลบุญของมันให้แก่ผู้ตาย ,ผลบุญของมันถึงผู้ตายหรือไม่?
ตอบ
ไม่อนุญาตให้อุทิศผลบุญสิ่งที่ท่านละหมาดให้แก่ผู้ตาย แต่ทว่า มันเป็นบิดอะฮ เพราะมันไม่ได้รับการยืนยันจากท่านนบี และจากบรรดาสาวก เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ และแท้จริงนบี กล่าวว่า (ผู้ใดประดิษฐ์สิ่งใหม่ในกิจการ(ศาสนา)ของเรานี้ สิ่งซึ่งไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งจากมัน มันถูกตีกลับ(ไม่ถูกรับ) - รายงานโดย บุคอรีและมุสลิม - ฟัตวาคณะกรรมการถาวรฯ เล่ม 7 ฟัตวาหมายเลข 7482
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
kolis_mala
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/12/2010
ตอบ: 295


ตอบตอบ: Tue Jan 18, 2011 9:11 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ถาม
ละหมาดตัสเบี๊ยะฮ์ เนี่ยะมีหรือป่าวตามหลักซุนน่ะหรือว่าเปนบิดอ่ะ
ขอบคุณครับ

ตอบ
อัลหัมดุลิลละฮ
หะดิษที่เกี่ยวกับการละหมาดตัสเบียะนั้น เฎาะอีฟครับ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

وأما صلاة التسبيح فالصواب أنها ليست بسنة بل هي بدعة، والحديث الذي ذكرت عنها في سؤالك غير صحيح، قال الإمام أحمد – رحمه الله -‏لا تعجبني صلاة التسبيح، قيل لم‏؟‏ قال‏ ليس فيها شيء يصح، ونفض يده كالمنكر، وقال النووي‏حديثها ضعيف، وفيها تغيير لنظم الصلاة المعروفة، وقال العقيلي‏ ليس فيها حديث يثبت، وقال أبو بكر ابن العربي‏ ليس فيها حديث صحيح ولا حسن

และสำหรับการละหมาดตัสเบียะนั้น ที่ถูกต้อง มันไม่ใช่สุนนะฮ แต่ทว่า มันเป็นบิดอะฮ และหะดิษที่ท่านได้ระบุในคำถามของท่าน นั้น ไม่เศาะเฮียะ อิหม่ามอะหมัด ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน ได้กล่าวว่า "การละหมาดตัสเบียะ ไม่ได้ทำให้ข้าพเจ้าภูมิใจ " มีผู้ถามว่า "ทำไมหรือ? ท่านกล่าวว่า "ในนั้นไม่มีหะดิษเศาะเฮียะเลย และท่านได้สะบัดมือของท่าน เหมือนกับว่า มันเป็นสิ่งต้องห้าม และอิหม่ามนะวาวีย์ กล่าวว่า หะดิษของมัน เฎาะอีฟ และในนั้น เป็นการเปลี่ยนแปลงระเบียบการละหมาดที่เป็นที่รู้กัน และอัลอุกอยลีย์กล่าวว่า ในมัน(ละหมาดตัสเบียะ) ไม่มีหะดิษที่มั่นคง และอบูบักร อิบนุอะเราบีย์ กล่าวว่า " ในมัน ไม่มีหะดิษเศาะเฮียะ และไม่มีหะดิษหะซัน
..........
ฟะตะวา อิบนุอุษัยมีน เล่ม 14
http://www.al-eman.com/Islamlib/viewchp.asp?BID=353&CID=327#s23
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
f1
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 19/12/2010
ตอบ: 261


ตอบตอบ: Wed Jan 19, 2011 1:43 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่เชคอัลบานีย์บอกว่าหะซัน จะว่ายังไง
_________________
go die to no grass
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
f1
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 19/12/2010
ตอบ: 261


ตอบตอบ: Wed Jan 19, 2011 1:53 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คำถามที่ : 587
คำถาม : ละหมาดตัสเบียห์
อัสลามมุลอลัยกุมค่ะอยากถามอาจารย์ดังนี้ 1.ละหมาดตัสเบียห์คืออะไรละหมาดอย่างไร ตอนไหน 2.ถ้าเราละหมาดวันศุกร์แล้วต้องละหมาดซดุฮร์อีกไหมค่ะ ขอบคุณค่ะ

by: นาเดีย - - 19/11/2004

คำตอบ :

อัสสลามุอะลัยกุมครับคุณนาเดีย

1. นมาซตัสบีหฺคืออะไรและนมาซอย่างไร,นมาซตอนไหน? คำตอบคือ นมาซตัสบีหฺ คือการนมาซสุนนะฮฺประเภทหนึ่งนะครับ แต่ทว่าบรรดานักวิชาการมีทัศนะว่าด้วยหะดีษที่รายงานเกี่ยวกับการนมาซตัสบี หฺแตกต่างกันครับ ฝ่ายหนึ่งมีทัศนะว่า นมาซตัสบีหฺถือว่าไม่มี เพราะสายงานหะดีษขาดตอน (มุงเกาะฏีอฺ) นั่นเอง หนึ่งในทัศนะนั้นคือ เชคบินบาซ (رحمه الله) ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งระบุว่าหะดีษเกี่ยวกับนมาซตัสบีหฺอยู่ในขั้นหะดีษหะสัน ซึ่งถือว่านำมาเป็นหลักฐานได้ครับ หนึ่งในทัศนะนั้นคือ เชคนาศิรุดดีน อัลบานีย์

ฉะนั้นคุณนาเดียมั่นใจในหลักฐานของฝ่ายไหน? ก็ให้ปฏิบัติไปตามสิ่งที่คุณนาเดียมั่นใจนะครับ, ส่วนทัศนะส่วนตัวผมเห็นด้วยกับทัศนะของฝ่ายแรกนะครับ

ส่วนวิธีนมาซตัสบีหฺมีรายละเอียดดั่งนี้

นมาซตัสบีหฺมีสี่ร็อกอะฮฺ, อ่านฟาติหะฮฺและสูเราะฮฺทุกๆ ร็อกอะฮฺ, ภายหลังที่เราเสร็จจากการอ่านสูเราะฮฺในร็อกอะฮฺแรกให้เราอยู่ในสภาพยืน แล้วกล่าวประโยคว่า
"سبحان الله والحمد لله ولا إله إلا الله والله أكبر " จำนวน 15 ครั้ง จากนั้นให้รุกูอฺ ขณะรุกูอฺให้กล่าวประโยคข้างต้น 10 ครั้ง, จากนั้นก็ให้เงยจากรุกูอฺแล้วก็กล่าวประโยคข้างต้นอีก 10 ครั้ง, ต่อมาก็ให้สุญูด ขณะสุญูดก็ให้กล่าวประโยคข้างต้นอีก 10 ครั้ง, ครั้นเงยจากสุญูดในสภาพที่นั่งก็ให้กล่าวอีก 10 ครั้ง แล้วก็ให้ก้มสุญูดอีกแล้วอ่านประโยคข้างต้น 10 ครั้ง แล้วเงยจากสุญูดในสภาพที่นั่งก็ให้กล่าวประโยคข้างต้นอีก 10 ครั้ง ดั่งกล่าวถือว่าหนึ่งร็อกอะฮฺ และในหนึ่งร็อกอะฮฺการกล่าวประโยคข้างต้นจะนับได้ 75 ครั้งพอดี, โดยให้กระทำเช่นนั้นทั้งสี่ร็อกอะฮฺ.

2. ถ้าเรานมาซวันศุกร์แล้วต้องนมาซซุฮฺริอีกไหมค่ะ? คำตอบคือ หากเรานมาซวันศุกร์ (الجمعة ) เสร็จแล้วก็ไม่ต้องนมาซซุฮฺริอีกแล้วนะครับ.
والله أعلم بالصواب والسلام
by: มุรีด ทิมะเสน - mureed@mureed.com - 22/12/04 04:39

_________________
go die to no grass
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kolis_mala
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/12/2010
ตอบ: 295


ตอบตอบ: Wed Jan 19, 2011 4:19 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คำพูด:
ที่เชคอัลบานีย์บอกว่าหะซัน จะว่ายังไง


น้อง f1 ผู้ไม่มีความรู้แล้วอวดฉลาด หรือดันทุรัง จะบอกอะไรให้คนที่ไม่รู้ฟังนะ

กฎของนักวิชาการ หากมีการฟัตวา 2 ครั้งแต่คำตอบต่างกัน

เช่นครั้งแรกเชค อัลบานีย์ ฟัตวาว่า หะดีษ อาซานใส่หูเด็กแรกเกิด เป็นหะดีษ หะสัน
ต่อมาในบรรปลายชีวิตของท่านท่านมาเปลี่ยนจากคำว่า หะดีส หะสัน เป็นฎออีฟ

ดั้งนั้นให้ผู้ตามยึดเอา ฟัตวาหลังสุด เป็นหลัก เพราะอันแรกอาจมีความผิดพลาด

เข้าใจหรือยัง ไปเรียนมาเถอะน้อง แสดงความโง่ อันเนื่องจากไม่เรียน มันคุยกันไม่จบสักที

วัลลอฮุอะลัม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
kolis_mala
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/12/2010
ตอบ: 295


ตอบตอบ: Wed Jan 19, 2011 4:23 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ส่วนเรื่องละหมาด ตัสเบียห์ ถ้าจะขัดหรือจะบอกว่าไม่ถูกต้อง ตั้งมาเลย กระทู้ไว้เลย
แต่จะขออะไรสักนิดนะ ถ้าคุณ จะคุยหรือบอกว่าอันไหนผิด

กรุณาแย้งด้วยหลักฐานหรือวิชาการ ถ้าไม่เช่นนั้น ผมจะไม่คุยด้วย เพราะ ผมไม่อยากสนใจ
คำพูดไร้สาระ คับ

จะแย้งอะไร เชิญ แต่ต้องเป็นวิชาการนะ

วัสลาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
f1
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 19/12/2010
ตอบ: 261


ตอบตอบ: Wed Jan 19, 2011 4:30 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คุณเข้าใจสิ่งที่อ.มุรีดตอบในเรื่องละหมาดตัสเบียะว่ายังไง อธิบายหน่อย
_________________
go die to no grass
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kolis_mala
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 24/12/2010
ตอบ: 295


ตอบตอบ: Wed Jan 19, 2011 4:45 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คำพูด:
คุณเข้าใจสิ่งที่อ.มุรีดตอบในเรื่องละหมาดตัสเบียะว่ายังไง อธิบายหน่อย


อย่าแสดงความเขลาออกมาซิ ตอบไปแล้ว ว่าให้ทำไง

ส่วนเรื่องละหมาด ตัสเบียห์ ถ้าจะขัดหรือจะบอกว่าไม่ถูกต้อง ตั้งมาเลย กระทู้ไว้เลย
แต่จะขออะไรสักนิดนะ ถ้าคุณ จะคุยหรือบอกว่าอันไหนผิด

กรุณาแย้งด้วยหลักฐานหรือวิชาการ ถ้าไม่เช่นนั้น ผมจะไม่คุยด้วย เพราะ ผมไม่อยากสนใจ
คำพูดไร้สาระ คับ

จะแย้งอะไร เชิญ แต่ต้องเป็นวิชาการนะ

วัสลาม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
f1
มือเก๋า
มือเก๋า


เข้าร่วมเมื่อ: 19/12/2010
ตอบ: 261


ตอบตอบ: Wed Jan 19, 2011 4:49 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ฮั่นแน่ ทำมึน Wink
_________________
go die to no grass
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   กระทู้นี้ถูกปิดคุณไม่สามารถแก้ไขคำตอบหรือตอบกระทู้    อนุรักษ์มรดกอิสลาม หน้ากระดานข่าวหลัก -> ประวัติศาสตร์อิสลาม ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ถัดไป
หน้า 1 จากทั้งหมด 4

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


Powered by phpBB ฉ 2001, 2002 phpBB Group







ที่ตั้งมูลนิธิ


สำนักงาน มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม
เลขที่ 27/5 หมู่ที่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ
ติดต่อ : 02-956-9860, 02-956-9958
E-mail : moradokislam@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปเผยแพร่ในหนทางที่ถูกต้อง และควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

PHP-Nuke Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.15 วินาที
IPBNukeRed theme by HOLBROOKau and
PHP-Nuke Thailand ©2004
เธ‚เธญเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธตเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฃเธฑเธšเธชเธกเธฑเธ„เธฃเธ›เธธเนŠเธšเธฃเธฑเธšเธ›เธฑเนŠเธšเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธ เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เน‚เธšเธ™เธฑเธชเน„เธ”เน‰เน€เธ‡เธดเธ™เธˆเธฃเธดเธ‡ slot938 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธชเธฅเน‡เธญเธ•เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaicasinobin เนเธˆเธเน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เธชเธฅเน‡เธญเธ• เธšเธฒเธ„เธฒเธฃเนˆเธฒ เธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ JQK41 เธชเธฅเน‡เธญเธ• เน€เธ„เธฃเธ”เธดเธ•เธŸเธฃเธต เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ thaibet55 kubet เน„เธ—เธขเธ„เธฒเธชเธดเน‚เธ™เธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เนเธ—เธ‡เธšเธญเธฅ เธ‹เธญเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒเธฅเธตเธ เธ„เธฐเนเธ™เธ™เธŸเธธเธ•เธšเธญเธฅ เน€เธงเน‡เธšเธžเธ™เธฑเธ™เธญเธฑเธ™เธ”เธฑเธš1 HUC99 เน€เธงเน‡เธšเธ•เธฃเธ‡ เน„เธกเนˆเธœเนˆเธฒเธ™เน€เธญเน€เธขเนˆเธ™เธ•เนŒ